sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
750208
กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง และกำหนดให้มีอำนาจปฏิบัติการตามมาตรา ๗๙ ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามมาตรา ๗๙ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ การยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมประมง (๒) กรณีทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (๓) สถานที่และวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ ให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ข้อ ๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอรับใบอนุญาต และเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต เอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาต หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าคำขอรับใบอนุญาตนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ ข้อ ๕ ในกรณีที่คำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต และให้นัดวันและเวลาโดยแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ เพื่อทำการตรวจสอบแหล่งทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่จะขออนุญาต ใบรับคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แทนใบอนุญาตได้ในระหว่างที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาอนุญาต ข้อ ๖ การพิจารณาอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องไม่อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบอนุญาต (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตในระยะเวลาห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาต (๓) พื้นที่ที่จะอนุญาตต้องยังไม่เกินศักยภาพการรองรับของที่จับสัตว์น้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (๔) พื้นที่ที่จะอนุญาตต้องอยู่ห่างจากเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ หรือโรงสูบจ่ายน้ำเพื่อการบริโภคหรือสถานีสูบน้ำดิบของระบบประปาไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เมตร (๕) พื้นที่ที่จะอนุญาตต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนทั่วไปที่ใช้แหล่งน้ำ และต้องไม่เป็นอุปสรรคต่อระบบการระบายน้ำหรือการชลประทาน การสัญจรทางน้ำ หรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของแหล่งน้ำ (๖) วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ใช้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของแหล่งน้ำ (๗) ในกรณีการขอรับใบอนุญาตเป็นการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมตามมาตรา ๗๖ พื้นที่ขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องอยู่ในเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามมาตรา ๗๗ ข้อ ๗ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอรับใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาที่ประกาศกำหนดตามข้อ ๓ และคำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องครบถ้วน กรณีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แสดงเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ไว้ในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาด้วย ใบอนุญาตให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ข้อ ๘ เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจกำหนดรายละเอียดของเงื่อนไขที่จำเป็นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วยการประมงไว้ในใบอนุญาตเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามด้วยก็ได้ ข้อ ๙ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องติดตั้งโคมไฟหรือเครื่องหมายบริเวณที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ชัดเจน (๒) ไม่สร้างที่พักอาศัยเป็นการถาวรในที่จับสัตว์น้ำหรือบริเวณสถานที่ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (๓) ไม่ใช้สารเคมี ยา หรือสิ่งอื่นใดซึ่งทางราชการมีประกาศห้ามใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (๔) กรณีสัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงป่วยหรือตายต้องนำสัตว์น้ำหรือซากของสัตว์น้ำขึ้นมากำจัดบนบกอย่างถูกสุขลักษณะ (๕) กรณีเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมตามมาตรา ๗๖ ต้องป้องกันมิให้สัตว์น้ำที่เพาะเลี้ยงหลุดออกนอกที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำลงสู่ที่จับสัตว์น้ำ (๖) ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต ข้อ ๑๐ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้แก่บุพการี คู่สมรส หรือผู้สืบสันดานของตน ให้ยื่นคำขอโอนใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ในกรณีที่คำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอรับใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องครบถ้วน กรณีคำสั่งไม่อนุญาตให้แสดงเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ไว้ในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาด้วย ใบอนุญาตที่ได้รับอนุญาตให้โอนแล้ว ให้เขียนหรือประทับตราคำว่า “โอนแล้ว” ด้วยอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบอนุญาต และให้ระบุชื่อผู้รับโอน วัน เดือน ปีที่อนุญาตให้โอนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้อนุญาตกำกับไว้ด้วย ให้นำความในข้อ ๔ ข้อ ๖ (๑) หรือ (๒) ข้อ ๘ และข้อ ๙ มาใช้บังคับกับการโอนใบอนุญาตและผู้รับโอนใบอนุญาตโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตและใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญจริง ให้ออกใบแทนใบอนุญาตให้กับผู้ยื่นคำขอ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้ใช้แบบใบอนุญาตเดิม และระบุคำว่า “ใบแทน” หรือใช้ข้อความอื่นใดทำนองเดียวกันไว้ที่กึ่งกลางส่วนบนด้านหน้าของใบอนุญาต ให้นำความในข้อ ๗ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับการออกใบแทนใบอนุญาตโดยอนุโลม ข้อ ๑๒ คำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การออกใบอนุญาต และการโอนใบอนุญาต ประกอบกับมาตรา ๗๙ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๔๑ ก/หน้า ๘/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙
750206
กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงพื้นบ้านโดยใช้เรือประมงหรือเครื่องมือทำการประมงที่มีขนาดหรือลักษณะตามที่อธิบดีประกาศกำหนดให้ต้องขออนุญาตตามมาตรา ๓๒ ไม่ว่าจะใช้เรือประมงด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ การยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมประมง (๒) กรณีทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่ประสงค์จะทำการประมง (๓) สถานที่และวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต เอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาต หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าคำขอรับใบอนุญาตนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ ข้อ ๔ ในกรณีที่คำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แทนใบอนุญาตได้ในระหว่างที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายพิจารณาออกใบอนุญาต ข้อ ๕ การพิจารณาอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้านโดยใช้เรือประมงและใช้เครื่องมือทำการประมงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีสิทธิทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในเรือประมงที่จะทำการประมง (๔) เรือประมงต้องไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือประมงที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีประกาศตามมาตรา ๙๔ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๑๖ (๕) เรือประมงต้องมีขนาดหรือลักษณะตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (๖) เรือประมงต้องเป็นเรือที่จดทะเบียนเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยและมีใบอนุญาตใช้เรือสำหรับทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย เว้นแต่เป็นเรือที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย หรือไม่ต้องขอใบอนุญาตใช้เรือสำหรับทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย (๗) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องมีขนาดหรือลักษณะตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (๘) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา ๖๗ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๑ (๑) ข้อ ๖ การพิจารณาอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน โดยไม่ใช้เรือประมงแต่ใช้เครื่องมือทำการประมงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีสิทธิทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ (๓) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องมีขนาดหรือลักษณะตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (๔) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา ๖๗ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๑ (๑) ข้อ ๗ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอรับใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน กรณีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แสดงเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ไว้ในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาด้วย กรณีที่เป็นการทำการประมงพื้นบ้านโดยใช้เรือประมงและใช้เครื่องมือทำการประมงการออกใบอนุญาตให้ออกสำหรับเรือประมงแต่ละลำ และต้องระบุประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะ และจำนวนของเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมงไว้ในใบอนุญาตด้วย กรณีที่เป็นการทำการประมงพื้นบ้านโดยไม่ใช้เรือประมงแต่ใช้เครื่องมือทำการประมงการออกใบอนุญาตให้ระบุประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะ และจำนวนของเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมงไว้ในใบอนุญาตด้วย ใบอนุญาตให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ข้อ ๘ เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงตามอัตราที่กำหนดแล้ว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต ข้อ ๙ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง หรือเพิ่มเครื่องมือทำการประมงที่จะใช้ทำการประมง ให้ยื่นคำขอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ข้อ ๑๐ การพิจารณาอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมงหรือเพิ่มเครื่องมือทำการประมงที่จะใช้ทำการประมง ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตต้องยังไม่สิ้นอายุ (๒) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องมีขนาดหรือลักษณะตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (๓) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา ๖๗ มาตรา ๖๘ มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๑ (๑) ข้อ ๑๑ ให้นำความในข้อ ๓ และข้อ ๔ มาใช้บังคับกับการขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง หรือเพิ่มเครื่องมือทำการประมงที่จะใช้ทำการประมงโดยอนุโลม และเมื่อได้ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ แล้ว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ยื่นคำขอต่อไป โดยให้นำความในข้อ ๗ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๒ เมื่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีคำสั่งอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง หรือเพิ่มเครื่องมือทำการประมงที่จะใช้ทำการประมง และผู้รับใบอนุญาตได้ชำระค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายการเกี่ยวกับประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะ และจำนวนของเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมงในใบอนุญาตเดิม ข้อ ๑๓ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ให้นำความในข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ มาใช้บังคับกับการต่ออายุใบอนุญาตโดยอนุโลม การอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจะแสดงไว้ในรายการท้ายใบอนุญาต หรือจะออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตเดิมให้ใหม่ก็ได้ ข้อ ๑๔ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้แก่บุพการี คู่สมรส หรือผู้สืบสันดานของตนให้ยื่นคำขอโอนใบอนุญาตต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ใบอนุญาตที่ได้รับอนุญาตให้โอนแล้ว ให้เขียนหรือประทับตราคำว่า “โอนแล้ว” ด้วยอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบอนุญาต และให้ระบุชื่อผู้รับโอน วัน เดือน ปีที่อนุญาตให้โอนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้อนุญาตกำกับไว้ด้วย ให้นำความในข้อ ๓ ข้อ ๔ วรรคหนึ่ง ข้อ ๕ (๑) (๒) และ (๓) และข้อ ๖ (๑) และ (๒) มาใช้บังคับกับการโอนใบอนุญาตและผู้รับโอนใบอนุญาตโดยอนุโลม และเมื่อได้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้รับโอนใบอนุญาตแล้ว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ยื่นคำขอต่อไป โดยให้นำความในข้อ ๗ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตและใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญจริง ให้เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อออกใบแทนใบอนุญาตให้กับผู้ยื่นคำขอ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้ใช้แบบใบอนุญาตเดิม และระบุคำว่า “ใบแทน” หรือใช้ข้อความอื่นใดทำนองเดียวกันไว้ที่กึ่งกลางส่วนบนด้านหน้าของใบอนุญาต ให้นำความในข้อ ๗ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับการออกใบแทนใบอนุญาตโดยอนุโลม ข้อ ๑๖ คำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมงหรือเพิ่มเครื่องมือทำการประมงที่จะใช้ทำการประมง คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการโอนใบอนุญาต ประกอบกับมาตรา ๓๒ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติให้การทำการประมงพื้นบ้านโดยใช้เรือประมงหรือเครื่องมือที่มีขนาดหรือลักษณะตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๔๑ ก/หน้า ๓/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙
750204
กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังต่อไปนี้ เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (๑) การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (๒) การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือ กุ้งเครย์ฟิชอเมริกัน (Procambarus clarkii) (๓) การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือ กุ้งเครย์ฟิชทุกชนิดในสกุล Cherax (Cherax spp.) (๔) การเพาะเลี้ยงจระเข้ (๕) การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง (๖) การเพาะเลี้ยงหอยทะเล ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือลักษณะของสัตว์น้ำ หรือประเภท รูปแบบ ขนาด หรือวัตถุประสงค์ของกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีคุณภาพป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรืออันตรายต่อผู้บริโภค หรือต่อกิจการของบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๔๑ ก/หน้า ๑/๔ พฤษภาคม ๒๕๕๙
746470
กฎกระทรวงระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ผู้ได้รับใบอนุญาต” หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทย แล้วแต่กรณี หมวด ๑ ระบบความปลอดภัย ข้อ ๒ บทบัญญัติในหมวดนี้ใช้บังคับกับเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป ข้อ ๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ประจำเรือ เครื่องชูชีพ และคนประจำเรือสำหรับเรือกลประมง ตามกฎข้อบังคับการตรวจเรือที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ประจำเรือต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องและทดสอบอย่างสม่ำเสมอและเก็บรักษาอยู่ในสถานที่พร้อมจะใช้การได้ ข้อ ๔ ก่อนที่คนประจำเรือจะปฏิบัติหน้าที่บนเรือประมง ผู้ควบคุมเรือต้องให้ความรู้ ดังต่อไปนี้ และให้คนประจำเรือลงลายมือชื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐาน (๑) การใช้เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ประจำเรือ (๒) การใช้เครื่องมือทำการประมง และหลักเกณฑ์การทำการประมงตามหน้าที่ที่คนประจำเรือได้รับมอบหมาย (๓) ความปลอดภัยในการทำงานบนเรือประมง ข้อ ๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับคนประจำเรือให้เหมาะสมกับหน้าที่ที่รับผิดชอบและการทำการประมงแต่ละประเภท หมวด ๒ สุขอนามัยและสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ ส่วนที่ ๑ เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหกสิบตันกรอส ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีอาหาร น้ำดื่ม ที่มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะและมีปริมาณที่เพียงพอ ให้เหมาะสมกับการทำงานและระยะเวลาการใช้ชีวิตบนเรือประมง ข้อ ๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการพักผ่อนบนเรือประมง ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้คนประจำเรือมีเวลาพักตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มียาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานบนเรือประมง โดยให้คำนึงถึงจำนวนคนประจำเรือและระยะเวลาในการออกไปทำการประมง ข้อ ๑๐ ผู้ควบคุมเรือต้องดำเนินการให้คนประจำเรือได้รับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยและต้องส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลบนฝั่งทันทีในกรณีที่บาดเจ็บสาหัสหรือเจ็บป่วยร้ายแรง ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพของคนประจำเรือโดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม และได้รับใบรับรองว่าสามารถทำงานบนเรือประมงได้ก่อนออกไปทำการประมงครั้งแรก และจัดให้มีการตรวจสุขภาพของคนประจำเรือครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ในกรณีที่ได้มีการตรวจสุขภาพคนประจำเรือเพื่อขอรับใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวแล้ว ให้สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานว่าได้มีการตรวจสุขภาพและได้รับใบรับรองก่อนออกไปทำการประมงครั้งแรกตามวรรคหนึ่งได้ ส่วนที่ ๒ เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไป ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดสุขอนามัยและสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑ ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับการพักผ่อน การรับประทานอาหารและการสันทนาการ ให้เหมาะสมกับจำนวนคนประจำเรือและระยะเวลาในการออกไปทำการประมง ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีห้องส้วมอย่างน้อยจำนวนหนึ่งห้องซึ่งมีพื้นที่ไม่น้อยกว่าหนึ่งตารางเมตร ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาต ต้องจัดให้มีคนประจำเรืออย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากสถาบันหรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๖ เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไป ซึ่งได้จดทะเบียนก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับการพักผ่อน การรับประทานอาหาร และการสันทนาการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๓ และต้องจัดให้มีห้องส้วมอย่างน้อยจำนวนหนึ่งห้องซึ่งมีพื้นที่ตามความเหมาะสมภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๓๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ต้องจัดให้มีระบบความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ เพื่อให้คนประจำเรือมีความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานที่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๒๐/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
746468
กฎกระทรวงการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง การขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “เรือประมง” หมายความว่า เรือที่ใช้ขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำตามมาตรา ๘๗ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ การยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมประมง (๒) จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่มีอาณาเขตติดทะเล (๓) สถานที่และวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ เมื่อได้รับคำขอจดทะเบียนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอจดทะเบียนและเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ กรณีที่คำขอจดทะเบียนหรือเอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมคำขอจดทะเบียน หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอจดทะเบียน หรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าคำขอจดทะเบียนนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ ข้อ ๔ ในกรณีที่คำขอจดทะเบียนและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอจดทะเบียน และให้นัดวันและเวลาโดยแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ เพื่อทำการตรวจสอบเรือประมง ในกรณีที่เรือประมงมิได้จอดอยู่ในท้องที่ที่ยื่นคำขอจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนต้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าป่วยการพิเศษในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งตามอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ ๕ การพิจารณาอนุญาตให้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ยื่นจดทะเบียนต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ (๒) เรือประมงต้องเป็นเรือลำเดียวกับที่ระบุไว้ในคำขอจดทะเบียน และต้องมีทะเบียนเรือตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย (๓) เรือประมงต้องมีใบอนุญาตใช้เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยที่มีอายุเหลืออยู่ไม่น้อยกว่าสามสิบวันในวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน และต้องมีหมายเลขไอเอ็มโอสำหรับเรือที่มีลักษณะตามที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization) กำหนด (๔) เรือประมงที่ขอจดทะเบียนต้องเป็นเรือประมงที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำเพียงอย่างเดียว โดยต้องไม่มีการติดตั้งเครื่องมือทำการประมง (๕) เรือประมงที่ขอจดทะเบียนต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยเรือประมงจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามมาตรา ๙๘ ข้อ ๖ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียนและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน กรณีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แสดงเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ไว้ในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาด้วย ข้อ ๗ เมื่อผู้ขอจดทะเบียนได้ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำแล้ว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายออกใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้แก่ผู้ขอจดทะเบียน ข้อ ๘ ใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้ใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะมีการเพิกถอน ข้อ ๙ เจ้าของเรือที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำต้องนำสำเนาใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำติดไปกับเรือประมงนั้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ ข้อ ๑๐ ผู้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำต้องยื่นสำเนาใบอนุญาตใช้เรือและสำเนาหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยเรือประมงต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ ทุกปี หลังจากที่ได้รับการจดทะเบียน โดยให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันครบรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ได้รับการจดทะเบียน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสารตามวรรคหนึ่ง หากไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน หรือผู้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำไม่ยื่นเอกสารภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำยื่นเอกสารให้ถูกต้องหรือครบถ้วนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง หากผู้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำไม่นำมายื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาเพิกถอนใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนั้น ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏว่า เจ้าของเรือที่ได้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๘ มาตรา ๘๙ หรือประกาศที่ออกตามมาตราดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาเพิกถอนใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนั้น ข้อ ๑๒ ผู้จดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ให้ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ข้อ ๑๓ คำขอจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ และคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนประกอบกับมาตรา ๘๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้มีการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเล เว้นแต่เป็นการขนถ่ายไปยังเรือประมงที่ได้จดทะเบียนให้เป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑๖/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
746466
กฎกระทรวงการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง การขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ใดประสงค์จะจดทะเบียนท่าเทียบเรือของตนเป็นท่าเทียบเรือประมงตามมาตรา ๘๔ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ การยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมประมง ในกรณีที่ท่าเทียบเรือประมงนั้นตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร (๒) จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่ท่าเทียบเรือประมงนั้นตั้งอยู่ (๓) สถานที่และวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๒ เมื่อได้รับคำขอจดทะเบียนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอจดทะเบียนและเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ กรณีที่คำขอจดทะเบียนหรือเอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมคำขอจดทะเบียน หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอจดทะเบียน หรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าคำขอจดทะเบียนนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ ข้อ ๓ ในกรณีที่คำขอจดทะเบียนและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอจดทะเบียน ข้อ ๔ ท่าเทียบเรือที่จะจดทะเบียนเป็นท่าเทียบเรือประมงตามมาตรา ๘๔ ต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามมาตรา ๙๘ ข้อ ๕ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอจดทะเบียนและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน กรณีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แสดงเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ไว้ในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาด้วย ข้อ ๖ ใบทะเบียนท่าเทียบเรือประมงให้ใช้ได้ตลอดไปจนกว่าจะมีการเพิกถอน ข้อ ๗ ผู้จดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงต้องยื่นสำเนาหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๑ ทุกปี หลังจากที่ได้รับการจดทะเบียน โดยให้ยื่นภายในสามสิบวันนับแต่วันครบรอบระยะเวลาหนึ่งปีที่ได้รับการจดทะเบียน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารตามวรรคหนึ่ง หากไม่ถูกต้องหรือผู้จดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงไม่ยื่นเอกสารภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้จดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงยื่นเอกสารให้ถูกต้องภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหากผู้จดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงไม่นำมายื่นภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาเพิกถอนใบทะเบียนท่าเทียบเรือประมงนั้น ข้อ ๘ เจ้าของท่าเทียบเรือประมงที่ได้จดทะเบียนแล้ว ต้องแสดงใบทะเบียนท่าเทียบเรือประมง ณ ท่าเทียบเรือประมงนั้น ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏว่า เจ้าของท่าเทียบเรือประมงที่ได้จดทะเบียนไว้มิได้ประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๕ มาตรา ๘๖ วรรคสาม หรือประกาศที่ออกตามมาตราดังกล่าว หรือท่าเทียบเรือประมงไม่มีสุขอนามัยตามที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อพิจารณาเพิกถอนใบทะเบียนท่าเทียบเรือประมงนั้น ข้อ ๑๐ ผู้จดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบทะเบียนท่าเทียบเรือประมง ให้ยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบทะเบียนท่าเทียบเรือประมงต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๑ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ข้อ ๑๑ คำขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมง ใบทะเบียนท่าเทียบเรือประมง และคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการในใบทะเบียนท่าเทียบเรือประมง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๑๒ ในวาระเริ่มแรกภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงยื่นหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยท่าเทียบเรือประมงตามข้อ ๔ ซึ่งจะต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้จดทะเบียน ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียนประกอบกับมาตรา ๘๔ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติให้ผู้ที่ประสงค์จะใช้ท่าเทียบเรือของตนเป็นท่าเทียบเรือประมง ต้องจดทะเบียนเป็นท่าเทียบเรือประมงต่อกรมประมง เว้นแต่ท่าเทียบเรือนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจการแพปลาอยู่แล้ว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๑๓/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
746464
กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ข้อ ๒ เพื่อให้กรมประมงมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้ขอรับใบอนุญาตและประเภทเครื่องมือทำการประมงที่ผู้ขอรับใบอนุญาตประสงค์จะใช้ทำการประมงเพื่อนำมาพิจารณาออกใบอนุญาตให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการทำการประมงและปริมาณผลิตผลสูงสุดของสัตว์น้ำที่สามารถทำการประมงอย่างยั่งยืนตามที่กำหนดไว้ในแผนบริหารจัดการการประมง ให้อธิบดีกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการประมงพาณิชย์มายื่นคำขอรับใบอนุญาต โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ผู้ใดไม่ได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในห้วงเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิในการขอรับใบอนุญาต หลังจากมีการออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาตตามห้วงเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งแล้ว ปรากฏว่าขีดความสามารถในการทำการประมงและปริมาณผลิตผลสูงสุดของสัตว์น้ำที่สามารถทำการประมงอย่างยั่งยืนตามที่กำหนดไว้ในแผนบริหารจัดการการประมงยังสามารถออกใบอนุญาตเพิ่มเติมได้ อธิบดีอาจประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการประมงพาณิชย์มายื่นคำขอรับใบอนุญาตเพิ่มเติมได้ โดยให้นำความในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๓ ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงพาณิชย์ตามมาตรา ๓๖ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ การยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมประมง (๒) จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่มีอาณาเขตติดทะเล (๓) สถานที่และวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอรับใบอนุญาต และเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต เอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาต หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าคำขอรับใบอนุญาตนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ ข้อ ๕ ในกรณีที่คำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต ข้อ ๖ การพิจารณาอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีสิทธิทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย (๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ (๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในเรือประมงที่จะทำการประมง (๔) เรือประมงต้องไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือประมงที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีประกาศตามมาตรา ๙๔ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๑๖ (๕) เรือประมงต้องเป็นเรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป หรือเป็นเรือที่ใช้เครื่องยนต์มีกำลังแรงม้าถึงขนาดที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด (๖) เรือประมงต้องเป็นเรือที่จดทะเบียนเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย และใบอนุญาตใช้เรือสำหรับทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยต้องมีอายุเหลืออยู่ไม่น้อยกว่าสามสิบวันในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งต้องมีหมายเลขไอเอ็มโอสำหรับเรือที่มีลักษณะตามที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization) กำหนด (๗) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา ๖๗ มาตรา ๖๘ หรือมาตรา ๖๙ (๘) มีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดตามมาตรา ๘๑ (๑) ข้อ ๗ การพิจารณาออกใบอนุญาตนอกจากพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ แล้ว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามแนวทางในการออกใบอนุญาตทำการประมงให้สอดคล้องกับขีดความสามารถในการทำการประมงและปริมาณผลิตผลสูงสุดของสัตว์น้ำที่สามารถทำการประมงได้อย่างยั่งยืนโดยใช้จุดอ้างอิงเป็นฐานในการพิจารณาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๔ (๑) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอรับใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนกรณีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แสดงเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ไว้ในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาด้วย การออกใบอนุญาต ให้ออกสำหรับเรือประมงแต่ละลำ และต้องระบุประเภท ชนิด ขนาด และจำนวนของเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง พื้นที่ในการทำการประมง รวมทั้งปริมาณสัตว์น้ำสูงสุดที่อนุญาตให้ทำการประมงได้ หรือห้วงเวลาที่อนุญาตให้ทำการประมงได้ แล้วแต่กรณี ไว้ในใบอนุญาตด้วย ใบอนุญาตให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ข้อ ๘ เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงตามอัตราที่กำหนดแล้ว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต พร้อมทั้งแจ้งเครื่องหมายประจำเรือประมงเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตไปดำเนินการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนดตามมาตรา ๘๑ (๔) ข้อ ๙ ในกรณีที่มีการคำนวณขีดความสามารถในการทำการประมงและปริมาณผลิตผลสูงสุดของสัตว์น้ำที่สามารถทำการประมงอย่างยั่งยืนตามที่กำหนดไว้ในแผนบริหารจัดการการประมงใหม่ในระหว่างที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นอายุ ให้อธิบดีประกาศกำหนดปริมาณสัตว์น้ำสูงสุดที่อนุญาตให้ทำการประมงหรือกำหนดห้วงเวลาที่อนุญาตให้ทำการประมงใหม่ได้ แล้วแต่กรณี โดยให้ถือเป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเดิม การประกาศตามวรรคหนึ่ง ต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ข้อ ๑๐ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้แก่บุพการี คู่สมรส หรือผู้สืบสันดานของตน ให้ยื่นคำขอโอนใบอนุญาตต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๓ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ใบอนุญาตที่ได้รับอนุญาตให้โอนแล้ว ให้เขียนหรือประทับตราคำว่า “โอนแล้ว” ด้วยอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบอนุญาต และให้ระบุชื่อผู้รับโอน วัน เดือน ปีที่อนุญาตให้โอนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้อนุญาตกำกับไว้ด้วย ให้นำความในข้อ ๔ และข้อ ๖ (๑) (๒) และ (๓) มาใช้บังคับกับการโอนใบอนุญาตและผู้รับโอนใบอนุญาตโดยอนุโลม และเมื่อได้ตรวจสอบคุณสมบัติผู้รับโอนใบอนุญาตแล้ว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ยื่นคำขอต่อไป โดยให้นำความในข้อ ๗ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๓ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตและใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญจริง ให้เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อออกใบแทนใบอนุญาตให้กับผู้ยื่นคำขอ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้ใช้แบบใบอนุญาตเดิม และระบุคำว่า “ใบแทน” หรือใช้ข้อความอื่นใดทำนองเดียวกันไว้ที่กึ่งกลางส่วนบนด้านหน้าของใบอนุญาต ให้นำความในข้อ ๗ วรรคสอง มาใช้บังคับกับการออกใบแทนใบอนุญาตโดยอนุโลม ข้อ ๑๒ คำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การออกใบอนุญาตและการโอนใบอนุญาต ประกอบกับมาตรา ๓๖ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติให้การทำการประมงพาณิชย์ต้องได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๘/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
746460
กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงน้ำจืดในที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงน้ำจืดในที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตทำการประมงน้ำจืดในที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยใช้เครื่องมือทำการประมงตามมาตรา ๓๑ “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้มีอำนาจปฏิบัติการตามมาตรา ๓๑ ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงน้ำจืดในที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยใช้เครื่องมือทำการประมงตามมาตรา ๓๑ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ การยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมประมง (๒) จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอ (๓) สถานที่และวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอรับใบอนุญาต และเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต เอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาต หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าคำขอรับใบอนุญาตนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ ข้อ ๔ ในกรณีที่คำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอตามวรรคหนึ่งให้ใช้แทนใบอนุญาตได้ในระหว่างที่พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาต ข้อ ๕ การพิจารณาอนุญาตให้ทำการประมงน้ำจืดในที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยใช้เครื่องมือทำการประมงตามมาตรา ๓๑ ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีสิทธิทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย (๒) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องเป็นประเภท ชนิด ขนาด และลักษณะตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (๓) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๖๘ ข้อ ๖ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอรับใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหรือหลักฐานถูกต้องครบถ้วน กรณีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แสดงเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ไว้ในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาด้วย ใบอนุญาตให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ข้อ ๗ เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงตามอัตราที่กำหนดแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่อาจกำหนดรายละเอียดของเงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วยการประมงไว้ในใบอนุญาตเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามด้วยก็ได้ ข้อ ๘ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง หรือเพิ่มเครื่องมือทำการประมงที่จะใช้ทำการประมง ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ข้อ ๙ การพิจารณาอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง หรือเพิ่มเครื่องมือทำการประมงที่จะใช้ทำการประมง ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตต้องยังไม่สิ้นอายุ (๒) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องเป็นประเภท ชนิด ขนาด และลักษณะตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (๓) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา ๖๗ หรือมาตรา ๖๘ ข้อ ๑๐ ให้นำความในข้อ ๓ และข้อ ๔ มาใช้บังคับกับการขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง หรือเพิ่มเครื่องมือทำการประมงที่จะใช้ทำการประมงโดยอนุโลม และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ แล้ว ให้นำความในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง หรือเพิ่มเครื่องมือทำการประมงที่จะใช้ทำการประมง และผู้รับใบอนุญาตได้ชำระค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายการเกี่ยวกับประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะ และจำนวนของเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมงในใบอนุญาตเดิม ข้อ ๑๒ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ให้นำความในข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ มาใช้บังคับกับการต่ออายุใบอนุญาตโดยอนุโลม การอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจะแสดงไว้ในรายการท้ายใบอนุญาตหรือจะออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตเดิมให้ใหม่ก็ได้ ข้อ ๑๓ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตให้แก่บุพการี คู่สมรส หรือผู้สืบสันดานของตนให้ยื่นคำขอโอนใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ใบอนุญาตที่ได้รับอนุญาตให้โอนแล้ว ให้เขียนหรือประทับตราคำว่า “โอนแล้ว” ด้วยอักษรสีแดงไว้ด้านบนของใบอนุญาต และให้ระบุชื่อผู้รับโอน วัน เดือน ปีที่อนุญาตให้โอนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อผู้อนุญาตกำกับไว้ด้วย ให้นำความในข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ (๑) ข้อ ๖ วรรคหนึ่ง และข้อ ๗ มาใช้บังคับกับการโอนใบอนุญาตและผู้รับโอนใบอนุญาตโดยอนุโลม ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วพบว่า ผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตและใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญจริง ให้ออกใบแทนใบอนุญาตให้กับผู้ยื่นคำขอ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้ใช้แบบใบอนุญาตเดิม และระบุคำว่า “ใบแทน” หรือใช้ข้อความอื่นใดทำนองเดียวกันไว้ที่กึ่งกลางส่วนบนด้านหน้าของใบอนุญาต ให้นำความในข้อ ๖ วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับการออกใบแทนใบอนุญาตโดยอนุโลม ข้อ ๑๕ คำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง หรือเพิ่มเครื่องมือทำการประมงที่จะใช้ทำการประมง คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการโอนใบอนุญาต ประกอบกับมาตรา ๓๑ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติให้การทำประมงน้ำจืดในที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยใช้เครื่องมือทำการประมงตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ต้องได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๓ มีนาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๘ ก/หน้า ๓/๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
745819
กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ใบอนุญาต” หมายความว่า ใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะใช้เรือประมงไทยทำการประมงในเขตทะเลนอกน่านน้ำไทยตามมาตรา ๔๘ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอรับใบอนุญาต การยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กองบริหารจัดการด้านการประมง กรมประมง (๒) สถานที่และวิธีการอื่นตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของคำขอรับใบอนุญาต และเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต เอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนให้แจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาต หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีที่ผู้ขอรับใบอนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับใบอนุญาตหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าคำขอรับใบอนุญาตนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ ข้อ ๔ ในกรณีที่คำขอรับใบอนุญาตและเอกสารหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต และให้นัดวันและเวลาโดยแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับใบอนุญาตทราบ เพื่อทำการตรวจสอบเรือประมง เครื่องมือทำการประมง และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องติดตั้งในเรือประมง การดำเนินการตามวรรคหนึ่งกับเรือประมงที่มิได้อยู่ในน่านน้ำไทย ให้เป็นไปตามวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา และผู้ขอรับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมและค่าป่วยการพิเศษตามอัตราที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ ๕ การพิจารณาอนุญาตให้ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ (๒) การขอรับใบอนุญาตทำการประมงในเขตของรัฐชายฝั่ง ต้องเป็นรัฐชายฝั่งที่ประเทศไทยมีบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการประมงกับรัฐชายฝั่งนั้น (๓) การขอรับใบอนุญาตทำการประมงที่อยู่ในเขตทะเลหลวง ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมิใช่ผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในเรือประมงที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือประมงที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีประกาศตามมาตรา ๙๔ วรรคสอง หรือมาตรา ๑๑๖ และในกรณีการขอรับใบอนุญาตทำการประมงในทะเลหลวงที่อยู่ในเขตความควบคุมดูแลขององค์การระหว่างประเทศต้องเป็นองค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก (๔) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในเรือประมงที่จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทย (๕) มีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนดตามมาตรา ๘๑ (๑) (๖) เครื่องมือทำการประมงที่จะขออนุญาตใช้ทำการประมงต้องเป็นประเภท ชนิด ขนาด และมีจำนวนตรงตามที่ระบุไว้ในคำขอรับใบอนุญาต และไม่เป็นเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา ๖๗ หรือเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในเขตของรัฐชายฝั่งหรือในเขตขององค์การระหว่างประเทศที่ผู้ขอรับใบอนุญาตประสงค์จะทำการประมง (๗) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมงจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (๘) ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องมีหลักฐานเกี่ยวกับการจัดระบบความปลอดภัย สุขอนามัยและสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยระบบความปลอดภัยสุขอนามัย และสวัสดิภาพในการทำงานของคนประจำเรือ (๙) เรือที่จะใช้ทำการประมงต้องมีใบอนุญาตใช้เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยและต้องมีหมายเลขไอเอ็มโอสำหรับเรือที่มีลักษณะตามที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization) กำหนด ข้อ ๖ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบคุณสมบัติผู้ขอรับใบอนุญาต เรือประมง เครื่องมือทำการประมง ระบบติดตามเรือประมง รวมทั้งหลักเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ แล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาตและเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนสำหรับกรณีที่เรือประมงอยู่ในน่านน้ำไทย หรือภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาตและเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วน สำหรับกรณีที่เรือประมงมิได้อยู่ในน่านน้ำไทยกรณีมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้แสดงเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ไว้ในหนังสือแจ้งผลการพิจารณาด้วย ใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยให้ออกสำหรับเรือประมงแต่ละลำ โดยต้องระบุประเภท ชนิด ขนาด หรือจำนวนของเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมงและพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมง ใบอนุญาตให้มีอายุสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต ข้อ ๗ เมื่อผู้ขอรับใบอนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมและค่าอากรตามอัตราที่กำหนดแล้ว ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอรับใบอนุญาต พร้อมทั้งแจ้งเครื่องหมายประจำเรือประมง เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตไปดำเนินการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนดตามมาตรา ๘๑ (๔) ทั้งนี้ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอาจกำหนดรายละเอียดของเงื่อนไขที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกฎหมายว่าด้วยการประมงไว้ในใบอนุญาตเพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามด้วยก็ได้ ข้อ ๘ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง เพิ่มเครื่องมือที่จะใช้ทำการประมง หรือเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ให้ยื่นคำขอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ณ สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ข้อ ๙ การพิจารณาอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเครื่องมือที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมงเพิ่มเครื่องมือที่จะใช้ทำการประมง หรือเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทยให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตยังไม่สิ้นอายุ (๒) เครื่องมือทำการประมงต้องไม่เป็นเครื่องมือที่ห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา ๖๗ หรือเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในเขตรัฐชายฝั่งหรือในเขตขององค์การระหว่างประเทศที่ผู้ขอรับใบอนุญาตประสงค์จะทำการประมง ข้อ ๑๐ ให้นำความในข้อ ๓ และข้อ ๔ มาใช้บังคับกับการขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง เพิ่มเครื่องมือที่จะใช้ทำการประมง หรือเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทยโดยอนุโลม และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เสนอความเห็นประกอบการพิจารณาต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายต่อไป และให้นำความในข้อ ๖ วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๑ เมื่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีคำสั่งอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเครื่องมือที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมงหรือเพิ่มเครื่องมือที่จะใช้ทำการประมงและผู้รับใบอนุญาตได้ชำระค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว หรืออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายการเกี่ยวกับประเภท ชนิด ขนาด และจำนวนของเครื่องมือทำการประมงที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ทำการประมง หรือเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในใบอนุญาตเดิม ข้อ ๑๒ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอก่อนใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ ให้นำความในข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ มาใช้บังคับกับการขอต่ออายุใบอนุญาตโดยอนุโลม การอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตจะแสดงไว้ในรายการท้ายใบอนุญาต หรือจะออกใบอนุญาตตามแบบใบอนุญาตเดิมให้ใหม่ก็ได้ ข้อ ๑๓ ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ตามข้อ ๒ พร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว พบว่าผู้ขอรับใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตและใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญจริง ให้ออกใบแทนใบอนุญาตให้กับผู้ยื่นคำขอ การออกใบแทนใบอนุญาต ให้ใช้แบบใบอนุญาตเดิม และระบุคำว่า “ใบแทน” หรือใช้ข้อความอื่นใดทำนองเดียวกันไว้ที่กึ่งกลางส่วนบนด้านหน้าของใบอนุญาต ข้อ ๑๔ คำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอรับใบแทนใบอนุญาตและคำขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมง เพิ่มเครื่องมือที่จะใช้ทำการประมงหรือเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๑๕ บรรดาใบอนุญาตให้ออกไปทำการประมงในน่านน้ำของรัฐต่างประเทศ และในทะเลหลวงที่ได้ออกให้ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๘ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การออกใบอนุญาตและการต่ออายุใบอนุญาต ประกอบกับมาตรา ๔๘ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติให้การจะใช้เรือประมงไทยทำการประมงในเขตทะเลนอกน่านน้ำไทย ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๑๙/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
745815
กฎกระทรวงกำหนดค่าอากรและค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประมง พ.ศ. 2559
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดค่าอากรและค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประมง พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กำหนดค่าอากรใบอนุญาตให้ใช้เครื่องมือทำการประมงตามประเภทเครื่องมือทำการประมง ดังต่อไปนี้ (๑) ประเภทเครื่องมืออวนลาก (ก) อวนลากคู่ เมตรละ ๓๐๐.๐๐ บาท (ข) อวนลากเดี่ยว เมตรละ ๒๐๐.๐๐ บาท (๒) ประเภทเครื่องมืออวนล้อมจับ เมตรละ ๑๐.๐๐ บาท (๓) ประเภทเครื่องมืออวนช้อน อวนยก หรืออวนครอบ เมตรละ ๑๐.๐๐ บาท (๔) ประเภทเครื่องมืออวนติดตาหรือข่าย (ก) อวนติดตาหรือข่าย ทำการประมงน้ำจืด เมตรละ ๐.๕๐ บาท (ข) อวนติดตา ทำการประมงพื้นบ้าน เมตรละ ๐.๕๐ บาท (ค) อวนติดตา ทำการประมงพาณิชย์ เมตรละ ๑.๐๐ บาท (๕) ประเภทเครื่องมืออวนอื่น เครื่องมืออวนรุนเคย เมตรละ ๕.๐๐ บาท (๖) ประเภทเครื่องมือคราด (ก) คราดหอยลาย อันละ ๒,๕๐๐.๐๐ บาท (ข) คราดหอยแครง อันละ ๑,๕๐๐.๐๐ บาท (ค) คราดหอยอื่น อันละ ๕๐๐.๐๐ บาท (๗) ประเภทเครื่องมือโป๊ะ ลูกละ ๒,๐๐๐.๐๐ บาท (๘) ประเภทเครื่องมือลอบ (ก) ลอบปลา ลูกละ ๕.๐๐ บาท (ข) ลอบปู ลูกละ ๑.๐๐ บาท (ค) ลอบหมึก ลูกละ ๕.๐๐ บาท (ง) ลอบหมึกสาย ลูกละ ๐.๕๐ บาท (๙) ยอขันช่อ ช้อนขันช่อ ช้อนสนั่น หรือช้อนหางเหยี่ยวมีเครื่องยก ปากละ ๒๐๐.๐๐ บาท (๑๐) ช้อนปีก ยอปีก หรือบาม ปากละ ๓๐๐.๐๐ บาท (๑๑) ช้อนอื่นนอกจาก (๙) และ (๑๐) ที่มีปากกว้างตั้งแต่ ๓.๕ เมตรขึ้นไป ปากละ ๕๐.๐๐ บาท (๑๒) เบ็ดราวยาวตั้งแต่ ๑๐๐ เมตรขึ้นไป (ก) ทำการประมงน้ำจืด และทำการประมงพื้นบ้าน สายละ ๒๐.๐๐ บาท (ข) ทำการประมงพาณิชย์ สายละ ๕๐.๐๐ บาท (๑๓) แหยาวตั้งแต่ ๓ เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา) ปากละ ๑๐.๐๐ บาท (๑๔) ประเภทเครื่องมืออื่น ๆ หน่วยละ ๑๐๐.๐๐ บาท ข้อ ๒ ให้กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับการประมง ดังต่อไปนี้ (๑) ใบอนุญาตทำการประมง (ก) ใบอนุญาตทำการประมงน้ำจืด ฉบับละ ๑๐๐.๐๐ บาท (ข) ใบอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ฉบับละ ๑๐๐.๐๐ บาท (ค) ใบอนุญาตทำการประมงโดยไม่ใช้ เรือประมง ๑) ในเขตน่านน้ำภายใน ฉบับละ ๒๐๐.๐๐ บาท ๒) ในเขตทะเลชายฝั่ง ฉบับละ ๕๐๐.๐๐ บาท ๓) ในเขตทะเลนอกชายฝั่ง ฉบับละ ๑,๐๐๐.๐๐ บาท (ง) ใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ๑) โดยใช้เรือขนาดตั้งแต่ ๑๐ ตันกรอสขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๒๐ ตันกรอส ฉบับละ ๕๐๐.๐๐ บาท ๒) โดยใช้เรือขนาดตั้งแต่ ๒๐ ตันกรอสขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๖๐ ตันกรอส ฉบับละ ๒,๐๐๐.๐๐ บาท ๓) โดยใช้เรือขนาดตั้งแต่ ๖๐ ตันกรอสขึ้นไป ฉบับละ ๓,๐๐๐.๐๐ บาท (จ) ใบอนุญาตทำการประมง นอกน่านน้ำไทย ๑) ในเขตของรัฐชายฝั่ง ฉบับละ ๕,๐๐๐.๐๐ บาท ๒) ในเขตทะเลหลวง ฉบับละ ๘,๐๐๐.๐๐ บาท (๒) ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน (ก) ทำการเพาะเลี้ยงปลา กุ้ง กบ ตารางเมตรละ ๒.๐๐ บาท (ข) ทำการเพาะเลี้ยงหอย ตารางเมตรละ ๐.๕๐ บาท (ค) ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอื่น ตารางเมตรละ ๑.๐๐ บาท (๓) ใบอนุญาตให้นำเข้า ส่งออก หรือ นำผ่านสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ฉบับละ ๒๐๐.๐๐ บาท (๔) การจดทะเบียนเรือเป็นเรือขนถ่าย สัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (ก) เรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษา สัตว์น้ำในเขตทะเลนอกชายฝั่ง (ขนาด ๓๐ ตันกรอสขึ้นไป แต่ไม่ถึง ๖๐ ตันกรอส) ฉบับละ ๒,๐๐๐.๐๐ บาท (ข) เรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษา สัตว์น้ำในเขตทะเลนอกชายฝั่ง (ขนาด ๖๐ ตันกรอสขึ้นไป) ฉบับละ ๕,๐๐๐.๐๐ บาท (ค) เรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษา สัตว์น้ำในเขตทะเลนอกน่านน้ำไทย ฉบับละ ๘,๐๐๐.๐๐ บาท (๕) ใบอนุญาตให้ทำงานในเรือประมง ฉบับละ ๑๐๐.๐๐ บาท (๖) ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐.๐๐ บาท (๗) การโอนใบอนุญาต ฉบับละ ๕๐.๐๐ บาท (๘) การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียม ใบอนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าอากรและค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชกำหนด และจะกำหนดอัตราค่าอากรหรือค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันโดยคำนึงถึงประเภท ชนิด ขนาด หรือจำนวนของเรือประมงหรือเครื่องมือทำการประมง หรือประเภท ชนิด ขนาด ลักษณะ หรือรูปแบบของกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือการทำการประมงก็ได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๑๕/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
326840
กฎกระทรวง ว่าด้วยการขอและการออกอาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดทำการประมง พ.ศ. 2545
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ว่าด้วยการขอและการออกอาชญาบัตร เพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดทำการประมง พ.ศ. ๒๕๔๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ (๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดชนิดใดทำการประมง ต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (๑) คำขออาชญาบัตรตามแบบ (คำขอ ๑) ท้ายกฎกระทรวงนี้ (๒) อาชญาบัตรฉบับหลังสุดที่ผู้ขออาชญาบัตรได้รับสำหรับเครื่องมือในพิกัดชนิดนั้น (ถ้ามี) (๓) ในกรณีที่ใช้เรือเป็นเครื่องมือทำการประมง ต้องแนบสำเนาใบอนุญาตใช้เรือหรือสำเนาใบทะเบียนเรือไทยของกรมเจ้าท่า แต่หากเรือนั้นมีขนาดความยาวไม่เกินสิบสี่เมตร สามารถใช้สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ แทนสำเนาใบอนุญาตใช้เรือ หรือสำเนาทะเบียนเรือไทยก็ได้ (๔) หลักฐานแสดงว่านิติบุคคลที่ขออาชญาบัตรมีวัตถุประสงค์ในการทำการประมงและหลักฐานแสดงว่าผู้ที่ยื่นคำขออาชญาบัตรมีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้นในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออาชญาบัตร ในกรณีที่ผู้ขออาชญาบัตรตามวรรคหนึ่งประสงค์จะให้บุคคลในครอบครัว หรือลูกจ้างมีสิทธิใช้เครื่องมือในพิกัดนั้น ให้ระบุชื่อสกุลของบุคคลหรือลูกจ้างนั้นไว้ในคำขออาชญาบัตรด้วย ข้อ ๓ ในการยื่นคำขอตามข้อ ๒ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สงสัยอาจสั่งให้ผู้ขออาชญาบัตรนำเครื่องมือนั้นมาให้ตรวจก็ได้ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นตรวจวัดแทนและรับรองก็ได้ ข้อ ๔ เมื่อได้รับคำขอตามความในข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรออกอาชญาบัตรให้ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกอาชญาบัตรที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และออกอาชญาบัตรให้แก่ผู้ขอ ข้อ ๕ อาชญาบัตรทุกฉบับต้องให้นายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบออำนาจจากนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต และให้ใช้แบบอาชญาบัตร (อนุญาต ๑) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๖ ผู้รับอาชญาบัตรรายใดประสงค์จะขอสลักหลังอาชญาบัตรเพื่อตัดทอนหรือเพิ่มเติมบุคคลในครอบครัวหรือลูกจ้างของตนให้เป็นผู้มีสิทธิใช้เครื่องมือในพิกัด ให้ยื่นรายชื่อบุคคลที่จะตัดทอนหรือเพิ่มเติมต่อนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี พร้อมด้วยอาชญาบัตร และผู้รับอาชญาบัตรจะต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าสลักหลังตามกฎกระทรวง และให้นายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในการสลักหลัง ข้อ ๗ ผู้รับอาชญาบัตรรายใดนำเครื่องมือในพิกัดนั้นไปใช้ทำการประมงในท้องที่อื่น ซึ่งเก็บอากรสูงกว่าที่ตนได้ชำระแล้ว ให้ผู้รับอาชญาบัตรนั้นนำอาชญาบัตรไปเสียอากรเพิ่มเติมต่อนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี ที่ตนนำเครื่องมือในพิกัดไปใช้ทำการประมง ต่อเมื่อได้ชำระเงินอากรเพิ่มเติม และนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี ได้สลักหลังอาชญาบัตรว่าได้เสียอากรเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแล้ว จึงจะใช้เครื่องมือนั้นทำการประมงได้ ข้อ ๘ ถ้าอาชญาบัตรที่ออกให้ตามกฎกระทรวงนี้สูญหายหรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญ ผู้รับอาชญาบัตรมีสิทธิยื่นคำขอรับใบแทนอาชญาบัตรตามแบบ (คำขอ ๒) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี โดยให้ส่งอาชญาบัตรที่ชำรุดเสียหายไปด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและได้สอบสวนพิจารณาเห็นสมควรออกใบแทนให้ ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบแทนตามกฎกระทรวง และออกใบแทนอาชญาบัตรอันมีข้อความอย่างเดียวกับอาชญาบัตรที่สูญหายหรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญให้แก่ผู้รับอาชญาบัตรโดยให้เขียนคำว่า “ใบแทน” ด้วยหมึกสีแดงไว้ตอนบน ใบแทนอาชญาบัตรทุกฉบับต้องให้นายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี ในท้องที่เดียวกันเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในใบแทน ข้อ ๙ ถ้าผู้รับอาชญาบัตรประสงค์จะโอนอาชญาบัตรของตนให้แก่ผู้อื่น ให้ยื่นเรื่องราวชี้แจงเหตุผลพร้อมด้วยอาชญาบัตรต่อนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องราวและได้พิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการนั้นแล้ว ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้นายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายอำเภอท้องที่หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี สลักหลังการโอนและระบุชื่อผู้รับโอนไว้ในอาชญาบัตร และมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้รับโอนต่อไป ข้อ ๑๐ ถ้าผู้รับอาชญาบัตรได้รับการผ่อนเวลาชำระเงินอากรค่าอาชญาบัตร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตตามแบบ (อนุญาต ๒) ท้ายกฎกระทรวงนี้ให้แก่ผู้รับอาชญาบัตรแทนอาชญาบัตร และให้ผู้รับอาชญาบัตรมีสิทธิใช้เครื่องมือนั้นทำการประมงได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตระหว่างผ่อนเวลาชำระเงินอากร ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขออาชญาบัตร (คำขอ ๑) ๒. อาชญาบัตร (อนุญาต ๑) ๓. คำขอใบแทนประทานบัตร ใบอนุญาต หรืออาชญาบัตร (คำขอ ๒) ๔. ใบอนุญาตระหว่างผ่อนเวลาชำระเงินอากรตามมาตรา ๓๙ (อนุญาต ๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกอาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดทำการประมง เพื่อให้กรมประมงมีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือในพิกัดที่ใช้กับเรือที่ใช้ทำการประมงอย่างครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการบริหารและจัดการทรัพยากรประมงอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ จุฑามาศ/ผู้จัดทำ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนที่ ๙๔ ก/หน้า ๗/๒๔ กันยายน ๒๕๔๕
301673
กฎกระทรวง ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในลำดับ ๘ (ค) ของบัญชีหมายเลข ๒ อัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัด ท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ลำดับ ชื่อเครื่องมือ อัตราอากร บาท สตางค์ “(ค) อวนลากปลา และอวนลากกุ้ง ยาวเมตรละ ๕ -” ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ กำหนดประเภทอวนที่ใช้จับสัตว์น้ำแต่ละชนิดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การจับสัตว์น้ำไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล สมควรกำหนดอัตราอากรอาชญาบัตรให้สอดคล้องกับการกำหนดประเภทของอวนดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๑๐/๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๙
301672
กฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ (๑๓) และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความใน (๑๒) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัดออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๑๒) อวนลอย อวนลากปลา อวนลากกุ้ง และอวนอื่น ๆ” ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ สุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันมีอวนสำหรับใช้จับสัตว์น้ำเฉพาะประเภทเพื่อให้การจับสัตว์น้ำไม่กระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล ดังนั้น เพื่อให้การอนุรักษ์สัตว์น้ำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สมควรกำหนดประเภทอวนที่จะใช้จับสัตว์น้ำบางประเภทให้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ในการใช้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๓/ตอนที่ ๕๑ ก/หน้า ๘/๑๔ ตุลาคม ๒๕๓๙
318170
กฎกระทรวง ฉะบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (Update ณ วันที่ 15/07/2522)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (13) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ เครื่องมือทำการประมงต่อไปนี้เป็นเครื่องมือในพิกัด (1) ยอขันช่อ (2) ช้อนขันช่อ (3) ช้อนสนั่น (4) ช้อนหางเหยี่ยว (5) ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมานหรือกั้นซู่รั้วไซมาน (6) ถุงบาม (7) เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา (8) แหยาวตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา) (9) ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป (10) เบ็ดราวยาวตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป (11) ข่าย (12) อวนต่าง ๆ (13) เฝือก (14) เครื่องกั้น ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[5] `ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนด อัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490' *[2] `ยกเลิกกฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนด อัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490' กฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ *[6] `ข้อ 1 ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดชนิดใด ทำการประมงต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ต่อนายอำเภอท้องที่ คือ (1) คำขออาชญาบัตรตามแบบ (คำขอ 1) ท้ายกฎกระทรวงนี้ (2) อาชญาบัตรฉบับหลังที่สุดที่ผู้ขออาชญาบัตรได้รับสำหรับเครื่องมือ ในพิกัดชนิดนั้น (ถ้ามี) (3) สำเนาใบอนุญาตใช้เรือและสำเนาใบทะเบียนเรือไทยของกรมเจ้าท่า ในกรณีที่จะต้องใช้เรือเป็นเครื่องมือทำการประมง (4) หลักฐานแสดงว่านิติบุคคลที่ขออาชญาบัตรมีวัตถุประสงค์ในการ ทำการประมงและหลักฐานแสดงว่าผู้ยื่นคำขออาชญาบัตรมีอำนาจกระทำการ แทนนิติบุคคลนั้น ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออาชญาบัตร ในกรณีที่ผู้ขออาชญาบัตรตามวรรคหนึ่งประสงค์จะให้บุคคลในครอบครัว หรือลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือในพิกัดนั้น ให้ระบุชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคล หรือลูกจ้างนั้นไว้ในคำขออาชญาบัตรด้วย' ข้อ 2 ในการยื่นคำขอตามข้อ 1 นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สงสัยอาจ สั่งให้ผู้ขออนุญาตนำเครื่องมือนั้นมาให้ตรวจก็ได้ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นตรวจวัดแทนและรับรองก็ได้ ข้อ 3 เมื่อได้รับคำขอตามความในข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา คำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ตามกฎเกณฑ์ในระเบียบ วิธีการอนุญาตที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง และออกอาชญาบัตรให้แก่ผู้ขอ ข้อ 4 ใบอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต และให้ใช้ แบบอาชญาบัตร (อนุญาต 1) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5 ถ้าผู้รับอนุญาตใดประสงค์จะขอสลักหลังอาชญาบัตรเพื่อตัดทอน หรือเพิ่มบุคคลในครอบครัวหรือลูกจ้างของตนให้เป็นผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือในพิกัด ก็ให้ยื่นรายชื่อบุคคลที่จะตัดทอนหรือเพิ่มต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่พร้อมด้วย อาชญาบัตร และผู้รับอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าสลักหลังตามกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในการสลักหลัง ข้อ 6 ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดนำเครื่องมือในพิกัดนั้นไปใช้ทำการประมง ในท้องที่อื่นซึ่งเก็บอากรสูงกว่าที่ตนได้ชำระไว้แล้ว ก็ให้ผู้รับอนุญาตนั้นนำ อาชญาบัตรไปเสียอากรเพิ่มเติมต่อคณะกรมการอำเภอที่ตนนำเครื่องมือในพิกัด ไปใช้ทำการประมง ต่อเมื่อได้ชำระเงินอากรเพิ่มเติม และนายอำเภอ หรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี ได้สลักหลังอาชญาบัตร ว่าได้เสียเงินอากรเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแล้ว จึงจะใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ข้อ 7 ถ้าอาชญาบัตรที่ออกให้ตามกฎกระทรวงนี้ศูนย์หายหรือชำรุดเสียหาย ในสาระสำคัญ ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ยื่นคำขอนั้น ๆ รับใบแทนอาชญาบัตรตามแบบพิมพ์ (คำขอ 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อคณะกรรมการอำเภอท้องที่และให้ส่งอาชญาบัตร ที่ชำรุดไปด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและได้สอบสวนพิจารณาเห็นสมควร ออกใบแทนให้ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบแทนตามกฎกระทรวง และ ออกใบแทนอาชญาบัตรอันมีข้อความอย่างเดียวกับอาชญาบัตรที่ศูนย์หายหรือชำรุด เสียหายในสาระสำคัญให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่ให้เขียนคำว่า `ใบแทน' ด้วยหมึกสีแดง ไว้ตอนบน ใบแทนอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณีในท้องที่เดียวกัน เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาตในแบแทน ข้อ 8 ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะโอนอาชญาบัตรของตนให้แก่ผู้อื่น ให้ยื่น เรื่องราวชี้แจงเหตุผลพร้อมด้วยอาชญาบัตรต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ เมื่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องราว และได้พิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามกฎเกณฑ์ การโอนตามที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี สลักหลังการโอนและชื่อผู้รับโอนไว้ในอาชญาบัตรนั้น และมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้รับโอนต่อไป ข้อ 9 ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดได้รับการผ่อนเวลาชำระเงินอากรค่าอาชญาบัตร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้รับอนุญาตแทนอาชญาบัตร และให้ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ตามเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตระหว่างผ่อนเวลาชำระเงินอากร ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[6] คำขออาชญาบัตร (คำขอ 1) ------ อาชญาบัตร (อนุญาต 1) ------ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 5 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่อนุญาต ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในที่อนุญาตตามประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัด ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ ข้อ 2 ถ้าผู้ขออนุญาตเคยได้รับอนุญาตให้ทำการประมงหรือเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำในที่อนุญาตนั้นอยู่แล้ว ก็ให้แนบในอนุญาตปีก่อนมาพร้อมกับคำขอด้วย ข้อ 3 เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ก็ให้เรียกเก็บเงินอากร ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอต่อไป ข้อ 4 ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาตทุกฉะบับ ต้องให้นายอำเภอหรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาต และให้ใช้แบบพิมพ์ใบอนุญาต (อนุญาต 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5 การออกใบแทนใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตและการผ่อน เวลาชำระเงินอากรใบอนุญาต ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการออกใบแทนการ โอนอาชญาบัตรและการผ่อนเวลาชำระเงินอากรอาชญาบัตร ตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาใช้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (6) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1 บ่อล่อสัตว์น้ำ คือ ที่ล่อสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัตรของแผ่นดินก็ดี ไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้น จะมีลักษณะหรือรูปร่างอย่างใดโดยผู้ขุดหรือสร้างหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครอง มีความมุ่งหมายโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะล่อสัตว์น้ำจากที่จับสัตว์น้ำเพื่อ ประโยชน์ในการทำการประมง ข. การขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2 ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการ อำเภอท้องที่ ข้อ 3 เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ค. การทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 4 ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำด้วยวิธีวิดน้ำ หรือทำให้ น้ำในบ่อนั้นแห้งหรือลดน้อยลงไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้นจะอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์หรืออยู่ในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 5 เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 4 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 7 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (7) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1 บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ คือที่เลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ดี โดยผู้ขุดหรือสร้างหรือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความมุ่งหมายโดยตรงที่จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชะนิดใด ชะนิดหนึ่งหรือหลายชะนิดรวมกันให้เพิ่มจำนวนหรือเพิ่มน้ำหนักยิ่งขึ้น ข. การขุดเรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2 ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขออนุญาตตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 3 เมื่อได้รับคำขออนุญาตตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออก ตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ข้อ 4 ใบอนุญาตตามข้อ 3 ทุกฉะบับ ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อในใบอนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 8 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่ว่าประมูล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. การดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 1 ให้คณะกรมการจังหวัดท้องที่รายงานขออนุมัติการว่าประมูล ที่ว่าประมูลพร้อมทั้งชะนิด จำนวน และที่ตั้งเครื่องมือทำการประมงต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ก่อนดำเนินการออกประกาศว่าประมูลทุกคราว ข. คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 2 ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่สั่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ว่าประมูลขึ้นคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 นาย ประกอบด้วยข้าหลวงประจำจังหวัด ท้องที่หรือผู้รักษาการแทน ประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน และนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอท้องที่หรือผู้รักษาการแทนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทนก็ให้ข้าหลวงประจำ จังหวัดแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นกรรมการแทน ข้อ 3 ให้คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ ว่าประมูล ที่ว่าประมูลในท้องที่จังหวัดนั้นตามวิธีการและกฎเกณฑ์ในระเบียบการ ว่าประมูลซึ่งได้กำหนดไว้ ข้อ 4 ในการว่าประมูลคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลจะกำหนดให้ ว่าประมูลโดยวิธีปิดซองหรือโดยวิธีปากเปล่าก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร และจะ กำหนดอัตราเงินอากรขั้นต่ำสำหรับการว่าประมูลไว้ก็ได้ *[3] `ข้อ 5 บรรดาที่ว่าประมูลทุกแห่งจะต้องอนุญาตให้บุคคลทำการประมง หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยวิธีว่าประมูล เว้นแต่ที่ว่าประมูลแห่งใดที่สมควรอนุญาต ให้แก่สหกรณ์การประมงเป็นผู้รับอนุญาต หรือสมควรอนุญาตให้แก่ผู้รับอนุญาตที่ ประทานบัตรสิ้นอายุในปีที่พึ่งล่วงมา และเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ได้ผล ก็ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร มีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตได้โดยไม่ต้องว่าประมูล ถ้าที่ว่าประมูลแห่งใดไม่มีผู้เข้าว่าประมูล หรือมีผู้เข้าว่าประมูลเพียง รายเดียว หรือผู้เข้าว่าประมูลให้อากรต่ำเกินสมควร จะระงับการว่าประมูลเสีย ก็ได้ หรือถ้าคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลได้พิจารณาเห็นสมควร จะอนุญาต ให้ผู้ใดเป็นผู้รับอนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลนั้น โดย กำหนดจำนวนเงินอากรที่จะเรียกเก็บตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากอธิบดีกรมประมงก่อน และจำนวนเงินอากรจะต้องไม่ต่ำกว่า อัตราค่าที่อนุญาตประเภทนั้น ๆ' ค. วิธีการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 6 ก่อนเวลาดำเนินการว่าประมูลที่ว่าประมูลแห่งใดให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่ทำหนังสือประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนวันว่าประมูล เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ปิดประกาศไว้ที่ศาลากลางจังหวัดท้องที่ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ และที่ชุมนุมชนตามที่เห็นสมควร ข้อ 7 ในประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัดตามข้อ 6 จะต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้ คือ ชื่อที่ว่าประมูล ที่ว่าประมูลนั้นอยู่ในตำบลใด อำเภอใด สถานที่ ทำการว่าประมูล วันและเวลาทำการว่าประมูล ที่ตั้งและชื่อเครื่องมือทำการ ประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่ว่าประมูล กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมง และกำหนดวันเดือนปีทำสัญญาและการส่งเงินอากร ง. กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมงในที่ว่าประมูล ------ ข้อ 8 กำหนดอายุการอนุญาตในการประมงในที่ว่าประมูลนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่มีอำนาจกำหนดการอนุญาตได้คราวละ 1 ปี เมื่อหมดอายุ การอนุญาตแล้วก็ให้ดำเนินการว่าประมูลใหม่ ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณา เห็นสมควรกำหนดอายุการอนุญาตเกินกว่า 1 ปี ก็ให้รายงานขออนุญาตต่ออธิบดี กรมการประมง จ. การออกประทานบัตรและการทำสัญญา ------ ข้อ 9 เมื่อคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลชี้ขาดให้ผู้ใดเป็นผู้ได้รับ อนุญาตแล้ว ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่ดำเนินการเรียกให้ผู้นั้นนำหลักทรัพย์ หรือจัดหาผู้ค้ำประกันเงินอากรตามข้อ 13 และดำเนินการออกประทานบัตรตาม แบบพิมพ์ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้ผู้รับอนุญาตทำสัญญาผูกขาดตามแบบที่อธิบดี กรมการประมงกำหนด ข้อ 10 ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตใน ประทานบัตร ส่วนในสัญญาผูกขาดที่กระทรวงเกษตราธิการทำกับผู้อนุญาตนั้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่กับประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน เป็น ผู้ลงลายมือชื่อแทนกระทรวงเกษตราธิการ แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัด หรือผู้รักษาการแทน ก็ให้ผู้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 11 การทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 และ 10 ให้ทำเป็นสองฉะบับ มีข้อความตรงกัน และให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละ หนึ่งฉะบับ ในสัญญาผูกขาดจะต้องแสดงอาณาเขตต์ที่ว่าประมูล และที่ตั้งเครื่องมือ ทำการประมงแบบไว้ด้วย ฉ. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ------ ข้อ 12 การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ให้ผู้รับอนุญาตชำระทั้งหมด ในเวลารับประทานบัตรและลงลายมือชื่อในสัญญาผูกขาด เว้นแต่จะได้มีการ ผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ช. หลักทรัพย์และผู้ค้ำประกัน ------ ข้อ 13 ในกรณีที่มีการผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ผู้รับอนุญาต จะต้องนำหลักทรัพย์คือโฉนดที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์มาจำนองไว้เป็นประกัน การชำระอากร ถ้าหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้วมีราคายังไม่คุ้มกับเงินอากร ก็ให้ ผู้รับอนุญาตหาผู้ค้ำประกันที่มีหลักทรัพย์มั่นคงเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ ดำเนินการว่าประมูลมาทำสัญญาจำนองหรือค้ำประกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วจึงให้ข้าหลวงประจำจังหวัดออกประทานบัตร และทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 ซ. การผิดชำระอากรและการผ่อนเวลาชำระอากร ------ ข้อ 14 เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แล้ว ปรากฏว่าเงินอากรยังค้างชำระอยู่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งรัดให้ผู้ค้ำประกัน ชำระเงินอากรโดยไม่ชักช้า ฌ. การโอนประทานบัตร ------ ข้อ 15 ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะโอนประทานบัตรและสัญญา ผูกขาดในที่ว่าประมูลซึ่งตนได้รับให้แก่ผู้อื่นให้ผู้รับอนุญาตและผู้รับโอนยื่น เรื่องราวขออนุญาตโอนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียม ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและได้รับอนุญาตแล้ว จึงจำทำการโอนกันได้ ข้อ 16 การโอนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดตามข้อ 15 ผู้โอนจะต้อง นำประทานบัตรมาให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสลักหลังการโอน และผู้รับโอนจะต้อง ทำสัญญาผูกขาดกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อความเช่นเดียวกับผู้ที่ทำกับผู้โอน และ ต้องปฏิบัติในเรื่องหลักทรัพย์ประกัน ผู้ค้ำประกันและอื่น ๆ ตามกฎกระทรวงนี้ ญ. การเวนคืนที่ว่าประมูล ------ ข้อ 17 ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะเวนคืนที่ว่าประมูลให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ก่อนสิ้นกำหนดอายุการอนุญาตตามประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้ผู้นั้น ยื่นเรื่องราวขอเวนคืนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 18 เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดได้รับเรื่องราวขอเวนคืนที่ว่าประมูลแล้ว และได้พิจารณาเห็นสมควรจะรับเวนคืน ก็ให้สั่งอนุญาตให้เวนคืนได้ ส่วนทรัพย์สิน ที่ผู้นั้นนำมาวางประกันและสัญญาค้ำประกัน ให้คงยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้จัดการ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่ที่ว่าประมูลนั้น เพื่อให้ได้เงินอากรครบตามสัญญาผูกขาด ข้อ 19 ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณาเห็นสมควรให้จัดการว่าประมูล ที่ว่าประมูลที่เวนคืนนั้นใหม่ ก็ให้กรรมการดำเนินการว่าประมูลดำเนินการต่อไปได้ หากได้เงินอากรต่ำกว่าการประมูลคราวแรกเท่าใด ก็ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด เรียกเงินอากรที่ยังขาดจากผู้เวนคืนจนครบ ข้อ 20 ที่ว่าประมูลซึ่งผู้รับอนุญาตขอเวนคืนนั้น แม้ผู้รับอนุญาตจะยังไม่ได้ ลงมือทำการประมงในที่ว่าประมูลนั้นเลยก็ดี เงินอากรที่ผู้รับอนุญาตชำระแล้ว จะเรียกคืนมิได้แต่ถ้าการขอเวนคืนนั้น เนื่องจากเหตุที่ทางราชการได้กระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด ทำให้เสียประโยชน์ของผู้รับอนุญาตในการทำการประมงใน ที่ว่าประมูลนั้น เช่นการปิดทำนบเป็นต้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดรับคืนที่ว่าประมูล นั้น และส่งคืนเงินอากรที่ได้ชำระแล้วให้แก่ผู้รับอนุญาตทั้งหมดแต่ถ้าผู้รับอนุญาต ได้ลงมือทำการประมงได้ผลประโยชน์ไปบ้างแล้ว ก็ให้พิจารณาว่าจะควรคืนเงิน อากรที่ชำระให้แล้วเพียงใดหรือไม่ต้องคืนเลย โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่ ผู้รับอนุญาตได้รับจากที่ว่าประมูลนั้นแล้วเพียงใด ฎ. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ------ ข้อ 21 การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้นำบทบัญญัติ แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการออกใบแทนอาชญาบัตร มาใช้โดยอนุโลม และในใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 9 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยใบอนุญาตรายบุคคล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงโดยใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต รายบุคคล หรือทำการหาหอยแมลงภู่และหอยกระพงหรือเทียนหอยและหอยมุกด์ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 1) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ให้พิจารณา ถ้าเห็นสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และดำเนินการออกใบอนุญาตให้ตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 5) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3 ใบอนุญาตทุกฉะบับที่ออกให้ตามข้อ 2 ให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ประจำกิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 10 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการติดโคมไฟและเครื่องหมาย ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือประจำที่ มีหน้าที่ต้องติดโคมไฟ และเครื่องหมายแผ่นสี่เหลี่ยมสีขาวกว้าง 20 เซ็นติเมตร ยาว 50 เซ็นติเมตร เป็นอย่างน้อยให้เห็นได้ชัดเจน ข้อ 2 โคมไฟนั้นผู้รับอนุญาตตามข้อ 1 ต้องติดโคมไฟไว้ที่เรือทุ่น หรือ ที่เสาหรือสลัก ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น ส่วนเครื่องหมายนั้นในเวลา กลางวันผู้รับอนุญาตจะต้องติดไว้เสมอที่เครื่องมือประจำที่ ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 11 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการอุทธรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจออกประทานบัตร ใบอนุญาตและ อาชญาบัตร ไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ถ้าบุคคลผู้มีส่วนได้เสียประสงค์จะ อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน ก็ให้บุคคลนั้นยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงาน ภายใน กำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นอุทธรณ์ทราบคำสั่ง ข้อ 2 ในคำอุทธรณ์นั้น จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียด ชัดเจนว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลประการใด และต้องลงชื่อตัว ชื่อสกุลและภูมิลำเนาของผู้ยื่นอุทธรณ์ ข้อ 3 เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำอุทธรณ์ ก็ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ เป็นหลักฐาน และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวแล้วชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการ ไม่ยอมออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรแล้วแต่กรณีโดยละเอียด เสนอคณะกรรมการ จังหวัดเพื่อตรวจสอบ แสดงความเห็นภายในกำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันได้รับ อุทธรณ์ ข้อ 4 สำหรับกรณีใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรนั้นถ้าคณะกรมการจังหวัด เห็นสมควรออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ก็ให้แนะนำเจ้าพนักงาน ดำเนินการออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้อุทธรณ์ต่อไปได้ ถ้าเจ้าพนักงาน ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้ก็เป็นอันยุติ แต่ถ้าพนักงานเห็นว่าไม่สมควร ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตร ก็ให้เจ้าพนักงานรายงานมายังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตราธิการพร้อมด้วยความเห็นของคณะกรมการจังหวัดภายในยี่สิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ข้อ 5 ในกรณีที่ไม่ยอมให้ออกประทานบัตร เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัด ได้รับอุทธรณ์ ก็ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียดเสนอไปยังรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันได้รับอุทธรณ์ ข้อ 6 เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตราธิการ ให้แจ้งคำวินิจฉัยนั้นให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในห้าวัน ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 12 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออนุญาตและจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง การสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรมสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ การขออนุญาตและการจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง ------ ข้อ 1 ผู้ใดประกอบอาชีพอยู่แล้วในวันใช้พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ก็ดี หรือมีความประสงค์จะประกอบอาชีพก็ดี ถ้าเป็นอาชีพที่ ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 ให้ผู้นั้นยื่นคำขออนุญาตและจดทะเบียน (คำขอ 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ 1. สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมการประมง 2. สำหรับจังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ก็ให้พิจารณา คำขอนั้น ถ้าสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวง และดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3 ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อ 2 ทุกฉะบับ ให้อธิบดีกรมการประมง นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[2] *[5] `ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการกำหนด อัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490' *[5] กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตรา เงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2491) ว่าด้วยการกำหนดอัตรา เงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการกำหนดอัตรา ค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (4) กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การประมง พุทธศักราช 2490 ข้อ 2 ให้กำหนดอัตราอากรสำหรับที่อนุญาตตามบัญชีหมายเลข 1 ท้าย กฎกระทรวงนี้ ข้อ 3 ให้กำหนดอัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในการพิกัดตาม บัญชีหมายเลข 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 4 ให้กำหนดอัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมงตามบัญชี หมายเลข 3 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5 ให้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามบัญชีหมายเลข 4 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ป. กรรณสูต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บัญชีหมายเลข 1 อัตราสำหรับที่อนุญาต ------ ----+--------------------------------------+----------- | | อัตราอากร ลำดับ| ประเภทที่อนุญาต |-----+----- | | บาท |สตางค์ ----+--------------------------------------+-----+----- 1.| โป๊ะน้ำลึก แห่งละ | 200 | - 2.| อวนรัง แห่งละ | 200 | - 3.| โป๊ะน้ำตื้น แห่งละ | 150 | - 4.| เฝือกรัง แห่งละ | 150 | - 5.| จิบ แห่งละ | 150 | - 6.| ลี่ แห่งละ | 150 | - 7.| สุก แห่งละ | 150 | - 8.| โพงพาง ช่องละ | 100 | - 9.| ร้านโจน แห่งละ | 100 | - 10.| รั้วไซมาน ช่องละ | 50 | - 11.| กั้นซู่รั้วไซมาน ช่องละ | 50 | - 12.| ช้อนปีก แห่งละ | 50 | - 13.| ยอปีก แห่งละ | 50 | - 14.| บาม แห่งละ | 25 | - 15.| ยอขันช่อ แห่งละ | 20 | - 16.| ช้อนขันช่อ แห่งละ | 20 | - 17.| จันทา แห่งละ | 10 | - 18.| กร่ำ ตารางเมตรละ | 1 | - 19.| บ่อล่อสัตว์น้ำ ตารางเมตรละ | - | 25 20.| ที่เลี้ยงหอย ตารางเมตรละ | 1 | 5 ----+--------------------------------------+-----+----- บัญชีหมายเลข 2 อัตราอากรอาญชาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัด ------ ----+--------------------------------------+----------- | | อัตราอากร ลำดับ| ชื่อเครื่องมือ |-----+----- | | บาท |สตางค์ ----+--------------------------------------+-----+----- 1.| ยอขันช่อ ช้อนขันช่อ | | | และช้อนหางเหยี่ยวมีเครื่องยก ปากละ | 20 | - 2.| ถุงโพงพาง (ที่ใช้ประกอบกับโพงพาง | | | รั้วไซมาน หรือกันซู่รั้วไซมาน) ถุงละ | 20 | - 3.| ถุงบาม ปากละ | 15 | - 4.| เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา ลำละ | 10 | - 5.| แหยาว ตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป | | | (ยังไม่ทบเพลา) ปากละ | 10 | - 6.| ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ | | | 3.5 เมตรขึ้นไป ปากละ | 10 | - 7.| เบ็ดราวยาวตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป สายละ | 5 | - 8.| ข่ายหรืออวนต่าง ๆ มีอัตราดังนี้ | | | (ก) อวนลอยขนาดช่องตาตั้งแต่ 7 เซนติเมตร | | | ขึ้นไป (การวัดให้ดึงตาอวนเป็นเส้นตรง | | | ตามเส้นทะแยงมุม แล้ววัดตามเส้นนั้นจาก | | | กึ่งกลางของเงื่อนหนึ่งไปยังกึ่งกลางของ | | | อีกเงื่อนหนึ่ง) ยาวเมตรละ | 5 | - | (ข) อวนลอยขนาดช่องตาไม่ถึง | | | 7 เซนติเมตร (การวัดให้วิธี | | | เดียวกับ 8 (ก) ยาวเมตรละ | 2 | - | (ค) อวนลาก ยาวเมตรละ | 5 | - | (ง) ข่ายหรืออวนอื่น ๆ | | | (1) ขนาดกว้างกว่า 1 เมตร | | | ถึง 4 เมตร ยาวเมตรละ | - | 50 | (2) ขนาดกว้างกว่า 4 เมตร | | | ถึง 8 เมตร ยาวเมตรละ | 1 | - | (3) ขนาดกว้างกว่า 8 เมตร | | | ถึง 24 เมตร ยาวเมตรละ | 2 | - | (4) ขนาดกว้างกว่า 24 เมตร | | | ขึ้นไป ยาวเมตรละ | 3 | - 9.| เฝือกหรือเครื่องกั้นขนาดยาวกว่า 2 เมตรขึ้นไป | | | (เว้นแต่เฝือกหรือเครื่องกั้นที่ใช้ประกอบกับโป๊ะ | | | โพงพาง รั้วไซมาน กั้นซู่รั้วไซมาน ช้อนปีก | | | หรือยอปีก เมตรละ | 1 | - ----+--------------------------------------+-----+----- บัญชีหมายเลข 3 อัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง ------ ----+--------------------------------------+----------- | | อัตราอากร ลำดับ| รายการ |-----+----- | | บาท |สตางค์ ----+--------------------------------------+-----+----- 1.| ใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมงโดย | | | ใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต คนละ | 15 | - 2.| ใบอนุญาตหาหอยแมลงภู่และหอยกะพง คนละ | 15 | - 3.| ใบอนุญาตหาเทียนหอยและหอยมุก คนละ | 15 | - ----+--------------------------------------+-----+----- บัญชีหมายเลข 4 อัตราค่าธรรมเนียม ------ ----+--------------------------------------+----------- | | อัตราอากร ลำดับ| รายการ |-----+----- | | บาท |สตางค์ ----+--------------------------------------+-----+----- 1.| ใบอนุญาตสำหรับทำการค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ | | | และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ | | | (ก) ใบอนุญาตสำหรับประกอบกิจการแพปลา | | | หรือสะพานปลา ซึ่งรับทำการขายสินค้า | | | สัตว์น้ำเป็นปกติธุระด้วยวิธีการขายทอดตลาด | | | ขายเหมา ขายส่ง หรือวิธีการอย่างอื่น | | | โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรง หรือ | | | โดยปริยายตามพฤติการณ์ว่าสินค้านั้นทั้งหมด | | | หรือแต่บางส่วนจะได้รับค่านายหน้าในการ | | | ขายจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำ ปีละ | 150 | - | (ข) ใบอนุญาตสำหรับการค้าสินค้าสัตว์น้ำสด | | | หรือเค็ม ด้วยวิธีการขายทอดตลาด | | | ขายเหมา หรือขายส่ง ปีละ | 150 | - | (ค) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงเค็มหรือทำปลาเค็มเพื่อการค้า ปีละ | 150 | - | (ง) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงทำน้ำปลาเพื่อการค้า ปีละ | 150 | - | (จ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงทำกะปิเพื่อการค้า ปีละ | 50 | - | (ฉ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงนึ่งหรือย่างสัตว์น้ำเพื่อการค้า ปีละ | 100 | - | (ช) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงทำหอยแห้งเพื่อการค้า ปีละ | 50 | - | (ซ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงทำสัตว์น้ำกระป๋อง ปีละ | 150 | - 2.| ค่าโอนประทานบัตร ฉบับละ | 20 | - 3.| ค่าโอนใบอนุญาต อาชญาบัตร | | | (ก) ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาต ฉบับละ | 20 | - | (ข) อาชญาบัตรหรือใบอนุญาตอื่น ๆ ฉบับละ | 15 | - 4.| ใบแทนอาชญาบัตร ใบอนุญาต | | | หรือประทานบัตร ฉบับละ | 10 | - 5.| ใบอนุญาตสำหรับผู้มีอาชีพทำการประมง ปีละ | 5 | - 6.| ค่าสลักหลังใบอาชญาบัตร เพื่อแก้ไขหรือเพิ่มเติม | | | ผู้มีสิทธิใช้เครื่องมือทำการประมง ครั้งละ | 5 | - ----+--------------------------------------+-----+----- ------------------------------------------------------- หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจาก อัตราอากรสำหรับที่อนุญาต อัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในการพิกัด อัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง และอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนด ไว้แต่เดิมนั้นได้ใช้มาเป็นเวลาสิบปีแล้ว สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับภาวะ ทางเศรษฐกิจและค่าของเงินในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ บทเฉพาะกาล -------------------- กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วย ผู้มีอาชีพทำการประมงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ ได้รับความเสียหายเพราะภัย ธรรมชาติวิปริตในบางปี เช่น ใน พ.ศ. 2500 และ 2501 ดินฟ้าอากาศ แห้งแล้งมาก ในน่านน้ำจืดน้ำเข้าทุ่งน้อย ปลาเข้าวางไข่ไม่ได้ผล ในทะเล ก็เช่นเดียวกันปลาวางไข่น้อย จึงทำให้ชาวประมงผู้ว่าประมูลจับปลาไม่ได้ผล ผู้ว่าประมูลได้ต้องเสียเงินอากรให้แก่รัฐบาลในอัตราสูง ก็ได้รับความเสียหาย และเดือนร้อนมาก อนึ่งที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่าประมูลบางแห่งมีความเหมาะสม ที่จะจัดตั้งเป็นสหกรณ์การประมง แล้วอนุญาตให้สหกรณ์การประมงที่ได้จัดตั้งขึ้น มีสิทธิทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลแห่งนั้นได้ จึงเป็นการสมควรออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรมีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่า ประมูลให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย วาตะภัย หรือให้แก่ผู้ประสบความเสียหายจากภัย ธรรมชาติกับให้สหกรณ์การประมงได้ -------------------- กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วย กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร การประมงได้ประกาศใช้มาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว การเรียกเก็บเงินอากรแก่ เครื่องมือการประมงบางชนิดยังไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพราะ ในปัจจุบันนี้การประมงทะเลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก ชาวประมงได้ นำเอาเครื่องมือประมงแบบใหม่ ๆ มาใช้ทำการประมงอีกหลายชนิด เช่น อวนลอยไนล่อน เป็นต้น อวนแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ ซึ่งเป็นเครื่องมือขนาดเล็ก แต่ต้องเสียเงินอากรค่าอาชญาบัตรในอัตราสูงเกินรายได้ของชาวประมง ซึ่งนับว่าไม่เป็นธรรมแก่ชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อน เมื่อเปรียบเทียบกับ เครื่องมือขนาดใหญ่อื่น ๆ ซึ่งเสียเงินอากรน้อยกว่าอวนลอยไนล่อนหลายเท่า แต่สามารถจับสัตว์น้ำได้มากกว่าอวนลอยไนล่อนหลายสิบเท่า เพื่อส่งเสริม อาชีพชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อนให้สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินอากรการประมง เสียใหม่ เชิงอรรถ -------------------- *[1] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 13 (พ.ศ. 2491) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[2] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[3] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[4] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[5] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2521) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[6] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2522) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
301671
กฎกระทรวง ฉบับที่ 18 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ ----------------- อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ และให้ใช้ ความต่อไปนี้แทน "ข้อ ๑ ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดชนิดใดทำการประมง ต้องยื่นเอกสารดังต่อไปนี้ต่อนายอำเภอท้องที่ คือ (๑) คำขออาชญาบัตรตามแบบ (คำขอ ๑) ท้ายกฎกระทรวงนี้ (๒) อาชญาบัตรฉบับหลังที่สุดที่ผู้ขออาชญาบัตรได้รับสำหรับเครื่องมือในพิกัด ชนิดนั้น (ถ้ามี) (๓) สำเนาใบอนุญาตใช้เรือและสำเนาใบทะเบียนเรือไทยของกรมเจ้าท่า ในกรณี ที่จะต้องใช้เรือเป็นเครื่องมือทำการประมง (๔) หลักฐานแสดงว่านิติบุคคลที่ขออาชญาบัตรมีวัตถุประสงค์ในการทำการประมง และหลักฐานแสดงว่าผู้ยื่นคำขออาชญาบัตรมีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้น ในกรณีที่นิติบุคคล เป็นผู้ขออาชญาบัตร ในกรณีที่ผู้ขออาชญาบัตรตามวรรคหนึ่งประสงค์จะให้บุคคลในครอบครัวหรือ ลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือในพิกัดนั้น ให้ระบุชื่อตัวและชื่อสกุลของบุคคลหรือลูกจ้างนั้นไว้ใน คำขออาชญาบัตรด้วย" ข้อ ๒ ให้ยกเลิกแบบคำขออาชญาบัตรหรือใบอนุญาตรายตัวบุคคล (คำขอ ๑) และแบบอาชญาบัตร (อนุญาต ๑) ท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วย การขออาชญาบัตรออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ และให้ใช ้แบบคำขออาชญาบัตร (คำขอ ๑) และแบบอาชญาบัตร (อนุญาต ๑) ท้ายกฎกระทรวงนี้แทน ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๒ อาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [รก.๒๕๒๒/๑๑๔/๑๖พ./๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๒]
300319
กฎกระทรวง ฉะบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (Update ณ วันที่ 15/08/2521)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (13) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ เครื่องมือทำการประมงต่อไปนี้เป็นเครื่องมือในพิกัด (1) ยอขันช่อ (2) ช้อนขันช่อ (3) ช้อนสนั่น (4) ช้อนหางเหยี่ยว (5) ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมานหรือกั้นซู่รั้วไซมาน (6) ถุงบาม (7) เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา (8) แหยาวตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา) (9) ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป (10) เบ็ดราวยาวตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป (11) ข่าย (12) อวนต่าง ๆ (13) เฝือก (14) เครื่องกั้น ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[5] `ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนด อัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490' *[2] `ยกเลิกกฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนด อัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490' กฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดชะนิดใด ทำการประมงต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อ คณะกรมการอำเภอท้องที่ การขอรับอาชญาบัตรเช่นว่านี้ หากผู้ขอมีอาชญาบัตร ฉะบับหลังที่สุดสำหรับเครื่องมือนั้น ก็ให้แนบไปกับคำขอด้วยและถ้าผู้ขอประสงค์ จะให้ผู้ใดในครอบครองหรือลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นด้วยก็ให้ระบุชื่อไว้ใน คำขอนั้น ข้อ 2. ในการยื่นคำขอตามข้อ 1 นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สงสัยอาจ สั่งให้ผู้ขออนุญาตนำเครื่องมือนั้นมาให้ตรวจก็ได้ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นตรวจวัดแทนและรับรองก็ได้ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามความในข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา คำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ตามกฎเกณฑ์ในระเบียบ วิธีการอนุญาตที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง และออกอาชญาบัตรให้แก่ผู้ขอ ข้อ 4. ใบอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต และให้ใช้ แบบอาชญาบัตร (อนุญาต 1) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. ถ้าผู้รับอนุญาตใดประสงค์จะขอสลักหลังอาชญาบัตรเพื่อตัดทอน หรือเพิ่มบุคคลในครอบครัวหรือลูกจ้างของตนให้เป็นผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือในพิกัด ก็ให้ยื่นรายชื่อบุคคลที่จะตัดทอนหรือเพิ่มต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่พร้อมด้วย อาชญาบัตร และผู้รับอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าสลักหลังตามกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในการสลักหลัง ข้อ 6. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดนำเครื่องมือในพิกัดนั้นไปใช้ทำการประมง ในท้องที่อื่นซึ่งเก็บอากรสูงกว่าที่ตนได้ชำระไว้แล้ว ก็ให้ผู้รับอนุญาตนั้นนำ อาชญาบัตรไปเสียอากรเพิ่มเติมต่อคณะกรมการอำเภอที่ตนนำเครื่องมือในพิกัด ไปใช้ทำการประมง ต่อเมื่อได้ชำระเงินอากรเพิ่มเติม และนายอำเภอ หรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี ได้สลักหลังอาชญาบัตร ว่าได้เสียเงินอากรเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแล้ว จึงจะใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ข้อ 7. ถ้าอาชญาบัตรที่ออกให้ตามกฎกระทรวงนี้ศูนย์หายหรือชำรุดเสียหาย ในสาระสำคัญ ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ยื่นคำขอนั้น ๆ รับใบแทนอาชญาบัตรตามแบบพิมพ์ (คำขอ 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อคณะกรรมการอำเภอท้องที่และให้ส่งอาชญาบัตร ที่ชำรุดไปด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและได้สอบสวนพิจารณาเห็นสมควร ออกใบแทนให้ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบแทนตามกฎกระทรวง และ ออกใบแทนอาชญาบัตรอันมีข้อความอย่างเดียวกับอาชญาบัตรที่ศูนย์หายหรือชำรุด เสียหายในสาระสำคัญให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่ให้เขียนคำว่า `ใบแทน' ด้วยหมึกสีแดง ไว้ตอนบน ใบแทนอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณีในท้องที่เดียวกัน เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาตในแบแทน ข้อ 8. ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะโอนอาชญาบัตรของตนให้แก่ผู้อื่น ให้ยื่น เรื่องราวชี้แจงเหตุผลพร้อมด้วยอาชญาบัตรต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ เมื่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องราว และได้พิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามกฎเกณฑ์ การโอนตามที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี สลักหลังการโอนและชื่อผู้รับโอนไว้ในอาชญาบัตรนั้น และมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้รับโอนต่อไป ข้อ 9. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดได้รับการผ่อนเวลาชำระเงินอากรค่าอาชญาบัตร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้รับอนุญาตแทนอาชญาบัตร และให้ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ตามเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตระหว่างผ่อนเวลาชำระเงินอากร ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 5 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่อนุญาต ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในที่อนุญาตตามประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัด ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. ถ้าผู้ขออนุญาตเคยได้รับอนุญาตให้ทำการประมงหรือเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำในที่อนุญาตนั้นอยู่แล้ว ก็ให้แนบในอนุญาตปีก่อนมาพร้อมกับคำขอด้วย ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ก็ให้เรียกเก็บเงินอากร ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอต่อไป ข้อ 4. ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาตทุกฉะบับ ต้องให้นายอำเภอหรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาต และให้ใช้แบบพิมพ์ใบอนุญาต (อนุญาต 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. การออกใบแทนใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตและการผ่อน เวลาชำระเงินอากรใบอนุญาต ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการออกใบแทนการ โอนอาชญาบัตรและการผ่อนเวลาชำระเงินอากรอาชญาบัตร ตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาใช้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (6) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1. บ่อล่อสัตว์น้ำ คือ ที่ล่อสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัตรของแผ่นดินก็ดี ไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้น จะมีลักษณะหรือรูปร่างอย่างใดโดยผู้ขุดหรือสร้างหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครอง มีความมุ่งหมายโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะล่อสัตว์น้ำจากที่จับสัตว์น้ำเพื่อ ประโยชน์ในการทำการประมง ข. การขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการ อำเภอท้องที่ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ค. การทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 4. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำด้วยวิธีวิดน้ำ หรือทำให้ น้ำในบ่อนั้นแห้งหรือลดน้อยลงไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้นจะอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์หรืออยู่ในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 5. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 4 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 7 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (7) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ คือที่เลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ดี โดยผู้ขุดหรือสร้างหรือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความมุ่งหมายโดยตรงที่จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชะนิดใด ชะนิดหนึ่งหรือหลายชะนิดรวมกันให้เพิ่มจำนวนหรือเพิ่มน้ำหนักยิ่งขึ้น ข. การขุดเรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขออนุญาตตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขออนุญาตตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออก ตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ข้อ 4. ใบอนุญาตตามข้อ 3 ทุกฉะบับ ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อในใบอนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 8 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่ว่าประมูล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. การดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 1. ให้คณะกรมการจังหวัดท้องที่รายงานขออนุมัติการว่าประมูล ที่ว่าประมูลพร้อมทั้งชะนิด จำนวน และที่ตั้งเครื่องมือทำการประมงต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ก่อนดำเนินการออกประกาศว่าประมูลทุกคราว ข. คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 2. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่สั่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ว่าประมูลขึ้นคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 นาย ประกอบด้วยข้าหลวงประจำจังหวัด ท้องที่หรือผู้รักษาการแทน ประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน และนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอท้องที่หรือผู้รักษาการแทนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทนก็ให้ข้าหลวงประจำ จังหวัดแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นกรรมการแทน ข้อ 3. ให้คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ ว่าประมูล ที่ว่าประมูลในท้องที่จังหวัดนั้นตามวิธีการและกฎเกณฑ์ในระเบียบการ ว่าประมูลซึ่งได้กำหนดไว้ ข้อ 4. ในการว่าประมูลคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลจะกำหนดให้ ว่าประมูลโดยวิธีปิดซองหรือโดยวิธีปากเปล่าก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร และจะ กำหนดอัตราเงินอากรขั้นต่ำสำหรับการว่าประมูลไว้ก็ได้ *[3] `ข้อ 5 บรรดาที่ว่าประมูลทุกแห่งจะต้องอนุญาตให้บุคคลทำการประมง หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยวิธีว่าประมูล เว้นแต่ที่ว่าประมูลแห่งใดที่สมควรอนุญาต ให้แก่สหกรณ์การประมงเป็นผู้รับอนุญาต หรือสมควรอนุญาตให้แก่ผู้รับอนุญาตที่ ประทานบัตรสิ้นอายุในปีที่พึ่งล่วงมา และเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ได้ผล ก็ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร มีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตได้โดยไม่ต้องว่าประมูล ถ้าที่ว่าประมูลแห่งใดไม่มีผู้เข้าว่าประมูล หรือมีผู้เข้าว่าประมูลเพียง รายเดียว หรือผู้เข้าว่าประมูลให้อากรต่ำเกินสมควร จะระงับการว่าประมูลเสีย ก็ได้ หรือถ้าคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลได้พิจารณาเห็นสมควร จะอนุญาต ให้ผู้ใดเป็นผู้รับอนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลนั้น โดย กำหนดจำนวนเงินอากรที่จะเรียกเก็บตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากอธิบดีกรมประมงก่อน และจำนวนเงินอากรจะต้องไม่ต่ำกว่า อัตราค่าที่อนุญาตประเภทนั้น ๆ' ค. วิธีการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 6. ก่อนเวลาดำเนินการว่าประมูลที่ว่าประมูลแห่งใดให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่ทำหนังสือประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนวันว่าประมูล เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ปิดประกาศไว้ที่ศาลากลางจังหวัดท้องที่ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ และที่ชุมนุมชนตามที่เห็นสมควร ข้อ 7. ในประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัดตามข้อ 6 จะต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้ คือ ชื่อที่ว่าประมูล ที่ว่าประมูลนั้นอยู่ในตำบลใด อำเภอใด สถานที่ ทำการว่าประมูล วันและเวลาทำการว่าประมูล ที่ตั้งและชื่อเครื่องมือทำการ ประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่ว่าประมูล กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมง และกำหนดวันเดือนปีทำสัญญาและการส่งเงินอากร ง. กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมงในที่ว่าประมูล ------ ข้อ 8. กำหนดอายุการอนุญาตในการประมงในที่ว่าประมูลนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่มีอำนาจกำหนดการอนุญาตได้คราวละ 1 ปี เมื่อหมดอายุ การอนุญาตแล้วก็ให้ดำเนินการว่าประมูลใหม่ ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณา เห็นสมควรกำหนดอายุการอนุญาตเกินกว่า 1 ปี ก็ให้รายงานขออนุญาตต่ออธิบดี กรมการประมง จ. การออกประทานบัตรและการทำสัญญา ------ ข้อ 9. เมื่อคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลชี้ขาดให้ผู้ใดเป็นผู้ได้รับ อนุญาตแล้ว ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่ดำเนินการเรียกให้ผู้นั้นนำหลักทรัพย์ หรือจัดหาผู้ค้ำประกันเงินอากรตามข้อ 13 และดำเนินการออกประทานบัตรตาม แบบพิมพ์ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้ผู้รับอนุญาตทำสัญญาผูกขาดตามแบบที่อธิบดี กรมการประมงกำหนด ข้อ 10. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตใน ประทานบัตร ส่วนในสัญญาผูกขาดที่กระทรวงเกษตราธิการทำกับผู้อนุญาตนั้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่กับประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน เป็น ผู้ลงลายมือชื่อแทนกระทรวงเกษตราธิการ แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัด หรือผู้รักษาการแทน ก็ให้ผู้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 11. การทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 และ 10 ให้ทำเป็นสองฉะบับ มีข้อความตรงกัน และให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละ หนึ่งฉะบับ ในสัญญาผูกขาดจะต้องแสดงอาณาเขตต์ที่ว่าประมูล และที่ตั้งเครื่องมือ ทำการประมงแบบไว้ด้วย ฉ. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ------ ข้อ 12. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ให้ผู้รับอนุญาตชำระทั้งหมด ในเวลารับประทานบัตรและลงลายมือชื่อในสัญญาผูกขาด เว้นแต่จะได้มีการ ผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ช. หลักทรัพย์และผู้ค้ำประกัน ------ ข้อ 13. ในกรณีที่มีการผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ผู้รับอนุญาต จะต้องนำหลักทรัพย์คือโฉนดที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์มาจำนองไว้เป็นประกัน การชำระอากร ถ้าหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้วมีราคายังไม่คุ้มกับเงินอากร ก็ให้ ผู้รับอนุญาตหาผู้ค้ำประกันที่มีหลักทรัพย์มั่นคงเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ ดำเนินการว่าประมูลมาทำสัญญาจำนองหรือค้ำประกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วจึงให้ข้าหลวงประจำจังหวัดออกประทานบัตร และทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 ซ. การผิดชำระอากรและการผ่อนเวลาชำระอากร ------ ข้อ 14. เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แล้ว ปรากฏว่าเงินอากรยังค้างชำระอยู่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งรัดให้ผู้ค้ำประกัน ชำระเงินอากรโดยไม่ชักช้า ฌ. การโอนประทานบัตร ------ ข้อ 15. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะโอนประทานบัตรและสัญญา ผูกขาดในที่ว่าประมูลซึ่งตนได้รับให้แก่ผู้อื่นให้ผู้รับอนุญาตและผู้รับโอนยื่น เรื่องราวขออนุญาตโอนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียม ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและได้รับอนุญาตแล้ว จึงจำทำการโอนกันได้ ข้อ 16. การโอนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดตามข้อ 15 ผู้โอนจะต้อง นำประทานบัตรมาให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสลักหลังการโอน และผู้รับโอนจะต้อง ทำสัญญาผูกขาดกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อความเช่นเดียวกับผู้ที่ทำกับผู้โอน และ ต้องปฏิบัติในเรื่องหลักทรัพย์ประกัน ผู้ค้ำประกันและอื่น ๆ ตามกฎกระทรวงนี้ ญ. การเวนคืนที่ว่าประมูล ------ ข้อ 17. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะเวนคืนที่ว่าประมูลให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ก่อนสิ้นกำหนดอายุการอนุญาตตามประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้ผู้นั้น ยื่นเรื่องราวขอเวนคืนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 18. เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดได้รับเรื่องราวขอเวนคืนที่ว่าประมูลแล้ว และได้พิจารณาเห็นสมควรจะรับเวนคืน ก็ให้สั่งอนุญาตให้เวนคืนได้ ส่วนทรัพย์สิน ที่ผู้นั้นนำมาวางประกันและสัญญาค้ำประกัน ให้คงยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้จัดการ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่ที่ว่าประมูลนั้น เพื่อให้ได้เงินอากรครบตามสัญญาผูกขาด ข้อ 19. ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณาเห็นสมควรให้จัดการว่าประมูล ที่ว่าประมูลที่เวนคืนนั้นใหม่ ก็ให้กรรมการดำเนินการว่าประมูลดำเนินการต่อไปได้ หากได้เงินอากรต่ำกว่าการประมูลคราวแรกเท่าใด ก็ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด เรียกเงินอากรที่ยังขาดจากผู้เวนคืนจนครบ ข้อ 20. ที่ว่าประมูลซึ่งผู้รับอนุญาตขอเวนคืนนั้น แม้ผู้รับอนุญาตจะยังไม่ได้ ลงมือทำการประมงในที่ว่าประมูลนั้นเลยก็ดี เงินอากรที่ผู้รับอนุญาตชำระแล้ว จะเรียกคืนมิได้แต่ถ้าการขอเวนคืนนั้น เนื่องจากเหตุที่ทางราชการได้กระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด ทำให้เสียประโยชน์ของผู้รับอนุญาตในการทำการประมงใน ที่ว่าประมูลนั้น เช่นการปิดทำนบเป็นต้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดรับคืนที่ว่าประมูล นั้น และส่งคืนเงินอากรที่ได้ชำระแล้วให้แก่ผู้รับอนุญาตทั้งหมดแต่ถ้าผู้รับอนุญาต ได้ลงมือทำการประมงได้ผลประโยชน์ไปบ้างแล้ว ก็ให้พิจารณาว่าจะควรคืนเงิน อากรที่ชำระให้แล้วเพียงใดหรือไม่ต้องคืนเลย โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่ ผู้รับอนุญาตได้รับจากที่ว่าประมูลนั้นแล้วเพียงใด ฎ. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ------ ข้อ 21. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้นำบทบัญญัติ แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการออกใบแทนอาชญาบัตร มาใช้โดยอนุโลม และในใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 9 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยใบอนุญาตรายบุคคล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงโดยใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต รายบุคคล หรือทำการหาหอยแมลงภู่และหอยกระพงหรือเทียนหอยและหอยมุกด์ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 1) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ให้พิจารณา ถ้าเห็นสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และดำเนินการออกใบอนุญาตให้ตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 5) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3. ใบอนุญาตทุกฉะบับที่ออกให้ตามข้อ 2 ให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ประจำกิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 10 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการติดโคมไฟและเครื่องหมาย ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือประจำที่ มีหน้าที่ต้องติดโคมไฟ และเครื่องหมายแผ่นสี่เหลี่ยมสีขาวกว้าง 20 เซ็นติเมตร ยาว 50 เซ็นติเมตร เป็นอย่างน้อยให้เห็นได้ชัดเจน ข้อ 2. โคมไฟนั้นผู้รับอนุญาตตามข้อ 1 ต้องติดโคมไฟไว้ที่เรือทุ่น หรือ ที่เสาหรือสลัก ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น ส่วนเครื่องหมายนั้นในเวลา กลางวันผู้รับอนุญาตจะต้องติดไว้เสมอที่เครื่องมือประจำที่ ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 11 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการอุทธรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจออกประทานบัตร ใบอนุญาตและ อาชญาบัตร ไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ถ้าบุคคลผู้มีส่วนได้เสียประสงค์จะ อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน ก็ให้บุคคลนั้นยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงาน ภายใน กำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นอุทธรณ์ทราบคำสั่ง ข้อ 2. ในคำอุทธรณ์นั้น จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียด ชัดเจนว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลประการใด และต้องลงชื่อตัว ชื่อสกุลและภูมิลำเนาของผู้ยื่นอุทธรณ์ ข้อ 3. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำอุทธรณ์ ก็ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ เป็นหลักฐาน และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวแล้วชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการ ไม่ยอมออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรแล้วแต่กรณีโดยละเอียด เสนอคณะกรรมการ จังหวัดเพื่อตรวจสอบ แสดงความเห็นภายในกำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันได้รับ อุทธรณ์ ข้อ 4. สำหรับกรณีใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรนั้นถ้าคณะกรมการจังหวัด เห็นสมควรออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ก็ให้แนะนำเจ้าพนักงาน ดำเนินการออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้อุทธรณ์ต่อไปได้ ถ้าเจ้าพนักงาน ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้ก็เป็นอันยุติ แต่ถ้าพนักงานเห็นว่าไม่สมควร ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตร ก็ให้เจ้าพนักงานรายงานมายังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตราธิการพร้อมด้วยความเห็นของคณะกรมการจังหวัดภายในยี่สิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ข้อ 5. ในกรณีที่ไม่ยอมให้ออกประทานบัตร เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัด ได้รับอุทธรณ์ ก็ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียดเสนอไปยังรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันได้รับอุทธรณ์ ข้อ 6. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตราธิการ ให้แจ้งคำวินิจฉัยนั้นให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในห้าวัน ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 12 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออนุญาตและจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง การสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรมสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ การขออนุญาตและการจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง ------ ข้อ 1. ผู้ใดประกอบอาชีพอยู่แล้วในวันใช้พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ก็ดี หรือมีความประสงค์จะประกอบอาชีพก็ดี ถ้าเป็นอาชีพที่ ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 ให้ผู้นั้นยื่นคำขออนุญาตและจดทะเบียน (คำขอ 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ 1. สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมการประมง 2. สำหรับจังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ก็ให้พิจารณา คำขอนั้น ถ้าสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวง และดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3. ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อ 2 ทุกฉะบับ ให้อธิบดีกรมการประมง นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[2] *[5] `ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการกำหนด อัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490' *[5] กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตรา เงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2491) ว่าด้วยการกำหนดอัตรา เงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการกำหนดอัตรา ค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (4) กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การประมง พุทธศักราช 2490 ข้อ 2 ให้กำหนดอัตราอากรสำหรับที่อนุญาตตามบัญชีหมายเลข 1 ท้าย กฎกระทรวงนี้ ข้อ 3 ให้กำหนดอัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในการพิกัดตาม บัญชีหมายเลข 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 4 ให้กำหนดอัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมงตามบัญชี หมายเลข 3 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5 ให้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามบัญชีหมายเลข 4 ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2521 ป. กรรณสูต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บัญชีหมายเลข 1 อัตราสำหรับที่อนุญาต ------ ----+--------------------------------------+----------- | | อัตราอากร ลำดับ| ประเภทที่อนุญาต |-----+----- | | บาท |สตางค์ ----+--------------------------------------+-----+----- 1.| โป๊ะน้ำลึก แห่งละ | 200 | - 2.| อวนรัง แห่งละ | 200 | - 3.| โป๊ะน้ำตื้น แห่งละ | 150 | - 4.| เฝือกรัง แห่งละ | 150 | - 5.| จิบ แห่งละ | 150 | - 6.| ลี่ แห่งละ | 150 | - 7.| สุก แห่งละ | 150 | - 8.| โพงพาง ช่องละ | 100 | - 9.| ร้านโจน แห่งละ | 100 | - 10.| รั้วไซมาน ช่องละ | 50 | - 11.| กั้นซู่รั้วไซมาน ช่องละ | 50 | - 12.| ช้อนปีก แห่งละ | 50 | - 13.| ยอปีก แห่งละ | 50 | - 14.| บาม แห่งละ | 25 | - 15.| ยอขันช่อ แห่งละ | 20 | - 16.| ช้อนขันช่อ แห่งละ | 20 | - 17.| จันทา แห่งละ | 10 | - 18.| กร่ำ ตารางเมตรละ | 1 | - 19.| บ่อล่อสัตว์น้ำ ตารางเมตรละ | - | 25 20.| ที่เลี้ยงหอย ตารางเมตรละ | 1 | 5 ----+--------------------------------------+-----+----- บัญชีหมายเลข 2 อัตราอากรอาญชาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัด ------ ----+--------------------------------------+----------- | | อัตราอากร ลำดับ| ชื่อเครื่องมือ |-----+----- | | บาท |สตางค์ ----+--------------------------------------+-----+----- 1.| ยอขันช่อ ช้อนขันช่อ | | | และช้อนหางเหยี่ยวมีเครื่องยก ปากละ | 20 | - 2.| ถุงโพงพาง (ที่ใช้ประกอบกับโพงพาง | | | รั้วไซมาน หรือกันซู่รั้วไซมาน) ถุงละ | 20 | - 3.| ถุงบาม ปากละ | 15 | - 4.| เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา ลำละ | 10 | - 5.| แหยาว ตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป | | | (ยังไม่ทบเพลา) ปากละ | 10 | - 6.| ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ | | | 3.5 เมตรขึ้นไป ปากละ | 10 | - 7.| เบ็ดราวยาวตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป สายละ | 5 | - 8.| ข่ายหรืออวนต่าง ๆ มีอัตราดังนี้ | | | (ก) อวนลอยขนาดช่องตาตั้งแต่ 7 เซนติเมตร | | | ขึ้นไป (การวัดให้ดึงตาอวนเป็นเส้นตรง | | | ตามเส้นทะแยงมุม แล้ววัดตามเส้นนั้นจาก | | | กึ่งกลางของเงื่อนหนึ่งไปยังกึ่งกลางของ | | | อีกเงื่อนหนึ่ง) ยาวเมตรละ | 5 | - | (ข) อวนลอยขนาดช่องตาไม่ถึง | | | 7 เซนติเมตร (การวัดให้วิธี | | | เดียวกับ 8 (ก) ยาวเมตรละ | 2 | - | (ค) อวนลาก ยาวเมตรละ | 5 | - | (ง) ข่ายหรืออวนอื่น ๆ | | | (1) ขนาดกว้างกว่า 1 เมตร | | | ถึง 4 เมตร ยาวเมตรละ | - | 50 | (2) ขนาดกว้างกว่า 4 เมตร | | | ถึง 8 เมตร ยาวเมตรละ | 1 | - | (3) ขนาดกว้างกว่า 8 เมตร | | | ถึง 24 เมตร ยาวเมตรละ | 2 | - | (4) ขนาดกว้างกว่า 24 เมตร | | | ขึ้นไป ยาวเมตรละ | 3 | - 9.| เฝือกหรือเครื่องกั้นขนาดยาวกว่า 2 เมตรขึ้นไป | | | (เว้นแต่เฝือกหรือเครื่องกั้นที่ใช้ประกอบกับโป๊ะ | | | โพงพาง รั้วไซมาน กั้นซู่รั้วไซมาน ช้อนปีก | | | หรือยอปีก เมตรละ | 1 | - ----+--------------------------------------+-----+----- บัญชีหมายเลข 3 อัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง ------ ----+--------------------------------------+----------- | | อัตราอากร ลำดับ| รายการ |-----+----- | | บาท |สตางค์ ----+--------------------------------------+-----+----- 1.| ใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมงโดย | | | ใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต คนละ | 15 | - 2.| ใบอนุญาตหาหอยแมลงภู่และหอยกะพง คนละ | 15 | - 3.| ใบอนุญาตหาเทียนหอยและหอยมุก คนละ | 15 | - ----+--------------------------------------+-----+----- บัญชีหมายเลข 4 อัตราค่าธรรมเนียม ------ ----+--------------------------------------+----------- | | อัตราอากร ลำดับ| รายการ |-----+----- | | บาท |สตางค์ ----+--------------------------------------+-----+----- 1.| ใบอนุญาตสำหรับทำการค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ | | | และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ | | | (ก) ใบอนุญาตสำหรับประกอบกิจการแพปลา | | | หรือสะพานปลา ซึ่งรับทำการขายสินค้า | | | สัตว์น้ำเป็นปกติธุระด้วยวิธีการขายทอดตลาด | | | ขายเหมา ขายส่ง หรือวิธีการอย่างอื่น | | | โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรง หรือ | | | โดยปริยายตามพฤติการณ์ว่าสินค้านั้นทั้งหมด | | | หรือแต่บางส่วนจะได้รับค่านายหน้าในการ | | | ขายจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำ ปีละ | 150 | - | (ข) ใบอนุญาตสำหรับการค้าสินค้าสัตว์น้ำสด | | | หรือเค็ม ด้วยวิธีการขายทอดตลาด | | | ขายเหมา หรือขายส่ง ปีละ | 150 | - | (ค) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงเค็มหรือทำปลาเค็มเพื่อการค้า ปีละ | 150 | - | (ง) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงทำน้ำปลาเพื่อการค้า ปีละ | 150 | - | (จ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงทำกะปิเพื่อการค้า ปีละ | 50 | - | (ฉ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงนึ่งหรือย่างสัตว์น้ำเพื่อการค้า ปีละ | 100 | - | (ช) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงทำหอยแห้งเพื่อการค้า ปีละ | 50 | - | (ซ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ | | | โรงทำสัตว์น้ำกระป๋อง ปีละ | 150 | - 2.| ค่าโอนประทานบัตร ฉบับละ | 20 | - 3.| ค่าโอนใบอนุญาต อาชญาบัตร | | | (ก) ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาต ฉบับละ | 20 | - | (ข) อาชญาบัตรหรือใบอนุญาตอื่น ๆ ฉบับละ | 15 | - 4.| ใบแทนอาชญาบัตร ใบอนุญาต | | | หรือประทานบัตร ฉบับละ | 10 | - 5.| ใบอนุญาตสำหรับผู้มีอาชีพทำการประมง ปีละ | 5 | - 6.| ค่าสลักหลังใบอาชญาบัตร เพื่อแก้ไขหรือเพิ่มเติม | | | ผู้มีสิทธิใช้เครื่องมือทำการประมง ครั้งละ | 5 | - ----+--------------------------------------+-----+----- ------------------------------------------------------- หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจาก อัตราอากรสำหรับที่อนุญาต อัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในการพิกัด อัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง และอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนด ไว้แต่เดิมนั้นได้ใช้มาเป็นเวลาสิบปีแล้ว สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับภาวะ ทางเศรษฐกิจและค่าของเงินในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ บทเฉพาะกาล -------------------- กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วย ผู้มีอาชีพทำการประมงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ ได้รับความเสียหายเพราะภัย ธรรมชาติวิปริตในบางปี เช่น ใน พ.ศ. 2500 และ 2501 ดินฟ้าอากาศ แห้งแล้งมาก ในน่านน้ำจืดน้ำเข้าทุ่งน้อย ปลาเข้าวางไข่ไม่ได้ผล ในทะเล ก็เช่นเดียวกันปลาวางไข่น้อย จึงทำให้ชาวประมงผู้ว่าประมูลจับปลาไม่ได้ผล ผู้ว่าประมูลได้ต้องเสียเงินอากรให้แก่รัฐบาลในอัตราสูง ก็ได้รับความเสียหาย และเดือนร้อนมาก อนึ่งที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่าประมูลบางแห่งมีความเหมาะสม ที่จะจัดตั้งเป็นสหกรณ์การประมง แล้วอนุญาตให้สหกรณ์การประมงที่ได้จัดตั้งขึ้น มีสิทธิทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลแห่งนั้นได้ จึงเป็นการสมควรออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรมีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่า ประมูลให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย วาตะภัย หรือให้แก่ผู้ประสบความเสียหายจากภัย ธรรมชาติกับให้สหกรณ์การประมงได้ -------------------- กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วย กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร การประมงได้ประกาศใช้มาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว การเรียกเก็บเงินอากรแก่ เครื่องมือการประมงบางชนิดยังไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพราะ ในปัจจุบันนี้การประมงทะเลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก ชาวประมงได้ นำเอาเครื่องมือประมงแบบใหม่ ๆ มาใช้ทำการประมงอีกหลายชนิด เช่น อวนลอยไนล่อน เป็นต้น อวนแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ ซึ่งเป็นเครื่องมือขนาดเล็ก แต่ต้องเสียเงินอากรค่าอาชญาบัตรในอัตราสูงเกินรายได้ของชาวประมง ซึ่งนับว่าไม่เป็นธรรมแก่ชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อน เมื่อเปรียบเทียบกับ เครื่องมือขนาดใหญ่อื่น ๆ ซึ่งเสียเงินอากรน้อยกว่าอวนลอยไนล่อนหลายเท่า แต่สามารถจับสัตว์น้ำได้มากกว่าอวนลอยไนล่อนหลายสิบเท่า เพื่อส่งเสริม อาชีพชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อนให้สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินอากรการประมง เสียใหม่ เชิงอรรถ -------------------- *[1] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 13 (พ.ศ. 2491) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[2] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[3] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[4] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[5] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2521) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
301670
กฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๗ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ (๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๔๙๑) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ (๓) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๔๙๒) ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ (๔) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖ (พ.ศ. ๒๕๐๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมงพุทธศักราช ๒๔๙๐ ข้อ ๒ ให้กำหนดอัตราอากรสำหรับที่อนุญาตตามบัญชีหมายเลข ๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๓ ให้กำหนดอัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัดตามบัญชีหมายเลข ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๔ ให้กำหนดอัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมงตามบัญชีหมายเลข ๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๕ ให้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามบัญชีหมายเลข ๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้ไว้ ณ วันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ ป. กรรณสูต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บัญชีหมายเลข ๑ อัตราอากรสำหรับที่อนุญาต ลำดับ ประเภทที่อนุญาต อัตราอากร บาท สตางค์ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐. โป๊ะน้ำลึก แห่งละ อวนรัง แห่งละ โป๊ะน้ำตื้น แห่งละ เฝือกรัง แห่งละ จิบ แห่งละ ลี่ แห่งละ สุก แห่งละ โพงพาง ช่องละ ร้านโจน แห่งละ รั้วไซมาน ช่องละ กั้นซู่รั้วไซมาน ช่องละ ช้อนปีก แห่งละ ยอปีก แห่งละ บาม แห่งละ ยอขันช่อ แห่งละ ช้อนขันช่อ แห่งละ จันทา แห่งละ กร่ำ ตารางเมตรละ บ่อล่อสัตว์น้ำ ตารางเมตรละ ที่เลี้ยงหอย ตารางเมตรละ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๕๐ ๑๕๐ ๑๕๐ ๑๕๐ ๑๕๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๕๐ ๒๕ ๒๐ ๒๐ ๑๐ ๑ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ๒๕ ๕ บัญชีหมายเลข ๒ อัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัด ลำดับ ชื่อเครื่องมือ อัตราอากร บาท สตางค์ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ยอขันช่อ ช้อนขันช่อ ช้อนสนั่น และช้อนหางเหยี่ยวมีเครื่องยก ปากละ ถุงโพงพาง (ที่ใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมาน หรือกั้นซู่รั้วไซมาน) ถุงละ ถุงบาม ปากละ เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา ลำละ แหยาว ตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา) ปากละ ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ ๓.๕ เมตรขึ้นไป ปากละ เบ็ดราวยาวตั้งแต่ ๔๐ เมตรขึ้นไป สายละ ข่ายหรืออวนต่าง ๆ มีอัตราดังนี้ (ก) อวนลอยขนาดช่องตาตั้งแต่ ๗ เซนติเมตรขึ้นไป (การวัดให้ดึงตาอวนเป็นเส้นตรงตามเส้นทแยงมุม แล้ววัดตามเส้นนั้นจากกึ่งกลางของเงื่อนหนึ่งไปยังกึ่งกลางของอีกเงื่อนหนึ่ง) ยาวเมตรละ (ข) อวนลอยขนาดช่องตาไม่ถึง ๗ เซนติเมตร (การวัดให้ใช้วิธีเดียวกับ ๘ (ก)) ยาวเมตรละ (ค) อวนลาก ยาวเมตรละ (ง) ข่ายหรืออวนอื่น ๆ (๑) ขนาดกว้างกว่า ๑ เมตร ถึง ๔ เมตร ยาวเมตรละ (๒) ขนาดกว้างกว่า ๔ เมตร ถึง ๘ เมตร ยาวเมตรละ (๓) ขนาดกว้างกว่า ๘ เมตร ถึง ๒๔ เมตร ยาวเมตรละ (๔) ขนาดกว้างกว่า ๒๔ เมตร ขึ้นไป ยาวเมตรละ เฝือกหรือเครื่องกั้นขนาดยาวกว่า ๒ เมตรขึ้นไป (เว้นแต่เฝือกหรือเครื่องกั้นที่ใช้ประกอบกับโป๊ะ โพงพาง รั้วไซมาน กั้นซู่รั้วไซมาน ช้อนปีก หรือยอปีก) เมตรละ ๒๐ ๒๐ ๑๕ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๕ ๑ ๒ ๕ - ๑ ๒ ๓ ๑ - - - - - - - - - - ๕๐ - - - - บัญชีหมายเลข ๓ อัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง ลำดับ ชื่อเครื่องมือ อัตราอากร บาท สตางค์ ๑. ๒. ๓. ใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมงโดยใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต คนละ ใบอนุญาตหาหอยแมลงภู่และหอยกะพง คนละ ใบอนุญาตหาเทียนหอยและหอยมุก คนละ ๑๕ ๑๕ ๑๕ - - - บัญชีหมายเลข ๔ อัตราค่าธรรมเนียม ลำดับ ชื่อเครื่องมือ อัตราอากร บาท สตางค์ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ใบอนุญาตสำหรับทำการค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ (ก) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการแพปลาหรือสะพานปลา ซึ่งรับทำการขายสินค้าสัตว์น้ำเป็นปกติธุระด้วยวิธีการขายทอดตลาด ขายเหมา ขายส่ง หรือวิธีการอย่างอื่น โดยมีข้อตกลงหรือเข้าใจกันโดยตรง หรือโดยปริยายตามพฤติการณ์ว่าสินค้านั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนจะได้รับค่านายหน้าในการขายจากเจ้าของสินค้าสัตว์น้ำ ปีละ (ข) ใบอนุญาตสำหรับการค้าสินค้าสัตว์น้ำสดหรือเค็ม ด้วยวิธีการขายทอดตลาด ขายเหมา หรือขายส่ง ปีละ (ค) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงเค็มหรือทำปลาเค็มเพื่อการค้า ปีละ (ง) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงทำน้ำปลาเพื่อการค้า ปีละ (จ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงทำกะปิเพื่อการค้า ปีละ (ฉ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงนึ่งหรือย่างสัตว์น้ำเพื่อการค้า ปีละ (ช) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงทำหอยแห้งเพื่อการค้า ปีละ (ซ) ใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการโรงทำสัตว์น้ำกระป๋อง ปีละ ค่าโอนประทานบัตร ฉบับละ ค่าโอนใบอนุญาต อาชญาบัตร (ก) ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาต ฉบับละ (ข) อาชญาบัตรหรือใบอนุญาตอื่น ๆ ฉบับละ ใบแทนอาชญาบัตร ใบอนุญาต หรือประทานบัตร ฉบับละ ใบอนุญาตสำหรับผู้มีอาชีพทำการประมง ปีละ ค่าสลักหลังใบอาชญาบัตร เพื่อแก้ไขหรือเพิ่มเติมผู้มีสิทธิใช้เครื่องมือทำการประมง ครั้งละ ๑๕๐ ๑๕๐ ๑๕๐ ๑๕๐ ๕๐ ๑๐๐ ๕๐ ๑๕๐ ๒๐ ๒๐ ๑๕ ๑๐ ๕ ๕ - - - - - - - - - - - - - - หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากอัตราอากรสำหรับที่อนุญาต อัตราอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในการพิกัด อัตราอากรใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง และอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดไว้แต่เดิมนั้นได้ใช้มาเป็นเวลากว่าสิบปีแล้ว สมควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับภาวะทางเศรษฐกิจและค่าของเงินในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕/ตอนที่ ๘๓/หน้า ๔๗๓/๑๕ สิงหาคม ๒๕๒๑
300318
กฎกระทรวง ฉะบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (Update ณ วันที่ 12/02/2506)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (13) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ เครื่องมือทำการประมงต่อไปนี้เป็นเครื่องมือในพิกัด (1) ยอขันช่อ (2) ช้อนขันช่อ (3) ช้อนสนั่น (4) ช้อนหางเหยี่ยว (5) ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมานหรือกั้นซู่รั้วไซมาน (6) ถุงบาม (7) เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา (8) แหยาวตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา) (9) ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป (10) เบ็ดราวยาวตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป (11) ข่าย (12) อวนต่าง ๆ (13) เฝือก (14) เครื่องกั้น ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กำหนดอัตราเงินอากรดังต่อไปนี้ *[1] `ให้ยกเลิกอัตราเงินอากรค่าที่อนุญาตบ่อล่อสัตว์น้ำ ลำดับ 20 ตาม บัญชี (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) และให้เก็บ ในอัตราตารางเมตรละสิบห้าสตางค์ ทุกจังหวัดที่มีการเก็บเงินอากรเกี่ยวกับ การทำการประมง' IMAGE 0 *[4] ให้ยกเลิกความในลำดับ 8 ของ (ข) อัตราเงินอากรอาชญาบัตร สำหรับเครื่องมือในพิกัด แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วย การกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน IMAGE 0 ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[2] `ยกเลิกกฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนด อัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490' กฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดชะนิดใด ทำการประมงต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อ คณะกรมการอำเภอท้องที่ การขอรับอาชญาบัตรเช่นว่านี้ หากผู้ขอมีอาชญาบัตร ฉะบับหลังที่สุดสำหรับเครื่องมือนั้น ก็ให้แนบไปกับคำขอด้วยและถ้าผู้ขอประสงค์ จะให้ผู้ใดในครอบครองหรือลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นด้วยก็ให้ระบุชื่อไว้ใน คำขอนั้น ข้อ 2. ในการยื่นคำขอตามข้อ 1 นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สงสัยอาจ สั่งให้ผู้ขออนุญาตนำเครื่องมือนั้นมาให้ตรวจก็ได้ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นตรวจวัดแทนและรับรองก็ได้ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามความในข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา คำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ตามกฎเกณฑ์ในระเบียบ วิธีการอนุญาตที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง และออกอาชญาบัตรให้แก่ผู้ขอ ข้อ 4. ใบอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต และให้ใช้ แบบอาชญาบัตร (อนุญาต 1) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. ถ้าผู้รับอนุญาตใดประสงค์จะขอสลักหลังอาชญาบัตรเพื่อตัดทอน หรือเพิ่มบุคคลในครอบครัวหรือลูกจ้างของตนให้เป็นผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือในพิกัด ก็ให้ยื่นรายชื่อบุคคลที่จะตัดทอนหรือเพิ่มต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่พร้อมด้วย อาชญาบัตร และผู้รับอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าสลักหลังตามกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในการสลักหลัง ข้อ 6. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดนำเครื่องมือในพิกัดนั้นไปใช้ทำการประมง ในท้องที่อื่นซึ่งเก็บอากรสูงกว่าที่ตนได้ชำระไว้แล้ว ก็ให้ผู้รับอนุญาตนั้นนำ อาชญาบัตรไปเสียอากรเพิ่มเติมต่อคณะกรมการอำเภอที่ตนนำเครื่องมือในพิกัด ไปใช้ทำการประมง ต่อเมื่อได้ชำระเงินอากรเพิ่มเติม และนายอำเภอ หรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี ได้สลักหลังอาชญาบัตร ว่าได้เสียเงินอากรเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแล้ว จึงจะใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ข้อ 7. ถ้าอาชญาบัตรที่ออกให้ตามกฎกระทรวงนี้ศูนย์หายหรือชำรุดเสียหาย ในสาระสำคัญ ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ยื่นคำขอนั้น ๆ รับใบแทนอาชญาบัตรตามแบบพิมพ์ (คำขอ 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อคณะกรรมการอำเภอท้องที่และให้ส่งอาชญาบัตร ที่ชำรุดไปด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและได้สอบสวนพิจารณาเห็นสมควร ออกใบแทนให้ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบแทนตามกฎกระทรวง และ ออกใบแทนอาชญาบัตรอันมีข้อความอย่างเดียวกับอาชญาบัตรที่ศูนย์หายหรือชำรุด เสียหายในสาระสำคัญให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่ให้เขียนคำว่า `ใบแทน' ด้วยหมึกสีแดง ไว้ตอนบน ใบแทนอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณีในท้องที่เดียวกัน เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาตในแบแทน ข้อ 8. ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะโอนอาชญาบัตรของตนให้แก่ผู้อื่น ให้ยื่น เรื่องราวชี้แจงเหตุผลพร้อมด้วยอาชญาบัตรต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ เมื่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องราว และได้พิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามกฎเกณฑ์ การโอนตามที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี สลักหลังการโอนและชื่อผู้รับโอนไว้ในอาชญาบัตรนั้น และมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้รับโอนต่อไป ข้อ 9. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดได้รับการผ่อนเวลาชำระเงินอากรค่าอาชญาบัตร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้รับอนุญาตแทนอาชญาบัตร และให้ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ตามเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตระหว่างผ่อนเวลาชำระเงินอากร ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 5 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่อนุญาต ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในที่อนุญาตตามประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัด ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. ถ้าผู้ขออนุญาตเคยได้รับอนุญาตให้ทำการประมงหรือเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำในที่อนุญาตนั้นอยู่แล้ว ก็ให้แนบในอนุญาตปีก่อนมาพร้อมกับคำขอด้วย ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ก็ให้เรียกเก็บเงินอากร ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอต่อไป ข้อ 4. ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาตทุกฉะบับ ต้องให้นายอำเภอหรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาต และให้ใช้แบบพิมพ์ใบอนุญาต (อนุญาต 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. การออกใบแทนใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตและการผ่อน เวลาชำระเงินอากรใบอนุญาต ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการออกใบแทนการ โอนอาชญาบัตรและการผ่อนเวลาชำระเงินอากรอาชญาบัตร ตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาใช้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (6) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1. บ่อล่อสัตว์น้ำ คือ ที่ล่อสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัตรของแผ่นดินก็ดี ไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้น จะมีลักษณะหรือรูปร่างอย่างใดโดยผู้ขุดหรือสร้างหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครอง มีความมุ่งหมายโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะล่อสัตว์น้ำจากที่จับสัตว์น้ำเพื่อ ประโยชน์ในการทำการประมง ข. การขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการ อำเภอท้องที่ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ค. การทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 4. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำด้วยวิธีวิดน้ำ หรือทำให้ น้ำในบ่อนั้นแห้งหรือลดน้อยลงไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้นจะอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์หรืออยู่ในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 5. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 4 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 7 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (7) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ คือที่เลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ดี โดยผู้ขุดหรือสร้างหรือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความมุ่งหมายโดยตรงที่จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชะนิดใด ชะนิดหนึ่งหรือหลายชะนิดรวมกันให้เพิ่มจำนวนหรือเพิ่มน้ำหนักยิ่งขึ้น ข. การขุดเรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขออนุญาตตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขออนุญาตตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออก ตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ข้อ 4. ใบอนุญาตตามข้อ 3 ทุกฉะบับ ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อในใบอนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 8 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่ว่าประมูล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. การดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 1. ให้คณะกรมการจังหวัดท้องที่รายงานขออนุมัติการว่าประมูล ที่ว่าประมูลพร้อมทั้งชะนิด จำนวน และที่ตั้งเครื่องมือทำการประมงต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ก่อนดำเนินการออกประกาศว่าประมูลทุกคราว ข. คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 2. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่สั่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ว่าประมูลขึ้นคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 นาย ประกอบด้วยข้าหลวงประจำจังหวัด ท้องที่หรือผู้รักษาการแทน ประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน และนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอท้องที่หรือผู้รักษาการแทนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทนก็ให้ข้าหลวงประจำ จังหวัดแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นกรรมการแทน ข้อ 3. ให้คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ ว่าประมูล ที่ว่าประมูลในท้องที่จังหวัดนั้นตามวิธีการและกฎเกณฑ์ในระเบียบการ ว่าประมูลซึ่งได้กำหนดไว้ ข้อ 4. ในการว่าประมูลคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลจะกำหนดให้ ว่าประมูลโดยวิธีปิดซองหรือโดยวิธีปากเปล่าก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร และจะ กำหนดอัตราเงินอากรขั้นต่ำสำหรับการว่าประมูลไว้ก็ได้ *[3] `ข้อ 5 บรรดาที่ว่าประมูลทุกแห่งจะต้องอนุญาตให้บุคคลทำการประมง หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยวิธีว่าประมูล เว้นแต่ที่ว่าประมูลแห่งใดที่สมควรอนุญาต ให้แก่สหกรณ์การประมงเป็นผู้รับอนุญาต หรือสมควรอนุญาตให้แก่ผู้รับอนุญาตที่ ประทานบัตรสิ้นอายุในปีที่พึ่งล่วงมา และเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ได้ผล ก็ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร มีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตได้โดยไม่ต้องว่าประมูล ถ้าที่ว่าประมูลแห่งใดไม่มีผู้เข้าว่าประมูล หรือมีผู้เข้าว่าประมูลเพียง รายเดียว หรือผู้เข้าว่าประมูลให้อากรต่ำเกินสมควร จะระงับการว่าประมูลเสีย ก็ได้ หรือถ้าคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลได้พิจารณาเห็นสมควร จะอนุญาต ให้ผู้ใดเป็นผู้รับอนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลนั้น โดย กำหนดจำนวนเงินอากรที่จะเรียกเก็บตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากอธิบดีกรมประมงก่อน และจำนวนเงินอากรจะต้องไม่ต่ำกว่า อัตราค่าที่อนุญาตประเภทนั้น ๆ' ค. วิธีการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 6. ก่อนเวลาดำเนินการว่าประมูลที่ว่าประมูลแห่งใดให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่ทำหนังสือประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนวันว่าประมูล เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ปิดประกาศไว้ที่ศาลากลางจังหวัดท้องที่ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ และที่ชุมนุมชนตามที่เห็นสมควร ข้อ 7. ในประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัดตามข้อ 6 จะต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้ คือ ชื่อที่ว่าประมูล ที่ว่าประมูลนั้นอยู่ในตำบลใด อำเภอใด สถานที่ ทำการว่าประมูล วันและเวลาทำการว่าประมูล ที่ตั้งและชื่อเครื่องมือทำการ ประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่ว่าประมูล กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมง และกำหนดวันเดือนปีทำสัญญาและการส่งเงินอากร ง. กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมงในที่ว่าประมูล ------ ข้อ 8. กำหนดอายุการอนุญาตในการประมงในที่ว่าประมูลนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่มีอำนาจกำหนดการอนุญาตได้คราวละ 1 ปี เมื่อหมดอายุ การอนุญาตแล้วก็ให้ดำเนินการว่าประมูลใหม่ ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณา เห็นสมควรกำหนดอายุการอนุญาตเกินกว่า 1 ปี ก็ให้รายงานขออนุญาตต่ออธิบดี กรมการประมง จ. การออกประทานบัตรและการทำสัญญา ------ ข้อ 9. เมื่อคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลชี้ขาดให้ผู้ใดเป็นผู้ได้รับ อนุญาตแล้ว ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่ดำเนินการเรียกให้ผู้นั้นนำหลักทรัพย์ หรือจัดหาผู้ค้ำประกันเงินอากรตามข้อ 13 และดำเนินการออกประทานบัตรตาม แบบพิมพ์ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้ผู้รับอนุญาตทำสัญญาผูกขาดตามแบบที่อธิบดี กรมการประมงกำหนด ข้อ 10. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตใน ประทานบัตร ส่วนในสัญญาผูกขาดที่กระทรวงเกษตราธิการทำกับผู้อนุญาตนั้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่กับประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน เป็น ผู้ลงลายมือชื่อแทนกระทรวงเกษตราธิการ แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัด หรือผู้รักษาการแทน ก็ให้ผู้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 11. การทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 และ 10 ให้ทำเป็นสองฉะบับ มีข้อความตรงกัน และให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละ หนึ่งฉะบับ ในสัญญาผูกขาดจะต้องแสดงอาณาเขตต์ที่ว่าประมูล และที่ตั้งเครื่องมือ ทำการประมงแบบไว้ด้วย ฉ. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ------ ข้อ 12. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ให้ผู้รับอนุญาตชำระทั้งหมด ในเวลารับประทานบัตรและลงลายมือชื่อในสัญญาผูกขาด เว้นแต่จะได้มีการ ผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ช. หลักทรัพย์และผู้ค้ำประกัน ------ ข้อ 13. ในกรณีที่มีการผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ผู้รับอนุญาต จะต้องนำหลักทรัพย์คือโฉนดที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์มาจำนองไว้เป็นประกัน การชำระอากร ถ้าหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้วมีราคายังไม่คุ้มกับเงินอากร ก็ให้ ผู้รับอนุญาตหาผู้ค้ำประกันที่มีหลักทรัพย์มั่นคงเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ ดำเนินการว่าประมูลมาทำสัญญาจำนองหรือค้ำประกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วจึงให้ข้าหลวงประจำจังหวัดออกประทานบัตร และทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 ซ. การผิดชำระอากรและการผ่อนเวลาชำระอากร ------ ข้อ 14. เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แล้ว ปรากฏว่าเงินอากรยังค้างชำระอยู่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งรัดให้ผู้ค้ำประกัน ชำระเงินอากรโดยไม่ชักช้า ฌ. การโอนประทานบัตร ------ ข้อ 15. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะโอนประทานบัตรและสัญญา ผูกขาดในที่ว่าประมูลซึ่งตนได้รับให้แก่ผู้อื่นให้ผู้รับอนุญาตและผู้รับโอนยื่น เรื่องราวขออนุญาตโอนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียม ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและได้รับอนุญาตแล้ว จึงจำทำการโอนกันได้ ข้อ 16. การโอนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดตามข้อ 15 ผู้โอนจะต้อง นำประทานบัตรมาให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสลักหลังการโอน และผู้รับโอนจะต้อง ทำสัญญาผูกขาดกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อความเช่นเดียวกับผู้ที่ทำกับผู้โอน และ ต้องปฏิบัติในเรื่องหลักทรัพย์ประกัน ผู้ค้ำประกันและอื่น ๆ ตามกฎกระทรวงนี้ ญ. การเวนคืนที่ว่าประมูล ------ ข้อ 17. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะเวนคืนที่ว่าประมูลให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ก่อนสิ้นกำหนดอายุการอนุญาตตามประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้ผู้นั้น ยื่นเรื่องราวขอเวนคืนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 18. เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดได้รับเรื่องราวขอเวนคืนที่ว่าประมูลแล้ว และได้พิจารณาเห็นสมควรจะรับเวนคืน ก็ให้สั่งอนุญาตให้เวนคืนได้ ส่วนทรัพย์สิน ที่ผู้นั้นนำมาวางประกันและสัญญาค้ำประกัน ให้คงยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้จัดการ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่ที่ว่าประมูลนั้น เพื่อให้ได้เงินอากรครบตามสัญญาผูกขาด ข้อ 19. ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณาเห็นสมควรให้จัดการว่าประมูล ที่ว่าประมูลที่เวนคืนนั้นใหม่ ก็ให้กรรมการดำเนินการว่าประมูลดำเนินการต่อไปได้ หากได้เงินอากรต่ำกว่าการประมูลคราวแรกเท่าใด ก็ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด เรียกเงินอากรที่ยังขาดจากผู้เวนคืนจนครบ ข้อ 20. ที่ว่าประมูลซึ่งผู้รับอนุญาตขอเวนคืนนั้น แม้ผู้รับอนุญาตจะยังไม่ได้ ลงมือทำการประมงในที่ว่าประมูลนั้นเลยก็ดี เงินอากรที่ผู้รับอนุญาตชำระแล้ว จะเรียกคืนมิได้แต่ถ้าการขอเวนคืนนั้น เนื่องจากเหตุที่ทางราชการได้กระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด ทำให้เสียประโยชน์ของผู้รับอนุญาตในการทำการประมงใน ที่ว่าประมูลนั้น เช่นการปิดทำนบเป็นต้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดรับคืนที่ว่าประมูล นั้น และส่งคืนเงินอากรที่ได้ชำระแล้วให้แก่ผู้รับอนุญาตทั้งหมดแต่ถ้าผู้รับอนุญาต ได้ลงมือทำการประมงได้ผลประโยชน์ไปบ้างแล้ว ก็ให้พิจารณาว่าจะควรคืนเงิน อากรที่ชำระให้แล้วเพียงใดหรือไม่ต้องคืนเลย โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่ ผู้รับอนุญาตได้รับจากที่ว่าประมูลนั้นแล้วเพียงใด ฎ. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ------ ข้อ 21. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้นำบทบัญญัติ แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการออกใบแทนอาชญาบัตร มาใช้โดยอนุโลม และในใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 9 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยใบอนุญาตรายบุคคล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงโดยใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต รายบุคคล หรือทำการหาหอยแมลงภู่และหอยกระพงหรือเทียนหอยและหอยมุกด์ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 1) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ให้พิจารณา ถ้าเห็นสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และดำเนินการออกใบอนุญาตให้ตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 5) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3. ใบอนุญาตทุกฉะบับที่ออกให้ตามข้อ 2 ให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ประจำกิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 10 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการติดโคมไฟและเครื่องหมาย ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือประจำที่ มีหน้าที่ต้องติดโคมไฟ และเครื่องหมายแผ่นสี่เหลี่ยมสีขาวกว้าง 20 เซ็นติเมตร ยาว 50 เซ็นติเมตร เป็นอย่างน้อยให้เห็นได้ชัดเจน ข้อ 2. โคมไฟนั้นผู้รับอนุญาตตามข้อ 1 ต้องติดโคมไฟไว้ที่เรือทุ่น หรือ ที่เสาหรือสลัก ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น ส่วนเครื่องหมายนั้นในเวลา กลางวันผู้รับอนุญาตจะต้องติดไว้เสมอที่เครื่องมือประจำที่ ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 11 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการอุทธรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจออกประทานบัตร ใบอนุญาตและ อาชญาบัตร ไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ถ้าบุคคลผู้มีส่วนได้เสียประสงค์จะ อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน ก็ให้บุคคลนั้นยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงาน ภายใน กำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นอุทธรณ์ทราบคำสั่ง ข้อ 2. ในคำอุทธรณ์นั้น จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียด ชัดเจนว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลประการใด และต้องลงชื่อตัว ชื่อสกุลและภูมิลำเนาของผู้ยื่นอุทธรณ์ ข้อ 3. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำอุทธรณ์ ก็ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ เป็นหลักฐาน และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวแล้วชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการ ไม่ยอมออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรแล้วแต่กรณีโดยละเอียด เสนอคณะกรรมการ จังหวัดเพื่อตรวจสอบ แสดงความเห็นภายในกำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันได้รับ อุทธรณ์ ข้อ 4. สำหรับกรณีใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรนั้นถ้าคณะกรมการจังหวัด เห็นสมควรออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ก็ให้แนะนำเจ้าพนักงาน ดำเนินการออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้อุทธรณ์ต่อไปได้ ถ้าเจ้าพนักงาน ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้ก็เป็นอันยุติ แต่ถ้าพนักงานเห็นว่าไม่สมควร ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตร ก็ให้เจ้าพนักงานรายงานมายังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตราธิการพร้อมด้วยความเห็นของคณะกรมการจังหวัดภายในยี่สิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ข้อ 5. ในกรณีที่ไม่ยอมให้ออกประทานบัตร เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัด ได้รับอุทธรณ์ ก็ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียดเสนอไปยังรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันได้รับอุทธรณ์ ข้อ 6. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตราธิการ ให้แจ้งคำวินิจฉัยนั้นให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในห้าวัน ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 12 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออนุญาตและจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง การสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรมสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ การขออนุญาตและการจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง ------ ข้อ 1. ผู้ใดประกอบอาชีพอยู่แล้วในวันใช้พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ก็ดี หรือมีความประสงค์จะประกอบอาชีพก็ดี ถ้าเป็นอาชีพที่ ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 ให้ผู้นั้นยื่นคำขออนุญาตและจดทะเบียน (คำขอ 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ 1. สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมการประมง 2. สำหรับจังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ก็ให้พิจารณา คำขอนั้น ถ้าสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวง และดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3. ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อ 2 ทุกฉะบับ ให้อธิบดีกรมการประมง นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[2] กฎกระทรวง ฉะบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 ว่าด้วยการกำหนดอัตรา ค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และให้ใช้กฎต่อไปนี้แทน IMAGE 0 ให้ไว้ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2492 ช่วง เกษตรศิลปการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ บทเฉพาะกาล -------------------- กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วย ผู้มีอาชีพทำการประมงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ ได้รับความเสียหายเพราะภัย ธรรมชาติวิปริตในบางปี เช่น ใน พ.ศ. 2500 และ 2501 ดินฟ้าอากาศ แห้งแล้งมาก ในน่านน้ำจืดน้ำเข้าทุ่งน้อย ปลาเข้าวางไข่ไม่ได้ผล ในทะเล ก็เช่นเดียวกันปลาวางไข่น้อย จึงทำให้ชาวประมงผู้ว่าประมูลจับปลาไม่ได้ผล ผู้ว่าประมูลได้ต้องเสียเงินอากรให้แก่รัฐบาลในอัตราสูง ก็ได้รับความเสียหาย และเดือนร้อนมาก อนึ่งที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่าประมูลบางแห่งมีความเหมาะสม ที่จะจัดตั้งเป็นสหกรณ์การประมง แล้วอนุญาตให้สหกรณ์การประมงที่ได้จัดตั้งขึ้น มีสิทธิทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลแห่งนั้นได้ จึงเป็นการสมควรออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรมีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่า ประมูลให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย วาตะภัย หรือให้แก่ผู้ประสบความเสียหายจากภัย ธรรมชาติกับให้สหกรณ์การประมงได้ -------------------- กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วย กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร การประมงได้ประกาศใช้มาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว การเรียกเก็บเงินอากรแก่ เครื่องมือการประมงบางชนิดยังไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพราะ ในปัจจุบันนี้การประมงทะเลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก ชาวประมงได้ นำเอาเครื่องมือประมงแบบใหม่ ๆ มาใช้ทำการประมงอีกหลายชนิด เช่น อวนลอยไนล่อน เป็นต้น อวนแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ ซึ่งเป็นเครื่องมือขนาดเล็ก แต่ต้องเสียเงินอากรค่าอาชญาบัตรในอัตราสูงเกินรายได้ของชาวประมง ซึ่งนับว่าไม่เป็นธรรมแก่ชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อน เมื่อเปรียบเทียบกับ เครื่องมือขนาดใหญ่อื่น ๆ ซึ่งเสียเงินอากรน้อยกว่าอวนลอยไนล่อนหลายเท่า แต่สามารถจับสัตว์น้ำได้มากกว่าอวนลอยไนล่อนหลายสิบเท่า เพื่อส่งเสริม อาชีพชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อนให้สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินอากรการประมง เสียใหม่ เชิงอรรถ -------------------- *[1] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 13 (พ.ศ. 2491) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[2] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[3] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[4] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
318644
กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2506) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พุทธศักราช 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรออกกฎกระทรวง ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในลำดับ 8 ของ (ข) อัตราเงินอากรอาชญาบัตร สำหรับเครื่องมือในพิกัด แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วย การกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ให้ไว้ ณ วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 พลเอก สุรจิต จารุเศรนี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ------------------------------------------------------- หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วย กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร การประมงได้ประกาศใช้มาเป็นเวลา 15 ปีแล้ว การเรียกเก็บเงินอากรแก่ เครื่องมือการประมงบางชนิดยังไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพราะ ในปัจจุบันนี้การประมงทะเลได้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นเป็นอันมาก ชาวประมงได้ นำเอาเครื่องมือประมงแบบใหม่ ๆ มาใช้ทำการประมงอีกหลายชนิด เช่น อวนลอยไนล่อน เป็นต้น อวนแบบใหม่ ๆ เหล่านี้ ซึ่งเป็นเครื่องมือขนาดเล็ก แต่ต้องเสียเงินอากรค่าอาชญาบัตรในอัตราสูงเกินรายได้ของชาวประมง ซึ่งนับว่าไม่เป็นธรรมแก่ชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อน เมื่อเปรียบเทียบกับ เครื่องมือขนาดใหญ่อื่น ๆ ซึ่งเสียเงินอากรน้อยกว่าอวนลอยไนล่อนหลายเท่า แต่สามารถจับสัตว์น้ำได้มากกว่าอวนลอยไนล่อนหลายสิบเท่า เพื่อส่งเสริม อาชีพชาวประมงผู้ใช้อวนลอยไนล่อนให้สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงแก้ไขปรับปรุงอัตราเงินอากรการประมง เสียใหม่
318169
กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (Update ณ วันที่ 04/08/2502)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (13) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ เครื่องมือทำการประมงต่อไปนี้เป็นเครื่องมือในพิกัด (1) ยอขันช่อ (2) ช้อนขันช่อ (3) ช้อนสนั่น (4) ช้อนหางเหยี่ยว (5) ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมานหรือกั้นซู่รั้วไซมาน (6) ถุงบาม (7) เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา (8) แหยาวตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา) (9) ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป (10) เบ็ดราวยาวตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป (11) ข่าย (12) อวนต่าง ๆ (13) เฝือก (14) เครื่องกั้น ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กำหนดอัตราเงินอากรดังต่อไปนี้ *[1] `ให้ยกเลิกอัตราเงินอากรค่าที่อนุญาตบ่อล่อสัตว์น้ำ ลำดับ 20 ตาม บัญชี (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) และให้เก็บ ในอัตราตารางเมตรละสิบห้าสตางค์ ทุกจังหวัดที่มีการเก็บเงินอากรเกี่ยวกับ การทำการประมง' IMAGE 0 ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[2] `ยกเลิกกฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนด อัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490' กฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดชะนิดใด ทำการประมงต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อ คณะกรมการอำเภอท้องที่ การขอรับอาชญาบัตรเช่นว่านี้ หากผู้ขอมีอาชญาบัตร ฉะบับหลังที่สุดสำหรับเครื่องมือนั้น ก็ให้แนบไปกับคำขอด้วยและถ้าผู้ขอประสงค์ จะให้ผู้ใดในครอบครองหรือลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นด้วยก็ให้ระบุชื่อไว้ใน คำขอนั้น ข้อ 2. ในการยื่นคำขอตามข้อ 1 นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สงสัยอาจ สั่งให้ผู้ขออนุญาตนำเครื่องมือนั้นมาให้ตรวจก็ได้ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นตรวจวัดแทนและรับรองก็ได้ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามความในข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา คำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ตามกฎเกณฑ์ในระเบียบ วิธีการอนุญาตที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง และออกอาชญาบัตรให้แก่ผู้ขอ ข้อ 4. ใบอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต และให้ใช้ แบบอาชญาบัตร (อนุญาต 1) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. ถ้าผู้รับอนุญาตใดประสงค์จะขอสลักหลังอาชญาบัตรเพื่อตัดทอน หรือเพิ่มบุคคลในครอบครัวหรือลูกจ้างของตนให้เป็นผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือในพิกัด ก็ให้ยื่นรายชื่อบุคคลที่จะตัดทอนหรือเพิ่มต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่พร้อมด้วย อาชญาบัตร และผู้รับอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าสลักหลังตามกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในการสลักหลัง ข้อ 6. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดนำเครื่องมือในพิกัดนั้นไปใช้ทำการประมง ในท้องที่อื่นซึ่งเก็บอากรสูงกว่าที่ตนได้ชำระไว้แล้ว ก็ให้ผู้รับอนุญาตนั้นนำ อาชญาบัตรไปเสียอากรเพิ่มเติมต่อคณะกรมการอำเภอที่ตนนำเครื่องมือในพิกัด ไปใช้ทำการประมง ต่อเมื่อได้ชำระเงินอากรเพิ่มเติม และนายอำเภอ หรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี ได้สลักหลังอาชญาบัตร ว่าได้เสียเงินอากรเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแล้ว จึงจะใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ข้อ 7. ถ้าอาชญาบัตรที่ออกให้ตามกฎกระทรวงนี้ศูนย์หายหรือชำรุดเสียหาย ในสาระสำคัญ ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ยื่นคำขอนั้น ๆ รับใบแทนอาชญาบัตรตามแบบพิมพ์ (คำขอ 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อคณะกรรมการอำเภอท้องที่และให้ส่งอาชญาบัตร ที่ชำรุดไปด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและได้สอบสวนพิจารณาเห็นสมควร ออกใบแทนให้ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบแทนตามกฎกระทรวง และ ออกใบแทนอาชญาบัตรอันมีข้อความอย่างเดียวกับอาชญาบัตรที่ศูนย์หายหรือชำรุด เสียหายในสาระสำคัญให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่ให้เขียนคำว่า `ใบแทน' ด้วยหมึกสีแดง ไว้ตอนบน ใบแทนอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณีในท้องที่เดียวกัน เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาตในแบแทน ข้อ 8. ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะโอนอาชญาบัตรของตนให้แก่ผู้อื่น ให้ยื่น เรื่องราวชี้แจงเหตุผลพร้อมด้วยอาชญาบัตรต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ เมื่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องราว และได้พิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามกฎเกณฑ์ การโอนตามที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี สลักหลังการโอนและชื่อผู้รับโอนไว้ในอาชญาบัตรนั้น และมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้รับโอนต่อไป ข้อ 9. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดได้รับการผ่อนเวลาชำระเงินอากรค่าอาชญาบัตร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้รับอนุญาตแทนอาชญาบัตร และให้ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ตามเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตระหว่างผ่อนเวลาชำระเงินอากร ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 5 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่อนุญาต ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในที่อนุญาตตามประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัด ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. ถ้าผู้ขออนุญาตเคยได้รับอนุญาตให้ทำการประมงหรือเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำในที่อนุญาตนั้นอยู่แล้ว ก็ให้แนบในอนุญาตปีก่อนมาพร้อมกับคำขอด้วย ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ก็ให้เรียกเก็บเงินอากร ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอต่อไป ข้อ 4. ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาตทุกฉะบับ ต้องให้นายอำเภอหรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาต และให้ใช้แบบพิมพ์ใบอนุญาต (อนุญาต 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. การออกใบแทนใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตและการผ่อน เวลาชำระเงินอากรใบอนุญาต ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการออกใบแทนการ โอนอาชญาบัตรและการผ่อนเวลาชำระเงินอากรอาชญาบัตร ตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาใช้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (6) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1. บ่อล่อสัตว์น้ำ คือ ที่ล่อสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัตรของแผ่นดินก็ดี ไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้น จะมีลักษณะหรือรูปร่างอย่างใดโดยผู้ขุดหรือสร้างหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครอง มีความมุ่งหมายโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะล่อสัตว์น้ำจากที่จับสัตว์น้ำเพื่อ ประโยชน์ในการทำการประมง ข. การขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการ อำเภอท้องที่ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ค. การทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 4. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำด้วยวิธีวิดน้ำ หรือทำให้ น้ำในบ่อนั้นแห้งหรือลดน้อยลงไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้นจะอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์หรืออยู่ในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 5. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 4 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 7 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (7) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ คือที่เลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ดี โดยผู้ขุดหรือสร้างหรือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความมุ่งหมายโดยตรงที่จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชะนิดใด ชะนิดหนึ่งหรือหลายชะนิดรวมกันให้เพิ่มจำนวนหรือเพิ่มน้ำหนักยิ่งขึ้น ข. การขุดเรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขออนุญาตตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขออนุญาตตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออก ตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ข้อ 4. ใบอนุญาตตามข้อ 3 ทุกฉะบับ ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อในใบอนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 8 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่ว่าประมูล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. การดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 1. ให้คณะกรมการจังหวัดท้องที่รายงานขออนุมัติการว่าประมูล ที่ว่าประมูลพร้อมทั้งชะนิด จำนวน และที่ตั้งเครื่องมือทำการประมงต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ก่อนดำเนินการออกประกาศว่าประมูลทุกคราว ข. คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 2. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่สั่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ว่าประมูลขึ้นคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 นาย ประกอบด้วยข้าหลวงประจำจังหวัด ท้องที่หรือผู้รักษาการแทน ประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน และนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอท้องที่หรือผู้รักษาการแทนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทนก็ให้ข้าหลวงประจำ จังหวัดแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นกรรมการแทน ข้อ 3. ให้คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ ว่าประมูล ที่ว่าประมูลในท้องที่จังหวัดนั้นตามวิธีการและกฎเกณฑ์ในระเบียบการ ว่าประมูลซึ่งได้กำหนดไว้ ข้อ 4. ในการว่าประมูลคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลจะกำหนดให้ ว่าประมูลโดยวิธีปิดซองหรือโดยวิธีปากเปล่าก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร และจะ กำหนดอัตราเงินอากรขั้นต่ำสำหรับการว่าประมูลไว้ก็ได้ *[3] `ข้อ 5 บรรดาที่ว่าประมูลทุกแห่งจะต้องอนุญาตให้บุคคลทำการประมง หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยวิธีว่าประมูล เว้นแต่ที่ว่าประมูลแห่งใดที่สมควรอนุญาต ให้แก่สหกรณ์การประมงเป็นผู้รับอนุญาต หรือสมควรอนุญาตให้แก่ผู้รับอนุญาตที่ ประทานบัตรสิ้นอายุในปีที่พึ่งล่วงมา และเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ได้ผล ก็ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร มีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตได้โดยไม่ต้องว่าประมูล ถ้าที่ว่าประมูลแห่งใดไม่มีผู้เข้าว่าประมูล หรือมีผู้เข้าว่าประมูลเพียง รายเดียว หรือผู้เข้าว่าประมูลให้อากรต่ำเกินสมควร จะระงับการว่าประมูลเสีย ก็ได้ หรือถ้าคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลได้พิจารณาเห็นสมควร จะอนุญาต ให้ผู้ใดเป็นผู้รับอนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลนั้น โดย กำหนดจำนวนเงินอากรที่จะเรียกเก็บตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับ ความเห็นชอบจากอธิบดีกรมประมงก่อน และจำนวนเงินอากรจะต้องไม่ต่ำกว่า อัตราค่าที่อนุญาตประเภทนั้น ๆ' ค. วิธีการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 6. ก่อนเวลาดำเนินการว่าประมูลที่ว่าประมูลแห่งใดให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่ทำหนังสือประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนวันว่าประมูล เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ปิดประกาศไว้ที่ศาลากลางจังหวัดท้องที่ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ และที่ชุมนุมชนตามที่เห็นสมควร ข้อ 7. ในประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัดตามข้อ 6 จะต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้ คือ ชื่อที่ว่าประมูล ที่ว่าประมูลนั้นอยู่ในตำบลใด อำเภอใด สถานที่ ทำการว่าประมูล วันและเวลาทำการว่าประมูล ที่ตั้งและชื่อเครื่องมือทำการ ประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่ว่าประมูล กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมง และกำหนดวันเดือนปีทำสัญญาและการส่งเงินอากร ง. กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมงในที่ว่าประมูล ------ ข้อ 8. กำหนดอายุการอนุญาตในการประมงในที่ว่าประมูลนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่มีอำนาจกำหนดการอนุญาตได้คราวละ 1 ปี เมื่อหมดอายุ การอนุญาตแล้วก็ให้ดำเนินการว่าประมูลใหม่ ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณา เห็นสมควรกำหนดอายุการอนุญาตเกินกว่า 1 ปี ก็ให้รายงานขออนุญาตต่ออธิบดี กรมการประมง จ. การออกประทานบัตรและการทำสัญญา ------ ข้อ 9. เมื่อคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลชี้ขาดให้ผู้ใดเป็นผู้ได้รับ อนุญาตแล้ว ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่ดำเนินการเรียกให้ผู้นั้นนำหลักทรัพย์ หรือจัดหาผู้ค้ำประกันเงินอากรตามข้อ 13 และดำเนินการออกประทานบัตรตาม แบบพิมพ์ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้ผู้รับอนุญาตทำสัญญาผูกขาดตามแบบที่อธิบดี กรมการประมงกำหนด ข้อ 10. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตใน ประทานบัตร ส่วนในสัญญาผูกขาดที่กระทรวงเกษตราธิการทำกับผู้อนุญาตนั้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่กับประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน เป็น ผู้ลงลายมือชื่อแทนกระทรวงเกษตราธิการ แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัด หรือผู้รักษาการแทน ก็ให้ผู้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 11. การทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 และ 10 ให้ทำเป็นสองฉะบับ มีข้อความตรงกัน และให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละ หนึ่งฉะบับ ในสัญญาผูกขาดจะต้องแสดงอาณาเขตต์ที่ว่าประมูล และที่ตั้งเครื่องมือ ทำการประมงแบบไว้ด้วย ฉ. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ------ ข้อ 12. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ให้ผู้รับอนุญาตชำระทั้งหมด ในเวลารับประทานบัตรและลงลายมือชื่อในสัญญาผูกขาด เว้นแต่จะได้มีการ ผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ช. หลักทรัพย์และผู้ค้ำประกัน ------ ข้อ 13. ในกรณีที่มีการผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ผู้รับอนุญาต จะต้องนำหลักทรัพย์คือโฉนดที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์มาจำนองไว้เป็นประกัน การชำระอากร ถ้าหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้วมีราคายังไม่คุ้มกับเงินอากร ก็ให้ ผู้รับอนุญาตหาผู้ค้ำประกันที่มีหลักทรัพย์มั่นคงเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ ดำเนินการว่าประมูลมาทำสัญญาจำนองหรือค้ำประกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วจึงให้ข้าหลวงประจำจังหวัดออกประทานบัตร และทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 ซ. การผิดชำระอากรและการผ่อนเวลาชำระอากร ------ ข้อ 14. เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แล้ว ปรากฏว่าเงินอากรยังค้างชำระอยู่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งรัดให้ผู้ค้ำประกัน ชำระเงินอากรโดยไม่ชักช้า ฌ. การโอนประทานบัตร ------ ข้อ 15. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะโอนประทานบัตรและสัญญา ผูกขาดในที่ว่าประมูลซึ่งตนได้รับให้แก่ผู้อื่นให้ผู้รับอนุญาตและผู้รับโอนยื่น เรื่องราวขออนุญาตโอนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียม ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและได้รับอนุญาตแล้ว จึงจำทำการโอนกันได้ ข้อ 16. การโอนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดตามข้อ 15 ผู้โอนจะต้อง นำประทานบัตรมาให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสลักหลังการโอน และผู้รับโอนจะต้อง ทำสัญญาผูกขาดกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อความเช่นเดียวกับผู้ที่ทำกับผู้โอน และ ต้องปฏิบัติในเรื่องหลักทรัพย์ประกัน ผู้ค้ำประกันและอื่น ๆ ตามกฎกระทรวงนี้ ญ. การเวนคืนที่ว่าประมูล ------ ข้อ 17. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะเวนคืนที่ว่าประมูลให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ก่อนสิ้นกำหนดอายุการอนุญาตตามประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้ผู้นั้น ยื่นเรื่องราวขอเวนคืนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 18. เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดได้รับเรื่องราวขอเวนคืนที่ว่าประมูลแล้ว และได้พิจารณาเห็นสมควรจะรับเวนคืน ก็ให้สั่งอนุญาตให้เวนคืนได้ ส่วนทรัพย์สิน ที่ผู้นั้นนำมาวางประกันและสัญญาค้ำประกัน ให้คงยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้จัดการ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่ที่ว่าประมูลนั้น เพื่อให้ได้เงินอากรครบตามสัญญาผูกขาด ข้อ 19. ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณาเห็นสมควรให้จัดการว่าประมูล ที่ว่าประมูลที่เวนคืนนั้นใหม่ ก็ให้กรรมการดำเนินการว่าประมูลดำเนินการต่อไปได้ หากได้เงินอากรต่ำกว่าการประมูลคราวแรกเท่าใด ก็ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด เรียกเงินอากรที่ยังขาดจากผู้เวนคืนจนครบ ข้อ 20. ที่ว่าประมูลซึ่งผู้รับอนุญาตขอเวนคืนนั้น แม้ผู้รับอนุญาตจะยังไม่ได้ ลงมือทำการประมงในที่ว่าประมูลนั้นเลยก็ดี เงินอากรที่ผู้รับอนุญาตชำระแล้ว จะเรียกคืนมิได้แต่ถ้าการขอเวนคืนนั้น เนื่องจากเหตุที่ทางราชการได้กระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด ทำให้เสียประโยชน์ของผู้รับอนุญาตในการทำการประมงใน ที่ว่าประมูลนั้น เช่นการปิดทำนบเป็นต้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดรับคืนที่ว่าประมูล นั้น และส่งคืนเงินอากรที่ได้ชำระแล้วให้แก่ผู้รับอนุญาตทั้งหมดแต่ถ้าผู้รับอนุญาต ได้ลงมือทำการประมงได้ผลประโยชน์ไปบ้างแล้ว ก็ให้พิจารณาว่าจะควรคืนเงิน อากรที่ชำระให้แล้วเพียงใดหรือไม่ต้องคืนเลย โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่ ผู้รับอนุญาตได้รับจากที่ว่าประมูลนั้นแล้วเพียงใด ฎ. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ------ ข้อ 21. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้นำบทบัญญัติ แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการออกใบแทนอาชญาบัตร มาใช้โดยอนุโลม และในใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 9 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยใบอนุญาตรายบุคคล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงโดยใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต รายบุคคล หรือทำการหาหอยแมลงภู่และหอยกระพงหรือเทียนหอยและหอยมุกด์ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 1) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ให้พิจารณา ถ้าเห็นสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และดำเนินการออกใบอนุญาตให้ตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 5) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3. ใบอนุญาตทุกฉะบับที่ออกให้ตามข้อ 2 ให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ประจำกิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 10 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการติดโคมไฟและเครื่องหมาย ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือประจำที่ มีหน้าที่ต้องติดโคมไฟ และเครื่องหมายแผ่นสี่เหลี่ยมสีขาวกว้าง 20 เซ็นติเมตร ยาว 50 เซ็นติเมตร เป็นอย่างน้อยให้เห็นได้ชัดเจน ข้อ 2. โคมไฟนั้นผู้รับอนุญาตตามข้อ 1 ต้องติดโคมไฟไว้ที่เรือทุ่น หรือ ที่เสาหรือสลัก ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น ส่วนเครื่องหมายนั้นในเวลา กลางวันผู้รับอนุญาตจะต้องติดไว้เสมอที่เครื่องมือประจำที่ ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 11 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการอุทธรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจออกประทานบัตร ใบอนุญาตและ อาชญาบัตร ไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ถ้าบุคคลผู้มีส่วนได้เสียประสงค์จะ อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน ก็ให้บุคคลนั้นยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงาน ภายใน กำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นอุทธรณ์ทราบคำสั่ง ข้อ 2. ในคำอุทธรณ์นั้น จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียด ชัดเจนว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลประการใด และต้องลงชื่อตัว ชื่อสกุลและภูมิลำเนาของผู้ยื่นอุทธรณ์ ข้อ 3. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำอุทธรณ์ ก็ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ เป็นหลักฐาน และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวแล้วชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการ ไม่ยอมออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรแล้วแต่กรณีโดยละเอียด เสนอคณะกรรมการ จังหวัดเพื่อตรวจสอบ แสดงความเห็นภายในกำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันได้รับ อุทธรณ์ ข้อ 4. สำหรับกรณีใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรนั้นถ้าคณะกรมการจังหวัด เห็นสมควรออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ก็ให้แนะนำเจ้าพนักงาน ดำเนินการออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้อุทธรณ์ต่อไปได้ ถ้าเจ้าพนักงาน ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้ก็เป็นอันยุติ แต่ถ้าพนักงานเห็นว่าไม่สมควร ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตร ก็ให้เจ้าพนักงานรายงานมายังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตราธิการพร้อมด้วยความเห็นของคณะกรมการจังหวัดภายในยี่สิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ข้อ 5. ในกรณีที่ไม่ยอมให้ออกประทานบัตร เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัด ได้รับอุทธรณ์ ก็ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียดเสนอไปยังรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันได้รับอุทธรณ์ ข้อ 6. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตราธิการ ให้แจ้งคำวินิจฉัยนั้นให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในห้าวัน ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 12 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออนุญาตและจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง การสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรมสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ การขออนุญาตและการจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง ------ ข้อ 1. ผู้ใดประกอบอาชีพอยู่แล้วในวันใช้พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ก็ดี หรือมีความประสงค์จะประกอบอาชีพก็ดี ถ้าเป็นอาชีพที่ ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 ให้ผู้นั้นยื่นคำขออนุญาตและจดทะเบียน (คำขอ 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ 1. สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมการประมง 2. สำหรับจังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ก็ให้พิจารณา คำขอนั้น ถ้าสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวง และดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3. ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อ 2 ทุกฉะบับ ให้อธิบดีกรมการประมง นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[2] กฎกระทรวง ฉะบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 ว่าด้วยการกำหนดอัตรา ค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และให้ใช้กฎต่อไปนี้แทน IMAGE 0 ให้ไว้ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2492 ช่วง เกษตรศิลปการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ บทเฉพาะกาล -------------------- กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วย ผู้มีอาชีพทำการประมงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ ได้รับความเสียหายเพราะภัย ธรรมชาติวิปริตในบางปี เช่น ใน พ.ศ. 2500 และ 2501 ดินฟ้าอากาศ แห้งแล้งมาก ในน่านน้ำจืดน้ำเข้าทุ่งน้อย ปลาเข้าวางไข่ไม่ได้ผล ในทะเล ก็เช่นเดียวกันปลาวางไข่น้อย จึงทำให้ชาวประมงผู้ว่าประมูลจับปลาไม่ได้ผล ผู้ว่าประมูลได้ต้องเสียเงินอากรให้แก่รัฐบาลในอัตราสูง ก็ได้รับความเสียหาย และเดือนร้อนมาก อนึ่งที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่าประมูลบางแห่งมีความเหมาะสม ที่จะจัดตั้งเป็นสหกรณ์การประมง แล้วอนุญาตให้สหกรณ์การประมงที่ได้จัดตั้งขึ้น มีสิทธิทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลแห่งนั้นได้ จึงเป็นการสมควรออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตรมีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่า ประมูลให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย วาตะภัย หรือให้แก่ผู้ประสบความเสียหายจากภัย ธรรมชาติกับให้สหกรณ์การประมงได้ เชิงอรรถ -------------------- *[1] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 13 (พ.ศ. 2491) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[2] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[3] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความใน พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
301669
กฎกระทรวง ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2502) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๐๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยที่ว่าประมูลออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ บรรดาที่ว่าประมูลทุกแห่งจะต้องอนุญาตให้บุคคลทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยวิธีว่าประมูล เว้นแต่ที่ว่าประมูลแห่งใดที่สมควรอนุญาตให้แก่สหกรณ์การประมงเป็นผู้รับอนุญาต หรือสมควรอนุญาตให้แก่ผู้รับอนุญาตที่ประทานบัตรสิ้นอายุในปีที่เพิ่งล่วงมา และเป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไม่ได้ผล ก็ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรมีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตได้โดยไม่ต้องว่าประมูล ถ้าที่ว่าประมูลแห่งใดไม่มีผู้เข้าว่าประมูล หรือมีผู้เข้าว่าประมูลเพียงรายเดียว หรือผู้เข้าว่าประมูลให้อากรต่ำเกินสมควร จะระงับการว่าประมูลเสียก็ได้ หรือถ้าคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลได้พิจารณาเห็นสมควร จะอนุญาตให้ผู้ใดเป็นผู้รับอนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลนั้น โดยกำหนดจำนวนเงินอากรที่จะเรียกเก็บตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมประมงก่อน และจำนวนเงินอากรจะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าที่อนุญาตประเภทนั้น ๆ” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ส. มหาผล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องด้วยผู้มีอาชีพทำการประมงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ ได้รับความเสียหายเพราะภัยธรรมชาติวิปริตในบางปี เช่น ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ และ ๒๕๐๑ ดินฟ้าอากาศแห้งแล้งมาก ในน่านน้ำจืดน้ำเข้าทุ่งน้อย ปลาเข้าวางไข่ไม่ได้ผล ในทะเลก็เช่นเดียวกันปลาวางไข่น้อย จึงทำให้ชาวประมงผู้ว่าประมูลจับปลาไม่ได้ผล ผู้ว่าประมูลได้ต้องเสียเงินอากรให้แก่รัฐบาลในอัตราสูง ก็ได้รับความเสียหายและเดือนร้อนมาก อนึ่ง ที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่าประมูลบางแห่ง มีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นสหกรณ์การประมง แล้วอนุญาตให้สหกรณ์การประมงที่ได้จัดตั้งขึ้นมีสิทธิทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลแห่งนั้นได้ จึงเป็นการสมควรออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร มีอำนาจอนุมัติให้จังหวัดอนุญาตที่จับสัตว์น้ำประเภทที่ว่าประมูลให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย หรือให้แก่ผู้ประสบความเสียหายจากภัยธรรมชาติกับให้แก่สหกรณ์การประมงได้ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๖/ตอนที่ ๗๖/หน้า ๓๑๒/๔ สิงหาคม ๒๕๐๒
300317
กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (Update ณ วันที่ 20/09/2492)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (13) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ เครื่องมือทำการประมงต่อไปนี้เป็นเครื่องมือในพิกัด (1) ยอขันช่อ (2) ช้อนขันช่อ (3) ช้อนสนั่น (4) ช้อนหางเหยี่ยว (5) ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมานหรือกั้นซู่รั้วไซมาน (6) ถุงบาม (7) เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา (8) แหยาวตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา) (9) ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป (10) เบ็ดราวยาวตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป (11) ข่าย (12) อวนต่าง ๆ (13) เฝือก (14) เครื่องกั้น ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กำหนดอัตราเงินอากรดังต่อไปนี้ *[1] `ให้ยกเลิกอัตราเงินอากรค่าที่อนุญาตบ่อล่อสัตว์น้ำ ลำดับ 20 ตาม บัญชี (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) และให้เก็บ ในอัตราตารางเมตรละสิบห้าสตางค์ ทุกจังหวัดที่มีการเก็บเงินอากรเกี่ยวกับ การทำการประมง' IMAGE 0 ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[2] `ยกเลิกกฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนด อัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490' กฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดชะนิดใด ทำการประมงต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อ คณะกรมการอำเภอท้องที่ การขอรับอาชญาบัตรเช่นว่านี้ หากผู้ขอมีอาชญาบัตร ฉะบับหลังที่สุดสำหรับเครื่องมือนั้น ก็ให้แนบไปกับคำขอด้วยและถ้าผู้ขอประสงค์ จะให้ผู้ใดในครอบครองหรือลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นด้วยก็ให้ระบุชื่อไว้ใน คำขอนั้น ข้อ 2. ในการยื่นคำขอตามข้อ 1 นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สงสัยอาจ สั่งให้ผู้ขออนุญาตนำเครื่องมือนั้นมาให้ตรวจก็ได้ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นตรวจวัดแทนและรับรองก็ได้ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามความในข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา คำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ตามกฎเกณฑ์ในระเบียบ วิธีการอนุญาตที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง และออกอาชญาบัตรให้แก่ผู้ขอ ข้อ 4. ใบอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต และให้ใช้ แบบอาชญาบัตร (อนุญาต 1) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. ถ้าผู้รับอนุญาตใดประสงค์จะขอสลักหลังอาชญาบัตรเพื่อตัดทอน หรือเพิ่มบุคคลในครอบครัวหรือลูกจ้างของตนให้เป็นผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือในพิกัด ก็ให้ยื่นรายชื่อบุคคลที่จะตัดทอนหรือเพิ่มต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่พร้อมด้วย อาชญาบัตร และผู้รับอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าสลักหลังตามกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในการสลักหลัง ข้อ 6. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดนำเครื่องมือในพิกัดนั้นไปใช้ทำการประมง ในท้องที่อื่นซึ่งเก็บอากรสูงกว่าที่ตนได้ชำระไว้แล้ว ก็ให้ผู้รับอนุญาตนั้นนำ อาชญาบัตรไปเสียอากรเพิ่มเติมต่อคณะกรมการอำเภอที่ตนนำเครื่องมือในพิกัด ไปใช้ทำการประมง ต่อเมื่อได้ชำระเงินอากรเพิ่มเติม และนายอำเภอ หรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี ได้สลักหลังอาชญาบัตร ว่าได้เสียเงินอากรเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแล้ว จึงจะใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ข้อ 7. ถ้าอาชญาบัตรที่ออกให้ตามกฎกระทรวงนี้ศูนย์หายหรือชำรุดเสียหาย ในสาระสำคัญ ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ยื่นคำขอนั้น ๆ รับใบแทนอาชญาบัตรตามแบบพิมพ์ (คำขอ 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อคณะกรรมการอำเภอท้องที่และให้ส่งอาชญาบัตร ที่ชำรุดไปด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและได้สอบสวนพิจารณาเห็นสมควร ออกใบแทนให้ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบแทนตามกฎกระทรวง และ ออกใบแทนอาชญาบัตรอันมีข้อความอย่างเดียวกับอาชญาบัตรที่ศูนย์หายหรือชำรุด เสียหายในสาระสำคัญให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่ให้เขียนคำว่า `ใบแทน' ด้วยหมึกสีแดง ไว้ตอนบน ใบแทนอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณีในท้องที่เดียวกัน เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาตในแบแทน ข้อ 8. ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะโอนอาชญาบัตรของตนให้แก่ผู้อื่น ให้ยื่น เรื่องราวชี้แจงเหตุผลพร้อมด้วยอาชญาบัตรต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ เมื่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องราว และได้พิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามกฎเกณฑ์ การโอนตามที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี สลักหลังการโอนและชื่อผู้รับโอนไว้ในอาชญาบัตรนั้น และมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้รับโอนต่อไป ข้อ 9. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดได้รับการผ่อนเวลาชำระเงินอากรค่าอาชญาบัตร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้รับอนุญาตแทนอาชญาบัตร และให้ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ตามเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตระหว่างผ่อนเวลาชำระเงินอากร ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 5 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่อนุญาต ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในที่อนุญาตตามประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัด ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. ถ้าผู้ขออนุญาตเคยได้รับอนุญาตให้ทำการประมงหรือเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำในที่อนุญาตนั้นอยู่แล้ว ก็ให้แนบในอนุญาตปีก่อนมาพร้อมกับคำขอด้วย ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ก็ให้เรียกเก็บเงินอากร ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอต่อไป ข้อ 4. ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาตทุกฉะบับ ต้องให้นายอำเภอหรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาต และให้ใช้แบบพิมพ์ใบอนุญาต (อนุญาต 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. การออกใบแทนใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตและการผ่อน เวลาชำระเงินอากรใบอนุญาต ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการออกใบแทนการ โอนอาชญาบัตรและการผ่อนเวลาชำระเงินอากรอาชญาบัตร ตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาใช้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (6) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1. บ่อล่อสัตว์น้ำ คือ ที่ล่อสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัตรของแผ่นดินก็ดี ไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้น จะมีลักษณะหรือรูปร่างอย่างใดโดยผู้ขุดหรือสร้างหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครอง มีความมุ่งหมายโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะล่อสัตว์น้ำจากที่จับสัตว์น้ำเพื่อ ประโยชน์ในการทำการประมง ข. การขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการ อำเภอท้องที่ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ค. การทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 4. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำด้วยวิธีวิดน้ำ หรือทำให้ น้ำในบ่อนั้นแห้งหรือลดน้อยลงไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้นจะอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์หรืออยู่ในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 5. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 4 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 7 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (7) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ คือที่เลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ดี โดยผู้ขุดหรือสร้างหรือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความมุ่งหมายโดยตรงที่จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชะนิดใด ชะนิดหนึ่งหรือหลายชะนิดรวมกันให้เพิ่มจำนวนหรือเพิ่มน้ำหนักยิ่งขึ้น ข. การขุดเรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขออนุญาตตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขออนุญาตตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออก ตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ข้อ 4. ใบอนุญาตตามข้อ 3 ทุกฉะบับ ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อในใบอนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 8 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่ว่าประมูล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. การดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 1. ให้คณะกรมการจังหวัดท้องที่รายงานขออนุมัติการว่าประมูล ที่ว่าประมูลพร้อมทั้งชะนิด จำนวน และที่ตั้งเครื่องมือทำการประมงต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ก่อนดำเนินการออกประกาศว่าประมูลทุกคราว ข. คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 2. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่สั่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ว่าประมูลขึ้นคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 นาย ประกอบด้วยข้าหลวงประจำจังหวัด ท้องที่หรือผู้รักษาการแทน ประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน และนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอท้องที่หรือผู้รักษาการแทนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทนก็ให้ข้าหลวงประจำ จังหวัดแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นกรรมการแทน ข้อ 3. ให้คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ ว่าประมูล ที่ว่าประมูลในท้องที่จังหวัดนั้นตามวิธีการและกฎเกณฑ์ในระเบียบการ ว่าประมูลซึ่งได้กำหนดไว้ ข้อ 4. ในการว่าประมูลคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลจะกำหนดให้ ว่าประมูลโดยวิธีปิดซองหรือโดยวิธีปากเปล่าก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร และจะ กำหนดอัตราเงินอากรขั้นต่ำสำหรับการว่าประมูลไว้ก็ได้ ข้อ 5. บรรดาที่ว่าประมูลทุกแห่งจะต้องอนุญาตให้บุคคลทำการประมง หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยประมูล ถ้าที่ว่าประมูลแห่งใดไม่มีผู้เข้าว่าประมูลหรือผู้เข้าว่าประมูลเพียง รายเดียวหรือผู้เข้าว่าประมูลให้อากรต่ำเกินสมควร จะระงับการว่าประมูล เสียก็ได้ หรือถ้าคณะกรรมการดำเนินการว่าการประมูลได้พิจารณาเห็นสมควร อนุญาตให้ผู้ใดเป็นผู้รับอนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลนั้น โดยกำหนดจำนวนเงินอากรที่จะเรียกเก็บตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมการประมงก่อน และจำนวนเงินอากรจะต้อง ไม่ต่ำกว่าอัตราที่อนุญาตประเภทนั้น ๆ ค. วิธีการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 6. ก่อนเวลาดำเนินการว่าประมูลที่ว่าประมูลแห่งใดให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่ทำหนังสือประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนวันว่าประมูล เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ปิดประกาศไว้ที่ศาลากลางจังหวัดท้องที่ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ และที่ชุมนุมชนตามที่เห็นสมควร ข้อ 7. ในประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัดตามข้อ 6 จะต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้ คือ ชื่อที่ว่าประมูล ที่ว่าประมูลนั้นอยู่ในตำบลใด อำเภอใด สถานที่ ทำการว่าประมูล วันและเวลาทำการว่าประมูล ที่ตั้งและชื่อเครื่องมือทำการ ประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่ว่าประมูล กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมง และกำหนดวันเดือนปีทำสัญญาและการส่งเงินอากร ง. กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมงในที่ว่าประมูล ------ ข้อ 8. กำหนดอายุการอนุญาตในการประมงในที่ว่าประมูลนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่มีอำนาจกำหนดการอนุญาตได้คราวละ 1 ปี เมื่อหมดอายุ การอนุญาตแล้วก็ให้ดำเนินการว่าประมูลใหม่ ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณา เห็นสมควรกำหนดอายุการอนุญาตเกินกว่า 1 ปี ก็ให้รายงานขออนุญาตต่ออธิบดี กรมการประมง จ. การออกประทานบัตรและการทำสัญญา ------ ข้อ 9. เมื่อคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลชี้ขาดให้ผู้ใดเป็นผู้ได้รับ อนุญาตแล้ว ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่ดำเนินการเรียกให้ผู้นั้นนำหลักทรัพย์ หรือจัดหาผู้ค้ำประกันเงินอากรตามข้อ 13 และดำเนินการออกประทานบัตรตาม แบบพิมพ์ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้ผู้รับอนุญาตทำสัญญาผูกขาดตามแบบที่อธิบดี กรมการประมงกำหนด ข้อ 10. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตใน ประทานบัตร ส่วนในสัญญาผูกขาดที่กระทรวงเกษตราธิการทำกับผู้อนุญาตนั้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่กับประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน เป็น ผู้ลงลายมือชื่อแทนกระทรวงเกษตราธิการ แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัด หรือผู้รักษาการแทน ก็ให้ผู้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 11. การทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 และ 10 ให้ทำเป็นสองฉะบับ มีข้อความตรงกัน และให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละ หนึ่งฉะบับ ในสัญญาผูกขาดจะต้องแสดงอาณาเขตต์ที่ว่าประมูล และที่ตั้งเครื่องมือ ทำการประมงแบบไว้ด้วย ฉ. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ------ ข้อ 12. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ให้ผู้รับอนุญาตชำระทั้งหมด ในเวลารับประทานบัตรและลงลายมือชื่อในสัญญาผูกขาด เว้นแต่จะได้มีการ ผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ช. หลักทรัพย์และผู้ค้ำประกัน ------ ข้อ 13. ในกรณีที่มีการผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ผู้รับอนุญาต จะต้องนำหลักทรัพย์คือโฉนดที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์มาจำนองไว้เป็นประกัน การชำระอากร ถ้าหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้วมีราคายังไม่คุ้มกับเงินอากร ก็ให้ ผู้รับอนุญาตหาผู้ค้ำประกันที่มีหลักทรัพย์มั่นคงเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ ดำเนินการว่าประมูลมาทำสัญญาจำนองหรือค้ำประกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วจึงให้ข้าหลวงประจำจังหวัดออกประทานบัตร และทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 ซ. การผิดชำระอากรและการผ่อนเวลาชำระอากร ------ ข้อ 14. เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แล้ว ปรากฏว่าเงินอากรยังค้างชำระอยู่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งรัดให้ผู้ค้ำประกัน ชำระเงินอากรโดยไม่ชักช้า ฌ. การโอนประทานบัตร ------ ข้อ 15. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะโอนประทานบัตรและสัญญา ผูกขาดในที่ว่าประมูลซึ่งตนได้รับให้แก่ผู้อื่นให้ผู้รับอนุญาตและผู้รับโอนยื่น เรื่องราวขออนุญาตโอนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียม ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและได้รับอนุญาตแล้ว จึงจำทำการโอนกันได้ ข้อ 16. การโอนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดตามข้อ 15 ผู้โอนจะต้อง นำประทานบัตรมาให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสลักหลังการโอน และผู้รับโอนจะต้อง ทำสัญญาผูกขาดกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อความเช่นเดียวกับผู้ที่ทำกับผู้โอน และ ต้องปฏิบัติในเรื่องหลักทรัพย์ประกัน ผู้ค้ำประกันและอื่น ๆ ตามกฎกระทรวงนี้ ญ. การเวนคืนที่ว่าประมูล ------ ข้อ 17. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะเวนคืนที่ว่าประมูลให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ก่อนสิ้นกำหนดอายุการอนุญาตตามประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้ผู้นั้น ยื่นเรื่องราวขอเวนคืนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 18. เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดได้รับเรื่องราวขอเวนคืนที่ว่าประมูลแล้ว และได้พิจารณาเห็นสมควรจะรับเวนคืน ก็ให้สั่งอนุญาตให้เวนคืนได้ ส่วนทรัพย์สิน ที่ผู้นั้นนำมาวางประกันและสัญญาค้ำประกัน ให้คงยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้จัดการ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่ที่ว่าประมูลนั้น เพื่อให้ได้เงินอากรครบตามสัญญาผูกขาด ข้อ 19. ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณาเห็นสมควรให้จัดการว่าประมูล ที่ว่าประมูลที่เวนคืนนั้นใหม่ ก็ให้กรรมการดำเนินการว่าประมูลดำเนินการต่อไปได้ หากได้เงินอากรต่ำกว่าการประมูลคราวแรกเท่าใด ก็ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด เรียกเงินอากรที่ยังขาดจากผู้เวนคืนจนครบ ข้อ 20. ที่ว่าประมูลซึ่งผู้รับอนุญาตขอเวนคืนนั้น แม้ผู้รับอนุญาตจะยังไม่ได้ ลงมือทำการประมงในที่ว่าประมูลนั้นเลยก็ดี เงินอากรที่ผู้รับอนุญาตชำระแล้ว จะเรียกคืนมิได้แต่ถ้าการขอเวนคืนนั้น เนื่องจากเหตุที่ทางราชการได้กระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด ทำให้เสียประโยชน์ของผู้รับอนุญาตในการทำการประมงใน ที่ว่าประมูลนั้น เช่นการปิดทำนบเป็นต้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดรับคืนที่ว่าประมูล นั้น และส่งคืนเงินอากรที่ได้ชำระแล้วให้แก่ผู้รับอนุญาตทั้งหมดแต่ถ้าผู้รับอนุญาต ได้ลงมือทำการประมงได้ผลประโยชน์ไปบ้างแล้ว ก็ให้พิจารณาว่าจะควรคืนเงิน อากรที่ชำระให้แล้วเพียงใดหรือไม่ต้องคืนเลย โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่ ผู้รับอนุญาตได้รับจากที่ว่าประมูลนั้นแล้วเพียงใด ฎ. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ------ ข้อ 21. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้นำบทบัญญัติ แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการออกใบแทนอาชญาบัตร มาใช้โดยอนุโลม และในใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 9 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยใบอนุญาตรายบุคคล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงโดยใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต รายบุคคล หรือทำการหาหอยแมลงภู่และหอยกระพงหรือเทียนหอยและหอยมุกด์ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 1) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ให้พิจารณา ถ้าเห็นสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และดำเนินการออกใบอนุญาตให้ตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 5) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3. ใบอนุญาตทุกฉะบับที่ออกให้ตามข้อ 2 ให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ประจำกิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 10 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการติดโคมไฟและเครื่องหมาย ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือประจำที่ มีหน้าที่ต้องติดโคมไฟ และเครื่องหมายแผ่นสี่เหลี่ยมสีขาวกว้าง 20 เซ็นติเมตร ยาว 50 เซ็นติเมตร เป็นอย่างน้อยให้เห็นได้ชัดเจน ข้อ 2. โคมไฟนั้นผู้รับอนุญาตตามข้อ 1 ต้องติดโคมไฟไว้ที่เรือทุ่น หรือ ที่เสาหรือสลัก ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น ส่วนเครื่องหมายนั้นในเวลา กลางวันผู้รับอนุญาตจะต้องติดไว้เสมอที่เครื่องมือประจำที่ ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 11 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการอุทธรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจออกประทานบัตร ใบอนุญาตและ อาชญาบัตร ไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ถ้าบุคคลผู้มีส่วนได้เสียประสงค์จะ อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน ก็ให้บุคคลนั้นยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงาน ภายใน กำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นอุทธรณ์ทราบคำสั่ง ข้อ 2. ในคำอุทธรณ์นั้น จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียด ชัดเจนว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลประการใด และต้องลงชื่อตัว ชื่อสกุลและภูมิลำเนาของผู้ยื่นอุทธรณ์ ข้อ 3. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำอุทธรณ์ ก็ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ เป็นหลักฐาน และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวแล้วชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการ ไม่ยอมออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรแล้วแต่กรณีโดยละเอียด เสนอคณะกรรมการ จังหวัดเพื่อตรวจสอบ แสดงความเห็นภายในกำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันได้รับ อุทธรณ์ ข้อ 4. สำหรับกรณีใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรนั้นถ้าคณะกรมการจังหวัด เห็นสมควรออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ก็ให้แนะนำเจ้าพนักงาน ดำเนินการออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้อุทธรณ์ต่อไปได้ ถ้าเจ้าพนักงาน ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้ก็เป็นอันยุติ แต่ถ้าพนักงานเห็นว่าไม่สมควร ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตร ก็ให้เจ้าพนักงานรายงานมายังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตราธิการพร้อมด้วยความเห็นของคณะกรมการจังหวัดภายในยี่สิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ข้อ 5. ในกรณีที่ไม่ยอมให้ออกประทานบัตร เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัด ได้รับอุทธรณ์ ก็ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียดเสนอไปยังรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันได้รับอุทธรณ์ ข้อ 6. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตราธิการ ให้แจ้งคำวินิจฉัยนั้นให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในห้าวัน ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 12 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออนุญาตและจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง การสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรมสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ การขออนุญาตและการจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง ------ ข้อ 1. ผู้ใดประกอบอาชีพอยู่แล้วในวันใช้พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ก็ดี หรือมีความประสงค์จะประกอบอาชีพก็ดี ถ้าเป็นอาชีพที่ ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 ให้ผู้นั้นยื่นคำขออนุญาตและจดทะเบียน (คำขอ 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ 1. สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมการประมง 2. สำหรับจังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ก็ให้พิจารณา คำขอนั้น ถ้าสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวง และดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3. ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อ 2 ทุกฉะบับ ให้อธิบดีกรมการประมง นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ *[2] กฎกระทรวง ฉะบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 ว่าด้วยการกำหนดอัตรา ค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และให้ใช้กฎต่อไปนี้แทน IMAGE 0 ให้ไว้ ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2492 ช่วง เกษตรศิลปการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เชิงอรรถ -------------------- *[1] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 13 (พ.ศ. 2491) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 *[2] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 14 (พ.ศ. 2492) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
736716
กฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (ฉบับ Update ณ วันที่ 19/10/2491) (ครั้งที่ 1) (ฉบับที่ 13)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กำหนดอัตราเงินอากรดังต่อไปนี้ (ก) อัตราเงินอากรค้าที่อนุญาต ลำดับ ประเภทที่อนุญาต อัตราเงินอากร ท้องที่ บาท สต. ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐[๒] ๒๑ โป๊ะน้ำลึก แห่งละ แห่งละ แห่งละ แห่งละ โป๊ะน้ำลึก แห่งละ แห่งละ แห่งละ แห่งละ อวนรัง แห่งละ เฝือกรัง แห่งละ จิบ แห่งละ ลิ แห่งละ สุก แห่งละ โพงพาง (ประจำที่) ช่องละ โพงพาง (หลักลอย) ช่องละ ร้านโจน แห่งละ รั้วไซมาน ช่องละ กั้นรั้วไซมาน ช่องละ ช้อนปีก แห่งละ ยอปีก แห่งละ บาม แห่งละ ยอขันช่อ แห่งละ ช้อนขันช่อ แห่งละ จันทา แห่งละ กร่ำ ตารางเมตรละ บ่อล่อสัตว์น้ำ ตารางเมตรละ ที่เลี้ยงลอย ตารางเมตรละ ๒๐๐ ๑๐๐ ๕๐ ๑๐ ๑๐๐ ๕๐ ๒๕ ๑๐ ๒๐๐ ๑๕๐ ๑๕๐ ๑๕๐ ๑๕๐ ๒๐ ๔๐ ๑๐๐ ๕๐ ๕๐ ๒๕ ๒๕ ๒๕ ๒๐ ๒๐ ๑ ๑ - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ๑๕ ๐๑ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสตูล จังหวัดตรัง จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสตูล จังหวัดตรัง ทุกจังหวัดที่มีการเก็บเงินอากรเกี่ยวกับการทำการประมง (ข) อัตราเงินอากรอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือในพิกัด ลำดับ ชื่อเครื่องมือ อัตราเงินอากร ท้องที่ บาท สต. ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ยอขันช่อ ช้อนขันช่อ ช้อนสนั่นมีเครื่องยก ปากละ ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมาน หรือกั้นซู่รั้วไซมาน ถุงละ ถุงบาม ปากละ เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา ลำละ แหยาวตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา) ปากละ ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ ๓.๕ เมตรขึ้นไป ปากละ เบ็ดราวยาวตั้งแต่ ๔๐ เมตรขึ้นไป สายละ (ก) อวนลอย ขนาดช่องตาตั้งแต่ ๗ เซนติเมตรขึ้นไป โดยดึงตาอวนให้เป็นเส้นตรงตามเส้นทแยงมุมแล้ววัดตามเส้นนั้นจากกึ่งกลางของเงื่อนหนึ่งไปยังกึ่งกลางของอีกเงื่อนหนึ่ง ยาวเมตรละ (ข) อวนลอย ขนาดช่องตาต่ำกว่า ๗ เซนติเมตร โดยดึงตาอวนให้เป็นเส้นตรงตามเส้นทแยงมุมแล้ววัดตามเส้นนั้นจากกึ่งกลางของเงื่อนหนึ่งไปยังกึ่งกลางของอีกเงื่อนหนึ่ง ยาวเมตรละ (ค) ข่ายและอวนอื่น ๆ (๑) กว้างกว่า ๑ เมตร ถึง ๔ เมตร ยาวเมตรละ (๒) กว้างกว่า ๔ เมตร ถึง ๘ เมตร ยาวเมตรละ (๓) กว้างกว่า ๘ เมตร ถึง ๒๔ เมตร ยาวเมตรละ (๔) กว้างกว่า ๒๔ เมตร ยาวเมตรละ เฝือกหรือเครื่องกั้นยาวกว่า ๒ เมตรขึ้นไป ยาวเมตรละ (เว้นแต่เฝือกหรือเครื่องกั้นที่ใช้ประกอบโป๊ะ โพงพาง รั้วไซมาน กั้นซู่รั้วไซมาน ช้อนปีก ยกปีก) ๑๕ ๑๐ ๑๐ ๕ ๘ ๕ ๕ - - ๑ ๒ - - - - - - - - ๕๐ ๕๐ - - ๒๕ ทุกจังหวัดที่มีการเก็บเงินอากรเกี่ยวกับการทำการประมง (ค) อัตราเงินอากรค่าใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมง ลำดับ รายการ อัตราเงินอากร บาท สต. ๑ ๒ ๓ ใบอนุญาตรายบุคคลผู้ทำการประมงโดยใช้เครื่องมือ นอกพิกัด ในที่อนุญาต คนละ ใบอนุญาตหาหอยแมลงภู่ และหอยกะพง คนละ ใบอนุญาตหาหอยเทียน และหอยมุกด์ คนละ ๕ ๕ ๕ - - - ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๔๙๑) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๓] จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐ [๒] บัญชี (ก) ลำดับ ๒๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉะบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๔๙๑) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๕/ตอนที่ ๖๑/หน้า ๖๔๘/๑๙ ตุลาคม ๒๔๙๑
318168
กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 (Update ณ วันที่ 19/10/2491)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (13) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ เครื่องมือทำการประมงต่อไปนี้เป็นเครื่องมือในพิกัด (1) ยอขันช่อ (2) ช้อนขันช่อ (3) ช้อนสนั่น (4) ช้อนหางเหยี่ยว (5) ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมานหรือกั้นซู่รั้วไซมาน (6) ถุงบาม (7) เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา (8) แหยาวตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา) (9) ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ 3.5 เมตรขึ้นไป (10) เบ็ดราวยาวตั้งแต่ 40 เมตรขึ้นไป (11) ข่าย (12) อวนต่าง ๆ (13) เฝือก (14) เครื่องกั้น ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กำหนดอัตราเงินอากรดังต่อไปนี้ *[1] `ให้ยกเลิกอัตราเงินอากรค่าที่อนุญาตบ่อล่อสัตว์น้ำ ลำดับ 20 ตาม บัญชี (ก) แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) และให้เก็บ ในอัตราตารางเมตรละสิบห้าสตางค์ ทุกจังหวัดที่มีการเก็บเงินอากรเกี่ยวกับ การทำการประมง' IMAGE 0 ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ IMAGE 0 ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดชะนิดใด ทำการประมงต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อ คณะกรมการอำเภอท้องที่ การขอรับอาชญาบัตรเช่นว่านี้ หากผู้ขอมีอาชญาบัตร ฉะบับหลังที่สุดสำหรับเครื่องมือนั้น ก็ให้แนบไปกับคำขอด้วยและถ้าผู้ขอประสงค์ จะให้ผู้ใดในครอบครองหรือลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นด้วยก็ให้ระบุชื่อไว้ใน คำขอนั้น ข้อ 2. ในการยื่นคำขอตามข้อ 1 นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สงสัยอาจ สั่งให้ผู้ขออนุญาตนำเครื่องมือนั้นมาให้ตรวจก็ได้ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้นตรวจวัดแทนและรับรองก็ได้ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามความในข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณา คำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ตามกฎเกณฑ์ในระเบียบ วิธีการอนุญาตที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวง และออกอาชญาบัตรให้แก่ผู้ขอ ข้อ 4. ใบอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต และให้ใช้ แบบอาชญาบัตร (อนุญาต 1) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. ถ้าผู้รับอนุญาตใดประสงค์จะขอสลักหลังอาชญาบัตรเพื่อตัดทอน หรือเพิ่มบุคคลในครอบครัวหรือลูกจ้างของตนให้เป็นผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือในพิกัด ก็ให้ยื่นรายชื่อบุคคลที่จะตัดทอนหรือเพิ่มต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่พร้อมด้วย อาชญาบัตร และผู้รับอนุญาตจะต้องเสียค่าธรรมเนียมค่าสลักหลังตามกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในการสลักหลัง ข้อ 6. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดนำเครื่องมือในพิกัดนั้นไปใช้ทำการประมง ในท้องที่อื่นซึ่งเก็บอากรสูงกว่าที่ตนได้ชำระไว้แล้ว ก็ให้ผู้รับอนุญาตนั้นนำ อาชญาบัตรไปเสียอากรเพิ่มเติมต่อคณะกรมการอำเภอที่ตนนำเครื่องมือในพิกัด ไปใช้ทำการประมง ต่อเมื่อได้ชำระเงินอากรเพิ่มเติม และนายอำเภอ หรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี ได้สลักหลังอาชญาบัตร ว่าได้เสียเงินอากรเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแล้ว จึงจะใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ข้อ 7. ถ้าอาชญาบัตรที่ออกให้ตามกฎกระทรวงนี้ศูนย์หายหรือชำรุดเสียหาย ในสาระสำคัญ ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ยื่นคำขอนั้น ๆ รับใบแทนอาชญาบัตรตามแบบพิมพ์ (คำขอ 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อคณะกรรมการอำเภอท้องที่และให้ส่งอาชญาบัตร ที่ชำรุดไปด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและได้สอบสวนพิจารณาเห็นสมควร ออกใบแทนให้ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบแทนตามกฎกระทรวง และ ออกใบแทนอาชญาบัตรอันมีข้อความอย่างเดียวกับอาชญาบัตรที่ศูนย์หายหรือชำรุด เสียหายในสาระสำคัญให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่ให้เขียนคำว่า `ใบแทน' ด้วยหมึกสีแดง ไว้ตอนบน ใบแทนอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำ กิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณีในท้องที่เดียวกัน เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาตในแบแทน ข้อ 8. ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะโอนอาชญาบัตรของตนให้แก่ผู้อื่น ให้ยื่น เรื่องราวชี้แจงเหตุผลพร้อมด้วยอาชญาบัตรต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ เมื่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องราว และได้พิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามกฎเกณฑ์ การโอนตามที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี สลักหลังการโอนและชื่อผู้รับโอนไว้ในอาชญาบัตรนั้น และมอบอาชญาบัตรให้แก่ผู้รับโอนต่อไป ข้อ 9. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดได้รับการผ่อนเวลาชำระเงินอากรค่าอาชญาบัตร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้แก่ผู้รับอนุญาตแทนอาชญาบัตร และให้ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นทำการ ประมงได้ ตามเวลาที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตระหว่างผ่อนเวลาชำระเงินอากร ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 5 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่อนุญาต ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในที่อนุญาตตามประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัด ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. ถ้าผู้ขออนุญาตเคยได้รับอนุญาตให้ทำการประมงหรือเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำในที่อนุญาตนั้นอยู่แล้ว ก็ให้แนบในอนุญาตปีก่อนมาพร้อมกับคำขอด้วย ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ก็ให้เรียกเก็บเงินอากร ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอต่อไป ข้อ 4. ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาตทุกฉะบับ ต้องให้นายอำเภอหรือ ปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่อ อนุญาต และให้ใช้แบบพิมพ์ใบอนุญาต (อนุญาต 3) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. การออกใบแทนใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตและการผ่อน เวลาชำระเงินอากรใบอนุญาต ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการออกใบแทนการ โอนอาชญาบัตรและการผ่อนเวลาชำระเงินอากรอาชญาบัตร ตามที่กำหนดไว้ ในกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 มาใช้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (6) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1. บ่อล่อสัตว์น้ำ คือ ที่ล่อสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัตรของแผ่นดินก็ดี ไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้น จะมีลักษณะหรือรูปร่างอย่างใดโดยผู้ขุดหรือสร้างหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครอง มีความมุ่งหมายโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะล่อสัตว์น้ำจากที่จับสัตว์น้ำเพื่อ ประโยชน์ในการทำการประมง ข. การขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติ ของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการ อำเภอท้องที่ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ค. การทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำ ------ ข้อ 4. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำด้วยวิธีวิดน้ำ หรือทำให้ น้ำในบ่อนั้นแห้งหรือลดน้อยลงไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้นจะอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์หรืออยู่ในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 3) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 5. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ 4 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 7 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (7) และมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 1. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ คือที่เลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือ กรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ดี โดยผู้ขุดหรือสร้างหรือ เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความมุ่งหมายโดยตรงที่จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชะนิดใด ชะนิดหนึ่งหรือหลายชะนิดรวมกันให้เพิ่มจำนวนหรือเพิ่มน้ำหนักยิ่งขึ้น ข. การขุดเรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ------ ข้อ 2. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขออนุญาตตามแบบพิมพ์ (คำขอ 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขออนุญาตตามข้อ 2 แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 4) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออก ตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ข้อ 4. ใบอนุญาตตามข้อ 3 ทุกฉะบับ ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อในใบอนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 8 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่ว่าประมูล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. การดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 1. ให้คณะกรมการจังหวัดท้องที่รายงานขออนุมัติการว่าประมูล ที่ว่าประมูลพร้อมทั้งชะนิด จำนวน และที่ตั้งเครื่องมือทำการประมงต่อรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ก่อนดำเนินการออกประกาศว่าประมูลทุกคราว ข. คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 2. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่สั่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ ว่าประมูลขึ้นคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 นาย ประกอบด้วยข้าหลวงประจำจังหวัด ท้องที่หรือผู้รักษาการแทน ประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน และนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอท้องที่หรือผู้รักษาการแทนแล้วแต่กรณี แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทนก็ให้ข้าหลวงประจำ จังหวัดแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นกรรมการแทน ข้อ 3. ให้คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ ว่าประมูล ที่ว่าประมูลในท้องที่จังหวัดนั้นตามวิธีการและกฎเกณฑ์ในระเบียบการ ว่าประมูลซึ่งได้กำหนดไว้ ข้อ 4. ในการว่าประมูลคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลจะกำหนดให้ ว่าประมูลโดยวิธีปิดซองหรือโดยวิธีปากเปล่าก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร และจะ กำหนดอัตราเงินอากรขั้นต่ำสำหรับการว่าประมูลไว้ก็ได้ ข้อ 5. บรรดาที่ว่าประมูลทุกแห่งจะต้องอนุญาตให้บุคคลทำการประมง หรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยประมูล ถ้าที่ว่าประมูลแห่งใดไม่มีผู้เข้าว่าประมูลหรือผู้เข้าว่าประมูลเพียง รายเดียวหรือผู้เข้าว่าประมูลให้อากรต่ำเกินสมควร จะระงับการว่าประมูล เสียก็ได้ หรือถ้าคณะกรรมการดำเนินการว่าการประมูลได้พิจารณาเห็นสมควร อนุญาตให้ผู้ใดเป็นผู้รับอนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลนั้น โดยกำหนดจำนวนเงินอากรที่จะเรียกเก็บตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมการประมงก่อน และจำนวนเงินอากรจะต้อง ไม่ต่ำกว่าอัตราที่อนุญาตประเภทนั้น ๆ ค. วิธีการดำเนินการว่าประมูล ------ ข้อ 6. ก่อนเวลาดำเนินการว่าประมูลที่ว่าประมูลแห่งใดให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่ทำหนังสือประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนวันว่าประมูล เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ปิดประกาศไว้ที่ศาลากลางจังหวัดท้องที่ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ และที่ชุมนุมชนตามที่เห็นสมควร ข้อ 7. ในประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัดตามข้อ 6 จะต้องมีข้อความ ดังต่อไปนี้ คือ ชื่อที่ว่าประมูล ที่ว่าประมูลนั้นอยู่ในตำบลใด อำเภอใด สถานที่ ทำการว่าประมูล วันและเวลาทำการว่าประมูล ที่ตั้งและชื่อเครื่องมือทำการ ประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่ว่าประมูล กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมง และกำหนดวันเดือนปีทำสัญญาและการส่งเงินอากร ง. กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมงในที่ว่าประมูล ------ ข้อ 8. กำหนดอายุการอนุญาตในการประมงในที่ว่าประมูลนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดท้องที่มีอำนาจกำหนดการอนุญาตได้คราวละ 1 ปี เมื่อหมดอายุ การอนุญาตแล้วก็ให้ดำเนินการว่าประมูลใหม่ ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณา เห็นสมควรกำหนดอายุการอนุญาตเกินกว่า 1 ปี ก็ให้รายงานขออนุญาตต่ออธิบดี กรมการประมง จ. การออกประทานบัตรและการทำสัญญา ------ ข้อ 9. เมื่อคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลชี้ขาดให้ผู้ใดเป็นผู้ได้รับ อนุญาตแล้ว ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่ดำเนินการเรียกให้ผู้นั้นนำหลักทรัพย์ หรือจัดหาผู้ค้ำประกันเงินอากรตามข้อ 13 และดำเนินการออกประทานบัตรตาม แบบพิมพ์ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้ผู้รับอนุญาตทำสัญญาผูกขาดตามแบบที่อธิบดี กรมการประมงกำหนด ข้อ 10. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตใน ประทานบัตร ส่วนในสัญญาผูกขาดที่กระทรวงเกษตราธิการทำกับผู้อนุญาตนั้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่กับประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน เป็น ผู้ลงลายมือชื่อแทนกระทรวงเกษตราธิการ แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัด หรือผู้รักษาการแทน ก็ให้ผู้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 11. การทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 และ 10 ให้ทำเป็นสองฉะบับ มีข้อความตรงกัน และให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละ หนึ่งฉะบับ ในสัญญาผูกขาดจะต้องแสดงอาณาเขตต์ที่ว่าประมูล และที่ตั้งเครื่องมือ ทำการประมงแบบไว้ด้วย ฉ. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ------ ข้อ 12. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ให้ผู้รับอนุญาตชำระทั้งหมด ในเวลารับประทานบัตรและลงลายมือชื่อในสัญญาผูกขาด เว้นแต่จะได้มีการ ผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ช. หลักทรัพย์และผู้ค้ำประกัน ------ ข้อ 13. ในกรณีที่มีการผ่อนเวลาตามความในมาตรา 39 ผู้รับอนุญาต จะต้องนำหลักทรัพย์คือโฉนดที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์มาจำนองไว้เป็นประกัน การชำระอากร ถ้าหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้วมีราคายังไม่คุ้มกับเงินอากร ก็ให้ ผู้รับอนุญาตหาผู้ค้ำประกันที่มีหลักทรัพย์มั่นคงเป็นที่พอใจของคณะกรรมการ ดำเนินการว่าประมูลมาทำสัญญาจำนองหรือค้ำประกันให้ถูกต้องตามกฎหมาย แล้วจึงให้ข้าหลวงประจำจังหวัดออกประทานบัตร และทำสัญญาผูกขาดตามข้อ 9 ซ. การผิดชำระอากรและการผ่อนเวลาชำระอากร ------ ข้อ 14. เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แล้ว ปรากฏว่าเงินอากรยังค้างชำระอยู่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งรัดให้ผู้ค้ำประกัน ชำระเงินอากรโดยไม่ชักช้า ฌ. การโอนประทานบัตร ------ ข้อ 15. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะโอนประทานบัตรและสัญญา ผูกขาดในที่ว่าประมูลซึ่งตนได้รับให้แก่ผู้อื่นให้ผู้รับอนุญาตและผู้รับโอนยื่น เรื่องราวขออนุญาตโอนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียม ตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและได้รับอนุญาตแล้ว จึงจำทำการโอนกันได้ ข้อ 16. การโอนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดตามข้อ 15 ผู้โอนจะต้อง นำประทานบัตรมาให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสลักหลังการโอน และผู้รับโอนจะต้อง ทำสัญญาผูกขาดกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อความเช่นเดียวกับผู้ที่ทำกับผู้โอน และ ต้องปฏิบัติในเรื่องหลักทรัพย์ประกัน ผู้ค้ำประกันและอื่น ๆ ตามกฎกระทรวงนี้ ญ. การเวนคืนที่ว่าประมูล ------ ข้อ 17. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะเวนคืนที่ว่าประมูลให้แก่พนักงาน เจ้าหน้าที่ก่อนสิ้นกำหนดอายุการอนุญาตตามประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้ผู้นั้น ยื่นเรื่องราวขอเวนคืนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ 18. เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดได้รับเรื่องราวขอเวนคืนที่ว่าประมูลแล้ว และได้พิจารณาเห็นสมควรจะรับเวนคืน ก็ให้สั่งอนุญาตให้เวนคืนได้ ส่วนทรัพย์สิน ที่ผู้นั้นนำมาวางประกันและสัญญาค้ำประกัน ให้คงยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้จัดการ อย่างหนึ่งอย่างใดแก่ที่ว่าประมูลนั้น เพื่อให้ได้เงินอากรครบตามสัญญาผูกขาด ข้อ 19. ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณาเห็นสมควรให้จัดการว่าประมูล ที่ว่าประมูลที่เวนคืนนั้นใหม่ ก็ให้กรรมการดำเนินการว่าประมูลดำเนินการต่อไปได้ หากได้เงินอากรต่ำกว่าการประมูลคราวแรกเท่าใด ก็ให้ข้าหลวงประจำจังหวัด เรียกเงินอากรที่ยังขาดจากผู้เวนคืนจนครบ ข้อ 20. ที่ว่าประมูลซึ่งผู้รับอนุญาตขอเวนคืนนั้น แม้ผู้รับอนุญาตจะยังไม่ได้ ลงมือทำการประมงในที่ว่าประมูลนั้นเลยก็ดี เงินอากรที่ผู้รับอนุญาตชำระแล้ว จะเรียกคืนมิได้แต่ถ้าการขอเวนคืนนั้น เนื่องจากเหตุที่ทางราชการได้กระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด ทำให้เสียประโยชน์ของผู้รับอนุญาตในการทำการประมงใน ที่ว่าประมูลนั้น เช่นการปิดทำนบเป็นต้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดรับคืนที่ว่าประมูล นั้น และส่งคืนเงินอากรที่ได้ชำระแล้วให้แก่ผู้รับอนุญาตทั้งหมดแต่ถ้าผู้รับอนุญาต ได้ลงมือทำการประมงได้ผลประโยชน์ไปบ้างแล้ว ก็ให้พิจารณาว่าจะควรคืนเงิน อากรที่ชำระให้แล้วเพียงใดหรือไม่ต้องคืนเลย โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่ ผู้รับอนุญาตได้รับจากที่ว่าประมูลนั้นแล้วเพียงใด ฎ. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ------ ข้อ 21. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้นำบทบัญญัติ แห่งกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการออกใบแทนอาชญาบัตร มาใช้โดยอนุโลม และในใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดนั้น ให้ข้าหลวง ประจำจังหวัดเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 9 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยใบอนุญาตรายบุคคล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่ากระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงโดยใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาต รายบุคคล หรือทำการหาหอยแมลงภู่และหอยกระพงหรือเทียนหอยและหอยมุกด์ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ 1) ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉะบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ให้พิจารณา ถ้าเห็นสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และดำเนินการออกใบอนุญาตให้ตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 5) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3. ใบอนุญาตทุกฉะบับที่ออกให้ตามข้อ 2 ให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ประจำกิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 10 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการติดโคมไฟและเครื่องหมาย ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือประจำที่ มีหน้าที่ต้องติดโคมไฟ และเครื่องหมายแผ่นสี่เหลี่ยมสีขาวกว้าง 20 เซ็นติเมตร ยาว 50 เซ็นติเมตร เป็นอย่างน้อยให้เห็นได้ชัดเจน ข้อ 2. โคมไฟนั้นผู้รับอนุญาตตามข้อ 1 ต้องติดโคมไฟไว้ที่เรือทุ่น หรือ ที่เสาหรือสลัก ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น ส่วนเครื่องหมายนั้นในเวลา กลางวันผู้รับอนุญาตจะต้องติดไว้เสมอที่เครื่องมือประจำที่ ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 11 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการอุทธรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 และมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจออกประทานบัตร ใบอนุญาตและ อาชญาบัตร ไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ถ้าบุคคลผู้มีส่วนได้เสียประสงค์จะ อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน ก็ให้บุคคลนั้นยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงาน ภายใน กำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นอุทธรณ์ทราบคำสั่ง ข้อ 2. ในคำอุทธรณ์นั้น จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียด ชัดเจนว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลประการใด และต้องลงชื่อตัว ชื่อสกุลและภูมิลำเนาของผู้ยื่นอุทธรณ์ ข้อ 3. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำอุทธรณ์ ก็ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ เป็นหลักฐาน และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวแล้วชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการ ไม่ยอมออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรแล้วแต่กรณีโดยละเอียด เสนอคณะกรรมการ จังหวัดเพื่อตรวจสอบ แสดงความเห็นภายในกำหนดสามสิบวันนับตั้งแต่วันได้รับ อุทธรณ์ ข้อ 4. สำหรับกรณีใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรนั้นถ้าคณะกรมการจังหวัด เห็นสมควรออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ก็ให้แนะนำเจ้าพนักงาน ดำเนินการออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้อุทธรณ์ต่อไปได้ ถ้าเจ้าพนักงาน ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้ก็เป็นอันยุติ แต่ถ้าพนักงานเห็นว่าไม่สมควร ออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตร ก็ให้เจ้าพนักงานรายงานมายังรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตราธิการพร้อมด้วยความเห็นของคณะกรมการจังหวัดภายในยี่สิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ข้อ 5. ในกรณีที่ไม่ยอมให้ออกประทานบัตร เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัด ได้รับอุทธรณ์ ก็ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียดเสนอไปยังรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันได้รับอุทธรณ์ ข้อ 6. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง เกษตราธิการ ให้แจ้งคำวินิจฉัยนั้นให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในห้าวัน ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ กฎกระทรวง ฉะบับที่ 12 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออนุญาตและจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง การสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรมสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ การขออนุญาตและการจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง ------ ข้อ 1. ผู้ใดประกอบอาชีพอยู่แล้วในวันใช้พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ก็ดี หรือมีความประสงค์จะประกอบอาชีพก็ดี ถ้าเป็นอาชีพที่ ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำมาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2490 ให้ผู้นั้นยื่นคำขออนุญาตและจดทะเบียน (คำขอ 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ 1. สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมการประมง 2. สำหรับจังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ 2. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ 1 แล้ว ก็ให้พิจารณา คำขอนั้น ถ้าสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดใน กฎกระทรวง และดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 6) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 3. ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อ 2 ทุกฉะบับ ให้อธิบดีกรมการประมง นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ เชิงอรรถ -------------------- *[1] แก้ไขโดย กฎกระทรวง ฉะบับที่ 13 (พ.ศ. 2491) ว่าด้วยการ กำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
320571
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออาชญาบัตร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ผู้ใดประสงค์จะขออาชญาบัตรเพื่อใช้เครื่องมือในพิกัดชะนิดใดทำการประมงต้อง ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ การขอรับอาชญา บัตรเช่นว่านี้ หากผู้ขอมีอาชญาบัตรฉะบับหลังที่สุดสำหรับเครื่องมือนั้น ก็ให้แนบไปกับคำขอด้วย และถ้าผู้ขอประสงค์จะให้ผู้ใดในครอบครองหรือลูกจ้างมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นด้วยก็ให้ระบุชื่อ ไว้ในคำขอนั้น ข้อ 2. ในการยื่นคำขอตามข้อ 1 นั้น ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่สงสัยอาจสั่งให้ผู้ขออนุญาต นำเครื่องมือนั้นมาให้ตรวจก็ได้ ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่จะให้กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในท้องที่นั้น ตรวจวัดแทนและรับรองก็ได้ ข้อ 3. เมื่อได้รับคำขอตามความในข้อ 1 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นว่า เป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ตามกฎเกณฑ์ในระเบียบวิธีการอนุญาตที่กำหนดไว้ ก็ให้ เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และออกอาชญาบัตรให้แก่ผู้ขอ ข้อ 4. ใบอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต และให้ใช้แบบอาชญาบัตร (อนุญาต 1) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ 5. ถ้าผู้รับอนุญาตใดประสงค์จะขอสลักหลังอาชญาบัตรเพื่อตัดทอนหรือเพิ่มบุคคล ในครอบครัวหรือลูกจ้างของตนให้เป็นผู้มีสิทธิ์ใช้เครื่องมือในพิกัดก็ให้ยื่นรายชื่อบุคคลที่จะ ตัดทอนหรือเพิ่มต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่พร้อมด้วยอาชญาบัตร และผู้รับอนุญาตจะต้องเสีย ค่าธรรมเนียมค่าสลักหลังตามกฎกระทรวงและให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณีเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในการสลักหลัง ข้อ 6. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดนำเครื่องมือในพิกัดนั้นไปใช้ทำการประมงในท้องที่อื่นซึ่ง เก็บอากรสูงกว่าที่ตนได้ชำระไว้แล้ว ก็ให้ผู้รับอนุญาตนั้นนำอาชญาบัตรไปเสียอากรเพิ่มเติมต่อ คณะกรมการอำเภอที่ตนนำเครื่องมือในพิกัดไปใช้ทำการประมง ต่อเมื่อได้ชำระเงินอากรเพิ่มเติม และนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี ได้สลักหลังอาชญา บัตรว่าได้เสียเงินอากรเพิ่มเติมตามกฎกระทรวงแล้ว จึงจะใช้เครื่องมือนั้นทำการประมงได้ ข้อ 7. ถ้าอาชญาบัตรที่ออกให้ตามกฎกระทรวงนี้ศูนย์หายหรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญ ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ยื่นคำขอนั้น ๆ รับใบแทนอาชญาบัตรตามแบบพิมพ์ (คำขอ 2) ท้ายกฎกระทรวง นี้ ต่อคณะกรรมการอำเภอท้องที่และให้ส่งอาชญาบัตรที่ชำรุดไปด้วย เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับ คำขอและได้สอบสวนพิจารณาเห็นสมควรออกใบแทนให้ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออก ใบแทนตามกฎกระทรวง และออกใบแทนอาชญาบัตรอันมีข้อความอย่างเดียวกับอาชญาบัตรที่ ศูนย์หายหรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่ให้เขียนคำว่า `ใบแทน' ด้วยหมึก สีแดงไว้ตอนบน ใบแทนอาชญาบัตรทุกฉะบับต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณีในท้องที่เดียวกัน เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในแบแทน ข้อ 8. ถ้าผู้รับอนุญาตประสงค์จะโอนอาชญาบัตรของตนให้แก่ผู้อื่น ให้ยื่นเรื่องราวชี้แจง เหตุผลพร้อมด้วยอาชญาบัตรต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องราว และได้พิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามกฎเกณฑ์การโอนตามที่กำหนดไว้ ก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม การโอนตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือ ผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี สลักหลังการโอนและชื่อผู้รับโอนไว้ในอาชญาบัตรนั้นและมอบอาชญา บัตรให้แก่ผู้รับโอนต่อไป ข้อ 9. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดได้รับการผ่อนเวลาชำระเงินอากรค่าอาชญาบัตรให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต 2) ท้ายกฎกระทรวงนี้ให้แก่ผู้รับอนุญาตแทน อาชญาบัตร และให้ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ใช้เครื่องมือนั้นทำการประมงได้ ตามเวลาที่กำหนดไว้ใน ใบอนุญาตระหว่างผ่อนเวลาชำระเงินอากร ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
318643
กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการขออนุญาตและจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมงการค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการขออนุญาตและจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรม สัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ การขออนุญาตและการจดทะเบียนผู้มีอาชีพในการประมง ข้อ ๑. ผู้ใดประกอบอาชีพอยู่แล้วในวันใช้พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ ก็ดี หรือมีความประสงค์จะประกอบอาชีพก็ดี ถ้าเป็นอาชีพที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ มาจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ พ.ศ. ๒๔๙๐ ให้ผู้นั้นยื่นคำขออนุญาตและจดทะเบียน (คำขอ ๖) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ๑. สำหรับจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมการประมง ๒. สำหรับจังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ ๒. เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ ๑ แล้ว ก็ให้พิจารณาคำขอนั้น ถ้าสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงและดำเนินการจดทะเบียนออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต ๖) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๓. ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อ ๒ ทุกฉบับ ให้อธิบดีกรมการประมง นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขออนุญาตและจดทะเบียนประกอบอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ หรืออุตสาหกรรมสัตว์น้ำ (คำขอ ๖) ๒. ใบอนุญาตให้ประกอบอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ หรืออุตสาหกรรมสัตว์น้ำ (อนุญาต ๖) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐
301666
กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการอุทธรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการอุทธรณ์ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๔๖ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑. ในกรณีที่เจ้าพนักงาน ผู้มีอำนาจออกประทานบัตร ใบอนุญาต และอาชญาบัตร ไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ถ้าบุคคลผู้มีส่วนได้เสียประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงาน ก็ให้บุคคลนั้นยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงาน ภายในกำหนดสามสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ยื่นอุทธรณ์ทราบคำสั่ง ข้อ ๒. ในคำอุทธรณ์นั้น จะต้องชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียดชัดเจนว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานนั้นไม่ชอบด้วยเหตุผลประการใด และต้องลงชื่อตัวชื่อสกุลและภูมิลำเนาของผู้ยื่นอุทธรณ์ ข้อ ๓. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำอุทธรณ์ ก็ให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์เป็นหลักฐาน และให้เจ้าพนักงานดังกล่าวแล้วชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการไม่ยอมออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตร แล้วแต่กรณี โดยละเอียด เสนอคณะกรรมการจังหวัดเพื่อตรวจสอบแสดงความเห็นภายในกำหนดสิบวัน นับตั้งแต่วันได้รับอุทธรณ์ ข้อ ๔. สำหรับกรณีใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรนั้นถ้าคณะกรมการจังหวัดเห็นสมควรออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ก็ให้แนะนำเจ้าพนักงานดำเนินการออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้แก่ผู้อุทธรณ์ต่อไปได้ ถ้าเจ้าพนักงานออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรให้ก็เป็นอันยุติ แต่ถ้าพนักงานเห็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรก็ให้เจ้าพนักงานรายงานมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการพร้อมด้วยความเห็นของคณะกรมการจังหวัดภายในยี่สิบวัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ข้อ ๕. ในกรณีที่ไม่ยอมให้ออกประทานบัตร เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดได้รับอุทธรณ์ ก็ให้ชี้แจงข้อเท็จจริงและเหตุผลโดยละเอียดเสนอไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ภายในสิบห้าวัน นับตั้งแต่วันได้รับอุทธรณ์ ข้อ ๖. เมื่อเจ้าพนักงานได้รับคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ให้แจ้งคำวินิจฉัยนั้นให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในห้าวัน ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐
326971
กฎกระทรวง ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการติดโคมไฟและเครื่องหมาย ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการติดโคมไฟและเครื่องหมาย ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑. ผู้ใดได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องมือประจำที่ มีหน้าที่ต้องติดโคมไฟ และเครื่องหมายแผ่นสี่เหลี่ยมสีขาวกว้าง ๒๐ เซนติเมตร ยาว ๕๐ เซนติเมตร เป็นอย่างน้อยให้เห็นได้ชัดเจน ข้อ ๒. โคมไฟนั้นผู้รับอนุญาตตามข้อ ๑ ต้องติดโคมไฟไว้ที่เรือ ทุ่นหรือเสาหรือหลัก ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกถึงพระอาทิตย์ขึ้น ส่วนเครื่องหมายนั้น ในเวลากลางวันผู้รับอนุญาตจะต้องติดไว้เสมอที่เครื่องมือประจำที่ ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐
318642
กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยใบอนุญาตรายบุคคล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยใบอนุญาตรายบุคคล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงโดยใช้เครื่องมือนอกพิกัดในที่อนุญาตรายบุคคล หรือทำการหาหอยแมลงภู่และหอยกะพงหรือเทียนหอยและหอยมุกด์ ให้ยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ ๑) ต่อท้ายกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการขออาชญาบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอตามข้อ ๑ แล้ว ให้พิจารณาถ้าเห็นสมควรอนุญาตก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงและดำเนินการออกใบอนุญาตให้ตามแบบพิมพ์ (อนุญาต ๕) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๓ ใบอนุญาตทุกฉบับที่ออกให้ตามข้อ ๒ ให้นายอำเภอหรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนแล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ประทานบัตร ๒. ใบอนุญาตรายตัวบุคคลผู้ทำการประมง (อนุญาต ๕) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) จุฑามาศ/ปรับปรุง ๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐
301665
กฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่ว่าประมูล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยที่ว่าประมูล ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. การดำเนินการว่าประมูล ข้อ ๑. ให้คณะกรมการจังหวัดท้องที่รายงานขออนุมัติการว่าประมูลที่ว่าประมูลพร้อมทั้งชนิด จำนวน และที่ตั้งเครื่องมือทำการประมงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ก่อนดำเนินการออกประกาศว่าประมูลทุกคราว ข. คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูล ข้อ ๒. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่สั่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลขึ้นคณะหนึ่งไม่น้อยกว่า ๓ นาย ประกอบด้วยข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่หรือผู้รักษาการแทนประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน และนายอำเภอหรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอท้องที่หรือผู้รักษาการแทน แล้วแต่กรณี แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทนก็ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นกรรมการแทน ข้อ ๓. ให้คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการว่าประมูลที่ว่าประมูลในท้องที่จังหวัดนั้นตามวิธีการและกฎเกณฑ์ในระเบียบการว่าประมูลซึ่งได้กำหนดไว้ ข้อ ๔. ในการว่าประมูล คณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลจะกำหนดให้ว่าประมูลโดยวิธีปิดซองหรือโดยวิธีปากเปล่าก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร และจะกำหนดอัตราเงินอากรขั้นต่ำสำหรับการว่าประมูลไว้ก็ได้ ข้อ ๕. บรรดาที่ว่าประมูลทุกแห่งจะต้องอนุญาตให้บุคคลทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยวิธีว่าประมูล ถ้าที่ว่าประมูลแห่งใดไม่มีผู้เข้าว่าประมูลหรือผู้เข้าว่าประมูลเพียงรายเดียวหรือผู้เข้าว่าประมูลให้อากรต่ำเกินสมควร จะระงับการว่าประมูลเสียก็ได้หรือถ้าคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลได้พิจารณาเห็นสมควรอนุญาตให้ผู้ใดเป็นผู้รับอนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ว่าประมูลนั้นโดยกำหนดจำนวนเงินอากรที่จะเรียกเก็บตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดีกรมการประมงก่อน และจำนวนเงินอากรจะต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าที่อนุญาตประเภทนั้น ๆ ค. วิธีการดำเนินการว่าประมูล ข้อ ๖. ก่อนเวลาดำเนินการว่าประมูลที่ว่าประมูลแห่งใดให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่ทำหนังสือประกาศให้ประชาชนทราบล่วงหน้าก่อนวันว่าประมูลเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยให้ปิดประกาศไว้ที่ศาลากลางจังหวัดท้องที่ที่ว่าการอำเภอท้องที่ และที่ชุมนุมชนตามที่เห็นสมควร ข้อ ๗. ในประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัดตามข้อ ๖ จะต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ คือ ชื่อที่ว่าประมูล ที่ว่าประมูลนั้นอยู่ในตำบลใด อำเภอใด สถานที่ทำการว่าประมูล วันและเวลาทำการว่าประมูล ที่ตั้งและชื่อเครื่องมือทำการประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่ว่าประมูล กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมงและกำหนดวันเดือนปีทำสัญญาและการส่งเงินอากร ง. กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมงในที่ว่าประมูล ข้อ ๘. กำหนดอายุการอนุญาตให้ทำการประมงในที่ว่าประมูลนั้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่มีอำนาจกำหนดการอนุญาตได้คราวละ ๑ ปี เมื่อหมดอายุการอนุญาตแล้วก็ให้ดำเนินการว่าประมูลใหม่ ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณาเห็นควรกำหนดอายุการอนุญาตเกินกว่า ๑ ปี ก็ให้รายงานขออนุญาตต่ออธิบดีกรมการประมง จ. การออกประทานบัตรและการทำสัญญา ข้อ ๙. เมื่อคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลชี้ขาดให้ผู้ใดเป็นผู้ได้รับอนุญาตแล้ว ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่ดำเนินการ เรียกให้ผู้นั้นนำหลักทรัพย์หรือจัดหาผู้ค้ำประกันเงินอากรตามข้อ ๑๓ และดำเนินการออกประทานบัตรตามแบบพิมพ์ท้ายกฎกระทรวงนี้ และให้ผู้รับอนุญาตทำสัญญาผูกขาดตามแบบที่อธิบดีกรมการประมงกำหนด ข้อ ๑๐. ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาตในประทานบัตร ส่วนในสัญญาผูกขาดที่กระทรวงเกษตราธิการทำกับผู้รับอนุญาตนั้นให้ข้าหลวงประจำจังหวัดท้องที่กับประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน เป็นผู้ลงลายมือชื่อแทนกระทรวงเกษตราธิการ แต่ถ้าจังหวัดใดไม่มีประมงจังหวัดหรือผู้รักษาการแทน ก็ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นผู้ลงลายมือชื่อร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ ๑๑. การทำสัญญาผูกขาดตามข้อ ๙ และ ๑๐ ให้ทำเป็นสองฉบับมีข้อความตรงกัน และให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างยึดถือไว้เป็นหลักฐานฝ่ายละหนึ่งฉบับ ในสัญญาผูกขาดจะต้องแสดงอาณาเขตต์ที่ว่าประมูล และที่ตั้งเครื่องมือทำการประมงแบบไว้ด้วย ฉ. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ข้อ ๑๒. การชำระเงินอากรค่าที่ว่าประมูล ให้ผู้รับอนุญาตชำระทั้งหมดในเวลารับประทานบัตรและลงลายมือชื่อในสัญญาผูกขาด เว้นแต่จะได้มีการผ่อนเวลาตามความในมาตรา ๓๙ ช. หลักทรัพย์และผู้ค้ำประกัน ข้อ ๑๓. ในกรณีที่มีการผ่อนเวลาตามความในมาตรา ๓๙ ผู้รับอนุญาตจะต้องนำหลักทรัพย์ คือ โฉนดที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์มาจำนองไว้เป็นประกันการชำระอากร ถ้าหลักทรัพย์ดังกล่าวแล้วมีราคายังไม่คุ้มกับเงินอากร ก็ให้ผู้รับอนุญาตหาผู้ค้ำประกันที่มีหลักทรัพย์มั่นคงเป็นที่พอใจของคณะกรรมการดำเนินการว่าประมูลมาทำสัญญาจำนองหรือค้ำประกันให้ถูกต้องตามกฎหมายแล้วจึงให้ข้าหลวงประจำจังหวัดออกประทานบัตร และทำสัญญาผูกขาดตามข้อ ๙ ซ. การผิดนัดชำระอากรและการผ่อนเวลาชำระอากร ข้อ ๑๔. เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา ๔๐ และมาตรา ๔๑ แล้ว ปรากฏว่าเงินอากรยังค้างชำระอยู่ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เร่งรัดให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินอากรโดยไม่ชักช้า ฌ. การโอนประทานบัตร ข้อ ๑๕. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะโอนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดในที่ว่าประมูลซึ่งตนได้รับให้แก่ผู้อื่นให้ผู้รับอนุญาตและผู้รับโอนยื่นเรื่องราวขออนุญาตโอนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด เมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะทำการโอนกันได้ ข้อ ๑๖. การโอนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดตามข้อ ๑๕ ผู้โอนจะต้องนำประทานบัตรมาให้ข้าหลวงประจำจังหวัดสลักหลังการโอนและผู้รับโอนจะต้องทำสัญญาผูกขาดกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อความเช่นเดียวกับที่ทำกับผู้โอนและต้องปฏิบัติในเรื่องหลักทรัพย์ประกัน ผู้ค้ำประกันและอื่น ๆ ตามกฎกระทรวงนี้ ญ. การเวนคืนที่ว่าประมูล ข้อ ๑๗. ถ้าผู้รับอนุญาตรายใดประสงค์จะเวนคืนที่ว่าประมูลให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนสิ้นกำหนดอายุการอนุญาตตามประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้ผู้นั้นยื่นเรื่องราวขอเวนคืนต่อข้าหลวงประจำจังหวัด ข้อ ๑๘. เมื่อข้าหลวงประจำจังหวัดได้รับเรื่องราวขอเวนคืนที่ว่าประมูลแล้วและได้พิจารณาเห็นสมควรจะรับเวนคืน ก็ให้สั่งอนุญาตให้เวนคืนได้ ส่วนทรัพย์สินที่ผู้นั้นนำมาวางประกันและสัญญาค้ำประกัน ให้คงยึดถือไว้ก่อนจนกว่าจะได้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ที่ว่าประมูลนั้น เพื่อให้ได้เงินอากรครบตามสัญญาผูกขาด ข้อ ๑๙. ถ้าข้าหลวงประจำจังหวัดได้พิจารณาเห็นสมควรให้จัดการว่าประมูลที่ว่าประมูลที่เวนคืนนั้นใหม่ ก็ให้กรรมการดำเนินการว่าประมูลดำเนินการต่อไปได้ หากได้เงินอากรต่ำกว่าการประมูลคราวแรกเท่าใด ก็ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดเรียกเงินอากรที่ยังขาดจากผู้เวนคืนจนครบ ข้อ ๒๐. ที่ว่าประมูลซึ่งผู้รับอนุญาตขอเวนคืนนั้น แม้ผู้รับอนุญาตจะยังไม่ได้ลงมือทำการประมงในที่ว่าประมูลนั้นเลยก็ดี เงินอากรที่ผู้รับอนุญาตชำระแล้ว จะเรียกคืนมิได้ แต่ถ้าการขอเวนคืนนั้น เนื่องจากเหตุที่ทางราชการได้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด ทำให้เสียประโยชน์ของผู้รับอนุญาตในการทำการประมงในที่ว่าประมูลนั้น เช่นการปิดทำนบ เป็นต้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดรับคืนที่ว่าประมูลนั้น และส่งคืนเงินอากรที่ได้ชำระแล้วให้แก่ผู้รับอนุญาตทั้งหมด แต่ถ้าผู้รับอนุญาตได้ลงมือทำการประมงได้ผลประโยชน์ไปบ้างแล้วก็ให้พิจารณาว่าจะควรคืนเงินอากรที่ชำระให้แล้วเพียงใดหรือไม่ต้องคืนเลย โดยให้พิจารณาถึงประโยชน์ที่ผู้รับอนุญาตได้รับจากที่ว่าประมูลนั้นแล้วเพียงใด ฎ. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ข้อ ๒๑. การออกใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาด ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการออกใบแทนอาชญาบัตรมาใช้โดยอนุโลม และในใบแทนประทานบัตรและสัญญาผูกขาดนั้น ให้ข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๖ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐
318641
กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ (๗) และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ข้อ ๑. บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ คือที่เลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์ก็ดี หรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ดี โดยผู้ขุดหรือสร้างหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความมุ่งหมายโดยตรงที่จะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดรวมกันให้เพิ่มจำนวนหรือเพิ่มน้ำหนักยิ่งขึ้น ข. การขุดเรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ข้อ ๒. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขออนุญาตตามแบบพิมพ์ (คำขอ ๔) ต่อท้ายกฎกระทรวง (ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ ๓. เมื่อได้รับคำขออนุญาตตามข้อ ๒ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอ เมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต ๔ ต่อท้ายกฎกระทรวง ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐) ข้อ ๔. ใบอนุญาตตามข้อ ๓ ทุกฉบับ ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ลงลายมือชื่อในใบอนุญาต ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐
301664
กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยบ่อล่อสัตว์น้ำ ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ (๖) และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ก. บ่อล่อสัตว์น้ำ ข้อ ๑. บ่อล่อสัตว์น้ำ คือที่ล่อสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์ก็ดีหรือในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ดี ไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้นจะมีลักษณะหรือรูปร่างอย่างใดโดยผู้ขุดหรือสร้างหรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความมุ่งหมายโดยตรงหรือโดยปริยายที่จะล่อสัตว์น้ำจากที่จับสัตว์น้ำเพื่อประโยชน์ในการทำการประมง ข. การขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำ ข้อ ๒. ผู้ใดประสงค์จะขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ ๔) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ ข้อ ๓. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๒ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอเมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต ๔) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ค. การทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำ ข้อ ๔. ผู้ใดประสงค์จะทำการประมงในบ่อล่อสัตว์น้ำด้วยวิธีวิดน้ำ หรือทำให้น้ำในบ่อนั้นแห้งหรือลดน้อยลงไม่ว่าบ่อล่อสัตว์น้ำนั้นจะอยู่ในที่ดินอันบุคคลถือกรรมสิทธิ์หรืออยู่ในที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ ๓) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ ข้อ ๕. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๔ แล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอเมื่อเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตตามแบบพิมพ์ (อนุญาต ๔) ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขออนุญาตขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำหรือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำหรือวิดหรือทำให้น้ำในบ่อแห้งหรือลดน้อยลง (คำขอ ๔) ๒. ใบอนุญาตให้ขุดหรือสร้างบ่อล่อสัตว์น้ำหรือบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำหรือวิดหรือทำให้น้ำในบ่อแห้งหรือลดน้อยลง (อนุญาต ๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐
301663
กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยที่อนุญาต ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยที่อนุญาต ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑. ผู้ใดประสงค์จะขออนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาตตามประกาศของข้าหลวงประจำจังหวัด ต้องยื่นคำขอตามแบบพิมพ์ (คำขอ ๓) ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อคณะกรมการอำเภอท้องที่ ข้อ ๒. ถ้าผู้ขออนุญาตเคยได้รับอนุญาตให้ทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาตนั้นอยู่แล้ว ก็ให้แนบใบอนุญาตปีก่อนมาพร้อมกับคำขอด้วย ข้อ ๓. เมื่อได้รับคำขอตามข้อ ๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาคำขอเมื่อเห็นว่าเป็นการถูกต้องและสมควรจะอนุญาตได้ ก็ให้เรียกเก็บเงินอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอต่อไป ข้อ ๔. ใบอนุญาตสำหรับที่อนุญาตทุกฉบับ ต้องให้นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอประจำกิ่งอำเภอ หรือผู้ทำการแทน แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงลายมือชื่ออนุญาต และให้ใช้แบบพิมพ์ใบอนุญาต (อนุญาต ๓) ท้ายกฎกระทรวงนี้ ข้อ ๕. การออกใบแทนใบอนุญาต การโอนใบอนุญาตและการผ่อนเวลาชำระเงินอากรใบอนุญาต ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการออกใบแทนการโอนอาชญาบัตรและการผ่อนเวลาชำระเงินอากรอาชญาบัตร ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยการขออาชญาบัตรออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ มาใช้โดยอนุโลม แล้วแต่กรณี ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบอนุญาตให้ทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต (อนุญาต ๓) ๒. คำขออนุญาตทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่อนุญาต (คำขอ ๓) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๒๑/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐
301662
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ 3 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ IMAGE 0 ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
318640
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ 2 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยการกำหนดอัตราเงินอากร ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 ------ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้กำหนดอัตราเงินอากรดังต่อไปนี้ IMAGE 0 ให้ไว้ ณ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2490 จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ
301661
กฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2490) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉะบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๙๐) ว่าด้วยชื่อเครื่องมือในพิกัด ออกตามความในพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ (๑๓) และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ เครื่องมือทำการประมงต่อไปนี้เป็นเครื่องมือในพิกัด (๑) ยอขันช่อ (๒) ช้อนขันช่อ (๓) ช้อนสนั่น (๔) ช้อนหางเหยี่ยว (๕) ถุงโพงพางซึ่งใช้ประกอบกับโพงพาง รั้วไซมานหรือกั้นซู่รั้วไซมาน (๖) ถุงบาม (๗) เรือผีหลอกหรือเรือกัตรา (๘) แหยาวตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป (ยังไม่ทบเพลา) (๙) ช้อนต่าง ๆ ปากกว้างตั้งแต่ ๓.๕ เมตรขึ้นไป (๑๐) เบ็ดราวยาวตั้งแต่ ๔๐ เมตรขึ้นไป (๑๑) ข่าย (๑๒) อวนต่าง ๆ (๑๓) เฝือก (๑๔) เครื่องกั้น ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ จรูญ สืบแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตราธิการ จุฑามาศ/ปรับปรุง ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๖๔/ตอนที่ ๑๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๘/๑๔ เมษายน ๒๔๙๐
752742
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ วิธีการในการบันทึกข้อมูล และระยะเวลาการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลา พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ วิธีการในการบันทึกข้อมูล และระยะเวลาการเก็บบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ของเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลา พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงทุกลำที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๑] การเก็บบันทึกตามข้อ ๑ ต้องเก็บบันทึกไว้ไม่น้อยกว่า ๓ ปี เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ข้อ ๓[๒] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บันทึกข้อมูลเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ วิธีการในการบันทึกข้อมูล และระยะเวลาการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๓] ข้อ ๒ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วริญา/จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ข้อ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ วิธีการในการบันทึกข้อมูล และระยะเวลาการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๒ ง/หน้า ๒๓/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๙/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
752746
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการขออนุญาต การอนุญาต และการรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลของเรือประมง พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการขออนุญาต การอนุญาต และการรายงาน การขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลของเรือประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๗ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเล จะทำได้เฉพาะกรณีการขนถ่ายไปยังเรือประมงที่ได้จดทะเบียนให้เป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำแล้วเท่านั้น ข้อ ๒ ก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเล ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือที่ทำการประมงแจ้งขออนุญาตขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก พร้อมแจ้งชื่อเรือขนถ่ายสัตว์น้ำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง โดยทางโทรศัพท์ โทรสาร วิทยุสื่อสาร หรือช่องทางอื่น ๆ ตามความเหมาะสม ก่อนดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลนอกน่านน้ำไทย ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือที่ทำการประมงแจ้งขออนุญาตขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก พร้อมแจ้งชื่อเรือขนถ่ายสัตว์น้ำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลไม่น้อยกว่าสี่สิบแปดชั่วโมง โดยทางโทรศัพท์ โทรสาร วิทยุสื่อสาร หรือช่องทางอื่น ๆ ตามความเหมาะสม[๑] ข้อ ๓ การขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลจะกระทำได้เมื่อได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๒ แล้วเท่านั้น เมื่อดำเนินการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลเสร็จสิ้นแล้ว ให้รายงานชนิดและน้ำหนักของสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และให้ยื่นรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ควบคุมเรือตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเมื่อเข้าเทียบท่า ข้อ ๔ การอนุญาตให้ขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลตามข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เรือที่จะทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลต้องเป็นเรือประมงที่จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำกับกรมประมง หรือปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของรัฐชายฝั่งหรือองค์การระหว่างประเทศ แล้วแต่กรณี (๒) เรือที่จะทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลต้องไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และรายชื่อเรือประมงที่ถูกใช้ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๙๔ และมาตรา ๑๑๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๕ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาและแจ้งผลการอนุญาตภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับจากได้รับแจ้ง ทั้งนี้ สามารถแจ้งผลการอนุญาตทางวิทยุสื่อสาร หรือช่องทางอื่น ๆ ข้อ ๖[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการขออนุญาต การอนุญาต และการรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลของเรือประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วริญา/จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ข้อ ๒ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาในการขออนุญาต การอนุญาต และการรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำในทะเลของเรือประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๒ ง/หน้า ๒๒/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๐/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙
754184
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมต้องจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ต้องจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กรณีการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ต้องจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำให้แก่ผู้ซื้อตามแบบและรายการแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๓] หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (การเพาะเลี้ยง) (ฉบับที่ ๑ ให้ผู้ซื้อ) ๒.[๔] หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (การเพาะเลี้ยง) (ฉบับที่ ๒ ส่งให้กรมประมง) ๓.[๕] หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (การเพาะเลี้ยง) (ฉบับที่ ๓ ผู้ขายเก็บ) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมต้องงจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๖] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วริญา/ปริยานุช/จัดทำ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ วิศนี/เพิ่มเติม ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมต้องงจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๑๒/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๓] หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (การเพาะเลี้ยง) (ฉบับที่ ๑ ให้ผู้ซื้อ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมต้องงจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (การเพาะเลี้ยง) (ฉบับที่ ๒ ส่งให้กรมประมง) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมต้องงจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๕] หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (การเพาะเลี้ยง) (ฉบับที่ ๓ ผู้ขายเก็บ) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมต้องงจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๒๓ ง/หน้า ๑๖/๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๙
771896
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการออกหนังสือคนประจำเรืออาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๓ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ศูนย์” หมายความว่า ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามกฎหมายว่าด้วยการประมงและให้หมายความรวมถึงกรมประมง ที่ทำการสำนักงานประมงจังหวัด ที่ทำการสำนักงานประมงอำเภอหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีประกาศกำหนด “เรือประมง” หมายความว่า เรือประมงที่มีขนาดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๘๑ ข้อ ๓ เจ้าของเรือผู้ใดประสงค์จะให้ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในเรือประมงต้องจัดให้ผู้นั้นยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือต่อกรมเจ้าท่าตามระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการออกหนังสือคนประจำเรือประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ในกรณีที่เจ้าของเรือผู้ใดมีคนประจำเรือซึ่งมีสัญชาติไทยทำงานอยู่ในเรือประมงอยู่ก่อนแล้วและผู้นั้นยังไม่มีหนังสือคนประจำเรือให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งสำหรับคนประจำเรือนั้น ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่กรมเจ้าท่าไม่สามารถออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่ผู้ยื่นคำขอได้ในวันที่ยื่นคำขอให้ออกใบรับคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้เพื่อใช้แทนหนังสือคนประจำเรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องนำใบรับคำขอมาคืนเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับหนังสือคนประจำเรือ ข้อ ๔ เจ้าของเรือผู้ใดประสงค์จะให้คนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในเรือประมงต้องจัดให้ผู้นั้นยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ต่อกรมประมง ณ ศูนย์พร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว (๒) สำเนาใบอนุญาตทำการประมงของเจ้าของเรือ (๓) สำเนาหนังสือสัญญาจ้างให้ทำงานในเรือประมง ในกรณีที่เจ้าของเรือผู้ใดมีคนประจำเรือซึ่งเป็นคนต่างด้าวทำงานอยู่ในเรือประมงอยู่ก่อนแล้วและผู้นั้นยังไม่มีหนังสือคนประจำเรือ ให้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งสำหรับคนประจำเรือนั้นภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ[๒] ข้อ ๕ ในกรณีที่คนต่างด้าวมีเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๔ ถูกต้องและครบถ้วน ให้อธิบดีจัดทำทะเบียนประวัติและออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่คนต่างด้าวนั้น ในกรณีที่กรมประมงไม่สามารถออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่ผู้ยื่นคำขอได้ในวันที่ยื่นคำขอให้ออกใบรับคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้เพื่อใช้แทนหนังสือคนประจำเรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องนำใบรับคำขอมาคืนเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับหนังสือคนประจำเรือ ข้อ ๖ การจัดทำทะเบียนประวัติตามข้อ ๕ วรรคหนึ่ง อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ ตำแหน่งในเรือประมงของผู้ยื่นคำขอ หมายเลขทะเบียนเรือประมง และเครื่องหมายประจำเรือประมง ข้อ ๗ ในกรณีที่คนต่างด้าวประสงค์จะทำงานในเรือประมงลำอื่น ให้คนต่างด้าวหรือเจ้าของเรือลำใหม่ยื่นคำขอแก้ไขรายการในหนังสือคนประจำเรือตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนเจ้าของเรือต้องแนบสำเนาหนังสืออนุญาตให้เปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวด้วย ให้เจ้าหน้าที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงเรือประมงหรือเจ้าของเรือไว้ในหนังสือคนประจำเรือและในทะเบียนประวัติ ข้อ ๘ ในกรณีหนังสือคนประจำเรือสูญหายหรือเสียหาย ให้คนต่างด้าวหรือเจ้าของเรือยื่นขอรับใบแทนหนังสือคนประจำเรือที่สูญหายหรือเสียหาย ณ ศูนย์ ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ โดยยื่นหนังสือคนประจำเรือที่เสียหายหรือหลักฐานการแจ้งความในกรณีสูญหายต่ออธิบดี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสูญหายหรือเสียหาย ในการออกใบแทนหนังสือคนประจำเรือให้ใช้แบบหนังสือคนประจำเรือเดิม โดยระบุคำว่า “ใบแทน” ไว้ที่กึ่งกลางด้านหน้าของหนังสือคนประจำเรือ ข้อ ๙ ผู้ยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๓ และข้อ ๔ ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือคนประจำเรือตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ให้ผู้ยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับได้รับยกเว้นค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือคนประจำเรือ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอหนังสือคนประจำเรือ ๒. เอกสารแนบท้ายคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ ๓. ใบรับคำขอ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ปริยานุช/จัดทำ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ กัญฑรัตน์/ตรวจ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๙ วริญา/เพิ่มเติม ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๖ ง/หน้า ๒/๑๔ กันยายน ๒๕๕๙ [๒] ข้อ ๔ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๓/๑๒ มกราคม ๒๕๖๐
772637
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลามีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลามีไข่ วางไข่ และ เลี้ยงตัวในวัยอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาที่กำหนด[๑] โดยที่ผลการศึกษาทางวิชาการของกรมประมงซึ่งได้ติดตามศึกษามาเป็นระยะเวลานานปรากฏชัดว่าบริเวณทะเลอ่าวไทยในเขตท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดวางไข่ และอาศัยเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในช่วงระยะเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยเฉพาะสัตว์น้ำประเภทปลาทูซึ่งเป็นทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ จึงได้มีการกำหนดมาตรการห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงที่มีประสิทธิภาพบางชนิดทำการประมงในบริเวณดังกล่าว แต่ในปัจจุบันปรากฏว่าชาวประมงได้พัฒนาและดัดแปลงเครื่องมือทำการประมงบางประเภทให้สามารถจับพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำและสัตว์น้ำวัยอ่อนได้โดยไม่ต้องห้ามตามมาตรการดังกล่าวทำให้มาตรการที่กำหนดไว้ไม่สามารถบังคับใช้ให้มีประสิทธิภาพต่อไปได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเห็นสมควรแก้ไข้ปรับปรุงมาตรการห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงในพื้นที่ดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๒ (๑) (๒) (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงออกประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน ในท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาที่กำหนด ลงวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๒ ฤดูปลาที่มีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อน กำหนดตั้งแต่วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ถึง ๑๕ พฤษภาคม ของทุกปี ข้อ ๓ ในฤดูที่กำหนดตามข้อ ๒ นั้น ห้ามบุคคลใดใช้เครื่องมือดังต่อไปนี้ทำการประมง (๑) เครื่องมืออวนลากทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกล ยกเว้นเครื่องมืออวนลากที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียวที่ความยาวเรือไม่เกิน ๑๖ เมตร ให้ทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืน (ตั้งแต่เวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและพระอาทิตย์ขึ้น) (๒) เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมงด้วยวิธีล้อมติดปลาทูหรือด้วยวิธีอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน (๓) เครื่องมืออวนติดตาทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง ยกเว้น ก. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่วางเครื่องกลางลำไม่มีเก๋ง (หลังคา) ขนาดความยาวเรือไม่เกิน ๑๔ เมตร หรือการใช้เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือยนต์เพลาใบจักรยาว ข. เครื่องมืออวนติดตาที่ใช้ประกอบกับเรือกลและเครื่องมือกว๊านช่วยในการทำการประมงโดยใช้อวนที่มีขนาดความลึกอวนไม่เกิน ๗๐ ช่องตาอวน ความยาวอวนตั้งแต่ ๔,๐๐๐ เมตรลงมาในขณะทำการประมงแต่ละครั้ง ทำการประมงในช่วงเวลาระหว่างวันที่ ๑๕ เมษายน ถึงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ของทุกปี กรณีใช้อวนตามข้อ ข. วรรคแรกซึ่งมีความยาวอวนเกินกว่า ๔,๐๐๐ เมตรขึ้นไปในขณะทำการประมงในแต่ละครั้ง ห้ามใช้เครื่องมือกว๊านช่วยในการทำการประมง และต้องทำการประมงในช่วงเวลาระหว่างวันที่ ๑๕ เมษายน ถึงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ของทุกปี (๔) เครื่องมืออวนล้อมจับทุกชนิดที่ใช้ประกอบกับเรือกลทำการประมง (๕) เครื่องมืออวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ทำการประมงปลากะตัก (๖) เครื่องมืออวนรุนที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่มีขนาดความยาวเรือเกินกว่า ๑๔ เมตรขึ้นไป ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนซึ่งเป็นทะเลของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ตามพื้นที่เส้นล้อมรอบตั้งแต่ปลายแหลมเขาม่องไล่ ซึ่งกำหนดเป็นจุดที่ ๑ ถึงจุดที่ ๗ ดังนี้ จากจุดที่ ๑ เส้นแลตติจูด ๑๑° - ๔๙ ́ - ๔๐ ́ ́ เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° - ๕๐ ́ - ๐ ́ ́ ตะวันออก ท้องที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตัดตรงไปทางทิศตะวันออก ถึงจุดที่ ๒ จากจุดที่ ๒ เส้นแลตติจูด ๑๑° - ๔๙ ́ - ๔๐ ́ ́ เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๑๐๐° - ๕ ́ - ๐๐ ́ ́ ตะวันออก แล้วตัดตรงไปทางทิศใต้ผ่านท้องที่จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงจุดที่ ๓ จากจุดที่ ๓ เส้นแลตติจูด ๙° - ๑๕ ́ - ๐๐ ́ ́ เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด” ๑๐๐° - ๑๕ ́ - ๐๐ ́ ́ ตะวันออก แล้วตัดตรงไปทางทิศตะวันตก ถึงจุดที่ ๔ จากจุดที่ ๔ เส้นแลตติจูด ๙° - ๑๕ ́ - ๐๐ ́ ́ เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° - ๕๕ ́ - ๐๐ ́ ́ ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๕ จากจุดที่ ๕ เส้นแลตติจูด ๙° - ๒๒ ́ - ๐๐ ́ ́ เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° - ๔๙ ́ - ๐๐ ́ ́ ตะวันออก แล้วตัดตรงไปถึงจุดที่ ๖ จากจุดที่ ๖ เส้นแลตติจูด ๙° - ๒๒ ́ - ๐๐ ́ ́ เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° - ๔๔ ́ - ๕๒ ́ ́ ตะวันออก แล้วตัดตรงไปทางทิศใต้เข้าหาฝั่ง ถึงจุดที่ ๗ จากจุดที่ ๗ เส้นแลตติจูด ๙° - ๑๗ ́ - ๐๐ ́ ́ เหนือ ตัดกับเส้นลองจิจูด ๙๙° - ๔๔ ́ - ๕๒ ́ ́ตะวันออก ท้องที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งสิ้นสุดจุดที่ ๗ ดังปรากฏรายละเอียดตามแผนที่ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ การวัดขนาดความยาวของเรือกลที่ใช้ประกอบกับเครื่องมือทำการประมง ตามความในประกาศนี้ให้ใช้วิธีการวัดขนาดความยาวเรือคลอดลำ (Length Over All) หรือ (L.O.A.) คือวัดความยาวเรือทั้งหมด วัดสุดหัวถึงสุดท้าย ข้อ ๕ ความในประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่การทำการประมงเพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมง ข้อ ๖ ให้ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันปิดประกาศตามความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ศาสตราจารย์ ธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลามีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาที่กำหนด ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ๒๕๖๐[๒] ข้อ ๑ ให้งดเว้นการใช้บังคับความในข้อ ๓ (๓) ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงบางชนิดทำการประมงในฤดูปลามีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ภายในระยะเวลาที่กำหนด เป็นการชั่วคราวและให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) เครื่องมืออวนติดตาจับปลาทุกชนิดที่ใช้ประกอบเรือกลทำการประมง ยกเว้นการใช้เครื่องมืออวนติดตาจับปลาที่มีช่องตาอวนตั้งแต่สองนิ้วขึ้นไป ที่ใช้ประกอบกับเรือกลที่มีขนาดต่ำกว่าสิบตันกรอสทำการประมง” ข้อ ๒ ให้ประกาศฉบับนี้ สิ้นผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ชวัลพร/เพิ่มเติม ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๑๔/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๓ ง/หน้า ๑๗/๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
774728
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่นำเรือประมงออกไปขนถ่ายสัตว์น้ำ ต้องจัดทำหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งรับรองความถูกต้องโดยผู้ควบคุมเรือตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ กรณีเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำโดยใช้เรือประมงขนาดต่ำกว่าสามสิบตันกรอสลงมาอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้จัดทำหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำตามวรรคแรกภายหลังจากพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๒ ให้ผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำจัดส่งหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทันทีที่เทียบท่า เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของสัตว์น้ำหน้าท่า และให้เจ้าของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำส่งสำเนาหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ให้กรมประมงโดยทางโทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ภายหลังการขนถ่ายสัตว์น้ำเรียบร้อยแล้วภายใน ๓ วัน ข้อ ๓[๒] ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๓] หนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์นํ้า (Marine Catch Transshipping Document : MCTD) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๔] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/ผู้จัดทำ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๒ ง/หน้า ๒๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๓] หนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ (Marine Catch Transshipping Document : MCTD) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๘/๘ มีนาคม ๒๕๖๐
776023
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒[๑] ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป และเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปที่ใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตัก ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ ต้องดำเนินการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงทุกครั้ง ด้วยวิธีการดังนี้ (๑) แจ้งโดยตรงหรือโดยทางโทรสาร ตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้ (๒) การแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ให้แจ้งภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง แต่ไม่น้อยกว่าสองชั่วโมงก่อนการนำเรือเข้าหรือออกจากท่าเทียบเรือประมง แล้วแต่กรณี เมื่อได้รับการแจ้งการออกท่าเทียบเรือประมงตามวรรคแรก พนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกผู้มีอำนาจจะตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรา ๘๒ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ เมื่อเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงได้ดำเนินการแจ้งออกท่าเทียบเรือประมงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเพื่อนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงแล้ว เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงต้องนำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงภายในระยะเวลาสามชั่วโมงนับจากเวลาที่บันทึกในระบบสารสนเทศการทำการประมง (Fishing Info) หากไม่นำเรือประมงออกจากท่าเทียบเรือประมงภายในระยะเวลาดังกล่าว ระบบสารสนเทศการทำประมง (Fishing Info) จะเริ่มนับวันทำการประมง จนกว่าจะมีการแจ้งเหตุขัดข้องเพื่อยกเลิกการแจ้งออกท่าเทียบเรือประมง การแจ้งการเข้าท่าเทียบเรือประมง เมื่อเจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงได้ดำเนินการแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อนำเรือประมงเข้าเทียบท่าเทียบเรือประมงแล้ว ในกรณีที่มีการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ต้องผ่านการตรวจเรือประมงจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามรายการที่กำหนดก่อนจึงจะนำขึ้นท่าเทียบเรือประมงได้ ข้อ ๓ ในกรณีที่เป็นการเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงส่งมอบเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาบันทึกการทำการประมง (๒) บัญชีรายชื่อและหนังสือคนประจำเรือ สำหรับคนประจำเรือซึ่งมีสัญชาติไทย (๓) บัญชีรายชื่อและใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวสำหรับคนประจำเรือซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย (๔) สำเนาเอกสารการจัดเวลาพักของคนประจำเรือ ข้อ ๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งประจำอยู่ที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก รวบรวมสำเนาเอกสารหลักฐานตามข้อ ๒ และข้อ ๓ และรายงานผลการตรวจสอบต่อกรมประมงทุกสามสิบวัน ข้อ ๕[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๓] แบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง (สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย) ๒.[๔] รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ๓. แผนการขนถ่ายสัตว์น้ำ ๔. แผนการจัดให้มีผู้สังเกตการณ์ประจำอยู่บนเรือประมงไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของการลงแรงประมงต่อปี (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๕] ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ ชวัลพร/เพิ่มเติม ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง/หน้า ๒๗/๑๙ กันยายน ๒๕๕๙ [๓] แบบฟอร์มการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง (สำหรับเรือประมงในน่านน้ำไทย) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] รายชื่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๘๓ ง/หน้า ๘/๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐
777748
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๒ ของกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ คำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ๒. ใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ๓. [๒]คำขอโอนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ๔. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๕๕ ง/หน้า ๑๑/๔ มีนาคม ๒๕๕๙ [๒] คำขอโอนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอใบแทนใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๒ ง/หน้า ๖/๑๑ เมษายน ๒๕๖๐
777946
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย ที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ผู้ใดจะนำเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยซึ่งนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่าและยื่นเอกสารประกอบคำร้องล่วงหน้า ตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศฉบับนี้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าสี่สิบแปดชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ ข้อ ๒ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลและแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ควบคุมเรือทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับแจ้งการขอเข้าเทียบท่า ข้อ ๓ ให้เรือประมงที่ได้รับอนุญาตเข้าเทียบท่า จอดเรือ ณ ท่าเทียบเรือตามที่กำหนดตามรายชื่อท่าเทียบเรือแนบท้ายประกาศฉบับนี้ ข้อ ๔[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๓] ADVANCE REQUEST FOR PORT ENTRY แบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า ๒.[๔] บัญชีรายชื่อท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓.[๕] เอกสารประกอบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๖] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๗] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป กัญฑรัตน์/ปริยานุช/จัดทำ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๙ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖ ง/หน้า ๑/๑๑ มกราคม ๒๕๕๙ [๓] ADVANCE REQUEST FOR PORT ENTRY แบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] บัญชีรายชื่อท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๕] เอกสารประกอบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า เพิ่มโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๔ ง/หน้า ๑๖/๑๖ มีนาคม ๒๕๕๙ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๓/๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐
778176
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาดเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาดเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาดเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ ต้องดำเนินการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาให้ระบบดังกล่าวสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ ๓ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ ต้องดำเนินการจัดทำสมุดบันทึกการทำการประมง ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยประเภทและปริมาณของสัตว์น้ำที่จับได้ จุดจอดเรือ การขนถ่ายสัตว์น้ำ การขาย หรือการเททิ้งสัตว์น้ำซึ่งต้องรับรองความถูกต้องโดยผู้ควบคุมเรือ และต้องส่งรายงานให้กรมประมงทราบ ตามระยะเวลาและโดยวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ ๔ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป โดยใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทอวนลาก อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตัก ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ต้องดำเนินการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด และในกรณีเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ต้องส่งมอบสำเนาบันทึกการทำการประมง และเอกสารหลักฐานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไป โดยใช้เครื่องมือทำการประมงประเภทอื่นนอกเหนือจากวรรคหนึ่ง ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ ต้องดำเนินการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด และในกรณีเข้าเทียบท่าเพื่อขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ต้องส่งมอบสำเนาบันทึกการทำการประมง และเอกสารหลักฐานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ ๕ ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ ต้องดำเนินการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ ๖[๑] ให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือประมงทุกขนาด ซึ่งออกไปทำการประมงพาณิชย์ต้องดำเนินการกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนด ข้อ ๗[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาดเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปริยานุช/จัดทำ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ วริญา/ตรวจ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดขนาดเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ที่ต้องถูกควบคุมและเฝ้าระวัง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๑๒/๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๙/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
778189
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยต้องถือปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบของรัฐชายฝั่งนั้น และกฎ หรือระเบียบขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒ ก่อนดำเนินการขนถ่ายไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยแจ้งการขนถ่ายสัตว์น้ำผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งตอบรับการแจ้งภายในสิบสองชั่วโมงนับแต่ได้รับแจ้งการขนถ่าย ข้อ ๓ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากการขนถ่ายในแต่ละครั้งแล้วเสร็จ ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยจากเรือประมงไทย จัดทำหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำซึ่งรับรองความถูกต้องตามแบบท้ายประกาศนี้ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากการขนถ่ายในแต่ละครั้งแล้วเสร็จ ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๔ กรณีการรับขนถ่ายสัตว์น้ำจากเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย เรือดังกล่าวจะต้องไม่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือประมงที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยเรียกเอกสารดังต่อไปนี้มาด้วยเพื่อประกอบการขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำ (๑) สำเนาเอกสารการจดทะเบียนเรือจากรัฐเจ้าของธง (๒) สำเนาใบอนุญาตทำการประมงจากรัฐเจ้าของธง หรือรัฐชายฝั่ง หรือองค์การระหว่างประเทศ ข้อ ๕ ก่อนนำเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำเข้าท่าเทียบเรือประมงเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยจัดทำรายงานการขนถ่ายสัตว์น้ำที่ได้รับขนถ่ายมาเป็นรายลำ ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๖ ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยต้องจัดส่งหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำตามข้อ ๓ ให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง ทันทีที่เข้าเทียบท่า ณ ท่าเทียบเรือประมง เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของสัตว์น้ำหน้าท่า ข้อ ๗ ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยซึ่งปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๘[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์นํ้า (Marine Catch Transshipping Document : MCTD) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ วริญา/ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๑๖/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและวิธีการรายงานหนังสือกำกับการขนถ่ายสัตว์น้ำ ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๖/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
781050
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ใช้เรือขนาดตั้งแต่สามสิบตันกรอสขึ้นไปติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงพาณิชย์ ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ เมื่อมีการติดตั้งระบบติดตามเรือในเรือประมงลำใดแล้ว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งข้อมูล รหัสกล่อง หรือรหัสอุปกรณ์ ชื่อ หรือหมายเลขทะเบียนเรือ ภาพถ่ายเรือตามแบบใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงแนบท้ายประกาศนี้ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ภายในเจ็ดวัน หลังจากดำเนินการติดตั้งแล้วเสร็จ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือต้องดูแลระบบติดตามเรือประมงให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา ทั้งขณะที่ออกทำการประมงและขณะที่จอดเทียบท่า[๑] กรณีการแจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงให้สามารถทำได้เฉพาะกรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหายต้องซ่อมแซมโดยนำเรือประมงขึ้นคาน โดยต้องมีหนังสือรับรองจากอู่ซ่อมเรือ โดยระบุวันที่เริ่มต้นขึ้นคาน และลงจากคาน (๒) กรณีอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือชำรุด และอยู่ระหว่างซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ โดยต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม (๓) กรณีเรือประมงอับปาง โดยแนบสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมาด้วย ทั้งนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตาม (๑) ให้แจ้งก่อนปิดระบบติดตามเรือประมงไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง โดยจะสามารถปิดระบบติดตามเรือได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมงแล้ว และก่อนเรือประมงลงจากคานให้แจ้งศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทราบก่อนสิบสองชั่วโมงด้วย[๒] กรณีเหตุการณ์ตาม (๒) และ (๓) ให้แจ้งภายในหกชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น โดยให้แนบหนังสือรับรองจากผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม กรมประมง หรือรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี แล้วแต่กรณี มาให้ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ทราบภายในสี่สิบแปดชั่วโมง หลังจากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น[๓] การแจ้งตามวรรคสามและวรรคสี่ ให้ดำเนินการตามแบบ ศฝป. ๔ แนบท้ายประกาศนี้[๔] ข้อ ๓[๕] ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกหนึ่งชั่วโมง หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ให้เรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ประเภทเครื่องมือ อวนล้อมจับ ชนิดเครื่องมือ อวนล้อมจับปลากะตัก ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงแล้ว จัดให้ระบบติดตามเรือประมงส่งข้อมูลตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงทุกสิบห้านาที หลังจากการรายงานออกจากท่าเทียบเรือจนถึงกลับเข้าท่าเทียบเรือ ข้อ ๔ ในกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งเหตุขัดข้องผ่านระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SFB (USB) ช่องหลักความถี่ 8228.0 KHz ช่องรองความถี่ 6290.0 KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ 11 C ช่องรองความถี่ 12 C ต่อศูนย์ควบคุมแจ้งเรือเข้าออกทันทีที่ตรวจพบว่าเครื่องขัดข้อง กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ว่าไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือตรวจสอบระบบติดตามเรือที่ติดอยู่กับเรือประมงว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ หากพบว่ามีข้อขัดข้องให้ดำเนินการแก้ไขให้สามารถกลับมาใช้งานได้โดยเร็ว โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ ทุกหนึ่งชั่วโมง หากไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือกลับมาใช้งานได้ภายในสี่ชั่วโมงนับแต่เวลาที่ได้รับแจ้งว่ามีเหตุขัดข้องให้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าทันที และให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเมื่อเข้าเทียบท่าแล้ว พร้อมทั้งดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที[๖] การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ ให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้รับทราบแล้ว[๗] ความในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกรณีเหตุขัดข้องเกิดจากความบกพร่องของระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง หรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ[๘] ข้อ ๔/๑[๙] กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงเป็นระยะเวลาเกินกว่าสี่ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ในครั้งแรก โดยไม่สามารถแก้ไขให้ระบบติดตามเรือประมงกลับมาใช้งานได้ตามปกติได้ในการแจ้งออกทำการประมงครั้งหนึ่ง (๒) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงสะสมเป็นจำนวนหกครั้ง ภายในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง นับจากเวลาที่ได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ในครั้งแรก ในการแจ้งออกทำการประมงครั้งหนึ่ง (๓) ไม่ได้รับสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงซ้ำกันหลายครั้งในการแจ้งออกทำการประมงหลายครั้ง บริเวณแนวแบ่งเขตระหว่างเขตทะเลชายฝั่งและทะเลนอกชายฝั่ง พื้นที่ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามทำการประมง หรือบริเวณแนวแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศ (๔) มีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงทุกครั้ง ในระหว่างการแจ้งออกทำการประมง ต่อเนื่องกันเป็นจำนวนหกครั้ง และได้รับคำสั่งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมงกรมประมง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าด้วยเหตุดังกล่าว ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่าตามระยะเวลา และสถานที่ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดทันที การนำเรือประมงกลับเข้าเทียบท่า ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งพิกัดปัจจุบัน และแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงผ่านทางระบบสื่อสารทางวิทยุระบบ HF/SSB (USB) ช่องหลักความถี่ ๘๒๒๘.๐ KHz ช่องรองความถี่ ๖๒๙๐.๐ KHz หรือระบบ CB ช่องหลักความถี่ ๑๑C ช่องรองความถี่ ๑๒C ทางไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจาก E-Mail ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมได้ และได้แจ้งต่อกรมประมงไว้ล่วงหน้าแล้ว หรือทางโทรศัพท์ ๐ ๒๕๕๘ ๐๒๐๙ ๐ ๒๕๗๙ ๐๓๔๑ ต่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง จนว่าจะเข้าเทียบท่า โดยในระหว่างนั้นให้บันทึกตำแหน่งเรือตามใบรายงานตำแหน่งเรือ กรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป.๗.๑ และ ศฝป.๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ทุกหนึ่งชั่วโมง เมื่อได้นำเรือกลับเข้าเทียบท่าแล้วให้ส่งใบรายงานดังกล่าวต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกและให้ดำเนินการทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมงกับพนักงานเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกด้วย หากไม่สามารถส่งสัญญาณจากระบบติดตามเรือได้ให้ดำเนินการซ่อมแซมทันที การแจ้งที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการผ่านช่องทางการติดต่อที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้ให้ไว้ในใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ หรือในแบบแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงให้ถือว่ามีการแจ้งและผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ได้รับทราบแล้ว ในกรณีที่การแจ้งพิกัดในทุกหนึ่งชั่วโมงตามวรรคสองไม่สามารถกระทำได้อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของระบบสื่อสารที่มีอยู่ในเรือประมง ให้ผู้ควบคุมเรือรายงานเหตุขัดข้องดังกล่าวไว้ในใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป.๗.๑ และ ศฝป.๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้ด้วย ความในวรรคหนึ่ง วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มิให้ใช้บังคับแก่กรณีเหตุขัดข้องอันเกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมงหรือเหตุอื่นใดที่มิใช่ความบกพร่องของผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ข้อ ๔/๒[๑๐] การทดสอบระบบการส่งสัญญาณระบบติดตามเรือประมง ตามข้อ ๔/๑ เพื่อให้แน่ใจว่าระบบติดตามเรือประมงสามารถใช้งานได้ตลอดเวลาตามมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้มีการทดสอบระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมง ณ บริเวณท่าเทียบเรือที่กำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง หากปรากฏว่าระบบการส่งสัญญาณของระบบติดตามเรือประมงไม่สามารถส่งสัญญาณได้ หรือการส่งสัญญาณนั้นไม่ต่อเนื่อง หรือขาดหาย โดยที่เหตุดังกล่าวมิได้เกิดจากความบกพร่องของระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม ระบบของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ระบบของกรมประมง ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงดำเนินการแก้ไข มิฉะนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่พิจารณาการแจ้งออกทำการประมงในครั้งถัดไป ข้อ ๕[๑๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๑๒] มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) ๒. ใบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ ๓. ใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง ๔.[๑๓] ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) ๕.[๑๔] ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป.๗.๑) ๖.[๑๕] ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป.๗.๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๖] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๗] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๘] ข้อ ๑ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์นำเรือประมงมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามรูปแบบและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณหรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ดำเนินการตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสำหรับเรือประมงลำใดแล้ว ห้ามมิให้มีการถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งการล็อคตรึงและตราที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำไว้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และอุปกรณ์ต่อพ่วง (๒) เรือประมงต้องขึ้นคานเพื่อซ่อมแซม (๓) มีเหตุต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่ ทั้งนี้ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงภายในสามวันนับแต่วันตรวจพบ กรณีการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่หรือทดแทนของเดิมหลังจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ได้รับแจ้งแบบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงให้แจ้งไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบการติดตั้งและทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามประกาศนี้[๑๙] ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๐] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๑] ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือที่ได้แจ้งปิดระบบติดตามเรือประมงด้วยเหตุตาม (๔) (๖) (๗) ตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ดำเนินการแจ้งเปิดสัญญาณระบบติดตามเรือประมงภายในเจ็ดวันนับตั้งแต่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๒] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ที่ได้ติดตั้งระบบติดตามเรือประมงตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงแนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ภายในสองปี นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ การปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงตามวรรคแรก ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์อาจดำเนินการโดยการปรับปรุงระบบติดตามเรือที่มีอยู่เดิม หรือดำเนินการจัดหาระบบติดตามเรือประมงใหม่ทั้งระบบ ให้มีขีดความสามารถตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ก็ได้ ข้อ ๓ ในห้วงเวลาก่อนครบกำหนด ตามข้อ ๒ ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์หรือผู้ควบคุมเรือ ที่ยังมิได้มีการปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือประมงให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔ ในกรณีที่ระบบติดตามเรือประมงที่ได้ติดตั้งอยู่ก่อนหรือในวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ขัดข้อง หรือชำรุด ต้องมีการปรับเปลี่ยน ให้ผู้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ หรือผู้ควบคุมเรือ ปรับเปลี่ยนระบบติดตามเรือให้เป็นไปตามมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบ ติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๓] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกแบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และ ศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้แบบใบรายงานตำแหน่งเรือกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (ศฝป. ๗.๑ และศฝป. ๗.๒) แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๔] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๕] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๖] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๐[๒๗] ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป วริญา/จัดทำ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ ชวัลพร/เพิ่มเติม ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/เพิ่มเติม ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ วิชพงษ์/ตรวจ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ชวัลพร/เพิ่มเติม ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๒ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๒ วรรคสาม เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ข้อ ๒ วรรคสี่ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] ข้อ ๒ วรรคห้า เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] ข้อ ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] ข้อ ๔ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] ข้อ ๔ วรรคสาม เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๘] ข้อ ๔ วรรคสี่ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๙] ข้อ ๔/๑ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๐] ข้อ ๔/๒ เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๒ ง/หน้า ๑๗/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๑๒] มาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหน้าที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๓] ใบคำร้องขอปิดสัญญาณอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือ (VMS) ชั่วคราว (แบบ ศฝป. ๔) เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๔] ใบแจ้งเหตุเมื่อเรือไม่ส่งข้อมูล VMS (ศฝป.๗.๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๕] ตารางบันทึกตำแหน่งตำบลที่เรือเมื่อสัญญาณข้อมูล VMS ขัดข้อง (ศฝป.๗.๒) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๐๗ ง/หน้า ๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๓๒ ง/หน้า ๓๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๑/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑๙] ข้อ ๓ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๒ ง/หน้า ๑๐/๘ มีนาคม ๒๕๖๐ [๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๙/๒๑ เมษายน ๒๕๖๐ [๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๒/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๒๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๐ ง/หน้า ๑๗/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๒๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๖/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๒๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๕๗ ง/หน้า ๓๖/๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๒๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๔ ง/หน้า ๑๖/๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๒๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๖ ง/หน้า ๔/๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐
782036
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] ด้วยจากการควบคุม ติดตาม และเฝ้าระวังการทำการประมงผ่านระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ พบว่ามีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ โดยไม่สามารถพิสูจน์สาเหตุได้ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงสำหรับเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ อันอาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟต่าง ๆ ที่ได้ติดตั้งในเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำไว้แล้ว จึงเห็นควรมีการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ดังกล่าวมิให้มีการเคลื่อนย้ายนอกจากมีเหตุจำเป็น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๘ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมง ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้รับการจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำนำเรือประมงที่ได้จดทะเบียนเป็นเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามรูปแบบและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณหรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้รับจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำดำเนินการตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้รับจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงลำใดแล้ว ห้ามมิให้มีการถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งการล็อคตรึงและตราที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำไว้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และอุปกรณ์ต่อพ่วง (๒) เรือประมงต้องขึ้นคานเพื่อซ่อมแซม (๓) มีเหตุต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ทั้งนี้ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเรือประมงที่ได้รับการจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำแจ้งต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้แจ้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ให้เจ้าของเรือหรือผู้รับการจดทะเบียนเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงภายในสามวันนับแต่วันตรวจพบ กรณีการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่หรือทดแทนของเดิมหลังจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ได้รับแจ้งแบบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงให้แจ้งไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบการติดตั้งและทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามประกาศนี้[๒] ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ ชวัลพร/เพิ่มเติม ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๙/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๓ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเรือเก็บรักษาสัตว์น้ำให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๕/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
782038
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมง ของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] ด้วยจากการควบคุม ติดตาม และเฝ้าระวังการทำการประมงผ่านระบบติดตามเรือประมงพบว่ามีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงโดยไม่สามารถพิสูจน์สาเหตุได้ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้มีการขาดหายของสัญญาณจากระบบติดตามเรือประมงอันอาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟต่าง ๆ ที่ได้ติดตั้งในเรือประมงไว้แล้ว จึงเห็นควรมีการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ดังกล่าวมิให้มีการเคลื่อนย้ายนอกจากมีเหตุจำเป็น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๑) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์นำเรือประมงมาแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามรูปแบบและวิธีการที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณหรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ดำเนินการตามคำแนะนำของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายดังกล่าวเอง ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ และสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสำหรับเรือประมงลำใดแล้ว ห้ามมิให้มีการถอน ทำให้เสียหาย ทำลาย หรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งการล็อคตรึงและตราที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำไว้ เว้นแต่กรณีดังต่อไปนี้ (๑) มีเหตุต้องมีการซ่อมแซมอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง และอุปกรณ์ต่อพ่วง (๒) เรือประมงต้องขึ้นคานเพื่อซ่อมแซม (๓) มีเหตุต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่ ทั้งนี้ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งต่อศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่ายี่สิบสี่ชั่วโมง และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงนับแต่วันที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เพื่อดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณและสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงต่อไป ข้อ ๓ ในกรณีที่อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง สายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงเกิดการชำรุด เสียหาย หรือเสื่อมสภาพ ให้เจ้าของเรือหรือผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงสายสัญญาณ หรือสายไฟที่เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงภายในสามวันนับแต่วันตรวจพบ กรณีการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงใหม่หรือทดแทนของเดิมหลังจากวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ เมื่อศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง กรมประมง ได้รับแจ้งแบบรายงานการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงให้แจ้งไปยังศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบการติดตั้งและทำการล็อคตรึงและตีตราอุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมงตามประกาศนี้[๒] ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/ปริยานุช/จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ ชวัลพร/เพิ่มเติม ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๕๖ ง/หน้า ๑๑/๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๓ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๓๘ ง/หน้า ๓๖/๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐
784216
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๘ (๑) และ (๗) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช (Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ภายในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ตามมาตรา ๗๗ ต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkia หรือ Cherax spp.) อยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดแต่ละจังหวัดประกาศกำหนดพื้นที่ให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ตามคำขอแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม แนบท้ายประกาศนี้ กรณีเป็นผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ภายหลังจากวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ต้องแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนจะดำเนินกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามคำขอแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑/๑[๒] ในประกาศนี้ “ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม” หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkia หรือ Cherax spp.) เพื่อขาย แลกเปลี่ยน หรือได้รับประโยชน์หรือค่าตอบแทนจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึง บุคคลหรือนิติบุคคล ที่รวบรวมและขายเพื่อการบริโภค “สถานประกอบกิจการ” หมายความว่า สถานที่ที่มีที่ตั้งแน่นอนและเป็นประจำ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการการเพาะพันธุ์ อนุบาล เลี้ยง สัตว์น้ำควบคุม และให้หมายความรวมถึง สถานที่ซึ่งเป็นที่ขายหรือรวบรวมสัตว์น้ำควบคุมที่มิใช่เป็นการขายเพื่อการบริโภคด้วย ข้อ ๒ เมื่อได้รับแจ้งตามข้อ ๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบหนังสือรับรองการแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ให้กับผู้แจ้ง ข้อ ๓ ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอื่น ๆ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังนี้ (๑)[๓] กรณีการเลี้ยงในบ่อดิน บ่อปูแผ่นพลาสติก หรือนาข้าว ต้องดำเนินการจัดทำที่กั้นบริเวณขอบบ่อโดยรอบ โดยจัดวางเป็นแนวเอียงเข้าหาบ่อ และมีความสูงตามแนวดิ่งไม่น้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร เพื่อป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก (๒) กรณีการเลี้ยงในบ่อคอนกรีต ต้องมีผนังบ่อสูงเหนือระดับเก็บกักน้ำไม่น้อยกว่า ๓๐ เซนติเมตร เพื่อป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก (๓)[๔] กรณีการเลี้ยงในภาชนะที่ใช้เลี้ยงอื่น ๆ เช่น ตู้กระจก กล่อง ลังพลาสติก กาละมัง ถัง เป็นต้น ต้องมีที่ปิดมิดชิดสามารถป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก (๔) ทางระบายน้ำออกจากที่เพาะเลี้ยงต้องมีระบบป้องกันการหลุดรอดของกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชไม่ให้ออกไปสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก (๕) ห้ามนำกุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิชไปเลี้ยงหรือปล่อยในแหล่งน้ำสาธารณะ ข้อ ๔[๕] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๖] คำขอแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ๒.[๗] หนังสือรับรองการแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ๓.[๘] หนังสือประกอบการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ๔.[๙] แบบรายงานการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙[๑๐] ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๑] ข้อ ๒ ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ที่ขาย แลกเปลี่ยนให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคลอื่น จัดทำหนังสือประกอบการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับ และจัดทำรายงานการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) เก็บไว้ที่สถานประกอบกิจการตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkia หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐[๑๒] ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ นุสรา/เพิ่มเติม ๓๑ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๒] ข้อ ๑/๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ข้อ ๓(๑) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๔] ข้อ ๓(๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๙๙ ง/หน้า ๓/๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๖] คำขอแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๗] หนังสือรับรองการแจ้งการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ [๘] หนังสือประกอบการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๙] แบบรายงานการขาย แลกเปลี่ยนสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.) เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กุ้งก้ามแดงหรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ต้องปฏิบัติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๑๐] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๑๖ ง/หน้า ๑๐/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๖๐ ง/หน้า ๔/๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๐ [๑๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๐๙ ง/หน้า ๙/๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๐
784705
ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เรือประมงตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้เป็นเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๒] บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑[๔] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[๕] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๑[๖] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒[๗] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒[๘] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๓[๙] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๘ มกราคม ๒๕๕๙ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๔ กันยายน ๒๕๖๐ พัชรภรณ์/เพิ่มเติม ๑ เมษายน ๒๕๖๒ สุภาทิพย์/เพิ่มเติม ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๐ ง/หน้า ๒๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๒] บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๗/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๕ ง/หน้า ๒๕/๑๑ เมษายน ๒๕๖๑ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๒/๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง/หน้า ๖/๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๙/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๓๐๗ ง/หน้า ๖/๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๒ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๐/๙ มิถุนายน ๒๕๖๓
791210
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๑ (๒) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมงระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยต้องจัดทำสมุดบันทึกการทำการประมง โดยผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ตามประกาศกรมประมง ลงวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยให้รายงานทุกวันนับแต่วันที่ได้แจ้งออกท่าเทียบเรือประมง โดยแยกตามครั้งของการทำการประมงจนกว่าจะกลับเข้าท่าเทียบเรือประมง เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและเฝ้าระวังการทำการประมง ให้ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยจัดทำสมุดบันทึกการทำการประมงตามแบบท้ายประกาศฉบับนี้และเก็บไว้ในเรือประมงเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ตลอดเวลา ข้อ ๓ ผู้ควบคุมเรือประมงที่ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยซึ่งปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ ไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และวิธีการส่งรายงานสมุดบันทึกการทำการประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. FISHING LOGBOOK OVERSEA FISHERY GILL NET ๒.[๒] FISHING LOGBOOK OVERSEA FISHERY TRAWLERS ๓. FISHING LOGBOOK OVERSEA FISHERY PURSE SEINERS (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปริยานุช/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ นุสรา/เพิ่มเติม ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๑๓/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๒] แบบสมุดบันทึกการทำการประมง FISHING LOGBOOK OVERSEA FISHERY TRAWLERS แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรูปแบบสมุดบันทึกการทำการประมง ระยะเวลา และการรายงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของเรือประมงไทยที่ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๗๓ ง/หน้า ๑๐/๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
792489
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus charkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus charkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus charkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ [๑] ให้เขตท้องที่จังหวัดยะลา เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ข้อ ๒[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปริยานุช/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๐ พิมพ์มาดา/ตรวจ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๐ พรวิภา/เพิ่มเติม ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดยะลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp.(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๑๕/๗ มีนาคม ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๙ ง/หน้า ๑๕/๙ ตุลาคม ๒๕๖๐
792491
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดขนาดช่องตาอวนก้นถุงของเครื่องมืออวนลากที่ให้ใช้ทำการประมง พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดขนาดช่องตาอวนก้นถุงของเครื่องมืออวนลากที่ให้ใช้ทำการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เครื่องมืออวนลากที่ใช้หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้ทำการประมงต้องมีขนาดช่องตาอวนก้นถุง ตั้งแต่ ๔ เซนติเมตรขึ้นไป วิธีการวัดขนาดช่องตาอวนก้นถุงของเครื่องมืออวนลากที่ใช้หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อใช้ทำการประมงให้เป็นไปตามวิธีการวัดท้ายประกาศนี้[๑] ข้อ ๒[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดขนาดช่องตาอวนก้นถุงของเครื่องมืออวนลากที่ให้ใช้ทำการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๘ มกราคม ๒๕๕๙ พรวิภา/เพิ่มเติม ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๑ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดขนาดช่องตาอวนก้นถุงของเครื่องมืออวนลากที่ให้ใช้ทำการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๐ ง/หน้า ๑๘/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๕๐ ง/หน้า ๑๔/๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐
792533
ระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2552 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือ คนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า “ศูนย์” ของข้อ ๓ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้ (๑) โรงพยาบาลสมุทรสาคร (๒) สมาคมประมงจังหวัดระยอง (๓) สมาคมประมงจังหวัดปัตตานี (๔) สมาคมประมงจังหวัดระนอง (๕) สหกรณ์ประมงแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม (๖) ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค ๒ สาขาจังหวัดจันทบุรี อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี (๗) ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค ๑ สาขาสมุทรปราการ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (๘) ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า จังหวัดพังงา (๙) ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมงตรัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง (๑๐) ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมงตราด อำเภอเมือง จังหวัดตราด (๑๑) ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดชุมพร (๑๒) สำนักงานประมงอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี สำหรับจังหวัดอื่นนอกเหนือจากจังหวัดที่ระบุไว้ในวรรคแรก ให้ดำเนินการ ณ สำนักงานประมงจังหวัด และสำนักงานประมงอำเภอที่จังหวัดกำหนด ทั้งนี้ บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ข้อ ๒ สำหรับการดำเนินการตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ดำเนินการ ณ สำนักงานประมงจังหวัด และสำนักงานประมงอำเภอ ข้อ ๓[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พัชรภรณ์/จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง/หน้า ๑๘/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๒/๒ ตุลาคม ๒๕๖๐
793709
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือ คนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในบทนิยามคำว่า “ศูนย์” ของข้อ ๓ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้ (๑) โรงพยาบาลสมุทรสาคร (๒) สมาคมประมงจังหวัดระยอง (๓) สมาคมประมงจังหวัดปัตตานี (๔) สมาคมประมงจังหวัดระนอง (๕) สหกรณ์ประมงแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม (๖) ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค ๒ สาขาจังหวัดจันทบุรี อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี (๗) ศูนย์บริหารการทะเบียนภาค ๑ สาขาสมุทรปราการ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ (๘) ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า จังหวัดพังงา (๙) ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมงตรัง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง (๑๐) ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมงตราด อำเภอเมือง จังหวัดตราด (๑๑) ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดชุมพร (๑๒) สำนักงานประมงอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี สำหรับจังหวัดอื่นนอกเหนือจากจังหวัดที่ระบุไว้ในวรรคแรก ให้ดำเนินการ ณ สำนักงานประมงจังหวัด และสำนักงานประมงอำเภอที่จังหวัดกำหนด ทั้งนี้ บัดนี้เป็นต้นไปถึงวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ข้อ ๒ สำหรับการดำเนินการตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ดำเนินการ ณ สำนักงานประมงจังหวัด และสำนักงานประมงอำเภอ ข้อ ๓[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พัชรภรณ์/จัดทำ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๑] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๒ ง/หน้า ๑๘/๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๓ ง/หน้า ๒/๒ ตุลาคม ๒๕๖๐
796169
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ และวิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมง ที่เข้าใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ และวิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมง ที่เข้าใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๕ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ วิธีการในการบันทึกข้อมูล และระยะเวลาการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลา พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ (๒) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ วิธีการในการบันทึกข้อมูล และระยะเวลาการเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาซึ่งเป็นท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร และท่าเทียบเรือประมงที่มีการซื้อขายสัตว์น้ำส่งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าสัตว์น้ำแปรรูป ตามรายชื่อท่าเทียบเรือประมงท้ายประกาศนี้ บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงทุกลำที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ตามแบบท้ายประกาศนี้ ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง http://traceability.fisheries.go.th/tds/ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๓ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาซึ่งเป็นท่าเทียบเรือประมงที่นอกเหนือตามข้อ ๒ บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงทุกลำที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง ตามแบบท้ายประกาศนี้ ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง http://traceability.fisheries.go.th/tds/ ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๔ ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมงให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาดังกล่าวบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงตามแบบท้ายประกาศนี้ในรูปแบบเอกสาร จนกว่าจะบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง ข้อ ๕[๑] กรณีเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ และข้อ ๓ ให้ยื่นขอผ่อนผันระยะเวลาการปฏิบัติเป็นการชั่วคราว โดยอ้างเหตุผลความจำเป็น ก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้วแต่กรณี ซึ่งอธิบดีมีอำนาจผ่อนผันเป็นรายกรณีตามเหตุผลความจำเป็น ทั้งนี้ ระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ครบกำหนดเวลาตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ ในระหว่างเวลารอการกำหนดระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันจากอธิบดี และภายในระยะเวลาที่มีการผ่อนผัน ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงตามแบบท้ายประกาศนี้ในรูปแบบเอกสารเป็นการชั่วคราว ข้อ ๖[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อท่าเทียบเรือประมงท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ และวิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แบบบันทึกข้อมูลเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง (Landing Declaration) ๓. แบบสรุปรายวันบันทึกข้อมูลเรือประมงที่เข้ามาใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ และวิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปุณิกา/จัดทำ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๑ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ และวิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือ ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๒ ง/หน้า ๓๕/๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๒๔/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
796171
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๖ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำระยะเวลาและวิธีการในการส่งสำเนาหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาซึ่งเป็นท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร และท่าเทียบเรือประมงที่มีการซื้อขายสัตว์น้ำส่งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าสัตว์น้ำแปรรูป ตามรายชื่อท่าเทียบเรือประมงท้ายประกาศนี้จัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้ ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง http://traceability.fisheries.go.th/tds/ และกรอกรายการในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำให้ถูกต้องครบถ้วน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๓ ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาซึ่งเป็นท่าเทียบเรือประมงที่นอกเหนือตามข้อ ๒ จัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้ ผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง http://traceability.fisheries.go.th/tds/ และกรอกรายการในหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำให้ถูกต้องครบถ้วน ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ข้อ ๔ ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ต้องจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาดังกล่าวจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้ในรูปแบบเอกสาร จนกว่าจะจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำผ่านระบบการรายงานทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมประมง ข้อ ๕[๑] กรณีเจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาไม่สามารถดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ และข้อ ๓ ให้ยื่นขอผ่อนผันระยะเวลาการปฏิบัติเป็นการชั่วคราว โดยอ้างเหตุผลความจำเป็น ก่อนสิ้นระยะเวลาตามที่กำหนดในข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้วแต่กรณี ซึ่งอธิบดีมีอำนาจผ่อนผันเป็นรายกรณีตามเหตุผลความจำเป็น ทั้งนี้ ระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ครบกำหนดเวลาตามข้อ ๒ หรือข้อ ๓ ในระหว่างเวลารอการกำหนดระยะเวลาที่จะให้การผ่อนผันจากอธิบดี และภายในระยะเวลาที่มีการผ่อนผัน ให้เจ้าของท่าเทียบเรือประมงหรือผู้ประกอบกิจการแพปลาจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำตามแบบท้ายประกาศนี้ในรูปแบบเอกสารเป็นการชั่วคราว ข้อ ๖[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายชื่อท่าเทียบเรือประมงท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (Marine Catch Purchasing Document: MCPD) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปวันวิทย์/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๒๒ มกราคม ๒๕๖๑ [๑] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบและรายการหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒๒ ง/หน้า ๓๗/๑๑ กันยายน ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๖๕ ง/หน้า ๒๕/๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐
799195
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (๑) เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๐ ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ (๒) เขตท้องที่หมู่ที่ ๑ ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ (๓) เขตท้องที่หมู่ที่ ๙ ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ (๔) เขตท้องที่หมู่ที่ ๗ และหมู่ที่ ๑๐ ตำบลเมืองบัว และเขตท้องที่หมู่ที่ 7 ตำบลไพลขลา อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ (๕) เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๐ ตำบลโคกสะอาด อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ (๖) เขตท้องที่หมู่ที่ ๓ ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ (๗) เขตท้องที่หมู่ที่ ๔ ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ (๘)[๑] เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลประทัดบุ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ (๙)[๒] เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๐ ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ (๑๐)[๓] เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๒ ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ (๑๑)[๔] เขตท้องที่หมู่ที่ ๒ ตำบลนาบัว อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ (๑๒)[๕] เขตท้องที่หมู่ที่ ๕ ตำบลยะวึก อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ (๑๓)[๖] เขตท้องที่หมู่ที่ ๑๑ ตำบลระเวียง อำเภอโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ (๑๔)[๗] เขตท้องที่หมู่ที่ ๙ ตำบลเมืองบัว อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ ข้อ ๒[๘] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ อรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๙] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ พจนา/ตรวจ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ [๑] ข้อ ๑ (๘) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๑ (๙) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๓] ข้อ ๑ (๑๐) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๔] ข้อ ๑ (๑๑) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๕] ข้อ ๑ (๑๒) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๖] ข้อ ๑ (๑๓) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๗] ข้อ ๑ (๑๔) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสุรินทร์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๑ ง/หน้า ๓๒/๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๒๑/๕ มกราคม ๒๕๖๑
801125
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ.2561 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ.๒๕๖๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๓) แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๕๙ อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ กำหนดสถานที่อื่นเพื่อปฏิบัติงานในการขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์รอบปีการประมง ๒๕๖๑ - ๒๕๖๒ ดังนี้ (๑) สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอสทิงพระ และที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา (๒) สมาคมการประมงจังหวัดปัตตานีเป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประมงอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี (๓) สมาคมชาวประมงปากน้ำประแสร์ เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอแกลง จังหวัดระยอง (๔) สมาคมประมงระนอง เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง (๕) องค์การบริหารส่วนตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา (๖) สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอเมือง ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอบางบ่อ และที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ (๗) ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอคลองใหญ่ เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอเกาะกรูด จังหวัดตราด (๘)[๒] สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสาคร เป็นสถานที่ยื่นรับคำขอของที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๐ มกราคม - ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ พัชรภรณ์/จัดทำ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๑ ง/หน้า ๓๓/๑๘ มกราคม ๒๕๖๑ [๒] ข้อ ๑ (๘) เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๑/ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๑
810858
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) และมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ให้เขตท้องที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (๑) เขตท้องที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ (๒) เขตท้องที่อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ (๓) เขตท้องที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ (๔) เขตท้องที่อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ (๕) เขตท้องที่อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ข้อ ๒[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ พิพัฒน์ เอกภาพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ชนิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๔ มกราคม ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ ปวันวิทย์/เพิ่มเติม ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ข้อ ๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๐๘ ง/หน้า ๒๘/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๙๔ ง/หน้า ๑๐/๒๕ เมษายน ๒๕๖๑
818989
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2559 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (๑) เขตท้องที่ตำบลหนองป่าครั่ง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (๒) เขตท้องที่ตำบลหนองควาย อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (๓) เขตท้องที่ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (๔) เขตท้องที่ตำบลห้วยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ (๕) เขตท้องที่ตำบลแม่ก๊า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ (๖) เขตท้องที่ตำบลดอยเต่าใต้ อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ (๗)[๑] เขตท้องที่ตำบลแม่สาบ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ ข้อ ๒[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (เพิ่มเติม) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พัชรภรณ์/จัดทำ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ [๑] ข้อ ๑ (๗) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (เพิ่มเติม) พ.ศ. ๒๕๖๐ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๒๐/๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๗ ง/หน้า ๓๐/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐
840584
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการออกหนังสือคนประจำเรือการอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานในเรือประมงอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และการอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในเรือประมงที่จะออกไปทำการประมงในทะเล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๓ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๐ ให้ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “คนต่างด้าว”[๒] หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และสัญชาติอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด “ศูนย์”[๓] หมายความว่า ที่ทำการสำนักงานประมงจังหวัด ๒๒ จังหวัดชายทะเล หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีประกาศกำหนด “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว “องค์กรพัฒนาเอกชน” หมายความว่า องค์กรที่ไม่แสวงกำไรที่ทำงานด้านการคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงาน “พนักงานตรวจแรงงาน” หมายความว่า พนักงานตรวจแรงงานตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน “เรือประมง” หมายความว่า เรือที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยตามประเภทการใช้ทำการประมง ที่จะออกไปทำการประมงในทะเล ข้อ ๔ คนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีผู้ใดประสงค์จะทำงานในเรือประมง แต่ไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ให้มาลงทะเบียนเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือต่อกรมประมง ณ ศูนย์ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ หรือตามเวลาที่กรมประมงประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ และในกรณีมีเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ ให้ยื่นมาพร้อมคำขอรับหนังสือคนประจำเรือด้วย (๑) สำเนาบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (Non Thai Identification Card) (๒) สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) (๓) สำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) (๔) สำเนาเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง (๕) สำเนาหนังสือรับรองสถานะบุคคลหรือสำเนาบัตรประจำตัวตามกฎหมายที่ตนมีสัญชาติ (๖) สำเนาหนังสือสำคัญประจำตัว (Certification Identity) (๗) สำเนาเอกสารประจำตัวตามกฎหมายที่ตนมีสัญชาติ ข้อ ๔/๑[๔] ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การให้คนต่างด้าวที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีสามารถทำงานเป็นคนประจำเรือและอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ให้อธิบดีมีอำนาจออกประกาศกำหนดระยะเวลาและสถานที่ให้คนต่างด้าวมาลงทะเบียนเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ คนต่างด้าวจะต้องเป็นผู้ถือหนังสือเดินทาง (Passport) หรือหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) หรือเอกสารการเดินทาง (Travel Document) ซึ่งเอกสารดังกล่าวยังไม่หมดอายุ ให้นำความในข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๑๑ มาใช้บังคับกับการออกหนังสือคนประจำเรือตามข้อนี้โดยอนุโลม ให้หนังสือคนประจำเรือที่ออกตามข้อนี้มีอายุไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกหนังสือคนประจำเรือหรือใบแทน ข้อ ๕ การจัดทำทะเบียนประวัติตามข้อ ๔ อย่างน้อยต้องมีการจัดเก็บลายนิ้วมือและถ่ายรูป พร้อมระบุชื่อตัว ชื่อสกุล อายุ และในกรณีคนต่างด้าวไม่มีเอกสารหลักฐานตามข้อ ๔ ให้กรมประมงประสานกรมการปกครองเพื่อดำเนินการจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ข้อ ๖ เจ้าของเรือผู้ใดประสงค์จะให้คนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในเรือประมง ให้แจ้งต่อกรมประมง ณ สถานที่และระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนดพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) รายละเอียดเกี่ยวกับประเภทการทำการประมง ค่าจ้างและสวัสดิการที่จะจัดให้แก่คนประจำเรือ และจำนวนคนต่างด้าวที่ประสงค์จะรับทำงานในเรือประมง (๒) สำเนาใบอนุญาตทำการประมงของเจ้าของเรือ และสำเนาใบอนุญาตใช้เรือ กรณีเรือประมงมีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป (๓) สำเนาใบทะเบียนเรือไทยและสำเนาใบอนุญาตใช้เรือ กรณีเรือประมงมีขนาดน้อยกว่าสิบตันกรอส (๔) สำเนาใบอนุญาตให้ทำการงานในเรือที่ใช้ทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยสำหรับเรือประมงขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป และบัญชีคนทำการงานในเรือแนบท้ายใบอนุญาตฉบับล่าสุด ข้อ ๗ ในกรณีเจ้าของเรือมีเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๖ ถูกต้องและครบถ้วน ให้กรมประมงจัดทำบัญชีรายชื่อนายจ้างเพื่อให้คนต่างด้าวเลือกสมัครเข้าทำงานและให้เจ้าหน้าที่กำหนดวันและเวลาเพื่อให้เจ้าของเรือมาเจรจาตกลงกับคนต่างด้าว โดยให้พนักงานตรวจแรงงานและผู้ประสานงานด้านภาษาร่วมกันสัมภาษณ์คนต่างด้าวและตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาจ้างงาน ทั้งนี้ อาจให้มีผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน หรือผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ด้วยก็ได้ ในกรณีที่คนต่างด้าวแสดงความประสงค์จะทำงานในเรือประมงและเจ้าของเรือยินยอมจ่ายค่าจ้างและจัดสวัสดิการตามที่ได้ตกลงกัน ให้เจ้าของเรือพาคนต่างด้าวไปตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพมีอายุคุ้มครองอย่างน้อยหนึ่งปี ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๘ เว้นแต่คนต่างด้าวมีใบรับรองการตรวจสุขภาพและการประกันสุขภาพน้อยกว่าหนึ่งปี ให้ทำประกันสุขภาพให้มีอายุคุ้มครองครบหนึ่งปี โดยเจ้าของเรือเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในกรณีที่คนต่างด้าวไม่ประสงค์จะทำ งานในเรือประมงหรือไม่ผ่านการตรวจสุขภาพ ให้กรมประมงแจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อดำเนินการส่งคนต่างด้าวนั้นออกไปนอกราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองต่อไป เว้นแต่คนต่างด้าวมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๘ ให้อธิบดีออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่คนต่างด้าวเมื่อปรากฏว่า (๑) เจ้าของเรือจัดทำหนังสือสัญญาจ้างตามแบบที่กำหนดในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล โดยอย่างน้อยต้องมีการกำหนดให้จ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือนผ่านบัญชีธนาคาร โดยเจ้าของเรือเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการชำระค่าตอบแทนผ่านบัญชีธนาคาร และมีพนักงานตรวจแรงงานอย่างน้อยหนึ่งคนลงชื่อเป็นพยานในสัญญาจ้าง (๒) คนต่างด้าวมีใบรับรองการตรวจสุขภาพและการประกันสุขภาพมีอายุคุ้มครองอย่างน้อยหนึ่งปีตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๘ (๓) การจ้างคนประจำเรือซึ่งทำหน้าที่แรงงานประมงไม่เกินจำนวนที่เจ้าของเรือสามารถจ้างได้ตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตใช้เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย สำหรับเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป (๔) การจ้างคนประจำเรือซึ่งทำหน้าที่แรงงานประมงไม่เกินห้าคนสำหรับเรือประมงที่มีขนาดน้อยกว่าสิบตันกรอส ในกรณีที่กรมประมงไม่สามารถออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่คนต่างด้าวได้ในวันที่ยื่นคำขอให้ออกใบแทนตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อใช้แทนหนังสือคนประจำเรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ไม่เกินสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ออกใบแทน โดยเจ้าของเรือจะต้องนำใบแทนมาคืนเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับหนังสือคนประจำเรือ ข้อ ๙ เจ้าของเรือประมงที่มีขนาดตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามมาตรา ๘๑ (๓) ผู้ใดประสงค์จะให้ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีทำงานในเรือประมงต้องจัดให้ผู้นั้นยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือต่อกรมเจ้าท่าตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ในกรณีที่กรมเจ้าท่าไม่สามารถออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่ผู้ยื่นคำขอได้ในวันที่ยื่นคำขอให้ออกใบรับคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ เพื่อใช้แทนหนังสือคนประจำเรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องนำใบรับคำขอมาคืนเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับหนังสือคนประจำเรือ ข้อ ๑๐ หนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๘ ให้มีอายุไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกหนังสือคนประจำเรือหรือใบแทน หนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๙ ให้มีอายุตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ข้อ ๑๑ หนังสือคนประจำเรือหรือใบแทนตามข้อ ๘ ให้ถือว่าเป็นการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและใบอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ข้อ ๑๒ ในกรณีคนต่างด้าวซึ่งได้รับหนังสือคนประจำเรือเป็นคนต่างด้าวซึ่งไม่มีเอกสารหลักฐานตามข้อ ๔ (๒) ถึง (๗) ให้กระทรวงแรงงานเป็นผู้ประสานงานกับประเทศต้นทางเพื่อให้คนต่างด้าวเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติโดยเร็ว ข้อ ๑๓ คนต่างด้าวซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีผู้ใดมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวและประสงค์จะขอหนังสือคนประจำเรือให้ยื่นคำขอต่อกรมประมง ณ ศูนย์ ตามเวลาที่กรมประมงประกาศกำหนดพร้อมด้วยเอกสารหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) สำเนาใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (๒) สำเนาใบอนุญาตทำการประมงของเจ้าของเรือ สำหรับเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป (๓) สำเนาใบทะเบียนเรือ และสำเนาใบอนุญาตให้ใช้เรือสำหรับเรือประมงที่มีขนาดน้อยกว่าสิบตันกรอส (๔) สำเนาหนังสือสัญญาจ้างให้ทำงานในเรือประมงตามแบบที่กำหนดในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล ข้อ ๑๔ ในกรณีที่คนต่างด้าวมีเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๑๓ ถูกต้องและครบถ้วนให้อธิบดีจัดทำทะเบียนประวัติและออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่คนต่างด้าวนั้น ในกรณีที่กรมประมงไม่สามารถออกหนังสือคนประจำเรือให้แก่ผู้ยื่นคำขอได้ในวันที่ยื่นคำขอให้ออกใบรับคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้เพื่อใช้แทนหนังสือคนประจำเรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องนำใบรับคำขอมาคืนเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับหนังสือคนประจำเรือ ข้อ ๑๕ หนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๑๔ ให้มีอายุตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เว้นแต่ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตทำงานที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวซึ่งจะหมดอายุภายในวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ หรือวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๑ ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกหนังสือคนประจำเรือหรือใบรับคำขอ ข้อ ๑๖ คนต่างด้าวซึ่งได้รับหนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๑๓ ผู้ใดประสงค์จะต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ ให้ยื่นคำขอต่อกรมประมง ณ ศูนย์ ตามเวลาที่กรมประมงประกาศกำหนดพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) หนังสือคนประจำเรือที่หมดอายุ (๒) สำเนาใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (๓) สำเนาใบอนุญาตทำการประมงของเจ้าของเรือ สำหรับเรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไป (๔) สำเนาใบทะเบียนเรือ และสำเนาใบอนุญาตให้ใช้เรือสำหรับเรือประมงที่มีขนาดน้อยกว่าสิบตันกรอส (๕) สำเนาหนังสือสัญญาจ้างให้ทำงานในเรือประมงตามแบบที่กำหนดในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล ข้อ ๑๗ ในกรณีที่คนต่างด้าวมีเอกสารและหลักฐานตามที่กำหนดในข้อ ๑๖ ถูกต้องและครบถ้วน ให้อธิบดีต่ออายุหนังสือคนประจำเรือให้แก่คนต่างด้าวผู้นั้น โดยให้มีอายุตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว การต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ ให้ประทับตราวันที่ต่ออายุพร้อมกับลงนามในหนังสือคนประจำเรือเล่มเดิม หรือจะออกเล่มใหม่ก็ได้ ในกรณีที่กรมประมงไม่สามารถต่ออายุหนังสือคนประจำเรือให้แก่ผู้ยื่นคำขอได้ในวันที่ยื่นคำขอให้ออกใบรับคำขอตามแบบแนบท้ายประกาศนี้เพื่อใช้แทนหนังสือคนประจำเรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยผู้ยื่นคำขอจะต้องนำใบรับคำขอมาคืนเจ้าหน้าที่ในวันที่มารับหนังสือคนประจำเรือ ข้อ ๑๘ ในกรณีที่คนต่างด้าวประสงค์จะเปลี่ยนนายจ้าง ให้คนต่างด้าวและนายจ้างใหม่ยื่นคำขอแก้ไขรายการในหนังสือคนประจำเรือพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ อธิบดีจะอนุญาตให้เปลี่ยนนายจ้างได้ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (๑) นายจ้างเลิกจ้างหรือนายจ้างเสียชีวิต (๒) นายจ้างล้มละลาย (๓) นายจ้างกระทำทารุณกรรมหรือทำร้ายร่างกายลูกจ้าง (๔) นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างหรือกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน (๕) ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้เจ้าหน้าที่บันทึกการเปลี่ยนนายจ้างไว้ในหนังสือคนประจำเรือและในทะเบียนประวัติ ข้อ ๑๙ ในกรณีที่คนต่างด้าวประสงค์จะเพิ่มนายจ้าง ให้คนต่างด้าวและนายจ้างใหม่ยื่นคำขอแก้ไขในหนังสือคนประจำเรือพร้อมด้วยเอกสารหรือหลักฐานตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ อธิบดีจะอนุญาตให้เพิ่มนายจ้างได้เมื่อมีหนังสือยินยอมจากนายจ้างเดิม โดยให้มีการเพิ่มนายจ้างได้ไม่เกินสามคน ข้อ ๒๐ ในกรณีคนต่างด้าวมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ให้อธิบดีแจ้งการเปลี่ยนหรือเพิ่มนายจ้างตามข้อ ๑๘ หรือข้อ ๑๙ ให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวทราบและแก้ไขใบอนุญาตทำงานให้สอดคล้องกัน ให้เจ้าหน้าที่บันทึกการเพิ่มนายจ้างไว้ในหนังสือคนประจำเรือและในใบทะเบียนประวัติ ข้อ ๒๑ ในกรณีหนังสือคนประจำเรือสูญหายหรือเสียหาย ให้คนต่างด้าวหรือเจ้าของเรือยื่นขอรับใบแทนหนังสือคนประจำเรือที่สูญหายหรือเสียหาย ณ ศูนย์ ตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ โดยยื่นหนังสือคนประจำเรือที่เสียหายหรือหลักฐานการแจ้งความในกรณีสูญหายต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสูญหายหรือเสียหาย ในการออกใบแทนหนังสือคนประจำเรือให้ใช้แบบหนังสือคนประจำเรือเดิม โดยระบุคำว่า “ใบแทน” ไว้ที่กึ่งกลางด้านหน้าของหนังสือคนประจำเรือ ข้อ ๒๒ ผู้ยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๔ และข้อ ๑๓ และผู้ยื่นคำขอต่ออายุหนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๑๖ ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือคนประจำเรือและการต่ออายุตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ผู้ยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือตามข้อ ๙ ต้องชำระค่าใช้จ่ายในการจัดทำหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ข้อ ๒๓ ให้หนังสือคนประจำเรือที่กรมประมงออกตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการออกหนังสือคนประจำเรือก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ยังคงใช้ได้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวหมดอายุ หรืออีกหนึ่งปีนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับแล้วแต่ระยะเวลาใดจะยาวกว่า ข้อ ๒๔ ในกรณีที่เจ้าของเรือที่มีขนาดต่ำกว่าสามสิบตันกรอสผู้ใดมีคนประจำเรือซึ่งเป็นคนต่างด้าวทำงานอยู่ในเรือประมงอยู่ก่อนแล้วและผู้นั้นยังไม่มีหนังสือคนประจำเรือ ให้ดำเนินการยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนประจำเรือนั้นภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอหนังสือคนประจำเรือ (กรณีไม่มีใบอนุญาตทำงานตามข้อ ๔) ๒. คำขอหนังสือคนประจำเรือ (กรณีมีใบอนุญาตทำงานตามข้อ ๑๓) ๓. ใบรับคำขอหนังสือคนประจำเรือ ๔. ใบแทนหนังสือคนประจำเรือ ๕. คำขอใบแทน ขอแก้ไขรายการ ขอต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ ๖. ใบคำขอเพิ่มนายจ้าง ๗. ใบคำขอเปลี่ยนนายจ้าง ๘.[๕] คำขอหนังสือคนประจำเรือ (กรณีไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามข้อ ๔/๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๖] ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๔๐ ง/หน้า ๘/๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คนต่างด้าว” แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “ศูนย์” แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] ข้อ ๔/๑ เพิ่มโดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕] คำขอหนังสือคนประจำเรือ (กรณีไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามข้อ ๔/๑) เพิ่มโดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๗ ง/หน้า ๑/๓ ธันวาคม ๒๕๖๑
840609
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย ที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ นั้น เนื่องจากพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ แทน ประกอบกับเพื่อให้การควบคุมตรวจสอบเรือประมงและสินค้าประมงต่างประเทศมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงเห็นควรออกประกาศให้เป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ (๓) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะนำเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า และยื่นเอกสารประกอบแบบคำร้องล่วงหน้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่กำหนดไว้ท้ายประกาศฉบับนี้ (๑) เรือประมงที่มีสัญชาติราชอาณาจักรกัมพูชา และสหพันธรัฐมาเลเซีย ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า และยื่นเอกสารประกอบแบบคำร้องล่วงหน้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าสามชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ ทั้งนี้ ต้องก่อนที่เรือจะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล และแจ้งให้ผู้ควบคุมเรือหรือตัวแทนสายเรือทราบภายในหนึ่งชั่วโมงหลังจากที่ได้รับการแจ้งขอเข้าเทียบท่า หรือก่อนเวลาที่เรือจะเข้ามาในราชอาณาจักรสุดแต่เวลาใดจะเร็วกว่า (๒) เรือประมงที่มีสัญชาติสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า และยื่นเอกสารประกอบแบบคำร้องล่วงหน้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าหกชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ ทั้งนี้ ต้องก่อนที่เรือจะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล และแจ้งให้ผู้ควบคุมเรือหรือตัวแทนสายเรือทราบภายในสามชั่วโมงหลังจากที่ได้รับการแจ้งขอเข้าเทียบท่า หรือก่อนเวลาที่เรือจะเข้ามาในราชอาณาจักรสุดแต่เวลาใดจะเร็วกว่า (๓) เรือประมงที่มีสัญชาติสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า และยื่นเอกสารประกอบแบบคำร้องล่วงหน้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ ทั้งนี้ ต้องก่อนที่เรือจะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล และแจ้งให้ผู้ควบคุมเรือหรือตัวแทนสายเรือทราบภายในหกชั่วโมงหลังจากที่ได้รับการแจ้งขอเข้าเทียบท่า หรือก่อนเวลาที่เรือจะเข้ามาในราชอาณาจักรสุดแต่เวลาใดจะเร็วกว่า (๔) เรือประมงที่มิใช่ (๑) (๒) และ (๓) ต้องแจ้งข้อมูลตามแบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า และยื่นเอกสารประกอบแบบคำร้องล่วงหน้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบสองชั่วโมงก่อนเวลาที่เรือประมงจะเดินทางถึงท่าเทียบเรือ ทั้งนี้ ต้องก่อนที่เรือจะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล และแจ้งให้ผู้ควบคุมเรือหรือตัวแทนสายเรือทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากที่ได้รับการแจ้งขอเข้าเทียบท่า หรือก่อนเวลาที่เรือจะเข้ามาในราชอาณาจักรสุดแต่เวลาใดจะเร็วกว่า ข้อ ๓ ให้เรือประมงที่ได้รับอนุญาต เข้าเทียบท่า ณ ท่าเทียบเรือตามรายชื่อท่าเทียบเรือที่กำหนดแนบท้ายประกาศฉบับนี้ (๑) เรือประมงที่มีสัญชาติราชอาณาจักรกัมพูชา สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักรให้เข้าเทียบท่าเพื่อรับการตรวจสอบเรือ ณ ท่าเทียบเรือตามที่กำหนดตามรายชื่อท่าเทียบเรือแนบท้ายประกาศฉบับนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้ว ให้สามารถขนถ่ายสัตว์น้ำ ณ ท่าเทียบเรือที่จดทะเบียนเป็นท่าเทียบเรือประมงตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้ (๒) เรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย ที่มิได้นำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักรให้เข้าเทียบท่าเพื่อรับการตรวจสอบเรือ ณ ท่าเทียบเรือตามที่กำหนดตามรายชื่อท่าเทียบเรือแนบท้ายประกาศฉบับนี้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบแล้ว ให้สามารถดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์การเข้าเทียบท่า ณ ท่าเทียบเรือที่จดทะเบียนเป็นท่าเทียบเรือประมงตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ หรืออู่ คานเรือที่นำเรือประมงไปซ่อมแซมได้ (๓) เรือประมงที่มิใช่ (๑) ที่ประสงค์จะนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเข้ามาในราชอาณาจักรให้เข้าเทียบท่าเพื่อรับการตรวจสอบ และจอดเรือ ณ ท่าเทียบเรือตามที่กำหนดตามรายชื่อท่าเทียบเรือแนบท้ายประกาศฉบับนี้เท่านั้น ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. (แบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า) ADVANCE REQUEST FOR PORT ENTRY (กรณียื่นผ่านระบบ) ๒. (แบบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า) ADVANCE REQUEST FOR PORT ENTRY (กรณียื่นด้วยตนเอง) ๓. เอกสารประกอบคำร้องขอนำเรือประมงต่างประเทศเข้าเทียบท่า ๔.[๒] บัญชีรายชื่อท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/จัดทำ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๘๐ ง/หน้า ๒/๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ [๒] บัญชีรายชื่อท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๙ ง/หน้า ๔/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
842185
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2561 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความใน ๕.๔ ของข้อ ๕ ของประกาศกรมประมง เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งการครอบครอง แบบหนังสือกำกับการจาหน่าย การนำพยานเอกสารหรือหลักฐานมาพิสูจน์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การออกใบอนุญาตให้ครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองชั่วคราว การออกใบรับรองการครอบครองซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่ออานวยความสะดวกแก่ประชาชน อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้ง ณ กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กรณีการแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง ในเขตท้องที่จังหวัดเพชรบุรี ให้แจ้ง ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานประมงอำเภอเมืองเพชรบุรี (๒) สำนักงานประมงอำเภอบ้านแหลม (๓) สำนักงานประมงอำเภอท่ายาง (๔) สำนักงานประมงอำเภอชะอำ (๕) สำนักงานประมงอำเภอเขาย้อย (๖) สำนักงานประมงอำเภอแก่งกระจาน[๑] ข้อ ๒[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารแนบท้ายประกาศสานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์การตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการที่รับการส่งต่อเฉพาะด้านการทาหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดโคโรนารีผ่านสายสวน พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พรวิภา/จัดทำ ๑๗ มกราคม ๒๕๖๒ พัชรภรณ์/เพิ่มเติม ๓ กันยายน ๒๕๖๒ [๑] ข้อ ๑ วรรคสอง เพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๐๕ ง/หน้า ๑๓/๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๘๒ ง/หน้า ๓๐/๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
842667
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง (๑) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดเกาะมหาราช โซน ๑ เขตท้องที่บ้านหนองสามขา หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๒) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดเกาะมหาราช โซน ๒ เขตท้องที่บ้านโคกใหญ่ หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๓) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองบัวชุม โซนเหนือ เขตท้องที่บ้านหนองบัวชุม หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๓ แนบท้ายประกาศนี้ (๔) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองบัวชุม โซนกลาง เขตท้องที่บ้านหนองบัวชุม หมู่ที่ ๙ ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๔ แนบท้ายประกาศนี้ (๕) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองบัวชุม โซนใต้ เขตท้องที่บ้านหนองบัวชุม หมู่ที่ ๙ บ้านสว่างศรีมงคล หมู่ที่ ๓ และบ้านโคกครึม หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองหิน อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๖) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านทับปลา เขตท้องที่บ้านทับปลา หมู่ที่ ๗ ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๗) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดปากห้วยแดง เขตท้องที่บ้านหนองสรวง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๘) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านนาอวน โซนเหนือ เขตท้องที่บ้านนาอวน หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๘ แนบท้ายประกาศนี้ (๙) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านนาอวน โซนกลาง เขตท้องที่บ้านนาอวน หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๙ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๐) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านนาอวน โซนใต้ เขตท้องที่บ้านนาอวน หมู่ที่ ๕ตำบลหนองสรวง อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๐ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๑) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดท่าไร่แม่ไข่พ่อสมรัตน์ เขตท้องที่บ้านหนองสามขา หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๒) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดท่าไร่พ่อบุญค้ำ เขตท้องที่บ้านหนองสามขา หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๓) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านคำศรี เขตท้องที่บ้านคำศรี หมู่ที่ ๑๓ ตำบลหนองบัว อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๓ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๔) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองไผ่ โซน ๑ เขตท้องที่บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ ๑๔ ตำบลเสาเล้า อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๔ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๕) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองไผ่ โซน ๒ เขตท้องที่บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ ๑๔ ตำบลเสาเล้า อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๖) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโคกกลางเหนือ เขตท้องที่บ้านโคกกลางเหนือ หมู่ที่ ๕ ตำบลหัวหิน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๗) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโนนสมบูรณ์ โซน ๑ เขตท้องที่บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ ๖ ตำบลหัวหิน อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์ และบ้านโนนภักดี หมู่ที่ ๙ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๘) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโนนสมบูรณ์ โซน ๒ เขตท้องที่บ้านโนนภักดี หมู่ที่ ๙ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๘ แนบท้ายประกาศนี้ (๑๙) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านพักสุขใจ เขตท้องที่บ้านพักสุขใจ หมู่ที่ ๗ ตำบลภูดิน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๑๙ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๐) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโนนศาลา - นาขาม โซน ๑ เขตท้องที่บ้านโนนศาลา หมู่ที่ ๑๓ ตำบลภูดิน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๐ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๑) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโนนศาลา - นาขาม โซน ๒ เขตท้องที่บ้านนาขาม หมู่ที่ ๙ ตำบลภูดิน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๑ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๒) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านท่าเรือภูสิงห์ เขตท้องที่บ้านท่าเรือภูสิงห์ หมู่ที่ ๙ ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๓) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านโนนปลาขาว เขตท้องที่บ้านโนนปลาขาว หมู่ที่ ๘ ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๓ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๔) อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จุดบ้านหนองฝาย เขตท้องที่บ้านหนองฝาย หมู่ที่ ๕ ตำบลภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่หมายเลข ๒๔ แนบท้ายประกาศนี้ (๒๕)[๑] ลำน้ำชี จุดบ้านแจ้งจม เขตท้องที่บ้านแจ้งจม หมู่ที่ ๗ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๑/๕ (๒๖)[๒] ลำน้ำชี จุดบ้านหนองมะเกลือ เขตท้องที่บ้านหนองมะเกลือ หมู่ที่ ๕ ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๒/๕ (๒๗)[๓] ลำน้ำปาว จุดบ้านโคกศรี เขตท้องที่บ้านโคกศรี หมู่ที่ ๓ ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๓/๕ (๒๘)[๔] ลำน้ำปาว จุดบ้านสีถาน โซน ๑ เขตท้องที่บ้านสีถาน หมู่ที่ ๔ ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๔/๕ (๒๙)[๕] ลำน้ำปาว จุดบ้านสีถาน โซน ๒ เขตท้องที่บ้านสีถาน หมู่ที่ ๔ ตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่แนบท้ายหมายเลข ๕/๕ ข้อ ๒[๖] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่หมายเลข ๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒. แผนที่หมายเลข ๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๓. แผนที่หมายเลข ๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๔. แผนที่หมายเลข ๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๕. แผนที่หมายเลข ๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๖. แผนที่หมายเลข ๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๗. แผนที่หมายเลข ๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๘. แผนที่หมายเลข ๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๙. แผนที่หมายเลข ๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๐. แผนที่หมายเลข ๑๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๑. แผนที่หมายเลข ๑๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๒. แผนที่หมายเลข ๑๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ [เอกสารแนบท้าย] ๑๓. แผนที่หมายเลข ๑๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๔. แผนที่หมายเลข ๑๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๕. แผนที่หมายเลข ๑๕ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๖. แผนที่หมายเลข ๑๖ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๗. แผนที่หมายเลข ๑๗ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๘. แผนที่หมายเลข ๑๘ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๙. แผนที่หมายเลข ๑๙ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังพ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๐. แผนที่หมายเลข ๒๐ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๑. แผนที่หมายเลข ๒๑ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๒. แผนที่หมายเลข ๒๒ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๓. แผนที่หมายเลข ๒๓ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ๒๔. แผนที่หมายเลข ๒๔ ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒) [๗] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พรวิภา/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑ [๑] ข้อ ๑ (๒๕) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒) [๒] ข้อ ๑ (๒๖) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒) [๓] ข้อ ๑ (๒๗) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒) [๔] ข้อ ๑ (๒๘) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒) [๕] ข้อ ๑ (๒๙) เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒) [๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๑๑/๑๒ เมษายน ๒๕๖๐ [๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๓๐/๙ มีนาคม ๒๕๖๑
842669
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอดอนจาน อำเภอยางตลาด อำเภอกมลาไสย อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอนาคู อำเภอนามน อำเภอสมเด็จ อำเภอท่าคันโท อำเภอหนองกุงศรี และอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ๑.๑[๑] ให้เขตท้องที่อำเภอสามชัย อำเภอฆ้องชัย อำเภอร่องคำ อำเภอห้วยเม็ก และอำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. ข้อ ๒[๒] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒)[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พรวิภา/จัดทำ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑ [๑] ข้อ ๑ ๑.๑ เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือกุ้งเครย์ฟิช Procambarus clarkii หรือ Cherax spp. พ.ศ. ๒๕๖๑ (ฉบับที่ ๒) [๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๐๔ ง/หน้า ๑๔/๑๒ เมษายน ๒๕๖๐ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๓๑/๙ มีนาคม ๒๕๖๑
843836
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมาออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ ๑. เขตท้องที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ๒. เขตท้องที่อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ๓. เขตท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ๔. เขตท้องที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ๕. เขตท้องที่อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ๖. เขตท้องที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ๗. เขตท้องที่อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา ๘. เขตท้องที่อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา ๙. เขตท้องที่อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา ๑๐. เขตท้องที่อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ๑๑. เขตท้องที่อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา ๑๒.[๑] เขตท้องที่อำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา ๑๓.[๒] เขตท้องที่อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ข้อ ๒[๓] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ วิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๔] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พิมพ์มาดา/จัดทำ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ข้อ ๑ ๑๒. เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒] ข้อ ๑ ๑๓. เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครราชสีมา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๓๓ ง/หน้า ๒๒/๒๒ กันยายน ๒๕๖๐ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๒๘/๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑
853110
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ ขั้นตอนการขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา 174 พ.ศ. 2561 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามมาตรา ๑๗๔ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดว่า “ผู้ใดทำการประมงโดยใช้เรือประมงที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงสิบห้าตันกรอส และได้จดทะเบียนเป็นเรือสำหรับทำการประมง และได้รับอาชญาบัตรอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับอธิบดีจะอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้านต่อไปจนกว่าจะเลิกทำการประมงก็ได้” เพื่อให้การอนุญาตเป็นไปตามมาตรานี้ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประสงค์จะทำการประมงพื้นบ้านตามมาตรา ๑๗๔ ยื่นคำขอรับอนุญาต ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานประมงพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรมประมง (๒) จังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่มีอาณาเขตติดชายทะเล (๓) สถานที่และวิธีตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ข้อ ๒ ผู้ขอรับอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ (๑) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (๒) ต้องมีสิทธิทำการประมงตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย (๓) เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในเรือประมงที่จะขอรับใบอนุญาต (๔) เป็นผู้ที่เคยได้รับอาชญาบัตรหรือใบอนุญาตทำการประมง ในปีการประมง ๒๕๕๘ ข้อ ๓ เรือประมงที่จะใช้ประกอบการขอรับอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ ต้องเป็นเรือที่มีลักษณะดังนี้ (๑) เรือประมงต้องจดทะเบียนเรือไทยตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทย (๒) เรือประมงต้องมีใบอนุญาตใช้เรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย ประเภทการใช้ทำการประมง ซึ่งมีอายุอยู่ในวันที่ยื่นคำขอและในวันที่อนุญาต หรือมีหลักฐานการยื่นต่ออายุใบอนุญาตใช้เรือกับกรมเจ้าท่า (๓) เรือประมงต้องเป็นเรือที่มีขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสแต่ไม่ถึงสิบห้าตันกรอส (๔) ผ่านการตรวจทำอัตลักษณ์เรือแล้ว ข้อ ๔ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ ได้แก่ (๑) สำเนาอาชญาบัตร ใบอนุญาตทำการประมง ในปีการประมง ๒๕๕๘ (เฉพาะกรณีที่ไม่พบข้อมูลการได้รับอนุญาตในฐานข้อมูลกรมประมง) (๒) หนังสือมอบอำนาจ (ติดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมีการมอบอำนาจ) (๓) ภาพถ่ายหรือภาพถ่ายดิจิทัลของเรือประมง ๓.๑) ภาพอัตลักษณ์เรือที่เห็นชัดเจน จำนวน ๑ รูป ๓.๒) ภาพหัวเรือที่เห็นชื่อเรือ ทะเบียนเรือ จำนวน ๑ รูป ๓.๓) ภาพถ่ายเรือเต็มลำด้านซ้ายหรือด้านขวา จำนวน ๑ รูป ข้อ ๕ ขั้นตอนการยื่นคำขอและการอนุญาต (๑) ให้ผู้ประสงค์ขอรับอนุญาต ยื่นคำขอ ตามแบบคำขอรับอนุญาต ณ สถานที่ตามข้อ ๑ (๒) เมื่อได้รับคำขอรับอนุญาตแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขอรับอนุญาตและดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ กรณีที่คำขอรับอนุญาต เอกสารหรือหลักฐานไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน ให้แจ้งให้ผู้ขอรับอนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับอนุญาต หรือจัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กำหนด กรณีที่ผู้ขอรับอนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับอนุญาตหรือไม่จัดส่งเอกสารหรือหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วนภายในระยะเวลาตามวรรคสอง ให้ถือว่าคำขอรับอนุญาตนั้นเป็นอันยกเลิกนับแต่วันที่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว และให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งหนังสือให้ผู้รับคำขอรับหนังสืออนุญาตทราบ (๓) คำขอรับอนุญาตที่ถูกต้องครบถ้วนให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับคำขอเสนอประมงจังหวัดให้ความเห็นเสนออธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายพิจารณา (๔) อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย จะแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ขอรับอนุญาตภายในสามสิบวันนับแต่วันรับคำขออนุญาตซึ่งคำขอถูกต้องครบถ้วน (๕) ผู้ขอรับอนุญาตรับหนังสืออนุญาต ณ สถานที่ที่ยื่นคำขอ ข้อ ๖ ผู้รับอนุญาตต้องจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมง ที่ปรากฏอยู่ในหนังสืออนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือแนบท้ายประกาศฉบับนี้ การจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงตามวรรคหนึ่งจะต้องจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต[๑] กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้จัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมง ให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ[๒] ข้อ ๗ เงื่อนไขที่ผู้รับอนุญาตต้องถือปฏิบัติ (๑) หนังสืออนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ ที่กรมประมงออกให้ไม่สามารถโอนได้ (๒) ปฏิบัติตามประกาศที่ออก ตามมาตรา ๗๑ (๑) และประกาศอื่นที่เกี่ยวข้องที่กำหนดเกี่ยวกับการทำการประมงในทะเลชายฝั่ง (๓) เมื่อได้มีประกาศกำหนดให้การทำการประมงพื้นบ้านต้องได้รับใบอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตตามประกาศนี้มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วย (๔) เงื่อนไขอื่นที่ผู้อนุญาตกำหนดไว้ท้ายหนังสืออนุญาต ข้อ ๘ คำขอรับหนังสืออนุญาต ใบรับคำขอหนังสืออนุญาต และหนังสืออนุญาต ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙[๓] ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๔] หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือตาม มาตรา ๑๗๔ ๒. หนังสืออนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ ๓. บันทึกท้ายใบอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ ๔. คำขอรับอนุญาตทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๕] ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป พรวิภา/จัดทำ ๙ มีนาคม ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๑ วิวรรธน์/เพิ่มเติม ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ [๑] ข้อ ๖ วรรคสองเพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้านตามมาตรา ๑๗๔ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๒] ข้อ ๖ วรรคสามเพิ่มโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้านตามมาตรา ๑๗๔ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๒๔/๙ มีนาคม ๒๕๖๑ [๔] หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือ ตามมาตรา ๑๗๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้านตามมาตรา ๑๗๔ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๑๔/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
865329
ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดพังงา เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับคำขอเข้าใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์ การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2563
ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดพังงา เรื่อง กำหนดสถานที่อื่นเพื่อรับคำขอเข้าใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์ การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. ๒๕๖๓ ตามประกาศกรมประมง เรื่อง การจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล หรือผู้ซื้อกุ้งทะเล หรือผู้รับมอบกุ้งทะเลที่ประสงค์จะขายหรือส่งมอบกุ้งทะเลให้บุคคลอื่น ต้องจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับมอบกุ้งทะเล โดยการยื่นคำขอเข้าใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ ณ สำนักงานประมงจังหวัดพังงาและศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา ได้ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป นั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ ของประกาศกรมประมง เรื่อง การจัดทำหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. ๒๕๖๓ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ประมงจังหวัดพังงาจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การยื่นคำขอเข้าใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ การยื่นคำขอเปลี่ยนแปลงข้อมูล และการยื่นคำขอยกเลิกการใช้งาน ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งพังงา สำนักงานประมงจังหวัดพังงา หรือสถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) สำนักงานประมงอำเภอคุระบุรี (๒) สำนักงานประมงอำเภอตะกั่วทุ่ง (๓) สำนักงานประมงอำเภอตะกั่วป่า (๔) สำนักงานประมงอำเภอทับปุด (๕) สำนักงานประมงอำเภอท้ายเหมือง (๖) สำนักงานประมงอำเภอเมืองพังงา ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สุนิตติ์ โรจน์พิทยากูล ประมงจังหวัดพังงา อัมพิกา/จัดทำ ๑ กันยายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๙๓ ง/หน้า ๑๓/๒๑ สิงหาคม ๒๕๖๓
864839
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำลาย ขาย หรือดำเนินการอื่นกับเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดลงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. 2563
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำลาย ขาย หรือดำเนินการอื่นกับเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดลงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๐๓ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำลาย ขาย หรือดำเนินการอื่นกับเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดลงในที่จับสัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ ข้อ ๒ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พบเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใด ที่มีการติดตั้ง ปลูกสร้างลงในที่จับสัตว์น้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือได้รับอนุญาตแต่ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามที่ได้รับอนุญาต หรือปฏิบัติผิดไปจากเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาต และไม่ปรากฏตัวบุคคลซึ่งติดตั้งเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดดังกล่าว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ออกคำสั่งแล้วนำไปปิดประกาศแจ้งให้ผู้ติดตั้งหรือปลูกสร้าง เครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดดำเนินการรื้อถอนภายในเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน (๒) เมื่อครบกำหนดตาม (๑) แล้วไม่มีการดำเนินการ ให้รื้อถอนเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดดังกล่าว มาเก็บไว้ ณ สถานที่เก็บรักษาของหน่วยงาน หรือสถานที่อื่น ซึ่งมีความปลอดภัยในการเก็บรักษา โดยให้ถ่ายภาพก่อนการรื้อถอน ขณะทำการรื้อถอน และภายหลังการรื้อถอนให้ชัดเจน (๓) ตรวจนับ จัดทำบัญชี ถ่ายภาพ เครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดที่ได้มีการรื้อถอนมา โดยแยกตามวัน เวลา สถานที่รื้อถอน จำนวน ตามประเภทของเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดที่มีการรื้อถอนมาดังกล่าว (๔) นำบัญชี ภาพถ่ายไปลงรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นหลักฐาน และร้องทุกข์ เพื่อให้พนักงานสอบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ (๕) จัดทำบัญชีค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน เพื่อใช้ในการเรียกร้องค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ (ถ้าหากมี) ข้อ ๓ เมื่อครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีการรื้อถอนเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดดังกล่าว และไม่มีเจ้าของมาแสดงตนเพื่อขอคืน ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ดำเนินการทำลาย หรือขาย หรือดำเนินการอื่นใดตามหลักเกณฑ์ และวิธีการทำลาย ขาย หรือดำเนินการอื่นใดกับเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดที่ระบุไว้ท้ายประกาศนี้ ตามระยะเวลาที่เหมาะสมแต่ไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง การขายเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใด ให้ดำเนินการตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขายทอดตลาดเรือประมงโดยอนุโลม การดำเนินการโดยวิธีการอื่น นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดไว้ท้ายประกาศนี้ หรือเป็นชนิดของเครื่องมือทำการประมงที่มิได้ระบุไว้ท้ายประกาศนี้ ให้ขอความเห็นชอบต่ออธิบดีกรมประมงเป็นกรณีไป (๒) รายงานให้กรมประมงทราบถึงสภาพของเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใด ทุกหกเดือน ข้อ ๔ กรณีที่มีเจ้าของมาแสดงตนเพื่อขอคืนเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดที่ได้มีการรื้อถอนมา ให้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป ส่วนของกลางดังกล่าวให้เก็บรักษาไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ถ้าเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดที่ได้มีการรื้อถอนมาตามวรรคหนึ่ง หน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายจะเกินส่วนกับค่าของทรัพย์สินนั้น ให้นำเครื่องมือ ทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใดออกขายทอดตลาด เมื่อขายแล้วได้เงินเป็นจำนวนสุทธิเท่าใด ให้ถือไว้แทนตัวทรัพย์สินนั้น การขายทอดตลาดเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใด ให้ดำเนินการตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการขายทอดตลาดเรือประมงโดยอนุโลม ข้อ ๕ เครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใด ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รื้อถอนมาก่อนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการตามประกาศฉบับนี้ ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ มีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์และวิธีการทำลาย ขาย หรือดำเนินการอื่นกับเครื่องมือทำการประมง สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งอื่นใด (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) อัมพิกา/จัดทำ ๑ กันยายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๘๗ ง/หน้า ๖/๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๓
860433
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสิงห์บุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2563
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสิงห์บุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และแก้ไขเพิ่มเติม คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสิงห์บุรี ออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง (๑) แม่น้ำเจ้าพระยา เขตท้องที่อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ตามแผนที่แนบท้าย แผนที่หมายเลข ๑/๕ ที่แนบท้ายประกาศ (๒) แม่น้ำเจ้าพระยา เขตท้องที่อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี ตามแผนที่แนบท้าย แผนที่หมายเลข ๒/๕ ที่แนบท้ายประกาศ (๓) แม่น้ำน้อย เขตท้องที่อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ตามแผนที่แนบท้าย แผนที่หมายเลข ๓/๕ ที่แนบท้ายประกาศ (๔) แม่น้ำน้อย เขตท้องที่อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี ตามแผนที่แนบท้าย แผนที่หมายเลข ๔/๕ ที่แนบท้ายประกาศ (๕) แม่น้ำน้อย เขตท้องที่อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี ตามแผนที่แนบท้าย แผนที่หมายเลข ๕/๕ ที่แนบท้ายประกาศ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดสิงห์บุรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสิงห์บุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/ธนบดี/จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๒๐/๙ มิถุนายน ๒๕๖๓
860403
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลำพูน เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้า พ.ศ. 2563
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลำพูน เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยที่ที่รักษาพืชพันธุ์ที่ออกตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ ในเขตท้องที่จังหวัดลำพูนได้มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งเป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่และข้อกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ประกอบกับความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลำพูน โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศดังต่อไปนี้ (๑) ประกาศที่ ๑/๒๔๙๓ เรื่อง ประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ในท้องที่จังหวัดลำพูน ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ (๒) ประกาศที่ ๑/๒๔๙๕ เรื่อง ประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ในท้องที่จังหวัดลำพูน ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ (๓) ประกาศที่ ๓/๒๔๙๕ เรื่อง ประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ในท้องที่จังหวัดลำพูน ลงวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ (๔) ประกาศที่ ๕๙/๒๔๙๗ เรื่อง ประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ในท้องที่จังหวัดลำพูน ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ (๕) ประกาศจังหวัดลำพูน เรื่อง กำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ข้อ ๒ ให้ยกเลิกที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ จำนวน ๓ แห่ง ดังนี้ (๑) ที่จับสัตว์น้ำลำน้ำแม่สาร บริเวณหน้าวัดเสาหิน ท้องที่ หมู่ที่ ๔ ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (๒) ที่จับสัตว์น้ำลำน้ำแม่ทา บริเวณฝายกิ่วมื่น ท้องที่ หมู่ที่ ๕ ๙ และ ๑๓ ตำบลเมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน (๓) ที่จับสัตว์น้ำลำน้ำลี้ บริเวณหน้าวัดป่าหก ท้องที่ หมู่ที่ ๗ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ข้อ ๓ ให้ที่จับสัตว์น้ำดังต่อไปนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (๑) ที่จับสัตว์น้ำคลองปิงง่า บริเวณหน้าวัดศรีบุญยืน ท้องที่ หมู่ที่ ๓ ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๑/๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๒) ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำปิง บริเวณหน้าวัดบุปผาราม (สบปะ) ท้องที่ หมู่ที่ ๙ ตำบลริมปิง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๒/๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๓) ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำลี้ บริเวณหน้าวัดป่าหก ท้องที่ หมู่ที่ ๗ ตำบลลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๓/๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๔) ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำปิง บริเวณแก่งก้อ (วังสบก้อ) ท้องที่ หมู่ที่ ๓ และ ๔ ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๔/๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๕) ที่จับสัตว์น้ำคูเมืองลำพูนทั้งหมด บริเวณท้องที่เขตเทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๕/๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๖) ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำกวง บริเวณสะพานท่านางถึงสะพานท่าขาม ท้องที่ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๖/๗ แนบท้ายประกาศนี้ (๗) ที่จับสัตว์น้ำแม่น้ำกวง บริเวณวังหัวกวงถึงวังตอง ท้องที่ หมู่ที่ ๓ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๗/๗ แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดไปจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ พงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดลำพูน [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดลำพูน เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/ธนบดี/จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๘/๙ มิถุนายน ๒๕๖๓
860401
ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2563
ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๖๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ มีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/ธนบดี/จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๕ ง/หน้า ๑๐/๙ มิถุนายน ๒๕๖๓
860389
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้า พ.ศ. 2563
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดบริเวณบึงบอระเพ็ดเป็นประเภทที่รักษาพืชพันธุ์และกำหนดเครื่องมือที่อนุญาตให้ใช้ทำการประมง ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ เนื่องจากประกาศดังกล่าวกำหนดให้พื้นที่บางส่วนของที่รักษาพันธุ์สามารถทำการประมงได้ด้วยเครื่องมือบางชนิด ซึ่งขัดกับความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่กำหนดห้ามมิให้ทำการประมงในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงประกาศฯ ให้มีความสอดคล้องกับข้อกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ประกอบกับความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดบริเวณบึงบอระเพ็ดเป็นประเภทที่รักษาพืชพันธุ์และกำหนดเครื่องมือที่อนุญาตให้ใช้ทำการประมง ลงวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๑๕ ข้อ ๒ ให้ที่จับสัตว์น้ำบึงบอระเพ็ด บริเวณท้องที่ตำบลกลางแดด ตำบลปากน้ำโพ ตำบลแควใหญ่ ตำบลเกรียงไกร ตำบลพระนอน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ตามแผนที่แสดงแนวเขตบริเวณที่กำหนดแนบท้ายประกาศนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ อรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดนครสวรรค์ เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/ธนบดี/จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๓๔/๘ มิถุนายน ๒๕๖๓
860387
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้า พ.ศ. 2563
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยที่ที่รักษาพืชพันธุ์ที่ออกตามความในมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. ๒๔๙๐ ในเขตท้องที่จังหวัดตรังได้มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งเป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำ ประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และข้อกฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ประกอบกับความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศ ดังต่อไปนี้ (๑) ประกาศจังหวัดตรัง ที่ ๒๓/๒๕๐๒ เรื่อง ประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ลงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๐๒ (๒) ประกาศจังหวัดตรัง ที่ ๔๖/๒๕๐๔ เรื่อง ประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๐๔ (๓) ประกาศจังหวัดตรัง ที่ ๕๐๓/๒๕๐๖ เรื่อง ประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๐๖ (๔) ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง ประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๑๑ (๕) ประกาศจังหวัดตรัง เรื่อง ประกาศกำหนดที่จับสัตว์น้ำประเภทที่รักษาพืชพันธุ์ ลงวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๒ ข้อ ๒ ให้ที่จับสัตว์น้ำดังต่อไปนี้ เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (๑) ที่จับสัตว์น้ำห้วยน้ำใส บริเวณท้องที่ หมู่ที่ ๒ ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๑/๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๒) ที่จับสัตว์น้ำหนองควนสวรรค์ บริเวณท้องที่ หมู่ที่ ๘ ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๒/๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๓) ที่จับสัตว์น้ำหนองปิด บริเวณท้องที่ หมู่ที่ ๑ ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๓/๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๔) ที่จับสัตว์น้ำบริเวณถ้ำเขาช้างหาย บริเวณท้องที่ หมู่ที่ ๕ ตำบลนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๔/๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๕) ที่จับสัตว์น้ำสระกะพังสุรินทร์ บริเวณท้องที่ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๕/๖ แนบท้ายประกาศนี้ (๖) ที่จับสัตว์น้ำสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ (บึงทุ่งน้ำผุด) บริเวณท้องที่ ตำบลนาตาล่วง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๖/๖ แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ลือชัย เจริญทรัพย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดตรัง เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/ธนบดี/จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง/หน้า ๓๒/๘ มิถุนายน ๒๕๖๓
848692
ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ มีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/จัดทำ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๓๐๗ ง/หน้า ๖/๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๒
829310
ประกาศกรมประมง เรื่อง ยกเลิกท่าเทียบเรือประมง ประเภทกิจการแพปลาที่เรือประมงที่ทำการประมงพาณิชย์สามารถขนถ่ายสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าได้ พ.ศ. 2562
ประกาศกรมประมง เรื่อง ยกเลิกท่าเทียบเรือประมง ประเภทกิจการแพปลาที่เรือประมงที่ทำการประมงพาณิชย์ สามารถขนถ่ายสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าได้ พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยที่กรมประมงได้ออกประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อท่าเทียบเรือที่ได้จดทะเบียนเป็นท่าเทียบเรือประมง และกิจการแพปลาที่เรือประมง ที่ทำการประมงพาณิชย์สามารถขนถ่ายสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าได้ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ กำหนดรายชื่อท่าเทียบเรือประมง ประเภทกิจการแพปลา จำนวน ๔ แห่ง แต่เนื่องจากปัจจุบันพบว่ากิจการแพปลาชื่อ สะพานปลากรุงเทพ มีลักษณะเป็นตลาดกลางสินค้าสัตว์น้ำ ไม่มีเรือประมงเข้าเทียบท่า จึงสมควรยกเลิกรายชื่อท่าเทียบเรือประมง กิจการแพปลา ท้ายประกาศกรมประมงดังกล่าวให้เป็นปัจจุบันสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนไป จำนวน ๑ แห่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกท่าเทียบเรือ กิจการแพปลาชื่อ สะพานปลากรุงเทพ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ ๑๔๙ ถนนเจริญกรุง ๕๘ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อท่าเทียบเรือที่ได้จดทะเบียนเป็นท่าเทียบเรือประมง และกิจการแพปลาที่เรือประมงที่ทำการประมงพาณิชย์ สามารถขนถ่ายสัตว์น้ำหรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นท่าได้ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๖๑ ง/หน้า ๑๓/๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒
828324
ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562
ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๒ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) สุภาทิพย์/จัดทำ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๙/๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
826802
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอต่อระยะเวลาทำการประมง คำขอเพิ่มเครื่องมือที่จะใช้ทำการประมง คำขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่อนุญาตให้ใช้ทำการประมง คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาต คำขอรับใบแทนใบอนุญาต คำขอเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2562
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอต่อระยะเวลาทำการประมง คำขอเพิ่มเครื่องมือ ที่จะใช้ทำการประมง คำขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่อนุญาตให้ใช้ทำการประมง คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาต คำขอรับใบแทนใบอนุญาต คำขอเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๖ ของกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่งแห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอรับใบแทนใบอนุญาตและคำขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงเพิ่มเครื่องมือที่จะใช้ทำการประมงหรือเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ (๒) ประกาศกรมประมง เรื่อง ให้ยกเลิกแบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอรับใบแทนใบอนุญาตและคำขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือที่ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงเพิ่มเครื่องมือที่จะใช้ทำการประมงหรือเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒ แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาต คำขอต่อระยะเวลาทำการประมง คำขอเปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่อนุญาตให้ใช้ทำการประมง คำขอเพิ่มเครื่องมือที่จะใช้ทำการประมง คำขอเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทย คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาต คำขอรับใบแทนใบอนุญาต และเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอรับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทย (แบบ คนท. ๐๑) ๒. ใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทย ๓. คำขอต่อระยะเวลาทำการประมง เปลี่ยนแปลงเครื่องมือทำการประมงที่อนุญาตให้ใช้ทำการประมงเพิ่มเครื่องมือที่จะใช้ทำการประมง หรือเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่ที่ประสงค์จะทำการประมงนอกน่านน้ำไทย (แบบ คนท ๐๒) ๔. คำขอแก้ไขรำยกำรในใบอนุญำตทำกำรประมงนอกน่ำนนำไทย (แบบ คนท ๐๓) ๕. คำขอใบแทนใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทย (แบบ คนท ๐๔) ๖. หนังสือรับรองตนเองกรณีเรือประมงที่เคยถูกใช้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๒๗ ง/หน้า ๑๔/๓๐ มกราคม ๒๕๖๒
826800
ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดทำเครื่องหมายประจำเครื่องมือประมงและเครื่องหมายประจำอุปกรณ์ช่วยทำการประมง พ.ศ. 2562
ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์ในการจัดทำเครื่องหมายประจำเครื่องมือประมงและเครื่องหมายประจำอุปกรณ์ช่วยทำการประมง พ.ศ. ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ (๓) ของกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “อุปกรณ์ช่วยทำการประมง” หมายความว่า อุปกรณ์ที่ใช้สนับสนุนเครื่องมือทำการประมงไม่ว่าจะติดอยู่กับตัวเรือหรือไม่ก็ตาม เช่น แพล่อปลา ทุ่นลอยวิทยุ เรือขนาดเล็กที่เป็นส่วนประกอบในการทำประมงที่บรรทุกออกไปพร้อมกับเรือประมงหรืออุปกรณ์อื่นใดตามที่องค์การระหว่างประเทศกำหนด ข้อ ๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการประมงนอกน่านน้ำไทยต้องจัดทำเครื่องหมายของเครื่องมือประมงและอุปกรณ์ช่วยทำการประมงดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเครื่องมือประมงที่มีการใช้สายคร่าว (ก) ประเภทอวนติดตา เบ็ดราว ลอบที่มีสายคร่าว ให้ทำเครื่องหมายที่ปลายสายคร่าวของเครื่องมือประมง และทุ่นธง ทุ่นเรดาร์ และทุ่นไฟบริเวณจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของสายคร่าวของเครื่องมือนั้น (ข) ประเภทอวนลาก และอวนล้อมจับ ให้จัดทำเครื่องหมายบริเวณหูอวนคร่าวบนด้านใดด้านหนึ่ง (๒) กรณีเครื่องมือประมงหรืออุปกรณ์ช่วยทำการประมงชนิดประจำที่ ซึ่งใช้วัสดุถ่วงกับพื้นทะเล เช่น ลอบเดี่ยว แพล่อสัตว์น้ำ ให้ทำเครื่องหมายที่เครื่องมือประมงและอุปกรณ์ช่วยทำการประมงชนิดประจำที่นั้น และทุ่นธง ทุ่นเรดาร์ และทุ่นไฟ (๓) กรณีแพล่อสัตว์น้ำประเภทปล่อยลอย จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่งดาวเทียมด้วย ข้อ ๓ รูปแบบเครื่องหมายประจำเครื่องมือประมงและอุปกรณ์ช่วยทำการประมง (๑) ให้จัดทำเครื่องหมายประจำเครื่องมือประมงและอุปกรณ์ช่วยทำการประมง โดยใช้วัสดุที่แข็งแรง ทนทาน โดยปรากฏตัวอักษรอย่างชัดเจน (๒) เครื่องหมายเครื่องมือประมงและอุปกรณ์ช่วยทำการประมง ประกอบด้วยตัวอักษรจำนวน ๓ แถว ดังต่อไปนี้ (ก) ตัวอักษรแถวที่ ๑ ระบุชื่อเรือประมง (ข) ตัวอักษรแถวที่ ๒ ระบุสัญญาณเรียกขาน หากไม่มีสัญญาณเรียกขานให้ระบุเครื่องหมายประจำเรือประมง (ค) ตัวอักษรแถวที่ ๓ ใช้ตัวเลขอารบิกแสดงลาดับเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยทำการประมงโดยไม่ซ้ำกันในแต่ละเครื่องมือประมงและอุปกรณ์ช่วยทำการประมง โดยเริ่มต้นจาก ๐๐๑ ในกรณีทุ่นลอย ทุ่นธง ทุ่นเรดาร์ และทุ่นไฟ ให้จัดทำเครื่องหมายโดยปรากฏรายละเอียดตาม (ก) และ (ข) เท่านั้น ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๒๗ ง/หน้า ๑๒/๓๐ มกราคม ๒๕๖๒
826798
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. 2562
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ (๔) ของกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย พ.ศ. ๒๕๖๒ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ หลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในรัฐชายฝั่งหรือองค์การระหว่างประเทศ ประกอบด้วย (๑) กฎระเบียบขององค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการทำการประมงนอกน่านน้ำ (๒) การใช้แอพพลิเคชั่นระบบรายงานอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Reporting System; ERS) ในการทำประมงนอกน่านน้ำไทย (๓) ระบบติดตามเรือ (Vessel Monitoring System; VMS) กับการควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมงนอกน่านน้ำไทย (๔) หลักปฏิบัติกรณีระบบติดตามเรือขัดข้อง (๕) หลักปฏิบัติกรณีระบบรายงานอิเล็กทรอนิกส์ขัดข้อง (๖) การบันทึกการทำประมงในสมุดบันทึกการทำประมง (Logbook) (๗) หลักปฏิบัติในการแจ้งเข้าออกของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย (๘) การจัดทำฉลากชื่อสัตว์น้ำ (๙) การจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมง (๑๐) การจัดทำเครื่องหมายประจำเครื่องมือประมงและเครื่องหมายประจำ อุปกรณ์ช่วยทำการประมง (๑๑) การจัดให้มีผู้สังเกตการณ์บนเรือ (๑๒) ข้อปฏิบัติในการขนถ่ายสัตว์น้ำในพื้นที่ทะเลหลวง และเขตรัฐชายฝั่งต่าง ๆ และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงนอกน่านน้ำ ข้อ ๒ คุณสมบัติของผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ เจ้าของเรือประมง ผู้ควบคุมเรือประมง ข้อ ๓ ผู้ที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำการประมงนอกน่านน้ำไทยที่กรมประมงจัดขึ้นก่อนที่ประกาศฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ ให้ถือว่าผ่านการอบรมหลักสูตรการอบรมความรู้เกี่ยวกับการทำการประมงนอกน่านน้ำไทยตามประกาศนี้ ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง พัชรภรณ์/ธนบดี/จัดทำ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๒๗ ง/หน้า ๑๑/๓๐ มกราคม ๒๕๖๒
826134
ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือน้ำมันที่ทำการขนถ่ายน้ำมันในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พ.ศ. 2562
ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือน้ำมัน ที่ทำการขนถ่ายน้ำมันในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมง ในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พ.ศ. ๒๕๖๒[๑] เนื่องด้วยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกตามความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) อันทำให้ประเทศไทยมีสิทธิเข้าไปทำการขนถ่ายน้ำมันในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงดังกล่าวกรมประมงจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการขนถ่ายน้ำมันในบริเวณดังกล่าว ทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือน้ำมันที่จะต้องปฏิบัติหากเข้าไปทำการขนถ่ายน้ำมันในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เรือน้ำมันที่ทำการขนถ่ายน้ำมันในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) จะต้องเป็นเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามกรอบความตกลงดังกล่าวซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ www.siofa.org เจ้าของเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามวรรคหนึ่ง ห้ามมีส่วนร่วม ให้การสนับสนุน หรือเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการประมง กับเรือไร้สัญชาติ เรือที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว หรือเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries greement; SIOFA) ข้อ ๒ ให้เจ้าของเรือตามข้อ ๑ วรรคหนึ่ง แจ้งการเข้าออกจากพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) ตามแบบฟอร์ม Requirements for vessel entry and exit notifications (กปน. ๑๔) ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงที่มีการเข้าออกจากพื้นที่ ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] [email protected] และ [email protected] ข้อ ๓ ผู้ควบคุมเรือน้ำมันที่จะทำการขนถ่ายน้ำมัน คนประจำเรือ หรือเสบียงในทะเล จะต้องแจ้งการขนถ่ายดังกล่าวให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transfer At Sea Notification (กปน. ๘) แนบท้ายประกาศนี้ เมื่อดำเนินการขนถ่ายตามวรรคหนึ่งเสร็จสิน ต้องรายงานการขนถ่ายดังกล่าวภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transfer At Sea Declaration (กปน. ๘A) แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ห้ามทิ้งพลาสติก เชือก อวน ถุงขยะพลาสติก และเถ้าจากเตาเผาขยะที่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกลงในทะเล โดยให้เก็บไว้บนเรือจนกว่าจะสามารถนำกลับมาทิ้งที่ท่าเทียบเรือได้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ทิ้งพลาสติกในทะเลเพื่อความปลอดภัยของเรือและคนที่อยู่บนเรือหรือการช่วยชีวิตในทะเล ทั้งนี้ การปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ผู้ควบคุมเรือปฏิบัติตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการตรวจเรือเพื่อป้องกันมลพิษจากขยะ พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๕ หากพบเห็นเรือไร้สัญชาติหรือเรือที่มิได้อยู่ในบัญชีเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามกรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) กำลังทำการประมง ขนถ่ายสัตว์น้ำหรือกระทำกิจกรรมใด ๆ ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว ผู้ควบคุมเรือต้องแจ้งข้อมูลให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง ทราบ ข้อมูลที่ต้องแจ้งตามวรรคหนึ่ง เช่น ชื่อเรือ เลขทะเบียนเรือ สัญญาณเรียกขาน รัฐเจ้าของธง วัน เวลา พิกัดที่พบเรือ และรูปถ่ายเรือ เป็นต้น ข้อ ๖ การแจ้งและการรายงานตามข้อ ๓ และข้อ ๕ ให้แจ้งหรือรายงานผ่านทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง หรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจากทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม ข้อ ๗ เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติขององค์การบริหารจัดการประมงภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) มีการปรับปรุงแก้ไขตามมติที่ประชุมประเทศภาคีสมาชิกเป็นประจำทุกปี ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการขนถ่ายน้ำมันในพื นที่ ตามข้อ ๑ จึงควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. พื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA) ๒. แบบฟอร์ม SIOFA TRANSFER AT SEA NOTIFICATION (กปน. ๘) ๓. แบบฟอร์ม SIOFA TRANSFER AT SEA DECLARATION (กปน. ๘A) ๔. แบบฟอร์ม Requirements for vessel entry and exit notifications (กปน. ๑๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๓๕/๑๘ มกราคม ๒๕๖๒
826132
ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทยที่ทำการประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบควาตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พ.ศ. 2562
ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทย ที่ทำการประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมง ในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พ.ศ. ๒๕๖๒[๑] เนื่องด้วยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกตามความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) อันทำให้ประเทศไทยมีสิทธิเข้าไปทำการประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงดังกล่าว ประกอบกับในปี ๒๕๖๑ มีการประชุมภาคีสมาชิก SIOFA ประจำปี ได้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมติบางประการเพื่อให้มีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อมติดังกล่าว กรมประมงจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ประสงค์จะออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยในบริเวณดังกล่าวทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทยที่จะต้องปฏิบัติ หากเข้าไปทำการประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือประมงนอกน่านน้ำไทยที่ทำประมงในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “สัตว์น้ำที่ติดโดยบังเอิญ” หมายความว่า สัตว์น้ำชนิดที่ไม่ใช่เป้าหมายของเครื่องมือประมงนั้นและเป็นสัตว์น้ำที่มิได้อยู่ในกรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) รวมถึงสัตว์น้ำอนุรักษ์ตามที่องค์การระหว่างประเทศกำหนดและสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่ประเทศไทยกำหนด ข้อ ๓ พื้นที่และชนิดของสัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ เรือประมงที่ทำการประมง ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำขึ้นจากเรือในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) จะต้องเป็นเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามกรอบความตกลงดังกล่าว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ http://www.siofa.org เจ้าของเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามวรรคหนึ่ง ห้ามมีส่วนร่วม ให้การสนับสนุน หรือเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการประมงกับเรือไร้สัญชาติ เรือที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว หรือเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) ข้อ ๕ เรือประมงทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตตามข้อ ๔ จะได้รับการจัดสรรจำนวนวันในการลงแรงประมงไม่เกินหนึ่งหมื่นแปดพันหกร้อยวันต่อปี ข้อ ๖ ให้เจ้าของเรือตามข้อ ๔ วรรคหนึ่ง แจ้งการเข้าออกจากพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) ตามแบบฟอร์ม Requirements for vessel entry and exit notifications (กปน.๑๔) ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงที่มีการเข้าออกจากพื้นที่ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected], [email protected] และ [email protected] ข้อ ๗ เรือประมงอวนลาก ให้ทำการประมงได้เฉพาะในบริเวณพื้นที่ตามพิกัดแนบท้ายประกาศนี้ หากลากอวนได้ปะการังมีชีวิตมากกว่าหกสิบกิโลกรัมขึ้นไป หรือฟองน้ำมีชีวิตมากกว่าเจ็ดร้อยกิโลกรัมต่อการลากอวนหนึ่งครั้ง ต้องย้ายตำแหน่งทำการประมงให้ห่างจากที่เดิมอย่างน้อยสองไมล์ทะเลโดยวัดจากแนวลากอวนด้านหนึ่งด้านใด ข้อ ๘ เรือประมงเบ็ดราว หากมีการทำการประมงได้ปะการังมีชีวิตหรือฟองน้ำมีชีวิตมากกว่าสิบกิโลกรัมต่อเบ็ดจำนวนหนึ่งพันตัวหรือต่อความยาวสายคร่าวหนึ่งพันสองร้อยเมตร แล้วแต่ว่าจำนวนตัวเบ็ดหรือความยาวสายคร่าวอย่างใดอย่างหนึ่งจะเข้าเงื่อนไขก่อน ให้ย้ายพื้นที่ทำการประมงจากจุดเดิมออกไปในรัศมีไม่น้อยกว่าหนึ่งไมล์ทะเลนับจากจุดกึ่งกลางของแนวการวางเบ็ด ข้อ ๙ เรือประมงที่ทำการประมงโดยใช้ลอบที่มีสายคร่าวซึ่งวางต่อเนื่องกัน หากได้ปะการังมีชีวิตหรือฟองน้ำมีชีวิตมากกว่าสิบกิโลกรัมต่อความยาวสายคร่าวหนึ่งพันสองร้อยเมตร หรือทำการประมงโดยใช้ลอบเดี่ยว หากได้ปะการังมีชีวิตหรือฟองน้ำมีชีวิตมากกว่าสิบกิโลกรัมต่อลอบหนึ่งลูก ให้ย้ายพื้นที่ทำการประมงจากจุดเดิมออกไปในรัศมีไม่น้อยกว่าหนึ่งไมล์ทะเลนับจากจุดกึ่งกลางของสายคร่าวหรือจุดกึ่งกลางของลอบ ข้อ ๑๐ ห้ามทำการประมงในเขตพื้นที่ตามพิกัดแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๑ ห้ามใช้เครื่องมืออวนลอย หรืออวนติดตา ที่มีขนาดความยาวรวมกันเกินกว่าสองจุดห้ากิโลเมตร ในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) ข้อ ๑๒ ผู้ควบคุมเรือประมงที่จะทำการขนถ่ายน้ำมัน เครื่องมือประมง คนประจำเรือ หรือเสบียงในทะเลจะต้องแจ้งการขนถ่ายดังกล่าวให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำกรมประมงทราบล่วงหน้าอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transfer At Sea Notification (กปน. ๘) แนบท้ายประกาศนี้ เมื่อดำเนินการขนถ่ายตามวรรคหนึ่งเสร็จสิน ต้องรายงานการขนถ่ายดังกล่าวภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transfer At Sea Declaration (กปน. ๘A) แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๑๓ เจ้าของเรือประมงต้องจัดทำเครื่องหมายของเครื่องมือประมง ซึ่งมีชื่อเรือและสัญญาณเรียกขานและหมายเลขที่เครื่องมือแสดงไว้อย่างชัดเจน โดยดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเครื่องมือที่มีการใช้สายคร่าว ให้ติดเครื่องหมายที่ปลายของอวนหรือสายคร่าวของเครื่องมือนั้น ประกอบกับต้องติดทุ่นธงหรือทุ่นเรดาร์ในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน จะต้องติดทุ่นไฟซึ่งสามารถมองเห็นแสงไฟได้ในระยะอย่างน้อยสองไมล์ทะเลในสภาวะการมองเห็นตามปกติ ทั้งนี้ ธงหรือทุ่นดังกล่าวต้องสามารถใช้ระบุตำแหน่งและขอบเขตของเครื่องมือประมงได้ (๒) กรณีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วยทำการประมงชนิดประจำที่ ซึ่งใช้วัสดุถ่วงกับพื้นทะเล เช่น ลอบเดี่ยว แพล่อสัตว์น้ำ จะต้องติดทุ่นธงหรือทุ่นเรดาร์ในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน จะต้องติดทุ่นไฟ ซึ่งสามารถมองเห็นแสงไฟได้ในระยะอย่างน้อยสองไมล์ทะเลในสภาวะการมองเห็นตามปกติ ทั้งนี้ ธงหรือทุ่นดังกล่าวต้องสามารถใช้ระบุตำแหน่งและขอบเขตของเครื่องมือประมงได้ ข้อ ๑๔ เจ้าของเรือประมงต้องจัดให้มีอุปกรณ์ในการนำเครื่องมือประมงที่หลุด ถูกทิ้ง หรือสูญหายในขณะทำการประมงกลับคืน ห้ามทิ้งเครื่องมือประมง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเพื่อความปลอดภัยหรืออยู่ในภาวะอันตราย ในกรณีเครื่องมือประมงหลุด ถูกทิ้ง หรือสูญหาย ไม่ว่าด้วยเหตุประการใดก็ตาม ผู้ควบคุมเรือต้องดำเนินการนำเครื่องมือประมงดังกล่าวกลับคืน หากไม่สามารถนำเครื่องมือดังกล่าวกลับคืนได้ ผู้ควบคุมเรือต้องรายงานต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง ทันที การรายงานตามวรรคสาม ต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อเรือ และสัญญาณเรียกขาน (๒) หมายเลข IMO (ถ้ามี) (๓) ชนิดเครื่องมือประมงที่หลุด ถูกทิ้ง หรือสูญหาย (๔) จำนวนเครื่องมือประมงที่หลุด ถูกทิ้ง หรือสูญหาย (๕) วัน เวลา และพิกัดที่เครื่องมือประมงหลุด ถูกทิ้ง หรือสูญหาย (๖) วิธีการในการนำเครื่องมือประมงกลับคืน (๗) เหตุการณ์ที่ทำให้เครื่องมือประมงหลุดหรือสูญหาย หรือเหตุผลความจำเป็นที่ต้องละทิ้งเครื่องมือประมง ข้อ ๑๕ ในกรณีที่พบและได้เก็บเครื่องมือประมงซึ่งถูกทิ้งหรือสูญหายของผู้อื่นขึ้นมาบนเรือ ให้ผู้ควบคุมเรือแจ้งต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง การแจ้งตามวรรคหนึ่ง ต้องระบุข้อมูล ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อเรือ และสัญญาณเรียกขานของเรือที่เก็บเครื่องมือประมงนั้นขึ้นมาได้และหมายเลข IMO (ถ้ามี) (๒) ชื่อเรือ หมายเลข IMO และสัญญาณเรียกขานของเรือที่เป็นเจ้าของเครื่องมือประมงนั้น (ถ้าทราบ) (๓) ชนิดเครื่องมือประมงที่เก็บกู้ได้ (๔) จำนวนเครื่องมือประมงที่เก็บกู้ได้ (๕) วัน เวลา และพิกัดที่เก็บกู้เครื่องมือประมง (๖) ภาพถ่ายของเครื่องมือประมงที่เก็บได้ (ถ้ามี) ข้อ ๑๖ ห้ามทิ้งพลาสติก เชือก อวน ถุงขยะพลาสติก และเถ้าจากเตาเผาขยะที่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกลงในทะเล โดยให้เก็บไว้บนเรือจนกว่าจะสามารถนำกลับมาทิ้งที่ท่าเทียบเรือได้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่เป็นการทิ้งพลาสติกในทะเลเพื่อความปลอดภัยของเรือและคนที่อยู่บนเรือหรือการช่วยชีวิตในทะเล ทั้งนี้ การปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ผู้ควบคุมเรือปฏิบัติตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการตรวจเรือเพื่อป้องกันมลพิษจากขยะ พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๑๗ สัตว์น้ำแช่แข็งที่เก็บไว้บนเรือประมงในแต่ละภาชนะจะต้องมีสัตว์น้ำเพียงชนิดเดียว โดยมีฉลากที่ชัดเจนบนกล่องหรือภาชนะที่บรรจุ ซึ่งฉลากต้องระบุรายการ ดังต่อไปนี้ (๑) ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ กลุ่มชนิดสัตว์น้ำ รหัสชนิดสัตว์น้ำตามที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) หรือตามที่คณะกรรมการวิทยาศาสตร์กำหนด อย่างใดอย่างหนึ่ง (๒) ในกรณีที่มีการแปรรูปสัตว์น้ำที่เก็บรักษาให้ระบุ เช่น ตัดหัว ควักไส้ (๓) วันที่จับสัตว์น้ำ ระบุเป็น ปี (พ.ศ.) เดือน วัน (๔) เลขทะเบียนเรือไทย ในกรณีที่ได้สัตว์น้ำแต่ละชนิดจากการทำการประมงหนึ่งครั้งน้อยกว่ายี่สิบห้ากิโลกรัมและเป็นสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคสามารถเก็บรวมกันได้ โดยให้ระบุน้ำหนักรายชนิดและรายละเอียดตามวรรคหนึ่งบนฉลาก ในกรณีที่ได้สัตว์น้ำที่เหลือจากการคัดแยกและมิได้ใช้เพื่อการบริโภค เช่น ปลาเป็ด ปลาไก่ ให้ระบุรายละเอียดบนฉลากตามวรรคหนึ่ง และข้อความ “มิได้ใช้เพื่อการบริโภค” กรณีไม่สามารถจำแนกชนิดสัตว์น้ำเพื่อระบุรายละเอียดตาม (๑) ได้ทัน ให้จัดทำบัญชีชนิดสัตว์น้ำที่สามารถใช้อ้างอิงถึงชนิดสัตว์น้ำในภาชนะนั้นและเก็บไว้ประจำอยู่บนเรือเพื่อการตรวจสอบ ข้อ ๑๘ ในกรณีทำการประมงแล้วพบสัตว์น้ำที่ติดโดยบังเอิญตามแนบท้ายประกาศนี้ ให้เจ้าของเรือตามข้อ ๔ วรรคหนึ่ง บันทึกข้อมูลในแบบบันทึกการติดสัตว์น้ำโดยบังเอิญ (Incidental catch log sheet of SIOFA) (กปน. ๑๓A) และเมื่อมีการขนถ่ายสัตว์น้ำแต่ละครั้งต้องฝากแบบฟอร์มนี้ มากับเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ ข้อ ๑๙ หากพบเห็นเรือไร้สัญชาติหรือเรือที่มิได้อยู่ในบัญชีเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามกรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) กำลังทำการประมง ขนถ่ายสัตว์น้ำหรือกระทำกิจกรรมใด ๆ ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว ผู้ควบคุมเรือต้องแจ้งข้อมูลให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง ทราบ ข้อมูลที่แจ้งตามวรรคหนึ่ง เช่น ชื่อเรือ เลขทะเบียนเรือ สัญญาณเรียกขานรัฐเจ้าของธง วัน เวลา พิกัดที่พบเรือและรูปถ่ายเรือ เป็นต้น ข้อ ๒๐ การแจ้งและการรายงานตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ และข้อ ๑๙ ให้แจ้งหรือรายงานผ่านทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจสอบและนำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงหรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจากทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านทางดาวเทียม ข้อ ๒๑ เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติขององค์การบริหารจัดการประมงภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) มีการปรับปรุงแก้ไขตามมติที่ประชุมประเทศภาคีสมาชิกเป็นประจำทุกปี ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการประมงในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำตามข้อ ๓ จึงควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา ข้อ ๒๒ หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือข้อปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ จะมีความผิดตามมาตรา ๔๙ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. พื้นที่ห้ามทำการประมง SIOFA ๒. พื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA) ๓. สัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA) ๔. แบบฟอร์ม SIOFA TRANSFER AT SEA NOTIFICATION (กปน. ๘) ๕. แบบฟอร์ม SIOFA TRANSFER AT SEA DECLARATION (กปน. ๘A) ๖. พื้นที่ทำการประมงโดยใช้เครื่องมืออวนลาก ๗. แบบฟอร์ม Requirements for vessel entry and exit notifications (กปน. ๑๔) ๘. รายชื่อสัตว์น้ำที่ติดโดยบังเอิญ ๙. แบบบันทึกการติดสัตว์น้ำโดยบังเอิญ (Incidental catch log sheet of SIOFA) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๓๐/๑๘ มกราคม ๒๕๖๒
826130
ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พ.ศ. 2562
ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทย ที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมง ในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พ.ศ. ๒๕๖๒[๑] เนื่องด้วยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิกตามความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) อันทำให้ประเทศไทยมีสิทธิเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงดังกล่าว ประกอบกับในปี ๒๕๖๑ มีการประชุมภาคีสมาชิก SIOFA ประจำปี ได้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมติบางประการเพื่อให้มีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อมติดังกล่าว กรมประมงจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าว ทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยที่จะต้องปฏิบัติหากเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติของเรือขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำไทยที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในเขตพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ข้อ ๒ พื้นที่และชนิดของสัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) ให้เป็นไปตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ เรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่ทำการขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือน้ำสัตว์น้ำขึ้นจากเรือในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) จะต้องเป็นเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามกรอบความตกลงดังกล่าว ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากเว็บไซต์ www.siofa.org เจ้าของเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามวรรคหนึ่ง ห้ามมีส่วนร่วม ให้การสนับสนุน หรือเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการประมง กับเรือไร้สัญชาติ เรือที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว หรือเรือที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเรือที่ทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) ข้อ ๔ ให้เจ้าของเรือตามข้อ ๓ วรรคหนึ่ง แจ้งการเข้าออกจากพื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) ตามแบบฟอร์ม Requirements for vessel entry and exit notifications (กปน. ๑๔) ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงที่มีการเข้าออกจากพื้นที่ ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] [email protected] และ [email protected] ข้อ ๕ ผู้ควบคุมเรือขนถ่ายสัตว์น้ำที่จะทำการขนถ่ายน้ำมัน เครื่องมือประมง คนประจำเรือ หรือเสบียงในทะเลจะต้องแจ้งการขนถ่ายดังกล่าวให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยยี่สิบสี่ชั่วโมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transfer At Sea Notification (กปน. ๘) แนบท้ายประกาศนี้ เมื่อดำเนินการขนถ่ายตามวรรคหนึ่งเสร็จสิน ต้องรายงานการขนถ่ายดังกล่าวภายในยี่สิบสี่ชั่วโมงต่อกองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง โดยใช้แบบฟอร์ม SIOFA Transfer At Sea Declaration (กปน. ๘A) แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ห้ามทิ้งพลาสติก เชือก อวน ถุงขยะพลาสติก และเถ้าจากเตาเผาขยะที่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกลงในทะเล โดยให้เก็บไว้บนเรือจนกว่าจะสามารถน้ำกลับมาทิ้งที่ท่าเทียบเรือได้ ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในกรณีที่ทิ้งพลาสติกในทะเลเพื่อความปลอดภัยของเรือและคนที่อยู่บนเรือหรือการช่วยชีวิตในทะเล ทั้งนี้ การปฏิบัติตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ผู้ควบคุมเรือปฏิบัติตามกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการตรวจเรือเพื่อป้องกันมลพิษจากขยะ พ.ศ. ๒๕๕๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๗ หากพบเห็นเรือไร้สัญชาติ หรือเรือที่มิได้อยู่ในบัญชีเรือที่ได้รับอนุญาตขององค์การบริหารจัดการประมงตามกรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) กำลังทำการประมง ขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือกระทำกิจกรรมใด ๆ ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารจัดการประมงดังกล่าว ผู้ควบคุมเรือต้องแจ้งข้อมูลให้กองควบคุมการประมงนอกน่านน้ำและการขนถ่ายสัตว์น้ำ กรมประมง ทราบ ข้อมูลที่ต้องแจ้งตามวรรคหนึ่ง เช่น ชื่อเรือ เลขทะเบียนเรือ สัญญาณเรียกขาน รัฐเจ้าของธง วัน เวลา พิกัดที่พบเรือ และรูปถ่ายเรือ เป็นต้น ข้อ ๘ การแจ้งและการรายงานตามข้อ ๕ และข้อ ๗ ให้แจ้งหรือรายงานผ่านทางเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถตรวจสอบและน้ำกลับมาใช้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงหรือทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected] ที่ส่งผ่านมาจากทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวตนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณผ่านทางดาวเทียม ข้อ ๙ เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติขององค์การบริหารจัดการประมงภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement; SIOFA) มีการปรับปรุงแก้ไขตามมติที่ประชุมประเทศภาคีสมาชิกเป็นประจำทุกปี ผู้ที่ประสงค์จะเข้าไปทำการขนถ่ายสัตว์น้ำในพื้นที่และชนิดสัตว์น้ำตามข้อ ๒ จึงควรติดตามการเปลี่ยนแปลงของหลักเกณฑ์และข้อปฏิบัติดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา ข้อ ๑๐ หากไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือข้อปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ จะมีความผิดตามมาตรา ๘๙ แห่งพระราชกำหนดการประมง ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. พื้นที่ที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA) ๒. สัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA) ๓. สัตว์น้ำชนิดที่ไม่ใช่เป้าหมายของเครื่องมือประมง สัตว์น้ำที่มิได้อยู่ในกรอบความตกลงว่าด้วยการทำการประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ สัตว์น้ำอนุรักษ์ตามที่องค์การระหว่างประเทศกำหนดและสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครองที่ประเทศไทยกำหนด ๔. แบบฟอร์ม SIOFA TRANSFER AT SEA NOTIFICATION (กปน. ๘) ๕. แบบฟอร์ม SIOFA TRANSFER AT SEA DECLARATION (กปน. ๘A) ๖. แบบฟอร์ม Requirements for vessel entry and exit notifications (กปน. ๑๔) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๘ ง/หน้า ๒๗/๑๘ มกราคม ๒๕๖๒
825912
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมและความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดศรีสะเกษ ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง (๑) แม่น้ำเสียว เขตท้องที่ตำบลหนองบัวดง อำเภอศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่หมายเลข ๑/๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๒) แม่น้ำห้วยทับทัน เขตท้องที่ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ ตำบลบัวหุ่ง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่หมายเลข ๒/๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๓) แม่น้ำมูล เขตท้องที่ตำบลด่าน ตำบลหนองแค อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่หมายเลข ๓/๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๔) แม่น้ำมูล บริเวณเหนือเขื่อนหัวนา เขตท้องที่ตำบลโนนสัง ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่หมายเลข ๔/๕ แนบท้ายประกาศนี้ (๕) แม่น้ำมูล บริเวณใต้เขื่อนหัวนา เขตท้องที่ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ตามแผนที่หมายเลข ๕/๕ แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดศรีสะเกษ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศกรรมการประมงประจำจังหวัดศรีสะเกษ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๙/๑๖ มกราคม ๒๕๖๒
824826
ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดเลย เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561
ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดเลย เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่ได้มีกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙ กำหนดให้ประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ และประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเลย เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐ นั้น อาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๓ ประมงจังหวัดเลย ออกประกาศกำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๙๐ วัน ข้อ ๒ สถานที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาต การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังให้ท้องที่จังหวัดเลย ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประมงอำเภอแห่งท้องที่ที่ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ (๑) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (๒) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ และหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล) (๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี) (๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณี การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง) (๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์) (๖) หนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒) (๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒) (๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒) (๙) หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ) (๑๐) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อิทธิพล ขวาไทย ประมงจังหวัดเลย พิไลภรณ์/จัดทำ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๒๐/๓ มกราคม ๒๕๖๒
824824
ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคาขอรับใบอนุญาต พ.ศ. 2561
ประกาศสำนักงานประมงจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง กำหนดห้วงเวลาให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มายื่นคำขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้ให้อำนาจประมงจังหวัดประกาศกำหนดห้วงเวลาที่จะให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มายื่นคำขอรับใบอนุญาต ประกอบกับคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดได้ออกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดกาญจนบุรี เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๙ ประมงจังหวัดกาญจนบุรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ผู้ประสงค์จะทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาต เมื่อพ้นกำหนด ๑๕ วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้มีผลบังคับใช้ ให้ผู้ประสงค์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมายื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นระยะเวลา ๖๐ วันทำการ ข้อ ๒ การยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑ ให้ยื่น ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ในพื้นที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี ให้ยื่น ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองกาญจนบุรี หรือสำนักงานประมงจังหวัดกาญจนบุรี (๒) ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานประมงอำเภอที่สถานประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนั้นตั้งอยู่ ข้อ ๓ เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ประกอบในการยื่นคำขอ (๑) บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (๒) หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิและหลักฐานแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการประมง ซึ่งออกให้ไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีเป็นนิติบุคคล) (๓) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมประมงล่าสุด (ถ้ามี) (๔) เอกสารหรือหลักฐานการได้รับอนุญาตของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกรณีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง) (๕) หนังสือยินยอมของผู้ปกครอง (กรณีเป็นผู้เยาว์) (๖) หนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒) (๗) หลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (เฉพาะกรณีคนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒) (๘) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒ (เฉพาะกรณี คนต่างด้าวที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๔๒) (๙) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ ๑๐ บาท (กรณีมอบอำนาจ) (๑๐) แผนผังหรือแผนที่โดยสังเขปแสดงที่ตั้งสถานที่ที่จะขออนุญาตทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ศักดิ์สิทธิ์ วิบูลสุข ประมงจังหวัดกาญจนบุรี พิไลภรณ์/จัดทำ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖/ตอนพิเศษ ๒ ง/หน้า ๑๘/๓ มกราคม ๒๕๖๒
831401
ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2558 (ฉบับ Update ณ วันที่ 05/07/2561)
ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๘ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๔ วรรคสอง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ อธิบดีกรมประมงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เรือประมงตามบัญชีรายชื่อแนบท้ายประกาศนี้เป็นเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑.[๒] บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐[๓] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑[๔] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[๕] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๘ มกราคม ๒๕๕๙ ปุณิกา/เพิ่มเติม ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๔ กันยายน ๒๕๖๐ พัชรภรณ์/เพิ่มเติม ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ พัชรภรณ์/เพิ่มเติม ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๕๐ ง/หน้า ๒๑/๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๘ [๒] บัญชีรายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมประมง เรื่อง รายชื่อเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่มีการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง/หน้า ๗/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๘๕ ง/หน้า ๒๕/๑๑ เมษายน ๒๕๖๑ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๕๘ ง/หน้า ๑๒/๕ กรกฎาคม ๒๕๖๑
851052
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตรออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พื้นที่ดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง (๑) บริเวณแม่น้ำน่าน ตำบลย่านยาว อำเภอเมืองพิจิตร ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ (๒) บริเวณแม่น้ำน่าน ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองพิจิตร ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ (๓) บริเวณแม่น้ำน่าน ตำบลท่าหลวง อำเภอเมืองพิจิตร ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ (๔) บริเวณแม่น้ำน่าน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ (๕) บริเวณแม่น้ำน่าน ตำบลงิ้วราย อำเภอตะพานหิน ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ (๖) บริเวณแม่น้ำน่าน ตำบลตะพานหิน อำเภอตะพานหิน ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ (๗) บริเวณแม่น้ำน่าน ตำบลหอไกร อำเภอบางมูลนาก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ (๘) บริเวณแม่น้ำน่าน ตำบลเนินมะกอก อำเภอบางมูลนาก ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ (๙) บริเวณแม่น้ำน่าน ตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง ตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ วรพันธุ์ สุวัณณุสส์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ประธานคณะกรรมการประมงประจาจังหวัดพิจิตร [เอกสารแนบท้าย] ๑. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๑/๙) ๒. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๒/๙) ๓. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๓/๙) ๔. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๔/๙) ๕. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๕/๙) ๖. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๖/๙) ๗. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๗/๙) ๘. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๘/๙) ๙. แผนที่ท้ายประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดพิจิตร เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภท การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ (แผนที่หมายเลข ๙/๙) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชญานิศ/จัดทำ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒๙ ง/หน้า ๑๓/๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
823629
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่จับสัตว์น้ำบางพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น มีสภาพพื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่อการบำรุงรักษาเพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แพร่ขยายพันธุ์ วางไข่และเลี้ยงตัวในวัยอ่อนของสัตว์น้ำ ประกอบกับบริเวณดังกล่าวมีการทำการประมงอยู่เป็นจำนวนมาก หากปล่อยไว้จะทำให้สัตว์น้ำบริเวณดังกล่าวถูกจับในปริมาณมากเกินศักยภาพการผลิตของธรรมชาติ อันจะส่งผลกระทบต่อความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำให้สามารถใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจึงสมควรกำหนดมาตรการอนุรักษ์และบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ และรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศของแหล่งน้ำดังกล่าวไว้อย่างยั่งยืนตามหลักการป้องกันล่วงหน้าประกอบกับความในมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจับสัตว์น้ำในเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำตามที่รัฐมนตรีหรือคณะกรรมการ ประมงประจำจังหวัด โดยอนุมัติรัฐมนตรีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๕๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น โดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ที่จับสัตว์น้ำดังต่อไป เป็นเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ (๑) ที่จับสัตว์น้ำหนองผือ บริเวณท้องที่บ้านธาตุ หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๑/๒ แนบท้ายประกาศนี้ (๒) ที่จับสัตว์น้ำหนองบึงใหญ่ บริเวณท้องที่บ้านฝาง หมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านฝาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ตามแผนที่แสดงแนวเขตที่กำหนด หมายเลข ๒/๒ แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น เอกสารแนบท้าย ๑. ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดขอนแก่น เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พัชรภรณ์/จัดทำ ๒๕ กันยายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๒๒ ง/หน้า ๒๓/๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๑
822389
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงราย เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสาหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงราย เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่งและมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความในมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงรายออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่จังหวัดเชียงราย เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยต้องเพาะเลี้ยงในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม และต้องปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องได้รับความเห็นชอบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ประธานคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดเชียงราย พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๙ ง/หน้า ๑๑/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
822383
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย ที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกบัญชีรายชื่อท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้บัญชีแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [เอกสารแนบท้าย] ๑. บัญชีรายชื่อท่าเทียบเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทย แนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแจ้งข้อมูลล่วงหน้าและกำหนดท่าเทียบเรือของเรือประมงที่มิใช่เรือประมงไทยที่ประสงค์จะเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๙ ง/หน้า ๔/๔ ธันวาคม ๒๕๖๑
822381
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและสถานที่ให้คนต่างด้าวมาลงทะเบียนเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ พ.ศ. 2561
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดระยะเวลาและสถานที่ให้คนต่างด้าวมาลงทะเบียน เพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการออกหนังสือคนประจำเรือ การอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานในเรือประมงให้สามารถทำงานเป็นคนประจำเรือและอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔/๑ ของประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ อธิบดีกรมประมง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้คนต่างด้าวที่มีความประสงค์มาทำงานเป็นคนประจำเรือ มาลงทะเบียนเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ ณ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS) ตามสถานที่ ดังต่อไปนี้ ระหว่างวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๒ (๑) สำนักงานประมงจังหวัดตราด (๒) สำนักงานประมงจังหวัดจันทบุรี (๓) สำนักงานประมงจังหวัดระยอง (๔) สำนักงานประมงจังหวัดชลบุรี (๕) สำนักงานประมงจังหวัดฉะเชิงเทรา (๖) สำนักงานประมงจังหวัดสมุทรปราการ (๗) โรงพยาบาลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร (๘) ที่ว่าการอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม (๙) ศาลาประชาคมอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี (๑๐) สำนักงานประมงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (๑๑) สมาคมชาวประมงร่วมใจ จังหวัดชุมพร (๑๒) สำนักงานประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี (๑๓) สำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช (๑๔) สำนักงานประมงจังหวัดสงขลา (๑๕) สมาคมการประมงปัตตานี จังหวัดปัตตานี (๑๖) สำนักงานประมงจังหวัดนราธิวาส (๑๗) สมาคมประมงระนอง จังหวัดระนอง (๑๘) ศาลากลางจังหวัดพังงา ศูนย์ราชการจังหวัดพังงา ชั้น ๑ (๑๙) สำนักงานประมงจังหวัดภูเก็ต (๒๐) สำนักงานประมงจังหวัดกระบี่ (๒๑) สมาคมประมงกันตัง จังหวัดตรัง (๒๒) สำนักงานประมงจังหวัดสตูล ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๗ ง/หน้า ๓๓/๓ ธันวาคม ๒๕๖๑
822319
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกในการออกหนังสือคนประจำเรือ การอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานในเรือประมงให้สามารถทำงานเป็นคนประจำเรือและอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๘๓ วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “คนต่างด้าว” และ “ศูนย์” ในข้อ ๓ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และสัญชาติอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด “ศูนย์” หมายความว่า ที่ทำการสำนักงานประมงจังหวัด ๒๒ จังหวัดชายทะเล หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีประกาศกำหนด” ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น ข้อ ๔/๑ แห่งประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ “ข้อ ๔/๑ ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์แก่การให้คนต่างด้าวที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีสามารถทำงานเป็นคนประจำเรือและอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราว ให้อธิบดีมีอำนาจออกประกาศกำหนดระยะเวลาและสถานที่ให้คนต่างด้าวมาลงทะเบียนเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติและยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ คนต่างด้าวจะต้องเป็นผู้ถือหนังสือเดินทาง (Passport) หรือหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity) หรือเอกสารการเดินทาง (Travel Document) ซึ่งเอกสารดังกล่าวยังไม่หมดอายุ ให้นำความในข้อ ๕ ข้อ ๖ ข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๑๑ มาใช้บังคับกับการออกหนังสือคนประจำเรือตามข้อนี้โดยอนุโลม ให้หนังสือคนประจำเรือที่ออกตามข้อนี้มีอายุไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกหนังสือคนประจำเรือหรือใบแทน” ข้อ ๔ ให้เพิ่มแบบคำขอหนังสือคนประจำเรือ (กรณีไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามข้อ ๔/๑) ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบคำขอท้ายประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี [เอกสารแนบท้าย] ๑. คำขอหนังสือคนประจำเรือ (กรณีไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามข้อ ๔/๑) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) พิมพ์มาดา/ธนบดี/จัดทำ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๗ ง/หน้า ๑/๓ ธันวาคม ๒๕๖๑
821584
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา 174 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กรมประมงได้ออกประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้านตามมาตรา ๑๗๔ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ นั้น ปรากฏว่าประกาศกรมประมงฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงให้แก่ผู้รับอนุญาตจึงทำให้มีผู้รับอนุญาตบางรายไม่จัดทำเครื่องหมายประจำเรือ เพื่อให้ผู้รับอนุญาตจัดทำเครื่องหมายประจำเรือ จึงจำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาในการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงให้แก่ผู้รับอนุญาตอันเป็นเงื่อนไขที่ผู้รับอนุญาตต้องถือปฏิบัติ ดังนั้นอธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสองและวรรคสามของข้อ ๖ ของประกาศกรมประมงเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ “การจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงตามวรรคหนึ่งจะต้องจัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมงให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาต กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับให้จัดทำเครื่องหมายประจำเรือประมง ให้เสร็จสิ้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือ ตามมาตรา ๑๗๔ แนบท้ายประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ ขั้นตอน การขอและการอนุญาตให้ทำการประมงพื้นบ้าน ตามมาตรา ๑๗๔ พ.ศ. ๒๕๖๑ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือ ตามมาตรา ๑๗๔ แนบท้ายประกาศนี้แทน ข้อ ๓[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง [เอกสารแนบท้าย] ๑. หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายประจำเรือ ตามมาตรา ๑๗๔ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วิวรรธน์/จัดทำ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๑๔/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
821582
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดคณะกรรมการเปรียบเทียบ และหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบ พ.ศ. 2561
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดคณะกรรมการเปรียบเทียบ และหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณา ของคณะกรรมการเปรียบเทียบ พ.ศ. ๒๕๖๑ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๐ วรรคสองและวรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดคณะกรรมการเปรียบเทียบ และหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบ พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดคณะกรรมการเปรียบเทียบและหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “ความผิด” หมายความว่า ความผิดตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘และที่แก้ไขเพิ่มเติม “ผู้ต้องหา” หมายความว่า บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิดตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม “คณะกรรมการเปรียบเทียบ” หมายความว่า คณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา ๑๗๐ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ หมวด ๑ คณะกรรมการเปรียบเทียบ ข้อ ๕ ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบในเขตกรุงเทพมหานครหนึ่งคณะ และในส่วนภูมิภาคอีกจังหวัดละหนึ่งคณะ ข้อ ๖ ในเขตกรุงเทพมหานครให้ผู้อำนวยการกองกฎหมาย กรมประมง เป็นกรรมการและเลขานุการ ของคณะกรรมการเปรียบเทียบ และให้กองกฎหมาย กรมประมง เป็นหน่วยงานฝ่ายเลขานุการ ในส่วนภูมิภาคให้ประมงจังหวัดเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการเปรียบเทียบและให้กลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง สำนักงานประมงจังหวัด เป็นหน่วยงานฝ่ายเลขานุการในเขตท้องที่รับผิดชอบ ให้ฝ่ายเลขานุการมีหน้าที่ในการรับเรื่องราวจากพนักงานสอบสวน และเสนอให้คณะกรรมการเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ต้องหา ติดตามการชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบ และแจ้งผลการดำเนินการเปรียบเทียบแก่พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป การชำระค่าปรับให้ชาระที่กรมประมงหรือสำนักงานประมงจังหวัด หรือโดยวิธีการที่คณะกรรมการเปรียบเทียบกำหนด หมวด ๒ หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ข้อ ๗ เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้รับเรื่องขอให้พิจารณาเปรียบเทียบจากพนักงานสอบสวนแล้ว ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาเปรียบเทียบให้แล้วเสร็จภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ฝ่ายเลขานุการได้รับเรื่องจากพนักงานสอบสวน ข้อ ๘ การพิจารณาเปรียบเทียบ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบแสวงหาข้อเท็จจริงเชิญพยานบุคคลหรือให้ส่งพยานเอกสารเท่าที่จำเป็นมาประกอบการพิจารณา และอาจเชิญผู้ต้องหามาชี้แจงประเด็นต่าง ๆ และให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาจากพยานหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) รายงานการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ (๒) บันทึกการจับกุม (ถ้ามี) (๓) บันทึกคำให้การของผู้ต้องหา (ถ้ามี) (๔) พยานบุคคลหรือผู้ต้องหาที่เชิญมาชี้แจงข้อเท็จจริง (๕) พยานหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาตามวรรคหนึ่งแล้วเห็นว่าไม่เป็นความผิดหรือเป็นความผิดของผู้ได้รับใบอนุญาต เจ้าของเรือ ผู้ควบคุมเรือ หรือผู้ได้รับผลตอบแทนจากการกระทำความผิด หรือพบความผิดเกี่ยวเนื่องหรือความผิดอื่นเพิ่มเติมจากการแจ้งข้อกล่าวหาอาจแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป ข้อ ๙ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้กระทำความผิดเป็นคนประจำเรือ และคณะกรรมการเปรียบเทียบเห็นว่าเป็นการกระทำไปตามคำสั่งการของเจ้าของเรือหรือผู้ควบคุมเรือหรือผู้ได้รับผลตอบแทนจากการกระทำความผิด และได้ให้การเป็นประโยชน์ คณะกรรมการเปรียบเทียบอาจกำหนดค่าปรับผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ ข้อ ๑๐ ภายใต้บังคับแห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๑๖๒ วรรคสาม และมาตรา ๑๖๗ หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบกำหนดค่าปรับที่ผู้ต้องหาจะพึงชำระดังนี้ (๑) การกระทำความผิดที่มิได้กำหนดโทษตามขนาดของเรือ และไม่มีการกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำไว้ หากเป็นการกระทำความผิดครั้งแรกให้ปรับในอัตราโทษกึ่งหนึ่งของอัตราโทษที่กำหนดไว้หากเป็นการกระทำความผิดครั้งที่สอง ให้ปรับในอัตราสูงสุดของอัตราโทษที่กำหนดไว้ (๒) การกระทำความผิดที่มิได้กำหนดโทษตามขนาดของเรือ และมีการกำหนดอัตราโทษขั้นต่ำไว้หากเป็นการกระทำความผิดครั้งแรกให้ปรับในอัตราโทษไม่น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำสุด หรือปรับในอัตราจำนวนเท่าของมูลค่าของสัตว์น้ำที่กำหนดไว้ในมาตรานั้น ๆ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า โดยพิจารณาตามความร้ายแรงของการกระทำความผิด และการป้องกันมิให้ผู้กระทำความผิดกระทำความผิดซ้ำอีกหากเป็นการกระทำความผิดซ้ำให้ปรับในอัตราโทษขั้นสูงสุด หรือปรับในอัตราจำนวนเท่าของมูลค่าของสัตว์น้ำที่กำหนดไว้ในมาตรานั้น ๆ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า (๓) การกระทำความผิดที่มีการกำหนดโทษตามขนาดของเรือ ให้ปรับในอัตราโทษที่กำหนดไว้โดยพิจารณาจากขนาดของเรือ หรือปรับในอัตราจำนวนเท่าของมูลค่าของสัตว์น้ำที่กำหนดไว้ในมาตรานั้น ๆ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า (๔) การกระทำความผิดที่มีการกำหนดโทษปรับโดยให้คิดจากมูลค่าของสัตว์น้ำ ให้ปรับในอัตราจำนวนเท่าของมูลค่าของสัตว์น้ำที่กำหนดไว้ในมาตรานั้น ๆ (๕) การกระทำความผิดที่มีการกำหนดโทษปรับอัตราเดียว ให้ปรับในอัตราโทษที่กำหนดไว้ในมาตรานั้น ๆ (๖) การกระทำความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกรวมอยู่ด้วย ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาว่าจะใช้อำนาจเปรียบเทียบหรือไม่ก็ได้ และในกรณีที่เห็นว่าควรเปรียบเทียบ ให้เปรียบเทียบปรับในอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ (๗) ในกรณีที่เป็นการกระทำความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายอย่างร้ายแรงซ้ำภายในห้าปีไม่ว่าจะเป็นการกระทำความผิดเดียวกันหรือไม่ อัตราโทษที่กำหนดให้เพิ่มเป็นสองเท่า ข้อ ๑๑ การกำหนดค่าปรับตามขนาดของเรือ ให้พิจารณาจากขนาดของเรือตามที่ระบุในทะเบียนเรือ หรือตามผลการตรวจวัดในกรณีเรือไม่มีทะเบียนให้สอดคล้องกับโทษตามที่กฎหมายกำหนดโดยให้คำนึงถึงสภาพความร้ายแรงของการกระทำความผิดด้วย ข้อ ๑๒ มูลค่าราคาสัตว์น้ำให้คิดในวันที่พบการกระทำความผิด โดยให้ใช้ราคาซื้อขายจากสำนักงานสะพานปลาหรือสำนักงานท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาในพื้นที่ที่พบหรือพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่พบการกระทำความผิด หากไม่มีราคาของดังกล่าวให้ใช้ราคาการซื้อขายที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกำหนดไว้ ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อมูลราคาซื้อขายสัตว์น้ำตามวรรคหนึ่งได้ ให้ใช้ราคาจากท้องตลาดในพื้นที่ที่พบการกระทำความผิด ข้อ ๑๓ เมื่อคณะกรรมการเปรียบเทียบได้พิจารณาเปรียบเทียบเสร็จแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งจำนวนค่าปรับที่จะพึงชำระให้ผู้ต้องหาทราบ และให้ผู้ต้องหานำเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบมาชำระภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการเปรียบเทียบ ในกรณีที่ผู้ต้องหาเป็นเจ้าของเรือประมงหรือเป็นผู้ได้รับใบอนุญาต ให้แจ้งไปด้วยว่าในการยินยอมชาระค่าปรับตามที่มีการเปรียบเทียบแล้ว ผู้ต้องหาต้องยินยอมยกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ถูกยึดไว้ให้แก่ทางราชการด้วย ในกรณีที่ผู้ต้องหายินยอมตามหนังสือแจ้งของคณะกรรมการเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งเมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด และยกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ถูกยึดไว้ให้แก่ทางราชการแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เมื่อคดีเลิกกันตามวรรคสองแล้ว ให้ฝ่ายเลขานุการมีหนังสือแจ้งคณะกรรมการมาตรการทางปกครอง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขา และพนักงานสอบสวน แล้วแต่กรณีภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่ได้รับเอกสารการชำระค่าปรับ เพื่อดำเนินการปลดล็อกเรือ คืนเรือและเครื่องมือทำการประมงต่อไป ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ผู้ต้องหาไม่ยินยอมชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ หรือไม่ยินยอมยกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ถูกยึดไว้ให้แก่ทางราชการ หรือไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ ๑๓ ให้ฝ่ายเลขานุการแจ้งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีต่อไป ข้อ ๑๕ ในการพิจารณาเปรียบเทียบ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบจัดทำบันทึกการเปรียบเทียบไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๑๖ ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบบันทึกข้อมูลประวัติผู้ต้องหาแนบสำนวนคดีและให้เก็บสำนวนคดีที่ได้ทำการเปรียบเทียบไว้เป็นหลักฐานตามระเบียบว่าด้วยงานสารบรรณ ข้อ ๑๗ เอกสารและหลักฐานตามข้อ ๑๕ เอกสารข้อมูลประวัติผู้ต้องหาตามข้อ ๑๖หรือเอกสารและหลักฐานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการตามประกาศนี้ ให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมประมงประกาศกำหนด ข้อ ๑๘ การเปรียบเทียบตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตต์การประมงไทยตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๒/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม เพิ่มเติมครั้งที่ ๔ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ ข้อ ๒๑ ที่อยู่ในอำนาจเปรียบเทียบของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ให้นำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๑๙ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับบรรดาการเปรียบเทียบที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ลักษณ์ วจนานวัช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วิวรรธน์/จัดทำ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๔/๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
821544
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงจระเข้ พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ออกตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้การเพาะเลี้ยงจระเข้ เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และความใน มาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่ง (๓) ประกอบมาตรา ๗๗ แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้เขตท้องที่อำเภอหัวหิน อำเภอสามร้อยยอด อำเภอกุยบุรี อำเภอทับสะแกและอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จระเข้) ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ พัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประธานกรรมการประมงประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วิวรรธน์/จัดทำ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๓ ง/หน้า ๑๒/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
821473
ประกาศกรมประมง เรื่อง การไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน พ.ศ. 2561
ประกาศกรมประมง เรื่อง การไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และตามมติคณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand ๔.๐ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๑ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติให้ยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน เพื่อรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) ประกอบกับมีมติเห็นชอบในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๑ เรื่อง มาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระของประชาชน (การไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ เพื่อให้การปฏิบัติตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมและกฎหมายอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมประมง เป็นไปตามข้อ ๑๗ ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ อันเป็นการอำนวยความสะดวก รวดเร็วและลดภาระของประชาชนในกรณีที่ต้องใช้เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านในการติดต่อธุรกรรมกับกรมประมง อธิบดีกรมประมงจึงออกประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยกเลิกการเรียกสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านหรือเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้จากประชาชน ในการปฏิบัติการตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกฎหมายอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมประมง รวมถึงประกาศ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ข้อกำหนด หรือแนวปฏิบัติต่าง ๆ ของกรมประมงที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ ต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ ข้อ ๒ กรณีจำเป็นต้องใช้เอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ในการตรวจสอบเพื่อประกอบคำขอจดทะเบียน ขอใบอนุญาต และธุรกรรมอื่นเกี่ยวกับการประมง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหน้าที่แจ้งหน่วยงานราชการที่เป็นผู้ออกเอกสารราชการดังกล่าว เพื่อให้จัดส่งข้อมูลหรือสำเนาเอกสารทางราชการนั้น เว้นแต่ประชาชนมีความประสงค์ที่จะนำข้อมูลหรือเอกสารราชการนั้นมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยตัวเอง ข้อ ๓ กรณีจำเป็นต้องคัดสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้จากประชาชน เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของกรมประมง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดทำสำเนาเอกสารดังกล่าวขึ้นเอง และห้ามมิให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำสำเนาดังกล่าวจากประชาชน ข้อ ๔ กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ให้ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง วิวรรธน์/จัดทำ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๓๐๒ ง/หน้า ๑๘/๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๑