sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
796327 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
เรื่อง
การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐
มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา
๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครและนายอำเภอลาดยาว
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.
๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอยติดเชื้อ
หมายความว่า มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้น
ซึ่งถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้วสามารถทำให้เกิดโรคได้กรณีมูลฝอยดังต่อไปนี้ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล
การให้ภูมิคุ้มกันโรค และการทดลองเกี่ยวกับโรค
และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว
ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ
(๑)
ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด การตรวจชันสูตรศพ
หรือซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง
(๒) วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา
หลอดแก้ว ภาชนะที่ทำด้วยแก้วสไลด์ และแผ่นกระจกปิดสไลด์
(๓) วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด
ผลิตภัณฑ์ ที่ได้จากเลือด
สารน้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ หรือวัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น
สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าต่าง ๆ และท่อยาง
(๔) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน
แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง หมายความว่า
ห้องรักษาผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อร้ายแรงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สถานบริการการสาธารณสุข หมายความว่า
(๑) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลของทางราชการ
(๒) สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
สถานพยาบาลของทางราชการ หมายความว่า
สถานพยาบาลของราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย
และสถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
สถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ หมายความว่า
สถานพยาบาลสัตว์ของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลสัตว์
ของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
หมายความว่า
ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มิได้ตั้งอยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขซึ่งได้แก่
ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุตัวอย่างจากร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย
และห้องปฏิบัติการทดสอบ ด้านสาธารณสุขที่ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ส่วนประกอบ
และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย ทั้งนี้
ตามลักษณะและเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข
หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาต
ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และผู้ได้รับใบอนุญาต
ให้ตั้งสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย
และหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข
หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาต ให้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงผู้อำนวยการ
หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการ
และสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
หมายความว่า เจ้าของ หรือผู้ครอบครองห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
หมายความว่า ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่
ที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ราชการส่วนท้องถิ่น
หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
เจ้าพนักงานสาธารณสุข
หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ การเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในเขตราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ราชการส่วนท้องถิ่น
อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทน ภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้
มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
หรือเขตพื้นที่การอนุญาต
ให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ
๗ ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการ
เชื้ออันตรายซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่นหรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียม
การให้บริการแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้
การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
ราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๘ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งมูลฝอยติดเชื้อนอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีสถานที่ถ่าย
เท หรือทิ้งมูลฝอยติดเชื้อ
ในที่หรือทางสาธารณะหรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถ่าย เท
หรือทิ้งโดยวิธีอื่นตามมาตรฐานหรือตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด แล้วแต่กรณี
ข้อ
๙ ข้อบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้ใช้บังคับแก่ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองด้วย
และให้สถานบริการการสาธารณสุขหรือห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายนั้น
แจ้งให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและเมื่อราชการส่วนท้องถิ่นได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายดังกล่าว
จึงจะดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองได้ในการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร้องขอให้อธิบดีกรมอนามัย
หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมอนามัยมอบหมายจัดส่งเจ้าหน้าที่กรมอนามัยไปร่วมตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นได้
ข้อ
๑๐ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข
ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
และราชการส่วนท้องถิ่นรวมทั้งบุคคลซึ่งราชการ
ส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ในการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
และขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยหนึ่งคน
โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษา
ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ในด้านสาธารณสุข สุขาภิบาล
ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านใดด้านหนึ่ง
(๒) ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ อย่างน้อยสองคน
โดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน (๑) ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในด้านสุขาภิบาล
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมเครื่องกล ด้านใดด้านหนึ่ง
(๓) ในกรณีที่มีการดำเนินการทั้ง (๑) และ (๒)
จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ ในการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคนซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ก็ได้
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสถานพยาบาลของทางราชการ
หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ แต่ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือสถานพยาบาลของทางราชการ หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้น
จะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒)
ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้านใดด้านหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บ
การขนและการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น หรืออาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งต้องผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ
ในการเก็บ ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ราชการส่วนท้องถิ่นและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจดำเนินกิจการร่วมกัน
ในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน
ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
ด้านใดด้านหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อร่วมกันก็ได้
หรืออาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งต้องผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งวรรคสอง และวรรคสาม
อาจแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวก็ได้
ข้อ
๑๑ ในการเก็บ ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุข ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
หรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายของเอกชน
ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายควบคุมดูแลให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
และดำเนินการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๒ ในการเก็บ ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่น หรือสถานพยาบาลของทางราชการ
หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ ให้ราชการส่วนกลางราชการส่วนภูมิภาค
ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแล ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ดำเนินการเก็บขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ในการเก็บ ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และของบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
ควบคุมดูแลให้บุคคลดังกล่าวจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและดำเนินการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ในการมอบให้บุคคลใดดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
หรือการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดระยะเวลา และเส้นทางขน
ตลอดจนเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติอื่น ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ให้บุคคลดังกล่าวถือปฏิบัติไว้ด้วย
ข้อ
๑๓ บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้
การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี
มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และดำเนินการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๔ ให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข
ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายและเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีหน้าที่ควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตน และดำเนินการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๕ ให้เก็บบรรจุมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อดังนี้
(๑) มูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุของมีคม ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถัง
(๒) มูลฝอยติดเชื้ออื่นซึ่งมิใช่ประเภทวัสดุของมีคม
ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องใช้เพียงครั้งเดียว
และต้องทำลายพร้อมกับการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
ข้อ
๑๖ ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อต้องมีคุณลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถังต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทานต่อการแทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมี
เช่น พลาสติกแข็งหรือโลหะ มีฝาปิดมิดชิด และป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได้
และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกโดยผู้ขนย้ายไม่มีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
(๒)
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงต้องทำจากพลาสติกหรือวัสดุอื่น
ที่มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย ทนทานต่อสารเคมีและการรับน้ำหนัก กันน้ำได้
ไม่รั่วซึมและไม่ดูดซึมภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องมีสีแดงทึบแสง
และมีข้อความสีดำที่มีขนาด สามารถอ่านได้ชัดเจนว่า มูลฝอยติดเชื้อ
อยู่ภายใต้รูปหัวกะโหลกไขว้ คู่กับตราหรือสัญลักษณ์
ที่ใช้ระหว่างประเทศตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และต้องมีข้อความว่า ห้ามนำกลับมาใช้อีก และ ห้ามเปิด
ในกรณีที่สถานบริการการสาธารณสุข มิได้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง
สถานบริการการสาธารณสุขดังกล่าวจะต้องระบุชื่อของตนไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
และในกรณีที่ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นใช้สำหรับเก็บมูลฝอยติดเชื้อไว้เพื่อรอการขนไปกำจัดเกินกว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
ให้ระบุวันที่ที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อด้วยภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
มีได้หลายขนาดตามความเหมาะสมของการเก็บ ขน และการกำจัด แต่ในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเห็นสมควร
เพื่อความสะดวกในการเก็บ ขน
และการกำจัดจะกำหนดขนาดของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อสำหรับใช้ในสถานบริการการสาธารณสุขใด
หรือสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายใดก็ได้
ข้อ
๑๗ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออาจจะจัดให้มีภาชนะรองรับภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อก็ได้
โดยภาชนะรองรับนั้นจะต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ต่อสารเคมี ไม่รั่วซึม
ทำความสะอาดได้ง่ายและต้องมีฝาปิดเปิดมิดชิด
เว้นแต่ในห้องที่มีการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และจำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลาจะไม่มีฝาปิดเปิดก็ได้ภาชนะรองรับตามวรรคหนึ่ง
ให้ใช้ได้หลายครั้งแต่ต้องดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
ข้อ
๑๘ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อตรงแหล่งเกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
และต้องเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ โดยไม่ปนกับมูลฝอยอื่น
และในกรณีที่ไม่สามารถเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้โดยทันทีที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อจะต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อนั้นลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อโดยเร็วที่สุดเมื่อมีโอกาสที่สามารถจะทำได้
(๒) ต้องบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไม่เกินสามในสี่ส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วปิดฝาให้แน่น
หรือไม่เกินสองในสามส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงแล้วผูกมัดปากถุงด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นให้แน่น
(๓) กรณีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มีปริมาณมาก
หากยังไม่เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นออกไปทันทีจะต้องจัดให้มีที่หรือมุมหนึ่งของห้องสำหรับเป็นที่รวมภาชนะที่ได้บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้ว
เพื่อรอการเคลื่อนย้ายไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ แต่ห้ามเก็บไว้เกินหนึ่งวัน
(๔) จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามข้อ ๒๐ เพื่อรอการขนไปกำจัดและต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
ข้อ
๑๙ ในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อจะต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นห้องหรือเป็นอาคารเฉพาะแยกจากอาคารอื่นโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
สำหรับใช้เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อรอการขนไปกำจัด
(๑) มีลักษณะไม่แพร่เชื้อ
และอยู่ในที่ที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัด
(๒) มีขนาดกว้างเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อยสองวัน
(๓) พื้นและผนังต้องเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย
(๔)
มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย
(๕)
มีลักษณะโปร่ง ไม่อับชื้น
(๖)
มีการป้องกันสัตว์แมลงเข้าไป มีประตูกว้างพอสมควรตามขนาดของห้อง
หรืออาคารเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน และปิดด้วยกุญแจหรือปิดด้วยวิธีอื่นที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถ
ที่จะเข้าไปได้
(๗) มีข้อความเป็นคำเตือนที่มีขนาดสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า
ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ไว้ที่หน้าห้องหรือหน้าอาคาร
(๘)
มีลานสำหรับล้างรถเข็นอยู่ใกล้ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
และลานนั้นต้องมีรางหรือท่อรวบรวมน้ำเสียจากการล้างรถเข็นเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียในกรณีที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เกินเจ็ดวัน
ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐
องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้นได้
ข้อ
๒๐ การเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปกำจัดต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑)
ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ
โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตร
และระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๒)
ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน
ผ้าปิดปากปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที
(๓)
ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
(๔)
ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๑ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ
๒๐ (๑) ก็ได้
(๕)
ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน
และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด
(๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน
หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
(๗)
กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา
หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่
แล้วทำความสะอาด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ
(๘)
ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละครั้ง
และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น
ข้อ
๒๑ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยต้องมีลักษณะ
และเงื่อนไขดังนี้
(๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย
ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคและสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้
(๒) มีพื้นและผนังทึบ
เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่นเพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป
(๓)
มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า
รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น
(๔)
ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้าย
และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่มูลฝอยติดเชื้อตกหล่นตลอดเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ข้อ ๒๒ สถานบริการการสาธารณสุขดังต่อไปนี้
จะไม่จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อก็ได้
แต่ต้องจัดให้มีบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เป็นการเฉพาะ
(๑)
สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
(๒)
สถานพยาบาลสัตว์ประเภทที่ไม่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืน
หรือประเภทที่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืนตามชนิดและจำนวนไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๓)
สถานที่ที่อาจมีมูลฝอยติดเชื้อตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งให้มีลักษณะตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ
๒๓ ราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ซึ่งรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องจัดให้มี
(๑)
ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
โดยให้มีจำนวนที่เพียงพอกับการประกอบการหรือการให้บริการ
(๒)
ผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ
โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ
ตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๓)
ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการกำจัดซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
โดยต้องมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะขนไปกำจัด
และให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ด้วยสีแดง และมีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ในสภาพถาวรด้วย
(๔)
บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นสถานที่เฉพาะ
มีขนาดกว้างขวางเพียงพอ
มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
และต้องทำความสะอาดบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
ข้อ
๒๔ การขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข
หรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องขนโดยยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อเท่านั้น
(๒) ต้องขนอย่างสม่ำเสมอตามวันและเวลาที่กำหนด
โดยคำนึงถึงปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อและสถานที่จัดเก็บเว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น
(๓)
ผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องถือปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะดังนี้
ก. ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
ได้แก่ ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก
และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที
ข. ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน
หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ค.
กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา
หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษ แล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้น
ในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ
(๔)
ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อและผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องระมัดระวังมิให้มูลฝอยติดเชื้อและภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นในระหว่างการขนห้ามนำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น
และให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เว้นแต่กรณีภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกหรือมีการรั่วไหลต้องทำความสะอาดในโอกาสแรกที่สามารถจะทำได้
ข้อ
๒๕ ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้
(๑) ตัวถังปิดทึบผนังด้านในต้องบุด้วยวัสดุที่ทนทาน
ทำความสะอาดได้ง่ายไม่รั่วซึม
(๒)
ในกรณีที่เป็นยานพาหนะสำหรับใช้ขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เก็บกักภาชนะมูลฝอยติดเชื้อไว้เกิน
๗ วัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐
องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้นภายในตัวถังของยานพาหนะนั้นต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่
๑๐ องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้นได้
และจะต้องติดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์ที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิภายในตัวถังไว้ด้วย
(๓)
ข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนปิดไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านว่า
ใช้เฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ
(๔)
กรณีราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อให้ราชการส่วนท้องถิ่นแสดงชื่อของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อกรณีบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนระบุวิธีการที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลนั้นดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
และชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นให้อย่างชัดเจนด้วยกรณีบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน
ด้วยการคิดค่าบริการทำการขนมูลฝอยติดเชื้อให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนพร้อมกับแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ระบุรหัส หรือหมายเลขใบอนุญาต ชื่อ
สถานที่และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้าง ของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
(๕)
ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจาก
การตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย
และอุปกรณ์
หรือเครื่องมือสื่อสารสำหรับใช้ติดต่อแจ้งเหตุอยู่ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตลอดเวลาที่ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ข้อ
๒๖ ในกรณีที่ใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัดที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อรถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะมูลฝอยติดอย่างน้อยต้องมีลักษณะดังนี้
(๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย
ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรค
และสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้
(๒)
มีพื้นและผนังทึบ
เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่นเพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป
(๓)
มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า
รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น
(๔)
ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้าย
และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาด
ข้อ
๒๗ ในกรณีที่ใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัดที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
แทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อรถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ
ให้มีลักษณะดังนี้
(๑)
ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ
โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตร
และระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๒)
ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่ ถุงมือยางหนา
ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที
(๓)
ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
(๔)
ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ
๒๑ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็น
จะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๑) ก็ได้
(๕)
ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน
และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด
(๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน
หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
(๗)
กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา
หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่
แล้วทำความสะอาด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ
(๘)
ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละครั้ง
และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น
ข้อ
๒๘ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
(๒)
ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามระยะเวลาที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดแต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ขนจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
(๓)
ในระหว่างรอกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ในที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อบัญญัตินี้
โดยมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะทำการกำจัดรวมทั้งจัดให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า
ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ด้วยสีแดงและมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ด้วย
(๔)
จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ
โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ
ตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๕)
จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่น
หรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณที่ตั้งระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
(๖)
กรณีที่สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้วิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการอื่นที่มิใช่วิธีเผาในเตาเผา
ให้สถานบริการการสาธารณสุขห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้นตรวจวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐาน
ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นประจำทุกเดือน และให้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์นั้นให้ราชการส่วนท้องถิ่นทราบเป็นประจำภายในวันที่ห้าของทุกเดือน
ข้อ
๒๙ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
มีวิธีการดังนี้
(๑)
เผาในเตาเผา
(๒)
ทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ
(๓)
ทำลายเชื้อด้วยความร้อน
(๔)
วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ
๓๐ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผา
ให้ใช้เตาเผาที่มีห้องเผามูลฝอยติดเชื้อและห้องเผาควัน
การเผามูลฝอยติดเชื้อให้เผาที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๗๖๐ องศาเซลเซียส
และในการเผาควัน ให้เผาด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐
องศาเซลเซียส ทั้งนี้
ตามแบบเตาเผาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือเห็นชอบ
และในการเผาต้องมีการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผา
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ
๓๑ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการทำลายเชื้อด้วยไอน้ำหรือวิธีทำลายเชื้อด้วยความร้อน
หรือวิธีอื่นจะต้องดำเนินการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพ โดยมีประสิทธิภาพที่สามารถทำลายเชื้อบัคเตรี เชื้อรา ไวรัส
และปาราสิต ในมูลฝอยติดเชื้อได้หมดภายหลังการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีดังกล่าวตามวรรคหนึ่งแล้วต้องมีการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์
เชื้อบะซิลลัสสะเทียโรเธอร์โมฟิลลัสหรือบะซิลลัสซับทิลิส แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ
๓๒ เศษของมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือหลังจากการเผาในเตาเผา
หรือที่ผ่านการกำจัดเชื้อแล้วให้ดำเนินการกำจัดตามวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไป
เว้นแต่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ
๓๓ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน
หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๓๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว
(ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ ระบุ.......)
(๒)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๓๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้
ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วยเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา
ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ
๓๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ
๓๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้นการขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ
๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไปในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๓๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ
๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๔๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย
หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๔๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๔๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๔๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ
๔๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๔๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่
ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตราชการส่วนท้องถิ่นในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๔๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ไชยวัฒน์
ดาวเรือง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
๓.
ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
๔.
แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
และกำจัดสิ่งมูลฝอยติดเชื้อ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๑๖๑/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796329 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลทองเอนโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอนและนายอำเภออินทร์บุรี
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอนตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์
หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์
การปล่อยสัตว์
หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์
รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์
หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่
ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
เจ้าของสัตว์
หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
ที่หรือทางสาธารณะ
หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน
และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
ข้อ ๕ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้
(๑) สุนัข
(๒) แมว
(๓) ช้าง
(๔) โค
(๕) กระบือ
(๖) แพะ
(๗) นก
(๘) ไก่
(๙) สุกร
(๑๐) เป็ด
(๑๑) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้
ข้อ
๖ ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ
๕ ในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอนโดยเด็ดขาด
ความในวรรคหนึ่ง
ไม่ใช้บังคับแก่การเลี้ยงสัตว์ ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อการรักษาโรคเจ็บป่วยหรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์
(๒) เพื่อกิจกรรมใด ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน ประกาศกำหนดพื้นที่
ส่วนหนึ่งส่วนใดให้เลี้ยงโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเป็นการเฉพาะ
(๓) เพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของเจ้าของสัตว์
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การปล่อยสัตว์
เพื่อการกุศลหรือจารีตประเพณีโดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
หรือเพื่อในพระราชพิธีหรือพิธีกรรมทางศาสนา ตามประกาศของทางราชการ
ข้อ
๗ เพื่อประโยชน์การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอนให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
มีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์
หรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ ๕ โดยให้มีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง
(๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์
(๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ตามข้อ ๖
ข้อ
๘ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว
เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท
และชนิดของสัตว์โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์
มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ
มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
(๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ
จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
(๓)
เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ
เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น
ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดปนเปื้อนของแหล่งน้ำ
(๔)
จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์ เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
(๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตนไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ โดยปราศจากการควบคุม
กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน
(๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ
และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
ข้อ ๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖
โดยไม่ปรากฏเจ้าของ
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น
หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่าย
ในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้องค์การบริหารส่วนตำบลทองเอนเก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ
๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอนรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
พรเทพ
ทับทิมทอง
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ปฏิบัติหน้าที่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. คำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต/ขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ประเภท.....................................
๓.
ใบอนุญาตประกอบกิจการ
.
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๑๘๒/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796339 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2560
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย
เรื่อง
การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย
ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐
มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย และนายอำเภอเมืองนครราชสีมา
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.
๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวยตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอยติดเชื้อ
หมายความว่า มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้น
ซึ่งถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้วสามารถทำให้เกิดโรคได้
กรณีมูลฝอยดังต่อไปนี้ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล
การให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์
รวมทั้ง ในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ
(๑) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด
การตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง
(๒) วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา
หลอดแก้ว ภาชนะที่ทำด้วยแก้วสไลด์ และแผ่นกระจกปิดสไลด์
(๓)
วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด สารน้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์
หรือวัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สำลี ผ้าก๊อซ
ผ้าต่าง ๆ และท่อยาง
(๔) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ
ห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง หมายความว่า
ห้องรักษาผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อร้ายแรงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สถานบริการการสาธารณสุข หมายความว่า
(๑) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลของทางราชการ
(๒) สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
สถานพยาบาลของทางราชการ หมายความว่า สถานพยาบาลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
สถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ หมายความว่า
สถานพยาบาลสัตว์ของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลสัตว์ของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หมายความว่า
ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มิได้ตั้งอยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขซึ่งได้แก่
ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุตัวอย่างจากร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย
และห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุขที่ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ส่วนประกอบ
และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย ทั้งนี้
ตามลักษณะและเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
สภากาชาดไทย และหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงผู้อำนวยการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการ
และสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หมายความว่า เจ้าของ หรือผู้ครอบครองห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หมายความว่า
ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า
สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ การเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในเขตราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้
มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย
และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ
๗ ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำ
เนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ทั้งนี้ การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
ราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๘ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ซึ่งมูลฝอยติดเชื้อนอกจากถ่าย เท หรือทิ้ง
หรือกำจัดในที่หรือตามวิธีที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือจัดให้ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีสถานที่ถ่าย
เท หรือทิ้งมูลฝอยติดเชื้อในที่หรือทางสาธารณะ หรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถ่าย
เท หรือทิ้งโดยวิธีอื่นตามมาตรฐานที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง หรือตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๙ ข้อบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้ใช้บังคับแก่ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองด้วย
และให้สถานบริการการสาธารณสุขหรือห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายนั้นแจ้งให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
และเมื่อราชการส่วนท้องถิ่นได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข หรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายดังกล่าว
จึงจะดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองได้
ในการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร้องขอให้อธิบดีกรมอนามัยหรือ
ผู้ซึ่งอธิบดีกรมอนามัยมอบหมายจัดส่งเจ้าหน้าที่กรมอนามัยไปร่วมตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นได้
ข้อ
๑๐ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
และราชการส่วนท้องถิ่นรวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑)
ในการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยหนึ่งคน
โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
ในด้านสาธารณสุข สุขาภิบาล ชีววิทยาและวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านใดด้านหนึ่ง
(๒)
ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน
โดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน (๑)
ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในด้านสุขาภิบาล
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมเครื่องกล ด้านใดด้านหนึ่ง
(๓)
ในกรณีที่มีการดำเนินการทั้ง (๑) และ (๒) จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ก็ได้
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
แต่ราชการส่วนท้องถิ่นหรือสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคน
ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
ด้านใดด้านหนึ่ง เป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บ การขนและการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
หรืออาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งต้องผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ราชการส่วนท้องถิ่นสองแห่งหรือหลายแห่งที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจดำเนินกิจการร่วมกันในการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน
ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้านใดด้านหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อร่วมกันก็ได้ หรืออาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งต้องผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม
อาจแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวก็ได้
ข้อ
๑๑ ในการเก็บ ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการหรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายของเอกชน
ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ควบคุมดูแลให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ
๑๐ วรรคหนึ่ง (๑) (๒) หรือ (๓)
และดำเนินการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๒ ในการเก็บ ขน และหรือการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่น
หรือสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแล ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๑๐ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ดำเนินการเก็บ ขน
และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ในการเก็บ
ขน
และหรือการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นตามข้อ
๕ วรรคสองและของบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
ควบคุมดูแลให้บุคคลดังกล่าวจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบตามข้อ ๑๐ วรรคหนึ่ง
(๑) (๒) หรือ (๓) และดำเนินการเก็บ ขน และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ในการมอบให้บุคคลใดดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
หรือการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดระยะเวลาและเส้นทางขน ตลอดจนเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติอื่น
ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ให้บุคคลดังกล่าวถือปฏิบัติไว้ด้วย
ข้อ
๑๓ บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นตามข้อ
๕ วรรคสอง
และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี
มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และดำเนินการเก็บ ขน
และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๔ ให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข
ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายและเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีหน้าที่ควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และหรือการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตน
และดำเนินการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๕ ให้เก็บบรรจุมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อดังนี้
(๑) มูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุของมีคม
ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีคุณลักษณะตามข้อ ๑๖ (๑)
(๒) มูลฝอยติดเชื้ออื่นซึ่งมิใช่ประเภทวัสดุของมีคม
ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีคุณลักษณะตามข้อ ๑๖ (๒)
ข้อ
๑๖ ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ
๑๕ ต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถัง
ต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทานต่อการแทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมี เช่น
พลาสติกแข็งหรือโลหะ มีฝาปิดมิดชิดและป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได้
และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกโดยผู้ขนย้ายไม่มีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
(๒)
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงต้องทำจากพลาสติกหรือวัสดุอื่นที่มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย
ทนทานต่อสารเคมีและการรับน้ำหนัก กันน้ำได้ ไม่รั่วซึมและไม่ดูดซึม
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องมีสีแดง
ทึบแสง และมีข้อความสีดำที่มีขนาดสามารถอ่านได้ชัดเจนว่า มูลฝอยติดเชื้อ
อยู่ภายใต้รูปหัวกะโหลกไขว้
คู่กับตราหรือสัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างประเทศตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและต้องมีข้อความว่า
ห้ามนำกลับมาใช้อีก และ ห้ามเปิด
ในกรณีที่สถานบริการการสาธารณสุขมิได้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง
สถานบริการการสาธารณสุขดังกล่าวจะต้องระบุชื่อของตนไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
และในกรณีที่ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นใช้สำหรับเก็บมูลฝอยติดเชื้อไว้เพื่อรอการขนไปกำจัดเกินกว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
ให้ระบุวันที่ที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อด้วย
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
มีได้หลายขนาดตามความเหมาะสมของการเก็บ ขน และการกำจัด
แต่ในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเห็นสมควร เพื่อความสะดวกในการเก็บ ขน
และการกำจัดจะกำหนดขนาดของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อสำหรับใช้ในสถานบริการการสาธารณสุขใด
หรือสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายใดก็ได้
ข้อ
๑๗ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ
๑๕ อาจจะจัดให้มีภาชนะรองรับภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อก็ได้
โดยภาชนะรองรับนั้นจะต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อสารเคมี ไม่รั่วซึม
ทำความสะอาดได้ง่ายและต้องมีฝาปิดเปิดมิดชิด เว้นแต่ในห้องที่มีการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
และจำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลาจะไม่มีฝาปิดเปิดก็ได้
ภาชนะรองรับตามวรรคหนึ่ง
ให้ใช้ได้หลายครั้งแต่ต้องดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
ข้อ
๑๘ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อ
ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อตรงแหล่งเกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
และต้องเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ ๑๕
โดยไม่ปนกับมูลฝอยอื่น
และในกรณีที่ไม่สามารถเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้โดยทันทีที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อจะต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อนั้นลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อโดยเร็วที่สุดเมื่อมีโอกาสที่สามารถจะทำได้
(๒)
ต้องบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไม่เกินสามในสี่ส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ
๑๕ (๑) แล้วปิดฝาให้แน่น
หรือไม่เกินสองในสามส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ
๑๕ (๒) แล้วผูกมัดปากถุงด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นให้แน่น
(๓)
กรณีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มีปริมาณมาก
หากยังไม่เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นออกไปทันทีจะต้องจัดให้มีที่หรือมุมหนึ่งของห้องสำหรับเป็นที่รวมภาชนะที่ได้บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้ว
เพื่อรอการเคลื่อนย้ายไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อแต่ห้ามเก็บไว้เกินหนึ่งวัน
(๔) จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามข้อ ๑๙
เพื่อรอการขนไปกำจัด และต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
ข้อ
๑๙ ในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อจะต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นห้องหรือเป็นอาคารเฉพาะแยกจากอาคารอื่นโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
สำหรับใช้เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อรอการขนไปกำจัด
(๑) มีลักษณะไม่แพร่เชื้อ และอยู่ในที่ที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัด
(๒)
มีขนาดกว้างเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อยสองวัน
(๓) พื้นและผนังต้องเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย
(๔) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย
(๕) มีลักษณะโปร่ง ไม่อับชื้น
(๖) มีการป้องกันสัตว์ แมลงเข้าไปมีประตูกว้างพอสมควรตามขนาดของห้อง หรืออาคารเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน
และปิดด้วยกุญแจหรือปิดด้วยวิธีอื่นที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถที่จะเข้าไปได้
(๗)
มีข้อความเป็นคำเตือนที่มีขนาดสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ไว้ที่หน้าห้องหรือหน้าอาคาร
(๘) มีลานสำหรับล้างรถเข็นอยู่ใกล้ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
และลานนั้นต้องมีราง หรือท่อรวบรวมน้ำเสียจากการล้างรถเข็นเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
ในกรณีที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เกินเจ็ดวัน
ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐
องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้นได้
ข้อ ๒๐ การเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
เพื่อรอการขนไปกำจัดต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ
โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่
ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง
ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที
(๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
(๔)
ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ
๒๑
เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตาม
(๑) ก็ได้
(๕) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน
และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด
(๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
(๗)
กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา
หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่
แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ
(๘) ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละครั้ง
และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น
ข้อ
๒๑ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้
(๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย
ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคและสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้
(๒) มีพื้นและผนังทึบ
เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป
(๓) มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า
รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อ ห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น
(๔)
ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้าย
และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่มูลฝอยติดเชื้อตกหล่นตลอดเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ข้อ
๒๒ สถานบริการการสาธารณสุขดังต่อไปนี้จะไม่จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ
๑๙ ก็ได้ แต่ต้องจัดให้มีบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เป็นการเฉพาะ
(๑) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
(๒) สถานพยาบาลสัตว์ประเภทที่ไม่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืน หรือประเภทที่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืนตามชนิดและจำนวนไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓)
สถานที่ที่อาจมีมูลฝอยติดเชื้อตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งให้มีลักษณะตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ
๒๓ ราชการส่วนท้องถิ่นรวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ซึ่งรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องจัดให้มี
(๑) ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
โดยให้มีจำนวนที่เพียงพอกับการประกอบการหรือการให้บริการ
(๒)
ผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓) ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการกำจัดซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
โดยต้องมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะขนไปกำจัด
และให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ด้วยสีแดงและมีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แสดงไว้ในสภาพถาวรด้วย
(๔)
บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นสถานที่เฉพาะมีขนาดกว้างขวางเพียงพอ
มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียและต้องทำความสะอาดบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
ข้อ
๒๔ การขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องขนโดยยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๒๓ (๑) เท่านั้น
(๒)
ต้องขนอย่างสม่ำเสมอตามวันและเวลาที่กำหนด โดยคำนึงถึงปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อและสถานที่จัดเก็บเว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น
(๓)
ผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องถือปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะตามข้อ
๒๐ (๒) (๖) และ (๗)
(๔) ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อและผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องระมัดระวังมิให้มูลฝอยติดเชื้อและภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นในระหว่างการขน
ห้ามนำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น
และให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเว้นแต่กรณีภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกหรือมีการรั่วไหลต้องทำความสะอาดในโอกาสแรกที่สามารถจะทำได้
ข้อ
๒๕ ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้
(๑) ตัวถังปิดทึบผนังด้านในต้องบุด้วยวัสดุที่ทนทาน
ทำความสะอาดได้ง่ายไม่รั่วซึม
(๒) ในกรณีที่เป็นยานพาหนะสำหรับใช้ขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ
๑๙ วรรคสอง ภายในตัวถังของยานพาหนะนั้นต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐
องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้นได้
และจะต้องติดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์ที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิภายในตัวถังไว้ด้วย
(๓) ข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนปิดไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านว่า
ใช้เฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ
(๔) กรณีราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นแสดงชื่อของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
กรณีบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นตามข้อ
๕ วรรคสอง ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนระบุวิธีการที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลนั้นดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
และชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นให้อย่างชัดเจนด้วย
กรณีบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อโดย
ทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนพร้อมกับแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ระบุรหัสหรือหมายเลขใบอนุญาต ชื่อ สถานที่และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
(๕)
ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ
อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย
และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารสำหรับใช้ติดต่อแจ้งเหตุอยู่ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตลอดเวลาที่ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ข้อ
๒๖ ในกรณีที่ใช้รถเข็นตามข้อ ๒๑
ขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัด ที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ
๒๕ ให้นำความในข้อ ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ
๒๗ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่กำหนดในข้อ ๒๘
(๒) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามระยะเวลาที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนด
แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ขนจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข
หรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
(๓)
ในระหว่างรอกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ในที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ
๑๙ โดยมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะทำการกำจัด
รวมทั้งจัดให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ด้วยสีแดงและมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ด้วย
(๔)
จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕)
จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณที่ตั้งระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
(๖) กรณีที่สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้วิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการอื่นที่มิใช่วิธีเผาในเตาเผาตามข้อ
๒๘ (๑) ให้สถานบริการการสาธารณสุขห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้นตรวจวิเคราะห์ตามข้อ ๓๐ เพื่อตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นประจำทุกเดือน
และให้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์นั้นให้ราชการส่วนท้องถิ่นทราบเป็นประจำภายในวันที่ห้าของทุกเดือน
ข้อ
๒๘ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ มีวิธีการดังนี้
(๑) เผาในเตาเผา
(๒) ทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ
(๓) ทำลายเชื้อด้วยความร้อน
(๔) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒๙ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผา
ให้ใช้เตาเผาที่มีห้องเผามูลฝอยติดเชื้อและห้องเผาควัน การเผามูลฝอยติดเชื้อให้เผาที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า
๗๖๐ องศาเซลเซียส และในการเผาควันให้เผาด้วยอุณหภูมิไม่ตํ่ากว่า ๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส ทั้งนี้
ตามแบบเตาเผาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือเห็นชอบ
และในการเผาต้องมีการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผา ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ
๓๐ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการทำ
ลายเชื้อด้วยไอน้ำ หรือวิธีทำลายเชื้อด้วยความร้อนหรือวิธีอื่นตามข้อ ๒๘ (๒) (๓)
หรือ (๔) จะต้องดำเนินการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพ
โดยมีประสิทธิภาพที่สามารถทำลายเชื้อบัคเตรี เชื้อรา ไวรัส และปาราสิต
ในมูลฝอยติดเชื้อได้หมดภายหลังการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีดังกล่าวตามวรรคหนึ่งแล้วต้องมีการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์เชื้อบะซิลลัสสะเทียโรเธอร์โมฟิลลัส
หรือบะซิลลัสซับทิลิส แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ
๓๑ เศษของมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือหลังจากการเผาในเตาเผาตามข้อ
๒๙ หรือที่ผ่านการกำจัดเชื้อตามวิธีการตามข้อ ๓๐ แล้ว
ให้ดำเนินการกำจัดตามวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไป เว้นแต่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ
๓๒ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๓๓ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง
หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการพิจารณา
(๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือรับรองการแจ้งหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของ
หรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น
(๓) แนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งหรือตามข้อบัญญัตินี้
(๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ
ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น
(๕) เก็บหรือนำ สินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะ หรือจะก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ
เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย
เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวยในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๓๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้
ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง ข้อบัญญัตินี้
หรือคำสั่ง ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการนั้น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้
และถ้าผู้ดำเนินกิจการไม่แก้ไข
หรือถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการนั้นไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง
ให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
เว้นแต่เป็นกรณีที่มีคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการทันที
และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้ดำเนินกิจการหรือดำเนินกิจการไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ดำเนินกิจการ
และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจพบเหตุที่ไม่ถูกต้องหรือมีการกระทำใด
ๆ ที่ฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง
และข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปโดยไม่ชักช้า
ในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหตุตามวรรคหนึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
หรือจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนเป็นส่วนรวมซึ่งสมควรจะดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน
ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำการไม่ถูกต้องหรือฝ่าฝืนดังกล่าวแก้ไขหรือระงับเหตุนั้น
หรือดำเนินการใด ๆ เพื่อแก้ไขหรือระงับเหตุนั้นได้ตามสมควร
แล้วให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ
ข้อ
๓๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานสาธารณสุขและผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาและเพื่อประโยชน์ในการจับกุมหรือปราบปรามผู้กระทำผิดตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๓๗ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น
ๆ........)
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๓๘ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวยเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวยกำหนดไว้
ข้อ
๓๙ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความสอบถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต
ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวยกำหนด
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๔๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๔๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด การออกใบแทนใบอนุญาตเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๔๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๔๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๔๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๔๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๔๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ
๔๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
และการออกใบแทนใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๔๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษ
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
วัชรินทร์
พัดเกาะ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย
เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย
เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๖๐
๓. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
๔.
ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
๕.
แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
๖. แบบขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๒๔๔/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796325 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร เรื่อง การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอย พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
เรื่อง
การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอย
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
ว่าด้วยการเก็บ ขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๒๐ มาตรา
๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร เรื่อง การเก็บ ขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครแล้วเจ็ดวัน
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
บรรดาข้อบัญญัติ
กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระ หรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
ขยะมูลฝอย
หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร เถ้า
มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางที่มิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน
แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
สถานที่ หมายความว่า ที่ซึ่งไม่ใช่อาคาร และมีสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอยซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเอกชนผู้ได้รับอนุญาตจะต้องดำเนินการรับทำการเก็บ
ขน จัดการขยะ ของเสียอันตราย และสิ่งปฏิกูลมูลฝอย
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการจะต้องดำเนินการเก็บ
ขน หรือกำจัด
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ การกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครเป็นอำนาจหน้าที่ของเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
ในกรณีมีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้
ภายใต้การกำกับควบคุมขององค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
ข้อ
๖ ห้ามมิให้ผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ เป็นต้นว่า ถนน
ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ ฯลฯ
เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครจัดไว้ให้
ข้อ
๗ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้งสิ่งปฏิกูลในที่รองรับขยะมูลฝอย
ข้อ
๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ
ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยภายในอาคารหรือสถานที่นั้นอย่างเพียงพอและถูกสุขลักษณะ
ข้อ
๙ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่ายเท
หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ
ข้อ
๑๐ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าอาคารหรือสถานที่ประเภทใดในบริเวณใดควรทำการเก็บขน
และหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีหนังสือแจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวันหรือเมื่อได้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยบริเวณที่อาคารนั้นหรือสถานที่นั้นตั้งอยู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่ประกาศแล้ว
เมื่อครบกำหนดสิบห้าวันแล้วเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นฝ่ายเดียวเท่านั้น
เก็บ ขน และหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยจากอาคารหรือสถานที่นั้น
โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยตามข้อ ๑๐
ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอย
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท คุ้ยเขี่ย ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยนอกที่รองรับสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอยที่เจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ
จัดให้มีขึ้นเว้นแต่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำนาจหน้าที่หรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๓ ห้ามมิให้ผู้ใดคุ้ยเขี่ย ขุด ขน
ขยะมูลฝอยในที่รองรับขยะมูลฝอย รถหรือเรือเก็บขนขยะมูลฝอย
หรือสถานที่เทขยะมูลฝอยใด ๆ
เว้นแต่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่หรือผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๔ ห้ามมิให้ผู้ใดขน นำพา
หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยไปในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่จะได้ใส่ในภาชนะหรือที่มิดชิด
ไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือมีกลิ่นรั่วซึมออกมาภายนอกและต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ความในวรรคหนึ่ง
ไม่ให้ใช้บังคับแก่ยานพาหนะโดยสาร ทางบกและทางน้ำ
ซึ่งได้จัดห้องสุขาที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
ข้อ ๑๕ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด
ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่มีกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก
และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่ว
มีฝาปิดมิดชิดกันแมลงและสัตว์ได้ตามแบบซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ
ข้อ
๑๖ ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น
หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำ โดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ
หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๗ การเก็บ ขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยข้ามเขตท้องถิ่นกันจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะพิจารณาอนุญาตให้ผู้ได้รับทำการเก็บ ขน
สิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ
โดยแจ้งว่าจะนำสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยไปกำจัด ณ เขตท้องถิ่นอื่นเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องตรวจสอบว่ามีใบอนุญาต
การกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยนั้น
จึงจะอนุญาตให้เก็บขนโดยทำเป็นธุรกิจได้
(๒)
กรณีที่ผู้ใดรับทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยในเขตท้องถิ่นต้นทางแล้วนำสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยไปกำจัดในเขตท้องถิ่นปลายทาง
โดยคิดค่าบริการทั้งการเก็บขนและการกำจัด
ผู้ประกอบการต้องขอใบอนุญาตทำการเก็บขนจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้นทางและขอใบอนุญาตทำการกำจัดจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นปลายทาง
ซึ่งผู้ประกอบการคิดค่าบริการได้ตามอัตราที่ท้องถิ่นต้นทางและปลายทางกำหนดไว้ในข้อกำหนดท้องถิ่นนั้น
ทั้งนี้
หากมีการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยผ่านท้องถิ่นอื่น นอกจากท้องถิ่นต้นทาง
และท้องถิ่นปลายทางจะต้องแสดงใบอนุญาตทำการเก็บขนจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้นทาง
และขอใบอนุญาตทำการกำจัดจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นปลายทาง
รวมทั้งหลักฐานการขออนุญาตทำกิจการนอกเขตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
ๆ ด้วย
(๓) กรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตทำการเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอย โดยคิดค่าบริการในเขตท้องถิ่นหนึ่งแล้วนำมากำจัดโดยการถม
หรือโดยวิธีการอื่นใด ในที่ซึ่งอยู่ในอีกเขตท้องถิ่นหนึ่งบุคคลผู้มีกรรมสิทธิ์หรือผู้ครอบครองที่ดินนั้นจะต้องขอใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้น
ข้อ
๑๘ ห้ามมิให้ผู้ใดขุดสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอย
หรือนำสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยไปฝังหรือถมในที่ดินใดหรือโดยวิธีการอื่นใด
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง
ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครกำหนด
ข้อ
๒๑ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ตลอดจนหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครกำหนด และหรืออาจมีคุณสมบัติดังนี้
(๑) คุณลักษณะของรถเก็บขนขยะมูลฝอย
- ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก
- ส่วนของรถที่ใช้ขนขยะมูลฝอยต้องมีการปกปิดมิดชิด ไม่รั่วซึม
ไม่ทำให้ขยะมูลฝอยตกหล่น หรือปลิวฟุ้งกระจายขณะขนย้าย
- พ่นสี หรือข้อความใด ๆ เช่น รถเก็บขนขยะมูลฝอย เลขรหัสใบอนุญาต ชื่อ
บริษัท หน่วยงานที่อนุญาต ฯลฯ
(๒) หลักเกณฑ์ วิธีการเก็บขน เช่น
- การแต่งกายของผู้ปฏิบัติงาน เช่น การแต่งกายใส่กางเกงขายาว
สวมเสื้อมีแขนและสวมเสื้อสะท้อนแสง ผูกผ้าปิดปาก/จมูก สวมถุงมือ ฯลฯ
- เก็บขนขยะมูลฝอยให้เรียบร้อยมิให้มีขยะมูลฝอยเหลือตกค้าง ขณะขนย้ายต้องไม่ทำให้ขยะมูลฝอยตกหล่น
หรือฟุ้งกระจายตามท้องถนน
(๓) หลักเกณฑ์ในการกำจัด
- มีระบบกำจัดถูกหลักสุขาภิบาล เช่น ระบบเตาเผา ระบบฝังกลบ
หรือระบบหมักเป็นปุ๋ย
- เอกสารรับรองประสิทธิภาพของระบบการกำจัดขยะมูลฝอยจากหน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา
หรือห้องปฏิบัติการจากหน่วยงานเอกชนที่ได้รับรองมาตรฐาน
- เอกสารรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ต้องไม่ก่อเหตุรำคาญให้กับประชาชนผู้อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
- กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด
ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด และมีใบอนุญาตในการกำจัด
ข้อ
๒๒ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอรับใบอนุญาต
ให้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตให้
ข้อ
๒๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากมิได้รับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๒๔ ในการให้บริการตามใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับผู้รับบริการทุกราย
โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราค่าบริการ
ระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดชอบในกรณีผิดสัญญา
โดยส่งสำเนาสัญญาและใบเสร็จรับเงินให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันเริ่มการให้บริการ
ทั้งนี้ อัตราค่าบริการต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๒๕ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกการให้บริการแก่ผู้รับบริการรายใดจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่
ข้อ
๒๖ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้
(๑) รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๑
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินการตามใบอนุญาต
(๒ ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๒๔
(๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความปลอดภัย
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
ข้อ
๒๗ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครกำหนด
ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว
ให้ประกอบกิจการได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ
๒๘ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
ข้อ
๒๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครกำหนด
ข้อ
๓๐ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครกำหนด
ข้อ
๓๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ
๓๒ การออกใบแทนใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครกำหนดโดยประทับตราสีแดง คำว่า ใบแทน
กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปีที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม
แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปีของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ
๓๓ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผย
และเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๓๔ กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขใบอนุญาต
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวันกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุจะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
ข้อ
๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้
หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
๑,๐๐๐ บาท และมีความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๓๖ ภายหลังข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้แล้ว
หากมีกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้บังคับใช้ตามกฎกระทรวงนั้น
ข้อ
๓๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละครรักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกคำสั่งและประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ไชยวัฒน์
ดาวเรือง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยละคร
เรื่อง การเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๑๕๓/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796337 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.
๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาดโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
และนายอำเภอเมืองอุบลราชธานี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาดตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใด
ในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ ในข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบกิจการ หมายความว่า
สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ
หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ
หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ
หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน
แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๗ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
๗.๑
กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม
๗.๒
กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย
หรือขายในตลาด
(๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา
หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ
ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
๗.๓
กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว
น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า
กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา
หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม
ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้
วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ที่คล้ายคลึงกัน
(๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ
(๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม
และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง
ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู
ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก
ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
๗.๔
กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
๗.๕
กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น
ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
(๕) การผลิตยาสูบ
(๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
๗.๖
กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่
(๒) การถลุงแร่ การหลอม
หรือหล่อโลหะทุกชนิดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑)
(๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีดหรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ
หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑)
(๔)
การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล
หรือโลหะอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑)
(๕)
การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖
(๑)
(๖)
การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
๗.๗
กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๑)
การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒)
การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๓)
การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ
หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๔)
การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย
และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๕)
การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๖)
การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗)
การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๘)
การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๙)
การสะสม การซ่อมเครื่องกล
เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักร
หรือเครื่องกลเก่า
๗.๘
กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๑)
การผลิตไม้ขีดไฟ
(๒)
การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๓)
การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี
แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๔)
การอบไม้
(๕)
การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๖)
การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๗)
การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘)
การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
๗.๙
กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑)
การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๒)
การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๓)
การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๙
(๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๔)
การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๙ (๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๕)
การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๖)
การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๗)
การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง
ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๙ (๑)
(๑๐)
การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๑๑)
การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข
วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม
(๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
๗.๑๐
กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
๗.๑๑
กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๓)
การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔)
การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด
หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๑๑ (๒)
(๕)
การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๖)
การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๗)
การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน
(๘)
การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๙)
การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๐)
การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑)
การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒)
การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
๗.๖ (๕)
๗.๑๒
กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ
(๑)
การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๒)
การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๓)
การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๔)
การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๕)
การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๗ (๑)
(๖)
การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๗)
การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๘)
การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๙)
การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๐)
การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑)
การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒)
การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๓)
การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๔)
การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๕)
การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๖)
การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๗)
การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
๗.๑๓
กิจการอื่น ๆ
(๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๒)
การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๓)
การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔)
การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๕)
การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๖)
การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๗) การล้างขวด
ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๘)
การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๙)
การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา
(๑๐)
การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๑)
การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๒)
การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓)
การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ
๘ สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
มีผลใช้บังคับหรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี
ข้อ
๙ ผู้ดำเนินกิจการตามข้อ ๗
ทั้งเป็นการค้าและไม่เป็นการค้าต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไป
เพื่อการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินการ ตามที่กำหนดในหมวด ๒ หมวด
๓ หมวด ๔ ดังต่อไปนี้
หมวด ๒
สถานที่ตั้ง
ลักษณะอาคารและการสุขาภิบาล
ข้อ
๑๐ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการนั้น ๆ
ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรือก่อเหตุรำคาญด้วย
ข้อ
๑๑ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟ
หรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอและมีป้ายหรือ
เครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒)
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ
๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีคนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน
ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ
รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑)
มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอย
(๓)
ในกรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ
๑๕ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับประกอบอาหารการปรุงอาหาร
การสะสมอาหาร สำหรับคนงานหรือผู้มาใช้บริการต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหารหรือมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารกรมอนามัย
ข้อ
๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
หมวด ๓
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ
๑๗ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๘ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑)
มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้งและมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
(๒)
กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๔
การควบคุมของเสีย
มลพิษหรือสิ่งใด ๆ
ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ
ข้อ
๑๙ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือนมลพิษทางอากาศ
มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
ข้อ
๒๐ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๗ ในลักษณะเป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๒๑ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการ
ตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๗
ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ในท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒)
สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล (ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล)
(๕)
หนังสือมอบอำนาจ ในกรณีที่เจ้าของกิจการไม่มายื่นขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง
(๖)
เอกสารอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาดกำหนด
ข้อ
๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต
หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง
หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต
หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายระยะเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๓ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ ๒๒
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ใบอนุญาตตามข้อ
๒๒ ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ
๒๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๒๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาดเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุภายในกำหนดสามสิบวัน
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๑ โดยอนุโลม
ข้อ
๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต
สำหรับเป็นกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ที่ผู้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้น ก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๒๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
ข้อ
๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) กรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๓๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับอนุญาตสำหรับกิจการใดตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตนั้น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้ขอรับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๓๒ คำสั่งพักการใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๓๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๓๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาดในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๓๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๓๖ บรรดาใบอนุญาตการค้าเรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้บังคับต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
กฤตรัตนชัย
ทองเรือง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกุดลาด
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐ อัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(แบบ กอ. ๑)
๓. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(แบบ กอ. ๓)
๔.
ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๕.
เกณฑ์การตรวจสถานประกอบการ ตามกฎกระทรวงหลักเกณฑ์ วิธีการ
และมาตรการในการควบคุมสถานประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๒๒๗/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796321 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา
เรื่อง
การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา
ว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา และนายอำเภอเมืองชุมพร
จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ.
๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาแล้วเจ็ดวัน
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย
หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร
เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน
ตลอดจนตลาดที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
มูลฝอยอันตราย หมายความว่า
มูลฝอยที่มีองค์ประกอบทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนที่อาจทำให้เกิดอันตราย
อันเนื่องมาจากปริมาณความเข้มข้น คุณภาพทางกายภาพเคมี และชีวภาพ เช่น
ประเภทติดไฟง่าย สารกัดกร่อน สารประเภททำให้เกิดปฏิกิริยาการระเบิด สารพิษ
วัตถุระเบิด สารที่สามารถถูกชะล้างได้ กากกัมมันตรังสี และประเภทที่ทำให้เกิดโรค
มูลฝอยติดเชื้อ หมายความว่า
มูลฝอยที่เป็นผลมาจากกระบวนการให้การรักษาพยาบาล การตรวจชันสูตรศพ
การใช้สัตว์ทดลอง
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า
สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ การเก็บ ขน
สิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้
ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา
ข้อ
๖ ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะเป็นต้นว่า ถนน ตรอก ซอย แม่น้ำ
คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ ป่าชุมชน
เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาจัดตั้งไว้ให้โดยเฉพาะ
ข้อ
๗ ห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก
และเป็นสถานที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาอนุญาตให้หรือจัดให้โดยเฉพาะ
ข้อ
๘ ห้ามผู้ใดทำการขน ถ่าย เท คุ้ย
เขี่ย ขุด หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในที่รองรับรถขน เรือขน สถานที่เท
เก็บ หรือพักสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา
เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงาน
หรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาที่ได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา
ข้อ
๙ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
หรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในอาคารหรือสถานที่นั้น
ๆ ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ
ตามแบบที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ
ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใดๆ
ตามวรรคหนึ่งไม่อาจจัดหาหรือจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยได้
และประกาศให้องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาจัดหาให้จะต้องเสียค่าใช้จ่าย
ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคากำหนดตามอัตราในท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๐ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด
ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่มีกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วมีฝาปิดมิดชิดป้องกันแมลงและสัตว์ได้ตามแบบซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ
ข้อ
๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคาร หรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่าย เท
หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ
ข้อ
๑๒ ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น ควัน กลิ่น
หรือแก๊ส เป็นต้น
เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะหรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๓ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าอาคาร
สถานที่หรือบริเวณใด ควรทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ไปทำการกำจัดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่หรือบริเวณนั้น
ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน หรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย
กำหนดบริเวณที่ต้องทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไม่น้อยกว่าสามแห่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันประกาศ
แล้วเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่ หรือบริเวณใด ๆ
จะต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาแต่ฝ่ายเดียวหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาเท่านั้น
เก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจากอาคารสถานที่บริเวณนั้น ๆ
ซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือครอบครองอยู่
โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๔ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
สถานที่หรือบริเวณใด ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามข้อ ๑๔
ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยการเผา ฝัง หรือโดยวิธีการอื่นใดโดยไม่ขัดต่อสุขลักษณะ
กิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคากำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๕ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๖ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ สม. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคากำหนดพร้อมหลักฐานดังนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาบัตรข้าราชการ/สำเนาบัตรรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคากำหนด
ข้อ
๑๗ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคากำหนดดังนี้
(๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการรับทำการ เก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก
(๑.๑.๒)
ส่วนของรถที่ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรค
มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน
(๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดบริเวณของสิ่งปฏิกูลด้วย
(๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม
(๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น
ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%)
(๑.๑.๖)
ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
เช่น รถดูดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น และต้องมีการแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ
ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ
ด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
(๑.๒)
กรณีที่ไม่มีระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด
ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแหล่งใด
(๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย
(๒.๑) รถเก็บขยะมูลฝอยทุกคันต้องออกแบบ ประกอบ
และสร้างให้ลักษณะถูกต้องตามกฎหมายขนส่งทางบกและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สามารถป้องกันการปลิว ตกหล่นของมูลฝอยและการรั่วไหลของน้ำเสียจากมูลฝอยในขณะทำการจัดเก็บและขนย้ายมูลฝอยไปยังสถานที่กำจัด
(๒.๒) ผู้รับจ้างต้องจัดให้มีพนักงานขับรถ พนักงานเก็บมูลฝอย
ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ประกอบสำหรับการเก็บมูลฝอยอย่างเพียงพอ
เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยประจำวัน
(๒.๓) ผู้รับจ้างต้องจัดให้มีการล้างทำความสะอาดรถเก็บขนมูลฝอยอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้งหลังจากออกปฏิบัติงานจัดเก็บมูลฝอย
และน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล
(๒.๔) ในการปฏิบัติงานผู้รับจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้มีการดำเนินการ เก็บ
ขนมูลฝอยในลักษณะที่ไม่ปลอดภัยต่อการทำงาน หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
หรือทำให้เกิดการละเมิดต่อผู้อื่น
(๒.๕) ในกรณีที่มีการจัดกิจกรรมพิเศษ เช่น งานประจำท้องถิ่น
งานนักขัตฤกษ์ตลอดจนงานเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งจัดโดยอำเภอเมืองชุมพร
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานเอกชน
องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาจะแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้า
เพื่อให้การบริการจัดเก็บมูลฝอยในบริเวณที่มีการจัดงานเป็นพิเศษในช่วงระหว่างงาน
และเมื่อเสร็จสิ้นงานแล้ว โดยผู้รับจ้างไม่อาจคิดค่าบริการเพิ่ม
(๒.๖) ผู้รับจ้างเก็บขยะมูลฝอยจะเก็บค่าบริการเป็นกรณีพิเศษเพิ่มจากที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคากำหนดไว้ไม่ได้
ข้อ
๑๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอรับใบอนุญาต
ให้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามแบบ สม. ๒
แต่หากปรากฏว่าคำขออนุญาตดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่ต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควรจะถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๒๐ ในการให้บริการตามใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับผู้รับบริการทุกราย โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราบริการ
ระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดชอบ
ในกรณีผิดสัญญา
โดยส่งสำเนาสัญญาและใบเสร็จรับเงินให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่เริ่มการให้บริการ
ทั้งนี้
อัตราค่าบริการต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการชั้นสูงท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๒๑ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกการให้บริการแก่ผู้รับบริการรายใดจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่
ข้อ
๒๒ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้
(๑) รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๕
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต
(๒) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๑๗
(๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความปลอดภัย
และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบข้อบัญญัติและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา
ข้อ
๒๓ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ
๒๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา
ข้อ
๒๕ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔
ข้อ
๒๖ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔
ข้อ
๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี
พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ
๒๘ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกแบบใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สม. ๒
โดยประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย
และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ของอายุของใบอนุญาตเดิมนั้น
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี
ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ
๒๙ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๓๐ ให้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๑
(๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๒
(๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ สม. ๓
(๔) คำขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สม. ๔
ข้อ
๓๑ กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน
กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุจะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
ข้อ
๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคาเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
เกียรติศักดิ์
บัวสุวรรณ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งคา
เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ (แบบ สม. ๑)
๓.
ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๒)
๔.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ
สม. ๓)
๕.
คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๑๑๔/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796299 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
และนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์
หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์
การปล่อยสัตว์
หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์
รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์
หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่น ที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
เจ้าของสัตว์
หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น
หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้
(๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค
กระบือ สุกร แพะ แกะ สุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ โดยเด็ดขาด
(๑.๑) ในที่หรือทางสาธารณะหรือบริเวณไหล่ทางของถนนสาธารณะ
(๑.๒) ภายในเขตบริเวณของหน่วยงานราชการ
(๑.๓) ภายในเขตบริเวณของวัด สำนักสงฆ์ หรือสถานที่เผยแผ่ศาสนา
(๒) ให้พื้นที่บริเวณทุ่งหญ้า ทุ่งนา ป่าชุมชน
หรือป่าสาธารณะเป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ สุกร
แพะ แกะ สุนัข หรือสัตว์อื่น ๆ
แต่ต้องมีผู้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันมิให้สัตว์ทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคล
ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕
โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น
หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณี
ก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ
๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สงวน สาริมาตย์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๕๒/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796295 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2559
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง
การจัดการมูลฝอยทั่วไป
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยทั่วไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานและนายอำเภอเมืองหนองคาย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ.
๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์
หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น
และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
มูลฝอยทั่วไป หมายความว่า มูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขที่เกิดจากอาคาร
ที่พักอาศัย ธุรกิจร้านค้า สถานประกอบการ สถานบริการ โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด
สถาบันต่าง ๆ รวมทั้งมูลฝอยที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน
แต่ไม่รวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ หมายความว่า
มูลฝอยที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ ได้แก่ แก้ว
กระดาษ โลหะ พลาสติก และวัสดุอื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
มูลฝอยติดเชื้อ หมายความว่า
มูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๔๕
น้ำชะมูลฝอย หมายความว่า
ของเหลวที่ไหลชะผ่านหรือที่ออกมาจากมูลฝอยซึ่งอาจประกอบด้วยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า
สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
อาคารอยู่อาศัยรวม หมายความว่า
อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว
โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ การเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปในเขตราชการส่วนท้องถิ่นเป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่งราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนมูลฝอยทั่วไป หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ
๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ
ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บขนมูลฝอยทั่วไปของราชการส่วนท้องถิ่นหรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยทั่วไปแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยทั่วไปราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้และตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๘ ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งมูลฝอยทั่วไป นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้
ข้อ
๙ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
ที่พักอาศัย ธุรกิจร้านค้า สถานประกอบการสถานบริการโรงงานอุตสาหกรรม ตลาด
สถาบันต่าง ๆ และสถานที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอยทั่วไปต้องมีการคัดแยกมูลฝอยอย่างน้อยเป็น
๓ ประเภท ประกอบด้วย มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ มูลฝอยทั่วไปอื่น ๆ
และมูลฝอยอินทรีย์
ข้อ
๑๐ ถุงหรือภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยต้องมีคุณลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ถุงบรรจุมูลฝอย
(๑.๑) ถุงบรรจุมูลฝอยทั่วไปต้องมีความเหนียว ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย
ไม่รั่วซึม ขนาดเหมาะสมสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวก
(๑.๒)
ถุงพลาสติกหรือถุงที่ทำจากวัสดุอื่นสำหรับบรรจุมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องมีข้อความว่า
มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ และต้องมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
(๑.๓)
ถุงพลาสติกหรือถุงที่ทำจากวัสดุอื่นสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปต้องมีข้อความว่า มูลฝอยทั่วไป และต้องมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
(๒) ภาชนะบรรจุมูลฝอย
(๒.๑) ภาชนะบรรจุมูลฝอยทั่วไปต้องทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย
มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีฝาปิดเปิดมิดชิด
สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ ขนาดพอเหมาะสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวกง่ายต่อการถ่าย
เท มูลฝอย
(๒.๒) ภาชนะสำ หรับบรรจุมูลฝอยนำ
กลับมาใช้ใหม่ต้องมีข้อความว่า มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
และต้องมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
(๒.๓)
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปต้องมีข้อความว่า มูลฝอยทั่วไป และต้องมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ข้อ
๑๑ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ บรรจุมูลฝอยทั่วไปในถุงหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยทั่วไปตามข้อ ๑๐
ในกรณีบรรจุในถุงต้องบรรจุในปริมาณที่เหมาะสมไม่ล้นถุงและมัดปากถุงให้แน่นด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นที่มีความเหนียวเพื่อป้องกันการหกหล่นของมูลฝอย
กรณีบรรจุในภาชนะบรรจุต้องบรรจุในปริมาณที่เหมาะสมไม่ล้นภาชนะและปิดฝาภาชนะเพื่อป้องกันการหกหล่นของมูลฝอยและต้องมีการทำความสะอาดเป็นประจำ
ข้อ
๑๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารอยู่อาศัยรวมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่
๘๐ ห้องขึ้นไป หรือมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า ๔,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป
หรือธุรกิจร้านค้า สถานประกอบการ สถานบริการ ตลาด สถาบันต่าง ๆ
ที่มีปริมาณมูลฝอยเกิน ๒
ลูกบาศก์เมตรต่อวันต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะตามข้อ ๑๕
หรือภาชนะรองรับที่มีขนาดใหญ่ที่มีลักษณะตามข้อ ๑๖
ข้อ
๑๓ ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมมูลฝอยทั่วไปต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ
๑๔ ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานคัดแยกและเก็บรวบรวมมูลฝอย
ข้อ
๑๕ ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปต้องมีลักษณะที่ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้
(๑)
เป็นอาคารหรือเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะสามารถบรรจุมูลฝอยได้ไม่น้อยกว่า ๒
วันมีการแยกเก็บมูลฝอยทั่วไปเป็นสัดส่วน ตั้งอยู่ในสถานที่สะดวกต่อการเก็บรวบรวม
ขนถ่ายอยู่ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบอาหารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒) พื้น ผนัง เรียบ ทำด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่าย มีลักษณะสามารถปิดได้มิดชิดสามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคและมีการระบายอากาศดี
(๓)
มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย
เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
(๔) ประตูกว้างเพียงพอให้สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก
(๕) มีการกำหนดขอบเขตบริเวณที่ตั้งสถานที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปมีข้อความที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป
และมีการดูแลรักษาความสะอาดเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
ข้อ
๑๖ ภาชนะรองรับที่มีขนาดใหญ่ต้องมีลักษณะที่ต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้
(๑) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ พื้นฐานเรียบ
มั่นคงแข็งแรงทำความสะอาดง่าย มีรางระบายน้ำโดยรอบเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย
เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค
สถานที่ปรุงประกอบอาหารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒)
ตั้งอยู่ในบริเวณที่สะดวกต่อการขนย้ายและไม่กีดขวางเส้นทางจราจรเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
(๓) มีลักษณะเปิดปิดได้มิดชิด แข็งแรง ทนทาน
สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคสะดวกต่อการขนถ่ายมูลฝอย
และสามารถล้างทำความสะอาดได้ง่ายมีระบบรวบรวมและป้องกันน้ำชะมูลฝอยไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
(๔) มีการทำความสะอาดเป็นประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
ข้อ
๑๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอยทั่วไปห้ามทิ้งของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานปะปนกับมูลฝอยทั่วไปและต้องปฏิบัติตามข้อ
๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑
ในกรณีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมตามวรรคหนึ่งที่มีปริมาณมูลฝอยเกิน
๒ ลูกบาศก์เมตรต่อวันต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปตามข้อ ๑๕ หรือข้อ ๑๖ ด้วย
ข้อ
๑๘ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปในที่หรือทางสาธารณะอย่างถูกสุขลักษณะตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๙ ในกรณีราชการส่วนท้องถิ่นหรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
หรือบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการ เก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไป โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
มีสถานที่แยกเก็บมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นพื้นที่เฉพาะ มีขนาดเพียงพอ เหมาะสม
สามารถรองรับมูลฝอยทั่วไปที่จะนำเข้ามาแยกเก็บตามประเภทของมูลฝอยได้
มีการรักษาบริเวณโดยรอบให้สะอาดและเป็นระเบียบอยู่เสมอ
(๒) มีแสงสว่างเพียงพอสามารถมองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ชัดเจน
(๓) มีการระบายอากาศเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๔) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือที่สะอาด เพียงพอ
สำหรับใช้งานและชำระล้างร่างกาย
(๕) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๖) มีการป้องกันฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน
หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
(๗)
จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยและมีการบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา
(๘)
มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียและน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๙) ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่เก็บรวบรวมมูลฝอยทั่วไปต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๑๐) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
สถานที่แยกเก็บมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะเป็นอาคารต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในกรณีวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มชุมชนดำเนินการแยกเก็บมูลฝอยในลักษณะที่ไม่เป็นการค้าหรือหากำไรต้องแจ้งราชการส่วนท้องถิ่นที่วิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มชุมชนนั้นตั้งอยู่
และให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำกับดูแลการดำเนินงานให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
ข้อ
๒๐ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บขนมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
หรือบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินกิจการรับทำการขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการทำการเก็บรวบรวมและขนมูลฝอยทั่วไปจากแหล่งกำเนิดต่าง
ๆ ต้องดำเนินการขนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้
(๑) ให้แยกขนมูลฝอยตามประเภทตามข้อ ๙ หรือกำหนดวันในการขนตามประเภทของมูลฝอยหรือตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
(๒) ใช้ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๑
(๓) ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่เก็บ
ขนมูลฝอยทั่วไปต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๔) ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานเก็บ
ขน มูลฝอยทั่วไป
รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานมีอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลไว้ประจำรถเก็บขนมูลฝอยทั่วไปด้วย
(๕) ต้องจัดให้มีสถานที่ล้างยานพาหนะที่มีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง
ทนทานมีความลาดเอียงน้ำไม่ท่วมขัง ทำความสะอาดง่าย
มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสียและมีการป้องกันเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
(๖) จัดให้มีบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปเป็นการเฉพาะ มีขนาดกว้างขวางเพียงพอ
มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
(๗)
ต้องทำความสะอาดบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะและล้างทำความสะอาดยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไป
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขนมูลฝอยทั่วไปเป็นประจำทุกวัน
(๘) ต้องมีมาตรการควบคุม กำกับการขนมูลฝอยเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งมูลฝอย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ข้อ
๒๑ ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปต้องมีลักษณะดังนี้
(๑) ตัวถังบรรจุมูลฝอยทั่วไปมีความแข็งแรงทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิดเป็นแบบที่ง่ายต่อการบรรจุ
ขนถ่ายและทำความสะอาดง่าย
(๒) มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน้ำจากมูลฝอย
เพื่อมิให้รั่วไหลตลอดการปฏิบัติงานและนำน้ำเสียจากมูลฝอยไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย
(๓) มีสัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟติดไว้ประจำยานพาหนะชนิดไม่มีเสียงดังก่อให้เกิดความรำคาญและสามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเปิดให้สัญญาณขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
(๔)
มีความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงานระดับที่ขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปใส่ในตัวถังยานพาหนะต้องไม่สูงเกินไปหรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในขณะปฏิบัติงาน
กรณีบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการเก็บขนหรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปพร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ระบุวิธีการที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลหรือ นิติบุคคลนั้นดำเนินการ และชื่อ
ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคล หรือนิติบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขน
มูลฝอยทั่วไปในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
กรณีบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับอนุญาต
ให้ผู้ได้รับอนุญาตแสดงชื่อบุคคลหรือนิติบุคคลเลขที่ใบอนุญาตของบริษัทด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้าง
ทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไป
พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ระบุวิธีการที่ราชการส่วนท้องถิ่นอนุญาตให้บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นดำเนินการ
และชื่อ ที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไป
ในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ
๒๒ ในกรณีที่จัดให้มีสถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไป
สถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปต้องมีลักษณะและการขนถ่ายที่ต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
มีลักษณะเป็นอาคารมีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยทั่วไปที่ต้องพักรอการขนถ่ายมีการระบายอากาศ
และแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๒) มีการป้องกันกลิ่นจากมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงานและการขนส่ง
การปลิวของมูลฝอย เสียงดังรบกวน สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๓) มีระบบบำบัดน้ำเสีย
โดยน้ำที่ระบายออกสู่ภายนอกต้องได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
ข้อ
๒๓ ในการกำจัดมูลฝอยทั่วไป
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน
และกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการดังนี้
(๑) ต้องกำจัดมูลฝอยทั่วไป โดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีตามที่กำหนดในข้อ
๒๔
(๒)
ห้ามนำของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน มูลฝอยติดเชื้อ รวมทั้งมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนมากำจัดร่วมกับมูลฝอยทั่วไป
(๓)
ต้องทำการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นก่อนทำการก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอยทั่วไป
และมีมาตรการควบคุมกำกับการดำเนินงานกำจัดมูลฝอยในแต่ละวิธีให้เป็นไปตามสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไปเพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
(๔)
ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่กำจัดมูลฝอยทั่วไปต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๕)
ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยทั่วไป
รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
มีอุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย
ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่กำจัดมูลฝอยทั่วไปด้วย
ข้อ
๒๔ การกำจัดมูลฝอยทั่วไปต้องไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ซึ่งมีวิธีดำเนินการดังนี้
(๑) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
(๒) การเผาในเตาเผา
(๓) การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ
(๔) การกำจัดแบบผสมผสาน
(๕) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ
๒๕ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) สถานที่ตั้งเหมาะสม ไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ และชั้นที่ ๒
ห่างจากสนามบิน บ่อน้ำดื่ม โรงงานผลิตน้ำประปา สถานศึกษา ศาสนสถาน โบราณสถาน
หรือแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ
ในกรณีเป็นพื้นที่ลุ่มที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำป่าไหลหลากต้องมีมาตรการป้องกันและแก้ไขเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ ระยะห่างและมาตรการป้องกัน รวมทั้งเกณฑ์ในการคัดเลือกสถานที่ตั้งอื่น
ๆ
ให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๒) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่ฝังกลบ
จัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน
เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการฝังกลบและปัญหากลิ่นรบกวน
(๓) มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอย โดยมีการบดอัดก้นบ่อด้านล่างและด้านข้างให้แน่นและปูด้วยแผ่นวัสดุกันซึม
ทั้งนี้
ตามลักษณะและเงื่อนไขตามที่เจ้าพนักงานกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๔)
มีระบบรวบรวมน้ำชะมูลฝอยจากก้นบ่อเพื่อส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนน้ำใต้ดิน
และมีกระบวนการบำบัดน้ำชะมูลฝอย ให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕) มีการกลบทับหน้ามูลฝอยรายวันด้วยดินหรือวัสดุกลบทับอื่น
และปิดการฝังกลบ เมื่อบ่อฝังกลบเต็มโดยปิดทับหน้าบ่อฝังกลบด้วยดินหนาอย่างน้อย ๖๐
เซนติเมตร หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม เพื่อป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย
ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(๖) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน
ความสั่นสะเทือนเสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๗)
ต้องมีระบบรวบรวมและระบายก๊าซออกจากหลุมฝังกลบและมีระบบเผาทำลายก๊าซหรือมีระบบการนำก๊าซไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง
(๘)
มีบ่อสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินและในระหว่างการดำเนินการฝังกลบให้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทุก
๖ เดือน กรณีที่มีการปิดบ่อฝังกลบแล้วให้มีการตรวจสอบปีละ ๑ ครั้ง
ติดต่อกันเป็นระยะเวลา ๕ ปี ทั้งนี้
หลักเกณฑ์วิธีการรายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ
๒๖ การเผาในเตาเผาต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑) สถานที่ตั้งเหมาะสมให้เป็นไปตามผลการศึกษาในข้อ ๒๓ (๓)
มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับกระบวนการเผามูลฝอยทั่วไป
มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๒) มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะตามข้อ ๑๕
(๓) มีพื้นที่ฉนวนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่เผามูลฝอยจัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้
ถนน รางระบายน้ำผิวดิน เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการเผาและปัญหากลิ่นรบกวน
(๔) ต้องเผามูลฝอยทั่วไปที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๘๕๐ องศาเซลเซียส
และมีระบบควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องเตาเผามูลฝอยทั่วไป
ให้ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕) มีการป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย
ฝุ่นละอองจากการดำเนินงานความสั่นสะเทือนเสียงดังรบกวน เหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชน ตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๖) มีการบำบัดน้ำเสียจากระบบกำจัดและน้ำเสียใด ๆ
ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัดให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๗)
มีการกำจัดเถ้าหนักโดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลที่มีการป้องกันน้ำชะขี้เถ้า
ปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดินและต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บเถ้าหนักที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการในการนำเถ้าหนักออกไปกำจัดเป็นประจำ
(๘)
มีการกำจัดเถ้าเบาโดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บเถ้าเบาที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีมาตรการในการนำเถ้าเบาออกไปกำจัดเป็นประจำ
ข้อ
๒๗ การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑)
สถานที่ตั้งเหมาะสม ให้เป็นไปตามผลการศึกษาในข้อ ๒๓ (๓)
(๒)
อาคารเก็บรวบรวมมูลฝอย มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่นำมาหมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพมีการระบายอากาศและแสงสว่างในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๓)
มีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยภายในอาคาร
(๔)
มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน
ความสั่นสะเทือนเสียงดังรบกวนเหตุรำคาญและผลกระทบอื่น ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๕)
มูลฝอยจากการแยกเก็บส่วนที่หมักทำปุ๋ยหรือหมักทำก๊าซชีวภาพไม่ได้ต้องมีระบบกำจัดหรือส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลหรือการเผาในเตาเผาหรืออาจมีการนำมูลฝอยกลับมาใช้ใหม่ได้ไปใช้ประโยชน์
(๖)
ต้องบำบัดน้ำชะมูลฝอย
น้ำเสียจากสถานที่เก็บรวบรวมมูลฝอยและสถานที่หมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๗)
กรณีหมักทำก๊าซชีวภาพบ่อหมักต้องเป็นระบบปิดมีการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์และมีระบบเผาก๊าซทิ้งกรณีระบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพหยุดการทำงาน
ข้อ
๒๘ การกำจัดแบบผสมผสานซึ่งระบบกำจัดใช้วิธีการกำจัดมากกว่า
๑ วิธีตามข้อ ๒๔ (๑) (๒) (๓) หรือวิธีอื่น ๆ ตามข้อ ๒๔ (๕)
ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะและมีหลักเกณฑ์ดังนี้
(๑)
สถานที่ตั้งเหมาะสมมีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยที่กำจัด
(๒)
อาคารรวบรวมมูลฝอยและอาคารอื่น ๆ
ของระบบกำจัดมูลฝอยต้องมีการระบายอากาศและแสงสว่างในอาคารที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๓)
มีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยภายในอาคาร
(๔)
มีระบบป้องกันการปลิวของมูลฝอย ฝุ่นละอองจากการดำเนินงาน ความสั่นสะเทือนเสียงดังรบกวนเหตุรำคาญและผลกระทบอื่น
ๆ ที่อาจเกิดขึ้นต่อชุมชนตลอดจนไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๕)
ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบกำจัดโดยการเผาในเตาเผาดำเนินการเผาให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ตามข้อ
๒๖
(๖)
ในกรณีที่มีหรือใช้ระบบกำจัดโดยการหมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพจะต้องดำเนินการให้ต้องด้วยสุขลักษณะและหลักเกณฑ์ตามข้อ
๒๗
ข้อ
๒๙ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๓๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของกิจการ
(๒)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้จัดการ
(๓)
สำเนาทะเบียนบ้านของสถานที่ที่ใช้เป็นที่ตั้งสถานประกอบกิจการ
(๔)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล
(กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนิติบุคคล)
(๕) หลักฐานแสดงว่าอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบกิจการ
สามารถใช้ประกอบกิจการนั้นได้ โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
(๖) หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร
(กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบกิจการ)
(๗) สำเนาทะเบียนรถยนต์บรรทุกที่ใช้ประกอบกิจการ
(๘)
สำเนาแสดงสิทธิการครอบครองหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ใช้ในการดำเนินการกำจัดมูลฝอย
(๙) หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมายพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
(กรณีเจ้าของไม่สามารถมายื่นคำขอด้วยตนเอง)
(๑๐) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๓๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น
ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จพร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ
๓๒ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ
๓๓ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ
๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๓๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ
๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๓๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๓๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๔๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๔๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๔๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๔๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่
ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๔๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๔๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลค่ายบกหวานเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สงวน สาริมาตย์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๕๙
๓.
คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการมูลฝอยทั่วไป
๔.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการมูลฝอยทั่วไป
๕.
ใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการมูลฝอยทั่วไป
๖.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการมูลฝอยทั่วไป
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๑๕/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796293 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2559
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูล
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐
มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา
๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานและนายอำเภอเมืองหนองคาย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ.
๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล
หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
การจัดการสิ่งปฏิกูล
หมายความว่า กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การรองรับ
การขนการบำบัดและการกำจัดสิ่งปฏิกูล
โถส้วมแบบนั่งยอง
หมายความว่า โถส้วมที่ผู้ใช้จะต้องวางเท้าบนที่วางเท้าของโถส้วมแล้วนั่งยอง
โถส้วมแบบนั่งราบ หมายความว่า
โถส้วมที่ผู้ใช้จะต้องนั่งลงบนที่รองนั่งของโถส้วม
ส้วม หมายความว่า ระบบรองรับสิ่งปฏิกูล รวมทั้งตัวเรือนสำหรับปิดบังขณะใช้งาน
ส้วมสาธารณะ
หมายความว่า ส้วมที่หน่วยงานของรัฐหรือเอกชนจัดไว้ให้บุคคลทั่วไปเข้าใช้บริการ หรือส้วมที่รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขประกาศกำหนดให้เป็นส้วมสาธารณะ
ส้วมเคลื่อนที่
หมายความว่า ส้วมบนยานพาหนะทางบก ทางน้ำ ทางอากาศและหมายความรวมถึงห้องส้วมบนแพ
ส้วมชั่วคราว
หมายความว่า ส้วมที่ไม่ได้สร้างเป็นการถาวร รวมถึงส้วมประกอบสำเร็จรูป
การขนสิ่งปฏิกูล
หมายความว่า การดำเนินการสูบสิ่งปฏิกูลจากถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลแล้วนำไปยังระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม
ถังเก็บกักสิ่งปฏิกูล
หมายความว่า ถังหรือบ่อที่มีลักษณะที่มิดชิด น้ำซึมผ่านไม่ได้ เพื่อใช้เป็นที่รองรับสิ่งปฏิกูลจากส้วมก่อนขนไปบำบัดหรือกำจัดต่อไป
การบำบัดสิ่งปฏิกูล
หมายความว่า การดำเนินการปรับปรุงหรือแปรสภาพสิ่งปฏิกูล ทั้งที่สูบจากส้วมและสิ่งปฏิกูลจากระบบท่อ
ให้ปราศจากพิษภัย การก่อให้เกิดโรค สภาพอันน่ารังเกียจและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
การกำจัดสิ่งปฏิกูล
หมายความว่า การนำสิ่งปฏิกูลที่ผ่านการบำบัดแล้วดำเนินการจัดการตามความเหมาะสมหรือนำไปใช้ประโยชน์
ระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลแบบติดกับที่
หมายความว่า กระบวนการบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลจากอาคารเดี่ยว เช่น บ้านพักอาศัย อาคารชุด
โรงเรียน หรืออาคารสถานที่ทำการ เป็นต้น
ระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม
หมายความว่า กระบวนการบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลจากหลายอาคาร
ทั้งนี้ ให้หมายรวมถึงระบบบำบัดน้ำเสียรวมที่รับสิ่งปฏิกูลบำบัดด้วย
กากตะกอน
หมายความว่า ส่วนที่เป็นของแข็งซึ่งเหลือจากการบำบัดสิ่งปฏิกูล
อาคาร
หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ การเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลในเขตองค์การบริหารค่ายบกหวานให้เป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทน
ภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว
แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ
๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลของราชการส่วนท้องถิ่น
หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้
การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๘ ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลในที่หรือทางสาธารณะ นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้
ข้อ
๙ ในกรณีจัดการชุมนุม
หรือการอื่นใดในทำนองเดียวกัน
ผู้จัดการชุมนุมหรือผู้ใดในทำนองเดียวกันต้องจัดให้มีส้วม ส้วมสาธารณะ
ส้วมเคลื่อนที่ หรือส้วมชั่วคราว ที่ถูกสุขลักษณะตามข้อ ๑๑ สำหรับให้บริการอย่างเพียงพอตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
เพื่อมิให้เป็นที่น่ารังเกียจหรือเป็นแหล่งแพร่โรค
ในกรณีการจัดการชุมนุมหรือการอื่นใดในทำนองเดียวกันตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้นแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจสอบความเรียบร้อยในการรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่ของสถานที่นั้นให้ต้องด้วยสุขลักษณะ
ข้อ
๑๐ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน
หรือสาธารณภัยต่อสาธารณชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราวที่ถูกสุขลักษณะตามข้อ
๑๑ สำหรับให้บริการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
ข้อ
๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
ยานพาหนะ หรือสถานที่ที่จัดให้บริการส้วมสาธารณะ ทั้งเอกชนและหน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องดูแลพื้น ผนัง เพดาน โถส้วม
โถปัสสาวะ ที่กดวาล์วเปิดน้ำของโถส้วม และโถปัสสาวะให้สะอาด
ไม่มีกลิ่นเหม็น และต้องดูแลให้พร้อมใช้งานตลอดระยะเวลาที่เปิดให้บริการ
(๒) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด
มีฝาเปิดปิดมิดชิดอยู่ในสภาพดี ไม่รั่วซึม ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือ
หรือบริเวณใกล้เคียง
(๓) จัดให้มีสบู่ล้างมือ พร้อมให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
(๔) ต้องจัดให้มีถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลที่มีสภาพดี ไม่ชำรุด ไม่แตก
หรือรั่วซึมสามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค
เมื่อถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลเต็มหรือเลิกใช้งานต้องขนสิ่งปฏิกูลไปบำบัดและกำจัดให้ได้มาตรฐานตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๒ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บขนสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
หรือบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ดำเนินกิจการรับทำการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะดังนี้
(๑) จัดให้มียานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลและอุปกรณ์ที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๑๓ และมีจำนวนเพียงพอกับการให้บริการ
(๒)
ให้ดำเนินการสูบสิ่งปฏิกูลในช่วงเวลาที่เหมาะสมมีมาตรการป้องกันกลิ่นในขณะที่ทำการสูบสิ่งปฏิกูล
เพื่อไม่ให้รบกวนอาคารสถานที่ใกล้เคียงจนเป็นเหตุรำคาญ
(๓) ให้ทำความสะอาดท่อสำหรับใช้สูบสิ่งปฏิกูลหลังจากสูบสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว
โดยการสูบน้ำสะอาดจากถัง เพื่อล้างภายในท่อหรือสายสูบ
และทำความสะอาดท่อหรือสายสูบด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
(๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราดให้ทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำ
(๕) ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่สูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูล ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
(๖)
จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูล
รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
ตลอดจนเครื่องมือสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ประจำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลด้วย
(๗) ผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก
และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และต้องทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา
ผ้ายางกันเปื้อน และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน
(๘) ห้ามนำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลไปใช้กิจการอื่น
และห้ามนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่สาธารณะ หรือที่อื่นใดนอกจากสถานที่ที่ได้แจ้งไว้กับราชการส่วนท้องถิ่น
(๙) ต้องทำความสะอาดยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลหลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนสิ่งปฏิกูล
อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง
และน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องเข้าสู่ระบบบำบัดหรือกำจัดน้ำเสียหรือบ่อซึม โดยบ่อซึมต้องอยู่ห่างจากแม่น้ำ
คู คลอง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร
(๑๐) ต้องจัดให้มีบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลที่เป็นสถานที่เฉพาะ
มีขนาดกว้างขวางเพียงพอ
ข้อ
๑๓ ยานพาหนะสำหรับขนสิ่งปฏิกูลต้องมีลักษณะดังนี้
(๑) ถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลมีฝาเปิดปิดอยู่ด้านบน โดยสามารถปิดได้มิดชิด
ไม่รั่วซึมและป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงนำโรคได้
(๒) ท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูลต้องไม่รั่วซึม
(๓) มีปั๊มสูบสิ่งปฏิกูลที่สามารถสูบตะกอนหนักได้ อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี
และมีมาตรวัดสิ่งปฏิกูลด้วย
(๔) มีช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล เช่น ถังใส่น้ำ
ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น
(๕) บนตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่า
ใช้เฉพาะขนสิ่งปฏิกูล
กรณีบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ขนสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล
พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุชื่อ ที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
กรณีบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการรับทำการขนสิ่งปฏิกูล
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ให้บุคคลนั้นแสดงรหัส หรือหมายเลขทะเบียนใบอนุญาต
รวมทั้งแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทหรือชื่อเจ้าของกิจการไว้ด้านข้างทั้งสองด้านของตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
โดยขนาดตัวอักษรต้องสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร
ข้อ
๑๔ ต้องมีมาตรการควบคุม
กำกับดูแลการขนสิ่งปฏิกูล โดยการกำหนดเส้นทางที่แน่นอน เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูลในที่สาธารณะหรือที่อื่นใดนอกจากสถานที่ที่ได้แจ้งไว้กับราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ
๑๕ ระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลแบบติดกับที่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
มาตรฐานและวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ทั้งนี้ ตามประเภท ขนาด
และระยะเวลาในการสูบตะกอนจากระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือตามหลักเกณฑ์
มาตรฐาน และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ
๑๖ ระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวมต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
มาตรฐาน และวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ทั้งนี้ ตามประเภท ขนาด และระยะเวลาในการสูบตะกอนจากระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือตามหลักเกณฑ์ มาตรฐาน และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ
๑๗ ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่สูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลตามหลักสูตรที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
หรือหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ
๑๘ จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล
รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน ตลอดจนเครื่องมือสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่บำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วย
ข้อ
๑๙ ผู้ปฏิบัติงานบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อคลุม
ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก
และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และต้องทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา
ผ้ายางกันเปื้อน และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน
ข้อ
๒๐ การบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลไม่ว่าจะใช้วิธีการใด
การนำน้ำทิ้งและกากตะกอนที่ผ่านการบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลแล้ว ไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรหรือก่อนนำออกจากระบบน้ำทิ้ง
และกากตะกอนต้องได้มาตรฐานปริมาณไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไลดังนี้
ประเภท
ไข่หนอนพยาธิ
จำนวน/กรมั
หรือลิตร
แบคทีเรียอีโคไล
(Escherichia Coli Bacteria)
(จำนวน/๑๐๐ กรัม หรือ
MPN/๑๐๐ มิลลิลิตร)
๑.
กากตะกอน
< ๑
< ๑๐๓
๒.
น้ำทิ้ง
< ๑
< ๑๐๓
ทั้งนี้
น้ำทิ้งที่ปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
ข้อ ๒๑ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๒๒ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต
ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาต
(๓) สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งของกิจการ หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสถานที่ ที่ขออนุญาตประกอบกิจการ
(๔) ใบมอบอำนาจ (กรณีที่มีการมอบอำนาจ)
(๕) แผนที่แสดงที่ตั้ง และแผนผังระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล
(๖) สำเนาแบบก่อสร้างของอาคารที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๗) ใบอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๘) ใบรับรองแพทย์ของผู้ปฏิบัติงาน
(๙) หลักฐานแสดงว่ามีความรู้ในการประกอบกิจการของผู้ปฏิบัติ
(๑๐) ใบอนุญาตการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ฉบับที่ยังไม่หมดอายุ (กรณีต่ออายุใบอนุญาต)
(๑๑)
ใบรับรองการตรวจสุขลักษณะการประกอบกิจการ มีผลการตรวจไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีต่ออายุใบอนุญาต)
(๑๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๒๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ
๒๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ
๒๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ
๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๒๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ
๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูง
ข้อ
๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๓๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๓๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๓๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ ตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๓๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ
๓๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๓๕ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๓๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๓๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สงวน สาริมาตย์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๕๙
๓.
แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต
๔.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการการจัดการสิ่งปฏิกูล
๕.
ใบอนุญาตประกอบกิจการการจัดการสิ่งปฏิกูล
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๔/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796291 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานและนายอำเภอเมืองหนองคาย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอย
หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์
หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์
หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า
สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ
หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หมายความว่า
สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ เป็นต้น นอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้
ข้อ
๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่ขังน้ำได้ซึ่งอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
เช่น กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ เป็นต้น ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ
ทั้งนี้
โดยเก็บใส่ลงถังรองรับมูลฝอยที่มีฝาเปิดปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุง
หรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ในกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด
เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติท้องถิ่น
ข้อ
๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ
ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ข้อ
๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร
เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ
ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้
และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนค่ายบกหวานประกาศกำหนด
ข้อ
๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคารหรือเคหสถาน
หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่นั้น จะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖
ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ
๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สงวน สาริมาตย์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๑/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796307 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง
ตลาด
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ว่าด้วยตลาด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๕
มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
และนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ตลาด
หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์
เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว
หรือของเสียง่าย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม
และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด
สินค้า
หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน
อาหาร
หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
อาหารสด หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ
ที่มีสภาพเป็นของสด
อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ หมายความว่า อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์
หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า
อาหารประเภทปรุงสำเร็จ หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ
หรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ
สุขาภิบาลอาหาร หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ
เพื่อให้อาหารสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรค
และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร
ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์
สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร
แผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน
บ่อพักน้ำเสีย ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ
และบริเวณตลาด ให้สะอาดไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก
รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้
สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ ห้ามผู้ใดจัดตั้งตลาด
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลง
ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย
ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง
ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐ
ที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับ
ผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติ
เป็นการเฉพาะรายก็ได้
ข้อ
๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทดังนี้
(๑)
ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘
ถึงข้อ ๑๓
(๒)
ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร
และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๔ ถึงข้อ ๑๘
ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐
เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก
ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ข้อ
๘ ตลาดประเภทที่ ๑
ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคาร
สิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ
ที่เก็บรวบรวม หรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
ข้อ
๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง
(๒)
ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง
(๓)
หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น
(๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ เรียบ
ล้างทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น
(๕)
ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๖)
เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง สามารถป้องกันสัตว์ เช่น
สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด
(๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม
และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ
(๘)
ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์
(๙)
แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง
และทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวก
โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง
(๑๐)
น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย
ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล
โดย
(๑) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด
และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำ ไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐
แผงขึ้นไปต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุดต่อจำนวนแผงจำหน่าย อาหารสดทุก
๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง
(๒)
มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละและแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ
(๓) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้
กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕
ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐
แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง
(๑๑)
ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้
ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย
(๑๒)
การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ความใน (๑) และ (๕)
มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ.
๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ
และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด
ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้
ข้อ
๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ
มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน
และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ
และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้
ข้อ
๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วม
ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาดหรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะมีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง
ข้อ
๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย
ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก
มีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น
ข้อ
๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒
ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ
และที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
ข้อ
๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ
โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย
และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ
หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์
(๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ
ทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
และอาจเป็นแบบพับเก็บได้
(๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด
แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ
(๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง โดยเป็นรางแบบเปิด
ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก
มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ
และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง
ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมัน
หรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้
(๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่ม
หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
ข้อ
๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม
ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และตั้งอยู่ในที่ ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ
เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วม
ของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐
เมตร
ข้อ
๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวันและมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ
๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่
๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนา
เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผน
การพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่ ๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามกฎกระทรวงนี้
ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน
เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร
ข้อ
๒๐ การเปิดและปิดตลาดต้องเป็นไปตามเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑
ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น
ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า
ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้งและทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม
ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น
(๒)
จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรง ดักมูลฝอย
บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ
มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน
และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ
(๓)
ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาดใช้การได้ดี
และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด
(๔)
จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด
และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละและมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้
(๕)
จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
(๖)
ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลว
ไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาดและจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด
ข้อ
๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่
๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับ
การบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาด
ให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดและดูแลความสะอาดของตะแกรง ดักมูลฝอย รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย
และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน
และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ
(๒)
ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี
และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด
(๓)
จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด
และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ
ให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ
(๔)
จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด
ข้อ
๒๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ
มลพิษที่เป็นอันตรายหรือการระบาดของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่
๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด
(๒)
นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย
(๓)
ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกร ในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น
(๔)
สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง
เป็นเหตุรำคาญเกิดมลพิษที่เป็นอันตราย
หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
(๕)
ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด
นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล
(๖)
ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ
(๗)
ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
(๘)
ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน
(๙)
กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย
หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น
ข้อ
๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขในเรื่อง
ดังต่อไปนี้
(๑)
การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด
(๒)
การจัดหมวดหมู่สินค้า
(๓)
การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน
(๔)
การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม
(๕)
การล้างตลาด
(๖)
การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๗)
การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ
๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า
ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด
โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด
และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบ ต่อระบบการระบายอากาศ
และแสงสว่าง ทั้งนี้
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒)
ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร
(๓)
ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด
โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๔)
ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า
เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
(๕)
ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง
(๖)
ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ
๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล
ดังต่อไปนี้
(๑)
มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด
คางทูม วัณโรค ในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
โรคผิวหนัง ที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์
และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒)
ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด เรียบร้อย
หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๓)
ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น
ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง
ล้างมือให้สะอาด ก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ
๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย
ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
(๑)
อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล
ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิ ไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส
ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ
(๓)
การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาด
และต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๔)
ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร
ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร
(๕)
เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน
ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย
มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง
ข้อ ๒๘ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้
ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ขอรับใบอนุญาต
(๒)
สำเนาทะเบียนบ้าน/หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีเป็นนิติบุคคล) ของผู้ขอรับใบอนุญาต
(๓)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารของอาคารตลาด
(๔)
แผนผัง แบบก่อสร้าง และรายการปลูกสร้างของตลาด
(๕)
รูปถ่าย ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป
(๖)
ใบอนุญาตฉบับเดิม กรณีต่ออายุใบอนุญาต
(๗)
ใบมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
ข้อ
๒๙ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้
ในขณะนั้น
ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา
ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ
๓๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ
๓๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ
๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้
ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๓๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ข้อ
๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๓๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๓๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๓๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๓๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๓๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๔๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๔๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สงวน สาริมาตย์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด
๓.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด
๔.
ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด
๕.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๗๕/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796305 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา
๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา
๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน และนายอำเภอเมืองหนองคาย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ดำเนินกิจการ
หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน
หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง
หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน
หมายความว่า สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจาก
การประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ
หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ
หมายความว่า สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า
สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ราชการส่วนท้องถิ่น
หมายถึง องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข
หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
ข้อ
๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
(๑)
กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑.๑)
การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๑.๒)
การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม
(๒)
กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๒.๑)
การฆ่าหรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด
(๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง
กระดูกเขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก
เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์
หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช
เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
(๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว
ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า
ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย
น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้
หรือพืชอย่างอื่น
(๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุอาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง
ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย
เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ
(๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย
ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง
หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์
น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก
ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง
รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาดหรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง
ๆ
(๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู
แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ
ก็ตาม
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
(๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ
ด้วยโลหะหรือแร่
(๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาต
ใน (๖.๑)
(๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร
หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล
หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาต ใน (๖.๑)
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
(๗)
กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๗.๑)
การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒)
การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๓)
การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ
หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๔)
การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล ดังกล่าวด้วย
(๗.๕)
การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๗.๖)
การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗.๗)
การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๗.๘)
การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๗.๙)
การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบ ของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า
(๘)
กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๘.๑)
การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒)
การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓)
การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๘.๔)
การอบไม้
(๘.๕)
การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๘.๖)
การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๘.๗)
การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘.๘)
การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
(๙)
กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑)
การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล
ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๒)
การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๙.๓)
การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาต ใน (๙.๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๔)
การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๕)
การประกอบกิจการโรงแรม
สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๖)
การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๗)
การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๘)
การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง
หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับอนุญาตใน (๙.๑)
(๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด
หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๑๑)
การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๒)
การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๙.๑๓)
การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๙.๑๔)
การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๙.๑๕)
การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์
หรือสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
(๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุ
ที่คล้ายคลึง
(๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ตัก
ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๑๑.๒)
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน
หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๕)
(๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก
และสารเคมีต่าง ๆ
(๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์
หรือสารตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๗.๑)
(๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก
เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุ
ที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบ
ในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
(๑๓) กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด
ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา
(๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ
๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับหรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน
สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล ซึ่งจะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
หรือจะต้องมีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ
โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้
เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน
ข้อ
๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมาย แสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒)
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ
๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสม
กับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บรวบรวมหรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑)
มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย
รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานว่าด้วยการกำจัดมูลฝอย
(๓)
กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๒ ประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อ
ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ
๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร
การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ
๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัยเป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
ข้อ
๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไป
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิง อย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนด
หรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
(๒)
กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย
หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
ข้อ
๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ใบอนุญาตให้ใช้ได้
สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ
๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า
จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ)
(๒)
สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓)
หนังสือมอบอำนาจ กรณีที่เจ้าของสถานประกอบกิจการไม่มาดำเนินการด้วยตนเอง
หรือเป็นผู้แทนรับมอบอำนาจ กรณีที่เป็นนิติบุคคล
(๔)
หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล กรณีที่ผู้ขอเป็นนิติบุคคล
(๕)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๒๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น
ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้
ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ
๒๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ
๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ
๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาต สิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม
และค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ข้อ
๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต
ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
ตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ
ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ
๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษ
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สงวน สาริมาตย์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๕๙/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796315 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๔๓
มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา
๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
และนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
สินค้า
หมายความว่า อาหารและสิ่งของอื่นที่มิใช่อาหาร
อาหาร
หมายความว่า อาหารประเภทปรุงสำเร็จและอาหารที่ต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
ผู้จำหน่ายสินค้า
หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ผู้สัมผัสอาหาร
หมายความว่า บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียม ปรุง ประกอบ จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร
รวมถึงการล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์ ได้แก่ ผู้เตรียม ผู้ปรุง ผู้ประกอบ
ผู้เสิร์ฟ
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทสิ่งของอื่นที่มิใช่อาหารโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ผู้จำหน่ายสินค้าจะต้องควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าต้องแต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
(๒) แผงสำหรับวางสินค้า เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ รถเข็น
ต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงมีขนาดและความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๓) จัดวางสินค้า อุปกรณ์ประกอบในการจำหน่ายสินค้าและทรัพย์สินใด ๆ
ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนด
รวมทั้งตัวผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร
(๔) ห้ามจัดวางสินค้าที่จำหน่ายในลักษณะใด ๆ
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๕)
รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอทั้งในระหว่างที่จำหน่ายสินค้าและหลังจากเลิกทำการจำหน่ายสินค้า
(๖) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ
และไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อหรือทางระบายน้ำ หรือในที่หรือทางสาธารณะ
(๗) ห้ามกระทำการใด ๆ กับต้นไม้ เช่น พาด ติดตั้ง วางแผงจำหน่ายสินค้า
หรือเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบในการจำหน่ายสินค้า
รวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือกหรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยเด็ดขาด
(๘) ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เครื่องขยายเสียง หรือเปิดวิทยุเทป
หรือกระทำโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดังจนเกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น
(๙)
เก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจำหน่ายสินค้าออกจากบริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้าหลังจากเลิกทำการจำหน่ายสินค้า
(๑๐)
หยุดประกอบการจำหน่ายสินค้าเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขลักษณะ
การรักษาความสะอาดสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๑๑)
ปฏิบัติการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้ต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ
๖ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๕
(๒)
อาหารสดที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ
ปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
รวมทั้งมีการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมและเก็บเป็นสัดส่วน มีการปกปิด
ไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้
(๓)
อาหารแห้งที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ ปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายต้องสะอาดปลอดภัย
ไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม
(๔)
อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส
และวัตถุเจือปนอาหารต้องปลอดภัยได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(๕)
อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย และมีการป้องกันการปนเปื้อน
วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๖)
น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่นำมาจำหน่ายต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
โดยบรรจุในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย
๖๐ เซนติเมตร
(๗)
น้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕
เซนติเมตร และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาจำหน่าย
(๘)
น้ำแข็งสำหรับบริโภคต้องสะอาด
มีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหารมีการเก็บในภาชนะที่สะอาด สภาพดี มีฝาปิด
วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
และไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน
รวมทั้งต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค
(๙)
ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้าม สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งสำหรับบริโภคโดยเฉพาะ
(๑๐)
ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร เครื่องดื่ม
และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องสะอาดและทำจากวัสดุที่ปลอดภัย
เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี ไม่ชำรุดและมีการป้องกัน
การปนเปื้อนที่เหมาะสม
(๑๑)
จัดเก็บภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไว้ในภาชนะที่สะอาด สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐
เซนติเมตร หรือมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม
(๑๒)
ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟ ต้องสะอาด มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สภาพดี ไม่ชำรุด
(๑๓)
ภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่รอการล้าง และเศษอาหาร
ต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้
(๑๔)
ล้างภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้ทุกประเภทให้สะอาดโดยใช้สารทำความสะอาดที่ปลอดภัย
(๑๕)
น้ำใช้และภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ปลอดภัย
(๑๖)
ผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
ไม่เป็นโรคติดต่อหรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ หรือไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย
โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป
(๑๗)
ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาดและเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหารได้
และสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น
มีสิ่งปกปิดเส้นผมมิให้ตกลงปนเปื้อนในอาหาร
(๑๘) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ
จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร ให้ถูกสุขลักษณะ รักษาความสะอาดมือและเล็บ
ถ้ามีบาดแผลหรือถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย
(๑๙) ห้ามผู้สัมผัสอาหารสูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ
ปรุงหรือจำหน่ายอาหารหรือไม่ไอจามรดบนอาหาร และไม่กระทำการใด ๆ
ที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้
(๒๐) ต้องมีการป้องกันอันตราย
และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร
(๒๑) ห้ามถ่าย เททิ้งน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันจากการล้างเครื่องมือ
เครื่องใช้ ภาชนะและอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารลงในท่อหรือทางระบายน้ำ
หรือในที่หรือทางสาธารณะ
ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่ได้รับอนุญาต
(๒) แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย
(๓) ห้ามทิ้งมูลฝอยจากการเร่ขายลงในท่อหรือทางระบายน้ำ
หรือในที่หรือทางสาธารณะ
(๔)
ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทปหรือส่งเสียงดังในขณะที่เร่ขายจนเกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น
(๕) หยุดประกอบการค้าเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขลักษณะ
การรักษาความสะอาดสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๖)
ปฏิบัติการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้ต้องด้วยสุขลักษณะตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ
๘ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘
(๒) อาหารสดที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ ปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดี
สะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
รวมทั้งมีการเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสมและเก็บเป็นสัดส่วน มีการปกปิด
ไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้
(๓) อาหารแห้งที่นำมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบ ปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายต้องสะอาดปลอดภัย
ไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม
(๔) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหาร
ต้องปลอดภัยได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(๕) อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย
และมีการป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๖)
น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่นำมาจำหน่ายต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
โดยบรรจุในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย
๖๐ เซนติเมตร
(๗) น้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย
๑๕ เซนติเมตร และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาจำหน่าย
(๘) น้ำแข็งสำหรับบริโภคต้องสะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร มีการเก็บในภาชนะที่สะอาด
สภาพดี มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นอย่างน้อย
๖๐ เซนติเมตร และไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน
รวมทั้งต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค
(๙) ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้าม
สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งสำหรับบริโภคโดยเฉพาะ
(๑๐) ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร เครื่องดื่ม
และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องสะอาดและทำจากวัสดุที่ปลอดภัย
เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี ไม่ชำรุดและมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม
(๑๑) จัดเก็บภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไว้ในภาชนะที่สะอาด
สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร หรือมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม
(๑๒)
ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟต้องสะอาด มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สภาพดี ไม่ชำรุด
(๑๓)
ภาชนะ อุปกรณ์ เครื่องใช้ที่รอการล้าง และเศษอาหาร
ต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้
(๑๔)
ล้างภาชนะอุปกรณ์และเครื่องใช้ทุกประเภทให้สะอาดโดยใช้สารทำความสะอาดที่ปลอดภัย
(๑๕)
น้ำใช้และภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ปลอดภัย
(๑๖)
ผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
ไม่เป็นโรคติดต่อหรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ หรือไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย
โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป
(๑๗)
ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาดและเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหารได้
และสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น
มีสิ่งปกปิดเส้นผมมิให้ตกลงปนเปื้อนในอาหาร
(๑๘)
ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ
จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร ให้ถูกสุขลักษณะ รักษาความสะอาดมือและเล็บ
ถ้ามีบาดแผลหรือถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย
(๑๙)
ห้ามผู้สัมผัสอาหารสูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหารหรือไม่ไอจามรดบนอาหาร
และไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้
(๒๐)
ต้องมีการป้องกันอันตราย และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่ายทำ
ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร
(๒๑)
ห้ามถ่าย เททิ้งน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันจากการล้างเครื่องมือ เครื่องใช้
ภาชนะและอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารลงในท่อหรือทางระบายน้ำ หรือในที่หรือทางสาธารณะ
ข้อ
๙ ห้ามผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ
ข้อ
๑๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป
ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิด หรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า
และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้
การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า
ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว
ข้อ
๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒)
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต
(๓)
ใบรับรองแพทย์ของผู้รับใบอนุญาต และผู้ช่วยจำหน่าย
(กรณีจำหน่ายอาหารและ/หรือเครื่องดื่ม)
(๔) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด
๑x๑ นิ้ว ของผู้รับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่าย
คนละ ๓ รูป เพื่อติดไว้ในทะเบียน ๑ รูป ในใบอนุญาต ๑ รูป และบัตรสุขลักษณะประจำตัว
อีก ๑ รูป
(๕)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ
๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ
๑๔ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ
๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๑๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๑๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๑๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๑๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๒๒ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๒๓ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๒๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สงวน สาริมาตย์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
๓.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
๔.
ใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
๕.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๘๙/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796301 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
และนายอำเภอเมืองหนองคาย จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสุนัข
หมายความว่า การเลี้ยงสุนัขในสถานที่เลี้ยงสุนัข
การปล่อยสุนัข
หมายความว่า การเลี้ยงสุนัขในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสุนัข
รวมทั้งการสละการครอบครองสุนัข
สถานที่เลี้ยงสุนัข
หมายความว่า คอกสุนัข กรงสุนัข ที่ขังสุนัข หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสุนัขที่เลี้ยง
เจ้าของสุนัข
หมายความว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองสุนัข
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
การทำทะเบียน หมายความว่า การจดทะเบียนและการขึ้นทะเบียน
การจดทะเบียน หมายความว่า
การออกใบรับรองรูปพรรณสัณฐานและการทำเครื่องหมายระบุตัวสุนัข
การขึ้นทะเบียน หมายความว่า
การนำเอกสารเกี่ยวกับสุนัขที่จดทะเบียนไว้แล้ว แจ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกรายละเอียดรูปพรรณสัณฐาน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสุนัขให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขดังนี้
(๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขบางชนิดโดยเด็ดขาด
(๑.๑) ในที่หรือทางสาธารณะหรือบริเวณไหล่ทางของถนนสาธารณะ
(๑.๒) ภายในเขตบริเวณของหน่วยงานราชการ
(๑.๓) ภายในเขตบริเวณของวัด สำนักสงฆ์ หรือสถานที่เผยแผ่ศาสนา
(๒) ให้พื้นที่บริเวณทุ่งหญ้า ทุ่งนา ป่าชุมชน
หรือป่าสาธารณะเป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขได้แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการ
ดังต่อไปนี้
(๒.๑)
ต้องมีผู้ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันมิให้สุนัขทำอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของบุคคล
(๒.๒) ให้เจ้าของสุนัขที่เลี้ยงในพื้นที่ตาม (๒)
มีหน้าที่นำสุนัขไปทำทะเบียนและขอมีบัตรประจำตัวสุนัขได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
(๒.๓) การขึ้นทะเบียนสุนัข เจ้าของสุนัขต้องยื่นคำขอพร้อมแนบเอกสารดังนี้
๑)
สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของสุนัข
๒)
ในกรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของบ้าน
พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน
๓)
ใบรับรองที่ระบุการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้ามาไม่เกินหนึ่งปี มีการระบุหมายเลขการผลิตวัคซีนและลงชื่อสัตวแพทย์ผู้ฉีดพร้อมเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
๔) หนังสือมอบอำนาจในกรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้มาดำเนินการเอง
(๒.๔) เจ้าของสุนัขต้องปฏิบัติดังนี้
๑)
นำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุ ๒ - ๔ เดือน
และครั้งต่อไปตามที่กำหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
๒)
เมื่อสุนัขได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
ให้ติดเครื่องหมายประจำตัวและเก็บใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้
การขายหรือให้สุนัขแก่ผู้อื่นต้องมอบใบรับรองให้ด้วย
ข้อ
๖ แบบคำร้องและวิธีการขึ้นทะเบียนสุนัข
ทะเบียนสุนัขรายครัวเรือน และบัตรประจำตัวสุนัข ให้เป็นไปตามองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานประกาศกำหนด
ข้อ ๗
ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสุนัขในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕
โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสุนัขดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสุนัขคืนให้สุนัขนั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
แต่ถ้าการกักสุนัขไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุนัขนั้นหรือสุนัขอื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสุนัขนั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสุนัขแล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสุนัข
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสุนัขตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสุนัขมาขอรับสุนัขคืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสุนัขต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสุนัขให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสุนัขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ
๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สงวน สาริมาตย์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๓.
ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๔.
แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๕.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๕๕/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
796297 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2559
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง
การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐
มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา
๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานและนายอำเภอเมืองหนองคายจึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.
๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอยติดเชื้อ
หมายความว่า
มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้นซึ่งถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้วสามารถทำให้เกิดโรคได้
กรณีมูลฝอยดังต่อไปนี้
ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลการให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค
และการตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ รวมทั้งในการศึกษาวิจัยเรื่องดังกล่าว
ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ
(๑)
ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด
การตรวจชันสูตรศพหรือซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง
(๒)
วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว ภาชนะที่ทำด้วยแก้วสไลด์
และแผ่นกระจกปิดสไลด์
(๓) วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด
สารน้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ หรือวัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น
สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าต่าง ๆ และท่อยาง
(๔) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน
แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง หมายความว่า
ห้องรักษาผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อร้ายแรง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สถานบริการการสาธารณสุข หมายความว่า
(๑) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลของทางราชการ
(๒) สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
สถานพยาบาลของทางราชการ หมายความว่า สถานพยาบาลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
สถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ หมายความว่า
สถานพยาบาลสัตว์ของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลสัตว์ของหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หมายความว่า
ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มิได้ตั้งอยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุข ซึ่งได้แก่
ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุตัวอย่างจากร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย
และห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุขที่ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ส่วนประกอบ
และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย ทั้งนี้
ตามลักษณะและเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
สภากาชาดไทย และหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงผู้อำนวยการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หมายความว่า
เจ้าของหรือผู้ครอบครองห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หมายความว่า
ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ การเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในเขตราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน
หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตรายและผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ
๗ ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน
หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่นหรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ทั้งนี้
การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
ราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งมูลฝอยติดเชื้อนอกจากในที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นจัดไว้ให้
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีสถานที่ถ่าย
เท
หรือทิ้งมูลฝอยติดเชื้อในที่หรือทางสาธารณะหรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถ่าย
เท หรือทิ้งโดยวิธีอื่นตามมาตรฐานหรือตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด แล้วแต่กรณี
ข้อ
๙ ข้อบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้ใช้บังคับแก่ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองด้วย
และให้สถานบริการการสาธารณสุขหรือห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายนั้นแจ้งให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
และเมื่อราชการส่วนท้องถิ่นได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายดังกล่าว
จึงจะดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองได้
ในการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร้องขอให้อธิบดีกรมอนามัยหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมอนามัยมอบหมายจัดส่งเจ้าหน้าที่กรมอนามัยไปร่วมตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นได้
ข้อ
๑๐ ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
และราชการส่วนท้องถิ่นรวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ในการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยหนึ่งคน
โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
ในด้านสาธารณสุข สุขาภิบาล ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์การแพทย์ด้านใดด้านหนึ่ง
(๒)
ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน
โดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน (๑)
ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในด้านสุขาภิบาลวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
และวิศวกรรมเครื่องกล ด้านใดด้านหนึ่ง
(๓)
ในกรณีที่มีการดำเนินการทั้ง (๑) และ (๒) จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ก็ได้
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสถานพยาบาลของทางราชการ
หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ แต่ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือสถานพยาบาลของทางราชการ
หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งมีคุณสมบัติตาม
(๒) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้านใดด้านหนึ่งเป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บ
การขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น หรือาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งต้องผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ราชการส่วนท้องถิ่นและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกันอาจดำเนินกิจการร่วมกันในการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
โดยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นแห่งใดแห่งหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งมีคุณสมบัติตาม
(๒) ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
ด้านใดด้านหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อร่วมกันก็ได้
หรือาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตนอย่างน้อยหนึ่งคนซึ่งต้องผ่านการอบรมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
เจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม
อาจแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวก็ได้
ข้อ
๑๑ ในการเก็บ ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
หรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายของเอกชน
ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายควบคุมดูแลให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
และดำเนินการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๒ ในการเก็บ ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสถานพยาบาลของทางราชการ
หรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
สภากาชาดไทย
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ดำเนินการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ในการเก็บ
ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และของบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแลให้บุคคลดังกล่าวจัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบและดำเนินการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ในการมอบให้บุคคลใดดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
หรือการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดระยะเวลาและเส้นทางขน ตลอดจนเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติอื่น
ๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ให้บุคคลดังกล่าวถือปฏิบัติไว้ด้วย
ข้อ
๑๓ บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และดำเนินการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๔ ให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข
ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย และเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีหน้าที่ควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของตน และดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๕ ให้เก็บบรรจุมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อดังนี้
(๑) มูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุของมีคม
ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถัง
(๒) มูลฝอยติดเชื้ออื่นซึ่งมิใช่ประเภทวัสดุของมีคม
ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุง
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
ต้องใช้เพียงครั้งเดียวและต้องทำลายพร้อมกับการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
ข้อ
๑๖ ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อต้องมีคุณลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถังต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทานต่อการแทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมี
เช่น พลาสติกแข็งหรือโลหะ มีฝาปิดมิดชิด
และป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได้และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกโดยผู้ขนย้ายไม่มีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
(๒)
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงต้องทำจากพลาสติกหรือวัสดุอื่นที่มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย
ทนทานต่อสารเคมีและการรับน้ำหนัก กันน้ำได้ ไม่รั่วซึมและไม่ดูดซึม
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งต้องมีสีแดงทึบแสง
และมีข้อความสีดำที่มีขนาดสามารถอ่านได้ชัดเจนว่า มูลฝอยติดเชื้อ
อยู่ภายใต้รูปหัวกะโหลกไขว้คู่กับตราหรือสัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างประเทศตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาและต้องมีข้อความว่า
ห้ามนำกลับมาใช้อีก และ ห้ามเปิด
ในกรณีที่สถานบริการการสาธารณสุขมิได้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง
สถานบริการการสาธารณสุขดังกล่าวจะต้องระบุชื่อของตนไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
และในกรณีที่ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นใช้สำหรับเก็บมูลฝอยติดเชื้อไว้เพื่อรอการขนไปกำจัดเกินกว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
ให้ระบุวันที่ที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อด้วย
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
มีได้หลายขนาดตามความเหมาะสมของการเก็บ ขน และการกำจัด แต่ในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเห็นสมควร
เพื่อความสะดวกในการเก็บ
ขนและการกำจัดจะกำหนดขนาดของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อสำหรับใช้ในสถานบริการการสาธารณสุขใดหรือสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายใดก็ได้
ข้อ
๑๗ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออาจจะจัดให้มีภาชนะรองรับภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อก็ได้
โดยภาชนะรองรับนั้นจะต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อสารเคมี ไม่รั่วซึม
ทำความสะอาดได้ง่ายและต้องมีฝาปิดเปิดมิดชิด
เว้นแต่ในห้องที่มีการป้องกันสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคและจำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลาจะไม่มีฝาปิดเปิดก็ได้
ภาชนะรองรับตามวรรคหนึ่งให้ใช้ได้หลายครั้งแต่ต้องดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
ข้อ
๑๘ การเก็บมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อตรงแหล่งเกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้นและต้องเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
โดยไม่ปนกับมูลฝอยอื่นและในกรณีที่ไม่สามารถเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้โดยทันทีที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อจะต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อนั้นลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อโดยเร็วที่สุดเมื่อมีโอกาสที่สามารถจะทำได้
(๒)
ต้องบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไม่เกินสามในสี่ส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ แล้วปิดฝาให้แน่น
หรือไม่เกินสองในสามส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุง
แล้วผูกมัดปากถุงด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นให้แน่น
(๓)
กรณีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มีปริมาณมาก
หากยังไม่เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นออกไปทันทีจะต้องจัดให้มีที่หรือมุมหนึ่งของห้องสำหรับเป็นที่รวมภาชนะที่ได้บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้ว
เพื่อรอการเคลื่อนย้ายไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
แต่ห้ามเก็บไว้เกินหนึ่งวัน
(๔)
จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามข้อ ๒๐
เพื่อรอการขนไปกำจัดและต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
ข้อ
๑๙ ในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อจะต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นห้องหรือเป็นอาคารเฉพาะแยกจากอาคารอื่นโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
สำหรับใช้เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปกำจัด
(๑) มีลักษณะไม่แพร่เชื้อ
และอยู่ในที่ที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัด
(๒)
มีขนาดกว้างเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อยสองวัน
(๓)
พื้นและผนังต้องเรียบทำความสะอาดได้ง่าย
(๔)
มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย
(๕)
มีลักษณะโปร่ง ไม่อับชื้น
(๖)
มีการป้องกันสัตว์ แมลงเข้าไป
มีประตูกว้างพอสมควรตามขนาดของห้องหรืออาคารเพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน
และปิดด้วยกุญแจหรือปิดด้วยวิธีอื่นที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถที่จะเข้าไปได้
(๗) มีข้อความเป็นคำเตือนที่มีขนาดสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า
ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ไว้ที่หน้าห้องหรือหน้าอาคาร
(๘)
มีลานสำหรับล้างรถเข็นอยู่ใกล้ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
และลานนั้นต้องมีรางหรือท่อรวบรวมน้ำเสียจากการล้างรถเข็นเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
ในกรณีที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เกินเจ็ดวัน
ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐
องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้นได้
ข้อ ๒๐ การเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปกำจัดต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ
โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรม
การป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่
ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก
และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้งตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานและถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที
(๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
(๔)
ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ
๒๑ เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ
๒๐ (๑) ก็ได้
(๕)
ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอนและในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อห้ามแวะหรือหยุดพัก
ณ ที่ใด
(๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
(๗)
กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทาง ห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา
หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษ แล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ
(๘)
ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละครั้ง และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น
ข้อ
๒๑ รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้
(๑)
ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่ายไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคและสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้
(๒)
มีพื้นและผนังทึบเมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป
(๓) มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น
(๔)
ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้ายและอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่มูลฝอยติดเชื้อตกหล่น
ตลอดเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ข้อ ๒๒ สถานบริการการสาธารณสุขดังต่อไปนี้
จะไม่จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อก็ได้ แต่ต้องจัดให้มีบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เป็นการเฉพาะ
(๑) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
(๒) สถานพยาบาลสัตว์ประเภทที่ไม่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืน
หรือประเภทที่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืนตามชนิดและจำนวนไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๓) สถานที่ที่อาจมีมูลฝอยติดเชื้อตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
บริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่งให้มีลักษณะตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ
๒๓ ราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ซึ่งรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข
หรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องจัดให้มี
(๑) ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
โดยให้มีจำนวนที่เพียงพอกับการประกอบการหรือการให้บริการ
(๒) ผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ
โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๓)
ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการกำจัดซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
โดยต้องมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะขนไปกำจัด
และให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ด้วยสีแดงและมีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ในสภาพถาวรด้วย
(๔) บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นสถานที่เฉพาะมีขนาดกว้างขวางเพียงพอ
มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
และต้องทำความสะอาดบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
ข้อ
๒๔ การขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข
หรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องขนโดยยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อเท่านั้น
(๒)
ต้องขนอย่างสม่ำเสมอตามวันและเวลาที่กำหนด โดยคำนึงถึงปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อและสถานที่จัดเก็บเว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น
(๓)
ผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องถือปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะดังนี้
ก. ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่
ถุงมือยางหนา
ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที
ข. ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน
หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ค.
กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทางห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนาหากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ
(๔) ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อและผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องระมัดระวังมิให้มูลฝอยติดเชื้อและภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นในระหว่างการขน
ห้ามนำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่นและให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเว้นแต่กรณีภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกหรือมีการรั่วไหลต้องทำความสะอาดในโอกาสแรกที่สามารถจะทำได้
ข้อ
๒๕ ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้
(๑)
ตัวถังปิดทึบผนังด้านในต้องบุด้วยวัสดุที่ทนทานทำความสะอาดได้ง่ายไม่รั่วซึม
(๒)
ในกรณีที่เป็นยานพาหนะสำหรับใช้ขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เก็บกักภาชนะมูลฝอยติดเชื้อไว้เกิน
๗ วัน ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐
องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น
ภายในตัวถังของยานพาหนะนั้นต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่
๑๐ องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้นได้
และจะต้องติดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์ที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิภายในตัวถังไว้ด้วย
(๓)
ข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนปิดไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านว่า
ใช้เฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ
(๔)
กรณีราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อให้ราชการส่วนท้องถิ่นแสดงชื่อของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
กรณีบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนระบุวิธีการที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลนั้นดำเนินการกำจัดมูลฝอย
ติดเชื้อ และชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นให้อย่างชัดเจนด้วย
กรณีบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนพร้อมกับแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ระบุรหัสหรือหมายเลขใบอนุญาต ชื่อ สถานที่
และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้นไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
(๕)
ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่น หรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ
อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย
และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารสำหรับใช้ติดต่อแจ้งเหตุอยู่ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตลอดเวลาที่ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ข้อ
๒๖ ในกรณีที่ใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัดที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อรถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะมูลฝอยติดอย่างน้อยต้องมีลักษณะดังนี้
(๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย
ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรคและสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้
(๒)
มีพื้นและผนังทึบเมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่น เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป
(๓)
มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า รถเข็นมูลฝอยติดเชื้อห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น
(๔)
ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้ายและอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่มูลฝอยติดเชื้อตกหล่นตลอดเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ข้อ
๒๗ ในกรณีที่ใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัดที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแทนยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อรถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการให้มีลักษณะดังนี้
(๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่
ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง
ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
และถ้าในการปฏิบัติงานร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที
(๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
(๔)
ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ
๒๑
เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตาม
(๑) ก็ได้
(๕) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอนและในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อห้ามแวะหรือหยุดพัก
ณ ที่ใด
(๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
(๗)
กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทาง ห้ามหยิบด้วยมือเปล่าต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา
หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ
(๘) ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละครั้ง
และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น
ข้อ
๒๘ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
(๒) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามระยะเวลาที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดแต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ขนจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
(๓)
ในระหว่างรอกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ในที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อบัญญัตินี้
โดยมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะทำการกำจัด
รวมทั้งจัดให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ด้วยสีแดงและมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ด้วย
(๔)
จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
(๕) จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อรวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณที่ตั้งระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
(๖)
กรณีที่สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้วิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการอื่นที่มิใช่วิธีเผาในเตาเผา
ให้สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้นตรวจวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นประจำทุกเดือน
และให้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์นั้นให้ราชการส่วนท้องถิ่นทราบเป็นประจำภายในวันที่ห้าของทุกเดือน
ข้อ
๒๙ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
มีวิธีการดังนี้
(๑)
เผาในเตาเผา
(๒)
ทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ
(๓)
ทำลายเชื้อด้วยความร้อน
(๔)
วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ ๓๐ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผา
ให้ใช้เตาเผาที่มีห้องเผามูลฝอยติดเชื้อและห้องเผาควัน
การเผามูลฝอยติดเชื้อให้เผาที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๗๖๐ องศาเซลเซียส
และในการเผาควัน ให้เผาด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐
องศาเซลเซียส ทั้งนี้
ตามแบบเตาเผาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือเห็นชอบและในการเผาต้องมีการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ
๓๑ การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการทำลายเชื้อด้วยไอน้ำหรือวิธีทำลายเชื้อด้วยความร้อนหรือวิธีอื่นจะต้องดำเนินการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพ
โดยมีประสิทธิภาพที่สามารถทำลายเชื้อบัคเตรี เชื้อรา ไวรัส และปาราสิต
ในมูลฝอยติดเชื้อได้หมด
ภายหลังการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีดังกล่าวตามวรรคหนึ่งแล้วต้องมีการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพโดยวิธีการตรวจวิเคราะห์เชื้อบะซิลลัสสะเทียโรเธอร์โมฟิลลัส
หรือบะซิลลัสซับทิลิส แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ
๓๒ เศษของมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือหลังจากการเผาในเตาเผาหรือที่ผ่านการกำจัดเชื้อแล้ว
ให้ดำเนินการกำจัดตามวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไป
เว้นแต่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ
๓๓ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๓๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว
(ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่นๆระบุ...........)
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๓๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จพร้อมสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ
๓๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ
๓๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ
๓๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๓๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ
๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๔๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๔๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต
ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๔๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๔๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๔๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่ง โดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๔๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๔๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตราชการส่วนท้องถิ่นในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๔๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๔๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวานเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สงวน สาริมาตย์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลค่ายบกหวาน
เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๙
๓. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
๔.
ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
๕. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
๖.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ
ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/จัดทำ
๒๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๓ ง/หน้า ๓๒/๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ |
795418 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อและนายอำเภอบ้านโป่ง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราแล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า
อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน
ตลาดที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า
สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ข้อ ๕ การเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ ให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้ออาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๙
มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย
และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว
แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อหรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ทั้งนี้
การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ
ขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง กอง
หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ
นอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อจัดไว้ให้
(๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ
ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๓) กำหนดวิธีการเก็บ ขน
และการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือสถานที่ใด ๆ
ปฏิบัติให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามสภาพหรือลักษณะตามสภาพหรือลักษณะการใช้อาคารหรือสถานที่นั้น
ๆ
ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ขอรับใบอนุญาต
(๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต
(๓) สำเนาใบทะเบียนนิติบุคคล (ถ้ามี)
(๔) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)
เอกสารหรือหลักฐานแสดงสถานที่รับกำจัดมูลฝอยทั่วไปที่ได้รับอนุญาตและมีการดำเนินกิจการที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลโดยมีหลักฐานสัญญาว่าจ้างระหว่างผู้ขนหรือผู้กำจัดมูลฝอย
(๖) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อกำหนด
ข้อ ๑๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐
จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลจะต้องปฏิบัติหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
- ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
- ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้
มีฝาปิด-เปิดอยู่ด้านบน
- มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย
- ท่อ หรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี
ไม่รั่วซึม
- มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ
(ถังตักน้ำ/ไม้กวาด/น้ำยาฆ่าเชื้อโรค)
- ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
เช่น รถดูดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น
และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ
ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต
ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อประกาศกำหนด
(๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง
รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด
ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด
(๑.๔)
กรณีกำจัดสิ่งปฏิกูลเองต้องมีระบบบำบัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล โดยที่แหล่งกำจัดนั้นจะต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญและไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
(๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐
จะต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือประกาศที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดดังนี้
- สถานที่ดำเนินการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องตั้งห่างจากชุมชน
ศาสนสถาน สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ แหล่งน้ำสาธารณะ
โดยให้คำนึงถึงการป้องกันมิให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
หรือเหตุรำคาญแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
- ต้องมีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขาภิบาล เช่น
ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลโดยการหมักย่อยสลาย (Compostingand Digestion) ด้วยส่วนประกอบ ถังหมักย่อยสลาย ลานทรายกรอง จัดให้มีเสื้อคลุม ผ้าปิดปาก ถุงมือยาง
รองเท้ายางหุ้มสูงถึงแข้ง มีอุปกรณ์ทำความสะอาด
น้ำยาฆ่าเชื้อและต้องมีผู้ควบคุมดูแลหรือผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมหรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
- ไม่ก่อให้เกิดปนเปื้อนหรือการแพร่กระจายเชื้อโรคไปยังพื้นดิน
แหล่งน้ำ น้ำใต้ดิน พืชผลทางการเกษตร
- ไม่เป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์พาหะนำโรค
- ไม่เป็นที่น่ารังเกียจ ไม่ก่อให้เกิดกลิ่นเหม็น
สกปรกหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
(๒.๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐
จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง
(๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนมูลฝอย
(๓.๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐
จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ หรือประกาศที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด ได้แก่
- ตัวถังบรรจุมูลฝอยมีความแข็งแรงทนทาน ไม่รั่วซึม
มีลักษณะปกปิด เป็นที่ง่ายต่อการบรรจุ ขนถ่าย และทำความสะอาดง่าย
- มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน้ำจากมูลฝอยเพื่อมิให้รั่วขณะปฏิบัติงาน
และนำน้ำเสียจากมูลฝอยไปบำบัด
-
มีลักษณะหรือสัญญาณไฟวับวาบติดไว้ประจำยานพาหนะชนิดไม่ก่อให้เกิดความรำคาญและสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล
เปิดให้สัญญาณขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
- ยานพาหนะขนมูลฝอยต้องมีความปลอดภัยสำหรับการปฏิบัติงาน
(๓.๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง
(๔) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย
(๔.๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐
จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ หรือประกาศที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดย
- ต้องกำจัดมูลฝอยในที่ที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อกำหนดให้เท่านั้น
- หลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะการกำจัดมูลฝอยต้องกำจัดโดยวิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธี
เช่น การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล การเผาในเตา
การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ การจัดการแบบผสมผสาน
หรือวิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ซึ่งวิธีการนี้ไม่นำไปใช้กับมูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนและของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
หรือเว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
(๔.๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ
๑ ครั้ง
ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๔ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ได้รับอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูล ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม
ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง
และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
- ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล
โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้วให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล
และทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
(เช่น ไลโซน ๕%)
- ทำความสะอาดยานพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑
ครั้งหลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว
สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ
- กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด
ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%)
แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด
- มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑
ครั้ง
(๒) ผู้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- ขณะปฏิบัติงานต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม
ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง
และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
- ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐
จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง
- มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ ๑
ครั้ง
(๓) ผู้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนมูลฝอยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- ขณะปฏิบัติงานต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม
ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง
และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
- ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐
จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง
- มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ ๑
ครั้ง
(๔)
ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการรับทำการกำจัดมูลฝอยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- ผู้รับใบอนุญาตต้องดำเนินงานระบบกำจัดมูลฝอยตามหลักสุขาภิบาลตามประเภทของระบบกำจัด
- ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ
๑ ครั้ง
- ขณะปฏิบัติงานต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม
ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง
และรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
ข้อ ๑๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้
จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ
ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สุเทพ ภูริเอกทัต
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ พ.ศ.
๒๕๖๐ (สม. ๑)
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (สม. ๒)
๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (สม.
๓)
๕. แบบคำขอใบอนุญาตทั่วไป (สม.
๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๙
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๕๒/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795422 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนง
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
โดยที่เห็นเป็นการสมควรแก้ไขและปรับปรุงรายชื่อกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนงโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนงและนายอำเภอปราสาท
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนง เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนงนับแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททะนง
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติ เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.
๒๕๕๔ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ
คำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัติอื่นหรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข
หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
การค้า หมายความว่า
การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ
เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายความว่า กิจการที่มีกระบวนการผลิต หรือกรรมวิธีการผลิตที่ก่อให้เกิดมลพิษ
หรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรคซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องมลพิษทางอากาศ
ทางน้ำ ทางดิน ทางเสียง แสง ความร้อน ความสั่นสะเทือน รังสี ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า
เป็นต้น
ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททะนง
(๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
(๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๑.๒) การประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น
ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดู
หรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม
(๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๒.๑) การฆ่าสัตว์
หรือชำแหละสัตว์ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด
(๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๒.๓) การสะสมเขา กระดูก
หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง
ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม
บรรจุ สะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช
หรือส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๒.๗) การผลิต แปรรูป การสะสมหรือล้างครั่ง
(๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร
เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม
ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง
น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง
จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ
น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน
ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน
ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น
ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๓.๗) การผลิต สะสม
หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
ขนมอบอื่นๆ
(๓.๙) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๓.๑๐) การผลิต สะสม
หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก
ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๓.๑๒) การผลิต สะสม หรือบรรจุ น้ำนม
หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์
สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๓.๑๔) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๓.๑๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๓.๑๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๓.๑๗) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก
ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุใบชาแห้ง ชาผง
หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๒๐) การผลิตไอศกรีม
(๓.๒๑) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า
หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๒๒) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร
(๓.๒๓) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา
เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น
เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด
หรือผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดต่าง ๆ
(๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๕.๓) การผลิต
หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร
หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใดๆก็ตาม
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง
ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
(๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์
หรือเครื่องใช้ต่าง ๆด้วยโลหะ หรือแร่
(๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๖.๑)
(๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม
นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน (๖.๑)
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
(๗) กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี
หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร
เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย
และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์
หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่า
หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า
(๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๘.๔) การอบไม้
(๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
(๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๙.๓)
การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑)
(๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑)
(๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ
การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ
หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑)
(๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต
หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง
หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๙.๑๙)
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๐)
การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
(๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่นๆด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง
รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒)
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย ตัด
หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง
ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง
หรือเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสม
(๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก
แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕)
(๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน
ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ
(๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ
หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น
หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๗.๑)
(๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม
พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์
เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต สะสม
ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบ
ในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช
หรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
(๑๓) กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต
ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด
ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะ
หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี
หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา
หรือแพปลา
(๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง
หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
(๑๓.๑๔) การเกรดปรับดิน การไถด้วยรถไถนั่งขับ
รถแทรกเตอร์
ข้อ ๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
ห้ามบุคคลใดประกอบกิจการตามประเภทที่กำหนดไว้ในข้อ ๕
ในลักษณะที่เป็นการค้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนง
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๗ ผู้ประกอบกิจการตามประเภทที่กำหนดไว้ในข้อ
๕ ทั้งที่เป็นการค้าและไม่เป็นการค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
ดังต่อไปนี้
(๑)
สถานที่ประกอบกิจการจะต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะทำรางระบายน้ำโสโครกไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ
หรือระบบบำบัดน้ำเสียได้โดยสะดวก และการระบายน้ำโสโครกจะต้องไม่ทำให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียง
(๒) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าควรจะต้องมีบ่อน้ำพักน้ำโสโครก
หรือบ่อดักไขมัน เครื่องป้องกันกลิ่น เสียง ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า ควัน เถ้า
หรือสิ่งใดอันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง ผู้ประกอบกิจการจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
(๓) ต้องจัดให้มีที่รองรับขยะมูลฝอย
และสิ่งเปรอะเปื้อนที่ถูกสุขลักษณะให้เพียงพอ
(๔) ต้องจัดให้มีแสงสว่าง และการระบายอากาศที่เพียงพอและต้องจัดสถานที่ให้สะอาดมิให้สกปรกรกรุงรังอันอาจจะเป็นที่อาศัยของสัตว์นำโรค
(๕) จะต้องประกอบกิจการภายในเขตสถานที่ตามที่ขออนุญาตและตามกำหนดวันและเวลาที่ขออนุญาต
(๖) ถ้ามีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลง แก้ไข
เพิ่มเติมสถานที่ประกอบกิจการจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
(๗) จะต้องปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการการค้าตามข้อ
๕ จะต้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบประกาศที่กำหนด
ข้อ ๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการการค้าตามข้อ
๕ จะต้องนำสำเนาหลักฐาน ดังต่อไปนี้แสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๑) บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีบุคคลธรรมดา)
(๓) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคลพร้อมสำเนาที่รับรองถูกต้อง
(กรณีนิติบุคคล)
(๔) หนังสือมอบอำนาจ
(กรณีที่มีการมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องหรือคำขอแทน)
(๕)
หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือที่ดินที่ใช้ประกอบกิจการ
ในกรณีที่มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอาคารหรือที่ดินที่ใช้ประกอบการจะต้องมีหนังสือแสดงความยินยอมของเจ้าของอาคารหรือที่ดินให้ประกอบกิจการตามที่ขอรับใบอนุญาตได้
ข้อ ๑๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาต
หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าตามข้อ
๖ ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอตามข้อ ๘ และหลักฐานตามข้อ ๙
ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ในกรณีที่มีเหตุอันจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจดำเนินการได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
สามารถขยายเวลาออกไปได้อีกสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน โดยจะมีหนังสือแจ้งขยายเวลา และเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าประเภทใดที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการค้านั้นต่อไปจะต้องยื่นคำขอต่อใบอนุญาตตามแบบที่ประกาศกำหนดภายในกำหนดสามสิบวันก่อนสิ้นอายุใบอนุญาต
ข้อ ๑๒ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อ
๑๐ และผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๑๑
จะต้องชำระค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ในวันที่มารับ ใบอนุญาตหรือวันที่มายื่นคำขอต่อใบอนุญาตแล้วแต่กรณีนี้
ผู้ประกอบกิจการค้ารายใดไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาในวรรคหนึ่งจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินการก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๓ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าจะต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๑๔ กรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด
การขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ ๗
และข้อ ๘ โดยอนุโลม
และให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
ข้อ ๑๕ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือตามบทแห่งพระราชบัญญัติ
หรือกฎกระทรวงที่ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไข หรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้และถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่แก้ไขหรือปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้ารายใดถูกพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามข้อบัญญัตินี้หรือการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามวรรคหนึ่งก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๑๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอใบอนุญาตสำหรับประกอบกิจการค้าที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๑๗ ผู้ประกอบการค้ารายใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ คำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วิลาวัลย์ ปัญญาดี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททนง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปราสาททะนง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๙
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๖๖/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795426 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
และนายอำเภอสทิงพระ จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์ เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์แล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่เศษอาหาร เถ้า
มูลสัตว์หรือซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ หมายความว่า
มูลฝอยทั่วไปที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น แก้ว
กระดาษ โลหะ พลาสติก
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน หมายความว่า
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
น้ำชะมูลฝอย หมายความว่า ของเหลวที่ไหลชะผ่าน หรือของเหลวที่ออกจากมูลฝอยซึ่งอาจประกอบด้วยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น
ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ การจัดการปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์แต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการวรรคหนึ่งแทนก็ได้ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใด
ถ่าย เท ทิ้งหรือทำให้มีสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ในที่หรือทางสาธารณะเป็นต้นว่าถนน
ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ
เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์จัดตั้งไว้ให้โดยเฉพาะ
ข้อ ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก
และเป็นสถานที่องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์อนุญาตให้หรือจัดให้โดยเฉพาะ
ข้อ ๗ ห้ามมิให้ผู้ใด
ทำการขน ถ่าย เท คุ้ย เขี่ย หรือขุดมูลฝอยในที่รองรับ รถขน เรือขน
หรือสถานที่พักมูลฝอยใด ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
เว้นแต่การกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่ใด ๆ
ต้องจัดให้มีการรองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ในอาคารหรือสถานที่นั้น ๆ
ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ
ตามแบบที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ
ข้อ ๙ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด
ไม่รั่ว ไม่ซึมและไม่มีกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก
และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่วมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงและสัตว์ได้ตามแบบซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ
ข้อ ๑๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่ายเท
หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ
ข้อ ๑๑ ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ทำการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ
เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้จัดทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ
หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๒ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่า อาคาร
สถานที่หรือบริเวณใด ควรทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ไปทำการจัดการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
สถานที่หรือบริเวณนั้น ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน
หรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย
กำหนดบริเวณที่ต้องทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไม่น้อยกว่าสามแห่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันประกาศแล้วเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือบริเวณใด
ๆ จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น
เก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจากอาคาร สถานที่บริเวณนั้น ๆ
ซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือครอบครองอยู่โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๓ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือบริเวณใด
ซึ่งนอกบริเวณเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามข้อ ๑๒ ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยการเผา
ฝังหรือโดยวิธีการอื่นใดโดยไม่ขัดต่อสุขลักษณะ
กิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ผู้ได้รับมอบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๔ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนโดยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๕ ผู้ใดประสงค์ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบแบบ ๑
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์กำหนด
ข้อ ๑๖ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์กำหนด
ข้อ ๑๗ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอรับอนุญาต
ให้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว
และเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามแบบ
แบบ ๒
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำ
ระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้
ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากพนักงานท้องถิ่นหากมิได้รับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๙ ในการให้บริการตามใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือกับผู้รับบริการทุกราย
โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราบริการ ระยะเวลาในการให้บริการ และความรับผิดชอบโดยการผิดสัญญา
โดยส่งสำเนาสัญญาและใบเสร็จรับเงินให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่เริ่มให้บริการ
ทั้งนี้
อัตราค่าบริการต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการชั้นสูงท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้
ข้อ ๒๐ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกให้บริการแก่ผู้รับบริการรายใดจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่
ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้
(๑) รักษาคุณสมบัติที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๖
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต
(๒) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๑๙
(๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความปลอดภัย
และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งระเบียบข้อบัญญัติและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
ข้อ ๒๒ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ แบบ ๓
ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตหากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
ข้อ ๒๔ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
แบบ ๔
ข้อ ๒๕ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ แบบ ๔
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
แบบ ๔ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญแล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ
กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ ๒๗ การออกใบแทนใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑)
การออกแบบใบแทนอนุญาตให้ใช้แบบ แบบ ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ของอายุของใบอนุญาตเดิมนั้น
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม
ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี
และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๘ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๙ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
(๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ
แบบ ๑
(๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ
แบบ ๒
(๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้แบบ
แบบ ๓
(๔) คำขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ แบบ ๔
ข้อ ๓๐ กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้
๑๕ วัน กรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุจะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๒๑ หรือข้อ
๒๒ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๒๐ ข้อ ๒๑
หรือข้อ ๒๒ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อ ๒๗ หรือข้อ
๒๙ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๓๑ วรรคหนึ่ง มีความผิดมาตรา ๘๔
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ในข้อหนึ่งข้อใดต้องระวางโทษตามมาตรา
๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ เว้นแต่การฝ่าฝืนนั้นต้องด้วยความในข้อ ๓๑ ข้อ ๓๒ ข้อ ๓๓ และข้อ
๓๔ แห่งข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
สมยศ สักพันธ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมแนบท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการขน
เก็บ กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ๑)
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการขน
เก็บ กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ๒)
๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการขน
เก็บ กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ ๓)
๕. คำร้องขออนุญาตการต่าง ๆ
(แบบ ๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๘
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๙๓/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795424 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนางาม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสุกร พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนางาม
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงสุกร
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยเป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนางาม
ว่าด้วยการเลี้ยงสุกรในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลนางาม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๓
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลนางามโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนางาม
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนางาม เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงสุกร พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนางามนับแต่วันถัดจากวันประกาศ
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนางาม
มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ
คำสั่ง หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนางาม
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
สัตวแพทย์ หมายความว่า
(๑) นายสัตวแพทย์และสัตวแพทย์ของกรมปศุสัตว์
(๒)
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นสัตวแพทย์เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
และต้องมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ผู้ปกครองท้องที่ หมายความว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบลสารวัตกำนัน
สัตวแพทย์ผู้ควบคุม ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า สัตวแพทย์ที่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบการวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง
ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพการสัตวแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๕ และได้รับใบอนุญาตเป็นสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มเลี้ยงสัตว์จากกรมปศุสัตว์
การเลี้ยงสุกร หมายความว่า
การมีสุกรไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่ บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นประจำสม่ำเสมอ
เพื่อให้สุกรเจริญเติบโตและมีชีวิตอยู่ได้
อาคาร หมายความว่า บ้าน เรือน
โรง ร้าน อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการเลี้ยงสุกรตามข้อบัญญัตินี้
เหตุรำคาญ หมายความว่า ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น
ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ
(๑) แหล่งน้ำทางระบายน้ำที่ใส่มูลหรือเถ้าหรือสถานที่อื่นที่อยู่ในทำเลไม่เหมาะสม
สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของมีการเทสิ่งใด ๆ
เป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมหรือละอองสารเป็นพิษ
(๒) อาคารอันเป็นที่อยู่อาศัยของคนหรือสัตว์หรือสถานที่ประกอบการใด
ไม่มีการระบายน้ำ การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมีแต่ไม่มีการควบคุมให้ปราศจากกลิ่นเหม็นหรือละอองอย่างเพียงพอจนเป็นเหตุให้เกิดความเสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๓) การกระทำใด ๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่น เสียง สิ่งมีพิษ
หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจของผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบเหตุนั้น
หมวด
๒
การควบคุมการเลี้ยงสุกร
ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะเลี้ยงสุกรจะต้องปฏิบัติตามมาตรการ
ดังต่อไปนี้
(๖.๑)
สถานที่ตั้งต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ศาสนสถาน โบราณสถาน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาลหรือสถานที่ของราชการอื่น ๆ
ในระยะที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และไม่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อชุมชน
โดยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวข้างต้น และแหล่งน้ำสาธารณะในระยะดังต่อไปนี้
(๖.๑.๑)
สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสุกรน้อยกว่า ๕๐ ตัว ควรมีระยะห่างที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคราญต่อชุมชนใกล้เคียง
(๖.๑.๒) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสุกร
ตั้งแต่ ๕๐ ๕๐๐ ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า
๒๐๐ เมตร
(๖.๑.๓) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสุกร เกินกว่า
๕๐๐ ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ เมตร
(๖.๒) โรงเรือนเลี้ยงสุกรและส่วนประกอบ
(๖.๒.๑) โรงเรือนเลี้ยงสุกรควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
(๖.๒.๒) โรงเรือนเลี้ยงสุกรต้องเป็นอาคารเอกเทศ
มั่นคงแข็งแรง มีลักษณะเหมาะแก่การเลี้ยงสุกรไม่มีการพักอาศัย
หรือประกอบกิจการอื่นใด
(๖.๒.๓) พื้นโรงเรือนเลี้ยงสุกรทำด้วยวัสดุแข็งแรง
พื้นผิวเรียบ ทำความสะอาดง่ายมีความลาดเอียงที่เหมาะสมให้น้ำหรือสิ่งปฏิกูลไหลลงรางระบายน้ำได้สะดวก
(๖.๒.๔)
โรงเรือนเลี้ยงสุกรต้องมีที่ขังและที่ปล่อยสุกรกว้างขวางเพียงพอ คอกสุกรต้องมีการกั้นเป็นสัดส่วน
เหมาะสมกับจำนวนสุกรไม่ให้สุกรอยู่อย่างแออัด
(๖.๒.๕) หลังคาทำด้วยวัสดุแข็งแรง
มีความสูงจากพื้นที่เหมาะสมและมีช่องทางให้แสงสว่างหรือแสงแดดส่องเข้าภายในอาคารได้อย่างทั่วถึง
(๖.๒.๖) ต้องมีห้องเก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้
หรืออุปกรณ์ในการทำงานในที่มิดชิด
เป็นระเบียบเรียบร้อย
และรักษาความสะอาดอยู่เสมอไม่เป็นที่เพาะพันธุ์ของสัตว์นำโรคต่าง ๆ ทั้งนี้
รายละเอียดโรงเรือนเลี้ยงสุกรและส่วนประกอบให้เป็นไปตามประกาศหรือข้อบังคับของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๖.๓) การจัดการของเสีย
สารพิษและมลพิษของสถานประกอบการเลี้ยงสุกร
(๖.๓.๑) ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐาน
โดยใช้การบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม รางระบายน้ำไม่อุดตัน
(๖.๓.๒) น้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วต้องมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งให้ได้เกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
และรายงานการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกสถานประกอบกิจการ
(๖.๓.๓) ต้องเก็บกวาด มูลสัตว์หรือสิ่งปฏิกูลเป็นประจำทุกวันและห้ามทิ้งมูลสุกรหรือมูลฝอยในที่สาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ
(๖.๓.๔) ต้องทำความสะอาด กวาดล้างโรงเรือนเลี้ยงสุกร
และบริเวณโดยรอบโรงเรือนให้สะอาดทุกวันให้มีลักษณะที่ดีอยู่เสมอ รวมทั้งต้องจัดให้มีที่กักเก็บมูลสัตว์โดยเฉพาะเพื่อป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ
(๖.๓.๕)
ต้องจัดให้มีที่เก็บกักมูลสัตว์หรือสิ่งปฏิกูลโดยเฉพาะไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็น เป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญ
และต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค
(๖.๓.๖)
ห้ามทิ้งมูลสัตว์หรือสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่ดินสาธารณะหรือทางน้ำสาธารณะหรือในที่อื่นใดนอกจากที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะที่ได้จัดไว้
(๖.๓.๗)
การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษและเหตุรำคาญ ตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
(๖.๓.๘) กรณีการเลี้ยงสุกรตั้งแต่ ๕๐๐ ตัวขึ้นไป
ผู้ประกอบการจะต้องมีวิศวกรสิ่งแวดล้อมหรือผู้ที่มีคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับการปศุสัตว์หรือสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ควบคุมการเลี้ยงสัตว์
(๖.๓.๙) กรณีระบบบำบัดน้ำเสีย
เป็นระบบหมักก๊าชชีวภาพสำหรับสุกรมากกว่า ๕๐๐ ตัวต้องเป็นระบบที่ได้มาตรฐานสากล และออกแบบระบบถูกต้องตามหลักวิชาการ
ทั้งนี้ ในการออกแบบต้องได้รับการรับรองหรือเห็นชอบจากผู้ที่มีคุณสมบัติ
ดังต่อไปนี้
(๖.๓.๙.๑) โครงสร้างฐานราก ผนัง รางน้ำ และลานตาก
ต้องมีความมั่นคงแข็งแรง ทนแรงกดทับ
หรือแรงดันจากน้ำเสีย และก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นจากระบบ และต้องได้รับการรับรองแบบโดยวิศวกรโยธา
คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือมีประสบการณ์ด้านการออกแบบระบบหมักก๊าชชีวภาพอย่างน้อย
๒ ปี
(๖.๓.๙.๒)
ระบบควบคุมการไหลเวียนของน้ำเสีย ท่อดึงกาก ระบบควบคุมแรงดันก๊าซชีวภาพและตัวกรองต้องออกแบบให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำเสีย
และต้องได้รับการรับรองแบบโดยวิศวกรสิ่งแวดล้อมหรือวิศวกรเครื่องกล
คุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
หรือมีประสบการณ์ด้านการออกแบบระบบหมักก๊าชชีวภาพอย่างน้อย ๒ ปี
(๖.๓.๙.๓) กรณีมีการนำก๊าชชีวภาพไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจะต้องแสดงแผนภูมิของระบบไฟฟ้า
แสดงการจัดวางและเชื่อมต่อทั้งหมดโดยละเอียด กรณีผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายต้องได้รับการรับรองแบบโดยวิศวกรไฟฟ้า
มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
หรือมีประสบการณ์ด้านการออกแบบการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างน้อย ๒ ปี ทั้งนี้ ก่อนการดำเนินการให้ผู้ที่มีความประสงค์ติดตั้งระบบยื่นแบบแปลน
และแผนผังต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อเห็นชอบ และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จต้องแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบรับรองก่อนการใช้งาน
(๖.๔) การจัดการแหล่งแพร่เชื้อโรคหรือสัตว์พาหะนำโรค
(๖.๔.๑) ต้องมีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์
(๖.๔.๒) การกำจัดซากสัตว์โดยการฝังต้องมีเนื้อที่เพียงพอ
โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสมทำการราดหรือโรยบนซากสัตว์จนทั่ว
ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
(๖.๔.๓) การกำจัดซากสัตว์โดยการเผาต้องมีสถานที่เผาหรือเตาเผาอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ ทั้งนี้ รายละเอียดการดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศหรือข้อบังคับของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๖.๕) การจัดการปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญ
(๖.๕.๑)
ถ้ามีการสุมไฟไล่แมลงให้สัตว์ต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ
(๖.๕.๒)
ต้องป้องกันเสียงร้องของสัตว์ ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน รำคาญต่อผู้ที่อยู่อาศัยใกล้เคียง
(๖.๕.๓)
จำนวนสัตว์ต้องไม่มากเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อน
รำคาญต่อผู้อยู่อาศัย
หมวด
๓
การขออนุญาต
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะเลี้ยงสุกรจะต้องยื่นคำขออนุญาตเลี้ยงสุกรต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบโดยให้เป็นไปตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่กำหนดพร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้ อย่างละ ๑ ชุด
(๗.๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาบัตรข้าราชการ/สำเนาบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๗.๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๗.๓) หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน/สำเนาหนังสือสัญญาเช่าที่ดิน/หนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดิน
(๗.๔) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรเรียกเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคำขอหลักฐานต่าง
ๆ ของผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสุกรให้แล้วเสร็จภายในกำหนด ๗ วัน ดังนี้
(๘.๑) กรณีผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสุกรไม่เกิน ๒๐ ตัว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการเลี้ยงสุกรซึ่งประกอบด้วย
๘.๑.๑ พนักงานส่วนตำบล
๘.๑.๒ ผู้ปกครองท้องที่
(๘.๒) กรณีผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสุกร ๒๑ ๑๕๐ ตัว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการเลี้ยงสุกรซึ่งประกอบด้วย
๘.๒.๑ พนักงานส่วนตำบล
๘.๒.๒ ผู้ปกครองท้องที่
๘.๒.๓ เจ้าพนักงานสาธารณสุข
๘.๒.๔ นายสัตวแพทย์หรือสัตวแพทย์
(๘.๓) กรณีผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสุกรเกิน ๑๕๐ ตัว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการเลี้ยงสุกรซึ่งประกอบด้วย
๘.๓.๑ พนักงานส่วนตำบล
๘.๓.๒ ผู้ปกครองท้องที่
๘.๓.๓ เจ้าพนักงานสาธารณสุข
๘.๓.๔ นายสัตวแพทย์หรือสัตวแพทย์
๘.๓.๕ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามข้อ ๘
ทำการตรวจสอบเอกสารหลักฐานและสถานประกอบกิจการเลี้ยงสุกรให้เป็นไปตามข้อบัญญัติฉบับนี้ให้แล้วเสร็จภายใน
๑๕ วันทำการ
แล้วทำความเห็นเสนอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเห็นสมควรออกใบอนุญาตหรือไม่ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาคำขอพยานเอกสารและความเห็นของคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งตามข้อ
๘ ให้แล้วเสร็จและสั่งอนุญาตหรือไม่ออกใบอนุญาตภายในเวลาไม่เกิน ๗ วันทำการ
ยกเว้นมีเหตุกรณีจำเป็นที่ไม่อาจพิจารณาให้เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
ให้ขยายเวลาการพิจารณาสั่งการออกไปได้ไม่เกิน ๑๕ วันทำการ กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาไม่อนุญาตออกใบอนุญาตแก่ผู้ยื่นคำขอ
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ชี้แจงหรือระบุเหตุผลการไม่อนุญาตและให้คำแนะนำในการปฏิบัติหรือแนวทางการปรับปรุงแก้ไขให้แก่ผู้ยื่นคำขอทราบ
ข้อ ๑๐ กรณีผู้ได้รับใบอนุญาตหากจะเพิ่มปริมาณการเลี้ยงสุกรจากเดิมที่ได้รับอนุญาตขอให้ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาก่อนขยายการเลี้ยงและให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการโดยให้ปฏิบัติตามข้อ
๘ และข้อ ๙ โดยอนุโลม
ข้อ ๑๑ กรณีผู้ได้รับอนุญาตให้เลี้ยงสุกรมีความประสงค์จะเลิกกิจการเลี้ยงสุกร
ให้ยื่นคำขอยกเลิกการเลี้ยงสุกรต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายใน ๑๕ วันทำการ
หมวด
๔
การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสุกรเกินกว่า
๑๕๐ ตัว ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
(๑๒.๑) จัดให้มีบริเวณเลี้ยงสุกรเป็นสัดส่วน และอยู่ห่างเขตที่ดินสาธารณะหรือที่ดินต่างเจ้าของ
และต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมโดยรอบบริเวณเลี้ยงสุกรนั้นไม่น้อยกว่า
๒๐ เมตรทุกด้าน เว้นแต่ด้านที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อกับที่ดินของผู้ประกอบกิจการประเภทเดียวกันตามข้อบัญญัตินี้
(๑๒.๒) จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ และมีการระบายอากาศดี
(๑๒.๓) ถนนภายในสถานประกอบกิจการต้องใช้วัสดุคงทน
มีความกว้างเหมาะสม สะดวกในการขนส่ง ลำเลียงอุปกรณ์ อาหารสุกร
รวมทั้งผลผลิตเข้าและออกภายในสถานประกอบกิจการ
(๑๒.๔) สถานที่เก็บอาหารและโรงผสมอาหาร
ควรจัดเป็นสัดส่วนและถูกหลักสุขาภิบาล
(๑๒.๕) อาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
(๑๒.๖) ควรมีสถานที่เก็บอาหารแยกเป็นสัดส่วน
จัดให้เป็นระเบียบ และมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
(๑๒.๗) ต้องมีที่เก็บรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้
อุปกรณ์ในการทำงานเป็นสัดส่วนเหมาะสมและเป็นระเบียบเรียบร้อย
(๑๒.๘) เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ รวมถึงสวิตซ์
และสายไฟต่าง ๆ ต้องได้รับการบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี
(๑๒.๙) ต้องจัดให้มีน้ำดื่มที่ได้มาตรฐานน้ำดื่มไว้บริการสำหรับผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอตั้งอยู่ในบริเวณที่แยกออกจากโรงเรือนเลี้ยงสุกร
และลักษณะการจัดบริการน้ำดื่มต้องไม่ก่อให้เกิดความสกปรกหรือการปนเปื้อน
เช่น ใช้ระบบน้ำกด ใช้แก้วส่วนตัว ใช้แก้วกระดาษที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ใช้แก้วส่วนกลางที่ใช้ดื่มเพียงครั้งเดียวแล้วนำไปล้างทำความสะอาดก่อนนำมาใช้ใหม่หรือวิธีอื่น
(๑๒.๑๐) ต้องจัดให้มีน้ำใช้ที่สะอาดได้มาตรฐาน
และมีปริมาณเพียงพอกับปริมาณน้ำใช้ในแต่ละวัน
(๑๒.๑๑)
กรณีที่สถานประกอบกิจการผลิตน้ำใช้เอง ควรตรวจสอบดูแลคุณภาพน้ำดิบให้สะอาดตรวจสอบระบบท่อน้ำและทำความสะอาดภาชนะเก็บกักน้ำอยู่เสมอ
และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้มีคุณภาพดีอยู่เสมอ
(๑๒.๑๒) ผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มต้องมีสุขภาพแข็งแรง
ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือโรคที่สังคมรังเกียจ โรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร
ทางเดินหายใจ หูน้ำหนวก และบาดแผลติดเชื้อ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ ได้แก่
อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด อีสุกอีใส คางทูม ไวรัสตับอักเสบเอ
และโรคติดต่ออันตรายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
(๑๒.๑๓)
ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
(๑๒.๑๔)
ผู้ปฏิบัติงานควรได้รับการอบรมในเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
(๑๒.๑๕) ผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มจะต้องปฏิบัติดังนี้
(๑๒.๑๕.๑)
ล้างทำความสะอาดมือทุกครั้งก่อนเข้าหรือออกจากฟาร์ม
และภายหลังออกจากห้องส้วมและจับต้องสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ
(๑๒.๑๕.๒)
ควรสวมใส่ชุดปฏิบัติงานที่สะอาดเหมาะสมในแต่ละกิจกรรมที่ปฏิบัติ
(๑๒.๑๕.๓) ในกรณีที่มีบาดแผลต้องปิดแผลด้วยที่ปิดแผล
ถ้ามีบาดแผลที่มือต้องสวมใส่ถุงมือหรือปลอกนิ้วขณะปฏิบัติงาน
(๑๒.๑๖) ต้องจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล เหมาะสม
และเพียงพอ
(๑๒.๑๗) ต้องมีการรวบรวมมูลฝอยและนำไปกำจัดด้วยวิธีการฝัง
เผาอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลและปฏิบัติตามประกาศหรือข้อกำหนดขององค์การบริหารส่วนตำบลนางามว่าด้วยการนั้น
(๑๒.๑๘) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามลักษณะและจำนวนที่กำหนดในกฎหมาย
ว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และบำบัดหรือการกำจัดสิ่งปฏิกูลถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
(๑๒.๑๙) ภายในห้องน้ำและห้องส้วมควรมีวัสดุอุปกรณ์ตามความจำเป็นและเหมาะสม
(๑๒.๒๐)
ต้องดูแลรักษาความสะอาดของห้องน้ำและห้องส้วมเป็นประจำทุกวันที่ปฏิบัติงาน
(๑๒.๒๑)
ต้องมีการป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากสุกรด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง
(๑๒.๒๒) การกำจัดซากสุกรให้ใช้วิธีเผา หรือฝัง
เพื่อป้องกันการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์และแมลงนำโรคดังนี้
(๑๒.๒๒.๑)
การกำจัดซากสุกรโดยการฝังต้องมีเนื้อที่เพียงพอ และอยู่ในบริเวณน้ำท่วมไม่ถึงโดยฝังซากลึกจากผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร
ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค ที่เหมาะสมทำการราดหรือโรย
(๑๒.๒๒.๒) การกำจัดซากสุกรโดยการเผาต้องมีสถานที่เผา
หรือเตาเผาอยู่ในบริเวณที่เหมาะสมในการใช้เผาซากจนหมด
การเผาต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือเหตุรำคาญ
(๑๒.๒๒.๓) สถานที่กำจัดซากสุกรต้องห่างจากบริเวณอาคาร
หรือโรงเรือนเลี้ยงสุกร อาคารสำนักงานอาคารที่พักอาศัย
(๑๒.๒๓) ต้องมีการควบคุมป้องกันสัตว์ และแมลงนำโรคในฟาร์มไม่ให้มีจำนวนมากจนก่อให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในสถานที่เลี้ยงสุกร
ทั้งในตัวสุกร อาหาร น้ำใช้ คนเลี้ยง และสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
(๑๒.๒๔)
กรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่เกี่ยวกับสัตว์ในเขตพื้นที่ต้องจัดให้มีวิธีการควบคุมป้องกันมิให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคในสถานที่เลี้ยงสุกร
ทั้งในตัวสุกร อาหาร น้ำใช้ คนเลี้ยงและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
(๑๒.๒๕) ควรจัดให้มีห้องเก็บสารเคมี
น้ำยาฆ่าเชื้อหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายโดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๒.๒๖)
ควรจัดให้มีห้องพยาบาลหรือชุดปฐมพยาบาลที่ครบรายการไว้ในสถานประกอบกิจการและพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
(๑๒.๒๗) ระดับเสียงในสถานประกอบการเลี้ยงสุกร
ในเวลากลางวันต้องมีระดับเสียงเฉลี่ย ๘ ชั่วโมงไม่เกิน ๙๐ เดซิเบล (เอ)
ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
(๑๒.๒๘) ระดับความเข้มข้นของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์และก๊าซแอมโมเนีย
บริเวณคอกเลี้ยงสุกรต้องไม่เกินค่ามาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองแรงงาน
(๑๒.๒๙)
วิธีการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการให้ใช้วิธีการตรวจวัดของหน่วยราชการไทย
ในกรณีที่ไม่มีวิธีการตรวจวัดที่เป็นมาตรฐานกำหนดไว้
ให้ใช้วิธีการตรวจวัดที่ท้องถิ่นยอมรับ
(๑๒.๓๐)
ให้ควบคุมป้องกันกิจกรรมต่าง ๆ ของสถานประกอบกิจการมิให้มีกลิ่น น้ำเสีย เขม่า ควัน เสียง ฝุ่น และความร้อน เป็นต้น
ที่จะทำให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมวด
๕
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๓ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจ
ดังต่อไปนี้
(๑๓.๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ
มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือหรือจัดส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบ
หรือเพื่อประกอบการพิจารณา
(๑๓.๒) เข้าไปในสถานที่ใด ๆ
ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการ เพื่อตรวจสอบ
หรือควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริง หรือเรียกหนังสือหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น
ข้อ ๑๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติมถึง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๐ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนางามในเรื่องใด
หรือทุกเรื่องก็ได้
หมวด
๖
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามบัญชีค่าธรรมเนียม
ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบังคับ/ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนางาม เรื่องการควบคุมกิจการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๑
หรือตามที่ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนางามกำหนดตามที่ปรับปรุงใหม่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับปัจจุบันในวันที่มารับใบอนุญาต
สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจส่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
หมวด
๗
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๑๗ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ข้อใดข้อหนึ่งต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบการที่ได้ประกอบกิจการเลี้ยงสุกรมาก่อนข้อบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับให้ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามข้อ
(๖.๑)
ข้อ ๑๙ ให้ผู้ประกอบกิจการเลี้ยงสุกรก่อนที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
ยื่นคำขอใบอนุญาตพร้อมหลักฐานเอกสารตามข้อ ๗ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในเวลา ๑๕
วันทำการนับตั้งแต่ข้อบัญญัตินี้ มีผลบังคับใช้
และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการให้เป็นไปตามข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ โดยอนุโลม
ข้อ ๒๐ ภายใต้บังคับข้อ ๑๘
กรณีผู้ประกอบกิจการดำเนินกิจการเลี้ยงสุกรยังไม่เป็นไปตามหมวด
๒ และหมวด ๔ แห่งข้อบัญญัตินี้ ให้ผู้ประกอบกิจการปรับปรุงกิจการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ให้แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน
๑๒๐ วันหรือภายในเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร แต่ไม่ควรเกินกว่า ๒๗๐ วัน ทั้งนี้
ให้คำนึงถึงความเดือดร้อนรำคาญที่ประชาชนได้รับเป็นสำคัญ
หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วผู้ประกอบกิจการไม่สามารถปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องได้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาสั่งไม่อนุญาตให้ออกใบอนุญาตพร้อมแจ้งเหตุผลการไม่อนุญาตและสั่งให้ผู้ประกอบกิจการยุติการประกอบกิจการ
ข้อ ๒๑ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาสั่งไม่อนุญาตการออกใบอนุญาตไม่เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการกิจการรายนั้นไม่มีสิทธิยื่นคำขอใบอนุญาตใหม่
หากภายหลังผู้ประกอบกิจการได้ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้แล้ว
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
บุญธรรม โพธิ์สอน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนางาม
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๙
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๗๙/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795377 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง ตลาด
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง ว่าด้วยตลาด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร
ส่วนตำบล พ.ศ.๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕
มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งและนายอำเภอโคกสำโรง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓
บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ตลาด หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์
เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม
และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด
สินค้า หมายความว่า สิ่งของที่ซื้อขายกัน
อาหาร หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
อาหารสด หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์
เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่นๆ ที่มีสภาพเป็นของสด
อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ หมายความว่า
อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า
อาหารประเภทปรุงสำเร็จ หมายความว่า
อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบหรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง
ๆ
สุขาภิบาลอาหาร หมายความว่า การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง
ๆ เพื่อให้อาหารสะอาด ปลอดภัยจากเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค
เช่น อาหาร ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ สัตว์
และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงจำหน่ายสินค้าในตลาด
พื้น ผนัง เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย
ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาดให้สะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
หยากไย่ ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้ สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลง ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย
ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่
แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น ๒
ประเภทดังนี้
(๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่
๑
(๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร
และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒
ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า
๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑ ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง
คือ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ
ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า
๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง
(๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง
(๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น
(๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ เรียบ ล้างทำความสะอาดง่าย
ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น
(๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง
สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด
๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ
(๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์
(๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ
มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า
๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวก โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง
(๑๐) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้ ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก
ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล โดย
(ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำ
ไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด
๑ จุดต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น
๓๐ แผง
(ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ
และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ
(ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้
กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕ ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก
๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง
(๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย
(๑๒) การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ
และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด ทางเข้าออกบริเวณตลาด
และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้
ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ
มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ
และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้
ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วม
ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด
หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ มีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง
ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย
ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก
มีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น
ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒ ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ
ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ
โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น
สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ
หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์
(๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ
ทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้
(๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด
แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ
(๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง
โดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก
มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ
และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมัน
หรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้
(๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ
เต็นท์ ร่มหรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน ต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม
ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ
ส้วมเอกชนหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐ เมตร
ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน
และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่
๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่
๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่
๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามข้อบัญญัตินี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน
เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร
ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่
๑ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา
เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำอุปกรณ์ต่าง
ๆ เช่น สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น
(๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง
และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ
(๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด
ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด
(๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด
และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้
(๕) จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
(๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด
ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่
๒ ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย
และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ
(๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด
ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด
(๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ
ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ ให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ
(๔) จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด
ข้อ ๒๒ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ
มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาด
ของโรคติดต่อ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒
ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
(๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด
(๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย
(๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะหรือสุกร
ในตลาด รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น
(๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด
จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย
หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
(๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล
(๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๗) ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
(๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน
(๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย
หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น
ข้อ ๒๓ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด
เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด
(๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า
(๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน
(๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม
(๕) การล้างตลาด
(๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น
ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๗) การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด
โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศ
และแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร
(๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม
และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนดโดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้ ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
(๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง
(๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด
คางทูม วัณโรค ในระยะอันตราย โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ
สะอาด เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล
เช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร
ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย
ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์
และอาหารทะเล ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส
ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ
(๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้
ภาชนะที่สะอาด และต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ
และปรุงอาหาร ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร
(๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น
เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ และแก้วน้ำ ต้องสะอาดและปลอดภัย
มีการล้างทำความสะอาดและจัดเก็บที่ถูกต้อง
ข้อ ๒๗ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งประกาศกำหนด
ข้อ ๒๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ
๒๗ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตจะจัดตั้งตลาด
(๑.๑) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงือนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้
และ
(๑.๒) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงือนไขเกี่ยวกับตลาดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๓๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๗ และข้อ ๒๘ ด้วย
ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๓๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อ ๓๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๔๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นิลเนตร
แต้มทอง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๗๙/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795379 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา
๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งและนายอำเภอโคกสำโรง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
อาหาร หมายความว่า
อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ
ที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที
ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น
หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ
ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด
ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง
ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงือนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้ และ
(๒) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงือนไขเกี่ยวกับสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดและมิใช่เป็นการขายของในตลาดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งประกาศกำหนด
ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด
(๑.๑)
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้ และ
(๑.๒)
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงือนไขเกี่ยวกับสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย
ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งประกาศกำหนด
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง
ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้ง
หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล
แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง
ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้าม การดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้
ข้อ ๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้ง
และภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นิลเนตร
แต้มทอง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๙๓/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795412 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหาร ส่วนตำบลหนองกุงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงและนายอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์
รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้
(๕.๑)
ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด
(๑)
พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นเขตพาณิชยกรรมและเขตประชากรหนาแน่น
(๒) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
(๓) สถานที่ท่องเที่ยว
(๔) วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ
(๕.๒)
ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(๑) พื้นที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น หรือห่างจากชุมชนเกิน
๕๐๐ เมตร เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทดังนี้
ก. การเลี้ยง ช้าง ม้า
ไม่เกิน จำนวนไม่เกิน
๕ ตัว
ข. การเลี้ยงสุกร โค กระบือ
แพะ แกะ สุนัข จำนวนไม่เกิน
๕๐ ตัว
ค. การเลี้ยงไก่ นก เป็ด
ห่าน จำนวนไม่เกิน
๑๐๐ ตัว
(๒)
พื้นที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น หรือห่างจากชุมชนเกิน ๑ กิโลเมตร เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทดังนี้
ก. การเลี้ยง ช้าง ม้า จำนวนไม่เกิน
๑๐ ตัว
ข. การเลี้ยงสุกร โค กระบือ
แพะ แกะ สุนัข จำนวนไม่เกิน
๒๐๐ ตัว
ค. การเลี้ยงไก่ นก เป็ด
ห่าน จำนวนไม่เกิน
๕๐๐ ตัว
ต้องมีการปฏิบัติภายใต้มาตรการดังนี้
๑)
การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและเหตุรำคาญ
๒)
การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อโรคติดต่อ
ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น หรือสัตว์อื่น
หรือต้องเสียค่าใช่จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันจากเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำบลหนองกุงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออก ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
จันทร์ดา ถิ่นโสภณ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๘
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๓๓/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795410 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงและนายอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เร่ขาย หมายความว่า
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยมิได้จัดวางอยู่ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้า
ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๕ ผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(๑)
ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๖
(๒)
เงื่อนไขอื่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงกำหนด
ข้อ ๖ ผู้ใดจะขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
หรือลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า ให้ยื่นคำขอตามแบบ สณ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น พร้อมกับหลักฐานต่างๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงกำหนด และรูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมหมวก
ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด ๑ x ๑ นิ้ว ของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายคนละ ๓
รูป เพื่อติดไว้ในทะเบียน ๑ รูป ในใบอนุญาต ๑ รูป และบัตรสุขลักษณะประจำตัวอีก ๑
รูป
ข้อ ๗ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้อง
และความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตแล้ว ปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ สณ. ๒ หรือ สณ. ๓ แล้วแต่กรณี
พร้อมบัตรสุขลักษณะประจำตัวของผู้รับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายตามแบบ สณ. ๔
หรือสณ. ๕ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาต พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากมิได้มารับใบอนุญาต
และชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธ์
ข้อ ๙ การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย
(๒)
จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนด ร่มหรือผ้าใบบังแดด รวมทั้งตัวผู้ค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร
(๓) แผงสำหรับวางขาย เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ ต้องทำด้วยวัตถุที่แข็งแรง
มีขนาดและความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๔) รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอ
ทั้งในระหว่างทำการค้าและหลังจากเลิกทำการค้าแล้ว
(๕)
จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ
(๖) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงหรือจัดวางในลักษณะอื่น
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๗) ห้ามพาด ติดตั้งวางแผงค้าเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการขายรวมตลอดถึงการตอกตะปู
ผูกเชือกหรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับคอกต้นไม้หรือต้นไม้โดยเด็ดขาด
(๘) ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์มีเสียงดัง
(๙)
ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทปหรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดัง
จนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
(๑๐)
ห้ามนำรถยนต์รถจักรยานยนต์หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อจำหน่ายสินค้า
(๑๑)
หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวัน และให้หยุดกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๑๒)
หลังจากเลิกทำการค้าต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าออกจากบริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า
(๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้ง
ระเบียบ ข้อบัญญัติและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ข้อ ๑๐ การจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ (๒) - (๑๒)
(๒) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน
และสวมเสื้อผ้าที่สะอาดเรียบร้อย รวมทั้ง สวมรองเท้าขณะเตรียม
ทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร
(๓) ต้องตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผล มีการบาดเจ็บ
การถูกลวก หรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือ หรือนิ้วมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย
(๔) ไม่สูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหาร ในขณะเตรียม
ทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร หรือไม่ไอ จาม รดบนอาหาร
(๕) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง
และวางแผงจำหน่ายอาหารต้องสูงอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตร
(๖)
การจำหน่ายอาหารที่ต้องมีการล้างภาชนะอุปกรณ์จะต้องมีที่ล้างภาชนะอุปกรณ์และวางสูงจากพื้นที่หรือลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ
(๗) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้
และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการจำหน่ายอาหารให้สะอาดและใช้การได้อยู่เสมอ
(๘) ให้ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร
เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับประกอบอาหาร ด้วยอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง
แมลงวัน และสัตว์ ซึ่งเป็นพาหะนำโรค
รวมทั้งดูแลรักษาให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๙) ใช้น้ำสะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่ ล้างอาหาร
ภาชนะ เครื่องใช้ และปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ
(๑๐) ใช้วัสดุ ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับใส่หรือเตรียมทำ
ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร
(๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย
โดยแยกประเภทเป็นแบบแห้งและเปียกที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ
และไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำ หรือทางสาธารณะ
(๑๒) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง
และเก็บอาหาร
(๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบัญญัติและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ข้อ ๑๑ การจำหน่ายสินค้า ประเภท สัตว์เลี้ยง
สัตว์ป่าหรือสัตว์น้ำ ในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่าย
และผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐ (๑) - (๑๒)
(๒)
จัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า
ทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
(๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
(๔)
ใช้กรงหรือคอกหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับชนิดของสัตว์และสะอาดปลอดภัย
(๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการจำหน่ายสัตว์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมูลฝอยติดเชื้อ
โดยแยกประเภทที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำหรือทางสาธารณะ
(๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย การกักขังและการรักษาความสะอาด
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ข้อ ๑๒ การเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่อนุญาตให้จำหน่ายได้
(๒) ต้องแต่งกายสะอาด สุภาพ เรียบร้อย
(๓) มูลฝอยจากการเร่ขาย ห้ามทิ้งลงในที่หรือทางสาธารณะ
(๔) ในขณะที่เร่ขายสินค้า
ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือส่งเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
(๕) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์
หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อขายสินค้า
(๖) หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวัน
และให้หยุดกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ข้อ ๑๓ การเร่ขายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๑) - (๖)
(๒) อาหารที่เร่ขายต้องสะอาด ปลอดภัย
(๓) ใช้วัสดุ ภาชนะหีบห่อที่สะอาด ปลอดภัย
สำหรับใส่อาหาร
(๔) ดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการเร่ขายอาหารให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๕) จัดอาหารแยกตามประเภทของสินค้าให้เป็นระเบียบ
(๖) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน
สะอาดเรียบร้อย และสวมรองเท้าขณะทำการเร่ขายอาหาร
(๗) ตัดเล็บมือให้สั้น
ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย
(๘) ไม่สูบบุหรี่ หรือไอ จาม รดบนอาหารในขณะขาย
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ข้อ ๑๔ การเร่ขายสินค้าประเภทอาหารทางน้ำ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๑) (๒) (๔) (๖)
และ ข้อ ๑๓ (๒) (๓) (๔) (๕) (๗) (๘)
(๒) ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลอง
(๓)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ข้อ ๑๕ การเร่ขายสินค้าประเภทสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
หรือสัตว์น้ำในที่หรือทางสาธารณะ ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๑) - (๖)
(๒) สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่เร่ขายต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ
เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยง
สัตว์ป่าทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
(๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
(๔) ใช้กรงหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่สะอาดปลอดภัย
(๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้
และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเร่ขายให้สะอาด และใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๖) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ข้อ ๑๖ ห้ามผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่าย
ประกอบกิจการเมื่อมีเหตุควรเชื่อว่าตนเป็นโรคติดต่อที่ระบุไว้
หรือเมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจปรากฏว่าตนเป็นพาหะของโรค
และได้รับแจ้งความเป็นหนังสือแจ้งว่าตนเป็นพาหะของโรคติดต่อ
ซึ่งระบุไว้ดังต่อไปนี้ คือ
(๑) วัณโรค
(๒) อหิวาตกโรค
(๓) ไข้ไทฟอยด์
(๔) โรคบิด
(๕) ไข้สุกใส
(๖) โรคคางทูม
(๗) โรคเรื้อน
(๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ
(๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส
(๑๐) โรคอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด
ข้อ ๑๗ ในขณะทำการจำหน่ายสินค้าหรือเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตของตนได้เสมอ
และทำการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตามประเภทสินค้าและลักษณะการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะต้องติดบัตรสุขลักษณะประจำตัวไว้ที่หน้าอกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่จำหน่ายสินค้า
ข้อ ๑๘ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้ได้เฉพาะผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตไม่เกินหนึ่งคน
ข้อ ๑๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
สณ. ๖ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว
ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ ๒๐ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
ข้อ ๒๑ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗
ก่อนการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ข้อ ๒๒ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงชนิด
หรือประเภทสินค้า หรือลักษณะวิธีการจำหน่าย
หรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือรายการอื่นใดให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
สณ. ๗
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ใบอนุญาต
หรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
หรือขอรับบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่แล้วแต่กรณี ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ.
๗ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญแล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ
กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตหรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวเดิม
กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
(๓) รูปถ่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่ายขนาด
๑x๑ นิ้ว จำนวน คนละ ๓ รูป
ข้อ ๒๔ การออกใบแทนใบอนุญาต
หรือการออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ
สณ.๒ หรือแบบ สณ.๓ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม
ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี
และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทน
(๔) กรณีบัตรสุขลักษณะประจำตัว
ได้ออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ตามแบบ สณ. ๔ หรือแบบ สณ. ๕ แล้วแต่กรณี
โดยประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย
ข้อ ๒๕ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑)
คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้ใช้แบบ สณ. ๑
(๒) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๒
(๓) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ใช้แบบ สณ. ๓
(๔)
บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๔
(๕) บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ใช้แบบ
สณ. ๕
(๖)
คำขอต่ออายุใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้ใช้แบบ สณ. ๖
(๗) คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ให้ใช้แบบ สณ. ๗
ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้คราวหนึ่ง ไม่เกินสิบห้าวัน กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง
และมีเหตุที่ต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีกเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนความในข้อ
๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนความในข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ
๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ หรือข้อ ๑๕
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนความในข้อ ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๓๐ ผู้ใดฝ่าฝืนความในข้อ
๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ข้อ ๓๑ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตาม
ข้อ ๒๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
ข้อ ๓๒ บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น
ข้อ ๓๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจรมีอำนาจออกประกาศ
ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะ
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงเป็นเขตหวงห้ามจำหน่าย
หรือซื้อสินค้าโดยเด็ดขาด
(๒) กำหนดบริเวณบริเวณที่หรือทางสาธารณะ
หรือสวนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
เป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิดหรือบางประเภท
หรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าตามกำหนดเวลาหรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้า
โดยวิธีการจำหน่ายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการจำหน่ายสินค้าในบริเวณนั้น
ข้อ ๓๔ ห้ามมิให้โอนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่จะให้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อนวันหมดอายุของใบอนุญาตนั้นได้
ข้อ ๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งอื่นใด
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
จันทร์ดา ถิ่นโสภณ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง
เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
(แบบ สณ. ๑)
๓. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
(แบบ สณ. ๒)
๔. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า
(แบบ สณ. ๓)
๕. บัตรสุขลักษณะประจำตัว
(แบบ สณ. ๔)
๖. บัตรสุขลักษณะประจำตัว
(แบบ สณ. ๕)
๗. คำขอต่ออายุใบอนุญาต
ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ
สณ. ๖)
๘. คำขออนุญาตต่าง
ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ
สณ. ๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๘
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๒๒/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795414 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกอบมาตรา ๒๙
แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหาร
ส่วนตำบลย่านซื่อโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อและนายอำเภอเมืองอ่างทอง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้ เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้
(๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด
๑.๑ พื้นที่ผังเมือง ประกาศเป็นเขตพาณิชยกรรมและประชากรหนาแน่น
๑.๒
ผังเมืองประกาศเป็นเขตอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม
(๒) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์เกินจำนวนที่กำหนดดังนี้
๒.๑ การเลี้ยงสัตว์ประเภท ช้าง โค กระบือ สุกร แพะ แกะ เป็ด ไก่
สุนัข แมว นก กวาง และสัตว์อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
นอกเขตพื้นที่ที่ระบุไว้ในข้อ ๕ (๑) สามารถกระทำได้
แต่ห้ามปล่อยสัตว์ออกนอกที่เลี้ยง
(๓) การเลี้ยงสัตว์และปล่อยสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์จะต้องอยู่ภายใต้มาตรการดังนี้
๓.๑ จำนวนสัตว์ต้องไม่มากเกินสมควร
๓.๒ การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่ก่อมลภาวะและก่อเหตุรำคาญ
๓.๓
ต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากสัตว์มาสู่คน
ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๗ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์
ดังต่อไปนี้
(๑) ช้าง
(๒) โค
(๓) กระบือ
(๔) สุกร
(๕) แพะ
(๖) แกะ
(๗) เป็ด
(๘) ไก่
(๙) สุนัข
(๑๐) แมว
(๑๑) นก
(๑๒) กวาง
ข้อ ๘ นอกจากเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว
เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคง แข็งแรง
ตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์ และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์
มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ
มีระบบการระบายน้ำและสิ่งโสโครกที่ถูกสุขลักษณะ
(๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ
(๓) กำจัดซาก และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ
(๔) จัดให้มีภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์
เพื่อป้องกันโรคสัตว์ติดคน
(๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน
(๖)
ไม่เลี้ยงสัตว์ในสถานที่ที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อกำหนด
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีเหตุการณ์สงสัยว่าสัตว์ที่เลี้ยงนั้นเป็นโรคอันอาจเป็นอันตรายแก่สุขภาพของบุคคลทั่วไป
ให้เจ้าของสัตว์แยกสัตว์นั้นไว้ต่างหากและแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อทราบ
และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของสัตว์แพทย์
ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อมีอำนาจกำหนดเขตควบคุมการปล่อยสัตว์เฉพาะในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง
หรือเต็มพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การปล่อยสัตว์
เพื่อการกุศลตามประเพณี หรือเพื่อการขยายพันธุ์
ข้อ ๑๑ เจ้าของสัตว์จะต้องควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตราย
หรือเหตุรำคราญแก่ผู้อื่น
ข้อ ๑๒ เจ้าของสัตว์ไม่ปฏิบัติตามข้อ ๘
หรือละเว้นการปฏิบัติการจนเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการดำเนินการตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ดังนี้
(๑) กักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อย ๓๐ วัน
ถ้าพ้น ๓๐ วันแล้วไม่มีเจ้าของมาแสดงตัวขอรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นเป็นของข้าราชการส่วนท้องถิ่น
(๒) กรณีกักสัตว์ดังกล่าวแล้วมีเจ้าของมาขอรับภายใน ๓๐
วัน เจ้าของสัตว์นั้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงสัตว์ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้ใช้จ่ายจริงแก่ราชการส่วนท้องถิ่น
นอกจากนั้นจะต้องเสียค่าปรับอีกตามโทษที่กำหนดไว้ในมาตรา ๗๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งอยู่ในดุลพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมายว่าจะปรับเท่าใด หรือไม่ปรับก็ได้
(๓) กรณีที่การกักสัตว์ระหว่างรอเจ้าของมารับคืน
อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์นั้น หรือสัตว์อื่น
หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควรเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นก่อนครบกำหนด
๓๐ วันก็ได้ แล้วหักค่าใช้จ่ายและเก็บส่วนที่เหลือแทนสัตว์ได้
(๔) เมื่อเจ้าของมารับคืนภายใน ๓๐ วัน
ให้คืนส่วนที่เหลือเก็บไว้แทนสัตว์แก่เจ้าของ
ส่วนโทษปรับนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมอบหมาย
(๕)
กรณีที่ปรากฏว่าสัตว์นั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามสมควรได้ทันที
ไม่ต้องรอเจ้าของหรือรอให้ครบกำหนด ๓๐ วัน
ข้อ ๑๓ ให้พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๑๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ไชยวัฒน์ พิทักษ์เขต
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลย่านซื่อ
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๘
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๓๗/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795383 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา
๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
และนายอำเภอโคกสำโรง จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
สินค้า หมายความว่า
สิ่งของที่ซื้อขายกัน
อาหาร หมายความว่า
อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป
ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิด
หรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้
การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า
ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว
ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
(๒)
ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงวางสินค้าหรือจัดวางในลักษณะอื่นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๓) แผงวางสินค้าทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงและมีความสูงตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๔) จัดวางสินค้าและสิ่งของใด ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ไม่ยื่นล้ำออกนอกบริเวณที่กำหนด ทั้งนี้
รวมทั้งตัวของผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าด้วย
(๕) ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าในระหว่างการจำหน่ายอยู่เสมอ
(๖) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ
ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป เป็นต้น
(๗)
เมื่อเสร็จสิ้นการจำหน่ายทุกครั้งต้องเก็บสินค้าและสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้องจากบริเวณที่จำหน่ายให้เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า
(๘)
หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งประกาศกำหนด
(๙)
การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
แผงจำหน่ายอาหารทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี เป็นระเบียบ อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อง
๖๐ เซนติเมตร
(๒)
อาหารปรุงสุกมีการปกปิดหรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค
(๓) สารปรุงแต่งอาหารต้องมีเลขสารบบอาหาร (อย.)
(๔) น้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด
มีการปกปิด มีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ
(๕) เครื่องดื่มต้องใส่ภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด
และมีที่ตักที่มีด้ามยาวหรือมีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ
(๖) น้ำแข็งที่ใช้บริโภค
(๖.๖.๑) ต้องสะอาด
(๖.๖.๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด
มีฝาปิด อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๖.๖.๓) ที่ตักน้ำแข็งมีด้ามยาว
(๖.๖.๔)
ต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่ไว้ในน้ำแข็ง
(๗) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ ล้างด้วยน้ำสะอาด ๒
ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล และอุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐
เซนติเมตร
(๘) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาด
และมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๙) มีการรวบรวมมูลฝอยและเศษอาหารเพื่อนำไปกำจัด
(๑๐) ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน
ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อนและสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม
(๑๑) ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว
(๑๒)
ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือต้องปกปิดแผลให้มิดชิด
ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
(๒) ไม่ทิ้งมูลฝอยลงในที่หรือทางสาธารณะ
(๓) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ
ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น การใช้เครื่องขยายเสียง เป็นต้น
(๔)
หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งประกาศกำหนด
(๕)
การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพรวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘
(๒) สวมเสื้อที่มีแขน ใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด
สวมรองเท้าหุ้มส้น มีสิ่งปกปิดป้องกันเส้นผมมิให้ตกลงในอาหาร
(๓) รักษาความสะอาดมือและเล็บ
ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย
(๔) ไม่สูบบุหรี่ในขณะเตรียม ทำ ประกอบ
ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร
(๕) ไม่ไอหรือจามรดบนอาหาร
(๖) ที่เตรียม ทำ ประกอบ
ปรุง และแผงวางจำหน่ายอาหาร ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐
เซนติเมตร
(๗) ไม่เททิ้งเศษอาหาร
หรือน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันลงบนพื้นหรือทางระบายน้ำสาธารณะ
(๘) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร
เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด
(๙) ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร
เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละออง
แมลงวันและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ
(๑๐) ใช้น้ำที่สะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง
แช่หรือล้างอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ
เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร
(๑๑)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ
และไม่เททิ้งมูลฝอยลงในท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ
ดังต่อไปนี้
(๑) วัณโรค
(๒) อหิวาตกโรค
(๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์)
(๔) โรคบิด
(๕) ไข้สุกใส
(๖) โรคคางทูม
(๗) โรคเรื้อน
(๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ
(๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส
(๑๐) โรคติดต่ออื่น ๆ ที่ทางราชการกำหนด
ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งประกาศกำหนด
ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตจะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
(๑.๑)
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงือนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้ และ
(๑.๒)
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงือนไขเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งประกาศกำหนด
และจะต้องติดบัตรประจำตัวไว้ที่อกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ด้วย
ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นิลเนตร
แต้มทอง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๐๑/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795416 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วงโดยความเห็นชอบ
ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วงและนายอำเภอเมืองนครสวรรค์ จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง
เรื่อง การควบคุมกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
แห่งข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง เรื่อง การควบคุมกิจการ
ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ กิจการประเภทต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องควบคุมภายในเขตองค์การบริหาร ส่วนตำบลบางม่วง
(๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะ ทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดู
หรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม
(๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๒.๑) การฆ่าสัตว์ หรือชำแหละสัตว์
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย หรือขายในตลาด
(๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๒.๓) การสะสมเขา กระดูก
หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง
ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม
หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
(๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร
เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ
เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง
จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ
น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง
แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน
ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่น
(๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน
ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น
ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ มักกะโรนี
สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
ขนมอบอื่น ๆ
(๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม
หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม
เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๓.๑๓) การผลิต สะสม
หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น
ๆ
(๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์
สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน
น้ำโซดา น้ำมันพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง
ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง
ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส
หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา
เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น
เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด
หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
(๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู
แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร
หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๕.๗) การผลิต สะสม
หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง
ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
(๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง
ๆ ด้วยโลหะหรือแร่
(๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๖.๑)
(๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก
โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
(๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี
หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร
เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย
และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
ดังกล่าวด้วย
(๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์
หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า
(๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๘.๔) การอบไม้
(๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
(๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ
อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ
การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ
หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ
หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๙.๑)
(๙.๑๐)
การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง
หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๐)
การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
(๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ
ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บผ้า ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑) กิจการเกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ
เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุ ที่คล้ายคลึง
(๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง
รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๑๑.๒)
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย ตัด
หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง
หรือเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก
แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕)
(๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน
ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ
(๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ
หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสาร ตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียม
หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๗.๑)
(๑๒.๖)
การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์
เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ
ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุ ที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง
หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ
ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
(๑๓) กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือ
หรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด
ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด
ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่ หรือแปรสภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี
หรือวิธีใดลงบนวัตถุที่ไม่ใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา
หรือแพปลา
(๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง
หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓.๑๒) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘ และให้ใช้บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วงเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
วิโรจน์ ส้มมีสี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางม่วง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๑๓
มีนาคม ๒๕๖๑
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๔๒/๑๙
มกราคม ๒๕๖๑ |
793965 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ.
๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือและนายอำเภอเมืองสิงห์บุรี
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือนับแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์
รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์
หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพ
ของประชาชนในท้องถิ่น หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้
(๑) ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยง
หรือปล่อยสัตว์ โดยเด็ดขาด
(๑.๑) ที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
(๑.๒) สถานที่ราชการ
(๑.๓) สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ
(๑.๔) ตลาด
(๒)
ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สถานที่เลี้ยงสัตว์ของเอกชน กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์บก
สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง
ให้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทของกิจการนั้น ๆ
และต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
และได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
ข้อ ๖ การเลี้ยงสัตว์ให้เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท
และชนิดของสัตว์โดยมีขนาดเพียงพอ
มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
(๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ
จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ
ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
(๓)
เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค
ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ
(๔) จัดให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์
เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
(๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน
ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม
กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอก
เข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน
(๖) ไม่นำสัตว์เลี้ยงออกมานอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน
เว้นแต่เฉพาะการเคลื่อนย้ายสัตว์และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือรำคาญแก่ผู้อื่น
ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
(๘)
ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
ข้อ ๗ การเลี้ยงสัตว์
ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์ เป็นจำนวนมาก
เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๖ อย่างเคร่งครัด
เพื่อการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์
และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรค หรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์
ดังนี้
(๑) สถานที่เลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะของอาคาร
และเป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มหรือตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข
(๒) ให้ดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์
มิให้มีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๓) ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงสู่ธรรมชาติหรือแหล่งน้ำ
ทางน้ำ ลำคลอง แม่น้ำ เป็นต้น มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม
(๔) ต้องจัดหาที่รองรับขยะ ปฏิกูลและมูลฝอย
ตลอดจนกำจัดขยะปฏิกูลมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสิ่งแวดล้อม
(๕) ต้องทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงสัตว์
สถานที่เพาะเลี้ยง และบริเวณโดยรอบไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แมลง ยุง
หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ
(๖) จัดให้มีระบบการป้องกันเหตุรำคาญจากกลิ่น เสียง
แสง รังสี ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า
หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๗) จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๘ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น หรือสัตว์อื่น
หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้น
ตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่
องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตราย
ต่อประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษ
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๑ บรรดาค่าธรรมเนียม ค่าปรับ รายได้อื่น ๆ
ตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ศุภรักษ์ สีตะระโส
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางกระบือ
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๒๓๕/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793969 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
เรื่อง
การจัดการมูลฝอยทั่วไป
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยทั่วไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา
๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูงและนายอำเภอเมืองพิษณุโลก
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอยทั่วไป หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์
ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น แต่ไม่รวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
และสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว หรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน
ของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และของเสียอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ หมายความว่า
มูลฝอยทั่วไปที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้
มูลฝอยติดเชื้อ หมายความว่า
มูลฝอยติดเชื้อตามกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากกิจกรรมต่าง ๆ
ในชุมชนที่เป็นวัตถุหรือปนเปื้อนสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารพิษ สารไวไฟ สารออกซิไดซ์
สารเปอร์ออกไซด์ สารระคายเคือง สารกัดกร่อน สารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย
สารที่เกิดระเบิดได้ สารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรม
สารหรือสิ่งอื่นใดที่อาจก่อหรือมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช
ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม แต่ไม่รวมถึงมูลฝอยทั่วไป มูลฝอย ติดเชื้อ
กากกัมมันตรังสี และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
การจัดการมูลฝอยทั่วไป หมายความว่า
กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไป
น้ำชะมูลฝอย หมายความว่า
ของเหลวที่ไหลผ่านหรือของเหลวที่ออกมาจากมูลฝอยทั่วไป
ซึ่งอาจประกอบด้วยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่
อาคารอยู่อาศัยรวม หมายความว่า
อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยสำหรับหลายครอบครัว
โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว
ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอย หมายความว่า
ประชาชน และเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานประกอบการ สถานบริการ
โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด หรือสถานที่ใด ๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอย
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ การจัดการมูลฝอยทั่วไปในเขตราชการส่วนท้องถิ่นเป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการขน
หรือกำจัด
มูลฝอยทั่วไปแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้
มิให้ใช้บังคับกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วซึ่งต้องจัดการ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปแทน
หรือจะอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนมูลฝอยทั่วไป
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี
และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท
ทิ้งหรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งมูลฝอยทั่วไป นอกจากถ่าย เท
ทิ้งหรือกำจัด ณ สถานที่หรือตามวิธีราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือจัดให้
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีสถานที่ถ่าย เท
หรือทิ้งมูลฝอยทั่วไปในที่หรือทางสาธารณะ
หรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไปตามที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้และกฎมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๘ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไป
ภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน
และกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี ต้องดำเนินการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยทั่วไปให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ในการจัดการมูลฝอยทั่วไปต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุมกำชับในการจัดการมูลฝอยทั่วไปอย่างน้อยสองคน
โดยให้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หมวด
๒
หลักเกณฑ์
วิธีการ และมาตรการเกี่ยวกับสุขลักษณะในการจัดการมูลฝอยทั่วไป
ส่วนที่
๑
การเก็บมูลฝอยทั่วไป
ข้อ ๙ เพื่อประโยชน์ในการเก็บมูลฝอยทั่วไป
ให้ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยคัดแยกมูลฝอยอย่างน้อยเป็นมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
โดยให้คัดแยกมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ออกจากมูลฝอยทั่วไปด้วย
ข้อ ๑๐ ถุงหรือภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ถุงสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องเป็นถุงพลาสติกหรือถุงที่ทำจากวัสดุอื่นที่มีความเหนียว
ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่รั่วซึม ขนาดเหมาะสม และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
(๒)
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องทำจากวัสดุ
ที่ทำความสะอาดง่าย มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด
สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ ขนาดเหมาะสม สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
และง่ายต่อการถ่ายและมูลฝอยถุง หรือภาชนะสำหรับบรรจุ
มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ตามวรรคหนึ่ง
ให้ระบุข้อความที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
โดยมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ข้อ ๑๑ ให้ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยบรรจุมูลฝอยทั่วไปหรือมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ถุงหรือภาชนะบรรจุในกรณีบรรจุในถุงต้องบรรจุในปริมาณที่เหมาะสมและมัดหรือปิดปากถุงให้แน่นเพื่อป้องกันการหกหล่นของมูลฝอยดังกล่าว
กรณีบรรจุในภาชนะบรรจุต้องบรรจุในปริมาณที่เหมาะสมและมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุนั้นเป็นประจำสม่ำเสมอ
ข้อ ๑๒ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด หอพัก
หรือโรงแรมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่แปดสิบห้องขึ้นไป
หรือมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าสี่พันตารางเมตรขึ้นไป หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
สถานประกอบการ สถานบริการ โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด หรือสถานที่ใด ๆ
ที่มีปริมาณมูลฝอยทั่วไปตั้งแต่สองลูกบาศก์เมตรต่อวัน จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป
ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
หรือภาชนะรองรับที่มีขนาดใหญ่ตามความเหมาะสมหรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๓ ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
เป็นอาคารหรือเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะที่มีการป้องกันน้ำฝน
หรือภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถบรรจุมูลฝอยได้ไม่น้อยกว่าสองวัน
(๒) มีพื้นและผนังของอาคารหรือห้องแยกตาม (๑)
ต้องเรียบมีการป้องกันน้ำซึม หรือน้ำเข้า ทำด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่าย
สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค และมีการระบายอากาศ
(๓) มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสีย
เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปจัดการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
(๔)
มีประตูกว้างเพียงพอให้สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก
(๕)
มีการกำหนดขอบเขตบริเวณที่ตั้งสถานที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป
มีข้อความที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป และมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปต้องตั้งอยู่สถานที่สะดวกต่อการเก็บรวบรวมและขนถ่ายมูลฝอยทั่วไป
และอยู่ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบหรือปรุงอาหารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๔ ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีความแข็งแรง ทนทาน
ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหนะนำโรค ขนาดเหมาะสม
สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และง่ายต่อการถ่ายและเทมูลฝอย
(๒) มีข้อความว่า มูลฝอยทั่วไป หรือ มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
แล้วแต่กรณี และมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ข้อ ๑๕ ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่
ซึ่งมีปริมาตรตั้งแต่สองลูกบาศก์เมตรขึ้นไปต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปิดมิดชิด
สามารถป้องกันสัตว์ และแมลงพาหะนำโรคได้ สะดวกต่อการขนถ่ายมูลฝอย
และสามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย
มีระบบรวบรวมและป้องกันน้ำชะมูลฝอยไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
(๒) มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ต้องตั้งอยู่ในบริเวณ
ที่เหมาะสมสะดวกต่อการขนย้ายและไม่กีดขวางเส้นทางจราจร แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ
พื้นฐานเรียบ มั่นคง แข็งแรง ทำความสะอาดง่าย
มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งหรือระบบบำบัดน้ำเสีย
เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปจัดการตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบหรือปรุงอาหารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๖ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
หรือภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ในที่หรือทางสาธารณะ
ตามความเหมาะสม
ข้อ ๑๗ ราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี
ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและคัดแยกมูลฝอยทั่วไป
และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว
ผู้ปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง
ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและได้รับความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินการกิจการรับทำการเก็บ
ขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ที่จัดให้
มีสถานที่คัดแยกมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นพื้นที่เฉพาะ มีขนาดเพียงพอ เหมาะสม
สามารถรองรับมูลฝอยทั่วไปที่จะนำเข้ามาคัดแยกได้
มีการรักษาบริเวณโดยรอบให้สะอาดและเป็นระเบียบอยู่เสมอ
(๒) มีแสงสว่างเพียงพอสามารถมองเห็นวัตถุต่าง ๆ
ได้ชัดเจน
(๓) มีการระบายอากาศเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๔) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือที่สะอาด
เพียงพอ สำหรับใช้งานและชำระร่างกาย
(๕) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๖) มีการป้องกันฝุ่นละออง กลิ่น เสียง
ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการ
ที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
(๗) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย
และมีการบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา
(๘) มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย
และน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
ในกรณีวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มชุมชนดำเนินการคัดแยกมูลฝอยในลักษณะที่ไม่เป็นการค้า
หรือแสวงหากำไรต้องแจ้งราชการส่วนท้องถิ่นที่วิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มชุมชนนั้นตั้งอยู่
และให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำกับดูและการดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๙)
ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอยทั่วไปทิ้งสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน
ของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
ปะปนกับมูลฝอยทั่วไป
ส่วนที่
๒
การขนมูลฝอยทั่วไป
ข้อ ๑๙ ราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการ
ส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน
มูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น และบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี
ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำหน้าที่ขนมูลฝอยทั่วไป
และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุ
ที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน อุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย
ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลไว้ประจำรถขนมูลฝอยทั่วไปด้วย
ผู้ปฏิบัติงานขนมูลฝอยทั่วไปตามวรรคหนึ่ง
ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๐ การดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้แยกขนมูลฝอยตามประเภท
หรือกำหนดวันในการขนตามประเภทของมูลฝอยหรือตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนด
(๒)
ใช้ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
และต้องมีการทำความสะอาดยานพาหนะ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขนมูลฝอยทั่วไป
และบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะเป็นประจำทุกวัน
(๓) ต้องจัดให้มีสถานที่ล้างยานพาหนะ
รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขนมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะเป็นพื้นเรียบ
แข็งแรง ทนทาน มีความลาดเอียง น้ำไม่ท่วมขัง ทำความสะอาดง่าย
มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปจัดการตามที่กฎหมายกำหนด
และมีการป้องกันเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
(๔)
บริเวณที่จัดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปมีขนาดกว้างขวางเพียงพอ มีราง
หรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับ ให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
(๕) ต้องมีมาตรการควบคุมกำกับการขนมูลฝอยทั่วไป
เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้ง
ข้อ ๒๑ ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปต้องมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตัวถังบรรจุมูลฝอยทั่วไปมีความแข็งแรงทนทาน
ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิด เป็นแบบที่ง่ายต่อการบรรจุขนถ่าย และทำความสะอาด
ระดับตัวถังไม่สูงเกินไปหรืออยู่ในระดับ
ที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในขณะขนถ่ายมูลฝอยทั่วไป
(๒)
มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน้ำจากมูลฝอย
เพื่อมิให้รั่วไหลตลอดการปฏิบัติงานและนำน้ำเสียจากมูลฝอยไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย
(๓) มีสัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟติดไว้ประจำยานพาหนะชนิดไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ
และสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เปิดให้สัญญาณขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
กรณีบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการขนหรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปแทนภายใต้การดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นแสดงชื่อราชการ
ส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้าน
ของยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปพร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยให้ระบุวิธีการที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลนั้นนำไปส่งกำจัดและระบุชื่อ
ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์
ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
กรณีบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับอนุญาต
ให้ผู้ได้รับอนุญาตแสดงชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล เลขที่ใบอนุญาตของบริษัทด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้าง
ทั้งสองข้างด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไป
พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุชื่อ ที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไป ในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่มีความจำเป็นราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงาน
ของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี
อาจจัดให้มีสถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปก็ได้
สถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปตามวรรคหนึ่งต้องมีลักษณะและการขนถ่ายที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีลักษณะเป็นอาคาร
มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยทั่วไป ที่พักรอการขนถ่าย มีการป้องกันน้ำซึมหรือน้ำเข้า มีการระบายอากาศ
และแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๒) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ฝุ่นละออง
กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน
หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย
และน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
ส่วนที่
๓
การกำจัดมูลฝอยทั่วไป
ข้อ ๒๓ ราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลราชการส่วนท้องถิ่นและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำหน้าที่กำจัดมูลฝอยทั่วไป และจัดให้
มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว
อุปกรณ์เครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
อุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยตลอดจนเครื่องมือ
ปฐมพยาบาลติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่กำจัดมูลฝอยทั่วไปด้วย
ผู้ปฏิบัติหน้าที่กำจัดมูลฝอยทั่วไปตามวรรคหนึ่ง
ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๔ การกำจัดมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
กำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยวิธีหนึ่งวิธีใดตามกำหนดในข้อบัญญัตินี้ โดยให้ศึกษา
ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ก่อนทำการก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอยทั่วไป และมีมาตรการควบคุมกำกับการดำเนินงานกำจัดมูลฝอยทั่วไปในแต่ละวิธีให้เป็นไปตามสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป
เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
(๒)
ไม่นำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน
ของเสียจากวัตถุดิบของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
มูลฝอยติดเชื้อ และมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนมากำจัดร่วมกับมูลฝอยทั่วไป
ข้อ ๒๕ การกำจัดมูลฝอยทั่วไปให้ดำเนินการตามวิธีหนึ่งวิธีใด
ดังต่อไปนี้
(๑) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
(๒) การเผาในเตาเผา
(๓) การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ
(๔) การกำจัดแบบผสมผสาน
(๕) วิธีอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนด
ข้อ ๒๖ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้
และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) มีสถานที่ตั้งเหมาะสม
มีบริเวณเพียงพอในการฝังกลบโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย
เหตุรำคาญหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย
(๒)
มีพื้นที่แนวกันชนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่ฝังกลบมูลฝอยทั่วไป
เพื่อจัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน
เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการฝังกลบ และปัญหากลิ่นรบกวน
(๓)
มีระบบป้องกันและการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอย
โดยมีการบดอัดก้นบ่อด้านล่างและด้านข้างให้แน่นและปูด้วยแผ่นวัสดุกันซึม
(๔) มีระบบรวบรวมน้ำชะมูลฝอยจากก้นบ่อเพื่อส่งไปยังระบบน้ำเสียที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนน้ำใต้ดิน
และมีกระบวนการบำบัดน้ำชะมูลฝอยให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕)
มีการใช้ดินหรือวัสดุอื่นกลบทับทุกครั้งที่มีการนำมูลฝอยทั่วไปไปฝังกลบ
และปิดการฝังกลบเมื่อบ่อฝังกลบเต็ม
โดยปิดทับหน้าบ่อฝังกลบด้วยดินหนาอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตรหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม
เพื่อกันกลิ่นการปลิวของมูลฝอย ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(๖) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ฝุ่นละออง กลิ่น
เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
หรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๗) ต้องมีระบบรวบรวมและระบายก๊าซออกจากหลุมฝังกลบ
และมีระบบเผาทำลายก๊าซ
หรือมีระบบการนำก๊าซไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น
(๘) มีบ่อสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน
และในระหว่างการดำเนินการฝังกลบ
ให้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำต่อราชการท้องถิ่นด้วย
ข้อ ๒๗ การเผาในเตาเผาต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษา ความเหมาะสมและความเป็นไปได้และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสถานที่ตั้งเหมาะสม
มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับกระบวนการเผามูลฝอยทั่วไป
มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๒)
มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามข้อบัญญัตินี้
(๓) มีพื้นที่แนวกันชนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่เผามูลฝอยทั่วไป
เพื่อจัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน
เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการเผาและปัญหากลิ่นรบกวน
(๔)
ต้องเผามูลฝอยทั่วไปที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่าแปดร้อยห้าสิบองศาเซลเซียส
และมีระบบควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องเตาเผามูลฝอยทั่วไปให้ได้มาตรฐานควบคุม
การปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ฝุ่นละออง
กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
หรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๖) มีการบำบัดน้ำเสียจากระบบกำจัด และน้ำเสียใด ๆ
ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัดให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๗)
มีพื้นที่สำหรับเก็บเถ้าหนักที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และมีระบบในการนำเถ้าหนักไปกำจัดเป็นประจำ โดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
(Sanitary LandFill) ที่มีการป้องกันน้ำชะขี้เถ้าปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน
หรือมีระบบการนำเถ้าหนักไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
(๘)
มีพื้นที่สำหรับเก็บเถ้าลอยที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และมีระบบ
ในการนำเถ้าลอยออกไปกำจัดเป็นประจำ โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัย (Secured Landfill) ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หรือมีระบบการนำเถ้าลอยไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
ข้อ ๒๘ การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสถานที่ตั้งเหมาะสม
(๒)
มีระบบคัดแยกมูลฝอยทั่วไปเพื่อนำมาหมักทำปุ๋ยหรือก๊าซชีวภาพ
ซึ่งอาจมีอาคารที่มีขนาดพื้นที่เหมาะสม
และมีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการคัดแยกดังกล่าว
(๓) มีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยทั่วไปภายในอาคารคัดแยกมูลฝอยทั่วไป
(๔) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ฝุ่นละออง
กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
หรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕) มูลฝอยทั่วไปจากการคัดแยกส่วนที่หมักทำปุ๋ยหรือหมักทำก๊าซชีวภาพไม่ได้
ต้องมีระบบกำจัด
หรือส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลหรือการเผาในเตาเผา
หรืออาจมีการนำมูลฝอยทั่วไปที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ไปใช้ประโยชน์
(๖) ต้องบำบัดน้ำชะมูลฝอยทั่วไป
น้ำเสียจากสถานที่คัดแยก และสถานที่หมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๗) กรณีหมักทำก๊าซชีวภาพ บ่อหมักต้องเป็นระบบปิด
มีการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์
และมีระบบเผาก๊าซทิ้งกรณีระบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพหยุดการทำงาน
ข้อ ๒๙ การกำจัดแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการกำจัดมูลฝอยทั่วไปมากกว่าหนึ่งวิธี
ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะของแต่ละวิธีที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๓
ใบอนุญาต
ข้อ ๓๐ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการขน หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไป
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๓๑ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว
(ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ)
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๓๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือการแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ ๓๔ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบหน้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข
ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัติ
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด
๔
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๔๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการขนมูลฝอยทั่วไปของราชการส่วนท้องถิ่น
หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการขนและกำจัดมูลฝอยทั่วไปแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้หรือตามข้อตกลงระหว่างหน่วยงานราชการอื่น
ข้อ ๔๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้ เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียธรรมเนียม
และค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๔๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการ ส่วนท้องถิ่นหรือตามข้อตกลงระหว่างหน่วยงานราชการอื่น
หมวด
๕
ค่าบริการขั้นสูง
ข้อ ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินค่าอัตราบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้หรือตามข้อตกลงระหว่างหน่วยงานราชการอื่น
ข้อ ๔๕ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นิโรจน์ แจ้งแก้ว
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๒๔๙/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
795375 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร
ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา
๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ องค์การบริหาร
ส่วนตำบลห้วยโป่งโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งและนายอำเภอโคกสำโรง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจาก
การประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง
หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม
๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
(๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ
จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง
ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม
หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์ หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช
เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๗) การผลิต แปรรูป สะสมหรือล้างครั่ง
๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง
น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง
จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ
น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม
จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง
ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋
เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี
สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนะเปี๊ยะ
ขนมอบอื่น ๆ
(๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม
หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม
ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง
หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา
เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน
น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง
ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส
หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ แบะแซ
(๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์
อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู
ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่
น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันพืช
(๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๓) การผลิต
หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน
(๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร
หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
(๕) การผลิตยาสูบ
(๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ย
หรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง
ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ เครื่องจักร
อุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่
(๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้ใบอนุญาตใน ๖
(๑)
(๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว
สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด
ยกเว้นกิจการที่ได้ใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้ใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี
หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร
เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้น
มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์
หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่า
หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า
๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี
แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๔) การอบไม้
(๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ
(๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
๙. กิจการเกี่ยวกับการบริการ
(๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
เว้นแต่เป็นการให้ บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๕) การประกอบกิจการโรงแรม
สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๘) การจัดให้มีมหรสพ
การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ
หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑)
(๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด
หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม
(๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง
หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๑๙)
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๐)
การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ
ด้วยเครื่องจักร
(๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ
๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิตสิ่งของ
เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง
รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒)
(๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ
เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง
หรือเผาหินปูน
(๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสม
(๙) การผลิต ตัด บดกระจก หรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก
แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕)
๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก
และสารเคมีต่าง ๆ
(๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือการขนส่งกรด ด่าง
สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียม
หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑)
(๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม
พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี
(๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์
เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง
หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ
ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
๑๓. กิจการอื่น ๆ
(๑) การพิมพ์หนังสือ
หรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๗) การล้างขวด
ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี
หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา
หรือแพปลา
(๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง
หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ
หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน
สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน
สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมาย
ว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม
หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑)
มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย
รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร
การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
(๒)
กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย
หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง
หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมี
หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งประกาศกำหนด
ข้อ ๒๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๙
จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๑.๑)
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้ และ
(๑.๒) ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับกิจการที่เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ
ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ด้วย
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้
ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก
การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบท
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ
ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นิลเนตร
แต้มทอง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๘ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๖๓/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795369 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยทั่วไป
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยเป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ว่าด้วยเรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยทั่วไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา
๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
และนายอำเภอโคกสำโรง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยทั่วไป
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอยทั่วไป หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ
ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์
หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น
และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
อาคาร
หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ข้อ ๕ การเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไปในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไป โดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๑๑ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำ การเก็บ
ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว
แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ
ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไปในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไปให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ห้ามมิให้ผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยทั่วไปในที่หรือทางสาธารณะ เป็นต้นว่า
ถนน ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ ฯลฯ
เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งจัดไว้ให้
(๒) ห้ามมิให้ผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปในทางสาธารณะ
หรือที่สาธารณะอื่นใด เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นรั่วออกมาข้างนอก
(๓) ห้ามผู้ใด ถ่าย เท ทิ้ง สิ่งปฏิกูลลงในที่รองรับมูลฝอยทั่วไป
(๔) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ
ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยทั่วไปที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสม
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ
ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยทั่วไป ให้องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งมีอำนาจประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการและระเบียบการเก็บ
ขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไปหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไป โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการตามข้อ
๑๑ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งหรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บ
ขน แก่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๙ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บ ขน สิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยทั่วไปตามข้อ ๗
ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยทั่วไป ตามคำแนะนำ
ของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๐ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่า
อาคารหรือสถานที่ประเภทใดในบริเวณใดควรทำการเก็บ ขน
และหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยทั่วไปให้ถูกสุขลักษณะยิ่งขึ้น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีหนังสือแจ้งเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้นทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
หรือเมื่อได้ปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยบริเวณที่อาคารนั้นหรือสถานที่นั้นตั้งอยู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
นับแต่ประกาศแล้ว เมื่อครบกำหนดสิบห้าวันแล้วเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือบุคคลผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เก็บ ขน
และหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยทั่วไปจากอาคารหรือสถานที่นั้น
โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยทั่วไป
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ ได้แก่
แผนผังแสดงระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไป
รายชื่อบุคลากรที่มีคุณสมบัติตามกำหนด จบการศึกษาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
หรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือผ่านการอบรมหลักสูตรสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
หรือมีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพเกี่ยวกับกิจการการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไปอย่างน้อย ๑ ปี จำนวนรถบริการเก็บ ขน จำนวนคน
จำนวนอุปกรณ์ เป็นต้น
ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๒ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล
(๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
(๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๑.๒)
ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้
มีฝาปิด-เปิดอยู่ด้านบน
(๑.๓)
มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย
(๑.๔)
ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม
(๑.๕)
มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
(เช่น ไลโซน ๕%)
(๑.๖) ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
เช่น รถดูดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น
และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต
ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยตัวอักษรไทย
ซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งประกาศกำหนด
(๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง
รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(ข)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๑) ต้องมีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล
(๒) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด
ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด
(ค) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนมูลฝอยทั่วไป
(๑) รถที่ใช้ขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปจะต้องมีตัวถังปิดผนังต้องทำด้วยวัสดุทนทาน
ทำความสะอาดได้ง่าย ไม่รั่วซึม
หรือใช้ผ้าใบคลุมปิดมิดชิดและต้องติดตั้งภาชนะรองรับน้ำชะมูลฝอย
ใต้ท้องรถในระหว่างการขนส่ง
(๒)
ผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะต้องมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยทั่วไปโดยผ่านการอบรมการป้องกันและอันตรายจากขยะ
(๓) ต้องขนอย่างสม่ำเสมอตามวันและเวลาที่กำหนด
โดยคำนึงถึงปริมาณของมูลฝอยทั่วไปและสถานที่จัดเก็บ เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็น
(๔)
ผู้ขับขี่ยานพาหนะมูลฝอยทั่วไปและผู้ปฏิบัติประจำยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปต้องระมัดระวังมิให้มูลฝอยทั่วไปและภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยตกหล่นในระหว่างขนส่ง
(๕) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง
รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๖) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน
เพื่อป้องกันเหตุรำคาญและการรบกวนชุมชนหรือพื้นที่รถวิ่งผ่าน
(ง)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอยทั่วไป
(๑) ต้องเป็นระบบกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล
(๒)
ต้องมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและประชาชนข้างเคียง
(๓) ต้องควบคุมเศษขยะมูลฝอย กลิ่น แมลงและพาหะนำโรค
เพื่อป้องกันปัญหารบกวนด้านสุขภาพอนามัยและสภาพที่ไม่น่าดู
(๔) ต้องจัดเตรียมมาตรการป้องกันอัคคีภัย
แผนฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหากรณีเครื่องจักรอุปกรณ์เกิดขัดข้อง
หรือเกิดความล่าช้าด้วยสาเหตุอื่นใดในระหว่างปฏิบัติงาน
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๒
หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๑๗
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์
วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๒ และข้อ ๑๓
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต
ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตตามข้อ
๑๕ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๖ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ
๑๔ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(ก) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูล
(๑)
ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูลต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง
และทำความสะอาดเสื้อคลุม
ถุงมือยางและรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
(๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล
โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้วให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลและทำความสะอาดท่อ
หรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น
ไลโซน ๕%)
(๓) ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล อย่างน้อยวันละ
๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว
สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัด
ด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ
(๔)
กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน
๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด
(๕)
มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
(ข) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๑) ห้ามถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในหรือทางสาธารณะ
(๒) ต้องมีการควบคุม กลิ่น แมลงและพาหะนำโรค
เพื่อป้องกันปัญหารบกวนด้านสุขอนามัยและสภาพที่ไม่น่าดู
(๓)
มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
(ค) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนมูลฝอยทั่วไป
(๑)
ขณะทำการเก็บขนมูลฝอยทั่วไปต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางและรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง
และทำความสะอาดเสื้อคลุม
ถุงมือยางและรองเท้าหนังยางหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
(๒) ทำความสะอาดพาหนะเก็บ
ขนมูลฝอยทั่วไปอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานเก็บ
ขนมูลฝอยทั่วไปแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ
(๓) การเก็บขนมูลฝอยทั่วไปต้องจัดเก็บให้เรียบร้อย
มิให้มีมูลฝอยทั่วไปเหลือตกค้างขณะขนย้ายต้องไม่ทำให้มูลฝอยทั่วไปตกหล่น
หรือฟุ้งกระจายตามท้องถนน กรณีที่มีมูลฝอยทั่วไป
หกเรี่ยราดให้จัดเก็บให้เรียบร้อยแล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด
(๔)
มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานเก็บขนมูลฝอยทั่วไปอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
(ง)
ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอยทั่วไป
(๑) ห้ามถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในหรือทางสาธารณะ
(๒) ต้องมีการควบคุม กลิ่น แมลงและพาหะนำโรค
เพื่อป้องกันปัญหารบกวนด้านสุขอนามัยและสภาพที่ไม่น่าดู
(๓)
มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
ข้อ ๑๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้
ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔
โดยอนุโลม
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต
สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนด
การเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพัก
ใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ
ของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนต้องดำเนินการเก็บ
ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยทั่วไปให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือโดยคำแนะนำ
ของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๒๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นิลเนตร
แต้มทอง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๔๘/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795366 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้องโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
และนายอำเภองาว จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้องตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้องแล้ว ๑๕ วัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
ข้อ ๕ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้
(๑) สุนัข
(๒) แมว
(๓) ช้าง
(๔) โค
(๕) กระบือ
(๖) แพะ
(๗) นก
(๘) ไก่
(๙) สุกร
(๑๐) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้
ข้อ ๖ ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ
๕ ในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้องโดยเด็ดขาด
ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่การเลี้ยงสัตว์ ดังต่อไปนี้
(๑) เพื่อการรักษาโรคเจ็บป่วยหรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์
(๒) เพื่อกิจกรรมใด ๆ
ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง ประกาศกำหนดพื้นที่
ส่วนหนึ่งส่วนใดให้เลี้ยงโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเป็นการเฉพาะ
(๓) เพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่ของเจ้าของสัตว์
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การปล่อยสัตว์
เพื่อการกุศลหรือจารีตประเพณีโดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
หรือเพื่อในพระราชพิธีหรือพิธีกรรมทางศาสนา ตามประกาศของทางราชการ
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้องมีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ
๕ โดยให้มีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง
(๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์
(๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ตามข้อ ๖
ข้อ ๘ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว
เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท และชนิดของสัตว์
โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์ มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ
มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
(๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ
จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
(๓)
เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ
เพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่นควัน
และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ
(๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์
เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
(๕) ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม
กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน
(๖)
ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๗)
ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น
(๘)
ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
ข้อ ๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ
๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน
ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายทอดตลาดนั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด
และค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้องเก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้องเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ประหยัด
สุวรรณโน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านร้อง
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๔๔/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795373 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๙ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งโดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
และนายอำเภอโคกสำโรง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ
ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์
รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
เจ้าของสัตว์ หมายความ รวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้
(๑) ห้ามเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ประเภท ช้าง ม้า โค กระบือ แพะ แกะ
ล่อ ลา สุนัข แมว ในเขตพื้นที่ถนนสาธารณะทุกสายซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งรับผิดชอบดูแล
การเลี้ยงหรือปล่อยตามวรรคหนึ่งนั้น คือกรณีกระทำการเป็นประจำเป็นอาจิณ
หรือไม่สนใจควบคุมดูแลสัตว์จนเข้าใจได้ว่ามีการใช้พื้นที่ถนนสาธารณะเป็นที่เลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
(๒) ให้เขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
ดังต่อไปนี้
(๑) สุนัข
(๒) แมว
(๓) ช้าง
(๔) โค
(๕) กระบือ
(๖) แกะ
(๗) แพะ
(๘) สุกร
(๙) ไก่
(๑๐) สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดประเภท และชนิดสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม
ทั้งนี้ โดยอาจควบคุมการเลี้ยงสัตว์เฉพาะในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง
หรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
(๓) เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหาร
ส่วนตำบลห้วยโป่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่เลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์
ที่ต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๖ โดยให้มีมาตรการอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์ที่เลี้ยง
(๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์
(๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์
ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ
๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษ
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่งรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นิลเนตร
แต้มทอง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยโป่ง
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๕๙/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
793967 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูล
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา
๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
และนายอำเภอเมืองพิษณุโลก จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ.
๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า
อุจจาระหรือปัสสาวะของคน หรือสิ่งอื่นใดที่ปนเปื้อนอุจจาระหรือปัสสาวะ
การจัดการสิ่งปฏิกูล หมายความว่า
กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การรองรับ การขน และการกำจัดสิ่งปฏิกูล
ส้วม หมายความว่า
สถานที่ที่จัดไว้สำหรับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ
และให้ความหมายรวมถึงระบบรองรับสิ่งปฏิกูล
ส้วมส่วนรวม หมายความว่า
ส้วมที่จัดไว้เพื่อให้บริการเป็นการทั่วไปภายในหน่วยงานของรัฐ เอกชน
หรือสถานที่ต่าง ๆ และให้หมายความรวมถึงส้วมสาธารณะ
ไม่ว่าจะมีการเก็บค่าใช้จ่ายหรือไม่
ส้วมเคลื่อนที่ หมายความว่า
ส้วมที่ติดตั้งในยานพาหนะหรือแพ
ส้วมชั่วคราว หมายความว่า
ส้วมที่ไม่ได้สร้างเป็นการถาวร และให้หมายความรวมถึงส้วมประกอบสำเร็จรูป
ถังเก็บกักสิ่งปฏิกูล หมายความว่า
ถังหรือบ่อที่มีลักษณะที่มิดชิด
น้ำซึมผ่านไม่ได้เพื่อใช้เป็นที่รองรับสิ่งปฏิกูลจากส้วมก่อนขนไปกำจัด
การขนสิ่งปฏิกูล หมายความว่า
การสูบสิ่งปฏิกูลจากถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลแล้วนำไปยังระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม
การกำจัดสิ่งปฏิกูล หมายความว่า
การปรับปรุงหรือแปรสภาพสิ่งปฏิกูล ให้ปราศจากมลภาวะ สภาพอันน่ารังเกียจ
หรือการก่อให้เกิดโรค เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือทำลาย
กากตะกอน หมายความว่า
ส่วนที่เป็นของแข็งซึ่งเหลือจากการกำจัดสิ่งปฏิกูล
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ การจัดการสิ่งปฏิกูลในเขตราชการส่วนท้องถิ่นเป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลแทน
หรือจะอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน
ด้วยการคิดค่าบริการ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนส่งสิ่งปฏิกูลแทน
หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๗ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย
เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งสิ่งปฏิกูล นอกจากถ่าย เท
ทิ้งหรือกำจัด ณ สถานที่หรือตามวิธีที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือจัดให้
ข้อ ๘ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณีต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูล ให้เป็นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้
รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๙ ในกรณีที่มีการจัดงานมหรสพ งานเทศกาล
งานแสดงสินค้า การชุมนุม
การชุมนุมสาธารณะหรือกิจกรรมอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการตั้งแต่สามชั่วโมงขึ้นไป
ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบการดำเนินการดังกล่าว ต้องจัดให้มีส้วม ส้วมส่วนรวม
ส้วมเคลื่อนที่ หรือส้วมชั่วคราว ที่ถูกสุขลักษณะสำหรับให้บริการอย่างเพียงพอ
เมื่อดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้น
ในกรณีที่มีการติดตั้งส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราว
ให้ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เรียบร้อยและถูกสุขลักษณะ
ในการนี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจตรวจสอบความเรียบร้อยในการรื้อถอน
และปรับสภาพพื้นที่ดังกล่าว
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราวที่ถูกสุขลักษณะสำหรับให้บริการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
หมวด
๒
หลักเกณฑ์
วิธีการ และมาตรการเกี่ยวกับสุขลักษณะในการจัดการสิ่งปฏิกูล
ส่วนที่
๑
สุขลักษณะของห้องส้วม
ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
หรือสถานที่ที่ให้บริการส้วมส่วนรวมต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปที่ถูกสุขลักษณะ
สะอาด มีผาปิดมิดชิด
และอยู่ในสภาพดีไม่รั่วซึมตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือหรือบริเวณใกล้เคียง
(๒) จัดให้มีสบู่สำหรับล้างมือซึ่งพร้อมใช้งานได้
(๓) ดูแลพื้น ผนัง เพดาน
โถส้วม โถปัสสาวะ และที่กดเปิดปิดน้ำของโถส้วม
และโถปัสสาวะให้สะอาดรวมทั้งต้องบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานได้
(๔) จัดให้มีถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลที่มีสภาพดี ไม่ชำรุด
ไม่แตก หรือรั่วซึม สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค
เมื่อถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลเต็มหรือเลิกใช้งานต้องขนสิ่งปฏิกูลไปกำจัดให้ได้มาตรฐาน
ข้อ ๑๒ ยานพาหนะหรือแพที่มีส้วมเคลื่อนที่
ให้เจ้าของยานพาหนะหรือแพต้องดำเนินการให้มีส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ส่วนที่
๒
สุขลักษณะในการขนสิ่งปฏิกูล
ข้อ ๑๓ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
รวมบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ต้องขนสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดให้มียานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลและอุปกรณ์ที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติที่มีจำนวนเพียงพอกับการให้บริการ
(๒) ดำเนินการสูบสิ่งปฏิกูลในช่วงเวลาที่เหมาะสม
โดยต้องมีมาตรการป้องกันกลิ่นในขณะที่ทำการสูบสิ่งปฏิกูลเพื่อไม่ให้รบกวนอาคารสถานที่ใกล้เคียงจนเป็นเหตุรำคาญ
(๓)
ทำความสะอาดท่อสำหรับใช้สูบสิ่งปฏิกูลหลังจากสูบสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว โดยการสูบน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายสูบ
และทำความสะอาดท่อหรือสายสูบด้านนอก ที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
(๔) ในกรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกหล่น
ให้ทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำ
(๕) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม
และมีสภาพพร้อมใช้งานสำหรับผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูล
รวมทั้งจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น ไว้ประจำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล
และตรวจตราควบคุมให้มีการใส่อุปกรณ์หรือเครื่องมือดังกล่าว
(๖)
ผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อผ้ามิดชิด ถุงมือยางหนา ผ้าปิดปาก
ปิดจมูก และสวมรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และต้องทำความสะอาด ถุงมือยางหนา
และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน
(๗) ต้องทำความสะอาดยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลหลังจากที่ออกปฏิบัติงาน
อย่างน้อยวันละหนึ่งครั้ง
และน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดต้องเข้าสู่ระบบบำบัดหรือกำจัดน้ำเสีย
หรือบ่อซึม โดยบ่อซึมต้องอยู่ห่างจากแม่น้ำ คู คลอง
หรือแหล่งน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่าสิบเมตร
(๘)
ต้องจัดให้มีสถานที่เฉพาะที่มีขนาดกว้างขวางเพียงพอสำหรับจอดเก็บยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล
(๙) ห้ามนำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลไปใช้ในกิจการอื่น
และห้ามนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่สาธารณะ
ข้อ ๑๔ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอนแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ต้องจัดให้ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่
สูบและขนสิ่งปฏิกูลได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
และได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูล
ข้อ ๑๕ ยานพาหนะสำหรับขนสิ่งปฏิกูลต้องมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีฝาเปิดและปิดอยู่ด้านบน โดยสามารถปิดได้มิดชิด
ไม่รั่วซึม และป้องกันกลิ่นสัตว์ และแมลงพาหะนำโรคได้
(๒) ท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูลต้องไม่รั่วซึม
(๓) มีปั๊มสูบสิ่งปฏิกูลที่สามารถสูบตะกอนหนักได้
และมีมาตรวัดสิ่งปฏิกูลซึ่งอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี
(๔)
มีช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำยานพาหนะสูบสิ่งปฏิกูล เช่น ถังใส่น้ำ ไม้กวาด
น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น
(๕) บนตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีข้อความว่า ใช้เฉพาะขนสิ่งปฏิกูล โดยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก
ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นแสดงชื่อ
ของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับมอบให้เป็นผู้ขนสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ผู้ที่รับมอบนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลพร้อมกับแสดงแผ่นป้ายระบุชื่อ
ที่อยู่
และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ได้รับมอบในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแสดงรหัสหรือหมายเลขทะเบียนใบอนุญาต
ในกรณีที่ได้รับใบอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่นหลายแหล่งให้แสดงเฉพาะเลขทะเบียนใบอนุญาตใบแรก
และให้เก็บสำเนาหลักฐานใบอนุญาตใบอื่นไว้ที่ยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลเพื่อการตรวจสอบ
โดยทุกกรณีต้องแสดงแผ่นป้ายระบุชื่อ ที่อยู่
และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทหรือเจ้าของกิจการขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจนโดยตัวอักษรต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าสิบเซนติเมตร
ข้อ ๑๖ ในการขนสิ่งปฏิกูลให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดเส้นทางและออกเอกสารกำกับการขนส่ง
เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูล
ส่วนที่
๓
สุขลักษณะในการกำจัดสิ่งปฏิกูล
ข้อ ๑๗ การกำจัดสิ่งปฏิกูลไม่ว่าจะใช้วิธีการใด
การนำน้ำทิ้งและกากตะกอนที่ผ่านการกำจัดสิ่งปฏิกูลแล้วไปใช้ประโยชน์หรือปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งต้องได้มาตรฐานปริมาณไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไล ดังต่อไปนี้ด้วย
ประเภท
ไข่หนอนพยาธิ
จำนวน/กรัม
หรือลิตร
แบคทีเรียอีโคไล
(Escherichia Coli Bacteria)
เอ็ม.พี.เอ็น/๑๐๐
มล.
๑. กากตะกอน
น้อยกว่า ๑
น้อยกว่า ๑๐๓
๒. น้ำทิ้ง
น้อยกว่า ๑
น้อยกว่า ๑๐๓
วิธีการเก็บตัวอย่างและวิธีการตรวจหาไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไลในกากตะกอนและน้ำทิ้งที่ผ่านการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องเป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนด
ข้อ ๑๘ ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
และผ่านการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ ๑๙ ในสถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูลต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูล
และมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดตั้งไว้
ข้อ ๒๐ ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อคลุม
ถึงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูกและสวมร้องเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง
และต้องทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน
และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน
หมวด
๓
ใบอนุญาต
ข้อ ๒๑ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอ
รับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/หรืออื่น
ๆ)
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๒๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น
ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะที่กำหนด
โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ยื่นผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย
ข้อ ๒๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนอนุญาตนำสำเนา
บันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกเฉยใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด
๔
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๓๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการขนสิ่งปฏิกูลของราชการส่วนท้องถิ่น
หรือเขตพื้นที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการขนและกำหนดสิ่งปฏิกูลแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกัน
เกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๓๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
หมวด
๕
อัตราค่าบริการขั้นสูง
ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
หมวด
๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๓๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นิโรจน์ แจ้งแก้ว
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามสูง
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๒๓๙/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
795355 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๙ และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮและนายอำเภอรัตนวาปี
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัข พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮตั้งแต่วันถัดจาก
วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว
ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์
รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
เจ้าของสัตว์ หมายความว่า
เจ้าของหรือผู้ครอบครองสุนัข
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
การทำทะเบียน หมายความว่า
การจดทะเบียนและการขึ้นทะเบียน
การจดทะเบียน หมายความว่า การออกใบรับรองรูปพรรณสัณฐานและการทำเครื่องหมายระบุตัวสุนัข
การขึ้นทะเบียน หมายความว่า
การนำเอกสารเกี่ยวกับสุนัขที่จดทะเบียนไว้แล้ว
แจ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกรายละเอียดรูปพรรณสัณฐาน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสุนัขให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขดังนี้
(๑)
ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขโดยเด็ดขาด
๑.๑ องค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ
๑.๒ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
๑.๓ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทับไฮ
๑.๔ โรงเรียนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
(๒) การเลี้ยงหรือปล่อยสุนัขต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
๒.๑ ให้เจ้าของสุนัขที่เลี้ยงสุนัขในเขตตำบลนาทับไฮ
มีหน้าที่นำสุนัขไปทำทะเบียนและขอมีบัตรประจำตัวสุนัขได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ
๒.๒ การขึ้นทะเบียนสัตว์ เจ้าของสุนัขต้องยื่นคำขอพร้อมแนบเอกสารดังนี้
(๑) สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของสุนัข
(๒) ในกรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านต้องมีหนังสือยินยอมจากเจ้าของบ้านพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของบ้าน
(๓) ใบรับรองที่ระบุการฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้ามาไม่เกินหนึ่งปี
มีการระบุหมายเลขการผลิตวัคซีนและลงชื่อสัตวแพทย์ผู้ฉีดพร้อมเลขที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์
(๔) หนังสือมอบอำนาจในกรณีเจ้าของสุนัขไม่ได้มาดำเนินการเอง
๒.๓ เจ้าของสุนัขต้องปฏิบัติ ดังนี้
(๑) นำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุ
๒ - ๔ เดือน และครั้งต่อไปตามที่กำหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
(๒) เมื่อสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
ให้ติดเครื่องหมายประจำตัวและเก็บใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้ การขายหรือให้สุนัขแก่ผู้อื่นต้องมอบใบรับรองให้ด้วย
ข้อ ๖ แบบคำร้องและวิธีการขึ้นทะเบียนสุนัข
ทะเบียนสุนัขรายครัวเรือน และบัตรประจำตัวสุนัข
ให้เป็นไปตามองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮประกาศกำหนด
ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ
๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่าย
ในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ
ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
อุทัย จันทหงษ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาทับไฮ
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๓๘/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
795350 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์
เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์
ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา
๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์โดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์และนายอำเภอหนองหญ้าไซ
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๙ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร
หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์
(๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๑.๒) การประกอบกิจการสัตว์เลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม
(๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร
เร่ขาย หรือขายในตลาด
(๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง
กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก
เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม
หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
(๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร
เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง
น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง
จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ
น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง
แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน
ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน
ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น
ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า
หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
ขนมอบอื่น ๆ
(๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม
หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม
เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๓.๑๓) การผลิต สะสม
หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์
สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน
น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง
ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง
ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส
หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา
เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น
เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด
หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
(๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู
แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร
หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง
ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
(๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์
หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะ หรือแร่
(๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน
(๖.๑)
(๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม
นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
(๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี
หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร
เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย
และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
ดังกล่าวด้วย
(๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์
หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล
เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องกลเก่า
(๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี
แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๘.๔) การอบไม้
(๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
(๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
เว้นแต่เป็นการบริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม
สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ
การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ
หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ
หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการบริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๙.๑)
(๙.๑๐) การประกอบกิจการเล่นสเกต
หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง
หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๙.๑๙)
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยง หรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
(๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ
ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ
ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุ ที่คล้ายคลึง
(๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง
รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒)
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ
เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง
หรือเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๑.๑๒) การล้าง การจัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก
แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕)
(๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน
ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ
(๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง
สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น
หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๗.๑)
(๑๒.๖)
การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์
เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุคล้ายคลึง
(๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์
เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุคล้ายคลึง
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุคล้ายคลึง
(๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง
หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ
ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
(๑๓) กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุคล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด
ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด
ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี
หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา
หรือแพปลา
(๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง
หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒)
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมาย
ว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม
หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑)
มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณ และประเภทมูลฝอย
รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(๓)
กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร
การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัย เป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
(๒)
กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย
หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสาร
และหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
หลักฐานเกี่ยวกับการแสดงตัวตน เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน
เป็นต้น
(๒) หลักฐานเกี่ยวกับการแสดงเอกสารสิทธิ์
หรือกรรมสิทธิ์ เช่น หนังสือมอบอำนาจ เอกสารการครอบครองที่ดิน
เอกสารการเช่าที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
(๓) หลักฐานเกี่ยวกับการแสดงความถูกต้องตามกฎหมาย เช่น
ใบอนุญาตตามกฎหมายต่าง ๆ หนังสือจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด
หรือบริษัทจำกัด เป็นต้น
(๔) หลักฐานอื่น ๆ เช่น ผังระบบบำบัดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม
ผังระบบโครงสร้างต่าง ๆ เป็นต้น
ข้อ ๒๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ในส่วนแนบท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมหลักฐานตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
(๒)
การต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
แบบที่กำหนดไว้ในส่วนแนบท้ายข้อบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว ให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์เท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์
ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบ กอ. ๔ ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบท
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่า
ผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบังคับนี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ
ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๓ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง
ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ
กอ. ๑
(๒)
ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ อภ. ๒
(๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ
กอ. ๓
(๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔
ข้อ ๓๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๓๕ บรรดาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น
เมื่อใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุและผู้นั้นยังคงประสงค์ที่จะดำเนินกิจการต่อไป
ผู้นั้นจะต้องมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ก่อนการดำเนินกิจการ
ข้อ ๓๖ ให้ผู้ประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการก่อนที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ยังสามารถประกอบกิจการได้อยู่ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตจะหมดอายุ
และปฏิบัติให้เป็นไปตามความที่กำหนดไว้ ในข้อบัญญัตินี้
ยกเว้นเรื่องระยะห่างของสถานประกอบกิจการไม่ให้นำมาใช้บังคับ
ข้อ ๓๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
อำนวย ธัญญเจริญ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพธิ์
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒ .แบบคำรับใบอนุญาต (แบบ กอ.๑)
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(แบบ อภ. ๒)
๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ กอ. ๓)
๕. แบบคำขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ กอ. ๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/จัดทำ
๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๒๑/๑๙ มกราคม ๒๕๖๑ |
793963 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่มโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่มและนายอำเภอชุมแพ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่มตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์
รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์
หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
ดังต่อไปนี้
(๑) สุนัข
(๒) แมว
(๓) ช้าง
(๔) โค
(๕) กระบือ
(๖) แพะ
(๗) แกะ
(๘) นก
(๙) ไก่
(๑๐) สุกร
(๑๑)
สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้
ข้อ ๖ ห้ามทำการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ
๕ ในที่หรือทางสาธารณะในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่มโดยเด็ดขาด
ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับแก่การเลี้ยงสัตว์ ดังต่อไปนี้
(๑)
เพื่อการรักษาโรคเจ็บป่วยหรือสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของสัตว์
(๒) เพื่อกิจกรรมใด ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
ประกาศกำหนดพื้นที่ส่วนหนึ่งส่วนใด
ให้เลี้ยงโดยมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเป็นการเฉพาะ
(๓) เพื่อการย้ายถิ่นที่อยู่
ความในวรรคหนึ่ง
ไม่ใช้บังคับแก่การปล่อยสัตว์เพื่อการกุศลหรือจารีตประเพณี
โดยได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม หรือเพื่อในพระราชพิธีหรือพิธีกรรมทางศาสนา
ตามประกาศของทางราชการ
ข้อ ๗ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
มีอำนาจออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ควบคุมตามข้อ ๕
โดยให้มีมาตรการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดจำนวน ประเภท และชนิดของสัตว์เลี้ยง
(๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการทำทะเบียนตามประเภทและชนิดของสัตว์
(๓) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ตามข้อ ๖
ข้อ ๘ นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว
เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท
และชนิดของสัตว์ โดยมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์
มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอมีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
(๒) รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ
จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ อยู่เป็นประจำ
ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
(๓)
เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์ต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะ
เพื่อป้องกัน มิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้
โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน
และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ
(๔) จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์
เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
(๕)
ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตนไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์
โดยปราศจากการควบคุม
กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน
(๖) ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๗)
ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น
(๘)
ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข คำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
ข้อ ๙ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืน
ข้อ ๖
โดยไม่มีเจ้าของให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น หรือสัตว์อื่น
หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้น
ตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวได้ เงินได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
๕,๐๐๐ บาท
ตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่มเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สมจิตต์ มะสันเทียะ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาหนองทุ่ม
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๒๓๑/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793959 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ เรื่อง ให้กิจการ การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบเป็นกิจการควบคุม พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ
เรื่อง
ให้กิจการ การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบเป็นกิจการควบคุม
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ
ว่าด้วยกิจการ การล้าง อบ รม
และสะสมยางดิบขึ้นใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำและนายอำเภอพญาเม็งราย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ เรื่อง
ให้กิจการการล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบเป็นกิจการควบคุม พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
ยางดิบ หมายถึง
ยางธรรมชาติในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ น้ำยาง ยางแผ่น ยางแท่ง เศษยาง ขี้ยาง
ยางก้อนถ้วย
สถานประกอบกิจการ หมายถึง
สถานที่ที่ทำการล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างรวมกัน
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า
สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๖ ให้กิจการ
การล้าง การอบ การรม
หรือการสะสมยางดิบเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ
ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ
หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
หมวด
๒
สถานที่ตั้ง
ลักษณะอาคาร และการสขุาภิบาล
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา สถานศึกษา โรงพยาบาล
สถานเลี้ยงเด็ก หรือสถานดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ
สถานที่ราชการ หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานกฎหมายว่าด้วยผังเมือง
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
เป็นระยะที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเหตุรำคาญและไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแก่ประชาชนหรือผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน
สถาบันการศึกษา สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานเลี้ยงเด็ก
หรือสถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ สถานที่ราชการ
ไม่น้อยกว่าสองร้อยเมตร ทั้งนี้
เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญแก่ประชาชน
ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการที่ตั้งขึ้นก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับและมีข้อจำกัดเรื่องการย้ายสถานที่ตั้ง แต่ทั้งนี้
ต้องจัดให้มีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ และเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรงและปลอดภัย
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒)
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
โดยจัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วม และอ่างหรือที่ล้างมือ
พร้อมสบู่ที่มีจำนวนเพียงพอและถูกสุขลักษณะ ตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสม
โดยจัดห้องส้วมแยกชาย หญิง และมีจำนวนอย่างน้อยในอัตราหนึ่งที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกินสิบห้าคน
อัตราสองที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกินสี่สิบคน อัตราสามที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกินแปดสิบคนและเพิ่มขึ้นต่อจากนี้ในอัตราส่วนหนึ่งที่ต่อผู้ปฏิบัติงานไม่เกินห้าสิบคน
(๔) พื้นอาคารต้องทำด้วยคอนกรีต
หรือวัสดุอื่นใดที่แข็งแรงอยู่ในสภาพดีเหมาะสมปลอดภัยไม่สึกกร่อน
และทำความสะอาดง่าย ในกรณีลานรับซื้อหรือสะสมน้ำยาง
ยางก้อนพื้นควรมีความลาดเอียงสามารถระบายน้ำเสียไปยังท่อหรือรางระบายน้ำได้ดี
ไม่มีน้ำเสียขัง
(๕)
ผนังอาคารต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงและทำความสะอาดง่าย
(๖)
หลังคาต้องมุงด้วยกระเบื้องหรือวัสดุอื่นใดที่แข็งแรง
(๗)
มีการระบายอากาศในอาคารโดยวิธีธรรมชาติหรือวิธีกลและมีการระบายอากาศที่เหมาะสม
(๘) มีท่อหรือรางระบายน้ำแบบปิดภายในอาคารและภายนอกอาคาร
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีประตูหรือทางเข้าออก
ที่มีความกว้างเพียงพอกับการเข้าออกของยานพาหนะและการเคลื่อนย้ายในกรณีฉุกเฉิน
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการแบ่งพื้นที่ดำเนินกิจการแต่ละส่วนอย่างเป็นสัดส่วนและเหมาะสม
ในกรณีที่เป็นอาคารรวบรวมหรือสะสมยางก้อน ยางแผ่น ควรปิดมิดชิด
ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ต้องจัดให้มีอ่างหรือที่ล้างมือพร้อมสบู่ที่มีจำนวนเพียงพอและถูกสุขลักษณะ
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม
หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑)
มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย
รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(๓)
กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร
การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกจิ
การต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
ข้อ ๑๗ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีน้ำดื่มที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่ม
สำหรับบริการผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอและต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่แยกออกจากบริเวณการผลิต
โดยลักษณะการจัดบริการน้ำดื่มต้องปราศจากความสกปรกหรือการปนเปื้อน
และจัดให้มีน้ำใช้ที่สะอาดมีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้ในแต่ละวัน
หมวด
๓
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๙ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
ในแต่ละแผนกของสถานประกอบกิจการนั้นและจัดให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รับการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพ
หนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งกรณีที่มีผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป
ให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
ต้องมีสถานที่จัดเก็บสารเคมีที่ใช้ในการประกอบกิจการที่มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยและแยกออกจากบริเวณการผลิตอื่น
ๆ โดยต้องจัดให้มีป้ายแสดงชนิด
ประเภทของสารเคมีแต่ละชนิดไว้อย่างชัดเจนจัดให้มีบัญชีรายชื่อและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี
(SDS; safety data sheets) โดยเอกสารทั้งหมดให้แสดงเป็นภาษาไทยจัดเก็บไว้ในที่เปิดเผยและเรียกดูได้ง่าย
กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์
รวมถึงสวิทซ์และสายไฟต่าง ๆ ต้องติดตั้งหรือจัดเก็บอย่างเป็นสัดส่วน
เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี
(๔) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์
ที่มีส่วนที่เป็นอันตรายต้องมีครอบป้องกันอันตราย
(๕) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้
และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เปลือกนอกเป็นโลหะจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน
เช่น สายดิน และเครื่องตัดไฟรั่ว เป็นต้น
(๖) การเดินสายไฟต้องเดินสายไฟให้เรียบร้อย
หรือเดินในท่อร้อยสาย
(๗) เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้
และอุปกรณ์ต้องได้รับการตรวจตราเป็นประจำหากพบการชำรุดต้องดำเนินการซ่อมแซมและแก้ไขพร้อมทั้งต้องมีป้ายหรือสัญญาณเตือนกรณีเครื่องจักรชำรุดหรือขัดข้องเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
(๘) จัดให้มีทางหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉิน
พร้อมแผนผังแสดงโดยต้องมีป้ายแสดงให้เห็นเด่นชัดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
(๙)
จัดให้มีแสงสว่างภายในสถานประกอบกิจการที่เพียงพอตามลักษณะงานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๐ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีการควบคุมปริมาณฝุ่นละออง
และความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๑ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีมาตรการป้องกัน
ควบคุมปัญหาเสียงดังภายในสถานประกอบกิจการให้ได้มาตรฐาน
ตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๒ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีการควบคุมความร้อนภายในสถานประกอบกิจการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๓ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ให้เพียงพอและเหมาะสมตามลักษณะงาน เช่น หน้ากากป้องกันกลิ่น ไอระเหยสารเคมี
และเชื้อรา ที่ครอบหู หรือที่อุดหูถุงมือ รองเท้าบู๊ทเสื้อคลุม เป็นต้น
และจัดให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้ และการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ทั้งนี้
ต้องมีมาตรการในการควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดเวลาการปฏิบัติงาน
ข้อ ๒๔ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีคู่มือหรือเอกสารที่แสดงขั้นตอนการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
และจัดเก็บให้เป็นสัดส่วน ณ จุดปฏิบัติงานในที่เปิดเผยและเรียกดูได้ง่าย
ข้อ ๒๕ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานแรกรับเข้าทำงานและผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
และตรวจตามปัจจัยเสี่ยงตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ข้อ ๒๖ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับการอบรมหรือให้ความรู้ก่อนเข้าปฏิบัติงาน เช่น ทักษะในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
สุขอนามัยส่วนบุคคล และวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับบาดเจ็บจากการทำงาน
เป็นต้น พร้อมทั้งมีการบันทึกผลของการอบรมทุกครั้ง
ข้อ ๒๗ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีสถานที่ชำระล้างร่างกายและชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นภายในสถานประกอบกิจการ
กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินต้องมีการดูแลผู้ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยรวมถึงมีการส่งต่อผู้ป่วยได้ทันท่วงที
ข้อ ๒๘ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมการทำงาน
ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก
หรือเข็นของหนักของผู้ปฏิบัติงานไม่เกินอัตราน้ำหนักที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในกรณีของหนักเกินอัตราน้ำหนักที่กำหนดต้องจัดให้มีและให้ผู้ปฏิบัติงานใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม
และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
ข้อ ๒๙ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีข้อบังคับกับผู้ปฏิบัติงานมิให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ไม่สูบบุหรี่ หรือเสพสารเสพติด และไม่รับประทานอาหารขณะปฏิบัติงาน
หมวด
๔
การควบคุมของเสีย
มลพิษหรือสิ่งใด ๆ
ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๓๐ สถานประกอบกิจการที่มีการประกอบกิจการอันอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง
หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน ประชาชนและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
ข้อ ๓๑ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีการป้องกัน
ควบคุม หรือบำบัดกลิ่นจากการประกอบกิจการที่มีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือส่งผลกระทบต่อสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานประชาชนและผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
ข้อ ๓๒ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีการป้องกัน
ควบคุมไอระเหยของสารเคมี และฝุ่นละอองจากการประกอบกิจการเพื่อไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๓ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีการควบคุมระดับเสียงให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๔ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีการบำบัดหรือการปรับปรุงคุณภาพน้ำเสียจากการประกอบกิจการรวมถึงน้ำ
ชะล้าง จากลานกองเก็บวัตถุดิบก่อนระบายสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และต้องดูแลทางระบายน้ำไม่ให้อุดตัน
ข้อ ๓๕ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีการล้างทำความสะอาดลานรวบรวมหรือสะสมยางก้อนทุกครั้งหลังเลิกงาน
หรือหากพบว่ามีน้ำเสียขังในปริมาณมาก
ข้อ ๓๖ ในการขนส่งยางดิบผู้ดำเนินกิจการหรือผู้ขนส่งต้องจัดให้มีการปูแผ่นพลาสติกหนา
หรือมีภาชนะรองรับป้องกันการรั่วไหลของน้ำยางหรือน้ำเสียลงสู่พื้นถนนระหว่างการขนส่ง
และใช้ผ้าใบปิดคลุมรถขนส่งให้มิดชิดเพื่อป้องกันยางดิบ และกลิ่นเหม็นฟุ้งกระจาย
ข้อ ๓๗ ผู้ดำเนินกิจการต้องจัดให้มีภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย
มีการทำความสะอาดภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
รวมทั้งมีการรวบรวมและกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ
ข้อ ๓๘ ผู้ดำเนินกิจการต้องมีการจัดการกากของเสีย
สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว หรือวัสดุที่เสื่อมคุณภาพจากกระบวนการผลิต
รวมถึงวัสดุอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด
๕
ใบอนุญาต
ข้อ ๓๙ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๔๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ อภ.๑
ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ดำเนินกิจการ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ดำเนินกิจการ
(๓)
หนังสือยินยอมให้ใช้อาคารหรือสัญญาเช่าจากเจ้าของอาคาร
และทะเบียนบ้านของสถานประกอบกิจการ (กรณีผู้ขอรับใบอนุญาตไม่มีกรรมสิทธิ์ในอาคารที่ใช้เป็นสถานประกอบการ)
(๔)
สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคารของสถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการ
(๕) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล
(ในกรณีที่ผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล)
(๖) หลักฐานที่แสดงการเป็นผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล
(๗)
หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจในกรณีมีการมอบอำนาจ
(๘) แผนผังแสดงบริเวณที่ตั้งของสถานประกอบกิจการ
(๙) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) เอกสารหลักฐานอื่นที่จำเป็นซึ่งเจ้าหน้าที่เห็นว่าสมควรเรียกเพิ่มเพื่อประกอบการพิจารณา
ข้อ ๔๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข และมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
และปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
รวมทั้งระเบียบและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ
ข้อ ๔๒ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๔๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตตามแบบ อภ.
๒ ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอภายในหกสิบวันก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๔๐ และข้อ ๔๑ ด้วย โดยให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบ
อภ. ๓ ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๔๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๔๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ
ข้อ ๔๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๔๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบ อภ. ๔ ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วยใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ อภ. ๒
โดยประทับตราสีแดง คำว่า ใบแทน กำกับไว้เหนือตราครุฑและให้มีวัน
เดือน ปีที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลืออยู่ของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
(๓)
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบบันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิมสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี
พ.ศ. ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๔๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตแล้วให้แจ้งบอกเลิกการประกอบกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
อภ. ๕ ภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันเลิกประกอบกิจการ
หมวด
๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๕๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๕๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๕๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๕๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๕๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๕๕ ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการล้าง
การอบ การรม หรือสะสมยางดิบตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๓ ก่อนวันบังคับใช้ข้อบัญญัตินี้ให้ผู้นั้นประกอบกิจการนั้นต่อไปได้เสมือนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้แล้วแต่เมื่อใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุ
และผู้นั้นยังประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไปจะต้องขอรับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ก่อนดำเนินการ
ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สมจิตต์ ศิริชัยชุ่ม
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ปฏิบัติหน้าที่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ
เรื่อง ให้กิจการ การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบเป็นกิจการควบคุม พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ การล้าง อบ
รม หรือสะสมยางดิบ (แบบ อภ. ๑)
๓. ใบอนุญาตประกอบกกิจการททที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๒)
๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ.
๓)
๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(แบบ อภ. ๔)
๖. แบบคำขอแจ้งบอกเลิกการดำเนินการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(แบบ อภ. ๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๒๐๒/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793961 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลวังหินโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลวังหินและนายอำเภอวังโป่ง
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังหินตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บรรดาข้อบัญญัติ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว
ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
สัตว์ หมายความว่า
สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์ป่าหรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
กรรมวิธีหรือวิธีการที่จะดูแลให้สัตว์นั้นเจริญเติบโต
และมีชีวิตอยู่ได้เพื่อไว้ขายหรือการค้าหรือเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเป็นงานอดิเรก
การมีสัตว์ไว้ ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้อยู่ นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจาการควบคุม
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่เลี้ยง
ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า
อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร มูลสัตว์หรือซากสัตว์
รวมถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นจากชุมชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน
ข้อ ๔ ห้ามมิให้มีการเลี้ยงสัตว์ชนิดหรือประเภทเหล่านี้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังหินโดยเด็ดขาด
ได้แก่
(๑) งูพิษและงูที่อาจเกิดอันตรายแก่คนและสัตว์เลี้ยง
(๒) ปลาปิรันยา
(๓) คางคกไฟ
(๔) สัตว์ดุร้ายต่าง ๆ
(๕) สัตว์มีพิษร้ายอื่น ๆ
(๖) สัตว์ต้องห้ามตามกฎหมายอื่น ๆ
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังหินเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้
๕.๑ ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด
(๑)
พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นเขตพาณิชย์กรรมและเขตประชากรหนาแน่น
(๒) พื้นที่ผังเมืองประกาศเป็นประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
(๓) สถานที่ท่องเที่ยว
(๔) วัด โรงเรียน สถานที่ราชการ
๕.๒
ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์เกินจำนวนที่กำหนดดังนี้
(๑) พื้นที่นอกจากที่ระบุใน (๕.๑) และในเขตชุมชน
ห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทดังต่อไปนี้เกินจำนวน ดังนี้
(๑.๑) ช้าง ม้า ไม่เกิน ๑ ตัว
(๑.๒) สุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข ประเภทละไม่เกิน ๓
ตัว
(๑.๓) เป็ด ไก่ นก ห่าน ประเภทละไม่เกิน ๒๐ ตัว
(๑.๔) จำนวนสัตว์อื่นนอกจาก (๑) (๓) ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๑.๕) การเลี้ยงสัตว์ต้องไม่ก่อมลภาวะและเหตุรำคาญ
(๑.๖)
ต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแพร่เชื้อโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน
๕.๓
ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ต้องอยู่ภายใต้มาตรการอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(๑) พื้นที่อยู่อาศัยไม่หนาแน่น หรือห่างจากชุมชน เกิน
๕๐๐ เมตร เป็นเขต ที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทดังนี้
ก. การเลี้ยงสุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข จำนวนไม่เกิน ๒๐ ตัว
ข. การเลี้ยงไก่ นก เป็ด ห่าน จำนวนไม่เกิน ๕๐ ตัว
ค. สัตว์อื่น ๆ นอกจาก ข้อ ก. และ ข. จำนวนไม่เกิน ๕ ตัว
(๒) พื้นที่อาศัยไม่หนาแน่น หรือห่างจากชุมชน เกิน ๑
กิโลเมตร เป็นเขตที่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ประเภทดังนี้
ก. การเลี้ยงสุกร โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข จำนวนไม่เกิน ๑๐๐ ตัว
ข. การเลี้ยงไก่ นก เป็ด ห่าน จำนวนไม่เกิน ๕๐๐ ตัว
ค. สัตว์อื่น ๆ นอกจาก ข้อ ก. และ ข. จำนวนไม่เกิน ๑๐ ตัว
ต้องมีการปฏิบัติภายใต้มาตรการดังนี้
๑. สถานที่ตั้ง
(๑)
ต้องตั้งอยู่ในสถานที่ที่ไม่ก่อเหตุรำคาญให้กับผู้อาศัยอยู่ใกล้เคียง
(๒)
ต้องมีบริเวณเลี้ยงสัตว์ซึ่งกั้นเป็นสัดส่วนและให้อยู่ห่างเขตที่ดินสาธารณะ
ทางน้ำสาธารณะหรือที่ดินต่างเจ้าของ และมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมโดยรอบบริเวณเลี้ยงสัตว์นั้นไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตรทุกด้าน
เว้นแต่ด้านที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อกับที่ดินของผู้เลี้ยงสัตว์ประเภทเดียวกัน
๒. อาคารและส่วนประกอบ
(๑)
อาคารต้องเป็นอาคารเอกเทศและมั่นคงแข็งแรงมีลักษณะเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ประเภทนั้น
ๆ ไม่มีการพักอาศัยหรือประกอบกิจการอื่นใด
(๒) พื้นที่ต้องเป็นพื้นแน่นทำความสะอาดง่ายไม่เฉอะแฉะ
เว้นแต่การเลี้ยงสุกรพื้นจะต้องเป็นคอนกรีตและมีความลาดเอียงเพื่อให้น้ำและสิ่งปฏิกูลไหลลงทางระบายน้ำได้โดยสะดวก
(๓)
หลังคาต้องมีความสูงจากพื้นมากพอสมควรและมีช่องทางให้แสงสว่างหรือแสงแดดส่องภายในอาคารอย่างทั่วถึง
(๔)
คอกต้องมีการกั้นคอกเป็นสัดส่วนเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ไม่ให้สัตว์อยู่กันอย่างแออัดการระบายอากาศต้องจัดให้มีการระบายอากาศถ่ายเทให้เพียงพอ
๓. การสุขาภิบาลทั่วไป
(๑) การระบายน้ำ
(๑.๑) รางระบายน้ำต้องจัดให้มีรางระบายน้ำโดยรอบตัวอาคารให้มีความลาดเอียงเพียงพอให้น้ำไหลได้สะดวก
(๑.๒)
น้ำทิ้งต้องมีการบำบัดก่อนระบายลงสู่ทางระบายน้ำแหล่งน้ำสาธารณะหรือในที่เอกชน
(๒)
การกำจัดมูลสัตว์ต้องเก็บกวาดมูลสัตว์เป็นประจำทุกวันต้องจัดให้มีที่กักเก็บมูลสัตว์โดยเฉพาะ
ไม่ให้ส่งกลิ่นเหม็นอันเป็นเหตุรำคาญ
และต้องไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค
(๒.๑)
ถ้ามีการสุมไฟไล่แมลงให้สัตว์ต้องไม่ให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง
(๒.๒)
ต้องป้องกันเสียงร้องของสัตว์ไม่ให้เป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง
(๒.๓) การเลี้ยงสัตว์ที่มีขน
ตัวอาคารต้องสามารถป้องกันขนไม่ให้ปลิวฟุ้งกระจายออกไปนอกสถานที่
(๒.๔) ต้องควบคุมดูแลไม่ให้สัตว์ออกไปทำความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือทำความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง
(๒.๕) ต้องรักษาความสะอาดที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดเสมอ
๔. การกำจัดซากสัตว์ให้ใช้วิธีการเผาหรือฝังเพื่อป้องกันการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง
และสัตว์นำโรคและการก่อเหตุรำคาญจากกลิ่นเหม็น
ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ
๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็น
ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น
หรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาด เมื่อได้หักค่าใช้จ่าย
ในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน
ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันจะเป็นอันตราย
ต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน
ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังหินเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออก ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
มานิตย์ อูบแก้ว
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังหิน
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๒๑๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793957 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด
เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ.
๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด
ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร
ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘
มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลระโนดโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด
และนายอำเภอระโนด จึงตราบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลระโนดตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลระโนดแล้วสิบห้าวัน
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับตำบลระโนด
ว่าด้วยการตลาด สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๗
บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
อาหาร หมายความว่า
ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่
(๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม
หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
แล้วแต่กรณี
(๒)
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร
รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่บริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถ
บริโภคได้ทันที ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้น
หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดประกอบหรือปรุงแล้ว
หรือของเสียง่าย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม
และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ
และความหมายรวมถึงสิ่งอื่นใด ที่เป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์
รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทาง ซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด
ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง
ข้อ ๖ ความในข้อ ๕
ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการดังนี้
(๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒) การขายของในตลาด
(๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ข้อ ๗ ผู้ขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหาร ซึ่งขอรับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งผู้จำหน่าย ทำ
ประกอบ ปรุง หรือเก็บสะสมอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบัญญัติ
เงื่อนไข ประกาศคำสั่งที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลระโนดประกาศกำหนด
ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ข้อกำหนด
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
ข้อ ๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่อใบอายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม
ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์
ในคราวเดียวกันและกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้ง
ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่ได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต
พร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา
ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่พนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๒ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลระโนดเท่านั้น
การขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต
การขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่อใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๘ และข้อ ๙ โดยอนุโลม
ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
สำหรับกรณีที่เป็นการต่อใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
กรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลระโนด
ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการ
แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๑๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้อถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
ตามข้อบังคับนี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ
ของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชน
ข้อ ๒๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่งแล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๒ ผู้ใดประสงค์จะขอตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร
หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้ง
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
(๑) รูปถ่ายขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป
(๒)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) ใบรับรองแพทย์ของผู้ประกอบการ
(๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลระโนดกำหนด
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแจ้งแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้ง
หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายได้
ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล
แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผย
และเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรอง
การแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๕ เมื่อผู้แจ้งตามมาตรา
๔๘
ประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินการให้บุคคลอื่นให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ผู้ดำเนินการใดดำเนินการกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้
โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแสดงครั้งหนึ่ง
ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการจนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้ายังฝ่าฝืนอีก
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้
ข้อ ๒๗ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งหรือผู้ดำเนินการทราบ
ในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือการแจ้ง
หรือคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือไว้โดยเปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้ว
ตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบลท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลระโนดเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
พอพรรณ บัวมาศ
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด ปฏิบัติหน้าที่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลระโนด
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๑๘๕/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793953 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘
มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษาโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
และนายอำเภอสังขะ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษาตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ ฉบับที่ ๒
ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษาเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจ
ตีความ วินิจฉัย ออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ ในข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบกิจการ หมายความว่า
สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็น
อันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๗ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
๗.๑ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บ
ค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม
๗.๒ กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๑) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๒) การสะสมเขา กระดูก
หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๓) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๔) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง
ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๕) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม
หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์
หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๖) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
๗.๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง
น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง
จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ
น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม
จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน
ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน
ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น
ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า
หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
ขนมอบอื่น ๆ
(๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม
ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา
เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา
น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง
ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส
หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
๗.๔ กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์
อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาด
(๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น
เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด
หรือผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดต่าง ๆ
๗.๕ กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๓) การผลิต
หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร
หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
(๕) การผลิตยาสูบ
(๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๗) การผลิต สะสม
หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง
ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
๗.๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์
หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่
(๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ใน ๗.๖ (๑)
(๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
๗.๖ (๑)
(๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก
โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑)
(๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๑)
(๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
๗.๗ กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี
หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร
เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล ดังกล่าวด้วย
(๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์
หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล
เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องกลเก่า
๗.๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี
แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๔) การอบไม้
(๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
๗.๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๙ (๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๙ (๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๕) การประกอบกิจการโรงแรม
สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๘) การจัดให้มีมหรสพ
การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ
หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
๗.๙ (๑)
(๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด
หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๑๒) การประกอบกิจการกาย สถานที่ออกกำลัง
(๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม
(๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง
หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๑๙)
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๐)
การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
๗.๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ
ด้วยเครื่องจักร
(๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
๗.๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง
รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
๗.๑๑ (๒)
(๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๖) การเลื่อย ตัด
หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง
หรือเผาหินปูน
(๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก
แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๖ (๕)
๗.๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก
และสารเคมีต่าง ๆ
(๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง
สารออกซิไดซ์ หรือสาร ตัวทำละลาย
(๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗.๗ (๑)
(๖)
การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์
เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์
เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุ ที่คล้ายคลึง
(๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง
หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ
ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
๗.๑๓ กิจการอื่น ๆ
(๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด
ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๗) การล้างขวด
ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี
หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา
หรือแพปลา
(๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง
หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
หมวด
๒
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ
หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำนึงถึงลักษณะของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น
ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
๑๐.๑ ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการ
ที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
๑๐.๒
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๑๐.๓
ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ
รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
๑๒.๑ มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณ
และประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณ
ที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
๑๒.๒
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
๑๒.๓ กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย
หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะ
ของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร
การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติ
ว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัย เป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
หมวด
๓
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
๑๗.๑
มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
๑๗.๒
กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด
๔
การควบคุมของเสีย
มลพิษหรือสิ่งใด ๆ
ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง
หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมี
หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
หมวด
๕
ใบอนุญาต
ข้อ ๑๙ ในระหว่างที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังไม่กำหนดมาตรฐานมลพิษด้านต่าง ๆ
สำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
เลือกนำค่ามาตรฐานด้านมลพิษตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้ในข้อบัญญัตินี้โดยอนุโลม
ข้อ ๒๐ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๗ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาต จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๒๑ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๗ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
๒๑.๑ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
๒๑.๒ สำเนาทะเบียนบ้าน
๒๑.๓ สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒๑.๔ อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษาประกาศกำหนด
ข้อ ๒๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ให้ครอบคลุม ทั้งด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข
และด้านความปลอดภัย
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๕ บรรดาใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษาเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๐ และข้อ ๒๑ โดยอนุโลม
ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๒๙.๑ ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
๒๙.๒ ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับ
ใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ
การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
๓๑.๑ ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
๓๑.๒
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
๓๑.๓
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการ
ที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๓๕
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
เต็ม สามสี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเทพรักษา
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต
๕.คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการทีเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๑๕๗/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793949 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา
๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง
และนายอำเภอนครหลวง จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพงตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๒
บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายความว่า กิจการที่มีกระบวนการผลิต
หรือกรรมวิธีการผลิตที่ก่อให้เกิดมลพิษหรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรค
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงนั้น
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ ทางเสียง แสง ความร้อน ความสั่นสะเทือน
รังสี ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า ฯลฯ
กิจการ หมายความว่า
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงกิจการที่มิได้มุ่งกระทำเพื่อการค้าด้วย
การค้า หมายความว่า
การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือการให้บริการใด ๆ
เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า
กิจการสปาเพื่อสุขภาพ หมายความว่า
การประกอบกิจการที่ให้การดูแล และสร้างสุขภาพโดยบริการหลักที่จัดไว้ประกอบด้วย
การนวดเพื่อสุขภาพ การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ โดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วย เช่น
การอบเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนาบำบัดและการควบคุมอาหาร
โยคะและการทำสมาธิ การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่น
ๆ หรือไม่ก็ได้
โดยทั้งนี้บริการที่จัดไว้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะและกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทางการแพทย์และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน หมายความว่า
การประกอบกิจการที่ให้บริการส่งพนักงานไปเลี้ยงและดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุไม่เกิน
๖ ปี ที่บ้านของผู้รับบริการ ทั้งนี้
ไม่ว่าการประกอบกิจการนั้นจะมีสถานที่รับเลี้ยงเด็กหรือสถานที่ฝึกอบรมพนักงานอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง
๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น
ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม
๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๑) การฆ่า ห รือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำ หน่ายอาหาร
เร่ขาย หรือขายในตลาด
(๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๓) การสะสมเขา กระดูก
หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
จากเปลือก กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง
ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม
หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง
น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง
จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ
น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม
จากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก
บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า
หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
ขนมอบอื่น ๆ
(๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม
หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม
ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
ใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา
เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน
น้ำโซดา น้ำจากพืช ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง
ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส
หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น
เครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำ ความสะอาด
หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำ ปะหลัง แป้งสาคู
แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร
หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
(๕) การผลิตยาสูบ
(๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๗) การผลิต สะสม
หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง
ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์
หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่
(๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖
(๑)
(๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว
สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี
หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เ
ครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์
หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล
เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องกลเก่า
๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี
แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๔) การอบไม้
(๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อ บสมุนไพร
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๕) การประกอบกิจการโรงแรม
สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๘) การจัดให้มีมหรสพ
การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑)
(๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด
หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม
(๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง
หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๐)
การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ
ด้วยเครื่องจักร
(๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง
รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒)
(๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ
เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง
หรือเผาหินปูน
(๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก
แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕)
๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก
และสารเคมีต่าง ๆ
(๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง
สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๓) การผลิต สะสม กลั่น
หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑)
(๖)
การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์
เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ
ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
๑๓. กิจการอื่น ๆ
(๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด
ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๗) การล้างขวด
ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี
หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา
หรือแพปลา
(๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง
หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ
หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น
ๆ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒)
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ
รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑)
มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภท มูลฝอย
รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒) ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(๓)
กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร
การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัย เป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนด หรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการ
นั้น
(๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย
หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพงกำหนดพร้อมกับเอกสารและหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้งสถานประกอบการ
(๔) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล
(กรณีผู้ขออนุญาตเป็นนิติบุคคล)
(๖) หนังสือมอบอำนาจ
(กรณีเจ้าของกิจการไม่สามารถมายื่นคำขอรับใบอนุญาตด้วยตนเอง)
(๗) เอกสารอื่น ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพงกำหนด
ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
รวมทั้งเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้โดยเฉพาะในใบอนุญาตหรือแนบท้ายใบอนุญาต
(๒)
ต้องปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อให้ได้สุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๓)
ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ได้รับมอบหมายเข้า
ตรวจสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้
ตลอดจนวิธีการประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันควรเมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว
(๔) อื่น ๆ
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือเห็นสมควร
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไวแล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพงเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ใบอนุญาตฉบับหนึ่ง ให้ใช้สำหรับกิจการค้าประเภทเดียว
และสำหรับสถานที่แห่งเดียวถ้าประกอบกิจการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมหลายประเภทในขณะและสถานที่เดียวกัน
ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตราแต่ประเภทเดียว
ประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา
ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพงกำหนด
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพงเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
จักรี บุญธรรม
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อโพง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๑๒๑/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793947 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
พ.ศ.
๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดและนายอำเภอสร้างคอม
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้หรือใช้สัญจรได้
เร่ขาย หมายความว่า
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยมิได้จัดวางอยู่ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้า
ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๕ ผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
(๑)
ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๗
(๒)
เงื่อนไขอื่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนด
ข้อ ๖ ผู้ใดจะขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
หรือลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ยื่นคำขอตามแบบ สณ. ๑
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนด และรูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัวไม่สวมหมวก
ไม่สวมแว่นตาดำ ขนาด ๑x๑.๕ นิ้ว ของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำนวนคนละ ๓
รูป เพื่อติดไว้ในทะเบียน ๑ รูป ในใบอนุญาต ๑ รูป และบัตรสุขลักษณะประจำตัวอีก ๑
รูป
ข้อ ๗ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้อง
และความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตแล้วปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ
สณ. ๒ หรือ สณ. ๓ แล้วแต่กรณี
พร้อมบัตรประจำตัวผู้รับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายตามแบบ สณ. ๔ หรือ สณ. ๕
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาต
พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากมิได้มารับใบอนุญาต และชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๙ การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) แต่งกายสะอาด สุภาพเรียบร้อย
(๒)
จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนด
ร่มหรือผ้าใบบังแดด รวมทั้งตัวผู้ค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร
(๓) แผงสำหรับวางขาย เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ
ต้องทำด้วยวัตถุที่แข็งแรงมีขนาดและความสูงจากพื้นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๔) รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอ
ทั้งในระหว่างทำการค้า และหลังจากเลิกทำการค้าแล้ว
(๕)
จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ
(๖)
ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผงหรือจัดวางในลักษณะอื่น
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๗) ห้ามพาด ติดตั้งวางแผงค้าเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการขาย รวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือก
หรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับคอกต้นไม้หรือต้นไม้โดยเด็ดขาด
(๘)
ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์มีเสียงดัง
(๙) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป หรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
(๑๐) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์
หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อจำหน่ายสินค้า
(๑๑) หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวัน
และให้หยุดกรณีมีเหตุพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๑๒)
หลังจากเลิกทำการค้าต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าออกจากบริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า
(๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบล
ข้อ ๑๐ การจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ (๒) (๑๒)
(๒) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน
และสวมผ้าที่สะอาดเรียบร้อย รวมทั้งสวมรองเท้าขณะเตรียม ทำ ประกอบ
ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร
(๓) ต้องตัดเล็บมือให้สั้น ถ้ามีบาดแผล มีการบาดเจ็บ
การถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย
(๔) ไม่สูบบุหรี่ ขบเคี้ยว รับประทานอาหารในขณะเตรียม
ทำ ประกอบ ปรุง หรือจำหน่ายอาหาร หรือไม่ไอ จาม รดบนอาหาร
(๕) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงและวางแผงจำหน่ายอาหาร
ต้องสูงอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตร
(๖)
การจำหน่ายอาหารที่ต้องมีการล้างภาชนะอุปกรณ์จะต้องมีที่ล้างภาชนะอุปกรณ์และวางสูงจากพื้นที่หรือลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ
(๗) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการจำหน่ายอาหารให้สะอาดและใช้การได้อยู่เสมอ
(๘) ให้ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร
เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับประกอบอาหารด้วยอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง
แมลงวัน และสัตว์ซึ่งเป็นพาหะนำโรค รวมทั้งดูแลรักษาให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๙) ใช้น้ำสะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่ ล้างอาหาร
ภาชนะเครื่องใช้ และปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ
(๑๐) ใช้วัสดุ ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด
ปลอดภัยสำหรับใส่หรือเตรียมทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร
(๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย โดยแยกประเภทเป็นแบบแห้งและเปียก
ที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำ หรือทางสาธารณะ
(๑๒) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย เตรียม ทำ ประกอบ
ปรุงและเก็บอาหาร
(๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๑๑ การจำหน่ายสินค้า ประเภท สัตว์เลี้ยง
สัตว์ป่าหรือสัตว์น้ำ ในที่หรือทางสาธารณะผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ใน ข้อ ๑๐ (๑) (๑๒)
(๒)
จัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์
เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
(๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
(๔)
ใช้กรงหรือคอกหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมกับชนิดของสัตว์และสะอาดปลอดภัย
(๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการจำหน่ายสัตว์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย
สิ่งปฏิกูลและมูลฝอยติดเชื้อ
โดยแยกประเภทที่ถูกสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อระบายน้ำหรือทางสาธารณะ
(๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย
การกักขังและการรักษาความสะอาด
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๑๒ การเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ผู้จำหน่ายหรือผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่อนุญาตให้จำหน่ายได้
(๒) ต้องแต่งกายสะอาด สุภาพ เรียบร้อย
(๓) มูลฝอยจากการเร่ขาย ห้ามทิ้งลงในที่หรือทางสาธารณะ
(๔)
ในขณะที่เร่ขายสินค้าห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุ เทป
หรือส่งเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
(๕) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อขายสินค้า
(๖) หยุดประกอบการค้าประจำสัปดาห์หนึ่งวัน
และให้หยุดกรณีพิเศษเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๑๓ การเร่ขายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะ
ผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๑) - (๖)
(๒) อาหารที่เร่ขายต้องสะอาด ปลอดภัย
(๓) ใช้วัสดุ ภาชนะหีบห่อที่สะอาด
ปลอดภัยสำหรับใส่อาหาร
(๔) ดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการเร่ขายอาหารให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๕) จัดอาหารแยกตามประเภทของสินค้าให้เป็นระเบียบ
(๖) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน สะอาด เรียบร้อย และสวมรองเท้าขณะทำการเร่ขายอาหาร
(๗) ตัดเล็บมือให้สั้น
ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องปิดบาดแผลให้เรียบร้อย
(๘) ไม่สูบบุหรี่ หรือไอจามรดบนอาหารในขณะขาย
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๑๔ การเร่ขายสินค้าประเภทอาหารทางน้ำ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๑) (๒) (๔) (๖)
และข้อ ๑๓ (๒) (๓) (๔) (๕) (๗) (๘)
(๒) ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลอง
(๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๑๕ การเร่ขายสินค้าประเภท
สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าหรือสัตว์น้ำ ในที่หรือทางสาธารณะผู้จำหน่าย
และผู้ช่วยจำหน่ายจะต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๑) (๖)
(๒)
สัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่าที่เร่ขายต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อ เช่น
โรคพิษสุนัขบ้า โรคหัดสุนัข โรคแอนแทรกซ์ เป็นต้น แก่สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า
ทุกตัวก่อนจำหน่ายไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
(๓) ห้ามจำหน่ายสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อร้ายแรง
(๔) ใช้กรงหรือภาชนะใช้เลี้ยงสัตว์ที่สะอาดปลอดภัย
(๕) รักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการเร่ขายสัตว์ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๖) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๑๖ ห้ามผู้จำหน่าย
และผู้ช่วยจำหน่าย ประกอบกิจการเมื่อมีเหตุควรเชื่อว่าตนเป็นโรคติดต่อที่ระบุไว้
หรือเมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจปรากฏว่าตนเป็นพาหะของโรคและได้รับแจ้งความเป็นหนังสือแจ้งว่าตนเป็นพาหะของโรคติดต่อ
ซึ่งระบุไว้ดังต่อไปนี้ คือ
(๑) วัณโรค
(๒) อหิวาตกโรค
(๓) ไข้ไทฟอยด์
(๔) โรคบิด
(๕) ไข้สุกใส
(๖) โรคคางทูม
(๗) โรคเรื้อน
(๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ
(๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส
(๑๐) โรคอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกำหนด
ข้อ ๑๗ ในขณะทำการจำหน่ายสินค้า
หรือเร่ขายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตของตนได้เสมอ
และทำการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะตามประเภทสินค้าและลักษณะการจำหน่ายสินค้า
ในที่หรือทางสาธารณะที่ได้กำหนดไว้ในใบอนุญาต
ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะต้องติดบัตรสุขลักษณะประจำตัวไว้ที่หน้าอกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่จำหน่ายสินค้า
ข้อ ๑๘ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้ได้เฉพาะผู้ได้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตไม่เกินหนึ่งคน
ข้อ ๑๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
สณ. ๖ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว
ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ ๒๐ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๒๑ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗
ก่อนการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ข้อ ๒๒ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงชนิด
หรือประเภทสินค้า หรือลักษณะวิธีการจำหน่าย
หรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือรายการอื่นใดให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
สณ. ๗
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ใบอนุญาต
หรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือขอรับบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ แล้วแต่กรณี
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญแล้วแต่กรณี
พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ
กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตหรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวเดิม
กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
(๓) รูปถ่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่าย
ขนาด ๑x๑ นิ้ว จำนวนคนละ ๓ รูป
ข้อ ๒๔ การออกใบแทนใบอนุญาต
หรือการออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สณ. ๒ หรือแบบ สณ. ๓
แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม
ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี
และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทน
(๔) กรณีบัตรสุขลักษณะประจำตัว
ได้ออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ ตามแบบ สณ. ๔ หรือแบบ สณ. ๕ แล้วแต่กรณี
โดยประทับตราสีแดง คำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย
ข้อ ๒๕ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑)
คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางให้ใช้แบบ สณ. ๑
(๒) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๒
(๓) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ใช้แบบ สณ. ๓
(๔)
บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หรือทางใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๔
(๕)
บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ใช้แบบ สณ. ๕
(๖) คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้ใช้แบบ สณ. ๖
(๗) คำขออนุญาตการต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สณ. ๗
ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน
กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง
และมีเหตุที่ต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีกเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๘ บรรดาใบอนุญาตที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้
ให้คงใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น
ข้อ ๒๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร
มีอำนาจออกประกาศ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะ
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด เป็นเขตหวงห้ามจำหน่ายหรือซื้อสินค้าโดยเด็ดขาด
(๒) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะ
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิดหรือบางประเภท
หรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าตามกำหนดเวลาหรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้า
โดยวิธีการจำหน่ายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการจำหน่ายสินค้าในบริเวณนั้น
ข้อ ๓๐ ห้ามมิให้โอนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๓๑ ในกรณีที่มีเหตุผลและความจำเป็นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อนวันหมดอายุของใบอนุญาตนั้นได้
ข้อ ๓๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ข้อบังคับ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สันต์ ซาสุด
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ แบบ สณ. ๑
๓. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
แบบ สณ. ๒
๔. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า
แบบ สณ. ๓
๕. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยวิธีการวางสินค้าในที่หรือทางใดเป็นปกติ แบบ สณ. ๔
๖. บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยวิธีการเร่ขายสินค้า แบบ สณ. ๕
๗. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต แบบ สณ. ๖
๘. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
แบบ สณ. ๗
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๑๐๒/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793955 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน เรื่อง การบริหารกิจการประปาหมู่บ้าน พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
เรื่อง
การบริหารกิจการประปาหมู่บ้าน
พ.ศ.
๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
ว่าด้วยการบริหารกิจการประปาหมู่บ้าน
อาศัยอำนาจตามมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ องค์การบริหารส่วนตำ
บลบ้านเนินโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินและนายอำเภอเชียรใหญ่
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัติฉบับนี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน เรื่อง
การบริหารกิจการประปาหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
ข้อ ๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหาที่เกิดจากการบริหารกิจการประปา
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินมีอำนาจออกประกาศ ข้อกำหนด
หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ระเบียบ ข้อบัญญัติ ประกาศ คำสั่ง
อื่นใดขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินในเรื่องการดำเนินการกิจการประปาที่มีความขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
การประปา หมายความว่า
การประปาที่อยู่ในความควบคุมดูแลรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
เจ้าพนักงานการประปา หมายความว่า
บุคคลซึ่งเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นมอบหมายให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ผู้ใช้น้ำ หมายความว่า
บุคคลที่ได้ทำสัญญาการใช้น้ำกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
มาตรวัดน้ำ หมายความว่า
เครื่องวัดปริมาณน้ำที่แสดงว่าผู้ใช้น้ำได้ใช้น้ำไปจำนวนมากน้อยเท่าใด
ประตูน้ำ หมายความว่า
เครื่องปิดเปิดน้ำที่ติดอยู่บริเวณหน้าหรือหลังมาตรวัดน้ำ
อุปกรณ์ประปา หมายความว่า
ท่อหรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการส่งน้ำให้ผู้ใช้น้ำ
ท่อเมนจ่ายน้ำ หมายความว่า
ท่อเมนจ่ายน้ำที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน วางผ่านหน้าบ้านของผู้ใช้น้ำ
ท่อภายนอก หมายความว่า
ท่อที่ต่อจากท่อเมนถึงมาตรวัดน้ำของผู้ใช้น้ำ
ท่อภายใน หมายความว่า
ท่อที่ต่อจากมาตรวัดน้ำเข้าไปภายในบ้านของผู้ใช้น้ำ
คณะกรรมการบริหารกิจการประปา หมายความว่า
ผู้ใช้น้ำในเขตการบริการของกิจการประปาซึ่งได้รับคัดเลือก/เลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ผู้ใช้น้ำ
ข้อ ๕ ให้กำหนดชื่อของประปาหมู่บ้านเป็นแนวทางเดียวกันดังนี้
กิจการประปาหมู่บ้านองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน ประจำหมู่ที่/กลุ่ม............................
ข้อ ๖ สถานที่ตั้งของประปาหมู่บ้าน
ตั้งอยู่ที่ภูมิลำเนาของประธานคณะกรรมการบริหารกิจการประปาของแต่ละหมู่บ้าน
หรือกลุ่ม
หมวด
๒
การบริหารกิจการประปา
ข้อ ๗ กิจการประปาเป็นทรัพย์สินขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
โดยมอบให้แต่ละกลุ่มหรือหมู่บ้านบริหารจัดการ
พร้อมทั้งบำรุงรักษาโดยคณะกรรมการบริหารกิจการประปา
ข้อ ๘ คณะกรรมการบริหารกิจการประปาจะต้องได้รับการเลือกตั้งหรือคัดเลือกจากสมาชิกผู้ใช้น้ำประปา
วิธีการเลือกตั้งหรือคัดเลือกให้ใช้วิธีการโดยเปิดเผยหรือโดยวิธีลับ
แล้วรายงานผล การดำเนินการให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินทราบ
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินเป็นผู้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการประปา
และให้มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๒ ปี
นับตั้งแต่วันแต่งตั้งแต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
ข้อ ๙ ให้คณะกรรมการบริหารกิจการประปามีอำนาจดังนี้
(๑) ออกระเบียบ หรือข้อบังคับของกิจการประปา
โดยผ่านความเห็นชอบจาก
ที่ประชุมของสมาชิกผู้ใช้น้ำประปามากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกผู้ใช้น้ำประปา
โดยจะต้องไม่ขัด หรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
(๒) ออกระเบียบที่มีรายละเอียดแตกต่างหรือขัดแย้งจากข้อบัญญัตินี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการวินิจฉัยตามข้อ
๓๖ วรรคสาม
ให้ผู้บริหารกิจการประปาแต่ละกลุ่มหรือหมู่บ้าน
สำเนาระเบียบหรือข้อบังคับของแต่ละกลุ่มหรือหมู่บ้าน
พร้อมทะเบียนผู้ใช้น้ำส่งให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน ๑ ชุด
เมื่อเห็นเป็นการสมควร เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้น้ำ สภาพเศรษฐกิจ สังคม
คณะกรรมการบริหารกิจการประปาอาจขอแก้ไขระเบียบหรือข้อบังคับ
โดยผ่านมติความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ใช้น้ำมากกว่ากึ่งหนึ่ง
และให้นำความในวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๑๐ การประชุมสมาชิกผู้ใช้น้ำต้องมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกผู้ใช้น้ำทั้งหมดจึงจะถือว่าครบองค์ประชุม
หมวด
๓
องค์ประกอบ
อำนาจ สิทธิ หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารกิจการประปาหมู่บ้าน
ข้อ ๑๑ ให้คณะกรรมการบริหารกิจการประปา
มีหน้าที่บริหารกิจการและบำรุงรักษาระบบประปาหมู่บ้านให้สามารถบริการผู้ใช้น้ำในเขตการให้บริการอย่างทั่วถึงตลอด
๒๔ ชั่วโมง
ข้อ ๑๒ คณะกรรมการบริหารกิจการประปา
ให้กำหนดจำนวนไม่น้อยกว่า ๗ คน โดยพิจารณาจากปริมาณงานหรือจำนวนผู้ใช้น้ำ
และอย่างน้อยต้องมีกรรมการดังนี้
(๑) ประธานกรรมการ
(๒) รองประธานกรรมการ
(๓) เหรัญญิก
(๔) เลขานุการ
(๕) กรรมการอื่น ๆ (ตามความเหมาะสม)
ข้อ ๑๓ ให้คณะกรรมการบริหารกิจการประปามีอำนาจหน้าที่
ดังนี้
(๑) บริหารกิจการประปา ตามระเบียบ
ข้อบังคับของกิจการประปาแต่ละหมู่บ้าน
(๒) บริหารกิจการประปาให้เป็นไปตามข้อบังคับ ให้เกิดความก้าวหน้าและบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึงตลอด
๒๔ ชั่วโมง
(๓) พิจารณาอนุญาตหรืองดจ่ายน้ำให้แก่สมาชิก
โดยคำนึงถึงประโยชน์ของกิจการประปาเป็นหลัก
(๔)
จัดทำรายงานผลการดำเนินงานให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินทราบ
และรายงานผลการดำเนินงานให้กับสมาชิกผู้ใช้น้ำตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินกำหนด
(๕) ควบคุมการทำงานของเจ้าหน้าที่ประปา
(๖)
จัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
ในกรณีที่งบประมาณของประปาไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานของกิจการประปาหมู่บ้าน
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
ข้อ ๑๕ สถานภาพการเป็นคณะกรรมการสิ้นสุด
เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) หมดวาระ
(๔)
ที่ประชุมสมาชิกมีมติให้ออกโดยให้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง
(๕) ไม่อยู่ในหมู่บ้านเป็นเวลาติดต่อกันเกิน ๖ เดือน
หมวด
๔
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกผู้ใช้น้ำ
ข้อ ๑๖ สมาชิกต้องปฏิบัติตามระเบียบ
ข้อบังคับของการประปาแต่ละหมู่บ้านโดยเคร่งครัด
ข้อ ๑๗ แสดงความคิดเห็น
และให้ความร่วมมือในการบริหารงานของคณะกรรมการ
หมวด
๕
สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของกิจการประปา
ข้อ ๑๘ เจ้าหน้าที่ของกิจการประปา
ได้แก่ บุคคลที่คณะกรรมการฯ คัดเลือกให้รับผิดชอบดูแล ซ่อมแซมระบบประปา
การจัดเก็บค่าน้ำ การจัดทำบัญชีอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการกำหนด
โดยให้ได้รับค่าจ้างตามที่คณะกรรมการกำหนดแต่ต้องไม่เกินอัตราที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินกำหนด
(ตามบัญชีแนบท้าย)
ข้อ ๑๙ ให้เจ้าหน้าที่ประปาดำเนินการดูแล
ระบบจ่ายน้ำประปาให้ใช้การได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
ข้อ ๒๐ ให้เจ้าหน้าที่ประปาดำเนินการให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด
๖
หน้าที่ของผู้ใช้น้ำ
ข้อ ๒๑ ผู้ที่ประสงค์จะใช้น้ำประปาจะต้องยื่นความประสงค์ขอใช้น้ำเป็นลายลักษณ์อักษรต่อคณะกรรมการและเมื่อได้รับความยินยอมแล้วจึงต่อน้ำใช้ได้โดยเจ้าหน้าที่ประปา
ข้อ ๒๒ การจ่ายค่าธรรมเนียมการขอใช้น้ำ
ค่าปรับ ค่าติดตั้งมาตรวัดน้ำ
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดแต่ไม่เกินอัตราที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินกำหนด
(ตามบัญชีแนบท้าย)
ข้อ ๒๓ การต่อน้ำออกจากมาตรวัดน้ำให้เป็นหน้าที่ของผู้ยื่นความประสงค์ขอใช้น้ำประปา
ข้อ ๒๔ การติดตั้งมาตรวัดน้ำต้องติดตั้งไว้ในที่เปิดเผย
สามารถตรวจสอบได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง หรือห่างจากรั้วไม่เกิน ๑ เมตร
ข้อ ๒๕ การกระทำใด ๆ
ที่ทำให้ทรัพย์สินของประปาเสียหายจะโดยเจตนาหรือไม่
ผู้กระทำต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่การประปาตามจำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
ข้อ ๒๖ หากผู้ใดมีเจตนาขโมยน้ำใช้
หรือเปลี่ยนแปลง แก้ไขตัวเลขในมาตรวัดน้ำ หรือกระทำการใด ๆ ก็ตาม
ที่มีเจตนาจะขโมยน้ำใช้ของการประปา การประปาจะงดจ่ายน้ำทันที และจะต้องเสียค่าปรับให้แก่การประปาในอัตราที่คณะกรรมการบริหารกิจการประปากำหนด
แต่ต้องไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๒๗ กรณีการยกเลิกการใช้น้ำ
หรือโอนให้ผู้อื่นต้องแจ้งให้คณะกรรมการบริหารประปาทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
และได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการเสียก่อน จึงสิ้นสุดการเป็นผู้ใช้น้ำ
มิฉะนั้นจะถือว่ายังเป็นสมาชิกผู้ใช้น้ำอยู่
และจะต้องเสียค่าน้ำตามที่การประปาเรียกเก็บ
ข้อ ๒๘ ระยะเวลาในการเรียกเก็บค่าน้ำ
และระยะเวลาการค้างชำระค่าน้ำให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๒๙ ผู้ใช้น้ำต้องช่วยดูแลมาตรวัดน้ำที่ติดตั้ง
หากชำรุดเสียหายต้องดำเนินการซ่อมแซมหรือหากต้องการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
ให้แจ้งคณะกรรมการบริหารหรือแจ้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินทราบ ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวัน
ข้อ ๓๐ คณะกรรมการบริหารกิจการประปา ช่างโยธา
หรือพนักงานประปา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบน้ำในอาคาร
เมื่อสงสัยว่ามีการใช้น้ำประปาโดยมิชอบ หรืออย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๑ ผู้ใช้น้ำที่เป็นเจ้าของอาคารเช่าหลายหลัง
แม้จะเป็นเจ้าของอาคารรายเดียวกันต้องติดมาตรวัดน้ำตามจำนวนหลังคาเรือน
ข้อ ๓๒ กรณีบ้านเช่าเมื่อมีผู้เช่าย้ายออกไปหรือว่างด้วยประการใดก็ดี
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินจะเรียกเก็บค่าน้ำประปาจากเจ้าของบ้านเช่า
หรือผู้ให้เช่าเท่านั้น
ข้อ ๓๓ ผู้ใช้น้ำรายใดจะเลิกการใช้น้ำหรือย้ายสถานที่อยู่
หรือโอนให้ผู้อื่นต้องแจ้งให้
คณะผู้บริหารกิจการประปาหรือองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
ณ
ที่ทำการหรือที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ข้อ ๓๔ ผู้ใช้น้ำรายใดสงสัยว่าพนักงานการประปาบันทึกการใช้น้ำจากมาตรวัดน้ำคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงจะขอตรวจสอบได้โดยยื่นคำร้อง
ณ ที่ทำการกิจการประปาประจำหมู่บ้าน เมื่อตรวจสอบแล้ว
หากปรากฏว่าคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
คณะกรรมการบริหารกิจการประปาจะคำนวณให้ตามที่ใช้จริงแต่หากตรวจสอบแล้วไม่เป็นจริง
ผู้ใช้น้ำจะต้องเสียตามความเป็นจริง
และจะต้องเสียค่าตรวจสอบตามที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๕ อัตราค่าน้ำประปา
ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายอื่น ให้เรียกเก็บตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้
โดยให้ผู้ใช้น้ำจักต้องชำระค่าน้ำประปาภายในวันที่ ๕ ของเดือน ณ
สำนักงานกิจการประปา
หรือชำระโดยตรงกับพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายหรือแต่งตั้งจากสำนักงานกิจการประปา
ให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดเก็บค่าบริการใช้น้ำประปา
ผู้ใช้น้ำรายใดไม่ชำระค่าน้ำประปาภายในกำหนดเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่มเป็นเบี้ยปรับดังนี้
(๑) เกินวันที่ ๕ ของเดือน จำนวน ๕ วัน
ต้องเสียเบี้ยปรับ อัตราจำนวนหนึ่งในสามของยอดชำระในแต่ละงวด
(๒) เกินวันที่ ๕ ของเดือน จำนวน ๑๐ วัน ต้องเสียเบี้ยปรับ
อัตราจำนวนกึ่งหนึ่งของยอดชำระในแต่ละงวด
(๓) เกินวันที่ ๕ ของเดือน จำนวน ๑๕ วัน
ต้องเสียเบี้ยปรับ อัตราจำนวนสองในสามของยอดชำระในแต่ละงวด
(๔) เกินวันที่ ๕ ของเดือน ครบกำหนดชำระในงวดถัดไป
ต้องเสียเบี้ยปรับ อัตราจำนวน ๑ เท่าของยอดชำระในแต่ละงวด
ข้อ ๓๖ สำนักงานกิจการประปาทรงไว้ซึ่งสิทธิในการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าน้ำตามสภาพเศรษฐกิจ
ข้อเท็จจริงของต้นทุนการผลิต และจะประกาศให้ผู้ใช้น้ำทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐
วัน ทั้งนี้
ไม่เกินอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้
ให้คณะกรรมการบริหารกิจการประปายื่นเรื่องให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินพิจารณา
คำวินิจฉัยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินให้เป็นที่สุด
เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินได้รับเรื่องตามวรรคสอง
ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการวินิจฉัย
โดยให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินหรือผู้ซึ่งนายกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลบ้านเนินมอบหมายเป็นประธาน ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่อยู่ในเขตการให้บริการ
ตัวแทนผู้ใช้น้ำเป็นกรรมการ และให้ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นกรรมการและเลขานุการ
ข้อ ๓๗ ห้ามมิให้ผู้ใช้น้ำใช้เครื่องสูบน้ำโดยตรงจากท่อภายนอกหรือท่อภายใน
หากจะใช้เครื่องสูบน้ำ ให้ต่อท่อภายในลงถังเก็บน้ำเสียก่อน
แล้วจึงจะสามารถให้เครื่องสูบน้ำจากถังเก็บน้ำเข้าท่อภายในบ้าน
หมวด
๗
การเงิน
ข้อ ๓๘ รายได้ของกิจการประปา
หมายถึง
(๑) เงินค่าน้ำ
(๒) เงินค่าธรรมเนียม
(๓) เงินค่าปรับ
(๔) เงินบริจาค
(๕)
เงินที่ได้รับการอุดหนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
ข้อ ๓๙ รายจ่ายของกิจการประปา หมายถึง
(๑) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเกี่ยวกับระบบผลิตน้ำ
การจ่ายน้ำประปา
(๒)
ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาซ่อมแซมการขยายกิจการประปา
(๓) ค่าใช้จ่ายในการบริหารกิจการประปา เช่น
ค่าจ้างเจ้าหน้าที่ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ
(๔) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินกำหนด เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยงประชุม
หรือค่าตอบแทนกรรมการ (ตามบัญชีแนบท้าย)
ข้อ ๔๐ ให้คณะกรรมการบริหารกิจการประปาได้รับสิทธิในการใช้น้ำตามบัญชีแนบท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๔๑ ให้คณะกรรมการบริหารกิจการประปา
รายงานผลการดำเนินงาน การเงิน ให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินทราบปีละ ๒ ครั้ง
ครั้งที่หนึ่งภายในวันที่ ๓๑ มีนาคม ครั้งที่สองภายในวันที่ ๓๐ กันยายน ของทุกปี
ข้อ ๔๒ การเก็บรักษาเงิน ให้มีเงินฝากธนาคารในนาม กองทุนบริหารกิจการประปาหมู่บ้าน.... ณ
ธนาคารของรัฐ เมื่อมีรายรับเกิดขึ้นจะต้องนำฝากธนาคารภายใน ๑๕ วัน โดยประธาน
เหรัญญิก หรือผู้ได้รับมอบหมาย หากมีความจำเป็นจะต้องเก็บรักษาไว้จ่ายในกรณีเร่งด่วน
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดแต่ไม่เกินสองพันบาท
ข้อ ๔๓ การเบิกถอนเงินต้องมีลายมือชื่อกรรมการไม่น้อยกว่า
๒ ใน ๓ และหนึ่งในนั้น ต้องมีลายมือชื่อประธาน
และเหรัญญิกเป็นผู้ลงนามร่วมกันในการเบิกถอนด้วยทุกครั้ง
ข้อ ๔๔ การเงินและบัญชี
รูปแบบการจัดทำบัญชีของคณะกรรมการให้เป็นไปตามระเบียบหรือข้อบังคับของแต่ละกิจการประปาประจำหมู่บ้านนั้นกำหนด
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินมีอำนาจตรวจสอบการเงินและบัญชีในระยะเวลาตามที่เห็นสมควรอย่างน้อยปีละสองครั้ง
หากพบข้อบกพร่องให้แจ้งคณะกรรมการดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
หมวด
๘
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๔๕ ผู้ใช้น้ำรายใดปฏิบัติฝ่าฝืนข้อ ๓๗
สำนักงานกิจการประปาจะงดจ่ายน้ำเข้าอาคารทันที
ข้อ ๔๖ ผู้ใช้น้ำรายใด
พนักงานการประปาเรียกเก็บค่าน้ำแล้วเพิกเฉย
มีเจตนาไม่ยอมชำระหรือหลีกเลี่ยงด้วยประการใดก็ดี
สำนักงานกิจการประปาจะออกใบเตือนแจ้งหนี้ให้ทราบและให้ชำระหนี้ค่าน้ำประปา ณ
สำนักงานกิจการประปาโดยทันที พร้อมทั้งชำระเบี้ยปรับตามข้อ ๓๕
เมื่อพ้นกำหนดวรรคหนึ่งแล้ว
คณะกรรมการบริหารกิจการประปาจะดำเนินการงดการจ่ายน้ำประปาเข้าอาคารทันที
ข้อ ๔๗ ผู้ใดละเมิดข้อบัญญัตินี้
จนทำให้เกิดการเสียหายแก่การประปาด้วยประการใดก็ดี
ให้ผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่การประปาเท่าที่กิจการประปาได้จ่ายไปเพื่อการนั้น
และเสียค่าปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
หรือคณะกรรมการบริหารกิจการประปาอาจพิจารณาส่งเรื่องให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินจัดการหาทางออกร่วมกันหรือดำเนินคดีตามกฎหมาย
เมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินได้รับเรื่องดังกล่าวตามความในวรรคแรกให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาข้อปัญหาดังกล่าว
องค์ประกอบ จำนวน คณะกรรมการ ให้นำความในข้อ ๓๖ วรรคสาม
มาใช้บังคับใช้ โดยอนุโลม
ข้อ ๔๘ ผู้ใดไม่ชำระหนี้ค่าใช้น้ำประปาสองงวดติดต่อกัน
คณะกรรมการบริหารกิจการประปาจะต้องดำเนินการงดการจ่ายน้ำประปา
หากผู้ใช้น้ำมีความประสงค์ที่จะขอใช้น้ำใหม่ต้องชำระหนี้ที่ค้างทั้งหมดให้เรียบร้อยพร้อมทั้ง
เบี้ยปรับ แล้วจึงจะดำเนินการตามข้อ ๒๑ และชำระค่าธรรมเนียมการขอใช้น้ำเพิ่มอีกหนึ่งเท่าของ
อัตราปกติ
ข้อ ๔๙ ผู้ใดจงใจใช้น้ำโดยไม่ผ่านมิเตอร์หรือวิธีใดก็ตามจะถูกงดจ่ายน้ำทันทีและคณะกรรมการบริหารกิจการประปาจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ข้อ ๕๐ ผู้ใดจงใจทำให้มาตรวัดน้ำมีการกลับหรือสลับหรือวิธีอื่น
ซึ่งมีเจตนาให้เสียค่าน้ำลดลง หรือให้น้อยลงโดยเจตนาต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท และคณะกรรมการบริหารกิจการประปาจะดำเนินคดีตามกฎหมาย
ข้อ ๕๑ ผู้ใดจงใจต่อท่อประปานอกมาตรวัดน้ำเข้าอาคารหรือเพื่อใช้น้ำโดยเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระเงินต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
๑,๐๐๐ บาท และคณะกรรมการบริหารกิจการประปาจะดำเนินคดีตามกฎหมาย
ข้อ ๕๒ ผู้ใช้น้ำรายใดยินยอม หรือรู้แล้วเฉยเสีย
ปล่อยให้
ยินยอมให้ผู้อื่นต่อพ่วงประปาจากอาคารบ้านเรือนจากหลังที่ได้รับอนุญาตไปสู่อีกหลังหนึ่ง
ผู้นั้นจะถูกพักการใช้น้ำ จำนวน ๑ เดือน พร้อมทั้งต้องเสียค่าเสียหาย จำนวน ๑,๐๐๐ บาท หรืออาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย
ข้อ ๕๓ บรรดาโทษที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
หากผู้ซึ่งต้องได้รับโทษยินยอมชำระค่าปรับตามที่เจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับ
ให้ถือว่าคดีเป็นอันเลิกกันตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นกำหนด
ข้อ ๕๔ ค่าธรรมเนียมการใช้น้ำ
ค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย ค่าปรับ เบี้ยปรับ
และหรือเงินอื่นใดที่ชำระให้แก่สำนักงานกิจการประปา
ซึ่งเกิดจากการบริหารกิจการประปา ให้ถือเป็นรายได้ ของสำนักงานกิจการประปา
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๕๕ ให้กิจการประปาในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินที่มีอยู่
ณ วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับดำเนินการคัดเลือกคณะผู้บริหารกิจการประปาให้แล้วเสร็จภายใน
๓๐ วัน หากพ้นกำหนดนี้แล้ว ให้อำนาจนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนินแต่งตั้งคณะกรรมการตามความในข้อ
๓๖ วรรคสาม เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกิจการประปาในพื้นที่นั้นๆ
ข้อ ๕๖ ให้คณะกรรมการบริหารกิจการประปาชุดแรกของแต่ละหมู่บ้าน
ดำเนินการประชุมผู้ใช้น้ำในเขตการให้บริการและดำเนินการออกข้อบังคับการใช้น้ำของแต่ละกลุ่มให้แล้วเสร็จภายใน
๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
โดยมีเนื้อหาและข้อความสอดคล้องกับข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ประดิษฐ์ แย้มอิ่ม
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเนิน
เรื่อง การบริหารกิจการประปาหมู่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๑๗๔/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793951 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๔๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลกระจายโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกระจายและนายอำเภอป่าติ้ว
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระจายนับแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกระจายแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
เรื่องการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ.
๒๕๕๔
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
พนักงานส่วนตำบลที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๔
วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
สถานที่ประกอบกิจการ หมายความว่า
สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายความว่า กิจการที่มีกระบวนการผลิต หรือกรรมวิธีการผลิตกิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์หรือกิจการเกี่ยวกับการบริการที่ก่อให้เกิดมลพิษ
หรือสิ่งที่ทำให้เกิดโรคซึ่งจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงนั้น
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องมลพิษทางอากาศ ทางน้ำ
ทางดิน ทางเสียง แสง ความร้อน ความสั่นสะเทือน รังสี ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า
เป็นต้น
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง แพ คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งก่อสร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า
อุจจาระ หรือปัสสาวะ และรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งปฏิกูลหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้ามูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
การค้า หมายความว่า
การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ
เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า
กิจการสปาเพื่อสุขภาพ หมายความว่า
การประกอบกิจการที่ให้การดูแลและสร้างสุขภาพโดยบริการหลักที่จัดไว้ประกอบด้วยการนวดเพื่อสุขภาพและการใช้น้ำเพื่อสุขภาพโดยอาจมี
บริการเสริมประกอบด้วย เช่น การอบเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย
เพื่อสุขภาพโภชนาบำบัด และการควบคุมอาหาร โยคะ และการทำสมาธิ การใช้สมุนไพร
หรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ หรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้
บริการที่จัดไว้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะและกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทางการแพทย์และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า
อาคารสถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะ
ที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที
ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ
ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า
อาคารสถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่
หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้ง
หรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด
ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
(๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยงรวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม
หรือไม่ก็ตาม
(๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขายหรือขายในตลาด
(๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๒.๓) การสะสมเขา กระดูก
หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
จากเปลือก กระดอง กระดูกเขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง
ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม
หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
(๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง
น้ำพริกปรุงสำเร็จ เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์
ได้แก่ ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา
หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง
แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้หรือพืชอย่างอื่น
(๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน
ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน
ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น
ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า
หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
ขนมอบอื่น ๆ
(๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม
หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม
เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง
หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์
สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน
น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง
ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง
ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส
หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์
เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาด
(๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น
เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย
ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด
หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
(๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู
แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร
หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๕.๗) การผลิต สะสม
หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง
ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
(๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์
หรือเครื่องใช้ต่าง ๆด้วยโลหะหรือแร่
(๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๖.๑)
(๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก
โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
(๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี
หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร
เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๗.๙) การสะสม
การซ่อมเครื่องกลเครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า
(๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา
หรือสีแต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๘.๔) การอบไม้
(๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
(๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำอบสมุนไพร
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม
สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ
การแสดงดนตรี เต้นรำรำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง
หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑)
(๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต
หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง
หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๙.๑๙)
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๐)
การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
(๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ
ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ
ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑) กาผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุ ที่คล้ายคลึง
(๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง
รวมทั้งการขุด ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒)
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ
เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง
หรือเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก
แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕)
(๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน
ถ่านโค้ก และสารเคมีต่าง ๆ
(๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง
สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น
หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๗.๑)
(๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม
พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์
เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งดอกไม้เพลิง
หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ
ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
(๑๓) กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด
ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี
หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา
หรือแพปลา
(๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง
หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ ๖ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (อภ.๑) พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ
ข้อ ๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุม
ตามข้อบัญญัตินี้ต้องปฏิบัติรวมทั้งจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการค้านั้น ๆ
ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้เหมาะสม
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒)
ต้องจัดทำรางระบายน้ำหรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวรเรียบไม่ซึมไม่รั่วระบายน้ำได้สะดวก
(๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือที่อยู่อาศัยใกล้เคียง
(๔)
จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๕)
เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวรเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมรั่วไหลหรือขังอยู่ได้
หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือทำการกำจัดน้ำโสโครก ไขมันให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลหรือต้องมีเครื่องระบายน้ำเครื่องป้องกันกลิ่นไอเสียความสะเทือน
ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง
ข้อกำหนดดังกล่าวผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๖)
ต้องให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอและต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค
(๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ
(๘) ต้องมีที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอันได้ลักษณะจำนวนเพียงพอ
(๙)
ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้นและต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสมรวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขังและปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอและต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ
(๑๑)
สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๑๒)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งระเบียบข้อบัญญัติและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
ข้อ ๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ
๗
และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ
อภ.๒
ข้อ ๙ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง
หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต
พร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าตามข้อ ๕
ทราบภายในสามสิบวันนับแต่ที่ได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
โดยจะมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา
ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ผู้ขอรับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ
ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ
๕ จะต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องประกอบกิจการนั้น ๆ
ภายในเขตสถานที่ที่ได้รับอนุญาตวันเวลาที่ได้รับอนุญาต
(๒) ต้องรักษาเครื่องมืออุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบกิจการทุกชนิดให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและปลอดภัยพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
(๓)
ต้องรักษาสภาพแวดล้อมสถานที่ประกอบกิจการให้สะอาดและปลอดภัย
ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ยุง
สัตว์พาหะนำโรคติดต่อและมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ
(๔)
ต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบความปลอดภัยเวลาที่เกิดอัคคีภัยขึ้นมีบันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
(๕)
ต้องจัดให้มีระบบป้องกันมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต
(๖)
ต้องจัดให้มีระบบการป้องกันการปนเปื้อนสารพิษในผลิตภัณฑ์ที่เป็น อาหาร
(๗)
กรณีที่ผู้ประกอบกิจการมีความประสงค์จะทำการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
(๘)
ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าตรวจสอบสถานที่ เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีการประกอบการค้าตามกฎหมาย
ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตกเมื่อได้รับแจ้งให้ทราบแล้ว
(๙)
ปฏิบัติการอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งระเบียบและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกระจายเท่านั้น
ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องทำคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้ว
ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ๗และข้อ
๑๐ ด้วย
ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต
สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
กรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๓ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ ๗
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ใบอนุญาตตามข้อ
๗ ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียว และสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๑๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
ข้อ ๑๕ กรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ อภ.๔
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดการขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑)
ในกรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก
การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๓) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ อภ.๒
โดยประทับตราสีแดงว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วยและให้มีวันเดือนปีที่ออกใบแทน
พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๔)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาต
เดิมระบุสาเหตุการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี
และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ อภ.๔
ข้อ ๑๗ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ อภ.๔
ข้อ ๑๘ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ อภ.๑
(๒)
ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ อภ.๒
(๓) คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ
อภ.๓
(๔) คำขออนุญาตต่าง ๆให้ใช้แบบ อภ.๔
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้ารายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้
เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง
และถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่แก้ไขหรือปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนด
ให้เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่เห็นสมควร
ไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่า
ผู้รับใบอนุญาต มีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขพ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตราย อย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่วันที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้
จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๒๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๕ บรรดาใบอนุญาตประกอบการค้าซึ่งเป็นที่รังเกียจ
หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันประกาศใช้ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น
ข้อ ๒๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระจายเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๐
วิรัตน์ บุญทศ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกระจาย
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๑)
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๒)
๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ.
๓)
๕. คำขอเปลี่ยนแปลงขยายหรือลดการประกอบกิจการสถานที่หรือเครื่องจักรของกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(แบบ อภ. ๔)
๖. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(แบบ อภ. ๖)
๗. คำขอโอนการดำเนินกิจการ (แบบ อภ. ๘)
๘. คำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการ (แบบ อภ. ๙)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๑๓๙/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793943 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เรื่อง
ตลาด
พ.ศ.
๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ว่าด้วยตลาด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๔ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘
มาตรา ๖๓ มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดและนายอำเภอสร้างคอม
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดตั้งแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ตลาด หมายความว่า
สถานที่ซึ่งปกติจัดให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ ผัก
ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้วของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม
และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดหรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจตราดูแลและรับผิดชอบในการดำเนินการด้านสาธารณสุขตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๔ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลง ขยาย
หรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้เช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ข้อ ๕ สถานที่ที่ตั้งเป็นตลาดและการปลูกสร้างในสถานที่นั้นต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องตั้งอยู่ในที่ซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและให้อยู่ห่างไม่น้อยกว่า
๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ ของเสียโรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก
ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
(๒)
ถ้าการปลูกสร้างเป็นอาคารต้องทำด้วยวัตถุถาวรมั่นคงแข็งแรง
(๓)
บริเวณพื้นต้องทำด้วยวัตถุถาวรมั่นคงแข็งแรงทำความสะอาดง่ายและไม่มีน้ำขังอยู่ได้
(๔) ต้องมีทางระบายน้ำทำด้วยวัตถุถาวร
ทำความสะอาดง่ายเพื่อรับน้ำให้ไหลไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะได้สะดวกและต้องมีทางกำจัดน้ำโสโครกตามความเห็นของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
(๕) ต้องมีแสงสว่างและการระบายอากาศให้เพียงพอตามความเห็นของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
(๖) สถานที่วางขายของต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
ก. ต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๑ เมตร และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๒ ตารางเมตร
สูงไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
ทำด้วยวัตถุถาวรทึบถูกสุขลักษณะแยกเป็นหมวดหมู่เหมาะสมตามประเภทสินค้าและกำหนดหมายเลขประจำแต่ละที่ไว้เห็นชัดเจน
ข.
ต้องจัดที่นั่งสำหรับผู้ขายของไว้โดยเฉพาะเหมาะสมแยกต่างหากจากที่วางของขายและสะดวกต่อการเข้าออก
ค.
หากจะสร้างที่วางของขายซึ่งมีลักษณะพิเศษต่างหากจากที่กล่าวแล้วข้างต้นจะต้องสร้างให้ถูกสุขลักษณะทำความสะอาดได้ง่ายตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
(๗) ทางเดินตลาดมีลักษณะดังนี้
ก. ทางเข้าออกของตลาดต้องมีอย่างน้อยหนึ่งทาง กว้างไม่น้อยกว่า ๕
เมตร ในกรณีทางเข้าออกลอดใต้อาคารอื่นจะต้องสูงไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
เว้นแต่ตลาดที่จัดตั้งมาก่อนข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ทางเข้าออกของตลาดต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๓ เมตร
กรณีทางเข้าออกใต้อาคารอื่นจะต้องสูงไม่น้อยกว่า ๓ เมตร
โดยไม่มีการตั้งวางสิ่งของต่าง ๆ ให้เป็นที่กีดขวางทางเข้าออก
ข. ทางเดินสำหรับผู้ซื้อของภายในอาคารตลาดต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๑.๕
เมตร
(๘) สถานที่ต้องทำรั้วหรือประตูกั้นหรือสิ่งป้องกันไว้เพื่อมิให้คนและสัตว์เข้าไปพลุกพล่าน
(๙) ต้องจัดให้มีส้วม เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้ จำนวน
และสถานที่ตั้งตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
(๑๐)
ต้องจัดให้มีที่สำหรับล้างสินค้าพร้อมติดตั้งท่อน้ำประปา
และท่อระบายน้ำทิ้งให้เพียงพอตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
(๑๑)
ต้องปฏิบัติการอื่นอันเกี่ยวกับสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๖ ในกรณีที่สถานที่ที่ตั้งเป็นตลาดและการปลูกสร้างในสถานที่นั้นมีลักษณะพิเศษได้สุขลักษณะ
มีการระบายอากาศโดยใช้เครื่องปรับอากาศ
และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขแล้ว
สถานที่ที่ตั้งและการปลูกสร้างในสถานที่นั้นอาจได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ ๖
(๖) ก็ได้
ข้อ ๗ ผู้ตั้งตลาดต้องจัดให้มีเครื่องอุปกรณ์และสิ่งอื่น
ๆ อันจำเป็นสำหรับสุขลักษณะของตลาด ดังต่อไปนี้
(๑) ที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะให้มีขนาดจำนวนเพียงพอ
และตั้งอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
(๒)
น้ำสะอาดพร้อมทั้งที่เก็บสำรองน้ำให้มีปริมาณเพียงพอและสะดวกในการล้างมือล้างสินค้าและล้างตลาด
(๓) จัดให้มีอุปกรณ์การดับเพลิงอย่างน้อยสี่จุด
หรือมากกว่านั้นตามแต่เจ้าพนักงานสาธารณสุขจะเห็นสมควร
(๔) ติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
(๕) เครื่องอุปกรณ์อื่น ๆ
ที่จำเป็นสำหรับสุขลักษณะของตลาดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อ ๘ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องดูแลควบคุมให้ผู้เข้าขายของในสถานที่ตั้งตลาดปฏิบัติตามระเบียบที่กำหนดไว้ตามข้อ
๖ (๖)
ข้อ ๙ ผู้รับใบอนุญาตต้องรักษาตลาดตลอดจนของใช้ทั้งมวลให้ต้องด้วยสุขลักษณะและเรียบร้อย
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องรักษาส้วมให้ได้ถูกลักษณะเสมอ
(๒) ต้องจัดให้มีคนงานทำความสะอาดจำนวนเพียงพอ
และต้องทำความสะอาดให้สะอาดอยู่เสมอ
(๓)
ต้องจัดการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในตลาดตามข้อบัญญัติของท้องถิ่นหรือคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
(๔) ต้องจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอในตลาดเวลากลางคืน
(๕) ดูแลมิให้บุคคลใด
นอกจากผู้มีหน้าที่เฝ้าตลาดใช้ตลาดเป็นที่หลับนอน
(๖) ต้องจัดเก็บสิ่งของให้เรียบร้อย
ปลอดภัยจากสัตว์นำโรคต่าง ๆ และสะดวกแก่การทำความสะอาดระหว่างเวลาเปิดตลาด
(๗) ปฏิบัติการอื่น ๆ ตามคำแนะนำของพนักงานสาธารณสุข
พนักงานเจ้าหน้าที่หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดวางสิ่งของกีดขวางในตลาดตามทางเข้าสู่ตลาด
ทางเดินรอบตลาดและห้ามมิให้ผู้ใดก่อเหตุรำคาญในบริเวณ ดังต่อไปนี้
(๑) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด
แต่ไม่ห้ามถึงสัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อขายเป็นอาหาร
(๒) สะสม หมักหมม
หรือเททิ้งสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาดทำให้สถานที่สกปรกรกรุงรังหรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์นำโรคหรือเป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็น
(๓)
ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งเป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้อื่น หรือน่าจะเกิดอันตราย
(๔) ทำให้น้ำสะอาดสำหรับใช้ในตลาด เกิดสกปรกขึ้นจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๕) ถ่าย เท ทิ้ง มูลฝอย
หรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใดนอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล
(๖) กระทำการอื่นใดที่จะก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น
ตามความเห็นของเจ้าพนักงานสาธารณสุข พนักงานเจ้าหน้าที่หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๑ ในการเข้าขายของในตลาดผู้เข้าขายของและผู้ช่วยขายต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑) วางสิ่งของอยู่ในขอบเขตที่วางขายของซึ่งจัดไว้
ถ้าวางล้ำออกมาให้ถือว่าวางสิ่งของกีดขวางในตลาด
และห้ามมิให้วางสิ่งของสูงเกินกว่า ๑๒๐ เซนติเมตร
จากพื้นตลาดเว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
อีกทั้งห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้าเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒)
วางสินค้าให้ถูกต้องตามที่ที่จัดไว้สำหรับประเภทนั้น
ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร
(๓)
แต่งกายให้สะอาดตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นชอบ
(๔)
ใช้เครื่องปกปิดอาหารและภาชนะหรือเครื่องสำหรับประกอบปรุงอาหารให้พ้นฝุ่นละออง
สัตว์นำโรคและรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดใช้การได้ดีเสมอ
(๕) ใช้น้ำสะอาดในการปรุง แช่ ล้างอาหารและภาชนะ
(๖)
ใช้ภาชนะและเครื่องใช้ในการบริโภคที่สะอาดและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
(๗) ใช้วัตถุที่สะอาด ห่อ หรือใส่ของให้แก่ผู้ซื้อ
(๘)
ไม่จ้างหรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าป่วยเป็นโรคติดต่อทำการประกอบปรุงหรือขายอาหาร
(๙) ทำความสะอาดที่วางของขายทุกวันหรือทุกครั้งก่อนขายหรือเลิกขาย
(๑๐)
ให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกลักษณะประจำที่วางของขายของตนเองตามความเห็นชอบของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
(๑๑) ปฏิบัติการอื่น ๆ
ให้ต้องด้วยสุขลักษณะและเรียบร้อยตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมถึงการตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ผู้ขายของหรือผู้ช่วยขายของในตลาด
ขาย ทำ ประกอบ ปรุง
หรือสะสมอาหารและสิ่งของอย่างอื่นในตลาดเมื่อมีเหตุควรเชื่อว่าตนเป็นโรคติดต่อหรือเมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ตรวจปรากฏว่าเป็นพาหะและได้รับแจ้งความเป็นหนังสือว่าตนเป็นพาหะของโรคแล้วให้พนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้หยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีจนกว่าจะแก้ไขหรือปรับปรุง
ข้อ ๑๓ ให้เปิดตลาดตั้งแต่เวลา ๐๔.๐๐ น.
และปิดตลาดเมื่อถึงเวลา ๒๐.๐๐ น. เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นไว้ในใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดต้องยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตเป็นผู้จัดตั้งตลาดตามแบบเงื่อนไขและเอกสารหลักฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนด
พร้อมด้วยแผนผังแบบก่อสร้างและรายการปลูกสร้างในสถานที่จะจัดตั้งตลาดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลง ขยาย
หรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดแล้ว
ให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนด
พร้อมด้วยแผนผังแบบก่อสร้างและรายการปลูกสร้างที่จะขอเปลี่ยนแปลง ขยาย
หรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๕ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตแล้วปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ให้ออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอใบอนุญาตทราบกรณีไม่อาจออกใบอนุญาตได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
แต่ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ทั้งหมดแจ้งให้ผู้ขอใบอนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต
ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดตามวรรคหนึ่งให้ขยายเวลาไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ๆ ละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดตามวรรคหนึ่งหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วเท่านั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๖ ในกรณีตลาดที่ได้เปิดดำเนินการมาก่อนประกาศใช้ข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อาจผ่อนผันให้ทำการปรับปรุงตามข้อ
๖ ให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร
ข้อ ๑๗ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้จัดตั้งสถานที่ที่ตั้งตลาดและมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับตลาดต้องด้วยสุขลักษณะตามเงื่อนไขที่บังคับไว้ในข้อ
๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ แล้วก็ให้ออกใบอนุญาตได้
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตซึ่งได้เปลี่ยนแปลง
ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดได้จัดตั้งสถานที่ที่ตั้งตลาดและมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับตลาดต้องด้วยสุขลักษณะ
ตามเงื่อนไขที่ได้บังคับไว้ในข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ แล้วก็ให้ออกใบอนุญาตได้
ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
ผู้แทนหรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว
ถ้าผู้ดำเนินกิจการตลาดค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะเสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับอนุญาตตามข้อ ๘
และมีความประสงค์จะขอเปลี่ยนชื่อผู้รับใบอนุญาตได้โดยยื่นเรื่องขออนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการขอเปลี่ยนชื่อฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ ตลาดนั้นตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๑ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการจะต้องยื่นคำขอตามแบบและเงื่อนไขพร้อมด้วยหลักฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตการพิจารณาต่อใบอนุญาตให้ปฏิบัติตามข้อ
๑๖
ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตมีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
ข้อ ๒๓ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการตลาดต่อไป
ให้ยื่นคำขอบอกเลิกดำเนินการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๔ หากปรากฏว่าใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญแล้วแต่กรณีพร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
เอกสารแจ้งความต่อสถานีตำรวจกรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย หรือ
(๒) ใบอนุญาตเดิมกรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ ๒๕ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑) ใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้และให้มีวัน เดือน
ปีที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิมระบุสาเหตุการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณีและเล่มที่ ปี พ.ศ.
ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๖ หากผู้ดำเนินกิจการตลาดปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการดำเนินกิจการนั้นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไข
หรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้และถ้าผู้ดำเนินกิจการตลาดไม่แก้ไขหรือถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพประชาชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการนั้นไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวันเว้นแต่เป็นกรณีที่มีคำสั่งให้หยุดดำเนินกิจการทันที
ข้อ ๒๗ ถ้าผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตนั้น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
(๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตและการไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๙ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ
มลพิษที่เป็นอันตรายหรือการระบาดของโรคติดต่อ
ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดจำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด
(๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด
เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย
(๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ
หรือสุกร ในตลาดรวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของสัตว์ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น
(๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด
จนทำให้สถานที่สกปรกรกรุงรังเป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่อันตราย
หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
(๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือทิ้งสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด
นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล
(๖)
ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๗)
ก่อหรือจุดไฟในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
(๘) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
มลพิษที่เป็นอันตรายหรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ
ความสั่นสะเทือนหรือมีกลิ่นเหม็น
ข้อ ๓๐ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๑๖ ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้แทน
หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตทราบ
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ผู้ดำเนินกิจการตลาดหยุดดำเนินการ
คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการหรือผู้รับใบอนุญาตทราบ
แล้วแต่กรณี
ในกรณีไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือดังกล่าวให้ส่งหนังสือโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้ต้องรับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือ
ตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาต
สำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ข้อ ๕
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ข้อ
๕ ข้อ ๗ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ และข้อ ๒๙
ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
ข้อ ๓๔ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
๑,๐๐๐ บาท
ข้อ ๓๕ ผู้ดำเนินกิจการผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างที่มีคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้หยุดดำเนินกิจการหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อบัญญัติข้อ
๑๘ วรรคสอง หรือข้อ ๒๖ โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันควรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
ข้อ ๓๖ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดดำเนินกิจการในระหว่างถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องระวางโทษปรับไม่เกิน
๑,๐๐๐ บาท
ข้อ ๓๗ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัติข้อ
๒๐ หรือข้อ ๒๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
ข้อ ๓๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎ
ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สันต์ ซาสุด
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๘๑/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793945 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดและนายอำเภอสร้างคอม
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดนับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบกิจการ หมายความว่า
สถานที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา
๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า ส
ภาวะของน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น
ซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
๑. กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
(๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ
สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง
๒. กิจการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ และผลิตภัณฑ์
(๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร
การเร่ขาย การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ
การสะสม หรือการกระทำอื่นใดฆ่าสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช
เพื่อเป็นอาหารสัตว์
๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
(๑) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย
น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก
หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย
เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋
(๔) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๕) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร
(๖) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
(๗) การผลิตน้ำแข็ง
ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
๔. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ
(๒) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร
(๓) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช
การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร
(๔) การผลิตการสะสมปุ๋ย
๕. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน
การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าช หรือไฟฟ้า
(๒) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก
การคัดเลือกหรือการล้างแร่
๖. กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ
การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง
ระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต เครื่องจักร
หรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น
มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องจักรกลดังกล่าวด้วย
(๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์
(๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่
(๖) การปะ การเชื่อมยาง
(๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
๗. กิจการที่เกี่ยวกับไม้
(๑) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง
การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๒) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร
หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสีหรือการตกแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย
(๓) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน
๘. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑) การประกอบการกิจการหอพัก
ห้องพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า คาราโอเกะ หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๒) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง ดิสโกเทก
คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๓) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
๙. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป
(๒) การซัก การอบ การรีด การอับกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๓) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน กระจก
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี
(๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าช
(๒) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง
ๆ
(๓) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก
(๔) การพ่นสี
(๕) การโม่ การบดชัน
(๖) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๗) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๘) การผลิต การบรรจุ การสะสม
การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
๑๒. กิจการอื่น ๆ
(๑) การผลิตการซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า
(๒) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด
ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๓) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๔) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
(๕) การก่อสร้าง
ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ ๔
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๔
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ในลักษณะที่เป็นการค้าเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ
กอ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนด
ข้อ ๘ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ
๔ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการ
ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ
หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบไม่ซึม ไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก
(๓)
การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อาศัยใกล้เคียง
(๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวรเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม
รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือการกำจัดน้ำโสโครก ไขมันให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่นไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่น ละออง
เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด
อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียงข้อกำหนดดังกล่าวผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๖) ต้องให้มีแสงสว่าง และการระบายอากาศเพียงพอ
และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค
(๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ
(๘) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย
และสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอ
(๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะ
จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้นและต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม
รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อม
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขัง
และที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ
(๑๑) สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้า
ต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ
๘
และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ
กอ. ๒
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะของการประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องรักษาเครื่องมือเครื่องใช้
ในการประกอบการค้าทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอถ้าวัตถุแห่งการค้านั้นจะใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้น
ให้พ้นจากฝุ่นละออง และสัตว์พาหะนำโรค
(๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์พาหะนำโรคได้
และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๓) ถ้าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสถานที่
ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
(๔) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเข้าตรวจสถานที่ เครื่องมือ
เครื่องใช้
ตลอดจนวิธีประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันสมควรเมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไข
โดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน
ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้า
ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามอัตราท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ใบอนุญาตฉบับหนึ่ง ใช้สำหรับกิจการค้าประเภทเดียว
และสำหรับสถานที่แห่งเดียว ถ้าประกอบกิจการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมหลายประเภทในขณะและสถานที่เดียวกันให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตราแต่ประเภทเดียว
ประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา
ข้อ ๑๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๑๕ การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
กอ. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ให้ต่อใบอนุญาต
หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการค้าต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔
ข้อ ๑๗ หากผู้รับใบอนุญาต
ประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด
ในสาระที่สำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
กอ. ๔ ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด
ในสาระที่สำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ
กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ ๑๙ การออกใบแทนใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(๑)
การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ กอ. ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี
ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม
ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี
และลง เล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข หรือรายละเอียดใด ๆ ให้ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้เป็นการเฉพาะกิจหรือเฉพาะรายได้
ข้อ ๒๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑)
คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๑
(๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ
กอ. ๒
(๓)
คำขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๓
(๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔
ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัติตำบลนี้
หรือเงื่อนไข โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง
และมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีกเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
ข้อ ๒๔ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้บังคับใช้
ผู้ดำเนินการตามประเภทที่ข้อบัญญัตินี้กำหนดเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๔
ในลักษณะที่เป็นการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ ๒๕ ผู้ดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ข้อ ๘
และข้อ ๑๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไข
โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง
และมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีกเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
ข้อ ๒๗ บรรดาความผิดซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนตามข้อบัญญัตินี้
หากได้ชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้แล้ว
ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาต
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตตามข้อ ๒๑
ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ ๒๙ ให้ผู้ประกอบกิจการตามลักษณะในข้อ ๔
อยู่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ให้เจ้าของกิจการตามความในวรรคหนึ่ง
ดำเนินการแจ้งขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สันต์ ซาสุด
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบคำรับใบอนุญาต (แบบ กอ. ๑)
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒)
๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ กอ. ๓)
๕. แบบคำขอหนังสือรับรองการแจ้ง (แบบ กอ. ๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๙๒/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793939 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พ.ศ.
๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
มาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ยและนายอำเภอบ้านแหลม
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ
ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า
อุจจาระหรือปัสสาวะและหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด
ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัสดุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์
ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนนตลาดที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ผู้ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามมาตรา ๔๔ วรรคสองพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
ข้อ ๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ยเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๗ การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
ให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
ในกรณีมีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนก็ได้
ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
หมวด
๒
การเก็บ
ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ข้อ ๘ ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยในที่ หรือทางสาธารณะ เป็นต้นว่าถนน
ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ ฯลฯ นอกจากในที่
ที่องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ยจัดไว้ให้
หรือในที่รองรับสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ยจัดไว้ให้
ข้อ ๙ ห้ามผู้ใด ถ่าย
เท ทิ้งสิ่งปฏิกูลในที่รองรับขยะมูลฝอย
ข้อ ๑๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูล
และหรือมูลฝอยภายในอาคารหรือสถานที่นั้นอย่างเพียงพอและถูกสุขลักษณะ
ข้อ ๑๑ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่ายเทหรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ
ข้อ ๑๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามข้อ ๑๐
ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๓ ห้ามผู้ใดถ่าย
เท คุ้ย เขี่ย ทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลและหรือมูลฝอยนอกที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ จัดให้มีขึ้น เว้นแต่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำนาจหน้าที่หรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๔ ห้ามผู้ใดคุ้ย เขี่ย ขุด
ขนมูลฝอยในที่รองรับมูลฝอยรถหรือเรือเก็บขนมูลฝอย
หรือสถานที่เทมูลฝอยใด ๆ
เว้นแต่เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่
หรือผู้ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๕ ห้ามผู้ใด ขน
นำพา หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลและหรือขยะมูลฝอยไปในที่ หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่จะได้ใส่ในภาชนะหรือที่มิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือมีกลิ่นรั่วซึมออกมาภายนอก
และต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับแก่ยานพาหนะโดยสารทางบกและทางน้ำซึ่งได้จัดห้องสุขา
ที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
ข้อ ๑๖ ที่รองรับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิดไม่รั่วซึม
ป้องกันกลิ่นเหม็นออกมาข้างนอก และสามารถป้องกันสัตว์และแมลงได้
ข้อ ๑๗ ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใดๆ
ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ
หรือก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะหรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๘ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าอาคาร
สถานที่ หรือบริเวณใดควรทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ไปทำการกำจัดให้ต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
สถานที่หรือบริเวณนั้นๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
หรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย กำหนดบริเวณที่ต้องทำการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไม่น้อยกว่าสามแห่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันประกาศ
แล้วเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่ หรือบริเวณใด ๆ
จะต้องให้องค์การบริหารส่วนตำบลแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น เก็บ ขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจากอาคารสถานที่หรือบริเวณนั้น
ๆ ซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือครอบครองอยู่ โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บ ขน
ตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
หมวด
๓
กิจการรับทำการเก็บ
ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
ข้อ ๑๙ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมวด
๔
ใบอนุญาตและค่าธรรมเนียม
ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้าราชการ
หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
หรือใบอนุญาต ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)
เอกสารหรือหลักฐานแสดงสถานที่รับกำจัดมูลฝอยทั่วไปที่ได้รับใบอนุญาต และมีการดำเนินกิจการที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลโดยมีหลักฐานสัญญาว่าจ้างระหว่างผู้ขนกับผู้กำจัดมูลฝอย
(๕)
เสนอแผนการดำเนินงานในการเก็บขนมูลฝอยที่แสดงรายละเอียดขั้นตอน การดำเนินงาน
ความพร้อมด้านกำลังคน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการบริหารจัดการ
(๖) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ยประกาศกำหนด
ข้อ ๒๑ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตลอดจนหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการขอและการออกใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ยกำหนดดังนี้
(๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูล
(๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล รถดูดสิ่งปฏิกูล ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
(๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิด
สามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน
(๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลชนิดเฮพวี่ดิวตี้
คือปั๊มสูบตะกอน
ที่สามารถสูบตะกอนของแข็งได้และติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
(๑.๑.๔)
ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดีไม่รั่วไม่ซึม
(๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถเช่น ถังตักน้ำ
ไม้กวาด น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%)
(๑.๑.๖)
ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวรถพาหนะขนถ่าย
สิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลเช่น รถดูดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ
ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาตชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน
พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ไว้ทั้งสองด้านของตัวรถ โดยขนาดตัวอักษรต้องสูงไม่น้อยกว่า
๑๐ เซนติเมตร
(๑.๑.๗) สีของรถพาหนะเก็บขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
ต้องกำหนดให้มีสีต่างจากรถเก็บขนถ่ายสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
(๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง
รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง ผ้าปิดปาก ปิดจมูก สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๑.๓)
กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐาน
ใบนำส่งสิ่งปฏิกูลว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ
แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด
(๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
มูลฝอย
(๒.๑) ต้องมีพาหนะเก็บ ขน มูลฝอย
ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
(๒.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก
(๒.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้เก็บ ขนมูลฝอย
ต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้
และไม่ทำให้มูลฝอยหกล้น หรือปลิวฟุ้งกระจายขณะขนย้าย
(๒.๑.๓) ส่วนของรถที่ใช้เก็บ ขนมูลฝอย
ต้องอยู่ในสภาพที่ดีไม่รั่ว ไม่ซึม
(๒.๑.๔) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ไม้กวาด
น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่นไลโซน ๕%)
(๒.๑.๕) ต้องมีข้อความแสดงที่ตัวรถพาหนะเก็บ ขนมูลฝอย
เพื่อให้รู้ว่าเป็นรถที่ใช้เก็บ ขนมูลฝอย เช่น รถเก็บขนมูลฝอย เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียน ใบอนุญาตประกอบกิจการ
ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัท หรือ เจ้าของกิจการ
ตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนพร้อมหมายเลขโทรศัพท์
ไว้ทั้งสองด้านของตัวรถ โดยขนาดตัวอักษรต้องสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร
(๒.๑.๖) สีของรถพาหนะเก็บ ขนมูลฝอย
ต้องกำหนดให้มีสีต่างจากรถเก็บขนมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
(๒.๒) ต้องจัดให้มีผ้าปิดปากปิดจมูก เสื้อสะท้อนแสง
ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด
พลั่ว น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น ไลโซน ๕% สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๒.๓)
กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดมูลฝอยของตนเองต้องแสดงหลักฐาน ใบนำส่งมูลฝอย ว่าจะนำมูลฝอยไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแหล่งใด
ข้อ ๒๒ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอรับใบอนุญาตให้ตรวจสอบความถูกต้อง
และความสมบูรณ์ของคำขอหากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข
ที่กำหนดไว้แล้วและเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาต
ตามแบบ ส.ม. ๒ ที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตรา
ท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากมิได้รับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๔ ในการให้บริการตามใบอนุญาต
ผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ กับผู้รับบริการทุกราย
โดยสัญญาดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราค่าบริการ ระยะเวลาในการให้บริการและความรับผิดชอบในกรณีผิดสัญญา
โดยส่งสำเนาสัญญาและใบเสร็จรับเงินให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันเริ่มการให้บริการทั้งนี้อัตราค่าบริการต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๕ เมื่อผู้รับใบอนุญาตเลิกการให้บริการแก่ผู้รับบริการรายใดจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่
ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติดังนี้
(๑) รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๒๑
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินการตามใบอนุญาต
(๒) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๒๔
(๓)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะความปลอดภัยและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
ข้อ ๒๗ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
ส.ม. ๓ ที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตหากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ ๒๘ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
ข้อ ๒๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
ส.ม. ๔ ที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๐ หากใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี
พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจกรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตเดิมกรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ ๓๑ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ตามแบบ ส.ม. ๒
ที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ โดยประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วยและให้มีวันเดือนปีที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลายมือชื่อ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิมระบุสาเหตุการสูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม
แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่เลขที่ปีของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๓๒ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๓๓ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง
ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑)
คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้ตามแบบ
ส.ม. ๑
(๒)
ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้ตามแบบ ส.ม.
๒
(๓)
คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้ใช้ตามแบบ
ส.ม. ๓
(๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้ตามแบบ ส.ม. ๔
หมวด
๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ.๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๖ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่ง โดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๗ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๙ ภายหลังข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้วหากมีกฎกระทรวงออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้บังคับใช้ตามกฎกระทรวงนั้น
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ศรีเพชร นามเดช
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลแหลมผักเบี้ย
เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต ส.ม. ๑
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย แบบ สม. ๒
๔. คำขอต่ออายุประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
แบบ สม. ๓
๕. คำขออนุญาตการต่าง ๆ แบบ
สม. ๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๖๓/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793927 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
พ.ศ.
๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ และนายอำเภอปราณบุรี
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณเรื่อง
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ข้อบังคับ
ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึง มูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน สถานศึกษา โรงงานอุตสาหกรรม โรงมหรสพ
ฟาร์มปศุสัตว์ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่
หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หมายความว่า
แหล่งที่ตรวจพบลูกน้ำหรือตัวโม่งยุงลายตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่มีเขตอำนาจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ข้าราชการหรือพนักงานส่วนตำบลผู้ซึ่งได้รับ การแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ ในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณจัดไว้ให้
ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอย ที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง
กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ ในอาคารหรือเคหสถาน
รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้
โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิด หรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุง
หรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าหน้าที่แนะนำ
ข้อ ๗ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณให้บริการเก็บขนมูลฝอย
เพื่อนำไปกำจัด
เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมการเก็บขนมูลฝอยตามที่กำหนด
ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ข้อ ๙ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
เคหสถาน ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ
ที่มีน้ำขัง อย่างน้อยทุก ๗ วัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้
หรือการควบคุมลูกน้ำด้วยวิธีอื่นใดที่เหมาะสม
และกรณีที่เป็นภาชนะกักเก็บน้ำต้องจัดให้มีฝาปิดที่มิดชิด รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ
ที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ ประกาศหรือกำหนด
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
หรือหน่วยงานด้านสาธารณสุข ได้จัดพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าไปทำการกำจัดยุง
หรือลูกน้ำยุงในอาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
เคหสถาน หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือ และอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติ
ละเลยหรือไม่ให้ความร่วมมือองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ จะดำเนินแจ้งขอความร่วมมือเป็นลายลักษณ์อักษรรายครัวเรือน
ข้อ ๑๒ ผู้ใดยังคงฝ่าฝืนข้อ
๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๐ ไม่ปฏิบัติ ละเลย หรือไม่ให้ ความร่วมมืออีกต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท
ข้อ ๑๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พนอ เดชวัน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๔/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793935 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่
๕) ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณและนายอำเภอปราณบุรี
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น
ซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น
ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม
๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย
หรือขายในตลาด
(๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง
กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก
เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์ หรือพืช
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ
เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๒) การผลิต สะสม ห รือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่ ปลาร้า
ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย น้ำบูดู
ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่มจากผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด
นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน
ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม
หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ
(๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย ผลิตภัณฑ์เนยเทียม
และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง
หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู
ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช
ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์
อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น
กระดาษเย็น เครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำ ยาทำความสะอาด
หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู
แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ
ก็ตาม
(๕) การผลิตยาสูบ
(๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลงั ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์
หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่
(๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖
(๑)
(๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก
โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
๖ (๑)
(๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า
ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล
เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องกลเก่า
๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้
หวาย ชานอ้อย
(๔) การอบไม้
(๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง
รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น
ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
๙ (๑)
(๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน
(๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข
วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม
(๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๑๙)
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด
ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒)
(๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน
(๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน
หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕)
๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก
และสารเคมีต่าง ๆ
(๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์
หรือสารตัวทำละลาย
(๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑)
(๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก
เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง
หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
๑๓. กิจการอื่น ๆ
(๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๗) การล้างขวด
ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา
(๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๒) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ
หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการควรตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้น จะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขพิจารณาเห็นสมควรไม่น้อยกว่า
๑๕๐ เมตร ทั้งนี้
เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือก่อเหตุรำคาญของประชาชน
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตราย
หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน
ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการ
ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม
หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับ
ที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย
รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามเทศบัญญัติว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย
หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร
การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน
ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
(๒)
กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
ข้อ ๑๗ เมื่อข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
กรณีดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมหลายประเภทในสถานที่เดียวกัน
ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในทุกประเภทตามอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๕
ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณกำหนด
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓)
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด กรณีเป็นนิติบุคคล
(๔) หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านที่รับรองความถูกต้องของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ
กรณีผู้ขอใบอนุญาตไม่สามารถยื่นคำขอได้ด้วยตนเอง
(๕) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๖) ใบอนุญาตฉบับจริงกรณีต่ออายุใบอนุญาต
(๗) อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควร
ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
รวมทั้งเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้โดยเฉพาะในใบอนุญาตหรือแนบท้ายใบอนุญาต
(๒)
หากปรากฏในภายหลังว่าการประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
(๓) อื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือเห็นสมควร
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้ง
ให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้ จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๑ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้ถือว่าเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และให้ดำเนินกิจการต่อไปได้จนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ
ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พนอ เดชวัน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๓๖/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793941 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ.
๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา
๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ .ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดและนายอำเภอสร้างคอม
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดแล้วเจ็ดวัน
บรรดากฎ ระเบียบ
ข้อบังคับหรือคำสั่งอื่นใดขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหรือลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามความในมาตรา
๔๔ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
อาหาร หมายความว่า
ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่
(๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม แต่ไม่รวมถึงยา
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น แล้วแต่กรณี
(๒)
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือเป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมทั้งวัตถุเจือปน อาหาร
สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ
ที่มิใช่ที่หรือที่สาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที
ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่
หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด
ซึ่งต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า
อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด
ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุง พลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์
หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนนตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น
ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ตลาด หมายความว่า
สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์
เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบ หรือปรุงแล้ว
หรือของเสียง่าย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณที่จัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำ
หรือเป็นครั้งคราว หรือตามวันที่กำหนด
ข้อ ๔ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหารมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้ง
ข้อ ๕ ความในข้อ ๔
ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบการดังนี้
(๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒) การขายของในตลาด
(๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ข้อ ๖ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วย
สุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้
ก. สถานที่สะสมอาหาร
(๑) ไม่อยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย
(๓)
จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนด
(๔)
จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนด
(๕)
จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนด
(๖)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ
และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข. สถานที่จำหน่ายอาหาร
(๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดใน ก. (๑) (๖)
(๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง
สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
(๓)
ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย
(๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย
และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนด
(๕)
จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ
ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ
(๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ
(๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง
และเก็บอาหาร
(๘)
จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๙)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
พนักงานเจ้าหน้าที่ และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ
และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๗ อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการต้องมีหลักฐานแสดงว่าสามารถใช้ประกอบการนั้นได้โดยถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ข้อ ๘ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดมีอำนาจผ่อนผันให้ผู้ขอรับใบอนุญาต
ผู้ขอหนังสือรับรองการแจ้ง งดเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ และข้อ
๗ เพียงเท่าที่เห็นสมควรหรือจะเปลี่ยนแปลงอย่างใดเพื่อให้เหมาะสมแก่กิจการซึ่งให้ควบคุมนั้น
ทั้งนี้ การผ่อนผันนั้นต้องไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนถึงสุขภาพอนามัยของประชาชน
ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ
รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค
(๒)
ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้
และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ
(๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
(๕)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
พนักงานเจ้าหน้าที่และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ
และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาคาร กรรมวิธีการจำหน่าย
ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษาอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของอื่น
ๆ รวมทั้งสุขลักษณะส่วนตัวของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการ
ดังต่อไปนี้
(๑) วาง เก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาด
ถูกสุขลักษณะรวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น
(๒)
ใช้เครื่องปกปิดอาหารรวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบ
ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละออง และสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดและใช้การได้อยู่เสมอ
(๓)
น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ใช้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้
และห้ามนำอาหารหรือของสิ่งใดแช่หรือเก็บรวบรวมไว้ด้วยกัน
(๔) การทุบ
บดน้ำแข็งต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ
รวมทั้งป้องกันมิให้มีเสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น
(๕)
ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้เพียงพอ
(๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับปรุง ใส่
หรือห่ออาหาร หรือน้ำแข็ง โดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
(๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร
และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขพนักงานเจ้าหน้าที่
และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและคำสั่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องไม่เป็นโรคติดต่อ
และไม่จ้างหรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อ จำหน่าย ทำ
ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร
ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ พร้อมหลักฐานต่าง ๆ
ที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดกำหนด
ในกรณีที่สถานที่ตามวรรคหนึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ
พร้อมทั้งหลักฐานต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งก่อนจัดตั้ง เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่แก่ผู้แจ้งตามแบบ
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งเป็นการชั่วคราวในระหว่างที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ตามที่ขอ
ข้อ ๑๓ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขออนุญาตหรือการแจ้งแล้ว
ปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาต ตามแบบ หรือออกหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ แล้วแต่กรณี
ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้ได้รับใบอนุญาต
ผู้แจ้ง ผู้แทน หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตหรือแจ้ง แล้วแต่กรณี
ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว
การแจ้งความตามวรรคสอง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้แจ้งผู้แทน
หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้แจ้งแล้วแต่กรณีทราบในกรณีไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือ
ให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือปิดหนังสือนั้นไว้ใน
ที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักงานทำการของผู้รับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึง
หรือวันเปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต
หรือขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสิ้นอายุ
ข้อ ๑๕ ใบอนุญาตหรือใบรับรองการแจ้งให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตหรือวันที่ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งไม่ประสงค์จะประกอบการต่อไปให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด
ข้อ ๑๗ หากผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้ยื่นคำร้องขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด
ข้อ ๑๘ หากปรากฏว่าใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสูญหายถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง
แล้วแต่กรณีจะต้องยื่นคำขอ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด
เพื่อขอใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งใหม่
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระสำคัญ
แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจกรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม
กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ ๑๙ การออกใบแทนใบอนุญาต
ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งใหม่ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาต
หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดง คำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี
ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลายมือชื่อ
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทน
และต้นขั้วใบแทน
(๒)
บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม ระบุสาเหตุ การสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม
แล้วแต่กรณี และเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ.
ของใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง
ข้อ ๒๐ แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ให้เป็นไปตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดประกาศกำหนด
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาต
หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือจัดตั้งสถานที่สะสมอาหารรายใดไม่ปฏิบัติตาม
หรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้จะต้องระวางโทษ ตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ.๒๕๓๕
ข้อ ๒๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาดเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ คำสั่ง ระเบียบ ข้อบัญญัติ หรือคำสั่งอื่นใด
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สันต์ ซาสุด
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสะอาด
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๗๓/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793933 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ.2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ.
๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๒) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) ประกอบมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ (๓) และมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณโดยความเห็นชอบ ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
และนายอำเภอปราณบุรี จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๔ ข้อบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ตามข้อบัญญัติว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษา ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การสละการครอบครองสัตว์ หรือปล่อยให้
อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่
ในลักษณะอื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจ ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ดังต่อไปนี้
๑) ช้าง ๒)
ม้า
๓) โค ๔)
กระบือ
๕) สุกร ๖)
แพะ
๗) แกะ ๘)
ห่าน
๙) เป็ด ๑๐)
ไก่
๑๑) สุนัข ๑๒)
แมว
๑๓) งู ๑๔)
จระเข้
๑๕) นก ๑๖)
สัตว์อื่น ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ประกาศกำหนดเพิ่มเติม
ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน
ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น
หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้น
ตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่าย
ในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พนอ เดชวัน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๓๓/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793937 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ.
๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘
มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณและนายอำเภอปราณบุรี
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
อาหาร หมายความว่า
อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ
ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จ
และจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับบริโภค ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ
ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสด หรือของแห้ง
หรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบ
หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น
ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ตลาด หมายความว่า
สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์
เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด
ประกอบหรือปรุงแล้วหรือของเสียง่าย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณที่จัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า
อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด
ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร
และมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามข้อ ๙
ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งตามข้อ
๒๑ ก่อนการจัดตั้ง
ข้อ ๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือขอรับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
ก. สถานที่สะสมอาหาร
(๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒) พื้นที่ทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย
(๓)
จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
ตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๔)
จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๕)
จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน
ที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๖)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบัญญัติ คำสั่งและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข. สถานที่จำหน่ายอาหาร
(๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดใน ก. (๑) (๗)
(๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้
หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
(๓)
ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย
(๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ และการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย
และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณกำหนด
(๕)
จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ
ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ
(๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ
(๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง
และเก็บอาหาร
(๘)
จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบัญญัติ คำสั่ง และประกาศ ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณกำหนด
พร้อมกับเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ข้าราชการ
หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ของผู้ขอใบอนุญาต
(๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต
(๓)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารของสถานประกอบการ
(๔) ใบรับรองแพทย์ของผู้ขอรับใบอนุญาต
ผู้ช่วยจำหน่ายอาหารและผู้ปรุงอาหาร
(๕) เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
และตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณกำหนด
ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหารจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) สถานที่สะสมอาหาร
ต้องดูแลรักษาสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑.๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ
รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัด สัตว์นำโรค
(๑.๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็น
ที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้
และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๑.๓)
จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
(๑.๔) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ และคำสั่งขององค์การบริหาร ส่วนตำบลปากน้ำปราณ
(๒)
สถานที่จำหน่ายอาหารต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ดังต่อไปนี้
(๒.๑) สถานที่รับประทานอาหาร สถานที่เตรียม ปรุง
ประกอบอาหารต้องสะอาดเป็นระเบียบจัดเป็นสัดส่วนและถูกสุขลักษณะ
(๒.๒) ไม่เตรียม ปรุงอาหารบนพื้น
และบริเวณหน้าหรือในห้องน้ำห้องส้วม และต้องเตรียม
ปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๒.๓)
ใช้สารปรุงแต่งที่มีความปลอดภัยมีเครื่องหมายรับรองของทางราชการ เช่น
มีเลขสารบบอาหาร (อย.) เครื่องหมายรับรองมาตรฐานของกระทรวงอุตสาหกรรม (มอก.)
(๒.๔) อาหารสดต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุง
หรือการเก็บอาหารประเภทต่าง ๆ ต้องแยกเก็บเป็นสัดส่วน อาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบ
เก็บในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส
(๒.๕) น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาด
เก็บในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด ใช้อุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับคีบหรือตักอาหาร
โดยเฉพาะวางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๒.๖) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ
แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีก ๒ ครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล
และที่ล้างภาชนะต้องวางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๒.๗) เขียงและมีด
ต้องมีสภาพดีแยกใช้ระหว่างเนื้อสัตว์สุก เนื้อสัตว์ดิบ และผักผลไม้
(๒.๘) ช้อน ส้อม ตะเกียบ
วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาด
หรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาดและมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐
เซนติเมตร
(๒.๙) มูลฝอยและน้ำเสียทุกชนิด
ได้รับการกำจัดด้วยวิธีถูกหลักสุขาภิบาล
(๒.๑๐)
ห้องส้วมสำหรับผู้บริโภคและผู้สัมผัสอาหารต้องสะอาด มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดี
และมีสบู่ใช้ตลอดเวลา
(๒.๑๑) ผู้สัมผัสอาหาร แต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน
ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อนที่สะอาด และสวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม
(๒.๑๒) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียม
ปรุง ประกอบ
และจำหน่ายอาหารทุกครั้งและต้องใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วทุกชนิด
(๒.๑๓)
ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือต้องปกปิดปากแผลให้มิดชิดและหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานที่มีโอกาสสัมผัสอาหาร
(๒.๑๔)
ผู้สัมผัสอาหารที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถติดต่อไปยังผู้บริโภคได้
โดยมีน้ำสะอาดเป็นสื่อ ให้หยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะรักษาให้หายขาด
(๒.๑๕)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ คำสั่งและประกาศ ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๙ เมื่อได้รับคำขอใบอนุญาตตามข้อ ๗
หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๑๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าว ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้อง และสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๑ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณเท่านั้น
การขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ
๗ และข้อ ๘ โดยอนุโลม
ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการต่อใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
จนครบจำนวน
ข้อ ๑๓ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๑๕ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณกำหนด
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๑๖ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑) ใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราคำว่า ใบแทน กำกับไว้และให้มีวัน เดือน ปี
ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม
ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี
และเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ. ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๑๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๑๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่อออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ
ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๑๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๑ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้ง
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณกำหนด
พร้อมกับเอกสาร และหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ของผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้ง
(๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้ง
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารของสถานประกอบการ
(๔) ใบรับรองแพทย์ของผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้ง
ผู้ช่วยจำหน่ายอาหาร ของสถานประกอบการ
(๕) เอกสารอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ ประกาศกำหนด
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราว
ในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้ง
หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล
แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ในวันที่มารับหนังสือรับรองการแจ้ง
สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับหนังสือรับรองการแจ้งครั้งแรก
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่มีผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้หยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ประกอบอาหาร
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณกำหนด
การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบ
(๒)
ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง
นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๕ การออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑) ใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้ประทับตราคำว่า ใบแทน กำกับไว้และให้มีวัน เดือน ปี
ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒)
บันทึกด้านหลังต้นขั้วหนังสือรับรองการแจ้งเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ. ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๖ เมื่อผู้แจ้งตามข้อ ๒๑
ประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในเทศบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๒๑ และเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง
ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๒๑ ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้
ข้อ ๒๘ การแจ้งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้แจ้งหรือผู้ดำเนินการทราบ
ในกรณีที่ไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือการแจ้งหรือคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ที่ต้องรับหนังสือและให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึงหรือวันปิดหนังสือ
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พนอ เดชวัน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๕๒/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793931 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
พ.ศ.
๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึงแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณและนายอำเภอปราณบุรี
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
อาหาร หมายความว่า
อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ห้ามจำหน่ายสินค้าในบริเวณที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศห้ามไว้
(๒) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
(๓)
จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนด ร่ม ผ้าใบบังแดดหรือวัสดุอื่นใด
รวมทั้งตัวผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร
(๔) แผงสำหรับวางจำหน่าย เช่น แคร่ แท่น โต๊ะ
ต้องทำด้วยวัตถุที่แข็งแรงมีสภาพดี สะอาด
มีขนาดและความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๓๐ เซนติเมตร ยกเว้นสินค้าประเภทอาหารต้องสูงไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๕) ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอ
ทั้งในระหว่างการจำหน่ายสินค้าและหลังเลิกการจำหน่ายสินค้าแล้ว
(๖) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและหลังการจำหน่ายแต่ละวันต้องมีการเก็บรวบรวมมูลฝอยนำไปกำจัดหรือนำไปทิ้งในที่รวบรวมมูลฝอยที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณจัดไว้ให้และทำความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าด้วย
(๗) ให้จัดวางสินค้าที่จำหน่ายบนแผง
ให้เป็นหมวดหมู่ไม่ปะปนกัน
แยกประเภทสินค้าที่เป็นอาหารออกจากประเภทสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร
เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร
(๘) ห้ามพาด ติด ตั้ง วาง
แผงจำหน่ายสินค้าเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการขาย
รวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือกหรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดกับต้นไม้โดยเด็ดขาด
(๙)
ห้ามใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เครื่องยนต์มีเสียงดัง มิให้ก่อเหตุรำคาญ
(๑๐) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป
หรือกระทำการโดยวิธีอื่นใดที่ก่อให้เกิดเสียงดัง เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
(๑๑) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือล้อเลื่อน
ไปจอดบนทางเท้าเพื่อจำหน่ายสินค้า
(๑๒) ให้หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์
หรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณประกาศกำหนด
(๑๓)
หลังจากเลิกจำหน่ายสินค้าต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบการค้าออกจากบริเวณที่อนุญาตให้แล้วเสร็จโดยไม่ชักช้า
(๑๔)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวกับสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ คำสั่งและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ (๑) (๑๓)
(๒) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน สวมหมวก หรือสิ่งที่สามารถเก็บรวบผมได้เรียบร้อยเพื่อป้องกันผมร่วงลงในอาหาร
และสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาดเรียบร้อย รวมทั้งสวมรองเท้า ขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุง
หรือจำหน่ายอาหาร
(๓) ต้องตัดเล็บมือให้สั้น
และต้องรักษามือให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้ามีบาดแผล ฝี หนอง บริเวณมือ นิ้ว หรือแขนต้องปิดบาดแผลให้มิดชิด
(๔) ไม่สูบบุหรี่ ขบเคี้ยว
รับประทานอาหารหรือพูดคุยโดยไม่จำเป็น ในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร หรือไม่ไอ
จาม รดบนอาหาร
(๕) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร
และแผงวางจำหน่ายอาหาร ต้องทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดีเป็นระเบียบ
ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๖)
การจำหน่ายอาหารที่ต้องมีการล้างภาชนะอุปกรณ์จะต้องมีที่ล้างภาชนะอุปกรณ์และวางสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า
๖๐ เซนติเมตร จะต้องล้างด้วยน้ำยาล้างภาชนะและล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง
หรือล้างด้วยน้ำ ไหล และต้องไม่ถ่ายเทล้างภาชนะที่มีเศษอาหารลงพื้นหรือลงสู่ท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ
(๗) ให้ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะใส่อาหาร
เครื่องมือ เครื่องใช้ สำหรับจำหน่ายหรือประกอบอาหาร
ด้วยอุปกรณ์ที่สามารถป้องกันฝุ่นละออง แมลงวัน
และสัตว์ซึ่งเป็นพาหะนำโรครวมทั้งดูแลรักษาให้สะอาด และใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๘)
ในการจับต้องอาหารที่พร้อมเสิร์ฟต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการหยิบจับอาหาร
(๙) ใช้น้ำที่สะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง แช่ ล้างอาหาร
ภาชนะ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร ปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ
(๑๐) ใช้วัสดุ ภาชนะอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดภัย และมีการออกแบบที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
สำหรับใส่หรือเตรียม ทำ ปรุง ประกอบ และจำหน่ายอาหาร
(๑๑) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งให้เอาด้ามขึ้น
หรือวางเป็นระเบียบในภาชนะที่โปร่ง สะอาด และมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า
๖๐ เซนติเมตร
(๑๒) อาหาร เครื่องปรุงรส และเครื่องดื่ม
ในภาชนะที่บรรจุปิดสนิทต้องมีฉลากและเลขสารบบอาหาร (อย.)
(๑๓) อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ เก็บในภาชนะที่ปิดสนิท
และในอุณหภูมิต่ำกว่า ๕ องศาเซลเซียส
(๑๔) อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วเก็บในภาชนะที่สะอาด
มีการปกปิดและเก็บในระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะไม่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นอันตรายในอาหารแต่ละชนิด
(๑๕) น้ำดื่ม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ต้องสะอาด
ใส่ในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด มีก๊อกหรือทางเทริน
มีอุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับตักโดยเฉพาะ และต้องไม่มีสิ่งของอื่นแช่รวมไว้
(๑๖)
น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาด เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิดสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า
๖๐ เซนติเมตร
ใช้อุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับคีบหรือตักโดยเฉพาะและต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งอื่นแช่ไว้
(๑๗)
ภาชนะที่ใช้สำหรับบริการน้ำดื่มแก่ผู้บริโภคประเภทใช้แล้วทิ้ง ห้ามนำกลับมาใช้ใหม่และประเภทใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ให้ล้างให้ถูกหลักสุขาภิบาลอาหารทุกครั้งหลังจากใช้งานแล้ว
(๑๘) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและเหตุรำคาญ
อันเนื่องจากการปรุงประกอบ และจำหน่ายอาหาร
(๑๙)
การจำหน่ายอาหารที่มีการใช้น้ำมันและความร้อนจากเปลวไฟในการปรุงโครงสร้างต้องแข็งแรงมีอุปกรณ์ป้องกันการกระเด็นของน้ำมันและเปลวไฟต้องวางอยู่ในที่ซึ่งปลอดภัยไม่เป็นทางสัญจรของประชาชนและไม่เป็นอันตรายต่อประชาชน
(๒๐)
การจำหน่ายอาหารที่ใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารต้องตั้งถังก๊าซในลักษณะตรงบนพื้นราบและแข็ง
อยู่ห่างจากแหล่งที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ๕๒ องศาเซลเซียสและเปลวไฟ หรือประกายไฟหรือวัสดุที่ทำให้เกิดไฟไหม้ได้ง่ายไม่น้อยกว่า
๑.๕ เมตร
ท่อนำก๊าซชนิดอ่อนควรใช้สายยางหรือพลาสติกชนิดหนาและเป็นชนิดที่ใช้กับก๊าซโดยเฉพาะ
โดยมีความยาวท่อไม่เกิน ๒ เมตร
(๒๑)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและไม่ถ่ายเททิ้งในท่อระบายน้ำหรือทางสาธารณะ
หลังจากจำหน่ายอาหารแต่ละวันต้องมีการเก็บรวบรวมมูลฝอยนำไปกำจัดหรือนำไปทิ้งในที่รวบรวมมูลฝอยและทำความสะอาดบริเวณพื้น
รางระบายน้ำให้สะอาดไม่มีกลิ่นเหม็นและคราบไขมันตกค้าง
(๒๒) ห้ามนำ สัตว์ทุกชนิดเข้ามาในบริเวณที่เตรียม ทำ
ประกอบ ปรุง และแผงจำหน่ายอาหาร
(๒๓)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่งและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่อนุญาตให้จำหน่ายได้เท่านั้น
(๒) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
(๓) มูลฝอยที่เกิดจากการเร่ขาย
ห้ามทิ้งลงในที่หรือทางสาธารณะและจะต้องจัดให้มีที่รองรับน้ำทิ้งที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้าและต้องมีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องตามสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอและต้องมีการเก็บรวบรวมมูลฝอยนำไปกำจัดหรือนำไปทิ้งในที่รวบรวมมูลฝอยที่ทางองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณจัดไว้ให้
(๔) ในขณะที่เร่ขายสินค้า ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป
หรือส่งเสียงดังจนเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อื่น
(๕) ห้ามนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์
หรือล้อเลื่อนไปจอดบนทางเท้าเพื่อขายสินค้า
(๖)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ คำสั่ง และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขายผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘
(๒) อาหารที่เร่ขายต้องสะอาด
ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค
(๓) ใช้วัสดุ ภาชนะ หีบห่อที่สะอาด ปลอดภัย
สำหรับใส่อาหาร
(๔) ดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการเร่ขายอาหาร ให้สะอาด และใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๕) จัดอาหารแยกตามประเภทของอาหารให้เป็นระเบียบ
(๖) แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีแขน สวมหมวก
หรือสิ่งที่เก็บรวบผมให้เรียบร้อยและสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาดเรียบร้อย
สวมรองเท้าขณะทำการเร่ขายอาหาร
(๗) ตัดเล็บมือให้สั้น
และต้องรักษามือให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้ามีบาดแผล ฝี หนอง บริเวณมือ นิ้ว หรือแขน
ต้องปิดบาดแผลให้มิดชิด
(๘) ไม่สูบบุหรี่ หรือไอ จาม
รดบนอาหารในขณะเร่ขายอาหาร
(๙)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติ คำสั่งและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ
ดังต่อไปนี้
(๑) วัณโรค
(๒) อหิวาตกโรค
(๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์)
(๔) โรคบิด
(๕) ไข้สุกใส
(๖) โรคคางทูม
(๗) โรคเรื้อน
(๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ
(๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส
(๑๐) โรคติดต่ออื่น ๆ ที่ทางราชการกำหนด
ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจของผู้ขอรับใบอนุญาต
(๒) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขอรับใบอนุญาต
(๓)
ใบรับรองแพทย์ของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่ายอาหาร
(๔)
รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรงไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นตากันแดด ขนาด ๑ นิ้ว ของผู้ขอรับใบอนุญาตและผู้ช่วยจำหน่าย
ท่านละ ๒ รูป
(๕) อื่น ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณประกาศกำหนด
ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐
(๒) ต้องมีการเก็บรวบรวมมูลฝอยที่ถูกต้องตามสุขลักษณะ
(๓)
ให้มีการจำหน่ายสินค้าได้เฉพาะพื้นที่และขอบเขตที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณประกาศกำหนด
(๔)
ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ
๑๑ หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๑๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔ ในการออกใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิดหรือประเภทของสินค้า ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า
และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้
การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทสินค้า
ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตจะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาต
ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ประกาศกำหนด
และจะต้องติดบัตรประจำตัวไว้ที่อกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๑๗
บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ โดยอนุโลม
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๙ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณกำหนด
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๒ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(๑) ใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราคำว่า ใบแทน กำกับไว้และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลามมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและตัวขั้วใบแทน
(๒) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม
ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี
และเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ. ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๒๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๙ คำขออนุญาตใด ๆ
ที่ได้ยื่นไว้ตามข้อบังคับตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาให้ถือว่าเป็นคำขออนุญาตตามข้อบัญญัตินี้โดยอนุโลม
และถ้าคำขออนุญาตดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขออนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขออนุญาตเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ได้
ข้อ ๓๐ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบังคับขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้คงใช้ต่อไปจนกว่าใบอนุญาตนั้นๆจะสิ้นอายุ
ข้อ ๓๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พนอ เดชวัน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๒๒/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793929 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง
ตลาด
พ.ศ.
๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ว่าด้วยตลาด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณและนายอำเภอปราณบุรี
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ตลาด หมายความว่า
สถานที่ซึ่งปกติจัดให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมชุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด
ประกอบหรือปรุงแล้วของเสียง่าย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด
สินค้า หมายความว่า
สิ่งของที่ซื้อขายกัน
อาหาร หมายความว่า
อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
อาหารสด หมายความว่า
อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด
อาหารสัตว์ชำแหละ หมายความว่า
อาหารสดประเภทสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ
แผงจำหน่ายอาหารซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำชำระล้างอยู่เสมอ เช่น ปลา กุ้ง ไก่ สัตว์อื่น
ๆ เป็นต้น
อาหารแปรรูป หมายความว่า
อาหารสดที่แปรรูปทำให้แห้งหรือหมักดอง หรือในรูปอื่น ๆ
รวมทั้งที่ใช้สารปรุงแต่งอาหาร
อาหารปรุงสำเร็จ หมายความว่า
อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ ปรุง จนสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้
รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ ที่มิได้บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท
แผงจำหน่ายอาหาร หมายความว่า
แผงหรือสถานที่ที่มีการปรุง ประกอบอาหาร จนสำเร็จที่ผู้บริโภคสามารถซื้อบริโภคได้
โดยจะมีการล้างทำความสะอาดและภาชนะอุปกรณ์ด้วย
การล้างตลาดตามหลักสุขาภิบาล หมายความว่า
การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงขายของในตลาด พื้น ผนัง เพดาน รางระบายน้ำ ห้องน้ำ
ห้องส้วม และบริเวณต่าง ๆ รอบตัวอาคารตลาดให้สะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล มูลฝอย
หยากไย่ ฝุ่นละออง คราบสกปรกและอื่น ๆ รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อโรค
และกำจัดสัตว์พาหะนำโรค ทั้งนี้
สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัด น้ำเสียของตลาด
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช้เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร
เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลง ขยาย
หรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่
แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ข้อ ๖ ตลาดแบ่งออกเป็น
๒ ประเภทดังนี้
(๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร
และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑
(๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่
ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร และมีลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒
ข้อ ๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐
เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก
ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ส่วนที่
๑
ตลาดประเภทที่
๑
ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑
ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ อาคาร
สิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ
ที่เก็บรวบรวม หรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะ ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง
(๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง
(๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน
ความสูงของหลังคาต้องมี ความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น
(๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง
ไม่ดูดซึมน้ำ เรียบ ล้างทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น
(๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร
และแข็งแรง สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด
(๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม
และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ
(๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐
ลักซ์
(๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ
มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวก
โดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง
(๑๐)
น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้
ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก
ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล
(ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด
และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำ ไม่น้อยกว่า ๓ ก๊อก กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่
๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด ๑ จุดต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐
แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง ให้ถือเป็น ๓๐ แผง
(ข)
มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ
และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ
(ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้
กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕
ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง
ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง
(๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ทั้งนี้ ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย
(๑๒)
การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ความใน (๑) และ (๕)
มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ใช้บังคับ และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด
ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้
ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ
มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน
และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้บังคับ
และมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้
ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วม
ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด
หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ มีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง
ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย
ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก
มีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น
ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ส่วนที่
๒
ตลาดประเภทที่
๒
ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒
ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย
ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๒) บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ
โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น
สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต
พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์
(๓)
แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ ทำความสะอาดง่าย
มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และอาจเป็นแบบพับเก็บได้
(๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ
และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหารและภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด
แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ
(๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง โดยเป็นรางแบบเปิด
ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก
มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ
และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมัน หรือบ่อพักน้ำเสีย
ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้
(๖)
กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์ ร่ม
หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม
ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่ ส้วมสาธารณะ
ส้วมเอกชนหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐
เมตร
ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน
และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่
๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว
ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่ ๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนา
เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่
๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามข้อบัญญัตินี้ ตามระยะเวลา
และขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน
เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร
ข้อ ๒๐ การเปิดและปิดตลาดต้องเป็นไปตามเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑
ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับ การบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด
ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน
แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น
สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น
(๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด
และดูแลความสะอาดของตะแกรง ดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน
ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้งและทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน
และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ
(๓) ดูแลห้องส้วม
ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี
และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด
(๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน
โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ
และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้
(๕)
จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
(๖)
ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลวไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด
และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด
ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒
ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับ การบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ
มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน
และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ
(๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ
ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด
(๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน
โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ
ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ
(๔)
จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด
ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ
มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ
ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒
ต้องไม่กระทำการและต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ ดังต่อไปนี้
(๑) จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด
(๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด
เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย
(๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ
แกะหรือสุกรในตลาด
รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น
(๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด
จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญ เกิดมลพิษที่เป็นอันตราย
หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
(๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด
นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล
(๖)
ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๗)
ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
(๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน
(๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ
ความสั่นสะเทือน หรือมีกลิ่นเหม็น
ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด
เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑)
การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด
(๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า
(๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน
(๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม
(๕) การล้างตลาด
(๖) การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ
ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๗)
การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด
โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด
และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศ
และแสงสว่าง ทั้งนี้ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒)
ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร
(๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม
และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๔) ห้ามเก็บสินค้าประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า
เว้นแต่อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสียและปกปิดมิดชิด ทั้งนี้
ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
(๕) ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง
(๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ
ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ เช่น อหิวาตกโรค
ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย
โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนัง
ที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์
และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด
เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๓) ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล
เช่น ไม่ไอหรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง
ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา ทั้งนี้
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำ ของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย
ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ
น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด
และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ว่าด้วยอาหาร
(๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์
และอาหารทะเลต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส
ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ
(๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้
ภาชนะที่สะอาด และ ต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาด
และใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ
และปรุงอาหาร
ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร
(๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น
เขียง เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ
และแก้วน้ำต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาด และจัดเก็บที่ถูกต้อง
ข้อ ๒๘ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหาร
ส่วนตำบลปากน้ำปราณกำหนด พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณประกาศกำหนด
ข้อ ๒๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องรักษาส้วมให้ได้สุขลักษณะอยู่เสมอ
(๒) ต้องจัดให้มีคนงานทำความสะอาดเพียงพอ
และต้องรักษาความสะอาดให้สะอาดอยู่เสมอ
(๓) ต้องจัดการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลในตลาด
ตามข้อบัญญัติของท้องถิ่น หรือคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
โดยเก็บกวาดให้แล้วเสร็จภายใน ๒๔ ชั่วโมง หลังปิดตลาด
(๔) ต้องจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอภายในตลาดเวลากลางคืน
(๕) ดูแลมิให้บุคคลใด
นอกจากผู้มีหน้าที่เฝ้าตลาดใช้ตลาดเป็นที่หลับนอน
(๖)
ต้องจัดเก็บสิ่งของให้เรียบร้อยปลอดภัยจากสัตว์นำโรคต่าง ๆ และสะดวกแก่
การทำความสะอาดระหว่างเปิดตลาด
ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๓๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๒ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๘ และข้อ ๒๙ ด้วย
ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด
ฉบับละ ๒,๐๐๐ บาท
ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๓๔ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณกำหนด
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก
การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง หรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๔๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
พนอ เดชวัน
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ
ปวันวิทย์/อัญชลี/จัดทำ
๔
มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๙ ง/หน้า ๗/๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793547 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยและนายอำเภอท่าฉางจึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับถัดจากวันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
ประกาศและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึง สิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร
เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่นและหมายความรวมถึง มูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ
คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ข้อ
๕ การเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยให้เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้
และข้อ ๙ มิให้ใช้บังคับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินการโรงงานที่มีของเสียอันตราย
และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว
แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยและระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น
ข้อ
๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้
การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ
ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือ มูลฝอย
ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ
นอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยจัดไว้ให้
(๒)
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ
ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของ
เจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ
๙ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓)
อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยประกาศกำหนด
ข้อ
๑๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตตาม ข้อ ๙
จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล
(๑.๑)
ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
(๑.๑.๑)
ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๑.๑.๒)
ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิด
สามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหนะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน
(๑.๑.๓)
มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย
(๑.๑.๔)
ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล ต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่วซึม
(๑.๑.๕)
มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน
๕ %)
(๑.๑.๖)
ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
เช่น รถดูดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น
และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต
ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ
ด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยประกาศกำหนด
(๑.๒)
ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง
สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๑.๓)
กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเอง ต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำ
สิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด
(๒)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๑)
หลักฐานที่จำเป็นเพื่อแสดงการมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อ ๑๐
(๒.๒)
แผนงานการดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล ดังต่อไปนี้
(๒.๒.๑)
ประเภทของสิ่งปฏิกูลที่ต้องการรับกำจัด
(๒.๒.๒)
วิธีการกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
(๒.๒.๓)
วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมเหตุรำคาญ
ความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน รวมทั้งสุขอนามัยของประชาชน
(๒.๓)
รายละเอียดในการดำเนินกิจการดังนี้
(๒.๓.๑) รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ที่จะใช้ในการดำเนินกิจการกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๓.๒)
แบบแปลนและรายละเอียดของโรงงานกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๓.๓)
แสดงหลักฐานรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน
และโรงงานที่จะใช้ในการดำเนินกิจการดังกล่าวว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขออนุญาตและโดยมีภาระติดพันหรือไม่อย่างใดหรือสิ่งใด
ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นที่ผู้ขออนุญาตได้เช่าหรือได้มาด้วยวิธีการและเงื่อนไขใด
(๒.๔)
หลักฐานอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๓)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอย
(๓.๑)
หลักฐานที่จำเป็นเพื่อแสดงการมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อ ๑๐
(๓.๒)
แผนงานการดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอย ดังต่อไปนี้
(๓.๒.๑)
ประเภทของมูลฝอยที่ต้องการเก็บ ขน
(๓.๒.๒)
วิธีการเก็บ ขน มูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ
(๓.๒.๓)
วิธีการแยกหรือคัดเลือกมูลฝอยก่อนการเก็บ ขน (ถ้ามี)
(๓.๒.๔)
วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมเหตุรำคาญ
ความปลอดภัยต่อคุณภาพชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน รวมทั้งสุขอนามัยของประชาชน
(๓.๒.๕)
สถานที่และวิธีการในการกำจัดมูลฝอยที่เก็บ ขน
(๓.๓)
รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานและทรัพย์สินที่จะใช้ในการดำเนินกิจการชั้นต้นดังนี้
(๓.๓.๑)
จำนวนพนักงานที่คาดว่าจะต้องมี และหน้าที่โดยสังเขป
(๓.๓.๒)
จำนวนและประเภทของยานพาหนะ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บขน
(๓.๓.๓)
สถานที่รวบรวมมูลฝอย (ถ้ามี)
ทั้งนี้
ผู้ขออนุญาตต้องระบุด้วยว่าทรัพย์สินที่จะใช้ในการดำเนินกิจการดังกล่าว
สิ่งใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขออนุญาตและโดยมีภาระติดพันหรือไม่อย่างใด
หรือสิ่งใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นที่ผู้ขออนุญาตได้เช่าหรือจะเช่าหรือได้มาหรือจะได้มาด้วยวิธีการและเงื่อนไขใด
(๓.๔)
หลักฐานอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๔)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย
(๔.๑) หลักฐานที่จำเป็นเพื่อแสดงการมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อ
๑๐
(๔.๒)
แผนงานการดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย ดังต่อไปนี้
(๔.๒.๑)
ประเภทของมูลฝอยที่ต้องการรับกำจัด
(๔.๒.๒)
วิธีการเก็บ ขนมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ
(๔.๒.๓)
วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การควบคุมเหตุรำคาญ
ความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน รวมทั้งสุขอนามัยของประชาชน
(๔.๓)
รายละเอียดในการดำเนินกิจการดังนี้
(๔.๓.๑)
รายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ที่จะใช้ในการดำเนินการกำจัดมูลฝอย
(๔.๓.๒)
แบบแปลนและรายละเอียดของโรงงานกำจัดมูลฝอย
(๔.๓.๓)
แสดงหลักฐานเกี่ยวกับที่ดิน
และโรงงานที่จะใช้ในการดำเนินกิจการดังกล่าวว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ขออนุญาต และโดยมีภาระติดพันหรือไม่อย่างใดหรือสิ่งใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลอื่นที่ผู้ขออนุญาตได้เช่าหรือจะเช่าหรือได้มาหรือจะได้มาด้วยวิธีการและเงื่อนไขใด
(๔.๔)
หลักฐานอื่นใดตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้อง
หรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต
ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา
ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๑๔ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล
(๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูล
ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม ถุงมือยางและรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง
และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยาง
หลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
(๑.๒)
ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล
โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้วให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลและทำความสะอาดท่อ
หรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%)
(๑.๓)
ทำความสะอาดพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง
หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้าง
ต้องได้รับการบำบัด หรือกำจัดด้วยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะก่อนปล่อยทิ้งสู่สาธารณะ
(๑.๔)
กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น
ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด
(๑.๕)
มีการตรวจสุขภาพแก่ผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
(๒)
ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๑ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ หรือประกาศ
ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๒.๒)
ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๑ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง
(๓)
ผู้ได้รับดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย
(๓.๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๑ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ หรือประกาศ
ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๓.๒)
ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๑ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง
(๔)
ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย
(๔.๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๑ จะต้องปฏิบัติตามระเบียบ หรือประกาศ
ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๔.๒)
ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๑ จะต้องต่ออายุใบอนุญาตปีละ ๑ ครั้ง
ข้อ
๑๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาต
จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ข้อ
๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้
ท้ายข้อบัญญัติในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียม
ครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้
จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ
ข้อ
๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก
การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องถิ่นที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่
มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
จะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปี
นับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๒๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ต้องดำเนินการเก็บ ขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ
๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ประดิษฐ์ จันทร์แจ่มใส
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.
คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
๓.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
๔.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๑๔๒/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793553 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้โดยได้รับความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้และนายอำเภอเมืองกำแพงเพชร
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
ประกาศและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์
รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์
ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึง ผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
พนักงานส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้
ให้พื้นที่ต่อไปนี้
เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด
(๑.๑)
ที่หรือทางสาธารณะ
(๑.๒)
สถานที่ราชการ
(๑.๓)
สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ
(๑.๔)
ตลาด
ข้อ
๖ กรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ
๕ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาด
และค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่ง
และเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ
๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่
ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
สม กลัดอยู่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๑๕๒/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793545 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
และนายอำเภอท่าฉางจึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับถัดจากวันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
ประกาศและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
ขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุง
ตลอดจนการให้อาหารอยู่เป็นประจำสม่ำเสมอ
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การสละการครอบครองสัตว์โดยปราศจากการควบคุมดูแลเป็นการชั่วคราว
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึง
ผู้ซึ่งครอบครองสัตว์นั้นด้วย
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า คอก กรง ที่ขัง
หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน
และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรร่วมกันได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานส่วนตำบลองค์การบริหารส่วนตำบล
ท่าเคยที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๕ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้
(๑)
ให้พื้นที่ต่อไปนี้ เป็นเขตห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์โดยเด็ดขาด
(๑.๑)
ที่สาธารณะประจำหมู่บ้านและตำบล เช่น สนามกีฬา ที่หยุดรถไฟ สนามเด็กเล่น
ถนนสาธารณะ วัด ศาลาประจำหมู่บ้าน ฯลฯ
(๑.๒)
สถานที่ราชการ เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล โรงเรียน ฯลฯ
ข้อ ๖ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืน ข้อ ๔
โดยไม่ปรากฏเจ้าของ
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวันเมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน
ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น
หรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่ง
และเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้น
เป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ
๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ข้อใดข้อหนึ่ง
มีความผิดตามมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๙ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกวางระเบียบปฏิบัติตามที่เห็นสมควร
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ประดิษฐ์ จันทร์แจ่มใส
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๑๓๙/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793527 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
ว่าด้วยการจัดการ สิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
และนายอำเภอบ้านดุงจึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์แล้วสิบห้าวัน
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว
ก่อนข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร
เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ
คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ การเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
บ้านจันทน์ให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์อาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอันดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทน
ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
ข้อ
๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
หรือเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น
ข้อ
๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
หรือเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ ทั้งนี้
การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์จะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ
๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ
ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง หรือทำใหม่ขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ในที่หรือทางสาธารณะเป็นต้นว่า ถนน ตรอก ซอย แม่น้ำ คู สระน้ำ บ่อน้ำ
เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์จัดไว้ให้โดยเฉพาะ
(๒)
ห้ามมิให้ผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปในที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะ
หรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก
(๓)
ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีซึ่งสิ่งปฏิกูลลงในที่รองรับมูลฝอย
(๔)
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการถ่าย เท ขน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลในถังรับ รถขน เรือขน
สถานที่เทเก็บหรือพักสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
(๕)
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการขน ถ่าย เท คุ้ย เขี่ย ขุด
หรือเคลื่อนย้ายมูลฝอยในที่รองรับรถขน เรือขนหรือสถานที่พักมูลฝอยใด ๆ
ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
(๖)
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๗)
ที่รองรับสิ่งปฏิกูลต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่มีกลิ่นเหม็นรั่ว
ออกมาข้างนอก และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่ว มีฝาปิดมิดชิด กันแมลงและสัตว์ได้
ตามแบบซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ
(๘)
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ต้องรักษาบริเวณอาคาร
หรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่าย เท
หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ
(๙)
ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอย อันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น กลิ่น ควัน หรือแก๊ส เป็นต้น
เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ
หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๙ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่า
อาคาร สถานที่หรือบริเวณใดควรทำการเก็บ ขน
สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยไปทำการกำจัดให้ต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือบริเวณนั้น
ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน หรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย
กำหนดบริเวณที่ต้องทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย
ไม่น้อยกว่าสามแห่งเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับตั้งแต่วันประกาศแล้ว
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ
จะต้องให้เจ้าหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่ฝ่ายเดียวเท่านั้น
เก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยจากอาคาร สถานที่ หรือบริเวณนั้น ๆ
ซึ่งตนเป็นเจ้าของหรือครอบครองอยู่โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บขนตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๑๑ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ สม. ๑
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมกับเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒)
สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓)
สำเนาการจดทะเบียนนิติบุคคล/ทะเบียนพาณิชย์
(๔)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)
สำเนาเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๑๑
ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
และเงื่อนไขตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์กำหนดดังนี้
(๑)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล
(๑.๑)
ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม) ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
(๑.๑.๑)
ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๑.๑.๒)
ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิด
สามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิด - เปิดอยู่ด้านบน
(๑.๑.๓)
มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลชนิดเฮพวี่ ดิวตี้ (Heavy Duty) คือ
ปั๊มสูบตะกอนที่สามารถสูบตะกอนของแข็งได้ และติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลและอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
(๑.๑.๔)
ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่ว ไม่ซึม
(๑.๑.๕)
มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาดับกลิ่น
น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%)
(๑.๑.๖)
ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวรถพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
ให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล เช่น รถดูดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียน ใบอนุญาตประกอบกิจการ
ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต
ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ไว้ทั้งสองด้านของตัวรถ
โดยขนาดตัวอักษรต้องสูงไม่น้อยกว่า ๑๐ เซนติเมตร
(๑.๑.๗)
สีของรถพาหนะเก็บขนถ่ายสิ่งปฏิกูล ต้องกำหนดให้มีสีต่างจากรถเก็บ
ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
(๑.๒)
ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง ผ้าปิดปาก ปิดจมูก
สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๑.๓)
กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐาน (ใบนำส่ง สิ่งปฏิกูล)
ว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด
(๒)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๑)
สถานที่ดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล ต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ศาสนสถาน
สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ แหล่งน้ำสาธารณะ โดยให้คำนึงถึงการป้องกัน
มิให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หรือเหตุรำคาญแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
(๒.๒)
ต้องมีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล เช่น
(๒.๒.๑)
ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลโดยการหมักย่อยสลาย (Composting and Digestion) ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(ก)
ถุงหมักย่อยสลาย ประกอบด้วย ถุงคอนกรีตที่ก่อสร้างขึ้น จำนวน ๓๑ ถัง มีฝาปิดมิดชิด
ถุงหมักแต่ละถุงต้องมีท่อระบายอากาศ ภายในถุงหมักจะบรรจุสิ่งปฏิกูลที่ได้จากรถสูบสิ่งปฏิกูลที่ไปสูบมาจากส้วมตามบ้านเรือนและอาคารต่าง
ๆ แล้วนำมาถ่ายลงในถุงหมักนี้
ภายในถุงหมักจะเกิดการย่อยสลายสิ่งปฏิกูลโดยแบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Digestion) ทำการหมักอย่างน้อย ๒๘ วัน เพื่อทำลายเชื้อโรค พยาธิและไข่พยาธิที่ปะปนมากับสิ่งปฏิกูล
(ข)
ลานทรายกรอง ภายหลังจากสิ่งปฏิกูลและน้ำที่ทำการหมัก ในถุงหมักจนครบเวลาตามข้อ
(๒.๒.๑)
แล้วจึงปล่อยลงสู่ลานทรายกรองซึ่งจะทำหน้าที่กรองสิ่งปฏิกูลให้เหลือตกค้างอยู่ด้านบนส่วนน้ำก็จะซึมผ่านลานทรายกรองสู่ท่อน้ำทิ้งด้านล่าง
เพื่อรวบรวมน้ำไปสู่บ่อพักน้ำเก็บไว้รดต้นไม้หรือบำบัดก่อนปล่อยเป็นน้ำทิ้งต่อไป
สำหรับตะกอนที่กรองอยู่ด้านบนลานทรายกรองนั้น
ให้ตากแดดจนแห้งสนิทเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคโดยแสงอาทิตย์อีกขั้นหนึ่ง
จากนั้นจึงนำไปย่อยหรือบดให้มีขนาดเล็กลงเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
โดยการจัดวางระบบต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขและหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒.๓)
ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ผ้าปิดปาก ปิดจมูก ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง มีอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด
พลั่ว น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๒.๔)
ต้องมีผู้ควบคุมหรือดูแลหรือผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมหรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
(๓)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนมูลฝอย
(๓.๑)
ต้องมีพาหนะเก็บขนมูลฝอย ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
(๓.๑.๑)
ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๓.๑.๒)
ส่วนของรถที่ใช้เก็บขนมูลฝอย ต้องปกปิดมิดชิด สามารถ ป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้ และไม่ทำให้มูลฝอยหกล้น
หรือปลิวฟุ้งกระจายขณะขนย้าย
(๓.๑.๓)
ส่วนของรถที่ใช้เก็บขนมูลฝอย ต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่ว ไม่ซึม
(๓.๑.๔)
มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ไม้กวาด น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น
ไลโซน ๕%)
(๓.๑.๕)
ต้องมีข้อความแสดงที่ตัวรถพาหนะเก็บขนมูลฝอย
เพื่อให้รู้ว่าเป็นรถที่ใช้เก็บขนมูลฝอย เช่น รถเก็บขนมูลฝอย เป็นต้น และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาต ประกอบกิจการ
ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน
พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ไว้ทั้งสองด้านของตัวรถ โดยขนาดตัวอักษรต้องสูงไม่น้อยกว่า
๑๐ เซนติเมตร
(๓.๑.๖)
สีของรถพาหนะเก็บขนมูลฝอย ต้องกำหนดให้มีสีต่างจากรถเก็บขนมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
(๓.๒)
ต้องจัดให้มีผ้าปิดปาก ปิดจมูก เสื้อสะท้อนแสง ถุงมือยาง
รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด พลั่ว
น้ำยาดับกลิ่น น้ำยา ฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๓.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดมูลฝอยของตนเองต้องแสดงหลักฐาน
(ใบนำส่งมูลฝอย)
ว่าจะนำมูลฝอยไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด
(๔)
ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย
(๔.๑)
สถานที่ดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอยต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน ศาสนสถาน สถานศึกษา
โรงพยาบาล สถานที่ราชการ แหล่งน้ำสาธารณะ โดยให้คำนึงถึงการป้องกัน
มิให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหรือเหตุรำคาญแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
(๔.๒)
ต้องมีระบบกำจัดมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล เช่น อาจจะเป็นระบบ เตาเผา (Incinerater)
หรือระบบฝังกลบ (Sanitaly Land-fill) หรือระบบหมักเป็นปุ๋ย
(Decompose) ซึ่งแต่ละระบบจะต้องมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน
และประชาชนข้างเคียง
รวมทั้งการป้องกันเหตุรำคาญด้วยโดยการจัดวางระบบต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข
และหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔.๓)
ต้องมีผู้ควบคุมหรือดูแลหรือผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม
หรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
(๔.๔) ต้องจัดให้มีผ้าปิดปาก ปิดจมูก เสื้อคลุม ถุงมือยาง
รองเท้าหนังยาง หุ้มสูงถึงแข้ง อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด พลั่ว
น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
ข้อ
๑๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ
๑๑ หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๑๘
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าว ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต
ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาต
หากปรากฏว่าผู้ขออนุญาตปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้ว
และเป็นกรณีที่เห็นสมควรให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามแบบ สม. ๒ หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวัน
นับแต่ที่ได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐาน ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องครบถ้วน ตามข้อ ๑๑
และข้อ ๑๒ แล้ว ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบ
ก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๔ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตรา
ท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับใบอนุญาต
และชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๑๕ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อ
๑๓ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูล
(๑.๑)
ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูล ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม สวมผ้าปิดปาก
ปิดจมูก ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง และทำความสะอาดเสื้อคลุม
ถุงมือยาง รองเท้าหนังยาง และร่างกายผู้ปฏิบัติงาน
หลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
(๑.๒)
ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูล เสร็จแล้ว
ให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถุงเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลและทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
(เช่น ไลโซน ๕%)
(๑.๓)
ทำความสะอาดรถขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง
หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล
คือน้ำล้างจะต้องผ่านการบำบัดน้ำเสียหรือปล่อยลงสู่ลานทรายซึมชนิดร่องซึมโดยต้องห่างจากแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ไม่น้อยกว่า
๓๐ เมตร
(๑.๔)
กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น
ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด
(๑.๕) มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยเฉพาะการตรวจโรคระบบทางเดินอาหาร
(๑.๖)
ห้ามนำรถไปใช้ในกิจการอื่น
(๑.๗)
ต้องดูแลมิให้ข้อความบนตัวถังรถลบเลือน
(๑.๘)
ต้องมีใบอนุญาตติดประจำรถ
(๑.๙)
รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต
(๑.๑๐)
ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๑๖
(๑.๑๑)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย
และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งข้อบัญญัติ ระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
(๒)
ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๑)
ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมและมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษา
ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลและอยู่ประจำที่ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๒)
เจ้าหน้าที่ต้องสวมเสื้อคลุม สวมถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง
และสวมผ้าปิดปาก จมูก ขณะปฏิบัติงาน
(๒.๓)
เจ้าหน้าที่จะต้องดูแลให้รถสูบสิ่งปฏิกูลต้องทิ้งสิ่งปฏิกูลลงถังหมัก
ตรงตามถังที่กำหนดในแต่ละวัน เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งปฏิกูลหมักนานอย่างน้อย ๒๘ วัน
(กรณีมีความจำเป็น ต้องใส่สิ่งปฏิกูลหลาย ๆ ครั้ง หรือหลาย ๆ วันในหนึ่งถัง
เนื่องจากสิ่งปฏิกูลยังไม่เต็มถังให้เริ่มต้นนับจากวันที่ใส่สิ่งปฏิกูลครั้งสุดท้าย)
(๒.๔) ถ้ามีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราดให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
(เช่น ไลโซน
๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด
(๒.๕)
ต้องปิดฝาถังหมักสิ่งปฏิกูลทุกครั้ง หลังจากที่ใส่สิ่งปฏิกูลลงในถังหมักแล้ว
(๒.๖)
เจ้าหน้าที่ดูแลระบบจะต้องลงบันทึกเลขที่รถสูบสิ่งปฏิกูล และปริมาตร สิ่งปฏิกูลที่นำมาทิ้งทุกครั้ง
เป็นการป้องกันไม่ให้รถนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งที่อื่น
(๒.๗)
ทุกครั้งที่ปล่อยสิ่งปฏิกูลจากถังหมัก เมื่อสิ่งปฏิกูลไหลออกจะหมด ให้ใช้
ไม้แหย่ท่อระบายเพื่อช่วยให้ตะกอนที่ค้างอยู่ก้นถังหมักไหลออกมาให้หมด
และควรใช้น้ำฉีดไล่ตะกอน ที่ค้างอยู่ก้นถังหมักอย่างน้อย ๓ เดือนต่อครั้ง
(๒.๘)
การดูแลลานทรายกรอง ให้ทำความสะอาดหน้าลานทรายกรอง
เมื่ออัตราการซึมเริ่มช้าลงโดยใช้อุปกรณ์ลอกหน้าลานทรายกรองออกแล้วเติมทรายใหม่
และต้องคอยเติมทรายให้ได้ความสูงตามที่กำหนดไว้
(๒.๙)
การโกยตะกอนที่ตากแห้งแล้วไปทำปุ๋ย ให้ทิ้งไว้นาน ๓ วัน
หลังจากที่ตะกอนแห้งแล้วจึงโกยตะกอนที่ตากแห้งสนิทนำไปบดก่อนนำไปใช้ทำเป็นปุ๋ย
(๒.๑๐)
หากมีอุปกรณ์ส่วนไหนชำรุดต้องแจ้งซ่อมทันที
(๒.๑๑)
เจ้าหน้าที่ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
โดยเฉพาะการตรวจโรคระบบทางเดินอาหาร
(๒.๑๒)
รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต
(๒.๑๓)
ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๑๖
(๒.๑๔)
ปฏิบัติการอันใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย
และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งข้อบัญญัติ
ระเบียบและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
(๓)
ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนมูลฝอย
(๓.๑)
ขณะทำการเก็บขนมูลฝอย ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานผูกผ้าปิดปาก ปิดจมูก
สวมถุงมือยาง สวมเสื้อสะท้อนแสง สวมรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง
สวมเสื้อและกางเกงให้มิดชิด และทำความสะอาดผ้าปิดปาก ปิดจมูก เสื้อ กางเกง
ถุงมือยาง รองเท้าหนังยาง
และร่างกายผู้ปฏิบัติงานหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
(๓.๒)
การเก็บขนมูลฝอยต้องจัดเก็บให้เรียบร้อย มิให้มีมูลฝอยตกค้าง
(๓.๓)
ขณะขนย้ายต้องไม่ทำให้มูลฝอยตกหล่น หรือฟุ้งกระจายตามท้องถนน
(๓.๔)
ทำความสะอาดรถเก็บขนมูลฝอย อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้าง ต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล
คือน้ำล้างจะต้องผ่านการบำบัดน้ำเสีย หรือปล่อยลงสู่ลานทรายซึมชนิดร่องซึม
โดยต้องห่างจากแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร
(๓.๕)
มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยเฉพาะ
การตรวจโรคระบบทางเดินอาหาร
(๓.๖)
ห้ามนำรถไปใช้ในกิจการอื่น
(๓.๗)
ต้องดูแลมิให้ข้อความบนตัวถังรถลบเลือน
(๓.๘)
ต้องมีใบอนุญาตติดประจำรถ
(๓.๙)
รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต
(๓.๑๐)
ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๑๖
(๓.๑๑)
ปฏิบัติการอันใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาด
ปลอดภัยและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งข้อบัญญัติ ระเบียบและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
(๔)
ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย
(๔.๑)
การกำจัดมูลฝอยต้องถูกหลักสุขาภิบาลและมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและประชาชนข้างเคียง
รวมทั้งการป้องกันเหตุรำคาญ เช่น
(๔.๑.๑)
ระบบเตาเผา (Incinerater) ต้องควบคุมไม่ก่อให้เกิดเขม่า เถ้า
ฝุ่นละอองที่ไปกระทบความเป็นอยู่ของประชาชนข้างเคียง
(๔.๑.๒)
ระบบฝังกลบ (Sanitaly Land - fill) ต้องมีระบบรองรับน้ำขยะ (Leachate) ไปกำจัดโดยต้องควบคุมไม่ปล่อยให้ไปปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติ
(๔.๑.๓)
ระบบหมักเป็นปุ๋ย (Decompose) ต้องควบคุมไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นที่รุนแรง
หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์พาหะนำโรค โดยเฉพาะแมลงวัน หนู แมลงสาบ หรืออื่น ๆ
(๔.๒)
ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรม หรือมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษา
ระบบกำจัดมูลฝอยและอยู่ประจำเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานที่ระบบกำจัดมูลฝอย
(๔.๓)
เจ้าหน้าที่ต้องสวมเสื้อคลุม สวมถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง
และสวมผ้าปิดปาก ปิดจมูก ขณะปฏิบัติงาน
(๔.๔)
มีการตรวจสุขภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
โดยเฉพาะการตรวจโรคระบบทางเดินอาหาร
(๔.๕)
รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๒ ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต
(๔.๖)
ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้ตามข้อ ๑๖
(๔.๗)
ปฏิบัติการอันใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งข้อบัญญัติ ระเบียบ
และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
ข้อ
๑๖ ในการให้บริการตามใบอนุญาตผู้รับใบอนุญาตต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ
กับผู้รับบริการทุกราย โดยสัญญาดังกลาวอย่างน้อยต้องระบุถึงอัตราค่าบริการ
ระยะเวลาในการให้บริการ และความรับผิดชอบในกรณีผิดสัญญา
โดยส่งสำเนาสัญญาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในกำหนดสามสิบวันก่อนวันที่เริ่มการให้บริการ
ข้อ
๑๗ เมื่อผู้รับใบอนุญาตจะยกเลิกการให้บริการแก่ผู้รับบริการรายใด
ต้องทำเป็นหนังสือแจ้งพนักงานท้องถิ่นล่วงหน้าก่อนเลิกการให้บริการอย่างน้อยสิบห้าวัน
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างผู้รับใบอนุญาตกับผู้รับบริการ
เช่น การเปลี่ยนอัตราค่าบริการ
ผู้รับใบอนุญาตต้องส่งสำเนาสัญญาที่แก้ไขแล้วนั้นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ภายในกำหนดสิบห้าวันก่อนวันที่ได้เริ่มการให้บริการตามสัญญาใหม่
ข้อ
๑๘ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์เท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาต
จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ ตามแบบ สม. ๓
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓
โดยอนุโลม
ข้อ
๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลากำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๒๐ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
ข้อ
๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้
จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขนส่งตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๒๒ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๒๓ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
หรือหากประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต ให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการ
หรือแก้ไขรายการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบ สม. ๔
ข้อ
๒๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามแบบ สม. ๔
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑)
ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๓) การออกใบแทนใบอนุญาต ให้ใช้แบบ สม. ๒
โดยประทับตราสีแดงว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย
และให้มีวัน เดือน ปีที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๔)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
(๕)
บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ถึงสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่
ปีของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ
๒๕ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑)
คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้ใช้แบบ
สม. ๑
(๒)
ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้ใช้แบบ สม. ๒
(๓)
คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ให้ใช้แบบ
สม. ๓
(๔)
คำขออนุญาตต่าง ๆ เช่น แก้ไขเปลี่ยนแปลงกิจการ ขอรับใบแทนใบอนุญาต
บอกเลิกการดำเนินกิจการ ให้ใช้แบบ สม. ๔
ข้อ
๒๖ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๒๗ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งพักถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ
ตามที่ได้รับใบอนุญาต ตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๒๘ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๙ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
จะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้
จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๓๐ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ ต้องดำเนินการเก็บ ขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูล
หรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ
๓๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สะดวก นาหิรัญ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม ต่อท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
๒.
บัญชีอัตราค่าบริการขนท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านจันทน์ เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙ สำหรับผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการรับทำการเก็บ
ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
๓.
คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการ รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม.๑)
๔.
ใบอนุญาต ประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม.๒)
๕.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ รับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ
สม.๓)
๖.
คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม.๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๕๔/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793541 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง การคุ้มครองดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง
การคุ้มครองดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ว่าด้วยการคุ้มครองดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๗ (๗) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ และมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยและนายอำเภอท่าฉาง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง การคุ้มครองดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับถัดจากวันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
ประกาศและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งแวดล้อม หมายความว่า สิ่งต่าง ๆ
ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น
คุณภาพสิ่งแวดล้อม หมายความว่า
ดุลยภาพของธรรมชาติอันได้แก่ สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ
และสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ทั้งนี้
เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีพของประชาชนและความสมบูรณ์สืบไปของมนุษยชาติ
เขตอนุรักษ์ หมายความว่า เขตอุทยานแห่งชาติ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตสงวนเพื่อการท่องเที่ยวและเขตคุ้มครองอื่น ๆ
เพื่อสงวนและรักษาสภาพธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร
เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ หรือซากสัตว์
รวมถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ทางน้ำ หมายความว่า ทะเล หาดทรายชายทะเล
อ่างเก็บน้ำ แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ลำธาร และหมายถึงท่อระบายน้ำด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๕ ห้ามผู้ใด
รบกวนหรือล่าสัตว์ประเภทลิง ค่าง กระจง ชะมด ไก่ป่า นก กระรอก ยกเว้น หนู กุ้ง หอย
ปู ปลา เปี้ยว และสัตว์ที่เป็นอาหารของมนุษย์ทุกชนิด
ข้อ
๖ ห้ามผู้ใด จับสัตว์น้ำ
โดยใช้สารเคมีทุกประเภท หรือโดยใช้กระแสไฟฟ้า
ข้อ
๗ ห้ามผู้ใด ตัดไม้ บุกรุก ทำลายหรือครอบครองในเขตที่ดินอันเป็นสาธารณประโยชน์
เขตอนุรักษ์ ที่หรือทางสาธารณะและให้รวมถึงทางน้ำด้วย
ข้อ ๘ ห้ามผู้ใด ถ่ายหรือทิ้งซึ่งสิ่งปฏิกูล
มูลฝอยลงในที่หรือทางสาธารณะและทางน้ำ
ข้อ
๙ ห้ามผู้ใด
ดูดเลนจากนากุ้งลงในที่หรือทางสาธารณะและทางน้ำ
ข้อ
๑๐ ห้ามผู้ใด
ปล่อยหรือละเลยสัตว์เลี้ยง ในเขตอนุรักษ์ หรือรบกวนบุคคลอื่น
ข้อ
๑๑ ห้ามผู้ใดวางท่อระบายน้ำขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า
๑๐๐ เซนติเมตร ในที่หรือทางสาธารณะและทางน้ำ
ข้อ
๑๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ข้อหนึ่งข้อใด
ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๑๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ประดิษฐ์ จันทร์แจ่มใส
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๑๓๖/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793557 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองและนายอำเภอกันทรลักษ์
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๕
บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้
ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจตีความ วินิจฉัย ออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบกิจการ หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจาก
การประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ
คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
ข้าราชการ
หรือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติการตามมาตรา
๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
การค้า หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์
การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า
ข้อ
๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
๖.๑
กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
(๑)
การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง
(๒)
การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม
(๓)
การประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใด อันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น
ทั้งนี้
จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม
๖.๒
กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๑)
การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒)
การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังไม่ฟอก
(๓)
การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๔)
การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์
(๕)
การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร
การเร่ขาย และการขายในตลาด
(๖)
การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์
หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์
(๗)
การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม
หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์
(๘)
การสะสมหรือล้างครั่ง
๖.๓
กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
(๑)
การผลิตเนย เนยเทียม
(๒)
การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว
หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓)
การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๔)
การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิต
เพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๕)
การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๖)
การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๗)
การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋
(๘)
การผลิตแบะแซ
(๙)
การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๑๐)
การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
(๑๑)
การแกะ การล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑๒)
การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ
บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑๓)
การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล
(๑๔)
การผลิตผลิตภัณฑ์จากนมวัว
(๑๕)
การผลิต การแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู
(๑๖)
การคั่วกาแฟ
(๑๗)
การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร
(๑๘)
การผลิตผงชูรส
(๑๙)
การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
(๒๐)
การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒๑)
การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๒๒)
การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒๓)
การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๒๔)
การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร
(๒๕)
การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
(๒๖)
การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป
๖.๔
กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง
(๑)
การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร
(๒)
การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ
(๓)
การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔)
การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๕)
การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ
๖.๕
กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑)
การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช
(๒)
การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ การรวบรวมยางพาราก้อน
(๓)
การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๔)
การสีข้าวด้วยเครื่องจักร
(๕)
การผลิตยาสูบ
(๖)
การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร
(๗)
การผลิต การสะสมปุ๋ย
(๘)
การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร
(๙)
การตาก การสะสม หรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง
๖.๖
กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร
อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ
(๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่ หรือโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑)
(๓)
การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด
การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑)
(๔)
การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะ อื่นใด
ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑)
(๕)
การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมีหรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑)
(๖)
การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือก การล้างแร่
๖.๗
กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี
การพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒)
การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศ
หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๓)
การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๔)
การล้าง การอัดฉีดยานยนต์
(๕)
การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่
(๖)
ร้านซ่อมรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็ก การปะ การเชื่อมยาง การซ่อมรถจักรยานยนต์
(๗)
การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ การซ่อมรถยนต์
๖.๘
กิจการที่เกี่ยวกับไม้
(๑)
การผลิตไม้ขีดไฟ
(๒)
การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว
หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๓)
การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น การทาสารเคลือบเงาสี
หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย
(๔)
การอบไม้
(๕)
การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร
(๖)
การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ
(๗)
การผลิตกระดาษต่าง ๆ
(๘)
การเผาถ่านหรือการสะสมถ่าน
๖.๙
กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑)
กิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
กิจการสปาเพื่อสุขภาพ หมายความว่า
การประกอบกิจการที่ให้การดูแล และสร้างสุขภาพ โดยบริการหลักที่จัดไว้ ประกอบด้วย
การนวดเพื่อสุขภาพและการใช้น้ำเพื่อสุขภาพโดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วย เช่น
การอบเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนบำบัดและการควบคุมอาหาร
โยคะและการทำสมาธิ การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ หรือไม่ก็ได้โดย ทั้งนี้
บริการที่จัดไว้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการประกอบ
โรคศิลปะและกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทางการแพทย์ และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๒)
การประกอบกิจการอาบ อบ นวด เว้นแต่เป็นการให้บริการใน ๖.๙ (๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๓)
การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่ เป็นการให้บริการใน ๖.๙
(๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๔)
การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๕)
การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๖)
การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๗)
การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น
ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๘)
การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙)
การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีแสงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน
(๑๐)
การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๑๑)
การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการ
ให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกายหรือโดยวิธีอื่นใด
เว้นแต่การให้บริการใน ๖.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๑๒)
การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม
(๑๓)
การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๔)
การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์
หรือสิ่งแวดล้อม
(๑๕)
การสักผิวหนัง การเจาะหูหรือเจาะอวัยวะอื่น
(๑๖)
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน หมายความว่า
การประกอบกิจการที่ให้บริการส่งพนักงานไปเลี้ยงและดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุไม่เกิน
๖ ปี ที่บ้านของผู้รับบริการ ทั้งนี้
ไม่ว่าการประกอบกิจการนั้นจะมีสถานที่รับเลี้ยงเด็กหรือสถานที่ฝึกอบรมพนักงานอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม
(๑๗)
การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน
การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน หมายถึง
การประกอบกิจการที่ให้บริการส่งพนักงานไปดูแลผู้สูงอายุ (ที่มีอายุเกิน ๖๐
ปีบริบูรณ์ขึ้นไป) ที่บ้านของผู้รับบริการ ทั้งนี้
ไม่ว่าการประกอบกิจการนั้นจะมีสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุหรือสถานที่ฝึกอบรมพนักงานอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม
๖.๑๐
กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือการทอผ้าด้วย กี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป
(๒)
การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย หรือนุ่น
(๓)
การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร
(๔)
การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๕)
การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป
(๖)
การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทอต่าง ๆ
(๗)
การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๘)
การย้อม การกัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ
๖.๑๑
กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑)
การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๒)
การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร
(๓)
การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔)
การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๕)
การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๖)
การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ
(๗)
การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน
(๘)
การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก
ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้า เพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น
(๙)
การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๐)
การผลิตกระดาษทราย
(๑๑)
การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
๖.๑๒
กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี
(๑)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๒)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ
(๓)
การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ ปิโตรเลียมต่าง ๆ
(๔)
การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก
(๕)
การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน ๖.๗ (๑)
(๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก
เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๗)
การโม่ การบดชัน
(๘)
การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๙)
การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๐)
การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑)
การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒)
การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๓)
การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๔)
การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมี อันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๕)
การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๖)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช หรือพาหะนำโรค
(๑๗)
การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว
๖.๑๓
กิจการอื่น ๆ
(๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๒)
การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์ไฟฟ้า
(๓)
การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔)
การพิมพ์แบบพิมพ์เขียวหรือการถ่ายเอกสาร
(๕)
การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว หรือเหลือใช้
(๖)
การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๗)
การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
(๘)
การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๙)
การก่อสร้าง
(๑๐)
กิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา
หมวด ๒
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ข้อ
๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ที่ตั้งอยู่ในเขตกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ
หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี
ข้อ
๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
โดยคำนึงถึงลักษณะของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ
ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย
ข้อ
๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
๙.๑
ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉิน
มีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
๙.๒
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๙.๓
ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ
๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็น
และเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตราย
และขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ
รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
๑๑.๑
มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย
รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
๑๑.๒
ในกรณีที่มีการกำจัดเอง ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
๑๑.๓
กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย
หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ
๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร
การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงาน
ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ
๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ
เรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
หมวด ๓
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ
๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
และปฏิบัติ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
๑๖.๑
มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนด
หรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
๑๖.๒
กรณีที่มีวัตถุอันตราย
ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๔
การควบคุมของเสีย มลพิษหรือสิ่งใด
ๆ
ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง
หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมี หรือวัตถุอันตราย จะต้องจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
หมวด ๕
ใบอนุญาต
ข้อ
๑๘ ในระหว่างที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ยังไม่กำหนดมาตรฐานมลพิษด้านต่าง ๆ สำหรับกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ให้องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเลือกนำค่ามาตรฐานด้านมลพิษตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้ในข้อบัญญัตินี้โดยอนุโลม
ข้อ
๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงาน
ในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ
๒๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องการมีการควบคุมตามข้อ
๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า
จะต้องยื่นคำขอรับอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้
๒๐.๑
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
๒๐.๒
สำเนาทะเบียนบ้าน
๒๐.๓
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒๐.๔
อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองกำหนด
ข้อ
๒๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขให้ครอบคลุมทั้งด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข
และด้านความปลอดภัย
ข้อ
๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๒๓ เมื่อได้รับคำขอใบอนุญาต
หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวม
ความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขอใบอนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์
ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้ง
แจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา
ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๔ บรรดาใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงใน เขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
ข้อ
๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้
ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่รับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๒๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
ข้อ
๒๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๒๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ
การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังต่อไปนี้
๒๘.๑
ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
๒๘.๒
ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับ
ใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๒๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ ภายในเวลาที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๓๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
๓๐.๑
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
๓๐.๒
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
๓๐.๓
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัติ
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ
ของประชาชน หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๓๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผย
เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันเปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๓๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
จะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๓๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๓๕ ผู้ประกอบกิจการรายใดซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๕
ให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ
หรือถูกเพิกถอนตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
จำนงศิลป์ สีสาลี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมแนบท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมือง เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.
คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๑)
๓.
ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๒)
๔.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ อภ. ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๑๖๗/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793531 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยและนายอำเภอท่าฉางจึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
อาหาร หมายความว่า ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต
ได้แก่
(๑)
วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
แล้วแต่กรณี
(๒)
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้ผสมในการผลิตอาหาร
รวมถึงวัตถุเจือปนอาหารสีและเครื่องปรุงแต่ง กลิ่น รส
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า อาคาร
สถานที่หรือบริเวณใด ๆ
ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น
หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า อาคาร
สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ
ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร
และมิใช่เป็นการขายของในตลาด ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร
ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดการจัดตั้ง
และต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไข ตามลักษณะกิจการ ดังต่อไปนี้
(๑)
สถานที่สะสมอาหาร
(๑.๑)
ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๑.๒)
พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย
(๑.๓)
จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างพอเพียง
และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยกำหนด
(๑.๔)
จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยกำหนด
(๑.๕)
จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยกำหนด
(๑.๖)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องสุขลักษณะและเพียงพอ
(๑.๗)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
(๒)
สถานที่จำหน่ายอาหาร
(๒.๑)
จัดสถานที่ตามที่กำหนดไว้ใน (๑.๑) - (๑.๖)
(๒.๒)
จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง
สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
(๒.๓)
ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีพื้นผิวที่ทำความสะอาดง่าย
(๒.๔)
จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ
และการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน
(๒.๕)
จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ
ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ
(๒.๖)
จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ
(๒.๗)
จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย
ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร
ข้อ
๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และได้ผ่านการอบรมจากกระทรวงสาธารณสุข
ข้อ
๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่จำหน่ายอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร
และมิใช่เป็นการขายในตลาด จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓)
อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยประกาศกำหนด
ข้อ
๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร
กรรมวิธีการจำหน่ายเกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง
เก็บ รักษาอาหารตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะอุปกรณ์ น้ำใช้และของใช้อื่น ๆ
รวมทั้งสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
วางเก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาด ถูกลักษณะ
รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคสถานที่นั้น
(๒)
ใช้เครื่องปกปิดอาหาร รวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำประกอบ
ปรุง เก็บอาหารเพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่อันตรายต่อสุขภาพ
ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๓)
น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภค ต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะ
สามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้และห้ามนำอาหารหรือสิ่งของอื่นใดแช่หรือเก็บรวมไว้ด้วยกัน
(๔)
การทุบ บดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะและสะอาดอยู่เสมอ
รวมทั้งป้องกันมิให้มีเสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น
(๕)
ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำให้สะอาดและผ่านความร้อนฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๖)
จัดให้มีน้ำสะอาดไว้เพียงพอ
(๗)
ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับปรุง
ใส่หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
(๘)
ผู้จำหน่าย ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาด
และปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล
(๙)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องรับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต
ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยนั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาต
จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย
(ต้องมีหนังสือรับรองการประเมินมาตรฐานจากเจ้าพนักงานกระทรวงสาธารณสุข)
ข้อ
๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ไว้ในวันที่มารับใบอนุญาต
สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่มีผู้หน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่า
ผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้ทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
จะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร
และมิใช่เป็นการขายของในตลาด จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชานชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓)
อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยประกาศกำหนด
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง
ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่งถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้อง
ให้พนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ
๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ
ข้อ
๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งการสูญหาย
ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่
มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินการให้แก่บุคคลอื่น
ให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย
ข้อ
๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้
โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง
ยังฝ่าฝืนดำเนินการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้ายังฝ่าฝืนอีก
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนด
ซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้
ข้อ
๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มาแจ้ง
และภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่มีผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๒๕ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๑
(๒)
คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ
สอ. ๒
(๓)
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร ให้ใช้แบบ สอ. ๓
(๔)
หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ.
๔
(๕)
คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ.
๕
(๖)
คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปี ให้ใช้แบบ สอ. ๖
(๗)
คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ
สอ. ๗
ข้อ
๒๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ประดิษฐ์ จันทร์แจ่มใส
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
(แบบ สอ. ๑)
๓.
คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๒)
๔.
ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๓)
๕.
หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๔)
๖.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ. ๕)
๗.
คำขอชำระค่าธรรมเนียมประจำปี (แบบ สอ. ๖)
๘.
คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับ สถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร (แบบ สอ.
๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๑๑๑/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793539 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง ตลาด
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ว่าด้วยการควบคุมตลาดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยและนายอำเภอท่าฉาง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้
ตลาด หมายความว่า
สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์
เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว
หรือของเสียง่าย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึง
บริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด
สินค้า หมายความว่า
เครื่องอุปโภค บริโภค หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่วางจำหน่ายในตลาด
อาหารสด หมายความว่า
อาหารประเภทสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร เป็ด ไก่ สัตว์น้ำ หรืออื่น ๆ
ที่ชำแหละแล้วหรือมีชีวิต รวมทั้งประเภทผัก ผลไม้ หรืออื่น ๆ เป็นอาหารดิบ
อาหารแปรรูป หมายความว่า อาหารสดที่แปรรูป
ทำให้แห้ง หรือหมักดอง หรือในรูปอื่น ๆ รวมทั้งที่ใช้สารปรุงแต่งอาหาร เช่น
พริกแห้ง กุ้งแห้ง อาหารกระป๋อง อาหารแช่อิ่ม กะปิ น้ำปลา ซอส เป็นต้น
อาหารปรุงสำเร็จ หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ
ประกอบ ปรุงจนสำเร็จพร้อมที่รับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ
ที่มิได้บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท
การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล หมายความว่า
การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงขายของในตลาด พื้น
ผนัง เพดาน (ถ้ามี) รางระบายน้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วม และบริเวณต่าง ๆ รอบอาคารตลาดให้สะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล
มูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละออง คราบสกปรกและอื่น
ๆรวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อโรคและกำจัดสัตว์ พาหะนำโรค ทั้งนี้
สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึง สิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร
เศษสินค้า ถุงพลาสติกภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า
มูลสัตว์ หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์
หรือที่อื่น
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ
คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๕๕
หมวด ๒
ลักษณะของตลาด
ข้อ
๖ ในข้อบัญญัตินี้ให้จัดตลาดเป็น ๓
ประเภทดังนี้
(๑)
ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่
ตลาดที่มีโครงสร้างอาคารและดำเนินกิจการเป็นการประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑
ครั้ง และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑
(๒)
ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร
และดำเนินกิจการเป็นการประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒
(๓)
ตลาดประเภทที่ ๓ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร
และดำเนินกิจการชั่วคราวหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด
และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๓
ข้อ
๗ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า
๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์
แหล่งโสโครก ที่กำจัดมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ส่วนที่ ๑
ตลาดประเภทที่ ๑
ข้อ
๘ ตลาดประเภทที่ ๑
ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม โดยมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ
อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ส้วม
และที่ถ่ายปัสสาวะที่รวบรวมมูลฝอย และที่จอดรถตามที่กำหนดในส่วนนี้
ข้อ
๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
มีถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตรอย่างน้อยหนึ่งทาง
(๒)
ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง แข็งแรง
(๓)
หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรง ทนทาน
ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น ๆ
(๔)
พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ ทำความสะอาดง่าย และไม่มีน้ำขัง
(๕)
ฝาผนังทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ และทำความสะอาดง่าย
(๖)
ประตูต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร และสามารถป้องกันสัตว์ต่าง ๆ
เข้าไปพลุกพล่านในตลาด
(๗)
ทางเดินภายในอาคารสำหรับผู้ซื้อมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๘)
มีการระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ ไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นอับ
(๙)
ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์
เว้นแต่ที่แผงขายสินค้าหรือเขียงจำหน่ายเนื้อสัตว์ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า
๒๐๐ ลักซ์ ทั้งนี้
ต้องไม่ใช่แสงหรือวัสดุอื่นที่ทำให้สีของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ
(๑๐)
แผงขายสินค้าเป็นแบบปิดทึบ ทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ
มีความลาดเอียงและทำความสะอาดง่าย มีพื้นที่แผงไม่น้อยกว่า ๒ ตารางเมตร
สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร และมีทางเข้าแผงของผู้ขายกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐
เซนติเมตร
มีที่นั่งสำหรับผู้ขายของไว้โดยเฉพาะอย่างเหมาะสมแยกต่างหากจากแผงและสะดวกต่อการเข้าออก
(๑๑)
จัดให้มีน้ำประปาอย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ โดยระบบท่อสำหรับแผงขายอาหารสด
ต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๑ ก๊อกน้ำ ต่อ ๒ แผง
และมีการวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัยไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก
ไม่ติดหรือทับกับท่ออุจจาระ
และต้องจัดให้มีที่เก็บสำรองน้ำให้มีปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้
(๑๒)
มีทางระบายน้ำทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ
ทางระบายน้ำภายในตลาดต้องเป็นแบบเปิดส่วนทางระบายน้ำรอบตลาด
ต้องเป็นแบบรูปตัวยูและมีตะแกรงปิดที่สามารถเปิดทำความสะอาดได้ง่ายมีความลาดเอียง
ระบายน้ำได้สะดวก มีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และระบบบำบัดน้ำเสีย
โดยน้ำทิ้งที่ต้องได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑๓)
ต้องจัดให้มีเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารติดตั้งไว้ในบริเวณที่เห็นได้ง่าย
ข้อ
๑๐ ที่ขนถ่ายสินค้าต้องจัดให้มีและอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน
และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด
ข้อ
๑๑ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด
(๒)
มีระบบการขับเคลื่อนอุจจาระและปัสสาวะลงสู่ที่เก็บกัก
ซึ่งจะต้องป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ และไม่ปนเปื้อนน้ำธรรมชาติและน้ำใต้ดินทุกขั้นตอน
(๓)
ห้องส้วมต้องสร้างด้วยวัสดุทนทาน และทำความสะอาดง่าย
มีขนาดเนื้อที่ภายในไม่น้อยกว่า ๐.๙๐ ตารางเมตร ต่อหนึ่งที่นั่ง
และมีความกว้างภายในไม่น้อยกว่า ๐.๙๐
เมตรประตูเป็นชนิดเปิดออกและมีผนังกั้นเพื่อมิให้ประตูเปิดสู่ตลาดโดยตรง
(๔)
ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงส่วนต่ำสุดของคาน หรือเพดาน
หรือสิ่งอื่นที่ติดกับคานหรือเพดานต้องไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
และต้องมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นที่ห้องหรือมีพัดลมระบายอากาศ
(๕)
พื้นห้องส้วมต้องมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐๐ และมีจุดระบายน้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของพื้นห้อง
(๖)
กรณีเป็นโถส้วมชนิดคอห่านต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๐.๒๐ เมตร
(๗)
มีท่อระบายอุจจาระลงสู่ถังเก็บกัก ซึ่งต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า๑๐
เซนติเมตร มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑:๑๐
(๘)
มีท่อระบายก๊าซขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ เซนติเมตร
สูงเหนือหลังคาส้วมหรือสูงจนกลิ่นเหม็นของก๊าซไม่รบกวนผู้อื่น
(๙)
ความเข้มของแสงสว่างในห้องส้วมไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์
(๑๐)
จัดให้มีกระดาษชำระ
หรือน้ำสำหรับชำระให้เพียงพอสำหรับห้องส้วมทุกห้องรวมทั้งจัดให้มีการทำความสะอาดเป็นประจำทุกวัน
ข้อ
๑๒ จำนวนส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะ
ต้องจัดให้มีดังนี้
(๑)
ส้วมต้องมีไม่น้อยกว่า ๖ ที่ ต่อจำนวนแผงไม่เกิน ๔๐ แผง โดยแยกเป็นส้วมชาย ๒ ที่
ส้วมหญิง ๔ ที่ และให้เพิ่มทั้งส้วมชายและส้วมหญิงอีก ๑ ที่ และ ๒ ที่
ตามลำดับต่อจำนวนแผงที่เพิ่มขึ้นทุก ๒๕ แผง
(๒)
ที่ถ่ายปัสสาวะชายต้องจัดให้มีไม่น้อยกว่าจำนวนส้วมชายและอยู่ในบริเวณเดียวกัน
(๓)
อ่างล้างมือต้องจัดให้มีไม่น้อยกว่า ๑ ที่ ต่อส้วม ๒ ที่ และที่ถ่ายปัสสาวะ ๒ ที่
ข้อ
๑๓ ที่รวบรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวรหรือเป็นที่พักมูลฝอยที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น
ๆ มีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน
มีการปกปิดสามารถป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้ ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาด
และอยู่ในพื้นที่ที่รถเข้าออกได้สะดวก
ข้อ
๑๔ ที่จอดรถต้องจัดให้มีตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒
ส่วนที่ ๒
ตลาดประเภทที่ ๒
ข้อ
๑๕ ตลาดประเภทที่ ๒
ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสมและให้มีบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ
ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะ และที่รวบรวมมูลฝอยตามที่กำหนดในส่วนนี้
ข้อ
๑๖ บริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ
ต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ ทำความสะอาดง่าย และไม่มีน้ำขัง
(๒)
จัดให้มีรั้วที่สามารถป้องกันสัตว์ต่าง ๆ เข้าไปพลุกพล่านในตลาดได้
(๓)
แผงขายสินค้าต้องทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่ายสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
ด้านล่างของแผงไม่ใช้เป็นที่เก็บหรือสะสมสินค้าและของอื่น ๆ และมีทางเข้าแผงสำหรับผู้ขายของกว้างไม่น้อยกว่า
๗๐ เซนติเมตร
(๔)
ทางเดินสำหรับผู้ซื้อมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๕)
จัดให้มีน้ำประปาหรือน้ำที่สะอาดไว้ใช้ในตลาดอย่างเพียงพอ
(๖)
มีทางระบายน้ำแบบเปิดรอบตลาด ทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ
มีความลาดเอียงระบายน้ำได้สะดวก มีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน
บ่อพักน้ำเสียก่อนระบายน้ำออกจากตลาดสู่ท่อสาธารณะ ทั้งนี้
ต้องไม่ระบายน้ำสู่แหล่งน้ำสาธารณะและไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียงสำหรับตลาดที่มีพื้นที่ตลาดตั้งแต่
๑,๒๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียและน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง
โดยมีค่าบีโอดีไม่เกิน ๕๐ มิลลิกรัมต่อลิตร เว้นแต่จะบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย
ข้อ
๑๗ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อ
๑๑ (๒) (๑๐) และมีจำนวนตามที่กำหนดในข้อ ๑๒
และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกบริเวณแผงขายสินค้า
ข้อ
๑๘ ที่รวบรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะเป็นที่พักมูลฝอยที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น
ๆ มีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน มีการปกปิด สามารถป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้
ตั้งอยู่นอกบริเวณแผงขายสินค้า และอยู่ในพื้นที่ที่รถเข้าออกได้สะดวก
ส่วนที่ ๓
ตลาดประเภทที่ ๓
ข้อ
๑๙ ตลาดประเภทที่ ๓
ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสมและให้มีบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ
ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะ และที่รวบรวมมูลฝอยตามที่กำหนดในส่วนนี้
ข้อ
๒๐ บริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ
ต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
(๑)
แผงขายสินค้าสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๒)
ทางเดินระหว่างแผงสำหรับผู้ซื้อต้องกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๓)
จัดให้มีน้ำประปาหรือน้ำที่สะอาดไว้ใช้ในตลาดอย่างเพียงพอ
(๔)
จัดให้มีตะแกรงดักมูลฝอยบริเวณท่อระบายน้ำก่อนปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ
ข้อ
๒๑ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อ
๑๗ และมีจำนวนตามที่กำหนดในข้อ ๑๒ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่หรือมีส้วมสาธารณะหรือส้วมของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ใกล้เคียงห่างไม่เกิน
๑๐๐ เมตร
ข้อ
๒๒ ที่รวบรวมมูลฝอยมีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ
๑๘
หมวด ๓
การดำเนินกิจการตลาด
ข้อ
๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด
ต้องดูแล ควบคุมความปลอดภัยของอาหารที่จำหน่ายในตลาดเพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภค
ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดให้มีสถานที่ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคภายในตลาด
(๒)
จัดให้มีการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างน้อย ๕ ชนิด
ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน สารไฮโดรซัลไฟด์ กรดซาลิซิลิค และสารตกค้าง
ยาฆ่าแมลงโดยใช้เกณฑ์ความปลอดภัยของอาหารตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด
(๓)
จัดให้มีเจ้าหน้าที่ของตลาดที่ผ่านการฝึกอบรมวิธีใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารอย่างง่ายไว้ประจำจุดทดสอบ
(๔)
ดูแลให้มีการจำหน่ายอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่เป็นอาหารที่ผิดกฎหมายหรือต้องห้ามตามกฎหมาย
ข้อ
๒๔ การจัดวางสินค้าในตลาด
ต้องจัดวางผังการจำหน่ายสินค้าแต่ละประเภทให้เป็นหมวดหมู่ไม่ปะปนกัน
แยกเป็นประเภทอาหารสดชนิดต่าง ๆ อาหารแปรรูป อาหารปรุงสำเร็จ
และประเภทสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร
ในกรณีที่เป็นอาหารสดซึ่งอาจมีน้ำหรือของเหลวไหลหยดเลอะเทอะ
ต้องมีการกั้นไม่ให้น้ำหรือของเหลวนั้นไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด
และต้องจัดให้มีท่อหรือทางสำหรับระบายน้ำหรือของเหลวนั้นลงสู่ท่อระบายน้ำ
โดยไม่ให้เปื้อนพื้นตลาด
ข้อ
๒๕ ห้ามวางสิ่งของกีดขวางทางเดินในตลาด
หรือวางตามทางเข้าสู่ตลาดทางเดินและถนนรอบตลาด
ข้อ
๒๖ การเปิดและปิดตลาด
ให้เป็นไปตามเวลาที่ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นขอไว้ในคำขอรับใบอนุญาต
ข้อ
๒๗ ห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ
ก๊อกน้ำใช้ และสาธารณูปโภคอื่น ๆ ที่จัดไว้ ต้องเปิดให้มีการใช้ได้ตลอดเวลาในขณะประกอบกิจการ
หมวด ๔
การบำรุงรักษาตลาด
ข้อ
๒๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด
จัดให้มีคณะกรรมการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาด
เรียบร้อยภายในตลาด
ข้อ
๒๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่
๑ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาด เรียบร้อยภายในตลาด
ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ภายในตลาด ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ
หลอดไฟ พัดลม ท่อน้ำประปา เป็นต้น ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา
(๒)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ไม่รั่วซึมและมีฝาปิดประจำทุกแผง
จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดเป็นประจำ
และดูแลที่รวบรวมมูลฝอยรวมให้ถูกสุขลักษณะเสมอ
(๓)
จัดให้มีการทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน
และล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลโดยอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
(๔)
จัดให้มีการดูแลความสะอาดของห้องน้ำ ห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ บ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสียให้ใช้การได้ดีตลอดเวลา
ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒
ต้องจัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอย ดูแลความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ
บ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และบ่อพักน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสียให้ใช้การได้ดี
ดูแลที่รวบรวมมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ
และจัดให้มีการล้างตลาดด้วยน้ำสะอาดทุกวันที่เปิดทำการ
ข้อ ๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๓
ต้องจัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอย ทำความสะอาดบริเวณตลาด ดูแลความสะอาดห้องน้ำ
ห้องส้วม ตะแกรงดักมูลฝอย
ให้ใช้การได้ดีและดูแลที่รวบรวมมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอในขณะที่เปิดทำการ
ข้อ
๓๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด
ต้องไม่ทำการและต้องดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการอันอาจจะทำให้เกิดเหตุรำคาญหรือการระบาดของโรคติดต่อ
ดังต่อไปนี้
(๑)
นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย
(๒)
สะสม หมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด ทำให้สถานที่สกปรก
รกรุงรังหรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์นำโรค
(๓)
ถ่าย เท ทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด
นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล
(๔)
ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกขึ้นจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๕)
ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งน่าจะเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
(๖)
ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหลับนอน
(๗)
กระทำการอื่นใดที่จะก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น
หมวด ๕
ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด
ข้อ
๓๓ ผู้ขายของและผู้ช่วยผู้ขายของในตลาด
ต้องให้ความร่วมมือกับผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดเจ้าพนักงานสาธารณสุขและเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการดำเนินการที่เกี่ยวกับสุขลักษณะของตลาด
อันได้แก่ การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาดในเรื่องการจัดหมวดหมู่สินค้า
การดูแลความสะอาดแผงขายสินค้า การรวบรวมมูลฝอย การล้างตลาด และการอื่น ๆ เช่น
การฝึกอบรมผู้ขายของและผู้ช่วยขายของ
ข้อ
๓๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด
ต้องวางสินค้าบนแผงขายสินค้าหรือในขอบเขตที่วางขายของที่จัดไว้ให้
ห้ามวางล้ำแผงขายสินค้าหรือขอบเขต
หรือต่อเติมแผงขายสินค้าอันจะเป็นการกีดขวางทางเดินในตลาด
และห้ามวางสินค้าสูงจากพื้นตลาดเกินกว่า ๑๕๐ เซนติเมตร
การวางและเก็บสินค้าประเภทอาหาร
เครื่องดื่ม รวมทั้งเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับอาหาร ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐
เซนติเมตร และห้ามวางวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร
ข้อ
๓๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด
ต้องมีสุขลักษณะส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑)
มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือโรคที่สังคมรังเกียจ
หรือไม่เป็นพาหนะนำโรคติดต่อ อันได้แก่ วัณโรค อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคบิด
ไข้สุกใส ไข้หัด โรคคางทูม โรคเรื้อน โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ
และโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
(๒)
ในระหว่างการขายต้องแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี
และต้องมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๓)
ต้องได้รับการตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
ข้อ
๓๖ ผู้ขายและผู้ช่วยขายของในตลาด
ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการใช้กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ หรือสะสมอาหารหรือสินค้าอื่นและการรักษาความสะอาดของภาชนะ
น้ำใช้ และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑)
ลักษณะและประเภทของสินค้าที่ขาย ต้องสะอาด ปลอดภัย และเป็นสินค้าที่ไม่ผิดกฎหมาย
หรือต้องห้ามตามกฎหมาย
(๒) อาหารสดที่เกิดการเน่าเสียได้ง่าย
ต้องจัดเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๓)
การจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ
ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
และรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ปกปิดให้สะอาด ใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๔)
ในกรณีที่มีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
(๕)
เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ ต้องสะอาดและปลอดภัย
มีการล้างและการเก็บที่ถูกต้องทั้งก่อนและหลังการใช้งาน
หมวด ๖
ใบอนุญาต
ข้อ
๓๗ ห้ามผู้ใดจัดตั้งตลาด
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๓๘ ความในข้อ ๓๗
มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม
ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์การของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่
แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามข้อนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ข้อ
๓๙ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาด
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบพร้อมกับหลักฐานตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๔๐ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอรับใบอนุญาตแล้ว
ปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ให้ออกใบอนุญาตตามแบบเจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดเงื่อนไขและวิธีการรับใบอนุญาตและการชำระค่าธรรมเนียม
ให้เป็นไปตามที่บัญชีท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๔๑ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาอนุญาตการจัดตั้งตลาดแล้ว
ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว
ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่มารับใบอนุญาตหรือไม่ชำระค่าธรรมเนียม
ให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะจัดตั้งตลาด
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นยกเลิกการอนุญาตนั้น
ข้อ
๔๒ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด
พร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมตามบัญชีท้ายข้อบัญญัตินี้ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
ข้อ
๔๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต
คำขอต่ออายุใบอนุญาต หรือคำขอเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต
ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๔๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปี
นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
ข้อ
๔๕ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลง
ขยาย หรือลดเนื้อที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดหรือขอแก้ไขรายการอื่นใดในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดและเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
จึงจะดำเนินการได้
ข้อ
๔๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบการอีกต่อไป
ให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ข้อ
๔๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยกำหนด
เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญการออกใบแทนใบอนุญาต
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๔๘ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้
(๑)
ใบอนุญาต
(๒)
ใบรับแจ้งการจัดตั้งตลาด
(๓)
คำขอรับใบแทนใบอนุญาต
หมวด ๗
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ประดิษฐ์ จันทร์แจ่มใส
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง ตลาด
พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.
ใบอนุญาตจัดตั้งตลาด
๓.
ใบรับแจ้งการจัดตั้งตลาด
๔.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาต
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๑๒๓/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793555 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ เรื่อง ตลาด พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
เรื่อง ตลาด
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
ว่าด้วยตลาด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกับมาตรา ๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘
มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้และนายอำเภอเมืองกำแพงเพชรจึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
เรื่อง ตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว
ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ตลาด หมายความว่า
สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์
เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว
หรือของเสียง่าย ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึง
บริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กำหนด
สินค้า หมายความว่า
เครื่องอุปโภค บริโภค หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่วางจำหน่ายในตลาด
อาหารแปรรูป หมายความว่า อาหารสดที่แปรรูป
ทำให้แห้ง หรือหมักดอง หรือในรูปอื่น ๆ รวมทั้งที่ใช้สารปรุงแต่งอาหาร
อาหารปรุงสำเร็จ หมายความว่า อาหารที่ได้ผ่านการทำ
ประกอบ ปรุงจนสำเร็จพร้อมที่รับประทานได้ รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ
ที่มิได้บรรจุในภาชนะที่ปิดสนิท
การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล หมายความว่า
การทำความสะอาดตัวอาคารแผงขายของในตลาด พื้น
ผนัง เพดาน (ถ้ามี) รางระบายน้ำ ห้องน้ำ ห้องส้วม และบริเวณต่าง ๆ
รอบอาคารตลาดให้สะอาด ปราศจากสิ่งปฏิกูลมูลฝอย หยากไย่ ฝุ่นละออง คราบสกปรกและอื่น
ๆ รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อโรคและกำจัดสัตว์พาหะนำโรค ทั้งนี้
สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบ บำบัดน้ำเสียของตลาด
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึง สิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร
เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า
มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์
หรือที่อื่น
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ
คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
หรือผู้ที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้มอบหมาย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้ ให้จัดตลาดเป็น ๒
ประเภทดังนี้
(๑)
ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่
ตลาดที่มีโครงสร้างอาคารและดำเนินกิจการเป็นการประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑
ครั้ง และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๑
(๒)
ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร
และดำเนินกิจการเป็นการประจำหรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในส่วนที่ ๒
ข้อ
๖ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐
เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษของเสีย
โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก ที่กำจัดมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ส่วนที่ ๑
ตลาดประเภทที่ ๑
ข้อ
๗ ตลาดประเภทที่ ๑
ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม โดยมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ
อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ส้วม และที่ถ่ายปัสสาวะ
ที่รวบรวมมูลฝอย และที่จอดรถตามที่กำหนดในส่วนนี้
ข้อ
๘ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ
ต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะดังต่อไปนี้
(๑)
มีถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตรอย่างน้อยหนึ่งทาง
(๒)
ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง แข็งแรง
(๓)
หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน ความสูงของหลังคาต้องมี
ความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น ๆ
(๔)
พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ ทำความสะอาดง่าย และไม่มีน้ำขัง
(๕)
ฝาผนังทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ และทำความสะอาดง่าย
(๖)
ประตูต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร และสามารถป้องกันสัตว์ต่าง ๆ
เข้าไปพลุกพล่านในตลาด
(๗)
ทางเดินภายในอาคารสำหรับผู้ซื้อมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๘)
มีการระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ ไม่ให้เกิดกลิ่นเหม็นอับ
(๙)
ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์
เว้นแต่ที่แผงขายสินค้าหรือเขียงจำหน่ายเนื้อสัตว์
ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่แสง
หรือวัสดุอื่นที่ทำให้สีของสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ
(๑๐)
แผงขายสินค้าเป็นแบบปิดทึบ ทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง
และทำความสะอาดง่าย มีพื้นที่แผงไม่น้อยกว่า ๒ ตารางเมตร สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐
เซนติเมตร และมีทางเข้าแผงของผู้ขายกว้าง ไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร มีที่นั่งสำหรับผู้ขายของไว้โดยเฉพาะ
อย่างเหมาะสมแยกต่างหากจากแผงและสะดวกต่อการเข้าออก
(๑๑)
จัดให้มีน้ำประปาอย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ
โดยระบบท่อสำหรับแผงขายอาหารสด ต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า ๑ ก๊อกน้ำ ต่อ ๒ แผง
และมีการวางท่อในลักษณะ ที่ปลอดภัยไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก
ไม่ติดหรือทับกับท่ออุจจาระ
และต้องจัดให้มีที่เก็บสำรองน้ำให้มีปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้
(๑๒)
มีทางระบายน้ำทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ ทางระบายน้ำภายในตลาดต้องเป็นแบบเปิด
ส่วนทางระบายน้ำรอบตลาดต้องเป็นแบบรูปตัวยูและมีตะแกรงปิดที่สามารถเปิดทำความสะอาดได้ง่าย มีความลาดเอียง ระบายน้ำได้สะดวก
มีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และระบบบำบัดน้ำเสีย
โดยน้ำทิ้งที่ต้องได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑๓)
ต้องจัดให้มีเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารติดตั้งไว้ในบริเวณที่เห็นได้ง่าย
ข้อ
๙ ที่ขนถ่ายสินค้าต้องจัดให้มีและอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ
มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวันและสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด
ข้อ
๑๐ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด
(๒)
มีระบบการขับเคลื่อนอุจจาระและปัสสาวะลงสู่ที่เก็บกัก
ซึ่งจะต้องป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้
และไม่ปนเปื้อนน้ำธรรมชาติและน้ำใต้ดินทุกขั้นตอน
(๓)
ห้องส้วมต้องสร้างด้วยวัสดุทนทาน และทำความสะอาดง่าย มีขนาดเนื้อที่ภายในไม่น้อยกว่า
๐.๙๐ ตารางเมตร ต่อหนึ่งที่นั่ง และมีความกว้างภายในไม่น้อยกว่า ๐.๙๐ เมตร
ประตูเป็นชนิดเปิดออกและมีผนังกั้นเพื่อมิให้ประตูเปิดสู่ตลาดโดยตรง
(๔)
ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงส่วนต่ำสุดของคาน หรือเพดาน
หรือสิ่งอื่นที่ติดกับคานหรือเพดานต้องไม่น้อยกว่า ๒ เมตร และต้องมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นที่ห้องหรือมีพัดลมระบายอากาศ
(๕)
พื้นห้องส้วมต้องมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐๐ และมีจุดระบายน้ำทิ้ง
อยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของพื้นห้อง
(๖)
กรณีเป็นโถส้วมชนิดคอห่านต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๐.๒๐ เมตร
(๗)
มีท่อระบายอุจจาระลงสู่ถังเก็บกัก ซึ่งต้องมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐
เซนติเมตร มีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า ๑ : ๑๐
(๘)
มีท่อระบายก๊าซขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๒.๕๐ เซนติเมตร
สูงเหนือหลังคาส้วมหรือสูงจนกลิ่นเหม็นของก๊าซไม่รบกวนผู้อื่น
(๙)
ความเข้มของแสงสว่างในห้องส้วมไม่น้อยกว่า ๑๐๐ ลักซ์
(๑๐)
จัดให้มีกระดาษชำระ หรือน้ำสำหรับชำระให้เพียงพอสำหรับห้องส้วมทุกห้อง
รวมทั้งจัดให้มีการทำความสะอาดเป็นประจำทุกวัน
ข้อ
๑๑ จำนวนส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะ
ต้องจัดให้มีดังนี้
(๑)
ส้วมต้องมีไม่น้อยกว่า ๖ ที่ ต่อจำนวนแผงไม่เกิน ๔๐ แผง โดยแยกเป็นส้วมชาย ๒ ที่
ส้วมหญิง ๔ ที่ และให้เพิ่มทั้งส้วมชายและส้วมหญิงอีก ๑ ที่ และ ๒ ที่ ตามลำดับ
ต่อจำนวนแผงที่เพิ่มขึ้นทุก ๒๕ แผง
(๒)
ที่ถ่ายปัสสาวะชายต้องจัดให้มีไม่น้อยกว่าจำนวนส้วมชายและอยู่ในบริเวณเดียวกัน
(๓)
อ่างล้างมือต้องจัดให้มีไม่น้อยกว่า ๑ ที่ ต่อส้วม ๒ ที่ และที่ถ่ายปัสสาวะ ๒ ที่
ข้อ
๑๒ ที่รวบรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะเป็นสิ่งปลูกสร้างถาวรหรือเป็นที่พักมูลฝอย
ที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น ๆ
มีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน มีการปกปิด สามารถป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้
ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาด และอยู่ในพื้นที่ที่รถเข้าออกได้สะดวก
ข้อ
๑๓ ที่จอดรถต้องจัดให้มีตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. ๒๕๒๒
ส่วนที่ ๒
ตลาดประเภทที่ ๒
ข้อ
๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒
ต้องมีเนื้อที่ตามความเหมาะสม และให้มีบริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ
ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะ และที่รวบรวมมูลฝอยตามที่กำหนดในส่วนนี้
ข้อ
๑๕ บริเวณที่จัดไว้สำหรับผู้ขายของ
ต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะดังต่อไปนี้
(๑)
พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง เรียบ ทำความสะอาดง่าย และไม่มีน้ำขัง
(๒)
จัดให้มีรั้วที่สามารถป้องกันสัตว์ต่าง ๆ เข้าไปพลุกพล่านในตลาดได้
(๓) แผงขายสินค้าต้องทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง
และทำความสะอาดง่าย สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
ด้านล่างของแผงไม่ใช้เป็นที่เก็บหรือสะสมสินค้าและของอื่น ๆ
และมีทางเข้าแผงสำหรับผู้ขายของกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร
(๔)
ทางเดินสำหรับผู้ซื้อมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๕)
จัดให้มีน้ำประปาหรือน้ำที่สะอาดไว้ใช้ในตลาดอย่างเพียงพอ
(๖)
มีทางระบายน้ำแบบเปิดรอบตลาด ทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ มีความลาดเอียง
ระบายน้ำได้สะดวก มีบ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสียก่อนระบายน้ำออกจากตลาดสู่ท่อสาธารณะ
ทั้งนี้
ต้องไม่ระบายน้ำสู่แหล่งน้ำสาธารณะและไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง
สำหรับตลาดที่มีพื้นที่ตลาดตั้งแต่ ๑,๒๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป
ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียและน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง
โดยมีค่าบีโอดีไม่เกิน ๕๐ มิลลิกรัมต่อลิตร เว้นแต่จะบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย
ข้อ
๑๖ ส้วมและที่ถ่ายปัสสาวะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามที่กำหนด
ในข้อ ๑๐ (๒) (๑๐) และมีจำนวนตามที่กำหนดในข้อ ๑๒
และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกบริเวณแผงขายสินค้า
ข้อ
๑๗ ที่รวบรวมมูลฝอยต้องมีลักษณะเป็นที่พักมูลฝอยที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น
ๆ มีขนาดเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน
มีการปกปิดสามารถป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขี่ยได้ ตั้งอยู่นอกบริเวณแผงขายสินค้าและอยู่ในพื้นที่ที่รถเข้าออกได้สะดวก
ข้อ
๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด
ต้องดูแล
ควบคุมความปลอดภัยของอาหารที่จำหน่ายในตลาดเพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภค
ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดให้มีสถานที่ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคภายในตลาด
(๒)
จัดให้มีการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างน้อย ๕ ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน
สารไฮโดรซัลไฟด์ กรดซาลิซิลิค และสารตกค้าง ยาฆ่าแมลง
โดยใช้เกณฑ์ความปลอดภัยของอาหารตามที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด
(๓)
จัดให้มีเจ้าหน้าที่ของตลาดที่ผ่านการฝึกอบรมวิธีใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารอย่างง่ายไว้ประจำจุดทดสอบ
(๔)
ดูแลให้มีการจำหน่ายอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่เป็นอาหารที่ผิดกฎหมาย
หรือต้องห้ามตามกฎหมาย
ข้อ
๑๙ การจัดวางสินค้าในตลาด
ต้องจัดวางผังการจำหน่ายสินค้าแต่ละประเภทให้เป็นหมวดหมู่ ไม่ปะปนกัน
แยกเป็นประเภทอาหารสดชนิดต่าง ๆ อาหารแปรรูป อาหารปรุงสำเร็จ
และประเภทสินค้าที่ไม่ใช่อาหาร
เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร
ในกรณีที่เป็นอาหารสดซึ่งอาจมีน้ำหรือของเหลวไหลหยดเลอะเทอะ
ต้องมีการกั้นไม่ให้น้ำ
หรือของเหลวนั้นไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาดและต้องจัดให้มีท่อหรือทางสำหรับระบายน้ำหรือของเหลวนั้นลงสู่ท่อระบายน้ำโดยไม่ให้เปื้อนพื้นตลาด
ข้อ
๒๐ ห้ามวางสิ่งของกีดขวางทางเดินในตลาด
หรือวางตามทางเข้าสู่ตลาดทางเดิน และถนนรอบตลาด
ข้อ ๒๑ การเปิดและปิดตลาด
ให้เป็นไปตามเวลาที่ผู้ขอรับใบอนุญาตยื่นขอไว้ในคำขอรับใบอนุญาต
ข้อ
๒๒ ห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ
ก๊อกน้ำใช้ และสาธารณูปโภคอื่น ๆ
ที่จัดไว้ต้องเปิดให้มีการใช้ได้ตลอดเวลาในขณะประกอบกิจการ
ข้อ
๒๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด
จัดให้มีคณะกรรมการตลาดเพื่อการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยภายในตลาด
ข้อ
๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑
ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดเรียบร้อยภายในตลาด
ให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ภายในตลาด ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น สายไฟ
หลอดไฟ พัดลม ท่อน้ำประปา เป็นต้น ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา
(๒)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ไม่รั่วซึมและมีฝาปิดประจำทุกแผง
จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาดเป็นประจำ
และดูแลที่รวบรวมมูลฝอยรวมให้ถูกสุขลักษณะเสมอ
(๓)
จัดให้มีการทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน
และล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลโดยอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง
(๔)
จัดให้มีการดูแลความสะอาดของห้องน้ำ ห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ บ่อดักมูลฝอย
บ่อดักไขมันและระบบบำบัดน้ำเสียให้ใช้การได้ดีตลอดเวลา
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒
ต้องจัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอย ดูแลความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม ที่ถ่ายปัสสาวะ
บ่อดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน และบ่อพักน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสียให้ใช้การได้ดี
ดูแลที่รวบรวมมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ
และจัดให้มีการล้างตลาดด้วยน้ำสะอาดทุกวันที่เปิดทำการ
ข้อ
๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด
ต้องไม่ทำการและต้องดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการอันอาจจะทำให้เกิดเหตุรำคาญหรือการระบาดของโรคติดต่อ
ดังต่อไปนี้
(๑)
นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย
(๒)
สะสม หมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด ทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง
หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์นำโรค
(๓) ถ่าย เท ทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด
นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล
(๔)
ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกขึ้นจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๕)
ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งน่าจะเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
(๖)
ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหลับนอน
(๗)
กระทำการอื่นใดที่จะก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น
ข้อ
๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยผู้ขายของในตลาด
ต้องให้ความร่วมมือกับผู้ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งตลาด
เจ้าพนักงานสาธารณสุขและเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการดำเนินการที่เกี่ยวกับสุขลักษณะของตลาด
อันได้แก่
การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาดในเรื่องการจัดหมวดหมู่สินค้า
การดูแลความสะอาดแผงขายสินค้า การรวบรวมมูลฝอย การล้างตลาด และการอื่น ๆ เช่น การฝึกอบรมผู้ขายของและผู้ช่วยขายของ
ข้อ
๒๘ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด
ต้องวางสินค้าบนแผงขายสินค้าหรือในขอบเขตที่วางขายของที่จัดไว้ให้
ห้ามวางแผงขายสินค้าหรือขอบเขต
หรือต่อเติมแผงขายสินค้าอันจะเป็นการกีดขวางทางเดินในตลาด
และห้ามวางสินค้าสูงจากพื้นตลาดเกินกว่า ๑๕๐ เซนติเมตร
การวางและเก็บสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม รวมทั้งเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับอาหาร
ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
และห้ามวางวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร
ข้อ
๒๙ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด
ต้องมีสุขลักษณะส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑)
มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ หรือโรคที่สังคมรังเกียจ
หรือไม่เป็นพาหนะนำโรคติดต่อ อันได้แก่ วัณโรค อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ โรคบิด
ไข้สุกใส ไข้หัด โรคคางทูม โรคเรื้อน โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ
และโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
(๒)
ในระหว่างการขายต้องแต่งกายสุภาพ เรียบร้อย มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี
และต้องมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๓)
ต้องได้รับการตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
ข้อ
๓๐ ผู้ขายและผู้ช่วยขายของในตลาด
ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการใช้กรรมวิธี การจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ
หรือสะสมอาหารหรือสินค้าอื่นและการรักษาความสะอาดของภาชนะ น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ลักษณะและประเภทของสินค้าที่ขายต้องสะอาด ปลอดภัย และเป็นสินค้าที่ไม่ผิดกฎหมาย
หรือต้องห้ามตามกฎหมาย
(๒)
อาหารสดที่เกิดการเน่าเสียได้ง่าย
ต้องจัดเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๓)
การจำหน่ายอาหารปรุงสำเร็จ
ต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อนและรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ปกปิดให้สะอาด
ใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๔)
ในกรณีที่มีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร
ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
(๕)
เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ ต้องสะอาดและปลอดภัย
มีการล้างและการเก็บที่ถูกต้องทั้งก่อนและหลังการใช้งาน
ข้อ
๓๑ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ
๓๒ ความในข้อ ๓๑
มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือองค์การของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่ แต่ในการดำเนินกิจการตลาด
จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาตตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามข้อนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ข้อ
๓๓ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาด
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบพร้อมกับหลักฐานตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ ๓๔ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอรับใบอนุญาตแล้ว
ปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้ออกใบอนุญาต
ตามแบบเจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด เงื่อนไขและวิธีการรับใบอนุญาตและการชำระค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามที่บัญชีท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๓๕ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาอนุญาตการจัดตั้งตลาดแล้ว
ให้แจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว
ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่มารับใบอนุญาตหรือไม่ชำระค่าธรรมเนียมให้ถือว่าผู้นั้นไม่ประสงค์จะจัดตั้งตลาด
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นยกเลิกการอนุญาตนั้น
ข้อ ๓๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนด
พร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมตามบัญชีท้ายข้อบัญญัตินี้ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
ข้อ
๓๗ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต
คำขอต่ออายุใบอนุญาต หรือคำขอเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไข
ให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอ
พร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผล
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา
ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ
๓๘ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
ข้อ
๓๙ เมื่อผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลง
ขยาย หรือลดเนื้อที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดหรือขอแก้ไขรายการอื่นใดในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดและเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
จึงจะดำเนินการได้
ข้อ ๔๐ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบการอีกต่อไป
ให้ยื่นคำขอบอกเลิก
การดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ข้อ
๔๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ผู้รับใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้กำหนด
เพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
การออกใบแทนใบอนุญาตให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๔๒ ให้ใช้แบบคำขอรับใบอนุญาต
คำขอต่ออายุใบอนุญาต ใบอนุญาตประกอบกิจการตลาด คำขอต่าง ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้กำหนด
ข้อ
๔๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๔๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
สม กลัดอยู่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้เรื่อง ตลาด
พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๑๕๕/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793535 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ว่าด้วยการควบคุม แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ มาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การ
บริหารส่วนตำบลท่าเคยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยและนายอำเภอท่าฉาง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
ประกาศและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร
เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ
คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชน
สามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หมายความว่า
สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวัน
ซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
ข้อ
๕ ห้ามผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ ในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยจัดไว้ให้
ข้อ
๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถาน
ต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอย ที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง
กะลา ยางรถยนต์หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในบริเวณ อาคารหรือเคหสถาน
รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้
โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติก
ที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ
ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด
เจ้าของอาคาร
หรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยกำหนด
ข้อ
๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
จะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ข้อ
๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถาน
ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำ ในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ
ที่มีน้ำขังอย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้
และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ
ที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย ประกาศกำหนด
ข้อ
๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร
หรือเคหสถานหรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถานหรือสถานที่นั้น
จะต้องให้ความร่วมมือ และอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ
๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๑๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ประดิษฐ์ จันทร์แจ่มใส
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๑๒๐/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793529 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา
๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยและนายอำเภอท่าฉางจึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเมื่อพ้นกำหนดสิบห้าวันนับถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ
๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๕ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอาจเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า สภาวะทางอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะทางน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า
สำนักงาน หรือสิ่งที่ที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๖ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
(๑)
กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
(๑.๑)
การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง
(๑.๒)
การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม
(๑.๓)
การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าใช้หรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น
ทั้งนี้
จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม
(๒)
กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์
(๒.๑)
การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒.๒)
การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก
(๒.๓)
การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔)
การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์
(๒.๕)
การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร
การเร่ขาย และการขายในตลาด
(๒.๖)
การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์
หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์
(๒.๗)
การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช
เพื่อเป็นอาหารสัตว์
(๒.๘)
การสะสมหรือการล้างครั่ง
(๓)
กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
(๓.๑)
การผลิตเนยเทียม
(๓.๒)
การผลิตกะปิ น้ำพริกแดง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว
หอมแดง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๓)
การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๔)
การตากเนื้อ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๕)
การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์พืช
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๖)
การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๗)
การผลิตเส้นบะหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋
(๓.๘)
การผลิตแบะแซ
(๓.๙)
การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๐)
การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
(๓.๑๑)
การแกะ การล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑๒)
การผลิตน้ำอัดลม น้ำ หวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง
ๆบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑๓)
การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล
(๓.๑๔)
การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำมันวัว
(๓.๑๕)
การผลิต การบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู
(๓.๑๖)
การคั่วกาแฟ
(๓.๑๗)
การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร
(๓.๑๘)
การผลิตผงชูรส
(๓.๑๙)
การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
(๓.๒๐)
การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๒๑)
การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๒๒)
การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๒๓)
การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๒๔)
การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร
(๓.๒๕)
การผลิตน้ำแข็ง
ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารหรือเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๒๖)
การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์
เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง
(๔.๑)
การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร
(๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น
เครื่องสำอางต่าง ๆ
(๔.๓)
การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔)
การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕)
การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ
(๕)
กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑)
การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช
(๕.๒)
การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ
(๕.๓)
การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๕.๔)
การสีข้าวด้วยเครื่องจักร
(๕.๕)
การผลิตยาสูบ
(๕.๖)
การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร
(๕.๗)
การผลิต การสะสมปุ๋ย
(๕.๘)
การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุดิบคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร
(๕.๙)
การผลิต การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง
(๖)
กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร
อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ
(๖.๒)
การกลึง การหล่อ การถลุงแร่หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน
การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๔)
การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๕)
การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๖)
การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือล้างแร่
(๗)
กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๗.๑)
การทอ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒)
การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม
การปรับแต่งระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๗.๓)
การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อม ปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๗.๔)
การล้าง การอัดฉีดยานยนต์
(๗.๕)
การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่
(๗.๖)
การปะ การเชื่อมยาง
(๗.๗)
การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๘)
กิจการที่เกี่ยวกับไม้
(๘.๑)
การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒)
การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขัดร่อง การทำคิ้ว หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓)
การประดิษฐ์หวายเป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักรหรือการพ่น
การทาสารเคมีเคลือบเงาสีหรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย
(๘.๔)
การอบไม้
(๘.๕)
การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร
(๘.๖)
การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ
(๘.๗)
การผลิตกระดาษต่าง ๆ
(๘.๘)
การเผาถ่านหรือสะสมถ่าน
(๙)
กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑)
การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๙.๒)
การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
(๙.๓)
การประกอบกิจการโรงแรม หรือกิจการอื่นใดในทำนองเดียวกัน
(๙.๔)
การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
ห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นใดในทำนองเดียวกัน
(๙.๕)
การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๖)
การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น
ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๗)
การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่นใดในทำนองเดียวกัน
(๙.๘)
การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีการแสดงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙)
การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๐)
การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
การบริหารร่างกายหรือวิธีอื่นใด
เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๑๑)
การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม
(๙.๑๒)
การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข
วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๓)
การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๐)
กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑)
การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักรหรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่
๕ กี๋ขึ้นไป
(๑๐.๒)
การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น
(๑๐.๓)
การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔)
การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งอื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕)
การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป
(๑๐.๖)
การพิมพ์ผ้าหรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗)
การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘)
การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑)
กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑)
การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒)
การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓)
การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ดิน
ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน
(๑๑.๔)
การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน
(๑๑.๕)
การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ
(๑๑.๖)
การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน
(๑๑.๗)
การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก
ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น
(๑๑.๘)
การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๙)
การผลิตกระดาษทราย
(๑๑.๑๐)
การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒)
กิจกรรมที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี
(๑๒.๑)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำลาย
(๑๒.๒)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ
(๑๒.๓)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์
(๑๒.๔)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก
(๑๒.๕)
การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑)
(๑๒.๖)
การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๗)
การโม่ การบดชัน
(๑๒.๘)
การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙)
การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐)
การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๑)
การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๒)
การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓)
การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔)
การผลิต การสะสม
การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕)
การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา
(๑๒.๑๖)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗)
การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว
(๑๓)
กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒)
การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓)
การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔)
การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียวหรือการถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕)
การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖)
การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗)
การล้างขวดภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
(๑๓.๘)
การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙)
การก่อสร้าง
ข้อ
๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลบังคับใช้
หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
หมวด ๒
สถานที่ตั้ง ลักษณะอาคาร
และการสุขาภิบาล
ข้อ
๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน
สถาบันการศึกษา โรงพยาบาลหรือสถานที่อื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ เมตร ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญของประชาชน
ข้อ
๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒)
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๓)
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศ
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔)
ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ
๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน
ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ
รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑)
มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเอง
ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(๓)
กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ
๑๓ สถานประกอบกิจการที่เป็นโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหาร
การสะสมอาหารสำหรับคนงาน
ต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ
๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ
เรียบร้อย ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
หมวด ๓
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ
๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑)
มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้งและมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
(๒)
กรณีที่มีวัตถุอันตราย
ต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๔
การควบคุมของเสีย
มลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ
ข้อ
๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่มีการประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตรายหรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย
จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อาศัยบริเวณใกล้เคียง
หมวด ๕
ใบอนุญาต
ข้อ
๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะ
ให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ
๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามสิ่งที่ต้องการควบคุมตามข้อ
๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมทั้งเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓)
อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยประกาศกำหนด
ข้อ
๒๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้โดยเคร่งครัด
(๒)
ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเป็นอย่างดี
(๓)
กิจการที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและชุมชนจะต้องมีการทำประชาคมหมู่บ้านก่อน
ข้อ
๒๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๒๒ เมื่อได้รับใบคำขอรับอนุญาตหรือใบคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต
ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคยเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาต
จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐ ด้วย
ข้อ
๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต
สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาตตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
ข้อ
๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของประชาชน
ข้อ
๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต
คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
จะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ประดิษฐ์ จันทร์แจ่มใส
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเคย เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒.
คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๓.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๔.
คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๙๕/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793525 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร
เรื่อง
การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๗ (๒) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๐ (๓) และมาตรา ๔๔
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลลำไทรโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทรและนายอำเภอวังน้อยจึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร
เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทรตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ กฎ ระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน ร้านค้า
ร้านอาหาร โกดังสินค้า โรงงาน สถานประกอบการ สำนักงานหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้
บ่อดักไขมัน หมายความว่า
สิ่งที่ใช้แยกจำพวกน้ำมันและไขมันออกจากน้ำซึ่งผ่านการใช้แล้ว
การระบายน้ำ หมายความว่า การผันน้ำ การปล่อยน้ำ
การเทน้ำ การสาดน้ำ หรือการกระทำอื่นใดที่เป็นการถ่ายเทน้ำ
แหล่งระบายน้ำ หมายความว่า ทางหรือท่อระบายน้ำ
ลำกระโดง ลำราง คู คลอง แม่น้ำ ทะเล และแหล่งน้ำสาธารณะ แหล่งน้ำธรรมชาติ
และแหล่งน้ำที่เป็นของเอกชนซึ่งมีทางเชื่อมต่อ
หรือสามารถไหลไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทรที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุขแทนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่อง
ข้อ
๕ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่อาคารที่ปลูกสร้างและมีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำและยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการกำจัดน้ำมันและไขมันสำหรับอาคารประเภทนั้น
ข้อ
๖ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามข้อ
๕
ติดตั้งบ่อดักไขมันตามมาตรฐานที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดหรือเห็นสมควรให้แล้วเสร็จก่อนเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอย
ข้อ
๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานสาธารณสุขและผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าตรวจอาคารและบริเวณที่ตั้งอาคารในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
(๒)
สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำ
ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
ข้อ
๘ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามข้อ ๖
ทำการดูแลรักษา
เก็บขนน้ำมันหรือไขมันในบ่อดักไขมันไปกำจัดและซ่อมแซมบำรุงรักษาบ่อดักไขมันให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตามปกติ
ข้อ
๙ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ
๑๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน ๕๐๐
บาท และเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดให้เสียค่าปรับอีกไม่เกินวันละ ๕๐๐ บาท
นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันนั้นเป็นต้นไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ข้อ
๑๑ ข้อกำหนดและวิธีการติดตั้งบ่อดักไขมันและแบบถังดักไขมัน
ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณากำหนดตามความเหมาะสม
ข้อ
๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการพิจารณาการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ตามความจำเป็นและความเหมาะสมของอาคารและพื้นที่ตำบลลำไทร
ข้อ
๑๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทรเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการเป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
จินตนา ทับทิมทอง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลำไทร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ข้อกำหนดมาตรฐานขนาดบ่อดักไขมันและแบบมาตรฐานการก่อสร้างบ่อดักไขมัน
๒. แบบที่ ๑ สำหรับบ้านพักอาศัยแบบถังดักไขมัน ขนาด ๑
ครัวเรือน
๓. แบบที่ ๒ สำหรับสถานประกอบการขนาดเล็กแบบถังดักไขมันขนาด
๒ ลบ.ม./วัน
๔. แบบที่ ๓ สำหรับสถานประกอบการขนาดใหญ่แบบถังดักไขมันขนาด
๔ ลบ.ม./วัน
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๕๑/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793523 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา
๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา และนายอำเภอปัว จึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนาตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว
ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
อาหาร หมายความว่า อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า อาคาร สถานที่
หรือบริเวณใด ๆ
ที่ไม่ใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จ
และจำหน่ายให้กับผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่าย
โดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า อาคาร
สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่
หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด
ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
และสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร
และมิใช่เป็นการขายของในตลาด ต้องได้รับใบอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตร
ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง
ข้อ
๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
ก.
สถานที่สะสมอาหาร
(๑)
ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒)
พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย
(๓)
จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอ
และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๔)
จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๕)
จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน
ที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๖)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ
(๗)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ
และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
ข.
สถานที่จำหน่ายอาหาร
(๑)
จัดสถานที่ตามกำหนดไว้ในข้อ ก. (๑) (๖)
(๒)
จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บ
และการบริโภคอาหารไว้ให้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนากำหนด
(๓)
ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย
(๔)
จัดให้มีบริเวณและที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ
ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ
(๕)
จัดให้มีที่สำหรับล้างมือ พร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ
(๖)
จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญ
เนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร
(๗)
จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๘)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ
และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
ข้อ
๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนากำหนด
พร้อมกับเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓)
อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนาประกาศกำหนด
ข้อ
๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
วางเก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ
รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันสัตว์นำโรคในสถานที่นั้น
(๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหาร รวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์
เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร
เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้น
ให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๓)
น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภค ต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะ
สามารถป้องกันสิ่งปนเปื้อนได้
และห้ามนำอาหารหรือสิ่งของอื่นใดแช่หรือเก็บรวมไว้ด้วยกัน
(๔)
การทุบ บดน้ำแข็ง ต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะ และสะอาดอยู่เสมอ
รวมทั้งป้องกันมิให้มีเสียงอันเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น
(๕)
ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการ ต้องทำความสะอาดและผ่านความร้อน
ฆ่าเชื้อโรคหรือกรรมวิธีอื่นใด ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๖)
จัดให้มีน้ำสะอาดไว้ให้เพียงพอ
(๗)
ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหารหรือน้ำแข็ง
โดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
(๘)
ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาดและปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล
(๙)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบัญญัติ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
ข้อ
๙ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๑๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต
ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนาเท่านั้น
การขอต่อใบอนุญาต
จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๗ และข้อ ๘ ด้วย
ข้อ
๑๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต
สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาต สิ้นอายุ
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนด
การเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๑๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนากำหนด
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับ
ใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๑๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบท
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ
๑๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ
๑๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผย เห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
จะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๙ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคาร
หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาด
จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนากำหนด
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒)
สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓)
อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนาประกาศกำหนด
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง
ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้ง
หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผลแต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ
๒๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง
ต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผย และเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ
ข้อ
๒๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด
ตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนากำหนด
การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒)
ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ
๒๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่น
ให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย
ข้อ
๒๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้
โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง
ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนด
ซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้
ข้อ
๒๔ ผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ในวันที่มาแจ้งและภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ
๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
ข้อ
๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนาเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
จิระนันท์ ชัยรัตนคำโรจน์
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
ปฏิบัติหน้าที่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมต่อท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไชยวัฒนา เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๔๒/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793146 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง เรื่อง ควบคุมตลาด พ.ศ. 2560
| ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง
ควบคุมตลาด
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
ว่าด้วยการควบคุมตลาด
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา
๓๕ มาตรา ๓๗ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติมองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางและนายอำเภอเพ็ญ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง ควบคุมตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ตลาด หมายความว่า สถานที่ซึ่งปกติจัดไว้ให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์
เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรืออาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย
ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความรวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สำหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจำหน่ายสินค้าประเภทดังกล่าวเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว
หรือตามวันที่กำหนด
สินค้า หมายความว่า
สิ่งของที่ซื้อขายกัน
อาหาร หมายความว่า
อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
อาหารสด หมายความว่า อาหารประเภทสัตว์
เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด
อาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ หมายความว่า
อาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ หรือเนื้อสัตว์ที่มีการชำแหละ ณ แผงจำหน่ายสินค้า
อาหารประเภทปรุงสำเร็จ หมายความว่า
อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ หรือปรุงสำเร็จ พร้อมที่จะรับประทานได้
รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ
สุขาภิบาลอาหาร หมายความว่า
การจัดการและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้อาหารสะอาดปลอดภัยจากเชื้อโรค
และสารเคมีที่เป็นพิษซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค เช่น อาหาร
ผู้สัมผัสอาหาร สถานที่ทำ ประกอบ ปรุง และจำหน่ายอาหาร ภาชนะ อุปกรณ์
สัตว์และแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
การล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาล หมายความว่า การทำความสะอาดตัวอาคาร แผงจำหน่ายสินค้าในตลาด พื้น ผนัง
เพดาน ทางระบายน้ำ ตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย
ที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ อ่างล้างมือ และบริเวณตลาด ให้สะอาด ไม่มีสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยหยากไย่
ฝุ่นละอองและคราบสกปรก รวมทั้งให้มีการฆ่าเชื้อ ทั้งนี้
สารเคมีที่ใช้ต้องไม่มีผลกระทบต่อระบบบำบัดน้ำเสียของตลาด
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ตลาดแบ่งออกเป็น
๒ ประเภท ดังนี้
(๑) ตลาดประเภทที่ ๑ ได้แก่ ตลาดที่มีโครงสร้างอาคาร
และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๒ ส่วนที่ ๑
(๒) ตลาดประเภทที่ ๒ ได้แก่ ตลาดที่ไม่มีโครงสร้างอาคาร
และมีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในหมวด ๒ ส่วนที่ ๒
ข้อ ๖ ที่ตั้งของตลาดต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า
๑๐๐ เมตร จากแหล่งที่ก่อให้เกิดมลพิษของเสีย โรงเลี้ยงสัตว์ แหล่งโสโครก
ที่กำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจเป็นอันตรายต่อ สุขภาพอนามัย
เว้นแต่จะมีวิธีการป้องกันซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ข้อ ๗ ผู้ดำเนินกิจการตลาดต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
หมวด
๒
สุขลักษณะในการดำเนินกิจการตลาด
ส่วนที่
๑
สุขลักษณะของตลาดประเภทที่
๑
ข้อ ๘ ตลาดประเภทที่ ๑
ต้องมีส่วนประกอบของสถานที่และสิ่งปลูกสร้าง คือ
อาคาร สิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของ ที่ขนถ่ายสินค้า ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ
อ่างล้างมือ ที่เก็บรวบรวม หรือที่รองรับมูลฝอย และที่จอดยานพาหนะ
ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
ข้อ ๙ อาคารสิ่งปลูกสร้างสำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ถนนรอบอาคารตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
และมีทางเข้าออกบริเวณตลาดกว้างไม่น้อยกว่า ๔ เมตร อย่างน้อยหนึ่งทาง
(๒) ตัวอาคารตลาดทำด้วยวัสดุถาวร มั่นคง และแข็งแรง
(๓) หลังคาสร้างด้วยวัสดุทนไฟ และแข็งแรงทนทาน
ความสูงของหลังคาต้องมีความเหมาะสมกับการระบายอากาศของตลาดนั้น
(๔) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง ไม่ดูดซึมน้ำ
เรียบ ล้างทำความสะอาดง่าย ไม่มีน้ำขังและไม่ลื่น
(๕) ทางเดินภายในอาคารมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๖) เครื่องกั้นหรือสิ่งกีดขวางทำด้วยวัสดุถาวร และแข็งแรง
สามารถป้องกันสัตว์ เช่น สุนัข มิให้เข้าไปในตลาด
(๗) การระบายอากาศภายในตลาดเพียงพอ เหมาะสม และไม่มีกลิ่นเหม็นอับ
(๘) ความเข้มของแสงสว่างในอาคารตลาดไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์
(๙) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุถาวร เรียบ
มีความลาดเอียง และทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
มีพื้นที่ไม่น้อยกว่า ๑.๕ ตารางเมตร และมีทางเข้าออกสะดวกโดยมีที่นั่งสำหรับผู้ขายของแยกต่างหากจากแผง
(๑๐)
น้ำประปาหรือน้ำสะอาดแบบระบบท่ออย่างเพียงพอสำหรับล้างสินค้าหรือล้างมือ ทั้งนี้
ต้องวางท่อในลักษณะที่ปลอดภัย ไม่เกิดการปนเปื้อนจากน้ำโสโครก
ไม่ติดหรือทับกับท่อระบายน้ำเสียหรือสิ่งปฏิกูล โดย
(ก) มีที่ล้างอาหารสดอย่างน้อย ๑ จุด และในแต่ละจุดจะต้องมีก๊อกน้ำไม่น้อยกว่า
๓ ก๊อกกรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๓๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีที่ล้างอาหารสด
๑ จุด ต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๓๐ แผง เศษของ ๓๐ แผง ถ้าเกิน ๑๕ แผง
ให้ถือเป็น ๓๐ แผง
(ข) มีก๊อกน้ำประจำแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ
และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ
(ค) มีที่เก็บสำรองน้ำในปริมาณเพียงพอและสะดวกต่อการใช้
กรณีที่มีแผงจำหน่ายอาหารสดตั้งแต่ ๕๐ แผงขึ้นไป ต้องจัดให้มีน้ำสำรองอย่างน้อย ๕
ลูกบาศก์เมตรต่อจำนวนแผงจำหน่ายอาหารสดทุก ๑๐๐ แผง เศษของ ๑๐๐ แผง ถ้าเกิน ๕๐ แผง
ให้ถือเป็น ๑๐๐ แผง
(๑๑) ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ทั้งนี้
ให้มีตะแกรงดักมูลฝอยและบ่อดักไขมันด้วย
(๑๒)
การติดตั้งระบบการป้องกันอัคคีภัยตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ความใน (๑) และ (๕) มิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ใช้บังคับและมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีถนนรอบอาคารตลาด
ทางเข้าออกบริเวณตลาด และทางเดินภายในอาคารตามที่กำหนดได้
ข้อ ๑๐ ต้องจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตั้งอยู่ในบริเวณหนึ่งบริเวณใดโดยเฉพาะ
มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการขนถ่ายสินค้าในแต่ละวัน
และสะดวกต่อการขนถ่ายสินค้าและการรักษาความสะอาด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับตลาดที่จัดตั้งขึ้นก่อนวันที่กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ใช้บังคับและมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ซึ่งไม่อาจจัดให้มีที่ขนถ่ายสินค้าตามที่กำหนดได้
ข้อ ๑๑ ต้องจัดให้มีห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
และตั้งอยู่ในที่เหมาะสมนอกตัวอาคารตลาด หรือในกรณีที่อยู่ในอาคารตลาดต้องแยกเป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ
มีผนังกั้นโดยไม่ให้มีประตูเปิดสู่บริเวณจำหน่ายอาหารโดยตรง
ข้อ ๑๒ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย
ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ตั้งอยู่นอกตัวอาคารตลาดและอยู่ในพื้นที่ที่รถเก็บขนมูลฝอยเข้าออกได้สะดวก
มีการปกปิดและป้องกันไม่ให้สัตว์เข้าไปคุ้ย เขี่ย ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยคำแนะนำ ของเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบว่าเหมาะสมกับตลาดนั้น
ข้อ ๑๓ ต้องจัดให้มีที่จอดยานพาหนะอย่างเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ส่วนที่
๒
สุขลักษณะของตลาดประเภทที่
๒
ข้อ ๑๔ ตลาดประเภทที่ ๒
ต้องจัดให้มีสถานที่สำหรับผู้ขายของ ห้องส้วม ที่ปัสสาวะ
อ่างล้างมือและที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอย ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้
ข้อ ๑๕ สถานที่สำหรับผู้ขายของต้องมีและเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ทางเดินภายในตลาดมีความกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร
(๒)
บริเวณสำหรับผู้ขายของประเภทอาหารสดต้องจัดให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะเป็นพื้นเรียบ แข็งแรง ไม่ลื่น
สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย และไม่มีน้ำขัง เช่น พื้นคอนกรีต
พื้นที่ปูด้วยคอนกรีตสำเร็จ หรือพื้นลาดด้วยยางแอสฟัลต์
(๓) แผงจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรงที่มีผิวเรียบ
ทำความสะอาดง่าย มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
และอาจเป็นแบบพับเก็บได้
(๔) น้ำประปาหรือน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และจัดให้มีที่ล้างทำความสะอาดอาหาร
และภาชนะในบริเวณแผงจำหน่ายอาหารสด แผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ
และแผงจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จ
(๕) ทางระบายน้ำจากจุดที่มีที่ล้าง
โดยเป็นรางแบบเปิด ทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ มีความลาดเอียงให้สามารถระบายน้ำได้สะดวก
มีตะแกรงดักมูลฝอยก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ
และไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนข้างเคียง ในกรณีจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขอาจกำหนดให้จัดให้มีบ่อดักไขมัน
หรือบ่อพักน้ำเสีย ก่อนระบายน้ำออกสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะก็ได้
(๖) กรณีที่มีโครงสร้างเฉพาะเสาและหลังคา โครงเหล็กคลุมผ้าใบ เต็นท์
ร่ม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกันต้องอยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
ข้อ ๑๖ ต้องจัดให้มีห้องส้วม
ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือตามจำนวนและหลักเกณฑ์ ด้านสุขลักษณะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมนอกสถานที่ขายของ เว้นแต่จะจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่
ส้วมสาธารณะ ส้วมเอกชนหรือส้วม
ของหน่วยงานราชการที่ได้รับอนุญาตให้ใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ทั้งนี้ ให้มีระยะห่างจากตลาดไม่เกิน ๕๐
เมตร
ข้อ ๑๗ ต้องจัดให้มีที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยอย่างเพียงพอที่จะรองรับปริมาณมูลฝอยในแต่ละวัน
และมีลักษณะเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่
๒ ได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าตลาดประเภทที่
๒ นั้น มีศักยภาพที่จะพัฒนา เป็นตลาดประเภทที่ ๑
ได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและผู้รับใบอนุญาตร่วมกันพิจารณากำหนดแผนการพัฒนาปรับปรุงตลาดประเภทที่
๒ ให้เป็นตลาดประเภทที่ ๑ ตามข้อบัญญัตินี้ ตามระยะเวลาและขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ส่วนที่
๓
การดำเนินกิจการตลาด
ข้อ ๑๙
การจัดวางสินค้าในตลาดแต่ละประเภทต้องจัดให้เป็นหมวดหมู่และไม่ปะปนกัน
เพื่อสะดวกในการดูแลความสะอาดและป้องกันการปนเปื้อนในอาหาร
ข้อ ๒๐ กำหนดเวลาการเปิดและปิดตลาดให้เป็นไปตามที่ผู้ขอรับใบอนุญาตขอไว้ในคำขอรับใบอนุญาต
ข้อ ๒๑ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๑
ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) บำรุงรักษาโครงสร้างต่าง ๆ ของตลาด
ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีตลอดเวลา เช่น ตัวอาคาร พื้น ฝ้าเพดาน
แผงจำหน่ายสินค้า ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง และทางระบายน้ำ อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น
สายไฟ หลอดไฟ พัดลม ก๊อกน้ำ ท่อน้ำประปา และสาธารณูปโภคอื่น
(๒) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย บ่อดักไขมัน ระบบบำบัดน้ำเสียหรือน้ำทิ้ง
และทางระบายน้ำ มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน
และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ
(๓) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะและอ่างล้างมือให้อยู่ในสภาพที่สะอาด
ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด
(๔) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน
โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ
และมีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
อาจแจ้งให้มีการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลมากกว่าเดือนละหนึ่งครั้งก็ได้
(๕)
จัดให้มีการกำจัดสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรคภายในบริเวณตลาดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
(๖) ดูแลแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละมิให้ปล่อยน้ำหรือของเหลว
ไหลจากแผงลงสู่พื้นตลาด และจัดให้มีทางระบายน้ำหรือของเหลวลงสู่ทางระบายน้ำหลักของตลาด
ข้อ ๒๒ ผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่ ๒
ต้องรับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับ
การบำรุงรักษาตลาดและการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในตลาดให้ถูกสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีการเก็บกวาดมูลฝอยบริเวณตลาด
และดูแลความสะอาดของตะแกรงดักมูลฝอย
รวมทั้งกรณีที่มีบ่อดักไขมัน บ่อพักน้ำเสีย และทางระบายน้ำ
มิให้มีกลิ่นเหม็นเป็นประจำทุกวัน
และดูแลที่เก็บรวบรวมหรือที่รองรับมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะเสมอ
(๒) ดูแลห้องส้วม ที่ปัสสาวะ และอ่างล้างมือ ให้อยู่ในสภาพที่สะอาด
ใช้การได้ดี และเปิดให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดตลาด
(๓) จัดให้มีการล้างทำความสะอาดตลาดเป็นประจำทุกวัน
โดยเฉพาะแผงจำหน่ายอาหารสด
และแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละ ในกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อ ให้ดำเนินการล้างตลาดตามหลักการสุขาภิบาลตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งให้ปฏิบัติ
(๔)
จัดให้มีการป้องกันไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลจากแผงจำหน่ายอาหารประเภทเนื้อสัตว์ชำแหละลงสู่พื้นตลาด
ข้อ ๒๓ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันเหตุรำคาญ
มลพิษที่เป็นอันตราย หรือการระบาดของโรคติดต่อผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดประเภทที่
๑ หรือตลาดประเภทที่ ๒ ต้องไม่กระทำการ และต้องควบคุมดูแลมิให้ผู้ใดกระทำการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
จำหน่ายอาหารที่ไม่สะอาดหรือไม่ปลอดภัยตามกฎหมายว่าด้วยอาหารในตลาด
(๒) นำสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในตลาด เว้นแต่สัตว์ที่นำไปขังไว้ในที่ขังสัตว์เพื่อจำหน่าย
(๓) ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ใหญ่ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ หรือสุกร ในตลาด
รวมทั้งฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีกในกรณีที่เกิดการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ในเขตท้องที่นั้น
(๔) สะสมหรือหมักหมมสิ่งหนึ่งสิ่งใดในตลาด
จนทำให้สถานที่สกปรก รกรุงรัง เป็นเหตุรำคาญเกิดมลพิษที่เป็นอันตราย
หรือเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
(๕) ถ่ายเทหรือทิ้งมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลในที่อื่นใด
นอกจากที่ซึ่งจัดไว้สำหรับรองรับมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูล
(๖) ทำให้น้ำใช้ในตลาดเกิดความสกปรกจนเป็นเหตุให้เป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๗)
ก่อหรือจุดไฟไว้ในลักษณะซึ่งอาจเป็นที่เดือดร้อนหรือเกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
(๘) ใช้ตลาดเป็นที่พักอาศัยหรือเป็นที่พักค้างคืน
(๙) กระทำการอื่นใดที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ มลพิษที่เป็นอันตราย
หรือการระบาดของโรคติดต่อ เช่น เสียงดัง แสงกระพริบ ความสั่นสะเทือน
หรือมีกลิ่นเหม็น
ส่วนที่
๔
ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาด
ข้อ ๒๔ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาด
เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ในเรื่องดังต่อไปนี้
(๑) การจัดระเบียบและกฎเกณฑ์ในการรักษาความสะอาดของตลาด
(๒) การจัดหมวดหมู่สินค้า
(๓) การดูแลความสะอาดแผงจำหน่ายสินค้าของตน
(๔) การรวบรวมมูลฝอยลงในภาชนะรองรับที่เหมาะสม
(๕) การล้างตลาด
(๖)
การเข้ารับการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหารและอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๗)
การตรวจสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๕ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติเกี่ยวกับสินค้าและแผงจำหน่ายสินค้า
ดังต่อไปนี้
(๑) ให้วางสินค้าบนแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด
โดยห้ามวางสินค้าล้ำแผงจำหน่ายสินค้าหรือขอบเขตที่กำหนด
และห้ามวางสินค้าสูงจนอาจเกิดอันตรายหรือส่งผลกระทบต่อระบบการระบายอากาศ
และแสงสว่าง ทั้งนี้
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒) ห้ามวางสินค้าประเภทวัตถุอันตรายปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร
(๓) ให้วางสินค้าประเภทอาหาร เครื่องดื่ม
และภาชนะอุปกรณ์ในขอบเขตที่กำหนด โดยสูงจากพื้นตลาดไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๔) ห้ามเก็บสินค้า ประเภทอาหารไว้ใต้แผงจำหน่ายสินค้า เว้นแต่อาหาร
ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร หรืออาหารที่มีการป้องกันการเน่าเสีย
และปกปิดมิดชิด ทั้งนี้
ต้องมีการรักษาความสะอาดและป้องกันสัตว์หรือแมลงที่เป็นพาหะนำโรค
(๕)
ไม่ใช้แสงหรือวัสดุอื่นใดที่ทำให้ผู้บริโภคมองเห็นอาหารต่างไปจากสภาพที่เป็นจริง
(๖) ห้ามต่อเติมแผงจำหน่ายสินค้า
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๖ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องมีสุขอนามัยส่วนบุคคล
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ
ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อเช่น อหิวาตกโรค
ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย
โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๒) ในระหว่างขายสินค้าต้องแต่งกายสุภาพ สะอาด
เรียบร้อย หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๓)
ในระหว่างขายสินค้าประเภทอาหารต้องปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ไม่ไอ
หรือจามรดอาหาร ไม่ใช้มือหยิบจับอาหารที่พร้อมรับประทานโดยตรง ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบหรือจับอาหาร
ไม่สูบบุหรี่หรือดื่มสุรา เป็นต้น
ข้อ ๒๗ ผู้ขายของและผู้ช่วยขายของในตลาดต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะในการจำหน่าย
ทำ ประกอบ ปรุง เก็บหรือสะสมอาหาร และการรักษาความสะอาดของภาชนะ
น้ำใช้และของใช้ต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) อาหารที่ขายต้องสะอาด
และปลอดภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(๒) อาหารสดเฉพาะสัตว์ เนื้อสัตว์ และอาหารทะเล
ต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิไม่เกิน ๕ องศาเซลเซียส
ในตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งตลอดระยะเวลาการเก็บ
(๓) การจำหน่ายอาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องใช้เครื่องใช้ ภาชนะที่สะอาด
และต้องมีอุปกรณ์ปกปิดอาหารเพื่อป้องกันการปนเปื้อน
และรักษาอุปกรณ์ปกปิดอาหารนั้นให้สะอาดและใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๔) ในกรณีที่เป็นแผงจำหน่ายอาหาร ซึ่งมีการทำ ประกอบ และปรุงอาหาร
ต้องจัดสถานที่ไว้ให้เป็นสัดส่วนโดยเฉพาะเพื่อการนั้นและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการสุขาภิบาลอาหาร
(๕) เครื่องมือ เครื่องใช้ และภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น เขียง
เครื่องขูดมะพร้าว จาน ชาม ช้อนและส้อม ตะเกียบ แก้วน้ำ เป็นต้น
ต้องสะอาดและปลอดภัย มีการล้างทำความสะอาด และจัดเก็บที่ถูกต้อง
หมวด
๓
ใบอนุญาต
ข้อ ๒๘ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งตลาด
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การเปลี่ยนแปลง
ขยายหรือลดสถานที่หรือบริเวณที่ใช้เป็นตลาดภายหลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกใบอนุญาตให้จัดตั้งตลาดตามวรรคหนึ่งแล้วจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย
ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐที่ได้จัดตั้งตลาดขึ้นตามอำนาจหน้าที่
แต่ในการดำเนินกิจการตลาดจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับผู้รับใบอนุญาต ตามบทบัญญัติอื่นแห่งข้อบัญญัตินี้และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ด้วย และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไขเป็นหนังสือให้ผู้จัดตั้งตลาดตามวรรคนี้ปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ข้อ ๒๙ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ)
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๓๐ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลา
ที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วน
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ ๓๑ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน
หรือตามที่เห็นสมควรนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ ๓๒ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้ว
ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๓๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๓๔ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๕ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๖ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่า
ผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๗ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด
๔
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๓๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๔๐ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
หมวด
๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๔๑ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
หรั่ง ธุระพล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง ควบคุมตลาด พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๑๑๕/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793149 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง เรื่อง ควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง
ควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติว่าด้วยการควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา
๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
และที่แก้ไขเพิ่มเติมองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางและนายอำเภอเพ็ญ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง ควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ แผงลอย หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค
ณ ที่นั้นหรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า อาคาร สถานที่ แผงลอย
หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารให้รูปลักษณะอื่นใด
ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
อาหารสด หมายความว่า
อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด
อาหารประเภทปรุงสำเร็จ หมายความว่า
อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบ หรือปรุงสำเร็จ พร้อมที่จะรับประทานได้
รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ
อาหารแห้ง หมายความว่า อาหารที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งโดยการอบ
รมควัน ตากแห้ง หรือวิธีการอื่นใด
เพื่อลดปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในอาหารลงและเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น
เครื่องปรุงรส หมายความว่า
สิ่งที่ใช้ในกระบวนการปรุงอาหารให้มีรูปแบบ รสชาติ กลิ่นรส ชวนรับประทาน เช่น
เกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู ซอส ผงชูรส รวมทั้งเครื่องเทศ สมุนไพร มัสตาร์ด เป็นต้น
วัตถุเจือปนอาหาร หมายความว่า
วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม
แต่ใช้เจือปนในอาหารเพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิต การแต่งสีอาหาร
การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษา
หรือการขนส่ง ซึ่งมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐานหรือลักษณะของอาหาร ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มิได้เจือปนในอาหาร
แต่มีภาชนะบรรจุไว้เฉพาะแล้วใส่รวมอยู่กับอาหาร เพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย
เช่น วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น
ความในวรรคหนึ่ง
ไม่รวมถึงสารอาหารที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการ ของอาหาร เช่น
โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่
ผู้สัมผัสอาหาร หมายความว่า
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียม ปรุง ประกอบ
จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร รวมถึงการล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์
ผู้ประกอบกิจการ หมายความว่า
บุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุม
กำกับดูแลการดำเนินการของสถานที่จำหน่ายอาหารนั้น
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ผู้ดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้
รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หมวด
๒
สุขลักษณะในการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหาร
ส่วนที่
๑
สถานที่และสุขลักษณะของบริเวณที่ใช้ทำ
ประกอบหรือปรุงอาหาร
ที่ใช้จำหน่ายอาหาร
และที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหาร
ข้อ ๖ สถานที่และบริเวณที่ใช้ทำ
ประกอบหรือปรุงอาหาร ที่ใช้จำหน่ายอาหาร และที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารต้องมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) พื้นบริเวณที่ใช้ทำ ประกอบ
ปรุงอาหารต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด
และทำความสะอาดง่าย
(๒) กรณีที่มีผนัง หรือเพดานต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด
(๓) มีการระบายอากาศเพียงพอ และในกรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหารเข้าข่ายสถานที่สาธารณะ
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
(๔) มีความเข้มของแสงสว่างเพียงพอตามความเหมาะสมในแต่ละบริเวณ
(๕) มีที่ล้างมือและอุปกรณ์สำหรับล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ
(๖) โต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร หรือที่จำหน่ายอาหาร
สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี
(๗) โต๊ะเก้าอี้ที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด
ไม่ชำรุด
(๘) น้ำใช้เป็นน้ำประปา ยกเว้นกรณีที่ไม่มีน้ำประปาให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำประปา
หรือเป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๙) ภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ปลอดภัย และสภาพดี
ข้อ ๗ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับมูลฝอย
โดยมีถังรองรับมูลฝอยที่มีสภาพดีไม่รั่วซึม
ไม่ดูดซับน้ำ มีฝาปิดมิดชิด แยกเศษอาหารจากมูลฝอยประเภทอื่น และต้องดูแลรักษาความสะอาด
ถังรองรับมูลฝอยและบริเวณโดยรอบตัวถังรองรับมูลฝอยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ การจัดการเกี่ยวกับมูลฝอย
และถังรองรับมูลฝอยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของท้องถิ่นเรื่องการจัดการมูลฝอย
ข้อ ๘ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับส้วม
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องจัดให้มีหรือจัดหาห้องส้วมที่มีสภาพดี พร้อมใช้ ไว้บริการ
และมีจำนวนเพียงพอ
(๒) ห้องส้วมต้องสะอาด มีการระบายอากาศที่ดี มีแสงสว่างเพียงพอ
(๓) มีอ่างล้างมือที่ถูกสุขลักษณะและมีอุปกรณ์สำหรับล้างมือจำนวนเพียงพอ
(๔) ห้องส้วมต้องแยกเป็นสัดส่วน
โดยประตูไม่เปิดโดยตรงสู่บริเวณที่เตรียม ทำ ประกอบ
ปรุงอาหารที่เก็บ ที่จำหน่ายและที่บริโภคอาหาร ที่ล้างและที่เก็บภาชนะอุปกรณ์
เว้นแต่จะมีการจัดการห้องส้วมให้สะอาดอยู่เสมอ และมีฉากปิดกั้นที่เหมาะสม ทั้งนี้ ประตูห้องส้วม ต้องปิดตลอดเวลา
ข้อ ๙ จัดให้มีมาตรการ อุปกรณ์
หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอัคคีภัยจากการใช้เชื้อเพลิง
ในการทำประกอบ ปรุงอาหาร
ส่วนที่
๒
สุขลักษณะของอาหาร
กรรมวิธีการทำ ประกอบ ปรุง การเก็บรักษาและการจำหน่ายอาหาร
ข้อ ๑๐ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารสดตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) อาหารสดที่นำมาประกอบ และปรุงอาหารต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดี
สะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
(๒) อาหารสดต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และเก็บเป็นสัดส่วน
มีการปกปิด ไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้
ข้อ ๑๑ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารแห้ง
อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหาร ตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) อาหารแห้งต้องสะอาด ปลอดภัย
ไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม
(๒) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร
และสิ่งอื่นที่นำมาใช้ในกระบวนการประกอบหรือปรุงอาหารต้องปลอดภัยได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
ข้อ ๑๒ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารประเภทปรุงสำเร็จ
ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย และมีการป้องกัน
การปนเปื้อนวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๒)
มีการควบคุมคุณภาพอาหารประเภทปรุงสำเร็จให้สะอาด ปลอดภัยสำหรับ การบริโภคตามชนิดของอาหาร
ข้อ ๑๓ น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่ใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
บรรจุในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้น อย่างน้อย
๖๐ เซนติเมตร ในกรณีที่เป็นน้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
ต้องวางสูงจากพื้น อย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาให้บริการ
ข้อ ๑๔ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำแข็งตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ใช้น้ำแข็งที่สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด สภาพดี มีฝาปิด วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕
เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
ไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน
และต้องไม่ระบายน้ำจากถังน้ำแข็งลงสู่พื้นบริเวณที่วางภาชนะ
(๓) ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้าม สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งโดยเฉพาะ
(๔) ต้องไม่นำอาหาร หรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค
ข้อ ๑๕ สถานที่จำหน่ายอาหารซึ่งมีที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารต้องจัดให้มีช้อนกลาง สำหรับอาหารที่รับประทานร่วมกัน
ข้อ ๑๖ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องจัดเก็บสารเคมี
สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ หรือวัตถุ ที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภค
แยกบริเวณเป็นสัดส่วนต่างหากไม่ปะปน
กับอาหารต้องติดฉลากและป้ายให้เห็นชัดเจนพร้อมทั้งมีคำเตือนและคำแนะนำเมื่อเกิดอุบัติภัย
จากสารดังกล่าวกรณีที่มีการเปลี่ยนถ่ายสารเคมีจากภาชนะบรรจุเดิม
ห้ามนำภาชนะบรรจุสารเคมี สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหาร
และการนำอาหารมาบริโภคมาใช้บรรจุอาหาร และห้ามนำภาชนะบรรจุอาหารมาใช้บรรจุสารเคมี
สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ
หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภคโดยเด็ดขาด
ส่วนที่
๓
สุขลักษณะของภาชนะ
อุปกรณ์ เครื่องใช้อื่น ๆ และน้ำใช้
ข้อ ๑๗ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับภาชนะบรรจุอาหาร
อุปกรณ์ และเครื่องใช้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ
ต้องสะอาดและทำจากวัสดุที่ปลอดภัยเหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี
ไม่ชำรุดและมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม
(๒) มีการจัดเก็บภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์ และเครื่องใช้ไว้ในที่สะอาด
โดยวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
และมีการปกปิดหรือป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม
(๓) ตู้เย็น ตู้แช่
หรืออุปกรณ์เก็บรักษาคุณภาพอาหารด้วยความเย็นอื่น ๆ ต้องสะอาด
มีสภาพดี ไม่ชำรุด มีประสิทธิภาพเหมาะสมในการเก็บรักษาคุณภาพอาหาร
(๔) ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟ
อุปกรณ์ประกอบหรือปรุงอาหารด้วยความร้อนอื่น ๆ
หรืออุปกรณ์เตรียมอาหารต้องสะอาด มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สภาพดี ไม่ชำรุด
ข้อ ๑๘ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการทำความสะอาดภาชนะบรรจุอาหาร
อุปกรณ์ และเครื่องใช้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ภาชนะ อุปกรณ์
และเครื่องใช้ที่รอการทำความสะอาดต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้
(๒) ทำความสะอาดภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ให้สะอาด ด้วยวิธีการตามหลักสุขาภิบาลอาหารและใช้สารทำความสะอาดที่เหมาะสม
โดยปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้สารทำความสะอาดนั้น ๆ จากผู้ผลิต
ส่วนที่
๔
สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ
ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ ได้แก่ อหิวาตกโรค
ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย
โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนัง
ที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์
และโรคอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป
(๒) ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
ที่รัฐมนตรีกำหนด
(๓) ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาด
และเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหารได้
(๔) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ
จำหน่าย และเสิร์ฟอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และไม่กระทำการใด ๆ
ที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่ออาหาร หรือก่อให้เกิดโรคได้
(๕)
ต้องปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ส่วนที่
๕
การป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อ
ข้อ ๒๐ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำเสีย
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องมีการระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง และไม่มีเศษอาหารตกค้าง
(๒)
ต้องมีการแยกเศษอาหารและไขมันไปกำจัดก่อนระบายน้ำทิ้งออกสู่ระบบระบายน้ำ
และน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๑ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
ข้อ ๒๒ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องจัดให้มีการป้องกันควบคุมสัตว์
และแมลงนำโรค รวมถึง สัตว์เลี้ยงตามที่รัฐมนตรีกำหนด
ส่วนที่
๖
การป้องกันอัคคีภัยและอันตราย
ข้อ ๒๓ ห้ามใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในการทำ
ประกอบ หรือปรุงอาหารบริเวณ โต๊ะรับประทานอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร
ข้อ ๒๔ ห้ามใช้เมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงในการทำ
ประกอบ ปรุง หรืออุ่นอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร
เว้นแต่เป็นการใช้แอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องได้รับมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หมวด
๓
สุขลักษณะในการดำเนินกิจการสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ ๒๕ ผู้จัดตั้งสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ตลอดจนสิ่งอื่นที่ใช้ในการประกอบกิจการ
ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ ดังต่อไปนี้
(๑) ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ที่ฝัง
เผา หรือเก็บศพที่เททิ้งสิ่งปฏิกูลที่เลี้ยงสัตว์
หรือที่อื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่น้อยกว่า
๑๐๐ เมตร เว้นแต่สามารถปรับปรุงสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร ทำความสะอาดง่าย
(๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๔) จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๕) จัดให้มีส้วมที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๖)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมวด
๔
ใบอนุญาตและหนังสือรับรองการแจ้ง
ส่วนที่
๑
ใบอนุญาต
ข้อ ๒๖ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด
ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคาร
หรือใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ)
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๒๘ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนด
ในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน
หรือตามที่เห็นสมควรนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ ๓๐ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้นการขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต
ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออก
ใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ส่วนที่
๒
หนังสือรับรองการแจ้ง
ข้อ ๓๗ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด
ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง
ข้อ ๓๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคาร หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ)
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๓๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง
ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐาน
ในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้ง
หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบ
เพื่อดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติม หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น
ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสาร
หรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล
แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผย
และเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ
ข้อ ๔๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด
ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๔๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย
ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง
ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้
หมวด
๕
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๔๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต
หรือผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกและก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
หรือในวันที่มาแจ้งและก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้น
ก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๔๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
หมวด
๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
หรั่ง ธุระพล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง ควบคุมสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
๔. แบบคำขอแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
๕.
หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๑๓๐/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793153 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ.
๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่
๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๗ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘
มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
และนายอำเภอกันทรารมย์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงเมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
อาหาร หมายความว่า
ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่
(๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม
หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ หรือในรูปลักษณะใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
แล้วแต่กรณี
(๒)
วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร สี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที
ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น
หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด
ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด
ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง
ข้อ ๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือได้รับหนังสือแจ้งรับรองการแจ้งให้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องตั้งห่างจากแหล่งที่น่ารังเกียจ
และ/หรือแหล่งก่อให้เกิดมลพิษที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒) พื้น ผนัง เพดานต้องทำจากวัสดุถาวร แข็งแรง
เรียบซึ่งจะต้องทำความสะอาดได้ง่าย รวมทั้งพื้นลาดเอียงไปสู่ระบบระบายน้ำเสีย
และต้องไม่ระบายน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยตรง
(๓) ต้องมีแสงสว่างภายในไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ลักซ์ ณ จุดที่ทำการปรุง
ประกอบ และจำหน่ายอาหาร
(๔) ต้องมีการระบายอากาศภายในร้านอย่างเพียงพอ
โดยมีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของพื้นที่ห้อง
สำหรับห้องรับประทานอาหารที่มีเครื่องดูดควันและปล่องระบายควันต้องสูงเพียงพอไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
(๕) ต้องมีน้ำสะอาดสำหรับใช้อย่างเพียงพอ
มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และมีจำนวนเพียงพอกับผู้ใช้บริการ
(๖) สถานที่รับประทานอาหารต้องใช้โต๊ะ เก้าอี้ที่สะอาด แข็งแรง
จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย
(๗) การจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บสะสมอาหารและการล้างภาชนะ อุปกรณ์
ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๘) อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องปรุงรสเก็บในภาชนะที่ปิดสนิทต้องมีเลขทะเบียนตำรับอาหาร
(อย.) หรือมีเครื่องหมายรับรองของทางราชการ
(๙) อาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ และอาหารแห้งต้องมีคุณภาพดี
แยกเก็บเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกัน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตรขึ้นไป
หรือเก็บในตู้เย็น ถ้าเป็นห้องเย็นต้องวางอาหารสูงจากพื้นอย่างน้อย ๓๐ เซนติเมตร
สำหรับอาหารสดต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุงเป็นอาหาร
(๑๐) น้ำดื่ม เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ต้องสะอาด ใส่ภาชนะที่สะอาด
มีฝาปิด มีก๊อก หรือทางรินน้ำหรือมีอุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับตักโดยเฉพาะ
(๑๑) น้ำแข็งที่ใช้บริการต้องสะอาด ใส่ภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด
มีอุปกรณ์ที่มีด้ามสำหรับคีบหรือตักโดยเฉพาะ และต้องไม่มีสิ่งของอื่นแช่รวม
(๑๒) ภาชนะที่บรรจุอาหาร หรือใส่เครื่องปรุงรสต่าง ๆ
ต้องใช้วัสดุที่มีการออกแบบที่ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร
ภาชนะประเภทใช้แล้วทิ้งห้ามนำกลับมาใช้ใหม่
(๑๓)
ล้างภาชนะอุปกรณ์ด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักสุขลักษณะอย่างน้อยสองขั้นตอน
โดยขั้นตอนที่หนึ่งล้างด้วยน้ำยาล้างภาชนะ
และขั้นตอนที่สองล้างด้วยน้ำสะอาดสองครั้ง หรือล้างด้วยน้ำไหล
(๑๔) ต้องจัดให้มีที่รองขยะมูลฝอย ที่ไม่รั่วซึม
และมีฝาปิดและต้องมีการรวบรวม และกำจัดที่ถูกต้อง
(๑๕) หากมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
และมีผลทำให้สุขลักษณะของสถานที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยแล้วจะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๑๖)
ถ้าปรากฏขึ้นว่าผู้รับใบอนุญาตใดเป็นโรคติดต่อหรือมีพาหนะนำโรคติดต่อ ซึ่งพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าถ้าอนุญาตให้จัดตั้งหรือใช้สถานที่จำหน่ายอาหารต่อไปจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาตของผู้นั้นเสีย
(๑๗) ปฏิบัติการด้านอื่น ๆ
ต้องถูกสุขลักษณะตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามความในข้อ ๕ ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้
ข้อ ๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตและหรือผู้ขอต่อใบอนุญาตจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตหรือวันที่มายื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต
แล้วแต่กรณี
ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารรายใด
ไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องนำสำเนาหลักฐานตามที่กำหนดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อประกอบคำขอรับใบอนุญาต
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงประกาศกำหนด
ข้อ ๑๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาต
หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตามข้อ
๕ ทราบภายในสามสิบวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับคำขอตามข้อ ๗ และหลักฐานตามข้อ ๙ ถูกต้องครบถ้วน
ในกรณีที่มีเหตุอันจำเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจดำเนินการได้ภายในเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่งสามารถขยายระยะเวลาออกไปได้อีกสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน โดยจะมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้มารับใบอนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาแล้วนั้น
ข้อ ๑๑ ใบอนุญาตนี้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและใช้ได้เฉพาะที่แห่งเดียวที่ได้ระบุไว้ในใบอนุญาต
โดยต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๑๒ การขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดภายในกำหนดสามสิบวันก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด
การขอรับใบแทนใบอนุญาตให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์วิธีการตามข้อ
๗ หรือข้อ ๙ โดยอนุโลมและให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
ข้อ ๑๔ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตสำหรับกิจการใดไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขแห่งข้อบัญญัตินี้เกี่ยวกับการประกอบกิจการที่ได้รับใบอนุญาตนั้น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๑๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องสั่งใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำผิดตามข้อบัญญัตินี้
(๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาต
และการไม่ปฏิบัติหรือการปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้น ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๑๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๑๗ บรรดาใบอนุญาตจำหน่ายอาหารที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้คงใช้ได้ต่อไป
จนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น
ข้อ ๑๘ ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารตามข้อ ๕ วรรคสอง
ต้องยื่นคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้
ข้อ ๑๙ ผู้แจ้งจะต้องชำระค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับหนังสือรับรองการแจ้งหรือวันที่มายื่นคำขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้ง
แล้วแต่กรณี
ผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารรายใด
ไม่ชำระค่าธรรมเนียมตามกำหนดเวลาในวรรคหนึ่งจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนวันถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๐ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกหนังสือรับรองการแจ้งจากผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระยะที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนด
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง
ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้ง
หรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้อง หรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้ง
ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล
แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งผู้มีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนด
ข้อ ๒๑ หนังสือรับรองการแจ้งนี้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรองการแจ้งและใช้ได้เฉพาะสถานที่แห่งเดียวที่ได้ระบุไว้ในหนังสือรับรองการแจ้ง
โดยต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นคำขอใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึง
การสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด
ข้อ ๒๓ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งต่อ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใด ๆ ดำเนินกิจการตามข้อ
๕ วรรคสอง โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและหรือเคยฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่งยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๑๘ ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปี
ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ข้อ ๒๖ ผู้ใดประกอบกิจการตามข้อ
๕ วรรคหนึ่งโดยมิได้รับอนุญาตและผู้ใดประกอบการค้าตามข้อ ๕
วรรคสองโดยไม่มีหนังสือรับรองการแจ้งมีความผิดและต้องรับโทษตามมาตรา ๗๒
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และผู้ประกอบการค้าตามข้อ ๕ รายใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงกำหนดมีความผิดตามมาตรา
๗๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้
มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ไพบูลย์ สะอาด
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐ ธันวาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๑๖๗/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793151 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
ว่าด้วยการควบคุมกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตราย
ต่อสุขภาพที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนงโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนงและนายอำเภอจะนะ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนงตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ ขององค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบกิจการ หมายความว่า
สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามมาตรา
๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน หมายความว่า การประกอบกิจการที่ให้บริการส่งพนักงานไปเลี้ยงและดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุไม่เกิน
๖ ปี
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะทางเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน
โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น
ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการ หรือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม
๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์ และผลิตภัณฑ์
(๒.๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด
(๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย
กระดอง กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก
เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เป็นอาหาร
(๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม
หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารการเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ
เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่
ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง
น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก
ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก
บดนึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว
เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ
(๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย
ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง
ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู
ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา
น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาด
(๔.๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น
เครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์
ทำความสะอาดต่าง ๆ
๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำ ปะหลัง แป้งสาคู
แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด
ๆ ก็ตาม
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง
ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์
หรือเครื่องใช้ต่าง ๆด้วยโลหะหรือแร่
(๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๖.๑)
(๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล
หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
๗. กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลซึ่งมีไว้บริการ
หรือจำหน่าย
(๗.๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล
ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องกล
(๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล
เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของ ยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า
๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี
แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๘.๔) การอบไม้
(๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม
สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ
รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น
ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ
หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๙.๑)
(๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต
หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข
วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด
ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒)
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย ตัด
หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน
หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕)
๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก
และสารเคมีต่าง ๆ
(๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น
หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑)
(๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก
เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
๑๓. กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด
ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา
(๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
หมวด
๒
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ข้อ ๗ ผู้ประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ
หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น
ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อมีระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
หมวด
๓
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ ๑๐ การดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่
(๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลซึ่งจะทำรางระบายน้ำ
รับน้ำเสียไปให้พ้นจากที่นั้นโดยสะดวก
(๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อซึ่งรับน้ำเสียด้วยวัตถุถาวร
ที่มีลักษณะเรียบ ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก
(๓)
การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
(๔) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร
เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วหรือขังอยู่ได้
หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำเสียหรือทำการบำบัดน้ำเสียให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาล
หรือต้องมีบ่อดักไขมัน (Grease Trap) เครื่องป้องกันกลิ่น
ไอเสีย ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า ควัน
มูล หรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง ผู้ประกอบกิจการนั้นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๕) ต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อาศัยของสัตว์นำโรค
(๖) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ
โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตอาหาร
(๗) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
(๘) ต้องจัดให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ.๒๕๓๖) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
พ.ศ. ๒๕๓๕ และหรือกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
และต้องมีปริมาณที่เพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น
(๙) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องสร้างให้ได้สุขลักษณะตามความเห็นชอบของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๑๐)
สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าที่ไม่ก่อเหตุรำคาญ
และตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๑๑) ปฏิบัติการอื่นใดภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และถูกต้องสุขลักษณะปลอดภัยต่อสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นสมควรเพื่อให้ถูกสุขลักษณะ
ข้อ ๑๑ สถานที่ประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็น
และเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๒ สถานที่ประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม
หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย
รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค
ที่ติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมี
หรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
หมวด
๔
ใบอนุญาต
ข้อ ๑๗ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๘ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖
ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตอื่นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ
ข้อ ๑๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้ต้องปฏิบัติรวมทั้งจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการค้านั้น
ๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของสาธารณสุข
(๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบ
ไม่ซึมไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก
(๓)
การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือที่อยู่อาศัยใกล้เคียง
(๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร
เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครก
หรือทำการกำจัดน้ำโสโครก ไขมัน
ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลหรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย
ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง
ข้อกำหนดดังกล่าว
ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๖) ต้องมีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ
และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค
(๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ
(๘) ต้องมีที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอันได้ลักษณะจำนวนเพียงพอ
(๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะ
จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ ในสถานที่นั้นและต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม
รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ ที่ขัง และปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ
และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ
(๑๑)
สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่
เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบัญญัติและประกาศองค์การบริหาร ส่วนตำบลจะโหนง
ข้อ ๒๐ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ
๑๙ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
ก็ให้ออกใบอนุญาตให้
ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอใบอนุญาต หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้อง หรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง
หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาต
หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าตามข้อ
๖ ทราบภายในสามสิบวันนับแต่ที่ได้รับคำขอ ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
โดยจะมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ผู้ขอรับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม
ตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ
๖ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องประกอบกิจการนั้น ๆ ภายในเขตสถานที่ที่ได้รับอนุญาต วัน
เวลาที่ได้รับอนุญาต
(๒) ต้องรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในการประกอบกิจการทุกชนิด
ให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและปลอดภัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
(๓) ต้องรักษาสภาพแวดล้อม สถานที่ประกอบกิจการ
ให้สะอาดและปลอดภัยไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ยุง สัตว์พาหะนำโรคติดต่อ
และมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ
(๔) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัย
และระบบความปลอดภัยเวลาที่เกิดอัคคีภัยขึ้นมีบันได้หนีไฟ
หรือทางออกฉุกเฉินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
(๕) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต
(๖)
ต้องจัดให้มีระบบป้องกันการปนเปื้อนสารพิษในผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหาร
(๗) กรณีที่ผู้ประกอบการกิจการมีความประสงค์จะทำการเปลี่ยนแปลง แก้ไข
หรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
(๘) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าตรวจสอบสถานที่
เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีการประกอบการค้าตามกฎหมาย ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
เมื่อได้รับแจ้งให้ทราบแล้ว
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนงเท่านั้น
ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องทำคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุเมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมเสียค่าธรรมเนียมแล้ว
ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๒๑ ด้วย
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ในวันที่มารับใบอนุญาต สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
กรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๕ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ
๒๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตตามข้อ ๒๐
ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียว และสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๒๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
ข้อ ๒๗ กรณีใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการ
สูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำสำเนาบันทึก
การแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๓) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดง ว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี
ที่ออกใบแทน
พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๔)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
(๕) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณีและลงเล่ม เลขที่
ปีของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๘ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๙ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้ารายใด
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติ ไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนด
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวง ที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ
ตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต
และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่วันที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๔ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๕ ให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการยื่นคำร้องขออนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามแบบฟอร์ม
และชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๓๖ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๗ ผู้ประกอบกิจการรายใดซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่ก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ
หรือถูกเพิกถอนตามข้อบัญญัตินี้ และเมื่อประสงค์จะต่ออายุใบอนุญาตให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
เสถียร ประทุมมณี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลจะโหนง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
แบบ อภ. ๑
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แบบ อภ. ๒
๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
แบบ อภ. ๓
๕. แบบคำขออนุญาตต่าง ๆ
เกี่ยวกับการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แบบ อภ. ๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๑๔๔/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793155 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔
มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงและนายอำเภอกันทรารมย์ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
สถานที่ประกอบกิจการ หมายความว่า
สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา
๓๒ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของ หรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น
ซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เหตุรำคาญ หมายความว่า
เหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
หรือผู้ที่ต้องประสบเหตุนั้น
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
(๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
(๑.๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง
(๑.๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดน้ำนม
(๑.๓) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อทำประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้
จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ได้
(๒) กิจการที่เกี่ยวข้องกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒.๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์
ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก
(๒.๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์
(๒.๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขายและการขายในตลาด
(๒.๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์
เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์หรืออื่น ๆ ของสัตว์
(๒.๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม
หรือการกระทำอื่นใด ฆ่าสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช
เพื่อเป็นอาหารสัตว์
(๒.๘) การสะสมหรือการล้างครั่ง
(๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
(๓.๑) การผลิตเนย เนยเทียม
(๓.๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู
ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาจ่อม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก
หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น
เกี้ยมอี๋
(๓.๘) การผลิตแบะแซ
(๓.๙) การผลิตอาหารกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๐) การประกอบกิจการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
(๓.๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง
เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋องขวดหรือภาชนะอื่นใด
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล
(๓.๑๔) การผลิต ผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว
(๓.๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู
(๓.๑๖) กาแฟคั่ว
(๓.๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร
(๓.๑๘) การผลิตผงชูรส
(๓.๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
(๓.๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๒๒) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึง
(๓.๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร
(๓.๒๕) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕
แรงขึ้นไป
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์
อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง
(๔.๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร
(๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น
กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ
(๔.๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ
(๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช
(๕.๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ
(๕.๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูหรือแป้งอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๕.๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร
(๕.๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร
(๕.๙) การตาก การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง
(๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ
เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ
(๖.๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต
(๖.๑)
(๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด
การอัดโลหะ ด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต (๖.๑)
(๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม
นิกเกิล หรือโลหะอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต (๖.๑)
(๖.๕) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต (๖.๑)
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่
(๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี
การพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง
ระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๗.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่าย
และในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๗.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์
(๗.๕) การผลิต การซ่อม การผลิตแบตเตอรี่
(๗.๖) การปะ การเชื่อมยาง
(๗.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้
(๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว
หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น
การทาสารเคลือบเงาสี หรือการตกแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย
(๘.๔) การอบไม้
(๘.๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร
(๘.๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ
(๘.๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ
(๘.๘) การเผาถ่านหรือการสะสมถ่าน
(๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๙.๒) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
(๙.๓) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๔) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า ห้องแบ่งเช่า
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๕) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๖) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก
คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๗) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๘) การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีแสงหรือเสียงประกอบ
หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๐) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๑๑) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม
(๙.๑๒) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข
วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๓) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น
(๑๐.๓) การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้าหรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์เผา
(๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ ดิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจกหรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิต ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น
(๑๑.๙) การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี
(๑๒.๑) การผลิต การสะสม การบรรจุ การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์
หรือสารตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต บรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ
(๑๒.๓) การผลิต การกลั่น การสะสม
การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ
(๑๒.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑)
(๑๒.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์
เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๗) การโม่ การบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิตการล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต การสะสม
การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือ สารเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม
การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหนะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว
(๑๓) กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียวหรือการถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
(๑๓.๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙) การก่อสร้าง
ข้อ ๖ สถานประกอบการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายที่เป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่กำหนดไว้ใน
ข้อ ๕ ทั้งที่เป็นการค้าและไม่เป็นการค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะและมาตรการ
การป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้
(๑) สถานประกอบกิจการต้องตั้งห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น
ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะพิจารณาตามความเหมาะสม
โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ
ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือเหตุรำคาญด้วย
(๒) สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔) สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องมีห้องน้ำและห้องส้วม
ตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและมีการรักษาดูแลความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
(๕) สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี วัตถุอันตราย
หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็น และความเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๖) สถานที่ประกอบกิจการต้องมีภาชนะบรรจุ หรือภาชนะรองรับสิ่งปฏิกูล
มูลฝอย ที่เหมาะสมเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย
รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุ
หรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย
หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๗) สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกัน
และกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
(๘) สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัย เป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
(๙)
สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๑๐) สถานประกอบกิจการใดที่ประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง
หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย
จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ของคนงานหรือผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
(๒)
กรณีมีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย
หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) ผู้ดำเนินกิจการจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำหรือหลักเกณฑ์
วิธีการตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรเพื่อให้ถูกสุขลักษณะ
ข้อ ๙ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับใช้
ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการที่กำหนดไว้ในข้อ ๕
ในลักษณะที่เป็นการค้าในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องควบคุมตามข้อ
๕ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรเรียกเพิ่มเพื่อประกอบ
การพิจารณาอนุญาต
ข้อ ๑๑ เมื่อได้รับคำขออนุญาตหรือใบขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้อง
หรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง
หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในยี่สิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในยี่สิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุผลจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลานั้นไว้แล้วนั้น
ข้อ ๑๒ ในการออกใบอนุญาตตามข้อ
๑๑
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตตามข้อ ๑๑
ให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวกันและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องมารับอนุญาตในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
การอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากไม่มารับภายในเวลากำหนดดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๔ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๐ โดยอนุโลม
ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาต
สำหรับกรณีที่เป็นการขออนุญาตครั้งแรก หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระเว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๑๘ ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึก
การแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อพนักงานท้องถิ่น
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการรายใด
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือตามบทแห่งพระราชบัญญัติหรือกฎกระทรวงที่ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตนั้นเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีอำนาจสั่งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้ และถ้าผู้ได้รับคำสั่งไม่แก้ไขหรือปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนด
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการรายใดถูกพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุผลที่จะต้องสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีกหรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามวรรคหนึ่งก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
ข้อ ๒๐ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้
จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบการค้าใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้
หรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตต้องระวางโทษตามบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง ในเรื่องใดทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๒๓ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการใดในกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข
หากกิจการนั้นมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจการที่จะต้องได้รับใบอนุญาตหรือต้องแจ้งตามบัญญัตินี้
ให้ผู้นั้นประกอบกิจการนั้นต่อไปได้เสมือนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
แต่เมื่อใดใบอนุญาตดังกล่าวสิ้นอายุ และผู้นั้นยังคงประสงค์จะดำเนินการกิจการต่อไป
ผู้นั้นจะต้องมาดำเนินการขอรับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ไพบูลย์ สะอาด
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๑๗๔/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793157 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง
การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร
พ.ศ.
๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
ว่าด้วยการติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๑๘
มาตรา ๒๐ (๓) และมาตรา ๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงโดยความเห็นชอบ ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงและนายอำเภอกันทรารมย์
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เรื่อง การติดตั้งบ่อดักไขมันบำบัดน้ำเสียในอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน ร้านค้า ร้านอาหาร
สำนักงานหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอยได้
บ่อดักไขมัน หมายความว่า สิ่งที่ใช้แยกจำพวกน้ำมันและไขมันออกจากน้ำ ซึ่งผ่านการใช้แล้ว
การระบายน้ำ หมายความว่า
การผันน้ำ การปล่อยน้ำ การเทน้ำ การสาดน้ำ หรือการกระทำอื่นใดที่เป็นการถ่ายเทน้ำ
แหล่งระบายน้ำ หมายความว่า
ทางหรือท่อระบายน้ำ ลำกระโดง ลำราง คู คลอง แม่น้ำ ทะเล และแหล่งน้ำสาธารณะ
แหล่งน้ำธรรมชาติ และแหล่งน้ำที่เป็นของเอกชนซึ่งมีทางเชื่อมต่อหรือสามารถไหลไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หรือพนักงานส่วนตำบลที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นแต่งตั้ง
ข้อ ๕ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่อาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำและยังไม่มีกฎหมายใดกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการกำจัดน้ำมันและไขมันสำหรับอาคารประเภทนั้น
ข้อ ๖ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามข้อ ๕
ติดตั้งบ่อดักไขมันตามมาตรฐานที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการปลูกสร้างใหม่ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันสำหรับอาคารนั้นให้แล้วเสร็จก่อนเข้าอยู่อาศัยหรือใช้สอย
และหากอาคารใดอยู่ระหว่างการปลูกสร้างใหม่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับก็ให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันเช่นเดียวกัน
ข้อ ๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่
ดังต่อไปนี้
(๑) เข้าตรวจอาคารและบริเวณที่ตั้งอาคารในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก
(๒)
สั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารที่มีการระบายน้ำทิ้งลงหรือไหลไปสู่แหล่งระบายน้ำดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวัน
ข้อ ๘ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองตามข้อ ๖ ทำการดูแลรักษา
เก็บขนน้ำมันหรือไขมันในบ่อดักไขมันไปกำจัดและซ่อมแซมบำรุงรักษาบ่อดักไขมันให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตามปกติ
ข้อ ๙ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
ในการปฏิบัติตามข้อ ๗ (๑) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๑๐ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ
๗ (๒) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
และเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดให้เสียค่าปรับอีกไม่เกินวันละสองร้อยบาทนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือพนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดให้ดำเนินการติดตั้งบ่อดักไขมันนั้นเป็นต้นไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ข้อ ๑๑ ข้อกำหนดและวิธีการติดตั้งบ่อดักไขมันให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการพิจารณายกเว้นการปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ตามความจำเป็นและความเหมาะสมของอาคารและพื้นที่บางแห่ง
อาทิเช่น พื้นที่บนภูเขา พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ในชนบท เป็นต้น
ข้อ ๑๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวงเป็นผู้รักษาการตามตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ไพบูลย์ สะอาด
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๑๘๙/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793521 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทน เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2558 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทน
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทน
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทน
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลยางโทนโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทนและนายอำเภอหนองม่วง
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทน
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทนตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทนเป็นต้นไป
ข้อ
๓ บรรดาข้อบังคับ
ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วหรือขัดแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ประกอบกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ
คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่มีเขตอำนาจ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทน
การค้า หมายความว่า การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์
การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิต หรือให้บริการใด ๆ เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า
ข้อ
๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทนดังนี้
๕.๑
กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
(๑)
การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง
(๒)
การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม
(๓)
การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์ หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บ ค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม
๕.๒
กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๑)
การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒)
การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก
(๓)
การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๔)
การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์
(๕)
การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร
การเร่ขาย และการขายในตลาด
(๖)
การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์
หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์
(๗)
การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใด
ต่อสัตว์หรือพืช หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช เพื่อเป็นอาหารสัตว์
(๘)
การสะสมหรือการล้างครั่ง
๕.๓
กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
(๑)
การผลิตเนย เนยเทียม
(๒)
การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว
หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓)
การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๔)
การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๕)
การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๖)
การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร
การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๗)
การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋
(๘)
การผลิตแบะแซ
(๙)
การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๑๐)
การประกอบกิจการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
(๑๑)
การแกะ การล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑๒)
การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ
บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑๓)
การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล
(๑๔)
การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว
(๑๕)
การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู
(๑๖)
การคั่วกาแฟ
(๑๗)
การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร
(๑๘)
การผลิตผงชูรส
(๑๙)
การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
(๒๐)
การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒๑)
การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผงหรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๒๒)
การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒๓)
การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๒๔)
การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร
(๒๕)
การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหาร
และเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
(๒๖)
การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕ แรงม้าขึ้นไป
๕.๔
กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง
(๑)
การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร
(๒)
การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ
(๓)
การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔)
การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๕)
การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ
๕.๕
กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑)
การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช
(๒)
การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ
(๓)
การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคูหรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๔)
การสีข้าวด้วยเครื่องจักร
(๕)
การผลิตยาสูบ
(๖)
การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร
(๗)
การผลิต การสะสมปุ๋ย
(๘)
การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร
(๙)
การตาก การสะสมหรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง
๕.๖
กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ เครื่องจักร
อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ
(๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่หรือโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการใน ๕.๖ (๑)
(๓)
การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด
การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน ๕.๖ (๑)
(๔)
การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิลหรือโลหะอื่นใด
ยกเว้นกิจการใน ๕.๖ (๑)
(๕)
การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน ๕.๖ (๑)
(๖)
การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือกหรือการล้างแร่
๕.๗
กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๑)
การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสาร กันสนิมยานยนต์
(๒)
การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศ
หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๓)
การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล ซึ่งมีไว้บริการ
หรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๔)
การล้าง การอัดฉีดยานยนต์
(๕)
การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่
(๖)
การปะ การเชื่อมยาง
(๗)
การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
๕.๘
กิจการที่เกี่ยวกับไม้
(๑)
การผลิตไม้ขีดไฟ
(๒)
การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว
หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๓)
การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น
การทาสารเคลือบเงาสีหรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย
(๔)
การอบไม้
(๕)
การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร
(๖)
การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ
(๗)
การผลิตกระดาษต่าง ๆ
(๘)
การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน
๕.๙
กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑)
การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๒)
การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
(๓)
การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๔)
การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๕)
การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๖)
การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น
ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๗)
การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๘)
การจัดให้มีการเล่นสเกตโดยมีแสงหรือเสียงประกอบการหรือการเล่นอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน
(๙)
การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบการวิชาชีพเวชกรรม
(๑๐)
การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการ
ให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด
เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๑๑)
การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม
(๑๒)
การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางแพทย์ สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม
(๑๓)
การประกอบกิจการสนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
๕.๑๐
กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย
การทอผ้าด้วยเครื่องจักรหรือการทอผ้าด้วย กี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป
(๒)
การสะสมปอ ป่าน ฝ้ายหรือนุ่น
(๓)
การปั่นฝ้ายหรือนุ่นด้วยเครื่องจักร
(๔)
การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๕)
การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป
(๖)
การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ
(๗)
การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๘)
การย้อม การกัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
๕.๑๑
กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑)
การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๒)
การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร
(๓)
การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔)
การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๕)
การเจียระไนเพชร พลอย หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๖)
การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ
(๗)
การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน
(๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนผสม เช่น
ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น
(๙)
การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๐)
การผลิตกระดาษทราย
(๑๑)
การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
๕.๑๒
กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี
(๑)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๒)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ
(๓)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียม หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ
(๔)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก
(๕)
การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน ๕.๗ (๑)
(๖)
การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๗)
การโม่ การบดชัน
(๘)
การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๙)
การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๐)
การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑)
การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒)
การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๓)
การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๔)
การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๕)
การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา
(๑๖)
การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหนะนำโรค
(๑๗)
การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว
๕.๑๓
กิจการอื่น ๆ
(๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๒)
การผลิต การซ่อมแซมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์ไฟฟ้า
(๓)
การผลิตเทียน เทียนไขหรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔)
การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียวหรือการถ่ายเอกสาร
(๕)
การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๖)
การประกอบการโกดังสินค้า
(๗)
การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
(๘)
การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๙)
การก่อสร้าง
ข้อ
๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบใบอนุญาตที่แนบท้ายข้อบัญญัตินี้
(แบบ ๒)
ใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้สำหรับกิจการประเภทเดียว
และสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ
๗ ผู้ประกอบกิจการตามประเภทที่กำหนดไว้ในข้อ
๕ ทั้งที่เป็นการค้าและไม่เป็นการค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์อันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
ดังต่อไปนี้
๗.๑
การดูแลสภาพ หรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการ
ซึ่งหมายถึงสภาวการณ์สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการทั้งในด้านการดูแลรักษาความสะอาด
ความเป็นระเบียบของโครงสร้างอาคาร การรักษาสภาพการใช้งานของเครื่องมือ อุปกรณ์
ระบบการระบายอากาศ แสง เสียง ระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูล มูลฝอย เป็นต้น
ให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี
๗.๒
มาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งหมายถึง ระบบการป้องกันอุบัติเหตุ อัคคีภัย
ระบบการกำจัดมลพิษ ระบบการป้องกันการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งระบบ
การป้องกันตนเองของผู้ปฏิบัติในสถานประกอบการนั้น ๆ ด้วย ทั้งนี้
เพื่อป้องกันปัญหาด้านมลพิษที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนงาน ชุมชนข้างเคียง
และประชาชนทั่วไป
๗.๓
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือตามบทแห่งพระราชบัญญัติ หรือกฎกระทรวง
หรือประกาศกระทรวงที่ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าตามข้อ ๖
ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ (แบบ ๑)
ข้อ
๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการการค้าตามข้อ
๖ จะต้องนำสำเนาหลักฐานดังต่อไปนี้มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
๙.๑
บัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
๙.๒
สำเนาทะเบียนบ้าน
๙.๓
เอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่ามีความจำเป็นในการพิจารณาประกอบการขอใบอนุญาต
ข้อ
๑๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการการค้าตามข้อ
๖ ทราบภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอตามข้อ ๘ และหลักฐานตามข้อ ๙
ถูกต้องครบถ้วนแล้ว
ในกรณีที่มีเหตุอันจำเป็น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจดำเนินการได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
สามารถขยายเวลาออกไปได้อีกสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
โดยจะมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันทำการ
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในเวลาที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ
๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการค้าประเภทใดที่ประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ
การค้าเช่นนั้นต่อไป
จะต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ (แบบ ๓)
ภายในกำหนดสามสิบวันก่อนสิ้นอายุใบอนุญาต
ข้อ
๑๒ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อ ๑๐
และผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตตามข้อ ๑๑ จะต้องชำระค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ในวันที่มารับใบอนุญาตหรือวันที่มายื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต แล้วแต่กรณี
ผู้ประกอบกิจการค้าที่มาขอต่อใบอนุญาตรายใดไม่ชำระค่าธรรมเนียม
ตามกำหนดเวลาในวรรคหนึ่ง จะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่จะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๓ ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้า
จะต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ
๑๔ กรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุด
การขอรับใบแทนใบอนุญาต
ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามข้อ ๘ และข้อ ๙ โดยอนุโลม และให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
ข้อ
๑๕ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทน
ข้อ
๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้ารายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้
หรือตามบทแห่งพระราชบัญญัติ หรือกฎกระทรวง
หรือประกาศกระทรวงที่ออกตามความแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตภายในเวลาที่เห็นสมควร
แต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้ารายใดถูกพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
หรือการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามวรรคหนึ่ง
ก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพของประชาชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้
ข้อ
๑๗ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
จะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการค้าที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ
๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้บังคับใช้
ผู้ดำเนินการตามประเภท ที่ข้อบัญญัตินี้กำหนดเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕
ในลักษณะที่เป็นการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๙ มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ
๑๙ ผู้ดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ผู้ใดฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปที่กำหนดไว้
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ
๒๐ บรรดาความผิดซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนตามข้อบัญญัตินี้
หากได้ชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือ
ให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้แล้ว
ข้อ
๒๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทนมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๔
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ว่าที่ร้อยโท อภิชาต
ภัสสรโยธิน
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลปฏิบัติหน้าที่
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลยางโทน เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘
๒.
แบบคำขอรับใบอนุญาต (แบบ ๑)
๓.
ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ ๒)
๔.
แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ
๔ มกราคม ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑๔ ง/หน้า ๒๓/๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793123 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2558 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
เรื่อง
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
พ.ศ.
๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
ว่าด้วยการควบคุม แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลและนายอำเภอหนองไผ่
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
เมื่อได้ประกาศโดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ
ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติกภาชนะที่ใส่อาหาร
เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์
หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หมายความว่า
สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลจัดไว้ให้
ข้อ ๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ
ที่ขังน้ำได้ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้
โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ
ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำ
ไปกำจัดเจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย
ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน
หรือสถานที่ใด ๆ
ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ข้อ ๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน
ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ
ที่มีน้ำขัง อย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้
และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ
ที่องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลประกาศกำหนด
ข้อ ๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
ได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน
หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนายความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖
ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ
๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ชาญศักดิ์ โฉมทรัพย์เย็น
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๙/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793143 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง เรื่อง ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง
ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง ว่าด้วยควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา
๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางและนายอำเภอเพ็ญ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติตำบล เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐
บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้ ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบกิจการ หมายความว่า
สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา
๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของ หรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินการของสถานประกอบกิจการนั้น
ผู้ปฏิบัติงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานระกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางแสง หมายความว่า
สภาวะของแสงอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางความร้อน หมายความว่า
สภาวะของความร้อนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
ของสาธารณชน
มลพิษทางความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ
หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
ของเสียอันตราย หมายความว่า
มูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มวลสาร หรือสิ่งอื่นใดที่ปนเปื้อนสารพิษอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
วัตถุอันตราย หมายความว่า
วัตถุอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้ เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่น
๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดู
หรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม
๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร เร่ขาย
หรือขายในตลาด
(๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง
กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด
ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม
หรือกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม
น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ
เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่
ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง
น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก ผลไม้
หรือพืชอย่างอื่น
(๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง
ต้ม ตุ๋น เคี่ยวกวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย
เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ที่คล้ายคลึงกัน
(๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ
(๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย
ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง
หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์
น้ำส้มสายชู ข้าวหมากน้ำตาลเมา
(๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืชผัก
ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ
อาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
๔. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์
เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๑) การผลิต โม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง
รวมทั้ง สบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง
ๆ
๕. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืช
หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ
ก็ตาม
(๕) การผลิตยาสูบ
(๖) การขัด กะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
๖. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์
หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่
(๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖
(๑)
(๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม นิกเกิล
หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
๗. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร
เครื่องกล ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกลเก่า
๘. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้
หวาย ชานอ้อย
(๔) การอบไม้
(๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
๙. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ
อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๕) การประกอบกิจการโรงแรม
สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า หรือห้องแบ่งเช่า
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง
รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลงหรือการแสดงอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน
(๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๙ (๑)
(๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกัน
(๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ
ตามกฎหมาย ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข
วิทยาศาสตร์หรือสิ่งแวดล้อม
(๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๑๙)
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๐) การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด
ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๑๑ (๒)
(๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๖) การเลื่อย ตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน
(๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน
หรือวัตถุอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๕)
๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก
และสารเคมีต่าง ๆ
(๑) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๗ (๑)
(๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก
เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๔) การผลิต สะสม
ขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
๑๓. กิจการอื่น ๆ
(๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๗) การล้างขวดภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา
(๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ ๗ ผู้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องควบคุมภายในท้องถิ่นต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับสถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
หรือสถานประกอบกิจการที่มีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
หมวด
๒
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปสำหรับให้ผู้ดำเนินกิจการปฏิบัติ
เกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดำเนินกิจการ
และมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
ส่วนที่
๑
สถานที่ตั้ง
ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล
ข้อ ๘
สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากศาสนสถาน โรงพยาบาล สถานศึกษา สถานเลี้ยงเด็ก สถานดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยพักฟื้นหรือผู้พิการ
หรือสถานที่อื่นใดที่ต้องมีการคุ้มครองสุขภาพของประชาชนเป็นพิเศษ ซึ่งจะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
หรือจะต้องมีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ
โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีกำหนด
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับสถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง
แข็งแรง เหมาะสม
ที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ หรือทางออกฉุกเฉิน
ให้มีลักษณะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้าย หรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่าง
และการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ
รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับประเภท
และปริมาณของมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับ และบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดมูลฝอยเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติท้องถิ่น และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย
หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องดูแลมิให้มีน้ำท่วมขังบริเวณสถานประกอบกิจการและจัดให้มีการระบายน้ำหรือการดำเนินการอย่างใด
ๆ ด้วยวิธีที่เหมาะสม
เพื่อไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
ในกรณีที่มีน้ำทิ้งหรือน้ำเสียเกิดขึ้นจากสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง
ซึ่งการดำเนินการของสถานประกอบกิจการดังกล่าวอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
สถานประกอบกิจการนั้นต้องดำเนินการตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกัน
และกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคให้ถูกต้องตามหลักวิชาการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร
การปรุงอาหาร
หรือการสะสมอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติงานต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารที่กำหนดตามข้อบัญญัติท้องถิ่น
รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ
เรียบร้อย ปลอดภัย
เป็นสัดส่วนและดูแลรักษาความสะอาดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะและอนามัยเพื่อให้เกิดความปลอดภัย
และไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำดื่มสะอาดที่มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพน้ำบริโภคของกรมอนามัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอทุกวัน
รวมทั้งจัดให้มีภาชนะรองรับน้ำดื่มที่สะอาด
และปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
และสถานที่ตั้งน้ำดื่มและลักษณะการนำน้ำมาดื่มต้องไม่เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกหรือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ข้อ ๑๘ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีน้ำใช้ที่มีปริมาณและคุณภาพเหมาะสม
ต่อการประกอบกิจการนั้น ๆ ทั้งนี้
ไม่รวมถึงน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต
ส่วนที่
๒
ความปลอดภัย
อาชีวอนามัย และการป้องกันเหตุรำคาญ
ข้อ ๑๙ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๐ สถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่
ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๑ สถานประกอบกิจการที่ผู้ปฏิบัติงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่ชำระร่างกายฉุกเฉิน
และที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๒ สถานประกอบกิจการต้องใช้อุปกรณ์
เครื่องมือ หรือเครื่องจักรที่มีสภาพที่ปลอดภัยสำหรับการใช้งานในสถานประกอบกิจการ
และต้องมีการติดตั้งในลักษณะที่แข็งแรง มั่นคง และปลอดภัย โดยมีระบบป้องกันอันตราย
และป้ายคำเตือน หรือคำแนะนำ ในการป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์ เครื่องมือ
หรือเครื่องจักรนั้น ทั้งนี้ การจัดวางหรือการจัดเก็บอุปกรณ์
เครื่องมือ หรือเครื่องจักรต้องเป็นระเบียบไม่กีดขวางทางเดิน และการปฏิบัติงาน
และต้องมีการดูแล ตรวจสอบและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีตลอดเวลา
ข้อ ๒๓ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานตามกฎหมาย
ว่าด้วยความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๔ สถานประกอบกิจการใดที่ประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางแสง มลพิษทางความร้อน มลพิษทางความสั่นสะเทือน
ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมป้องกันมิให้เกิด
ผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น
หมวด
๓
ใบอนุญาต
ข้อ ๒๕ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจาก เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๒๖ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ)
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๒๗ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน
หรือตามที่เห็นสมควร
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ ๒๙ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๓๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๓๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๓ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่า
ผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๔ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน
ของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๕ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด
๔
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๓๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามบัญชีค่าธรรมเนียม
ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๓๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
หมวด
๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙ ผู้ประกอบกิจการรายใดซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามข้อบัญญัติตำบล
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ
หรือถูกเพิกถอน ตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
หรั่ง ธุระพล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง ควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๙๗/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793140 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง
การจัดการมูลฝอยทั่วไป
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยทั่วไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา
๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
และนายอำเภอเพ็ญ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติตำบลเชียงหวาง
เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๑ บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอยทั่วไป หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์
หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น
แต่ไม่รวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน และสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว
หรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน ของเสียจากวัตถุดิบ
ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ
และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ หมายความว่า
มูลฝอยทั่วไปที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้
มูลฝอยติดเชื้อ หมายความว่า
มูลฝอยติดเชื้อตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน หมายความว่า มูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตรายจากกิจกรรมต่าง ๆ
ในชุมชนที่เป็นวัตถุหรือปนเปื้อนสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารพิษ สารไวไฟ สารออกซิไดซ์
สารเปอร์ออกไซด์ สารระคายเคือง สารกัดกร่อน สารที่เกิดปฏิกิริยาได้ง่าย
สารที่เกิดระเบิดได้ สารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
สารหรือสิ่งอื่นใดที่อาจก่อหรือมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์พืช
ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม แต่ไม่รวมถึงมูลฝอยทั่วไป มูลฝอยติดเชื้อ
กากกัมมันตรังสี และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
การจัดการมูลฝอยทั่วไป หมายความว่า
กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไป
น้ำชะมูลฝอย หมายความว่า
ของเหลวที่ไหลชะผ่านหรือของเหลวที่ออกมาจากมูลฝอยทั่วไป
ซึ่งอาจประกอบด้วยสารละลายหรือสารแขวนลอยผสมอยู่
อาคารอยู่อาศัยรวม หมายความว่า
อาคารหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคาร ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย สำหรับหลายครอบครัว
โดยแบ่งออกเป็นหน่วยแยกจากกันสำหรับแต่ละครอบครัว
ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอย หมายความว่า
ประชาชน และเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร สถานประกอบการ สถานบริการ
โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด หรือสถานที่ใด ๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอย
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ การจัดการมูลฝอยทั่วไปในเขตราชการส่วนท้องถิ่นเป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ราชการส่วนท้องถิ่น อาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการขน
หรือกำจัด
มูลฝอยทั่วไปแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วซึ่งต้องจัดการตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วและผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วดังกล่าวแจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปแทน หรือจะอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปแทน
หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนมูลฝอยทั่วไป โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งมูลฝอยทั่วไป นอกจาก ถ่าย เท ทิ้ง
หรือกำจัด ณ สถานที่หรือตามวิธีที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือจัดให้
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีสถานที่ถ่าย เท
หรือทิ้งมูลฝอยทั่วไปในที่หรือทางสาธารณะ
หรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไปตามที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๙ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน
และกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน
และกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ต้องดำเนินการขน และกำจัดมูลฝอยทั่วไปให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้ รวมทั้งกฎกระทรวง
และประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในการจัดการมูลฝอยทั่วไปต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ควบคุมกำกับในการจัดการมูลฝอยทั่วไปอย่างน้อยสองคน
โดยให้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หมวด
๒
หลักเกณฑ์
วิธีการ และมาตรการเกี่ยวกับสุขลักษณะในการจัดการมูลฝอยทั่วไป
ส่วนที่
๑
การเก็บมูลฝอยทั่วไป
ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการเก็บมูลฝอยทั่วไป
ให้ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยคัดแยกมูลฝอยอย่างน้อยเป็นมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
โดยให้คัดแยกมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ออกจากมูลฝอยทั่วไปด้วย
ข้อ ๑๑ ถุงหรือภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑)
ถุงสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องเป็นถุงพลาสติกหรือถุงที่ทำจากวัสดุอื่นที่มีความเหนียว
ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย ไม่รั่วซึม ขนาดเหมาะสม และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
(๒) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องทำจากวัสดุ
ที่ทำความสะอาดง่ายมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีฝาปิดมิดชิด
สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ ขนาดเหมาะสมสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
และง่ายต่อการถ่ายและเทมูลฝอย
ถุงหรือภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ตามวรรคหนึ่ง
ให้ระบุข้อความ ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
โดยมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ข้อ ๑๒ ให้ผู้ซึ่งก่อให้เกิดมูลฝอยบรรจุมูลฝอยทั่วไปหรือมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ในถุง หรือภาชนะบรรจุในกรณีบรรจุในถุงต้องบรรจุในปริมาณที่เหมาะสมและมัดหรือปิดปากถุงให้แน่น
เพื่อป้องกันการหกหล่นของมูลฝอยดังกล่าว
กรณีบรรจุในภาชนะบรรจุต้องบรรจุในปริมาณที่เหมาะสมและมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุนั้นเป็นประจำสม่ำเสมอ
ข้อ ๑๓ ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารอยู่อาศัยรวม
อาคารชุด หอพัก หรือโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่แปดสิบห้องขึ้นไป
หรือมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าสี่พันตารางเมตรขึ้นไป หรือเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคาร
สถานประกอบการ สถานบริการ โรงงานอุตสาหกรรม ตลาด หรือสถานที่ใด ๆ
ที่มีปริมาณมูลฝอยทั่วไปตั้งแต่สองลูกบาศก์เมตรต่อวัน จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป
ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ หรือภาชนะรองรับที่มีขนาดใหญ่ตามความเหมาะสมหรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๔ ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นอาคารหรือเป็นห้องแยกเป็นสัดส่วนเฉพาะที่มีการป้องกันน้ำ ฝน
หรือภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถบรรจุมูลฝอยได้ไม่น้อยกว่าสองวัน
(๒) มีพื้นและผนังของอาคารหรือห้องแยกตาม (๑) ต้องเรียบ
มีการป้องกันน้ำซึมหรือน้ำเข้า ทำด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดง่าย
สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค และมีการระบายอากาศ
(๓) มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสีย
เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปจัดการตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
(๔) มีประตูกว้างเพียงพอให้สามารถเคลื่อนย้ายมูลฝอยได้โดยสะดวก
(๕) มีการกำหนดขอบเขตบริเวณที่ตั้งสถานที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป
มีข้อความที่มีขนาดเห็นได้ชัดเจนว่า ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไป และมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
ที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปต้องตั้งอยู่ในสถานที่สะดวกต่อการเก็บรวบรวมและขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปและอยู่ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบหรือปรุงอาหาร
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๕ ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม
มีฝาปิดมิดชิด สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ ขนาดเหมาะสม
สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และง่าย ต่อการถ่ายและเทมูลฝอย
(๒) มีข้อความว่า มูลฝอยทั่วไป หรือ มูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
แล้วแต่กรณี และมีขนาดและสีของข้อความที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ข้อ ๑๖ ภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่
ซึ่งมีปริมาตรตั้งแต่สองลูกบาศก์เมตรขึ้นไปต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีความแข็งแรง ทนทาน ไม่รั่วซึม มีลักษณะปิดมิดชิด
สามารถป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรคได้ สะดวกต่อการขนถ่ายมูลฝอย และสามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย
มีระบบรวบรวมและป้องกันน้ำชะมูลฝอยไหลปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม
(๒) มีการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่เหมาะสมสะดวกต่อการขนย้ายและไม่กีดขวางเส้นทางจราจร
แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ พื้นฐานเรียบ มั่นคง แข็งแรงทำความสะอาดง่าย
มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้ง หรือระบบบำบัดน้ำเสีย
เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปจัดการตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
ห่างจากแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและสถานที่ประกอบหรือปรุงอาหารตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๗ ให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่
หรือภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปและมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ที่มีขนาดใหญ่ในที่หรือทางสาธารณะตามความเหมาะสม
ข้อ ๑๘ ราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณีต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม
และคัดแยกมูลฝอยทั่วไป และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว
ผู้ปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่งต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีและได้รับความรู้ด้านสุขอนามัย
และความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บ
ขนหรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ที่จัดให้มีสถานที่
คัดแยกมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นพื้นที่เฉพาะ มีขนาดเพียงพอ เหมาะสม สามารถรองรับมูลฝอยทั่วไป
ที่จะนำเข้ามาคัดแยก ได้มีการรักษาบริเวณโดยรอบให้สะอาดและเป็นระเบียบอยู่เสมอ
(๒) มีแสงสว่างเพียงพอสามารถมองเห็นวัตถุต่าง ๆ ได้ชัดเจน
(๓) มีการระบายอากาศเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๔) จัดให้มีห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือที่สะอาด เพียงพอ
สำหรับใช้งาน และชำระล้างร่างกาย
(๕) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค
(๖) มีการป้องกันฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน
หรือการดำเนินการ
ที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
(๗) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย และมีการบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา
(๘) มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย
และน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
ในกรณีวิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มชุมชนดำเนินการคัดแยกมูลฝอยในลักษณะที่ไม่เป็นการค้า
หรือแสวงหากำไรต้องแจ้งราชการส่วนท้องถิ่นที่วิสาหกิจชุมชนหรือกลุ่มชุมชนนั้นตั้งอยู่
และให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำกับดูแลการดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
ข้อ ๒๐ ห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการหรือผู้ครอบครองโรงงานอุตสาหกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดมูลฝอยทั่วไปทิ้งสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน
ของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต
ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ และของเสียอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
ปะปนกับมูลฝอยทั่วไป
ส่วนที่
๒
การขนมูลฝอยทั่วไป
ข้อ ๒๑ ราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำหน้าที่ขนมูลฝอยทั่วไป และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว
อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
อุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย
ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลไว้ประจำรถเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปด้วย
ผู้ปฏิบัติงานเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปตามวรรคหนึ่ง
ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๒ การดำเนินการขนมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้แยกขนมูลฝอยตามประเภท หรือกำหนดวันในการขนตามประเภทของมูลฝอยหรือตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนด
(๒) ใช้ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
และต้องมีการทำความสะอาดยานพาหนะ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขนมูลฝอยทั่วไป
และบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะเป็นประจำทุกวัน
(๓) ต้องจัดให้มีสถานที่ล้างยานพาหนะ รวมทั้งอุปกรณ์ต่าง
ๆ ที่เกี่ยวกับการขนมูลฝอยทั่วไปที่มีลักษณะเป็นพื้นเรียบ
แข็งแรง ทนทาน มีความลาดเอียง น้ำไม่ท่วมขัง ทำความสะอาดง่าย
มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียหรือระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อรวบรวมน้ำเสียไปจัดการตามที่กฎหมายกำหนด
และมีการป้องกันเหตุรำคาญและผลกระทบต่อสุขภาพ
(๔) บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปมีขนาดกว้างขวางเพียงพอ
มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
(๕) ต้องมีมาตรการควบคุมกำกับการขนมูลฝอยทั่วไป
เพื่อป้องกันการลักลอบทิ้ง
ข้อ ๒๓ ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปต้องมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตัวถังบรรจุมูลฝอยทั่วไปมีความแข็งแรงทนทาน
ไม่รั่วซึม มีลักษณะปกปิด เป็นแบบที่ง่ายต่อการบรรจุ
ขนถ่าย และทำความสะอาด ระดับตัวถังไม่สูงเกินไปหรืออยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในขณะขนถ่ายมูลฝอยทั่วไป
(๒) มีการป้องกันหรือมีการติดตั้งภาชนะรองรับน้ำจากมูลฝอย
เพื่อมิให้รั่วไหลตลอดการปฏิบัติงานและนำน้ำเสียจากมูลฝอยไปบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสีย
(๓) มีสัญลักษณ์หรือสัญญาณไฟติดไว้ประจำยานพาหนะชนิดไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ
และสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล เปิดให้สัญญาณขณะปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ
กรณีบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับมอบจากราชการส่วนท้องถิ่นให้เป็นผู้ดำเนินการเก็บขนหรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้บุคคลหรือนิติบุคคลนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไป
พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปในบริเวณ
ที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
กรณีบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับอนุญาต
ให้ผู้ได้รับอนุญาตแสดงชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล
เลขที่ใบอนุญาตของบริษัทด้วยตัวหนังสือที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้าง
ทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไป
พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุชื่อ
ที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลหรือนิติบุคคลนั้นไว้ที่ยานพาหนะขนมูลฝอยทั่วไปในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ ๒๔ ในกรณีที่มีความจำเป็นราชการส่วนท้องถิ่น
ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บและขนมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี อาจจัดให้มีสถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปก็ได้
สถานีขนถ่ายมูลฝอยทั่วไปตามวรรคหนึ่งต้องมีลักษณะและการขนถ่ายที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีลักษณะเป็นอาคาร
มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณมูลฝอยทั่วไปที่ต้องพักรอการขนถ่ายมีการป้องกันน้ำซึมหรือน้ำเข้า
มีการระบายอากาศ และแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๒) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ฝุ่นละออง
กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญหรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) มีระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย และน้ำทิ้งที่ระบายออกสู่ภายนอกเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เว้นแต่อาคารที่ไม่ถูกบังคับให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
ส่วนที่
๓
การกำจัดมูลฝอยทั่วไป
ข้อ ๒๕ ราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
บุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยทั่วไปภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ต้องจัดให้มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งทำหน้าที่กำจัดมูลฝอยทั่วไป
และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานดังกล่าว
อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
อุปกรณ์และเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย
ตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลติดตั้งไว้ในบริเวณสถานที่กำจัดมูลฝอยทั่วไปด้วย
ผู้ปฏิบัติหน้าที่กำจัดมูลฝอยทั่วไปตามวรรคหนึ่งต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
และผ่านการฝึกอบรมให้มีความรู้ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ ๒๖ การกำจัดมูลฝอยทั่วไปต้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
(๑) กำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยวิธีหนึ่งวิธีใดตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
โดยให้ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ก่อนทำการก่อสร้างระบบกำจัดมูลฝอยทั่วไป
และมีมาตรการควบคุมกำกับการดำเนินงานกำจัดมูลฝอยทั่วไปในแต่ละวิธีให้เป็นไปตามสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป
เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม
(๒)
ไม่นำสิ่งของที่ไม่ใช้แล้วหรือของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน
ของเสียจากวัตถุดิบ ของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต ของเสียที่เป็นผลิตภัณฑ์เสื่อมคุณภาพ
และของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน มูลฝอยติดเชื้อ
และมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนมากำจัดร่วมกับมูลฝอยทั่วไป
ข้อ ๒๗ การกำจัดมูลฝอยทั่วไปให้ดำเนินการตามวิธีหนึ่งวิธีใด
ดังต่อไปนี้
(๑) การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
(๒) การเผาในเตาเผา
(๓) การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ
(๔) การกำจัดแบบผสมผสาน
(๕) วิธีอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนด
ข้อ ๒๘ การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้
และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) มีสถานที่ตั้งเหมาะสม
มีบริเวณเพียงพอในการฝังกลบโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย
เหตุรำคาญหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย
(๒)
มีพื้นที่แนวกันชนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่ฝังกลบมูลฝอยทั่วไป เพื่อจัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน
เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพ จากการฝังกลบ และปัญหากลิ่นรบกวน
(๓) มีระบบป้องกันการปนเปื้อนของน้ำใต้ดินจากน้ำชะมูลฝอย
โดยมีการบดอัดก้นบ่อด้านล่างและด้านข้างให้แน่นและปูด้วยแผ่นวัสดุกันซึม
(๔)
มีระบบรวบรวมน้ำชะมูลฝอยจากก้นบ่อเพื่อส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนน้ำใต้ดิน
และมีกระบวนการบำบัดน้ำชะมูลฝอยให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕)
มีการใช้ดินหรือวัสดุอื่นกลบทับทุกครั้งที่มีการนำมูลฝอยทั่วไปไปฝังกลบ
และปิดการฝังกลบเมื่อบ่อฝังกลบเต็ม โดยปิดทับหน้าบ่อฝังกลบด้วยดินหนาอย่างน้อยหกสิบเซนติเมตรหรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม
เพื่อป้องกันกลิ่น การปลิวของมูลฝอย ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหะนำโรค
รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
(๖) มีการป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค
ฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
หรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๗) ต้องมีระบบรวบรวมและระบายก๊าซออกจากหลุมฝังกลบ
และมีระบบเผาทำลายก๊าซ
หรือมีระบบการนำก๊าซไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น
(๘) มีบ่อสำหรับตรวจสอบการปนเปื้อนของน้ำใต้ดิน
และในระหว่างการดำเนินการฝังกลบให้รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำต่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วย
ข้อ ๒๙ การเผาในเตาเผาต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสถานที่ตั้งเหมาะสม
มีขนาดพื้นที่เหมาะสมกับกระบวนการเผามูลฝอยทั่วไป
มีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
(๒)
มีที่พักรวมมูลฝอยทั่วไปที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะตามข้อบัญญัตินี้
(๓)
มีพื้นที่แนวกันชนโดยรอบภายในอาณาเขตของสถานที่เผามูลฝอยทั่วไป เพื่อจัดเป็นพื้นที่สำหรับปลูกต้นไม้ ถนน รางระบายน้ำผิวดิน
เพื่อลดปัญหาด้านทัศนียภาพจากการเผาและปัญหากลิ่นรบกวน
(๔)
ต้องเผามูลฝอยทั่วไปที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่าแปดร้อยห้าสิบองศาเซลเซียส
และมีระบบควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องเตาเผามูลฝอยทั่วไปให้ได้มาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งอากาศเสียจากเตาเผามูลฝอยตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕) มีการป้องกันสัตว์ และแมลงพาหะนำโรค
ฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน
หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๖) มีการบำบัดน้ำเสียจากระบบกำจัด และน้ำเสียใด ๆ
ทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในสถานที่กำจัดให้ได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๗)
มีพื้นที่สำหรับเก็บเถ้าหนักที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และมีระบบในการนำเถ้าหนักไปกำจัดเป็นประจำ โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
(Sanitary Landfill) ที่มีการป้องกันน้ำชะขี้เถ้าปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน
หรือมีระบบการนำเถ้าหนักไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
(๘) มีพื้นที่สำหรับเก็บเถ้าลอยที่มีการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
และมีระบบในการนำเถ้าลอยออกไปกำจัดเป็นประจำ โดยใช้วิธีการฝังกลบอย่างปลอดภัย (Secured Landfill) ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือมีระบบการนำเถ้าลอยไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
ข้อ ๓๐ การหมักทำปุ๋ยและการหมักทำก๊าซชีวภาพ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้
และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) มีสถานที่ตั้งเหมาะสม
(๒) มีระบบคัดแยกมูลฝอยทั่วไปเพื่อนำมาหมักทำปุ๋ย หรือทำก๊าซชีวภาพ
ซึ่งอาจมีอาคารที่มีขนาดพื้นที่เหมาะสม
และมีการระบายอากาศและแสงสว่างที่เพียงพอต่อการคัดแยกดังกล่าว
(๓) มีระบบบำบัดกลิ่นจากมูลฝอยทั่วไปภายในอาคารคัดแยกมูลฝอยทั่วไป
(๔) มีการป้องกันสัตว์ และแมลงพาหะนำโรค
ฝุ่นละออง กลิ่น เสียง ความสั่นสะเทือน
หรือการดำเนินการที่อาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ หรือผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕)
มูลฝอยทั่วไปจากการคัดแยกส่วนที่หมักทำปุ๋ยหรือหมักทำก๊าซชีวภาพไม่ได้ ต้องมีระบบกำจัดหรือส่งไปกำจัดโดยวิธีการฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาลหรือการเผาในเตาเผา
หรืออาจมีการนำมูลฝอยทั่วไปที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ไปใช้ประโยชน์
(๖) ต้องบำบัดน้ำชะมูลฝอยทั่วไป น้ำเสียจากสถานที่คัดแยก
และสถานที่หมักทำปุ๋ยหรือทำก๊าซชีวภาพให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๗) กรณีหมักทำก๊าซชีวภาพ บ่อหมักต้องเป็นระบบปิด มีการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์
และมีระบบเผาก๊าซทิ้งกรณีระบบการใช้ประโยชน์จากก๊าซชีวภาพหยุดการทำงาน
ข้อ ๓๑ การกำจัดแบบผสมผสานโดยใช้วิธีการกำจัดมูลฝอยทั่วไปมากกว่าหนึ่งวิธี
ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และสุขลักษณะของแต่ละวิธีที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๓
ใบอนุญาต
ข้อ ๓๒ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไป
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๓๓ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดมูลฝอยทั่วไปโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต
ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ)
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๓๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จพร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าหรือตามที่เห็นสมควรวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ ๓๖ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๓๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๔๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๔๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา
หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด
๔
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๔๓ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการขนมูลฝอยทั่วไปของราชการส่วนท้องถิ่น
หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการขน
และกำจัดมูลฝอยทั่วไปแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยทั่วไป
ราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๔๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๔๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
หมวด
๕
ค่าบริการขั้นสูง
ข้อ ๔๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
หมวด
๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๔๗ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๔๘ ผู้ประกอบกิจการรายใดซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามข้อบัญญัติตำบลเชียงหวาง เรื่อง
การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ
หรือถูกเพิกถอน ตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
หรั่ง ธุระพล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง การจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๘๐/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793137 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูล
พ.ศ.
๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการปรับปรุงข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูล
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา
๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
และนายอำเภอเพ็ญ จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติตำบลเชียงหวาง เรื่อง
การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๑
บรรดาข้อบัญญัติ ระเบียบ
ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้
ซึ่งขัดหรือแย้ง กับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า
อุจจาระหรือปัสสาวะของคน หรือสิ่งอื่นใดที่ปนเปื้อนอุจจาระ หรือปัสสาวะ
การจัดการสิ่งปฏิกูล หมายความว่า กระบวนการดำเนินการตั้งแต่การรองรับ การขน และการกำจัดสิ่งปฏิกูล
ส้วม หมายความว่า
สถานที่ที่จัดไว้สำหรับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ
และให้หมายความรวมถึงระบบรองรับสิ่งปฏิกูล
ส้วมส่วนรวม หมายความว่า
ส้วมที่จัดไว้เพื่อให้บริการเป็นการทั่วไปภายในหน่วยงานของรัฐ เอกชน
หรือสถานที่ต่าง ๆ และให้หมายความรวมถึงส้วมสาธารณะ ไม่ว่าจะมีการจัดเก็บค่าใช้จ่ายหรือไม่
ส้วมเคลื่อนที่ หมายความว่า
ส้วมที่ติดตั้งในยานพาหนะหรือแพ
ส้วมชั่วคราว หมายความว่า
ส้วมที่ไม่ได้สร้างเป็นการถาวร และให้หมายความรวมถึงส้วมประกอบสำเร็จรูป
ถังเก็บกักสิ่งปฏิกูล หมายความว่า
ถังหรือบ่อที่มีลักษณะที่มิดชิด
น้ำซึมผ่านไม่ได้เพื่อใช้เป็นที่รองรับสิ่งปฏิกูลจากส้วมก่อนขนไปกำจัด
การขนสิ่งปฏิกูล หมายความว่า
การสูบสิ่งปฏิกูลจากถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลแล้วนำไปยังระบบบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลรวม
การกำจัดสิ่งปฏิกูล หมายความว่า
การปรับปรุงหรือแปรสภาพสิ่งปฏิกูลให้ปราศจากมลภาวะสภาพอันน่ารังเกียจ
หรือการก่อให้เกิดโรค เพื่อนำไปใช้ประโยชน์หรือทำลาย
กากตะกอน หมายความว่า ส่วนที่เป็นของแข็งซึ่งเหลือจากการกำจัดสิ่งปฏิกูล
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวางเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้อำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ การจัดการสิ่งปฏิกูลในเขตราชการส่วนท้องถิ่นเป็นอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่น
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
ราชการส่วนท้องถิ่นอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลแทนภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใด
เป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน
ด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลแทน
หรือจะอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี และเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๘ ห้ามมิให้ผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะซึ่งสิ่งปฏิกูล นอกจากถ่าย เททิ้ง หรือกำจัด ณ
สถานที่หรือตามวิธีที่ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดหรือจัดให้
ข้อ ๙ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณีต้องดำเนินการขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อบัญญัตินี้
รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีการจัดงานมหรสพ งานเทศกาล
งานแสดงสินค้า การชุมนุม การชุมนุมสาธารณะหรือกิจกรรมอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้เวลาในการดำเนินการตั้งแต่สามชั่วโมงขึ้นไป
ผู้จัดหรือผู้รับผิดชอบการดำเนินการดังกล่าว ต้องจัดให้มีส้วม ส้วมส่วนรวม ส้วมเคลื่อนที่
หรือส้วมชั่วคราว ที่ถูกสุขลักษณะสำหรับให้บริการอย่างเพียงพอ
เมื่อการดำเนินการตามวรรคหนึ่งเสร็จสิ้น ในกรณีที่มีการติดตั้งส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราว
ให้ผู้จัด หรือผู้รับผิดชอบรื้อถอนและปรับสภาพพื้นที่บริเวณดังกล่าวให้เรียบร้อยและถูกสุขลักษณะ
ในการนี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอำนาจตรวจสอบความเรียบร้อยในการรื้อถอน
และปรับสภาพพื้นที่ดังกล่าว
ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือเกิดเหตุฉุกเฉิน
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐจัดให้มีส้วมเคลื่อนที่หรือส้วมชั่วคราว
ที่ถูกสุขลักษณะสำหรับให้บริการตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
หมวด
๒
หลักเกณฑ์
วิธีการ และมาตรการเกี่ยวกับสุขลักษณะในการจัดการสิ่งปฏิกูล
ส่วนที่
๑
สุขลักษณะของห้องส้วม
ข้อ ๑๒ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
หรือสถานที่ที่ให้บริการส้วมส่วนรวมต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยทั่วไปที่ถูกสุขลักษณะ สะอาด
มีฝาปิดมิดชิด และอยู่ในสภาพดี ไม่รั่วซึม
ตั้งอยู่ในบริเวณอ่างล้างมือหรือบริเวณใกล้เคียง
(๒) จัดให้มีสบู่สำหรับล้างมือซึ่งพร้อมใช้งานได้
(๓) ดูแลพื้น ผนัง เพดาน โถส้วม โถปัสสาวะ
และที่กดเปิดปิดน้ำของโถส้วม และโถปัสสาวะให้สะอาด
รวมทั้งต้องบำรุงรักษาให้พร้อมใช้งานได้
(๔) จัดให้มีถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลที่มีสภาพดี ไม่ชำรุด ไม่แตก
หรือรั่วซึม สามารถป้องกันสัตว์
และแมลงพาหะนำโรค เมื่อถังเก็บกักสิ่งปฏิกูลเต็มหรือเลิกใช้งานต้องขนสิ่งปฏิกูล
ไปกำจัดให้ได้มาตรฐาน
ข้อ ๑๓ ยานพาหนะหรือแพที่มีส้วมเคลื่อนที่
ให้เจ้าของยานพาหนะหรือแพต้องดำเนินการ
ให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ ๑๔ ผู้ที่จัดให้มีส้วมชั่วคราวต้องดำเนินการให้ส้วมดังกล่าวถูกสุขลักษณะตลอดเวลาที่เปิดให้บริการตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ส่วนที่
๒
สุขลักษณะในการขนสิ่งปฏิกูล
ข้อ ๑๕ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขนสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการแล้วแต่กรณี
ต้องขนสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) จัดให้มียานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลและอุปกรณ์ที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ที่มีจำนวนเพียงพอกับการให้บริการ
(๒) ดำเนินการสูบสิ่งปฏิกูลในช่วงเวลาที่เหมาะสม
โดยต้องมีมาตรการป้องกันกลิ่นในขณะที่ทำการสูบสิ่งปฏิกูล
เพื่อไม่ให้รบกวนอาคารสถานที่ใกล้เคียงจนเป็นเหตุรำคาญ
(๓)
ทำความสะอาดท่อสำหรับใช้สูบสิ่งปฏิกูลหลังจากสูบสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว
โดยการสูบน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายสูบ และทำความสะอาดท่อหรือสายสูบด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
(๔) ในกรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกหล่น ให้ทำลายเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำ
(๕) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสม
และมีสภาพพร้อมใช้งานสำหรับผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูล
รวมทั้งจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ไว้ประจำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล
และตรวจตราควบคุมให้มีการใส่อุปกรณ์หรือเครื่องมือดังกล่าว
(๖) ผู้ปฏิบัติงานสูบและขนสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อผ้ามิดชิด
ถุงมือยางหนา ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และสวมรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง และต้องทำความสะอาด
ถุงมือยางหนา และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน
(๗)
ต้องทำความสะอาดยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลหลังจากที่ออกปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละหนึ่งครั้งและน้ำเสียที่เกิดจากการทำความสะอาดต้องเข้าสู่ระบบบำบัดหรือกำจัดน้ำเสีย
หรือบ่อซึม โดยบ่อซึมต้องอยู่ห่างจากแม่น้ำ คู คลอง หรือแหล่งน้ำธรรมชาติไม่น้อยกว่าสิบเมตร
(๘)
ต้องจัดให้มีสถานที่เฉพาะที่มีขนาดกว้างขวางเพียงพอสำหรับจอดเก็บยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล
(๙) ห้ามนำยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลไปใช้กิจการอื่น
และห้ามนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งในที่สาธารณะ
ข้อ ๑๖ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือราชการส่วนท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานของรัฐ
หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่ดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
และบุคคลซึ่งราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้ดำเนินการขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
แล้วแต่กรณี ต้องจัดให้ผู้ปฏิบัติงานที่ทำหน้าที่สูบและขนสิ่งปฏิกูลได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
และได้รับการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูล
ข้อ ๑๗ ยานพาหนะสำหรับขนสิ่งปฏิกูลต้องมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูลต้องมีฝาเปิดและปิดอยู่ด้านบน
โดยสามารถปิดได้มิดชิด ไม่รั่วซึม และป้องกันกลิ่น สัตว์ และแมลงพาหะนำโรคได้
(๒) ท่อหรือสายที่ใช้สูบสิ่งปฏิกูลต้องไม่รั่วซึม
(๓) มีปั๊มสูบสิ่งปฏิกูลที่สามารถสูบตะกอนหนักได้
และมีมาตรวัดสิ่งปฏิกูล ซึ่งอยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี
(๔) มีช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำยานพาหนะสูบสิ่งปฏิกูล เช่น
ถังใส่น้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น
(๕) บนตัวถังที่ใช้บรรจุสิ่งปฏิกูล ต้องมีข้อความ ใช้เฉพาะสิ่งปฏิกูล โดยสามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากภายนอก
ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นนั้นแสดงชื่อของราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับมอบให้เป็นผู้ขนสิ่งปฏิกูลภายใต้
การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ผู้ที่รับมอบนั้นแสดงชื่อราชการส่วนท้องถิ่นด้วยตัวหนังสือขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูล
พร้อมกับแสดงแผ่นป้ายระบุชื่อที่อยู่
และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่ได้รับมอบในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ในกรณีที่การขนสิ่งปฏิกูลดำเนินการโดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่น
ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแสดงรหัสหรือหมายเลขทะเบียนใบอนุญาต ในกรณีที่ได้รับใบอนุญาตจากราชการส่วนท้องถิ่นหลายแห่งให้แสดงเฉพาะเลขทะเบียนใบอนุญาตใบแรก
และให้เก็บสำเนาหลักฐานใบอนุญาตใบอื่นไว้ที่ยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลเพื่อการตรวจสอบ
โดยทุกกรณีต้องแสดงแผ่นป้ายระบุชื่อ ที่อยู่
และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทหรือเจ้าของกิจการขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนสิ่งปฏิกูลในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
โดยตัวอักษรต้องมีความสูงไม่น้อยกว่าสิบเซนติเมตร
ข้อ ๑๘ ในการขนสิ่งปฏิกูล
ให้ราชการส่วนท้องถิ่นกำหนดเส้นทางและออกเอกสารกำกับการขนส่งเพื่อป้องกันการลักลอบทิ้งสิ่งปฏิกูล
ส่วนที่
๓
สุขลักษณะในการกำจัดสิ่งปฏิกูล
ข้อ ๑๙ การกำจัดสิ่งปฏิกูลไม่ว่าจะใช้วิธีการใด
การนำน้ำทิ้งและกากตะกอนที่ผ่านการกำจัดสิ่งปฏิกูลแล้วไปใช้ประโยชน์หรือปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งต้องได้มาตรฐานปริมาณไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไล ดังต่อไปนี้ด้วย
ประเภท
ไข่หนอนพยาธิ
จำนวน/กรัม
หรือลิตร
แบคทีเรียอีโคไล
(Escherichia Coli Bacteria)
เอ็ม.พี.เอ็น/๑๐๐
มิลลิลิตร
๑. กากตะกอน
< ๑
< ๑๐๓
๒. น้ำทิ้ง
< ๑
< ๑๐๓
วิธีการเก็บตัวอย่างและวิธีการตรวจหาไข่หนอนพยาธิและแบคทีเรียอีโคไลในกากตะกอนและน้ำทิ้ง ที่ผ่านการกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องเป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนด
ข้อ ๒๐ ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี
และผ่านการฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลตามหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ข้อ ๒๑ ในสถานที่กำจัดสิ่งปฏิกูลต้องจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูล
และมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตลอดจนเครื่องมือปฐมพยาบาลเบื้องต้นติดตั้งไว้
ข้อ ๒๒ ผู้ปฏิบัติงานกำจัดสิ่งปฏิกูลต้องสวมเสื้อคลุม
ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูกและสวมรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง
และต้องทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยางหนา ผ้ายางกันเปื้อน
และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ทุกครั้งหลังการปฏิบัติงาน
หมวด
๓
ใบอนุญาต
ข้อ ๒๓ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ)
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๒๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้อง ครบถ้วน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต
หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้อง
หรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบ
ก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน
(หรือตามที่เห็นสมควร)
นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ ๒๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
หมวด
๔
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๓๔ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการขนสิ่งปฏิกูลของราชการส่วนท้องถิ่น
หรือเขตพื้นที่ที่ราชการส่วนท้องถิ่นมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการขนและกำจัดสิ่งปฏิกูลแก่ราชการส่วนท้องถิ่นตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ทั้งนี้
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูล ราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๓๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๓๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
หมวด
๕
ค่าบริการขั้นสูง
ข้อ ๓๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
หมวด
๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๓๘ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๙ ผู้ประกอบกิจการรายใดซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามข้อบัญญัติตำบลเชียงหวาง เรื่อง
การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ใบอนุญาตดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะหมดอายุ
หรือถูกเพิกถอนตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
หรั่ง ธุระพล
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. บัญชีตราอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงหวาง
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ. ๒๕๖๐
๓.
แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ
๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๖๙/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793126 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
ว่าด้วยกิจการ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
ให้สอดคล้องกับกฎหมายแม่บท และเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยและนายอำเภอปง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว
ในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
ข้าราชการหรือพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายความว่า กิจการที่มีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
กิจการที่เกี่ยวเนื่องกัน หมายความว่า
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่มีกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน โดยผลผลิตที่ได้เป็นผลผลิตเดียวกัน
การค้า หมายความว่า
การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การผลิตหรือ การให้บริการใด ๆ
เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า
กิจการสปาเพื่อสุขภาพ หมายความว่า
การประกอบกิจการที่ให้การดูแล และสร้างสุขภาพโดยบริการหลักที่จัดไว้ประกอบด้วย
การนวดเพื่อสุขภาพ การใช้น้ำเพื่อสุขภาพ โดยอาจมีบริการเสริมประกอบด้วย เช่น
การอบเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โภชนาบำบัดและการควบคุมอาหาร
โยคะและการทำสมาธิ การใช้สมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพตลอดจนการแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ หรือไม่ก็ได้ โดยทั้งนี้ บริการที่จัดไว้จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย
ว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะและกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทางการแพทย์และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
(๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑.๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง
(๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บ
ค่าดูหรือค่าบริการในทางตรง หรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม
(๒) กิจการเกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาดและการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒.๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ที่ยังไม่ได้ฟอก
(๒.๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์
(๒.๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
(๒.๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย
กระดูกสัตว์ หนังสัตว์ เขาสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์
(๒.๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม
การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช
เพื่อเป็นอาหารสัตว์
(๒.๘) การสะสมครั่งหรือล้างครั่ง
(๓) กิจการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑) การผลิตเนย เนยเทียม
(๓.๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา
เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ
(๓.๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า
(๓.๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง
(๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด
นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๓.๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง
(๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว
(๓.๘) การผลิตเต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น และเกี้ยมอี๋
(๓.๙) การผลิตแบะแซ
(๓.๑๐) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๑) การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
(๓.๑๒) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๓.๑๓) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง
เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๔) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล
(๓.๑๕) การผลิตผลิตภัณฑ์จากนมวัว
(๓.๑๖) การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู
(๓.๑๗) การคั่วกาแฟ
(๓.๑๘) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร
(๓.๑๙) การผลิตผงชูรส
(๓.๒๐) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
(๓.๒๑) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๓.๒๒) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๒๓) การผลิตไอศกรีม
(๓.๒๔) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๒๕) การประกอบกิจการห้องเย็น
(๓.๒๖) การผลิตน้ำแข็ง
(๓.๒๗) การเก็บการถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๔.๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร
(๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น
เครื่องสำอาง ๆ
(๔.๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ
(๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช
(๕.๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ
(๕.๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๕.๔) การสีข้าวโดยใช้เครื่องจักร
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช
(๕.๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร
(๕.๙) การตาก การสะสม หรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง
(๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ
เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ
(๖.๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่หรือโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด การอัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม
นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๕) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือก การล้างแร่
(๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม
การปรับแต่งระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๗.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าว
(๗.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์
(๗.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่
(๗.๖) การปะ การเชื่อมยาง
(๗.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒) การเลื่อย การซอย การตัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว
หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓) การประดิษฐ์ไม้ หวาย เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น
การทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย
(๘.๔) การอบไม้
(๘.๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร
(๘.๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ
(๘.๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ
(๘.๘) การเผาถ่านหรือการสะสมถ่าน
(๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑) การประกอบกิจการ อาบ อบ นวด
(๙.๒) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
(๙.๓) การประกอบกิจการโรงแรม หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๔) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องแบ่งเช่า
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๕) การประกอบกิจการมหรสพ
(๙.๖) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก
คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๗) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๘) การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีแสง
หรือเสียงประกอบหรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๐) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุม
ทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ การบริหารร่างกาย
หรือโดยวิธีอื่นใด เว้นแต่การให้บริการ ในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๑๑) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม ร้านอินเตอร์เน็ต
(๙.๑๒) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย
การทอผ้าด้วยเครื่องจักรหรือการทอผ้าด้วย กี่กระตุกตั้งแต่ ๕ กี่ขึ้นไป
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย หรือนุ่น
(๑๐.๓) การปั่นฝ้าย หรือนุ่นด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์สิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม การกัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน
(๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้า เพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น
(๑๑.๙) การผลิตกระจก หรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้วหรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี
(๑๒.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่ง กรด ด่าง สารออกซิไดซ์
หรือสารตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ หรือแก๊ส
(๑๒.๓) การผลิต การกลั่น การสะสม
การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ
(๑๒.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑)
(๑๒.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก
เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๗) การโม่ การบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง
หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคมีเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช
หรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว
(๑๓) กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
ที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุดใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะ
หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๑๓.๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี
หมวด
๒
สถานที่ตั้ง
ลักษณะอาคาร และสุขาภิบาล
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียนสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ให้รวมถึงสถานที่ประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานให้เป็นไปตามประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพอนามัยหรือการก่อเหตุรำคาญ
โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการ
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
มีบันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉิน มีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒)
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุม
อาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่การประกอบกิจการนั้น
(๔)
ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
(๕) สถานประกอบกิจการต้องจัดทำรางระบายน้ำ
หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร
เรียบ ไม่ซึมไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก มีบ่อกำจัดไขมัน มีเครื่องระบายน้ำ
เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความกระเทือนฝุ่นละออง เขม่า เถ้า
หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียงและต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๖)
การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางสาธารณหรือผู้อาศัยใกล้เคียง
(๗) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องมีที่ขัง
และมีบริเวณปล่อยสัตว์ที่กว้างขวางเพียงพอและต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ
(๘)
สถานที่เกี่ยวกับตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๙) ต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อ
ต้องรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบการค้าทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้าวัตถุแห่งการค้านั้นจักใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้นให้พ้นจากฝุ่นละอองและสัตว์พาหะนำโรค
(๑๐) ต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัยเป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
(๑๑) ถ้าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
(๑๒) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเข้าตรวจสถานที่ เครื่องมือ
เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันสมควร
เมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว
(๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวกับสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
ข้อ ๑๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันผู้รับใบอนุญาต
หรืองดเว้นปฏิบัติการ ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ เพียงเท่าที่เห็นสมควร
หรืออาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างใดเพื่อให้เหมาะสมแก่ในการค้า
แต่ละประเภทซึ่งได้ควบคุมนั้นก็ได้
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใด
อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉิน
ตามความจำเป็น
และเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ
รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะ ดังนี้
(๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณ
และประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณ
ที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(๓)
กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หมวด
๓
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
(๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย
หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด
๔
การควบคุมของเสีย
มลพิษหรือสิ่งใด ๆ
ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ
มลพิษทางน้ำของเสียอันตรายหรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตราย
ต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
หมวด
๕
หลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาต
ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในลักษณะที่เป็นการค้า
ข้อ ๑๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ
เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ข้อ ๑๗ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๖ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยกำหนด
ข้อ ๑๘ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ
๑๗ และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
จึงให้ออกใบอนุญาตตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยกำหนด
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้
ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากมิได้มารับใบอนุญาต
และชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๐ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้า
ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้
ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้สำหรับกิจการค้าประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ถ้ามีการประกอบกิจการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมหลายประเภทในสถานที่และเวลาเดียวกัน
ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๑ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยเท่านั้น
ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ ๒๓ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดงคำว่า
แทน กำกับไว้ด้วย
และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกให้แทน
พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและใบคู่ฉบับ
(๒)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี
ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๔ การต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต
หรือไม่ประสงค์จะประกอบกิจการนั้นต่อไป
ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยกำหนด
ข้อ ๒๖ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง
ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๗ ถ้าผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการการค้า
ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้
หรือตามเงื่อนไขโดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาตนั้น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่ง เพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๘ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้
จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๙ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงาน
ของผู้รับใบอนุญาตและให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่งแล้วแต่กรณี
หมวด
๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๓๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ
๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๑ ข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓ ข้อ ๑๔ ข้อ ๑๕ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๖ วรรค ๒ ต้องระวางโทษตามมาตรา
๗๖ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๓ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ
๒๑ วรรค ๒ หรือข้อ ๒๒ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๘๓ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
ข้อ ๓๔ ผู้รับใบอนุญาตผู้ใด
ดำเนินกิจการในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามข้อ ๒๗ ต้องระวางโทษตามมาตรา
๘๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๓๕ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่ผู้ดำเนินกิจการที่ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่ก่อนหรือมีขึ้นใหม่นับตั้งแต่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ข้อ ๓๖ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการที่ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก่อนวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจผ่อนผันผู้รับใบอนุญาต หรืองดเว้นปฏิบัติการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ
๙ ก็ได้
ข้อ ๓๗ บรรดาใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอื่นใดที่ได้ออกก่อนวันใช้ข้อบัญญัตินี้ให้มีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าใบอนุญาตจะสิ้นอายุ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
เกรียงศักดิ์ เกียรติช้างน้อย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต แบบ กอ.๑
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แบบ กอ.๒
๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต แบบ กอ.๓
๕. คำขออนุญาตต่าง ๆ แบบ กอ.๔
๖. แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต แบบ กอ.๕
๗. ใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แบบ กอ.๖
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๑๒/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793129 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ.
๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕
มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยและนายอำเภอปง
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
"ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙"
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยเป็นผู้รักษาการให้เป็นตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจตีความ วินิจฉัย ออกระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
อาหาร หมายความว่า
ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่
(๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม อม แต่ไม่รวมถึง ยา
วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
แล้วแต่กรณี
(๒) วัตถุที่มุ่งหมาย สำหรับใช้ หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร
รวมทั้งวัตถุเจือปนอาหารสีและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงสำเร็จ
และจำหน่ายให้กับผู้ซื้อสามารถบริโภคทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่าย
โดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหาร
อันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้ง หรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ
ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคภายหลัง
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ หรือใช้สัญจรได้
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้าสำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น
ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานส่วนตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยซึ่งได้รับการแต่งตั้งเพื่อให้ปฏิบัติการตามกฎหมาย
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า
อุจจาระหรือปัสสาวะ และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดที่เป็นสิ่งโสโครก
หรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร
เถ้า มูลสัตว์หรือซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์
หรือที่อื่น
หมวด
๒
หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการขอและออกใบอนุญาต
ข้อ ๕ ห้ามมิให้ผู้ใดจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคาร
หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หากสถานที่ดังกล่าว
มีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้ง
ข้อ ๖ ความในข้อ ๕
ไม่ใช้บังคับแก่การประกอบกิจการดังนี้
(๑) การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒) การขายของในตลาด
(๓) การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ข้อ ๗ ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ
ดังต่อไปนี้
(๑) สถานที่สะสมอาหาร
(๑.๑) ไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๑.๒) พื้นทำด้วยวัตถุถาวร ทำความสะอาดง่าย
(๑.๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอ และถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
ตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๑.๔) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
ตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๑.๕) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๑.๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอย
และสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ
(๑.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
คำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
(๒) สถานที่จำหน่ายอาหาร
(๒.๑) จัดสถานที่ตามที่กำหนดไว้ใน (๑.๑) - (๑.๖)
(๒.๒) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างอื่นซึ่งมีสภาพแข็งแรง
สะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
(๒.๓) ผนังและบริเวณที่ปรุงอาหาร ต้องมีพื้นที่ทำความสะอาดง่าย
(๒.๔) จัดให้มีภาชนะและอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำ
ประกอบ ปรุง เก็บและการบริโภคอาหารไว้เพียงพอ ปลอดภัย และถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยกำหนด
(๒.๕) จัดให้มีบริเวณที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง
ๆ ให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ เพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ
(๒.๖) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือ พร้อมอุปกรณ์จำนวนเพียงพอ
(๒.๗) จัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง
และเก็บอาหาร
(๒.๘) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒.๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
ข้อ ๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้หนังสือรับรองการแจ้งต้องดูแลรักษาสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค
(๒) ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลง
และสัตว์นำโรคได้ และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะอยู่เสมอ
(๔) จัดสิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย
และรักษาให้สะอาด อยู่เสมอ
(๕)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
ข้อ ๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร กรรมวิธีการจำหน่าย
ทำ ประกอบ ปรุง เก็บ รักษาอาหาร ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้
และของใช้อื่น ๆ รวมทั้งสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร
ผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้
(๑) วาง เก็บอาหารก่อนปรุงในที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ
รวมทั้งจัดให้มีการป้องกัน สัตว์นำโรคในสถานที่นั้น
(๒) ใช้เครื่องปกปิดอาหาร รวมทั้งภาชนะและอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ
ที่ใช้ในการทำ ประกอบ ปรุง เก็บอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละออง
และสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตลอดจนรักษาเครื่องปกปิดนั้นให้สะอาดใช้การได้ดีอยู่เสมอ
(๓)
น้ำแข็งสำหรับใช้บริโภคต้องจัดเก็บไว้ในภาชนะที่ถูกสุขลักษณะสามารถป้องกัน
สิ่งปนเปื้อนได้ และห้ามนำอาหาร หรือสิ่งของอื่นใด แช่ หรือเก็บรวมไว้ด้วยกัน
(๔) การทุบ การบดน้ำแข็งต้องปฏิบัติให้ถูกสุขลักษณะ และสะอาดอยู่เสมอ
รวมทั้งป้องกันมิให้เสียงเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น
(๕)
ในกรณีที่มีผ้าเช็ดหน้าให้บริการต้องทำความสะอาดโดยวิธีผ่านความร้อน ฆ่าเชื้อโรค หรือกรรมวิธีอื่นใดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๖) จัดให้มีน้ำสะอาดไว้เพียงพอ
(๗) ใช้ภาชนะหรือวัตถุที่สะอาด ปลอดภัยสำหรับปรุง ใส่ หรือห่ออาหาร
หรือน้ำแข็งโดยรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
(๘) ผู้จำหน่ายอาหาร ผู้ปรุงอาหาร และผู้ให้บริการต้องแต่งกายให้สะอาด
และปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะส่วนบุคคล
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
ข้อ ๑๐ อาคารที่ใช้เป็นสถานที่ประกอบการต้องมีหลักฐานแสดงว่าสามารถใช้ประกอบการได้โดยถูกต้องตามกฎหมาย
ว่าด้วยการควบคุมอาคาร
ข้อ ๑๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้หนังสือรับรองการแจ้งต้องไม่เป็นโรคติดต่อและไม่จ้าง
หรือใช้บุคคลที่ป่วยหรือมีเหตุควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อ จำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง
เก็บอาหาร
ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหาร ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตร
ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สอ. ๑ พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อยกำหนด
ในกรณีที่สถานที่ตามวรรคหนึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๒
พร้อมกับหลักฐานต่าง ๆ เช่นเดียวกับกำหนดไว้
ในวรรคหนึ่ง
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่ให้แก่ผู้แจ้งตามแบบ สอ. ๓
เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งเป็นการชั่วคราวในระหว่างที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
ยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ตามที่ขอ
ข้อ ๑๓ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจสอบความถูกต้อง
และความสมบูรณ์ของคำขอรับใบอนุญาต
หรือคำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งแล้วปรากฏว่าถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้ออกใบอนุญาตตามแบบ สอ. ๔ หรือแบบ สอ. ๕
หรือออกหนังสือรับรอง การแจ้งตามแบบ สอ. ๖ หรือแบบ สอ. ๗ แล้วแต่กรณี
ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการ
ที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าว
การแจ้งตามวรรคสองให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ขอรับใบอนุญาต
หรือผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้งทราบ
ในกรณีไม่พบตัวหรือไม่ยอมรับหนังสือให้ส่งหนังสือการแจ้ง หรือคำสั่ง
โดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือปิดหนังสือนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้ต้องรับหนังสือ
และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบหนังสือดังกล่าวแล้วตั้งแต่เวลาที่หนังสือไปถึง
หรือวันปิดหนังสือ แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งผู้ใดประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต
หรือหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ. ๘
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสิ้นอายุไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้ว
ให้ประกอบกิจการต่อไปจนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ผู้ใดมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ ๑๕ ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งให้มีอายุ
๑ ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต หรือวันที่ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งไม่ประสงค์จะประกอบการต่อไป
หรือประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกการดำเนินกิจการ
หรือขอแก้ไขรายการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สอ.๙
ข้อ ๑๗ หากปรากฏว่าใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง แล้วแต่กรณี
จะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งตามแบบ สอ.๙ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ แล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจท้องที่ กรณีสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ ๑๘ การออกใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้ใช้แบบ สอ.
๔ แบบ สอ. ๕ แบบ สอ. ๖ หรือแบบ สอ. ๗ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดง คำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปีที่ออกใบแทนพร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งได้เท่ากับเวลาที่เหลือ
ของอายุใบอนุญาตเดิม
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม หรือต้นขั้วหนังสือรับรองการแจ้งเดิม
ระบุสาเหตุการสูญหาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมหรือหนังสือรับรองการแจ้งเดิม แล้วแต่กรณี
และลงเล่มที่ เลขที่ ปีของใบแทน
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
หมวด
๓
แบบพิมพ์
ข้อ ๒๐ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑)
คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้ แบบ สอ. ๑
(๒) คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ
สอ. ๒
(๓) ใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๓
(๔) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๔
(๕) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๕
(๖) หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๖
(๗) หนังสือรับรองการจัดตั้งสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ สอ. ๗
(๘)
คำขอต่ออายุใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้งเพื่อจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารให้ใช้แบบ
สอ. ๘
(๙) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ สอ. ๙
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร
หรือสถานที่สะสมอาหารไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งไว้คราวหนึ่งไม่เกินสิบห้าวัน
กรณีถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งมาแล้วสองครั้ง
และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
หรือหนังสือรับรองการแจ้งนั้นได้
ข้อ ๒๒ ให้ผู้ประกอบการดำเนินการยื่นคำร้องขอใบอนุญาต
หรือหนังสือรับรองการแจ้งตามที่บัญญัติไว้ในข้อบัญญัตินี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
เกรียงศักดิ์ เกียรติช้างน้อย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลผาช้างน้อย
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. คำขอรับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
แบบ สอ. ๑
๓. คำขอรับหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร แบบ สอ. ๒
๔. ใบรับแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร แบบ
สอ. ๓
๕. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร แบบ สอ. ๔
๖. ใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่สะสมอาหาร แบบ สอ. ๕
๗. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร แบบ สอ. ๖
๘. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่สะสมอาหาร แบบ สอ. ๗
๙.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตหรือขอต่ออายุหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
แบบ สอ. ๘
๑๐. คำขออนุญาตต่าง ๆ แบบ
สอ. ๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๒๙/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
793132 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์ เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้สอดคล้องกับกฎหมายแม่บทและเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์และนายอำเภอเมืองบึงกาฬ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์นับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุม ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
(๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑.๑) การเพาะพันธุ์สัตว์ การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ
สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลงและการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดู หรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม
หรือไม่ก็ตาม
(๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์ และผลิตภัณฑ์
(๒.๑) การฆ่าสัตว์ หรือชำแหละสัตว์
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย หรือขายในตลาด
และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๒.๓) การสะสมเขา กระดูก หรือชิ้นส่วนสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนัง เอ็น หรือไขสัตว์
(๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือก กระดอง
กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ด้วยการต้ม ตาก เผาหรือกรรมวิธีใด
ๆ ซึ่งมิใช่เพื่อเป็นอาหาร
(๒.๖) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสม หรือล้างครั่ง
(๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารสถานที่สะสมอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ
เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมักดองจากสัตว์ ได้แก่
ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง
น้ำเคย นํ้าบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
(๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด นึ่ง
ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๓.๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว
เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้าหรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๘) การผลิตขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ
(๓.๙) การผลิต การสะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำนม
หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย
ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๓.๑๒) การคั่ว สะสม หรือแบ่งบรรจุกาแฟ
(๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง
ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู
ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา
น้ำจากพืชผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุแบะแซ
(๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๓.๒๔) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
(๔.๑) การผลิต การโม่ บด ผสม หรือบรรจุยา
(๔.๒) การผลิต บรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น กระดาษเย็น เครื่องสำอาง รวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิตผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด
หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
(๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันจากพืช
(๕.๒) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง
แป้งสาคู แป้งจากพืช หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๕.๔) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด
ๆ ก็ตาม
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด การกะเทาะ หรือการบดเมล็ดพืช
(๕.๗) การผลิต การสะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๕.๙) การตาก สะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย
ข้าวโพด
(๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ อุปกรณ์
หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่
(๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๓) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๖.๑)
(๖.๔) การเคลือบ ชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม
นิกเกิลหรือโลหะอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
(๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี
หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล
ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องกล
(๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักรหรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการ หรือจำหน่าย และในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล
เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องกลเก่า
(๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี
แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๘.๔) การอบไม้
(๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๘.๖) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์อื่นใดด้วยกระดาษ
(๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘.๘) การเผาถ่าน หรือสะสมถ่าน
(๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑) การประกอบกิจการสปา เพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด
(๙.๓) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใน (๙.๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อบริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ
รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง
หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น
ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๙.๑)
(๙.๑๐) การประกอบกิจการการเล่นสเกต
หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข
วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๙.๑๙)
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๐)
การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
(๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย ทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่น หรือใยสังเคราะห์
(๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก อบ รีด หรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒) การระเบิด โม่ บด หรือย่อยหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๔) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด
ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒)
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย ตัด
หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ต่าง
ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
(๑๑.๙) การผลิต ตัด บด กระจก หรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย หรือผ้าทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว หิน หรือวัตถุอื่นใด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๖.๕)
(๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก
และสารเคมีต่าง ๆ
(๑๒.๑) การผลิต การสะสม บรรจุ หรือขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์
หรือสารตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต การสะสม บรรจุ หรือขนส่งก๊าซ
(๑๒.๓) การผลิต การสะสม กลั่น
หรือขนส่งปิโตรเลียมหรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑)
(๑๒.๖) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก
เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์มรูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง
หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
(๑๓) กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน หรือเทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่
หรือแปรสภาพผลิตภัณฑ์ใหม่
(๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลาหรือแพปลา
(๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง
หรือสัตว์พาหนะนำโรค
(๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่งไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ
๔ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๔ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัติตำบลนี้ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ กอ. ๑
ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์กำหนด
ข้อ ๘ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ
๔ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการ
ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร
เรียบไม่ซึม ไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก
(๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อาศัยใกล้เคียง
(๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่า
สถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวรเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม
รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือการกำจัดน้ำโสโครก ไขมันให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่นไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่น
ละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด
อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียงข้อกำหนดดังกล่าวผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๖) ต้องให้มีแสงสว่าง และการระบายอากาศเพียงพอ
และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค
(๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ
(๘) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอ
(๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะ
จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น และต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม
รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาล และสิ่งแวดล้อม
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขัง และที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ
และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ
(๑๑)
สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ
๘
และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ
กอ. ๒
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้
ภายในกำหนดสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะของการประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องรักษาเครื่องมือเครื่องใช้
ในการประกอบการค้าทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอถ้าวัตถุแห่งการค้านั้นจะใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้น
ให้พ้นจากฝุ่นละออง และสัตว์พาหะนำโรค
(๒)
ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์พาหะนำโรคได้
และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๓) ถ้าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข
หรือเพิ่มเติมสถานที่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
(๔) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าตรวจสถานที่ เครื่องมือ
เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันสมควร
เมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว
(๕)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไข
โดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ
เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน
ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามอัตราท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
ใบอนุญาตฉบับหนึ่ง ใช้สำหรับกิจการค้าประเภทเดียว
และสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ถ้าประกอบกิจการค้าซึ่งกำหนดให้ควบคุมหลายประเภทในขณะและสถานที่เดียวกันให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตราแต่ประเภทเดียว
ประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา
ข้อ ๑๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
ข้อ ๑๕ การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
กอ. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ให้ต่อใบอนุญาต
หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุจะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการค้าต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔
ข้อ ๑๗ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระที่สำคัญให้ผู้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
กอ. ๔ ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุด ในสาระที่สำคัญแล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ ๑๙ การออกใบแทนใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ กอ. ๒
โดยประทับตราสีแดงคำว่าใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณี และลง เล่มที่ เลขที่ ปี
ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัติตำบลนี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข หรือรายละเอียดใด ๆ ให้ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ถือปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
เป็นการเฉพาะกิจหรือเฉพาะรายได้
ข้อ ๒๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง
ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ
กอ. ๑
(๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๒
(๓) คำขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ
กอ. ๓
(๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔
ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง
และมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีกเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
ข้อ ๒๔ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้บังคับใช้
ผู้ดำเนินการตามประเภทที่ข้อบัญญัตินี้กำหนดเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๔
ในลักษณะที่เป็นการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ
๙ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ ๒๕ ผู้ดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ผู้ใดฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขทั่วไปที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ข้อ ๘
และข้อ ๑๑ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไข
โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง
และมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีกเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
ข้อ ๒๗ บรรดาความผิดซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนตามข้อบัญญัตินี้
หากได้ชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้แล้ว
ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาต
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตตามข้อ ๒๑
ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ ๒๙ ให้ผู้ประกอบกิจการตามลักษณะในข้อ ๔
อยู่ในวันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
ให้เจ้าของกิจการตามความในวรรคหนึ่ง
ดำเนินการแจ้งขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ธงไชย ป้องศรี
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบคำรับใบอนุญาต (แบบ กอ. ๑)
๓.
ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒)
๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ กอ. ๓)
๕. แบบคำขออนุญาตต่าง ๆ (แบบ
กอ. ๔)
๖. ใบรับแจ้ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๑
นุสรา/ตรวจ
๑๒
พฤศจิกายน ๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๓๘/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
792944 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ เรื่อง การกำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ
เรื่อง
การกำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ
ว่าด้วยการกำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗
และมาตรา ๙/๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ องค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือและนายอำเภอฮอด
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ เรื่อง
กำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจตีความ วินิจฉัย ออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ที่ดิน หมายความว่า
พื้นดินทั่วไป และให้หมายความรวมถึงภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ
เกาะ และที่ชายทะเลด้วย
ที่ดินของรัฐ หมายความว่า
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินรวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
เช่น
(๑) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
(๒) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ
ทางหลวง ทะเลสาบ
(๓) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า
ป้อมและโรงทหาร สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์
ผู้รับอนุญาต หมายความว่า ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
ทบวงการเมือง หมายความว่า
หน่วยราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลของทางราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค
หรือราชการส่วนท้องถิ่น
ค่าตอบแทน หมายความว่า จำนวนเงินที่ผู้ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องเสียเป็นรายปีให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ
ข้อ ๕ ที่ดินของรัฐที่มิได้มีผู้ใดมีสิทธิครอบครองตามมาตรา
๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ หากผู้ใดกระทำการด้วยประการใด ๆ
ในที่ดินนั้นต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย
และต้องเสียค่าตอบแทนให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ
ข้อ ๖ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้
ที่ดินของรัฐนั้นถ้ามิได้มีสิทธิครอบครองหรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว
ห้ามมิให้บุคคลใด
(๑) เข้าไปยึดครอง ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่อสร้างหรือเผาป่า
(๒) ทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นการทำลายหรือทำให้เสื่อมสภาพที่ดิน
ที่หิน ที่กรวด หรือที่ทรายในบริเวณที่รัฐมนตรีประกาศหวงห้ามในราชกิจจานุเบกษา
(๓) ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพย์สินในดิน
หมวด ๒
อัตราค่าตอบแทนในการอนุญาต
ข้อ ๗ ให้ผู้รับอนุญาตตามมาตรา ๙
แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เสียค่าตอบแทนให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ
อัตราตามบัญชีท้ายข้อบัญญัตินี้
ให้แบ่งค่าตอบแทนที่ได้รับตามวรรคหนึ่งให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดในอัตราร้อยละสี่สิบของค่าตอบแทนที่ได้รับภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับ
และให้ค่าตอบแทนส่วนที่เหลือตกเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ
หมวด ๓
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ข้อ ๘ ให้ผู้ได้รับอนุญาตยื่นใบอนุญาตพร้อมชำระค่าตอบแทนต่อพนักงานจัดเก็บรายได้
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือภายใน ๑๕
วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
หรือนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
ในกรณีที่ระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตมีกำหนดเวลาเกินกว่าหนึ่งปี
เศษของปี ให้นับเป็นหนึ่งปี และให้เสียค่าตอบแทนสำหรับเศษของปีนั้นภายใน ๑๕
วันนับแต่วันครบรอบหนึ่งปีที่ได้รับอนุญาต
ถ้าระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตมีกำหนดเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
ให้เสียค่าตอบแทนเท่ากับหนึ่งปี
ข้อ ๙ ผู้ได้รับอนุญาตผู้ใดไม่เสียค่าตอบแทนในอัตราตามบัญชีท้ายข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษปรับ
๑,๐๐๐ บาท
ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจตีความ
วินิจฉัย ออกระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
เอกรินทร์
เม็ดโท
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาคอเรือ
เรื่อง การกำหนดค่าตอบแทนการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรวิภา/อัญชลี/จัดทำ
๘ กันยายน ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๑๘ ง/หน้า ๑๗๒/๔ กันยายน ๒๕๖๐ |
793120 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้สอดคล้องกับกฎหมายแม่บท
และเหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร
ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหาร ส่วนตำบลกองทูล
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลและนายอำเภอหนองไผ่ จึงตราข้อบัญญัติไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลนับตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย
ของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า สภาวะของน้ำอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น
ซึ่งบุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔ ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
๑. กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
(๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลานหรือแมลง
๒. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
(๑) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
(๓) การผลิตน้ำแข็ง
ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
๓. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร
๔. กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี
การพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง
ระบบปรับอากาศหรืออุปกรณ์ ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล
(๓) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์
๕. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง ดิสโกเทก คาราโอเกะ
หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๒) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
๖. กิจการอื่น ๆ
(๑) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ
๔ ต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๖ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับตั้งแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๔ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์ที่จะประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ซึ่งต้องควบคุม ตามข้อบัญญัตินี้ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ
กอ. ๑ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นพร้อมหลักฐานต่าง ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลกำหนด
ข้อ ๘ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามที่กำหนดในข้อ
๔ ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ประกอบกิจการ
ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสม
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร
เรียบไม่ซึม ไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก
(๓)
การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อาศัยใกล้เคียง
(๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๕)
เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร
เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่วไหลหรือขังอยู่ได้
หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครกหรือการกำจัดน้ำโสโครก ไขมัน ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
หรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความกระเทือน ฝุ่น ละออง
เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง
ข้อกำหนดดังกล่าวผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๖) ต้องให้มีแสงสว่าง และการระบายอากาศเพียงพอ
และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค
(๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ
(๘) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลอันได้สุขลักษณะจำนวนเพียงพอ
(๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะ จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น
และต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม
รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ที่ขัง และที่ปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ
และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ
(๑๑)
สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่
เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบข้อบังคับและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
ข้อ ๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วน
ตามความในข้อ ๘
และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
ก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ กอ. ๒
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้
ภายในกำหนดสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ที่ได้รับหนังสือแจ้ง จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากมิได้มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะของการประกอบการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ ในการประกอบการค้าทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ
ถ้าวัตถุแห่งการค้านั้นจะใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัตถุนั้น ให้พ้นจากฝุ่นละออง
และสัตว์พาหะนำโรค
(๒)
ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์พาหะนำโรคได้
และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๓) ถ้าจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
(๔) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เข้าตรวจสถานที่ เครื่องมือ เครื่องใช้
ตลอดจนวิธีประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันสมควร เมื่อได้รับแจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว
(๕)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
และคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ ข้อบังคับ
และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
ข้อ ๑๒ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดเงื่อนไข
โดยเฉพาะระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ
เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชน
ข้อ ๑๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้า
ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามอัตราท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
ใบอนุญาตฉบับหนึ่ง ใช้สำหรับกิจการค้าประเภทเดียว
และสำหรับสถานที่แห่งเดียว ถ้าประกอบกิจการค้า
ซึ่งกำหนดให้ควบคุมหลายประเภทในขณะและสถานที่เดียวกันให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมในประเภทที่มีอัตราสูงเต็มอัตราแต่ประเภทเดียว
ประเภทอื่นให้เก็บเพียงกึ่งอัตรา
ข้อ ๑๔ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
ข้อ ๑๕ การต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
กอ. ๓ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ให้ต่อใบอนุญาต
หากมิได้ชำระค่าธรรมเนียมก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
จะต้องชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
ข้อ ๑๖ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการค้า ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔
ข้อ ๑๗ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุด ในสาระที่สำคัญให้ผู้รับใบอนุญาต
ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔ ภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ ได้รับทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุด ในสาระที่สำคัญแล้วแต่กรณี พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) เอกสารการแจ้งความต่อสถานีตำรวจ กรณีการสูญหายหรือถูกทำลาย
(๒) ใบอนุญาตเดิม กรณีชำรุดในสาระสำคัญ
ข้อ ๑๙ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ
กอ. ๒ โดยประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน
พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๒)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม
ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด ในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม
แล้วแต่กรณี และลง เล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๐ ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข หรือรายละเอียดใด ๆ
ให้ผู้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ถือปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
เป็นการเฉพาะกิจหรือเฉพาะรายได้
ข้อ ๒๒ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ดังต่อไปนี้
(๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ
กอ. ๑
(๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๒
(๓) คำขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ
กอ. ๓
(๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔
ข้อ ๒๓ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขโดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง
และมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
ข้อ ๒๔ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้บังคับใช้
ผู้ดำเนินการตามประเภท ที่ข้อบัญญัตินี้กำหนดเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๔
ในลักษณะที่เป็นการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามข้อ ๙
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ ๒๕ ผู้ดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ข้อ ๘
และข้อ ๑๑ ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ ๒๖ ผู้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการซึ่งกำหนดให้ควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไข โดยเฉพาะที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่น มีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
กรณีที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้วสองครั้ง
และมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใบอนุญาตอีก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเสียก็ได้
ข้อ ๒๗ บรรดาความผิดซึ่งผู้ใดฝ่าฝืนตามข้อบัญญัตินี้
หากได้ชำระค่าปรับเต็มจำนวนตามอัตรา
ที่กำหนดไว้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือให้ถือว่าได้ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้แล้ว
ข้อ ๒๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตตามข้อ
๒๑ มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน
ข้อ ๒๙ ให้ผู้ประกอบกิจการตามลักษณะในข้อ
๔ อยู่ในวันที่นี้มีผลใช้บังคับเป็นกิจการที่ต้องควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
ข้อ ๓๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูลรักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าของกิจการตามความในวรรคหนึ่ง
ดำเนินการแจ้งขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้
ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
ชาญศักดิ์ โฉมทรัพย์เย็น
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกองทูล
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบคำรับใบอนุญาต (แบบ กอ. ๑)
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒)
๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต (แบบ กอ. ๓)
๕.
แบบคำขอหนังสือรับรองการแจ้งดำเนินการอื่น ๆ (แบบ กอ. ๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๑/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
792213 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม
เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม
ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลทมนางามโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางามและนายอำเภอโนนสะอาด
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางามตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบกิจการ หมายความว่า
สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา
๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของ หรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ
หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ
หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ
หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบ
หรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก
บ้านเรือน โรงร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
การค้า หมายความว่า
การประกอบธุรกิจ การพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การเกษตรการผลิต หรือให้บริการใด ๆ
เพื่อหาประโยชน์อันมีมูลค่า
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
ข้อ ๕ ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม
(๑) กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
(๑.๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง
(๑.๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอานม
(๑.๓) การประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชม
หรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้ จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม
(๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๒.๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด และการฆ่าเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒.๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังไม่ได้ฟอก
(๒.๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังไม่ได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์
(๒.๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย และการขายในตลาด
(๒.๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย
กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์
(๒.๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ การสะสม
หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์
(๒.๘) การสะสม หรือการล้างครั่ง
(๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
(๓.๑) การผลิตเนย เนยเทียม
(๓.๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู
ไตปลา เต้าเจี้ยว ซีอี๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก
หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย
การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น
เกี้ยมอี๋
(๓.๘) การผลิตแบะแซ
(๓.๙) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๐) การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
(๓.๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง
เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑๔) การผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำนมวัว
(๓.๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุเอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู
(๓.๑๖) การคั่วกาแฟ
(๓.๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร
(๓.๑๘) การผลิตผงชูรส
(๓.๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
(๓.๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๒๒) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่แข็งอาหาร
(๓.๒๕) การผลิตน้ำแข็ง
ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารและเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
(๓.๒๖) การเก็บ
การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต้ห้าแรงม้าขึ้นไป
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์
อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง
(๔.๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร
(๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น
กระดาษเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ
(๔.๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ
(๕) กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช
(๕.๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ การสะสมขี้ยาง
(๕.๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู หรือแป้งอื่น ๆ
ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๕.๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การเกี่ยว นวด
สีข้าวด้วยเครื่องจักร
(๕.๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตใยมะพร้าว หรือวัตถุที่คล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร
(๕.๙) การตาก การสะสม หรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย
(๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ
เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ
(๖.๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่ หรือโลหะทุกชนิด ยกเว้นกิจการในข้อ
(๖.๑) โครเมียม และ นิกเกิล
(๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน การรีด
การอัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการในข้อ (๖.๑) โครเมียม และ นิกเกิล
(๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม
นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการในข้อ (๖.๑) โครเมียม และ นิกเกิล
(๖.๕) การขัด การล้างโลหะด้วยเครื่องจักร สารเคมี หรือวิธีอื่นใด
ยกเว้นกิจการในข้อ (๖.๑) โครเมียม และ นิกเกิล
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือก หรือการล้างแร่
(๗) กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี
การพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๗.๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่งระบบปรับอากาศ
หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๗.๔) การล้าง การอัดฉีดยานยนต์
(๗.๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่
(๗.๖) การปะ การเชื่อมยาง
(๗.๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้
(๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง การทำคิ้ว
หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓) การประดิษฐ์ไม้ หวายเป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น
การทาสารเคลือบเงาสี หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้ หรือหวาย
(๘.๔) การอบไม้
(๘.๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร
(๘.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ
(๘.๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ
(๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน
(๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑) กิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด เว้นแต่เป็นการให้บริการในข้อ (๙.๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
เว้นแต่เป็นการให้บริการในข้อ (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๔) การประกอบกิจการโรงแรม หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๕) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๖) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๗) การจัดให้มีการแสดงดนตรี เต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก
คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๘) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีแสง หรือเสียงประกอบ
หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๑๐) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๑) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
การบริหารร่างกายหรือโดยวิธีอื่นใด
เว้นแต่การให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๑๒) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม
(๙.๑๓) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๙.๑๔) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข
วิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๕) การสักผิวหนัง การเจาะหู หรือเจาะอวัยวะอื่น ๆ
(๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร
หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุกตั้งแต่ห้ากี่ขึ้นไป
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย หรือนุ่น
(๑๐.๓) การปั่นฝ้าย หรือนุ่นด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ห้าเครื่องขึ้นไป
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม การกัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน กระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ
หรือส่วนผสม เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้าเพดาน
ท่อน้ำ ฯลฯ
(๑๑.๙) การผลิตกระจก หรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี
(๑๒.๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์
หรือสารตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ หรือแก๊ส
(๑๒.๓) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียม
หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ
(๑๒.๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน (๗.๑)
(๑๒.๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม พลาสติก
เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๗) การโม่ การบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ การชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒.๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง
หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคมีเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม
การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว
(๑๓) กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑) การพิมพ์หนังสือ หรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
ที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบพิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุ หรือสิ่งของที่ชำรุด ที่ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
(๑๓.๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙) กิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา
ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางามเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ
ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
สถานที่ตั้ง
ลักษณะอาคารและการสุขาภิบาล
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานสถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
โดยคำนึงถึงลักษณะ และประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ
ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรือก่อเหตุรำคาญด้วย
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคงแข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟ
หรือทางออกฉุกเฉินต้องมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างที่เพียงพอ
และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่าง
และการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วม
ตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตราย หรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน ที่ล้างตาฉุกเฉินตามความจำเป็น และเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตราย
และขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บรวบรวม
หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑) มีภาชนะบรรจุ หรือภาชนะรองรับที่เหมาะสม และเพียงพอกับปริมาณ
และประเภทของมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุ หรือภาชนะรองรับ
และบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
กรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางามว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษ หรือวัตถุอันตราย
หรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาล
สิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหาร
หรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหาร
การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัย เป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
หมวด ๒
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงาน
และปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑)
มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับ
ให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
(๒) กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
หรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๓
การควบคุมของเสีย
มลพิษ หรือสิ่งใด ๆ
ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง
หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตรายจะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญ
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงาน และผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
หมวด ๔
ใบอนุญาต
ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับที่แห่งเดียว
ข้อ ๑๙ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๕
ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) รูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก
ไม่สวมแว่นตาดำของผู้ขอรับใบอนุญาต ขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป
(๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
หรือสำเนาบัตรข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๓) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๔) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๕) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลทมนางามประกาศกำหนด
ข้อ ๒๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ดังต่อไปนี้
(๑) การดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่
(๑.๑)
สถานที่นั้นต้องตั้งในทำเลซึ่งจะทำรางระบายน้ำรับน้ำเสียไปให้พ้นจากที่นั้นได้โดยสะดวก
(๑.๒) ต้องทำรางระบายน้ำไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ หรือบ่อซึ่งรับน้ำเสียด้วยวัตถุถาวรที่มีลักษณะเรียบ
ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก
(๑.๓) การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำ ทางสาธารณะ
หรือผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง
(๑.๔)
เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าสถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร
เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม รั่ว หรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำเสีย
หรือทำการบำบัดน้ำเสียให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล หรือต้องมีบ่อดักไขมัน (Grease Trap) เครื่องป้องกันกลิ่น ไอ เสียง ความกระเทือน
ฝุ่นละออง เขม่า ควัน มูล หรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง
ผู้ประกอบกิจการนั้นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ภายในระยะเวลา ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๑.๕) ต้องมีแสงสว่าง และการระบายอากาศเพียงพอ
และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค
(๑.๖) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่การค้านั้น
(๑.๗) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
(๑.๘) ต้องจัดให้มีส้วมที่ถูกลักษณะตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ (พ.ศ.
๒๕๓๖) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
พ.ศ. ๒๕๓๕ และหรือตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
(๑.๙)
สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องสร้างให้ถูกสุขลักษณะตามความเห็นชอบของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๑.๑๐) สถานที่เกี่ยวกับการตาก หรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตาก
หรือผึ่งสินค้าที่ไม่ก่อเหตุรำคาญ และตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๑.๑๑) ปฏิบัติการอื่นใดภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และต้องถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยต่อสุขภาพตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๒) มาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
(๒.๑) ต้องรักษาสถานที่ตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในหลักเกณฑ์
และเงื่อนไขข้อ (๑) ให้อยู่ในภาวะอันดีเสมอ
และทำความสะอาดกวาดล้างสถานที่ประกอบกิจการค้าให้สะอาดทุกวัน
(๒.๒)
ต้องประกอบกิจการค้าภายในเขตสถานที่ที่ได้รับอนุญาตและตามกำหนดวันเวลาที่ได้รับอนุญาต
(๒.๓) ต้องรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้ในการประกอบการทุกอย่างให้สะอาดอยู่เสมอ
ถ้าวัสดุหรือวัตถุแห่งการค้านั้นจักใช้เป็นอาหารต้องป้องกันวัสดุ
หรือวัตถุนั้นให้พ้นจากฝุ่นละออง แมลงวัน แมลงสาป ยุง หรือพาหะนำโรคอื่น ๆ
(๒.๔) ต้องรักษาสถานที่อย่าให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงวัน แมลงสาป ยุง
หรือสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคอื่น ๆ และต้องเก็บสิ่งของที่เป็นอาหารให้มิดชิด
(๒.๕)
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิ่มเติมสถานที่ประกอบกิจการต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒.๖)
ต้องปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒.๗) ต้องยินยอม
และให้ความสะดวกแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าตรวจสถานที่
เครื่องมือ เครื่องใช้
ตลอดจนวิธีประกอบการค้านั้นได้ในเวลาอันสมควรเมื่อได้แจ้งความประสงค์ให้ทราบแล้ว
ข้อ ๒๑ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต
หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้อง
และความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
ในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอให้แก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
โดยต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลา
และเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาแล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เฉพาะในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทมนางามเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้ว
ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาต
และการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ โดยอนุโลม
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนจะถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
กรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม
ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ ที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑)
กรณีใบอนุญาตสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) กรณีใบอนุญาตถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลา
ที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตได้ในกรณี
ดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อผู้รับใบอนุญาตถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
เมื่อผู้รับใบอนุญาตต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งนั้นโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา
หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑ ผู้ที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตนั้นอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืน
หรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ทองอินทร์
หาญจรูญ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทมนางาม
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๓. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๑๔๑/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
792215 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
ว่าด้วยการควบคุมกิจการ
ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัยโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัยและนายอำเภอเสนา
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัยตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัยแล้วสิบห้าวัน
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบกิจการ หมายความว่า
สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามมาตรา
๓๑ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้าน หมายความว่า
การประกอบกิจการที่ให้บริการส่งพนักงานไปเลี้ยงและดูแลเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุไม่เกิน
๖ ปี
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบการดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะทางเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น
ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔
ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
๑. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม
(๓) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง
๒. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์ และผลิตภัณฑ์
(๑) การฆ่า หรือชำแหละสัตว์
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
(๒) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์หรือพืช
เพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๓) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการฆ่าเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
(๔) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๕) การต้มการตาม การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย และการขายในตลาด
(๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
จากเปลือกหอย กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์
๓. กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ
เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้มหรือซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผัก
ผลไม้หรือพืชอย่างอื่น
(๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน
ก๋วยเตี๋ยว เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม
หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน
(๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง จากสัตว์ ได้แก่
ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย
น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่คล้ายคลึงกัน
(๕) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์โดยการตาก บด
นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้งย่าง เผาหรือโดยวิธีอื่น
(๖) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๗) การผลิตไอศกรีม
(๘) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก
หรือวิธีการอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร
การเร่ขาย การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๙) การประกอบกิจการการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
(๑๐) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่งเหลือง
เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระเป๋าขวดหรือภาชนะอื่นใด
ยกเว้นการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
(๑๑) การผลิตน้ำกลั่นน้ำบริโภค
(๑๒) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหาร
และเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
๔. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การล้าง อบ รม หรือสะสมยางดิบ
(๒) การสีข้าว นวดข้าวด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด ๆ
ก็ตาม
(๓) การขัด การกะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๖) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช
(๗) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร
(๘) การตาก การสะสม หรือขนข้าวปลูก
๕. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การกลึง เจาะ เชื่อม ตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักร หรือก๊าช หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาต ๖
(๑)
๖. กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๑) การต่อ ประกอบ เคาะ ปะผุ พ่นสี หรือพ่นสารกันสนิมยานยนต์
(๒) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล ระบบไฟฟ้า
ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้นมีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องจักรกลดังกล่าวด้วย
(๔) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๕) การผลิต สะสะม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๖) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยานยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๗) การผลิต ซ่อม ประกอบ อัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๘) การสะสม การซ่อมเครื่องกล
เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องกลเก่า
๗. กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๑) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๓) การอบไม้
(๔) การประดิษฐ์กระดาษต่าง ๆ
(๕) การเผ่าถ่าน หรือการสะสมถ่าน
(๖) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร
๘. กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑) การประกอบการกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๒) การจัดให้มีการมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ
รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๓) การประกอบกิจการเสริมสวยหรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๔) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๕) การประกอบกิจการ อาบ อบ นวด
(๖) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
(๗) การประกอบกิจการโรงแรม หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๘) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๑๐) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
การารบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใด
เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎมายว่าด้วยสถานพยาบาล
๙. กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๒) การซัก อบ รีด การอัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๓) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
(๔) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
๑๐. กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ด้วยซีเมนต์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๒) การสะสม ผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด
ตัก ดูด โม่ บด หรือย่อยด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิตภาชนะดินเผาหรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๔) การผลิต ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบหรือส่วนผสม
เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบี้องยาง ฝ้าเพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น
(๕) การผลิตกระจก หรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ
๑๑. กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก
และสารเคมีต่าง ๆ
(๑) การผลิต บรรจุ สะสม หรือขนส่งก๊าช
(๒) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๓) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน ๖ (๑)
(๔) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๕) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๖) การผลิต สะสม
ขนส่งดอกไม้เพลิงหรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๗) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง ยางเทียม
พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๘) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์
(๙) การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๐) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๓) การผลิต การบรรจุ การสะสม
การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหนะนำโรค
(๑๔) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว
๑๒. กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง
(๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น
กระดาษเช็คเครื่องสำอางต่าง ๆ
(๓) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ
๑๓. กิจการอื่น ๆ
(๑) การผลิต ซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณิอิเล็กทรอนิกส์
อุปกรณ์ไฟฟ้า
(๒) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือถ่ายเอกสาร
(๓) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๔) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้วหรือเหลือใช้
(๕) การพิมพ์ เขียน พ่นสี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๖) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๗) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๘) การผลิต สิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
ข้อ ๕
ผู้ประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ
หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี
ข้อ ๖
สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน
สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องมีสถานที่ตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น ๆ
ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย
ข้อ ๗
สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมาย
ว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อมีระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒)
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ ๘
การดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่
(๑) สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลซึ่งจะทำรางระบายน้ำ
รับน้ำเสียไปให้พ้นจากที่นั้นโดยสะดวก
(๒)
ต้องจัดทำรางระบายน้ำไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะหรือบ่อซึ่งรับน้ำเสียด้วยวัตถุถาวร
ที่มีลักษณะเรียบ ไม่ซึม ไม่รั่ว น้ำไหลได้สะดวก
(๓)
การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง
(๔) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่า
สถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม
รั่วหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำเสียหรือทำการบำบัดน้ำเสีย
ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาล หรือต้องมีบ่อดักไขมัน (Grease Trap) เครื่องป้องกันกลิ่น ไอเสีย ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า ควัน มูล
หรือสิ่งอื่นใดซึ่งอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้อยู่ใกล้เคียง ผู้ประกอบกิจการนั้นต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขกำหนด
(๕) ต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อาศัยของสัตว์นำโรค
(๖) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ
โดยเฉพาะกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตอาหาร
(๗) ต้องมีที่รองรับมูลฝอย และสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
(๘) ต้องจัดให้มีส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
พ.ศ. ๒๕๓๕ และหรือกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
และต้องมีปริมาณที่เพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้น
(๙) สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องสร้างให้ได้สุขลักษณะตามความเห็นชอบของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๑๐)
สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าที่ไม่ก่อเหตุรำคาญ
และตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๑๑) ปฏิบัติการอื่นใดภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และถูกต้องสุขลักษณะปลอดภัยต่อสุขภาพ
ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นสมควรเพื่อให้ถูกสุขลักษณะ
ข้อ ๙
สถานที่ประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย
วัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๐
สถานที่ประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม
หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑) มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอย
รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
และต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑
สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคที่ติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๒
สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วนและต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
ข้อ ๑๓
สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๔
สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง
หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
ข้อ ๑๕
เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๔ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๖
ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามประเภทที่มีข้อบัญญัติกำหนดให้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๔ ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ (กอ. ๑) พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตอื่น ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ
ข้อ ๑๗
ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งต้องควบคุมตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนี้
ต้องปฏิบัติรวมทั้งจัดสถานที่สำหรับประกอบกิจการค้านั้น ๆ
ให้เป็นไปตามเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑)
สถานที่นั้นต้องตั้งอยู่ในทำเลที่จะมีรางระบายน้ำรับน้ำโสโครกได้อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำของสาธารณสุข
(๒) ต้องจัดทำรางระบายน้ำ หรือบ่อรับน้ำโสโครกด้วยวัตถุถาวร เรียบ
ไม่ซึมไม่รั่ว ระบายน้ำได้สะดวก
(๓)
การระบายน้ำต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้น้ำในทางน้ำสาธารณะหรือที่อยู่อาศัยใกล้เคียง
(๔) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๕) เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่า
สถานที่ใดสมควรจะต้องทำพื้นด้วยวัตถุถาวร เพื่อป้องกันมิให้น้ำซึม
รั่วไหลหรือขังอยู่ได้ หรือเห็นว่าควรมีบ่อพักน้ำโสโครก หรือทำการกำจัดน้ำโสโครก
ไขมัน ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลหรือต้องมีเครื่องระบายน้ำ เครื่องป้องกันกลิ่น
ไอเสีย ความสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า หรือสิ่งอื่นใด
อันอาจเป็นเหตุรำคาญแก่ผู้ที่อยู่ข้างเคียง ข้อกำหนดดังกล่าว
ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๖) ต้องมีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอ
และต้องจัดสถานที่มิให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นำโรค
(๗) ต้องจัดให้มีน้ำสะอาดเพียงพอแก่กิจการนั้น ๆ
(๘) ต้องมีที่รองรับขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอันได้ลักษณะจำนวนเพียงพอ
(๙) ต้องจัดให้มีส้วมอันได้สุขลักษณะ
จำนวนเพียงพอกับจำนวนคนที่ทำการอยู่ในสถานที่นั้นและต้องตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะสม
รวมทั้งการกำจัดสิ่งปฏิกูลด้วยวิธีที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๑๐) สถานที่เลี้ยงสัตว์ ที่ขัง และปล่อยสัตว์กว้างขวางเพียงพอ
และต้องจัดให้ได้สุขลักษณะ
(๑๑)
สถานที่เกี่ยวกับการตากหรือผึ่งสินค้าต้องมีที่สำหรับตากหรือผึ่งสินค้าตามที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นชอบ
(๑๒) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ ข้อบัญญัติและประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
ข้อ ๑๘
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ขอรับใบอนุญาตได้ปฏิบัติการครบถ้วนตามความในข้อ
๑๗
และการอนุญาตนั้นไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนก็ให้ออกใบอนุญาตให้ตามแบบ
กอ.๒
ข้อ ๑๙
เมื่อได้รับคำขอใบอนุญาต
หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์
ตามหลักเกณฑ์วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการออกใบอนุญาต
หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการค้าตามข้อ
๔ ทราบภายในสามสิบวัน
นับแต่ที่ได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
โดยจะมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ผู้ขอรับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมชำระค่าธรรมเนียม
ตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๐
ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในข้อ ๔ จะต้องปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องประกอบกิจการนั้น ๆ ภายในเขตสถานที่ที่ได้รับอนุญาต วัน
เวลาที่ได้รับอนุญาต
(๒) ต้องรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในการประกอบกิจการทุกชนิด
ให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและปลอดภัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
(๓) ต้องรักษาสภาพแวดล้อม สถานที่ประกอบกิจการ
ให้สะอาดและปลอดภัยไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน ยุง สัตว์พาหะนำโรคติดต่อ
และมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ
(๔) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัย
และระบบความปลอดภัยเวลาที่เกิดอัคคีภัยขึ้นมีบันได้หนีไฟ
หรือทางออกฉุกเฉินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
(๕) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต
(๖)
ต้องจัดให้มีระบบป้องกันการปนเปื้อนสารพิษในผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหาร
(๗) กรณีที่ผู้ประกอบการกิจการมีความประสงค์จะทำการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขหรือเพิ่มเติมสถานที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
(๘) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าตรวจสอบ สถานที่ เครื่องใช้
ตลอดจนวิธีการประกอบการค้าตามกฎหมาย ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก
เมื่อได้รับแจ้งให้ทราบแล้ว
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
ข้อ ๒๑
ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้เพียงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัยเท่านั้น
ผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ต้องแสดงใบอนุญาตไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องทำคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมเสียค่าธรรมเนียมแล้ว
ให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๖ และข้อ ๑๙ ด้วย
ข้อ ๒๒
ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้
ท้ายข้อบัญญัตินี้ ในวันที่มารับใบอนุญาต
สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก หรือ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
กรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๓
ในการออกใบอนุญาตตามข้อ ๑๘ เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะ
ระบุไว้ในใบอนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ
เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตตามข้อ ๑๘ ให้ไช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียว
และสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๒๔
บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
ข้อ ๒๕
กรณีใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
กอ. ๔ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด
การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
นำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต นำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๓) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ กอ.๒ โดยประทับตราสีแดง ว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มีวัน เดือน
ปีที่ออกใบแทน
พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในใบแทนและต้นขั้วใบแทน
(๔)
ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิมนั้น
(๕) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณีและลงเล่ม เลขที่
ปีของใบแทนใบอนุญาต
ข้อ ๒๖
เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำร้องบอกเลิกกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔
ข้อ ๒๗
หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ กอ. ๔
ข้อ ๒๘
ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้
(๑) คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ
กอ. ๑
(๒) ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ กอ. ๒
(๓) คำขอต่อใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้ใช้แบบ
กอ. ๓
(๔) คำขออนุญาตต่าง ๆ ให้ใช้แบบ กอ. ๔
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการค้ารายใดไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือประกาศ กระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการ
ตามที่รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไข
หรือปรับปรุงภายในเวลาที่กำหนด
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่สมควรครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๐
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิด
ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวง หรือประกาศกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๑
คำสั่งพักใช้ใบอนุญาต และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่วันที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๒
ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๓
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๓๔
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๕
บรรดาใบอนุญาตประกอบการค้าซึ่งเป็นที่รังเกียจ
หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ได้ออกก่อนวันประกาศใช้ข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ได้ต่อไปจนสิ้นอายุใบอนุญาตนั้น
ข้อ ๓๖ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัยเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐
ฐิติวัฒน์ กลีบมาลัย
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลมารวิชัย
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ.
๑)
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒)
๔. แบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(แบบ กอ. ๓)
๕.
แบบคำขออนุญาตต่างๆเกี่ยวกับการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๑๕๘/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
793134 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
เรื่อง
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ.
๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๓๒
มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาบัวโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัวและนายอำเภอนครไทย
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัวตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้ว ในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัวเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และมีอำนาจ ตีความ วินิจฉัย ออกระเบียบ
ประกาศหรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด
๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบการ หมายความว่า สถานที่ที่ใช้ในการประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ออกตามความในมาตรา
๓๑ แห่งพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการ ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการหรือพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัวซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อปฏิบัติการตามมาตรา
๔๔ แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๖ ให้กิจการประเภทต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้เป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
๖.๑ กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์
(๑) การเลี้ยงสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน หรือแมลง
(๒) การเลี้ยงสัตว์เพื่อรีดเอาน้ำนม
(๓) การประกอบกิจการการเลี้ยงสัตว์ รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น
ทั้งนี้
จะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม
๖.๒ กิจการที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๑) การฆ่าสัตว์ ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการฆ่าบริโภคในครัวเรือน
(๒) การฟอกหนังสัตว์ ขนสัตว์ การสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์ที่ยังมิได้ฟอก
(๓) การสะสมเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ที่ยังมิได้แปรรูป
(๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์
(๕) การต้ม การตาก การเผาเปลือกหอย เปลือกปู เปลือกกุ้ง ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร
การเร่ขาย และการขายในตลาด
(๖) การประดิษฐ์เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกหอย
กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ หนังสัตว์ ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์
(๗) การผลิต การโม่ การป่น การบด การผสม การบรรจุ
การสะสมหรือการกระทำอื่นใดต่อสัตว์หรือพืช
หรือส่วนใดของสัตว์หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์
(๘) การสะสม หรือการล้างครั่ง
๖.๓ กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม
(๑) การผลิตเนย เนยเทียม
(๒) การผลิตกะปิ น้ำพริกแกง น้ำพริกเผา น้ำปลา น้ำเคย น้ำบูดู ไตปลา
เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว หอยดอง หรือซอสปรุงรสอื่น ๆ
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓) การผลิต การหมัก การสะสมปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๔) การตากเนื้อสัตว์ การผลิตเนื้อสัตว์เค็ม การเคี่ยวมันกุ้ง ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๕) การนึ่ง การต้ม การเคี่ยว การตาก
หรือวิธีอื่นใดในการผลิตอาหารจากสัตว์ พืช ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๖) การเคี่ยวน้ำมันหมู การผลิตกุนเชียง หมูยอ ไส้กรอก หมูตั้ง
ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร การเร่ขาย การขายในตลาด
และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๗) การผลิตเส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋
(๘) การผลิตแบะแซ
(๙) การผลิตอาหารบรรจุกระป๋อง ขวด หรือภาชนะอื่นใด
(๑๐) การประกอบกิจการทำขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ
(๑๑) การแกะ การล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑๒) การผลิตน้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำถั่วเหลือง
เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๑๓) การผลิต การแบ่งบรรจุน้ำตาล
(๑๔) การผลิตผลิตภัณฑ์จากนมวัว
(๑๕) การผลิต การแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ น้ำส้มสายชู
(๑๖) การคั่วกาแฟ
(๑๗) การผลิตลูกชิ้นด้วยเครื่องจักร
(๑๘) การผลิตผงชูรส
(๑๙) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค
(๒๐) การตาก การหมัก การดองผัก ผลไม้ หรือพืชอย่างอื่น ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒๑) การผลิต การบรรจุใบชาแห้ง ชาผง หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๒๒) การผลิตไอศกรีม ยกเว้นการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๒๓) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๒๔) การประกอบกิจการห้องเย็น แช่แข็งอาหาร
(๒๕) การผลิตน้ำแข็ง ยกเว้นการผลิตเพื่อใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหาร
และเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
(๒๖) การเก็บ การถนอมอาหารด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ ๕
แรงม้าขึ้นไป
๖.๔ กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง
(๑) การผลิต การโม่ การบด การผสม การบรรจุยาด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น เครื่องสำอางต่าง ๆ
(๓) การผลิตสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๕) การผลิตสบู่ ผงซักฟอก ผลิตภัณฑ์ชำระล้างต่าง ๆ
๖.๕ กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร
(๑) การอัด การสกัดเอาน้ำมันจากพืช
(๒) การล้าง การอบ การรม การสะสมยางดิบ
(๓) การผลิตแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู หรือแป้งอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๔) การสีข้าวด้วยเครื่องจักร
(๕) การผลิตยาสูบ
(๖) การขัด การกะเทาะ การบดเมล็ดพืช การนวดข้าวด้วยเครื่องจักร
(๗) การผลิต การสะสมปุ๋ย
(๘) การผลิตใยมะพร้าวหรือวัตถุคล้ายคลึงด้วยเครื่องจักร
(๙) การตาก การสะสม หรือการขนถ่ายมันสำปะหลัง
๖.๖ กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๑) การผลิตโลหะเป็นภาชนะ เครื่องมือ
เครื่องจักร อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ
(๒) การหลอม การหล่อ การถลุงแร่ หรือโลหะทุกชนิดยกเว้นกิจการใน (๖.๑)
(๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี การตัด การประสาน
การรีดการอัดโลหะ ด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซหรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑)
(๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี
ดีบุก โครเมียม นิกเกิลโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑)
(๕) การขัด การล้างโลหะ ด้วยเครื่องจักรสารเคมี
หรือวิธีอื่นใด ยกเว้นกิจการใน ๖.๖ (๑)
(๖) การทำเหมืองแร่ การสะสม การแยก การคัดเลือก การล้างแร่
๖.๗ กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี
การพ่นสารสนิมยานยนต์
(๒) การตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๓) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๔) การล้าง การอัดฉีด ยานยนต์
(๕) การผลิต การซ่อม การอัดแบตเตอรี่
(๖) การปะ การเชื่อมยาง
(๗) การอัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
๖.๘ กิจการที่เกี่ยวกับไม้
(๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๒) การเลื่อย การซอย การขัด การไส การเจาะ การขุดร่อง
การทำคิ้วหรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๓) การประดิษฐ์ไม้ หวาย
เป็นสิ่งของด้วยเครื่องจักร หรือการพ่น ทาสารเคลือบเงาสี
หรือการแต่งสำเร็จผลิตภัณฑ์จากไม้หรือหวาย
(๔) การอบไม้
(๕) การผลิตธูปด้วยเครื่องจักร
(๖) การประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียนด้วยกระดาษ
(๗) การผลิตกระดาษต่าง ๆ
(๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน
๖.๙ กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๑) กิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๒) การประกอบกิจการอาบ อบ นวด เว้นแต่เป็นการให้บริการใน ๖.๙ (๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๓) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่เป็นการให้บริการใน
๖.๙ (๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๔) การประกอบกิจการโรงแรมหรือกิจการอื่นใดในทำนองเดียวกัน
(๕) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
ห้องแบ่งเช่าหรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๖) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๗) การจัดให้มีการแสดงดนตรีเต้นรำ รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ
หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๘) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙) การจัดให้มีการเล่นสเกต โดยมีแสงหรือเสียงประกอบ หรือการเล่นอื่น
ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๑๐) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม
เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๑๑) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก โดยวิธีการควบคุมทางโภชนาการให้อาหารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ
การบริหารร่างกาย หรือโดยวิธีอื่นใดเว้นแต่การให้บริการใน ๖.๙ (๑) หรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๑๒) การประกอบกิจการสวนสนุก ตู้เกม
(๑๓) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
การสาธารณสุขวิทยาศาสตร์ หรือสิ่งแวดล้อม
(๑๔) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๑๕) การสักผิวหนัง การเจาะหูหรือเจาะอวัยวะอื่น
(๑๖) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงดูแลเด็กที่บ้าน
(๑๗) การประกอบกิจการให้บริการผู้สูงอายุที่บ้าน
๖.๑๐ กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑) การปั่นด้าย การกรอด้าย การทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้า
(๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย หรือนุ่น
(๓) การปั่นฝ้าย หรือนุ่น ด้วยเครื่องจักร
(๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๕) การเย็บผ้าด้วยเครื่องจักรตั้งแต่ ๕ เครื่องขึ้นไป
(๖) การพิมพ์ผ้า หรือการพิมพ์บนสิ่งทอต่าง ๆ
(๗) การซัก การอบ การรีด การอัดกลีบผ้า ด้วยเครื่องจักร
(๘) การย้อม การกัดสีผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ
๖.๑๑ กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร
(๓) การผลิตเครื่องใช้ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ทราย หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๕) การเจียระไนเพชร พลอย หินกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๖) การเลื่อย การตัด หรือการประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของต่าง ๆ
(๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาวดินสอพอง หรือการเผาหินปูน
(๘) การผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสม
เช่น ผ้าเบรก ผ้าคลัตช์ กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องยาง ฝ้า เพดาน ท่อน้ำ เป็นต้น
(๙) การผลิตกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๐) การผลิตกระดาษทราย
(๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
๖.๑๒ กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหิน สารเคมี
(๑) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งกรด ด่าง
สารออกซิไดซ์หรือสารตัวทำละลาย
(๒) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งก๊าซ
(๓) การผลิต การกลั่น การสะสม การขนส่งน้ำมันปิโตรเลียม
หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่าง ๆ
(๔) การผลิต การสะสม การขนส่งถ่านหิน ถ่านโค้ก
(๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการใน ๖.๗ (๑)
(๖) การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ด้วยยาง
ยางเทียม พลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๗) การโม่ การบดชัน
(๘) การผลิตสี หรือน้ำมันผสมสี
(๙) การผลิต การล้างฟิล์มรูปถ่าย หรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๐) การเคลือบ การชุบ วัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๒) การผลิต การบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๔) การผลิต การสะสม การขนส่งดอกไม้เพลิง หรือสารเคมี
อันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๕) การผลิตเชลแล็ก หรือสารเคลือบเงา
(๑๖) การผลิต การบรรจุ การสะสม การขนส่งสารกำจัดศัตรูพืช
หรือพาหะนำโรค
(๑๗) การผลิต การบรรจุ การสะสมกาว
๖.๑๓ กิจการอื่น ๆ
(๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า
(๓) การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๔) การพิมพ์แบบพิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร
(๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว หรือเหลือใช้
(๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๗) การล้างขวด ภาชนะ หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว
(๘) การพิมพ์สีลงบนวัตถุที่มิใช่สิ่งทอ
(๙) การก่อสร้าง
(๑๐) กิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา แพปลา
หมวด
๒
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ข้อ ๗ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
หรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน
สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน สถานประกอบกิจการนั้นจะต้องตั้งตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้น
ๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญด้วย
สถานประกอบกิจการที่ได้รับอนุญาตที่ประสงค์จะทำการต่อเติม แก้ไข
เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม สถานประกอบกิจการจะต้องแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ
ไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนทำการต่อเติมเปลี่ยนแปลง แก้ไข
หรือเพิ่มเติมสถานประกอบการและต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
๙.๑ ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีแสงสว่างเพียงพอ และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจน
โดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
๙.๒
ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๙.๓ ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็น
และเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ
รวบรวม หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
๑๑.๑
มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณ และประเภทมูลฝอย รวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
๑๑.๒ ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
๑๑.๓
กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๒ สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๓ สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหาร
การปรุงอาหาร การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ ๑๔ สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ปลอดภัยเป็นสัดส่วน และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
หมวด
๓
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ ๑๕ สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติ
ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๖ สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
๑๖.๑ มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง
และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
๑๖.๒
กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตรายหรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด
๔
การควบคุมของเสีย
มลพิษหรือสิ่งใด ๆ
ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๑๗ สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง หรือความสั่นสะเทือน มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย
หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
หมวด
๔
ใบอนุญาต
ข้อ ๑๘ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๖ ในลักษณะที่เป็นการค้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
๒๐.๑ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
๒๐.๒ สำเนาทะเบียนบ้าน
๒๐.๓ สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒๐.๔ อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาบัวประกาศกำหนด
ข้อ ๒๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ให้คลอบคลุมทั้งด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม
ด้านสาธารณสุข และด้านความปลอดภัย
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๓ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้อง
หรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนด
ในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา
ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๔ บรรดาใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย
ข้อ ๒๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๖ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
ข้อ ๒๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหายถูกทำลาย
หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติ
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
๒๘.๑ ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
๒๘.๒ ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๙ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบท
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๐ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
๓๐.๑
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
๓๐.๒
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
๓๐.๓
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไข
ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๑ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ ผู้รับใบอนุญาตทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๒ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๓ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
ประเจตน์ หมื่นพันธ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาบัว
เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบขอรับใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุภาพ
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
๕. แบบคำขอใบแทนใบอนุญาต
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พัชรภรณ์/อัญชลี/จัดทำ
๑๘
ธันวาคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๓๐
ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๕๓/๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๐ |
792198 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง
เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง
ว่าด้วยการควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยแห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา
๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลนาปรังโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรังและนายอำเภอปง
จึงตราข้อบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง
เรื่อง การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรังนับแต่วันถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรังแล้วสิบห้าวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นใด
ในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบการดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า
สภาวะทางเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
ภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕
ให้กิจการประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
เป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่ต้องมีการควบคุมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง
(๑) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง
(๑.๑) การเพาะพันธุ์ เลี้ยง และการอนุบาลสัตว์ทุกชนิด
(๑.๒) การประกอบกิจการเลี้ยง รวบรวมสัตว์
หรือธุรกิจอื่นใดอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
เพื่อให้ประชาชนเข้าชมหรือเพื่อประโยชน์ของกิจการนั้น ทั้งนี้
ไม่ว่าจะมีการเรียกเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อม หรือไม่ก็ตาม
(๒) กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์
(๒.๑) การฆ่าสัตว์ หรือชำแหละสัตว์ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหาร
เร่ขายหรือขายในตลาด
(๒.๒) การหมัก ฟอก ตาก หรือสะสมหนังสัตว์ ขนสัตว์
(๒.๓) การสะสมเขา กระดูกหรือชิ้นส่วนที่ยังมิได้แปรรูป
(๒.๔) การเคี่ยวหนังสัตว์ เอ็นสัตว์ ไขสัตว์
(๒.๕) การผลิตสิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ จากเปลือกกระดอง
กระดูก เขา หนัง ขนสัตว์ หรือส่วนอื่น ๆ ของสัตว์ ด้วยการต้ม นึ่ง ตาก
เผาหรือกรรมวิธีใด ๆ ซึ่งมิใช่เพื่ออาหาร
(๒.๖) การผลิต โม่ ป่น บด ผสม บรรจุ สะสม หรือกระทำอื่นใด ต่อสัตว์ หรือพืชหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์
หรือพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์หรือส่วนประกอบของอาหารสัตว์
(๒.๗) การผลิต แปรรูป สะสมหรือล้างครั่ง
(๓) กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดื่ม น้ำดื่ม ยกเว้นในสถานที่จำหน่ายอาหารการเร่ขาย
การขายในตลาด และการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือน
(๓.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำพริกแกง น้ำพริกปรุงสำเร็จ
เต้าเจี้ยว ซีอิ๊ว น้ำจิ้ม หรือน้ำซอสปรุงรสชนิดต่าง ๆ
(๓.๒) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากสัตว์ ได้แก่
ปลาร้า ปลาเจ่า กุ้งเจ่า ปลาส้ม ปลาจ่อม แหนม หม่ำ ไส้กรอก กะปิ น้ำปลา หอยดอง น้ำเคย
น้ำบูดู ไตปลา หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารหมัก ดอง แช่อิ่ม จากผักผลไม้
หรือพืชอย่างอื่น
(๓.๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารจากพืชหรือสัตว์ โดยการตาก หรือบด
นึ่ง ต้ม ตุ๋น เคี่ยว กวน ฉาบ ทอด อบ รมควัน ปิ้ง ย่าง เผา หรือวิธีอื่นใด
(๓.๕) การผลิต สะสม หรือ แบ่งบรรจุลูกชิ้น
(๓.๖) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เส้นหมี่ ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว
เต้าฮวย เต้าหู้ วุ้นเส้น เกี้ยมอี๋ เนื้อสัตว์เทียม หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๗) การผลิตบะหมี่ มักกะโรนี สปาเกตตี พาสต้า หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน
(๓.๘) การผลิต ขนมปังสด ขนมปังแห้ง จันอับ ขนมเปี๊ยะ ขนมอบอื่น ๆ
(๓.๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำนม หรือผลิตภัณฑ์จากน้ำนมสัตว์
(๓.๑๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เนย เนยเทียม เนยผสม ผลิตภัณฑ์เนย
ผลิตภัณฑ์เนยเทียม และผลิตภัณฑ์เนยผสม
(๓.๑๑) การผลิตไอศกรีม
(๓.๑๒) การค่วั สะสม หรือแบ่งบรรจุ กาแฟ
(๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ใบชาแห้ง ชาผง
หรือเครื่องดื่มชนิดผงอื่น ๆ
(๓.๑๔) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ เอทิลแอลกอฮอล์ สุรา เบียร์ ไวน์ น้ำส้มสายชู
ข้าวหมาก น้ำตาลเมา
(๓.๑๕) การผลิตน้ำกลั่น น้ำบริโภค น้ำดื่มจากเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ
(๓.๑๖) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุ หรือขนส่งน้ำแข็ง
(๓.๑๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำโซดา น้ำจากพืช
ผัก ผลไม้ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ บรรจุกระป๋อง ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๘) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ อาหารบรรจุกระป๋อง
ขวดหรือภาชนะอื่นใด
(๓.๑๙) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ ผงชูรส หรือสารปรุงแต่งอาหาร
(๓.๒๐) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ น้ำตาล น้ำเชื่อม
(๓.๒๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุ แบะแซ
(๓.๒๒) การแกะ ตัดแต่ง ล้างสัตว์น้ำ
ที่ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของกิจการห้องเย็น
(๓.๒๓) การประกอบกิจการห้องเย็นแช่เข็งอาหาร
(๓.๒๔) การเก็บถนอมอาหารด้วยเครื่องจักร
(๔) กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
(๔.๑) การผลิต การโม่ บด ผสม การบรรจุยา
(๔.๒) การผลิต การบรรจุยาสีฟัน แชมพู ผ้าเย็น
กระดาษผ้าเย็นเครื่องสำอางรวมทั้งสบู่ที่ใช้กับร่างกาย
(๔.๓) การผลิต บรรจุสำลี ผลิตภัณฑ์จากสำลี
(๔.๔) การผลิตผ้าพันแผล ผ้าปิดแผล ผ้าอนามัย ผ้าอ้อมสำเร็จรูป
(๔.๕) การผลิต ผงซักฟอก สบู่ น้ำยาทำความสะอาด
หรือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่าง ๆ
(๕) กิจการเกี่ยวกับการเกษตร
(๕.๑) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุน้ำมันพืช
(๕.๒) การล้าง อบรม หรือสะสมยางดิบ
(๕.๓) การผลิต หรือแบ่งบรรจุแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู แป้งจากพืชหรือแป้งอื่น
ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๕.๔) การสีข้าว การนวดด้วยเครื่องจักร หรือแบ่งบรรจุข้าวด้วยวิธีใด
ๆ ก็ตาม
(๕.๕) การผลิตยาสูบ
(๕.๖) การขัด การกะเทาะ หรือบดเมล็ดพืช
(๕.๗) การผลิต สะสม หรือแบ่งบรรจุปุ๋ยหรือวัสดุที่นำไปผลิตปุ๋ย
(๕.๘) การผลิตเส้นใยจากพืช
(๕.๙) การตาก การสะสม ขนถ่ายผลิตผลของมันสำปะหลัง ข้าวเปลือก อ้อย ข้าวโพด
(๖) กิจการที่เกี่ยวกับโลหะหรือแร่
(๖.๑) การผลิตภาชนะ เครื่องประดับ เครื่องมือ
อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วยโลหะหรือแร่
(๖.๒) การถลุงแร่ การหลอม หรือหล่อโลหะทุกชนิด
ยกเว้นกิจการที่ได้รับอนุญาตใน (๖.๑)
(๖.๓) การกลึง การเจาะ การเชื่อม การตี ตัด ประสาน รีด
หรืออัดโลหะด้วยเครื่องจักรหรือก๊าซ หรือไฟฟ้า ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๖.๑)
(๖.๔) การเคลือบ การชุบโลหะด้วยตะกั่ว สังกะสี ดีบุก โครเมียม
นิกเกิล หรือโลหะอื่นใด ยกเว้นกิจการใน (๖.๑)
(๖.๕) การขัด ล้างโลหะด้วยเครื่องจักร หรือสารเคมี ยกเว้นกิจการใน
(๖.๑)
(๖.๖) การทำเหมืองแร่ สะสม แยก คัดเลือก หรือล้างแร่
(๗) กจิ การเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๑) การต่อ การประกอบ การเคาะ การปะผุ การพ่นสี การพ่นสาร กันสนิม ยานยนต์
(๗.๒) การผลิตยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องจักรกล
(๗.๓) การซ่อม การปรับแต่งเครื่องยนต์ เครื่องจักร เครื่องกล
ระบบไฟฟ้าระบบปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์
เครื่องจักรหรือเครื่องกล การตั้งศูนย์ถ่วงล้อการซ่อม การปรับแต่ง ระบบปรับอากาศ
หรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
(๗.๔) การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล
ซึ่งมีไว้บริการหรือจำหน่ายและในการประกอบธุรกิจนั้น มีการซ่อมหรือปรับปรุงยานยนต์
เครื่องจักร หรือเครื่องกลดังกล่าวด้วย
(๗.๕) การล้าง ขัดสี เคลือบสี หรืออัดฉีดยานยนต์
(๗.๖) การผลิต สะสม จำหน่าย ซ่อม หรืออัดแบตเตอรี่
(๗.๗) การจำหน่าย ซ่อม ปะ เชื่อมยางยนต์ หรือตั้งศูนย์ถ่วงล้อ
(๗.๘) การผลิต ซ่อม ประกอบ หรืออัดผ้าเบรก ผ้าคลัตช์
(๗.๙) การสะสม การซ่อมเครื่องกล
เครื่องจักรเก่าหรืออุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของยานยนต์ เครื่องจักร
หรือเครื่องจักรกลเก่า
(๘) กิจการที่เกี่ยวกับไม้หรือกระดาษ
(๘.๑) การผลิตไม้ขีดไฟ
(๘.๒) การเลื่อย ซอย ขัด ไส เจาะ ขุดร่อง ทำคิ้ว
หรือการตัดไม้ด้วยเครื่องจักร
(๘.๓) การผลิต พ่น ทาสารเคลือบเงา หรือสี
แต่งสำเร็จสิ่งของเครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ หวาย ชานอ้อย
(๘.๔) การอบไม้
(๘.๕) การผลิต สะสม แบ่งบรรจุธูป
(๘.๖) การผลิต สิ่งของ เครื่องใช้ เครื่องเขียน
หรือผลิตภัณฑ์ใดด้วยกระดาษ
(๘.๗) การผลิตกระดาษชนิดต่าง ๆ
(๘.๘) การเผาถ่าน หรือการสะสมถ่าน
(๙) กิจการที่เกี่ยวกับการบริการ
(๙.๑) การประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๒) การประกอบกิจการนวดเพื่อสุขภาพ
(๙.๓) การประกอบกิจการนวดแต่สุขภาพ
เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๙.๑)
หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๔) การประกอบกิจการสถานที่อาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร
เว้นแต่เป็นการให้บริการใน (๙.๑) หรือในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
(๙.๕) การประกอบกิจการโรงแรม
สถานที่พักที่มิใช่โรงแรมที่จัดไว้เพื่อให้บริการพักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๖) การประกอบกิจการหอพัก อาคารชุดให้เช่า ห้องเช่า
หรือห้องแบ่งเช่า หรือกิจการอื่นในทำนองเดียวกัน
(๙.๗) การประกอบกิจการโรงมหรสพ
(๙.๘) การจัดให้มีมหรสพ การแสดงดนตรี เต้นรำ
รำวง รองเง็ง ดิสโกเทก คาราโอเกะ หรือตู้เพลง หรือการแสดงอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๙) การประกอบกิจการสระว่ายน้ำ หรือกิจการอื่น
ๆ ในทำนองเดียวกัน เว้นแต่เป็นการให้บริการที่ได้รับใบอนุญาตใน
(๙.๑)
(๙.๑๐) การประกอบกิจการเล่นสเกต หรือโรลเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
(๙.๑๑) การประกอบกิจการเสริมสวย หรือแต่งผม เว้นแต่กิจการที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(๙.๑๒) การประกอบกิจการสถานที่ออกกำลังกาย
(๙.๑๓) การประกอบกิจการให้บริการควบคุมน้ำหนัก
(๙.๑๔) การประกอบกิจการสวนสนุก โบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
(๙.๑๕) การประกอบกิจการให้บริการคอมพิวเตอร์
(๙.๑๖) การประกอบกิจการสนามกอล์ฟ หรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
(๙.๑๗) การประกอบกิจการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ การสาธารณสุข วิทยาศาสตร์
หรือสิ่งแวดล้อม
(๙.๑๘) การประกอบกิจการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย
(๙.๑๙) การประกอบกิจการให้บริการเลี้ยงและดูแลเด็กที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๐)
การประกอบกิจการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของผู้รับบริการ
(๙.๒๑) การประกอบกิจการให้บริการสปา อาบน้ำ ตัดขน
รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ชั่วคราว
(๑๐) กิจการที่เกี่ยวกับสิ่งทอ
(๑๐.๑) การปั่นด้าย กรอด้าย
ทอผ้าด้วยเครื่องจักร หรือการทอผ้าด้วยกี่กระตุก
(๑๐.๒) การสะสมปอ ป่าน ฝ้าย นุ่นหรือใยสังเคราะห์
(๑๐.๓) การปั่นฝ้าย นุ่น ใยสังเคราะห์ด้วยเครื่องจักร
(๑.๐๔) การทอเสื่อ กระสอบ พรม หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๕) การเย็บ ปักผ้า หรือสิ่งทออื่น ๆ ด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๖) การพิมพ์ผ้า และสิ่งทออื่น ๆ
(๑๐.๗) การซัก อบ รีดหรืออัดกลีบผ้าด้วยเครื่องจักร
(๑๐.๘) การย้อม ฟอก กัดสีผ้าหรือสิ่งทออื่น ๆ
(๑๑) กิจการที่เกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๑) การผลิตภาชนะดินเผา หรือผลิตภัณฑ์ดินเผา
(๑๑.๒) การระเบิด การโม่ การป่นหินด้วยเครื่องจักร
(๑๑.๓) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ด้วยซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน
(๑๑.๔) การสะสม การผสมซีเมนต์ หิน ดิน ทราย
วัสดุก่อสร้าง รวมทั้งการขุด ดัก ดูด โม่ บดหรือย่อยด้วยเครื่องจักร
ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๒)
(๑๑.๕) การเจียระไนเพชร พลอย หิน หรือกระจก หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๑.๖) การเลื่อย การตัด หรือประดิษฐ์หินเป็นสิ่งของ เครื่องใช้
หรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
(๑๑.๗) การผลิตชอล์ก ปูนปลาสเตอร์ ปูนขาว ดินสอพอง หรือการเผาหินปูน
(๑๑.๘) การผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ หรือส่วนผสม
(๑๑.๙) การผลิต ตัด บดกระจกหรือผลิตภัณฑ์แก้ว
(๑๑.๑๐) การผลิตกระดาษทรายหรือผ้าทราย
(๑๑.๑๑) การผลิตใยแก้ว หรือผลิตภัณฑ์จากใยแก้ว
(๑๑.๑๒) การล้าง การขัดด้วยการพ่นทรายลงบนพื้นผิวกระจก แก้ว
หินหรือวัตถุอื่นใดยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๑๑.๕)
(๑๒) กิจการที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ถ่านหิน ถ่านโค้ก
และสารเคมีต่าง ๆ
(๑๒.๑) การผลิต สะสม บรรจุ การขนส่งกรด ด่าง สารออกซิไดซ์ หรือสารตัวทำละลาย
(๑๒.๒) การผลิต สะสม บรรจุ หรือการขนส่งก๊าซ
(๑๒.๓) การผลิต สะสม กลั่น หรือขนส่งน้ำมันปิโตรเลียม
หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
(๑๒.๔) การผลิต สะสม หรือขนส่งถ่านหิน หรือถ่านโค้ก
(๑๒.๕) การพ่นสี ยกเว้นกิจการที่ได้รับใบอนุญาตใน (๗.๑)
(๑๒.๖) การผลิต สิ่งของเครื่องใช้หรือผลิตภัณฑ์ด้วยยางเทียม พลาสติก
เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์ หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน
(๑๒.๗) การโม่ สะสม หรือบดชัน
(๑๒.๘) การผลิตสีหรือน้ำมันผสมสี
(๑๒.๙) การผลิต ล้างฟิล์ม รูปถ่ายหรือฟิล์มภาพยนตร์
(๑๒.๑๐) การเคลือบ ชุบวัตถุด้วยพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน
(๑๒.๑๑) การผลิตพลาสติก เซลลูลอยด์ เบเกอร์ไลท์
หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกัน
(๑๒.๑๒) การผลิต หรือบรรจุสารเคมีดับเพลิง
(๑๒.๑๓) การผลิตน้ำแข็งแห้ง
(๑๒.๑๔) การผลิต สะสม ขนส่งดอกไม้เพลิง
หรือสารเคมีอันเป็นส่วนประกอบในการผลิตดอกไม้เพลิง
(๑๒.๑๕) การผลิตเชลแล็กหรือสารเคลือบเงา
(๑๒.๑๖) การผลิต สะสม บรรจุ ขนส่งสารกำจัดศัตรูพืชหรือพาหะนำโรค
(๑๒.๑๗) การผลิต สะสม หรือบรรจุกาว
(๑๓) กิจการอื่น ๆ
(๑๓.๑)
การพิมพ์หนังสือหรือสิ่งพิมพ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันด้วยเครื่องจักร
(๑๓.๒) การผลิต การซ่อมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์
หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
(๑๓.๓) การผลิตเทียน เทียนไข หรือวัตถุที่คล้ายคลึง
(๑๓.๔) การพิมพ์แบบ พิมพ์เขียว หรือการถ่ายเอกสาร
(๑๓.๕) การสะสมวัตถุหรือสิ่งของที่ชำรุด ใช้แล้ว หรือเหลือใช้
(๑๓.๖) การประกอบกิจการโกดังสินค้า
(๑๓.๗) การล้างขวด ภาชนะ
หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ใหม่หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
(๑๓.๘) การพิมพ์ เขียน พ่นสี สี หรือวิธีอื่นใดลงบนวัตถุที่ไม่ใช่สิ่งทอ
(๑๓.๙) การประกอบกิจการท่าเทียบเรือประมง สะพานปลา หรือแพปลา
(๑๓.๑๐) การบรรจุหีบห่อสินค้าโดยใช้เครื่องจักร
(๑๓.๑๑) การให้บริการควบคุมป้องกันและกำจัดแมลง หรือสัตว์พาหะนำโรค
(๑๓.๑๒) การผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ หรือผลิตภัณฑ์จากยาง
(๑๓.๑๓) การผลิต สะสม หรือขนส่ง ไบโอดีเซลและเอทานอล
ข้อ ๖
สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับหรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายโรงงานหรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย
จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย แล้วแต่กรณี
หมวด ๒
ลักษณะที่ตั้ง
ลักษณะอาคาร และการสุขาภิบาล
ข้อ ๗
สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนา โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา
โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
ในกรณีที่สถานประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน
ให้เป็นไปตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด โดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนหรือก่อเหตุรำคาญ
ข้อ ๘
สถานประกอบกิจการที่มีอาคารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเป็นอาคารที่มีความมั่นคง แข็งแรง
เหมาะสมที่จะประกอบกิจการที่ขออนุญาตได้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันไดหนีไฟหรือทางออกฉุกเฉินมีลักษณะเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
มีแสงสว่างเพียงพอ
และมีป้ายหรือเครื่องหมายแสดงชัดเจนโดยทางออกฉุกเฉินต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉินเมื่อมีระบบไฟฟ้าปกติขัดข้อง
(๒) ต้องจัดให้มีระบบการจัดแสงสว่างและการระบายอากาศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓)
ต้องมีห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
และมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน
ข้อ ๙
สถานประกอบกิจการที่คนงานอาจเปรอะเปื้อนจากสารเคมี
วัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน
ที่ล้างตาฉุกเฉิน ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับคุณสมบัติของวัตถุอันตรายและขนาดของการประกอบกิจการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๐
สถานประกอบกิจการต้องมีการเก็บ รวบรวม
หรือกำจัดมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑)
มีภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับที่เหมาะสมและเพียงพอกับปริมาณและประเภทมูลฝอยรวมทั้งมีการทำความสะอาดภาชนะบรรจุหรือภาชนะรองรับและบริเวณที่เก็บภาชนะนั้นอยู่เสมอ
(๒)
ในกรณีที่มีการกำจัดเองต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(๓)
กรณีที่มีมูลฝอยที่ปนเปื้อนสารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือสิ่งอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑
สถานประกอบกิจการต้องมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ข้อ ๑๒
สถานประกอบกิจการที่มีโรงอาหารหรือห้องครัวที่จัดไว้สำหรับการประกอบอาหารการปรุงอาหาร
การสะสมอาหารสำหรับคนงานต้องมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติว่าด้วยสถานจำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ ๑๓
สถานประกอบกิจการต้องจัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัย เป็นสัดส่วน
และต้องรักษาความสะอาดอยู่เสมอ
หมวด ๓
การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ข้อ ๑๔
สถานประกอบกิจการต้องมีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานและปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๕
สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการป้องกันเพื่อความปลอดภัยดังนี้
(๑) มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และเครื่องดับเพลิง
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้
จะต้องมีการบันทึกการบำรุงรักษาเครื่องดับเพลิงอย่างน้อยหกเดือนต่อครั้ง และมีการฝึกอบรมการดับเพลิงเบื้องต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการกำหนดหรือยอมรับให้แก่คนงานไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนคนงานในสถานประกอบกิจการนั้น
(๒)
กรณีที่มีวัตถุอันตรายต้องมีสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับเก็บรักษาวัตถุอันตราย หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายไว้โดยเฉพาะ
ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
หมวด ๔
การควบคุมของเสีย
มลพิษหรือสิ่งใด ๆ
ที่เกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๑๖
สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียงหรือความสั่นสะเทือน
มลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำ ของเสียอันตราย หรือมีการใช้สารเคมีหรือวัตถุอันตราย
จะต้องดำเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง
หมวด ๕
ใบอนุญาต
ข้อ ๑๗
เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียวและสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๑๘
ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ ๕
ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เก่ยี วข้อง
(๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาปรังกำหนด
ข้อ ๑๙
ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องประกอบกิจการนั้นๆภายในเขตสถานที่ที่ได้รับอนุญาต วัน
เวลาที่ได้รับอนุญาต
(๒) ต้องรักษาเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องใช้ในการประกอบกิจการทุกชนิด
ให้อยู่ในสภาพที่สะอาดและปลอดภัย พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
(๓) ต้องรักษาสภาพแวดล้อม สถานที่ประกอบกิจการ ให้สะอาดและปลอดภัยไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน
ยุง สัตว์ พาหะนำโรคติดต่อ และมีการป้องกันและกำจัดแมลงและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ
(๔)
ต้องจัดให้มีระบบป้องกันอัคคีภัยและระบบความปลอดภัยเวลาที่เกิดอัคคีภัยขึ้น มีบันได้หนีไฟ
หรือทางออกฉุกเฉินที่ถูกต้องตามกฎหมาย
(๕) ต้องจัดให้มีระบบป้องกันมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิต
(๖)
ต้องจัดให้มีระบบป้องกันการปนเปื้อนสารพิษในผลิตภัณฑ์ที่เป็นอาหาร
(๗) กรณีที่ผู้ประกอบการกิจการมีความประสงค์จะทำการเปลี่ยนแปลง
แก้ไขหรือเพิ่มเติมสถานที่ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน
(๘) ต้องยอมให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเข้าตรวจสอบสถานที่
เครื่องใช้ ตลอดจนวิธีการประกอบการค้าตามกฎหมาย
ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก เมื่อได้รับแจ้งให้ทราบแล้ว
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดอันเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง
ข้อ ๒๐
ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๑
เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๒
ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลนาปรังเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๘ และข้อ ๑๙ ด้วย
ข้อ ๒๓
ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๔
บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง
ข้อ ๒๕
ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๖
ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาปรังกำหนดไว้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๗
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๘
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๙
คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
ข้อ ๓๐
ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๑
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๒
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรังเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
ศิรสิทธิ์ กองอิ่น
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลนาปรัง เรื่อง
การควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. คำขอรับใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ.
๑)
๓. ใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๒)
๔.
คำขอต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (แบบ กอ. ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๗๖/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
792182 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา
๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพิมานและนายอำเภอนาแก
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิมานตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า
อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษวัสดุหรือสินค้า ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ รวมตลอดถึงสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
อาคาร หมายความว่า ตึก
บ้านเรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ข้อ ๕ การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
ให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลพิมานอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร
องค์การบริหารส่วนตำบลพิมานอาจมอบให้เอกชนหรือบุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๑๑ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว
แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลพิมานมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
หรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้
การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลองค์การบริหารส่วนตำบลพิมานจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ
ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ เป็นต้นว่า ถนน ริมถนน
ตรอก ซอย แม่น้ำ คลอง คู สระน้ำ บ่อน้ำ หรือสถานที่อื่นซึ่งมีลักษณะเช่นว่านั้น
เว้นแต่ในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลพิมานจัดไว้ให้โดยเฉพาะ
(๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ
ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสม
(๓) เจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ
ต้องรักษาบริเวณอาคารหรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่าย เท
หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ
(๔) ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอันอาจก่อให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ
เช่น ควัน กลิ่น หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ
หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๙ ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าอาคาร
สถานที่ หรือบริเวณใด ควรทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไปทำการกำจัดให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะยิ่งขึ้น
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งเป็นหนังสือไปยังเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือบริเวณนั้น
ๆ ให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน หรือเมื่อได้ทำการปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยกำหนดบริเวณที่ต้องทำการเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่ประกาศแล้ว
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่ หรือบริเวณใด ๆ จะต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากองค์การบริหารส่วนตำบลพิมานเก็บขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจากอาคาร
สถานที่หรือบริเวณนั้น ๆ ซึ่งตนเป็นเจ้าของ หรือครอบครองอยู่
โดยเสียค่าธรรมเนียมเก็บ ขน
ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมานนี้
ข้อ ๑๐ เจ้าของ
หรือผู้ครอบครองอาคารสถานที่หรือบริเวณใด ซึ่งอยู่นอกบริเวณเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามข้อ ๙
ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยการเผา ฝัง หรือโดยวิธีอื่นใดที่ไม่ขัดต่อสุขลักษณะ
ข้อ ๑๑ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๒ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูล โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิมานจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เก่ยี วข้อง
(๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลพิมานประกาศกำหนด
ข้อ ๑๓ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ
๑๒ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บและขนสิ่งปฏิกูล
(๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม)
ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
(๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิด
สามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์ แมลงพาหะนำโรคได้ มีฝาปิดเปิดอยู่ด้านบน
(๑.๑.๓)
มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูลและติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูลด้วย
(๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี
ไม่รั่วซึม
(๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
(๑.๑.๖)
ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
เช่น รถดูดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น
และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต
ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลประกาศกำหนด
(๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง
รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้งสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๑.๓)
กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐานว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด
ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด
(๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอย
(๒.๑) รถเก็บขนมูลฝอยทุกคันต้องได้รับการออกแบบ ประกอบ
และสร้างให้ลักษณะถูกต้องตามกฎหมายขนส่งทางบกและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
สามารถป้องกันการปลิว การตกหล่นของมูลฝอยและการรั่วไหลของน้ำเสียจากมูลฝอยในขณะทำการจัดเก็บและขนย้ายมูลฝอยไปยังสถานที่กำจัด
(๒.๒) ผู้รับจ้างต้องจัดให้มีพนักงานขับรถ พนักงานเก็บมูลฝอย
ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ประกอบสำหรับการเก็บมูลฝอยอย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานเก็บ
ขนมูลฝอยประจำวัน
(๒.๓) ผู้รับจ้างต้องจัดให้มีการล้างทำความสะอาดรถเก็บขนมูลฝอย
อย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง
หลังจากออกปฏิบัติงานจัดเก็บมูลฝอยและน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล
(๒.๔) ในการปฏิบัติงานผู้รับจ้างต้องควบคุมดูแลมิให้มีการดำเนินการ
เก็บ ขนมูลฝอยในลักษณะที่ไม่ปลอดภัยต่อการทำงานหรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
หรือทำให้เกิดการละเมิดต่อผู้อื่น
(๒.๕) ในกรณีที่มีการจัดกิจกรรมพิเศษ เช่น งานประจำท้องถิ่น
งานนักขัตฤกษ์ ตลอดจนงานเทศกาลต่าง ๆ ซึ่งจัดในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
องค์การบริหารส่วนตำบลพิมานจะแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบล่วงหน้า
เพื่อให้การบริการจัดเก็บมูลฝอยในบริเวณที่มีการจัดงานเป็นพิเศษในช่วงระหว่างงาน
และเมื่อเสร็จสิ้นแล้วผู้รับจ้างไม่อาจคิดค่าบริการเพิ่ม
(๒.๖)
ผู้รับจ้างเก็บขนมูลฝอยจะเก็บค่าบริการเป็นพิเศษเพิ่มจากองค์การบริหารส่วนตำบลพิมานกำหนดไว้ไม่ได้
ข้อ ๑๔ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
หากปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้งครั้งละไม่เกินสิบห้าวันแต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๖ ใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมานเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ข้อ ๑๗ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๘ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๒๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลายหรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๓ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๔ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ทำ
เป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึงหรือวันปิดคำสั่ง
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๕ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๖ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต
ให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สม. ๔
ข้อ ๒๗ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ ขน
สิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ
ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๒๙ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำ
นาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๓๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๑ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมานเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
บัญชา ศรีชาหลวง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพิมาน
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต
๓. แบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาตรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๒๘/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
792185 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท เรื่อง ควบคุมกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
เรื่อง
ควบคุมกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๓๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓
และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทและนายอำเภอชนแดน
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท เรื่อง
ควบคุมกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
กิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ หมายความว่า
สถานที่ที่ทำการผลิตน้ำบริโภคบรรจุขวดหรือใส่ภาชนะต่าง ๆ
โดยมีการจ่ายเงินเป็นค่าน้ำบริโภค ณ สถานที่ผลิตน้ำ
ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ
หมายความว่า ผลิตภัณฑ์สำหรับติดตั้งกับท่อจ่ายน้ำเพื่อกรองน้ำให้สะอาด
กำจัดสิ่งปนเปื้อนหรือสิ่งไม่พึงประสงค์ในการดื่ม ได้แก่ ความขุ่น สี กลิ่น แบคทีเรียบางชนิด
ที่อาจปนเปื้อนในระบบส่งน้ำ ถังพักน้ำ หรือระบบจ่ายท่อน้ำ
ซึ่งมีการนำน้ำมากักเก็บไว้ และจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยผ่านเครื่องอัตโนมัติ
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ให้กิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่น
ข้อ ๖ ผู้ดำเนินกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในท้องที่ที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ
สถานประกอบกิจการที่เป็นโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
หรือสถานประกอบกิจการที่มีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ สถานที่ตั้งตู้น้ำดื่มต้องอยู่ในที่ที่จะไม่ทำให้น้ำดื่มเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย
โดย
(๑) อยู่ห่างไกลจากบริเวณที่มีฝุ่นมาก แหล่งระบายน้ำเสีย
และแหล่งขยะมูลฝอย
(๒) เป็นสถานที่ที่ไม่มีแหล่งแมลงและสัตว์พาหะนำโรค
(๓) บริเวณพื้นที่ตั้งตู้น้ำดื่มไม่เฉอะแฉะ สกปรก และมีการระบายน้ำที่ถูกสุขลักษณะ
(๔) การติดตั้งตู้น้ำดื่มต้องยกระดับสูงจากพื้นอย่างน้อยสิบเซนติเมตร
(๕)
จัดให้มีอุปกรณ์เพียงพอและมีความสูงตามความเหมาะสมสำหรับวางภาชนะบรรจุน้ำ
ข้อ ๘ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณลักษณะตู้น้ำดื่ม
(๑) ตู้น้ำดื่มและอุปกรณ์ต้องทำจากวัสดุที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒) ตู้น้ำดื่มจะต้องมีความสะอาดอย่างสม่ำเสมอและไม่รั่วซึม
รวมทั้งสามารถทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายได้ง่าย
(๓)
หัวจ่ายน้ำและส่วนที่สัมผัสน้ำจะต้องทำจากวัสดุที่ใช้กับอาหารเท่านั้น (Food Grade) และหัวจ่ายน้ำต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่าหกสิบเซนติเมตร
ข้อ ๙ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งน้ำและการปรับปรุงคุณภาพน้ำ
(๑) แหล่งน้ำที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพดี เช่น น้ำประปา น้ำจากบ่อบาดาล
(๒) กรณีที่ผู้ประกอบกิจการผลิตน้ำเพื่อใช้ในการประกอบกิจการเอง
ต้องมีระบบ การตรวจสอบการควบคุมและการปรับปรุงคุณภาพน้ำที่ผลิตให้มีคุณภาพดี
(๓) มีการปรับปรุงคุณภาพน้ำตามความจำเป็นของคุณภาพแหล่งน้ำ
เพื่อให้ได้น้ำบริโภคที่มีคุณภาพมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
ข้อ ๑๐ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพมาตรฐานน้ำบริโภค
(๑) มีการเก็บตัวอย่างน้ำส่งตรวจ ณ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
เพื่อวิเคราะห์คุณภาพน้ำบริโภคทางด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย
อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
(๒) มีการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อตรวจวิเคราะห์ทางด้านแบคทีเรีย
โดยใช้ชุดตรวจวัดอย่างง่ายในภาคสนาม อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๑๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบำรุงรักษาและการทำความสะอาด
(๑) มีการทำความสะอาดสถานที่ บริเวณที่ตั้งของตู้น้ำดื่มเป็นประจำวัน
(๒) มีการทำความสะอาดพื้นผิวตู้น้ำดื่ม ช่องระบายน้ำ
และหัวจ่ายน้ำเป็นประจำวัน
(๓) ล้างทำความสะอาดถังเก็บน้ำภายในตู้น้ำดื่ม
อย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง
(๔) ล้างทำความสะอาดและเปลี่ยนวัสดุกรองตามระยะเวลาและข้อแนะนำของผลิตภัณฑ์ที่กำหนด
ข้อ ๑๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบันทึกและการรายงาน
(๑)
บันทึกการปฏิบัติงานการตรวจสอบคุณภาพน้ำและการดูแลบำรุงรักษาตามตารางแผนการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
(๒) รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๓)
จัดให้มีสัญลักษณ์แสดงคุณภาพน้ำบริโภคได้มาตรฐานหรือปรับปรุงต่อผู้บริโภคอย่างเปิดเผยเป็นประจำวัน
ข้อ ๑๓ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัติตำบลนี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้า
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ข้อ ๑๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในท้องถิ่นในลักษณะที่เป็นการค้า
จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน ข้าราชการ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ อื่น ๆ ระบุ.........)
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๑๕ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณี ไม่ถูกต้อง ครบถ้วน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด
โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
พร้อมสำเนาแจ้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการทราบทุกครั้ง
ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ ๑๗ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๑๙ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สอบครั้งขึ้นไปและมีเหตุผลที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้ได้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๒๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๗ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สมเดช ธรรมมา
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
เรื่อง ควบคุมกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๓๗/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
792191 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
เรื่อง
การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
พ.ศ. ๒๕๕๙[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
ว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทและนายอำเภอชนแดน
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผยที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทแล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอยติดเชื้อ หมายความว่า
มูลฝอยที่มีเชื้อโรคปะปนอยู่ในปริมาณหรือมีความเข้มข้นซึ่งถ้ามีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับมูลฝอยนั้นแล้วสามารถทำให้เกิดโรคได้
กรณีมูลฝอยดังต่อไปนี้
ที่เกิดขึ้นหรือใช้ในกระบวนการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์และการรักษาพยาบาล
การให้ภูมิคุ้มกันโรคและการทดลองเกี่ยวกับโรค และการตรวจชันสูตรพลิกศพหรือซากสัตว์
รวมทั้งในการศึกษา วิจัยเรื่องดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นมูลฝอยติดเชื้อ
(๑) ซากหรือชิ้นส่วนของมนุษย์หรือสัตว์ที่เป็นผลมาจากการผ่าตัด
การตรวจชันสูตรพลิกศพ หรือซากสัตว์ และการใช้สัตว์ทดลอง
(๒) วัสดุของมีคม เช่น เข็ม ใบมีด กระบอกฉีดยา หลอดแก้ว
ภาชนะที่ทำด้วยแก้ว สไลด์ และแผ่นกระจกปิดสไลด์
(๓) วัสดุซึ่งสัมผัสหรือสงสัยว่าจะสัมผัสกับเลือด ส่วนประกอบของเลือด
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเลือด
สารน้ำจากร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์ หรือวัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่มีชีวิต เช่น สำลี
ผ้าก๊อซ ผ้าต่าง ๆ และท่อยาง
(๔) มูลฝอยทุกชนิดที่มาจากห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ห้องรักษาผู้ป่วยติดเชื้อร้ายแรง หมายความว่า
ห้องรักษาผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อร้ายแรงตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สถานบริการการสาธารณสุข หมายความว่า
(๑) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลของทางราชการ
(๒) สถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
สถานพยาบาลของทางราชการ หมายความว่า
สถานพยาบาลของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย
และสถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ หมายความว่า
สถานพยาบาลสัตว์ของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
สภากาชาดไทย และสถานพยาบาลสัตว์ของหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หมายความว่า
ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มิได้ตั้งอยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุข
ซึ่งได้แก่
ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สารเคมีและจุลินทรีย์ในวัตถุตัวอย่างจากร่างกายมนุษย์หรือสัตว์ที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย
และห้องปฏิบัติการทดสอบด้านสาธารณสุขที่ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ส่วนประกอบ
และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อาจก่อให้เกิดเชื้ออันตราย ทั้งนี้
ตามลักษณะและเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข หมายความว่า ผู้ได้รับใบอนุญาต
ให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น
สภากาชาดไทย
และหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข หมายความว่า
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
และผู้ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
และหมายความรวมถึงผู้อำนวยการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หมายความว่า เจ้าของหรือผู้ครอบครองห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หมายความว่า
ผู้จัดการหรือเจ้าหน้าที่ที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ข้อ ๕
การเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
ให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทอาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทหรืออาจอนุญาตให้บุคคลใด
เป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทน ด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๓๒ มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว
แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๖
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อหรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทและระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๗
ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทหรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ทั้งนี้
การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทจะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง
ด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๘ ห้ามผู้ใดถ่าย เท
ทิ้ง หรือทำให้มีขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ซึ่งมูลฝอยติดเชื้อนอกจากถ่าย เท
หรือทิ้ง หรือกำจัด ณ สถานที่
หรือตามวิธีที่องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทกำหนดหรือจัดไว้ให้
ให้องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทจัดให้มีสถานที่ถ่าย เท
หรือทิ้งมูลฝอยติดเชื้อในที่หรือทางสาธารณะ
หรือกำหนดให้มีวิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถ่าย เท
หรือทิ้งโดยวิธีอื่นตามมาตรฐานหรือตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด แล้วแต่
ข้อ ๙
ข้อบัญญัติในส่วนที่ว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้ใช้บังคับแก่ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองด้วย
และให้สถานบริการการสาธารณสุขหรือห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายนั้นแจ้งให้องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
และเมื่อองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายดังกล่าว
จึงจะดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองได้
ในการตรวจสอบระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทอาจร้องขอให้อธิบดีกรมอนามัยหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมอนามัยมอบหมายจัดส่งเจ้าหน้าที่กรมอนามัยไปร่วมตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทได้
ข้อ ๑๐
ในการปฏิบัติการตามข้อบัญญัตินี้ ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุข
ผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
และองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทรวมทั้งบุคคล
ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
และบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี
ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ในการเก็บและหรือขนมูลฝอยติดเชื้อ
ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและหรือขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยหนึ่งคน
โดยเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
ในด้านสาธารณสุข สุขาภิบาล ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านใดด้านหนึ่ง
(๒) ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน
โดยคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดใน (๑)
ส่วนอีกคนหนึ่งต้องมีคุณสมบัติสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ในด้านสุขาภิบาล
วิศวกรรมสิ่งแวล้อม และวิศวกรรมเครื่องกล ด้านใดด้านหนึ่ง
(๓) ในกรณีที่มีการดำเนินการทั้ง (๑) และ (๒)
จะจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสองคน
ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒) ก็ได้
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่การเก็บ การขน
และการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเองขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทหรือสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
แต่องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทหรือสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นจะต้องแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของตน
อย่างน้อยหนึ่งคน ซึ่งมีคุณสมบัติตาม (๒)
ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ด้านใดด้านหนึ่ง
เป็นผู้รับผิดชอบในการเก็บ การขน และการกำจัด มูลฝอยติดเชื้อนั้น
เจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ ขน
และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม
อาจแต่งตั้งจากบุคคลภายนอกซึ่งมีคุณสมบัติดังกล่าวก็ได้
ข้อ ๑๑
ในการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุข ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของทางราชการและสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการหรือภายในห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายของเอกชน
ให้ผู้ประกอบกิจการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ประกอบกิจการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
ควบคุมดูแลให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุขหรือผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายจัดให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
และดำเนินการเก็บและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๒ ในการเก็บ ขน
และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทหรือสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
ให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทสภากาชาดไทย
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่จัดตั้งสถานพยาบาลของทางราชการหรือสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการ
แล้วแต่กรณี ควบคุมดูแล
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลของทางราชการหรือผู้ดำเนินการสถานพยาบาลสัตว์ของทางราชการนั้นแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
ขน และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ ดำเนินการเก็บ ขน
และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในการเก็บ การขน
และหรือการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อของบุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
มอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
และของบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน และกำจัด
มูลฝอยติดเชื้อโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ให้องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี
ควบคุมดูแลให้บุคคลดังกล่าว จัดให้มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และดำเนินการเก็บ ขน
และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
ตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในการมอบให้บุคคลใดดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อหรือการออกใบอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการ
รับทำการเก็บขนและหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทกำหนดระยะเวลาและเส้นทางขน
ตลอดจนเงื่อนไขหรือข้อปฏิบัติอื่น ๆ
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ให้บุคคลดังกล่าวถือปฏิบัติไว้ด้วย
ข้อ ๑๓
บุคคลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทมอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทและบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ แล้วแต่กรณี มีหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ
การขน และหรือการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ และดำเนินการเก็บ ขน
และหรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๔
ให้ผู้ดำเนินการสถานบริการการสาธารณสุข ผู้ดำเนินการห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายและเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มีหน้าที่ควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บ การขน และหรือการกำจัด
มูลฝอยติดเชื้อของตน และดำเนินการเก็บ ขน
และกำจัดมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๕
ภายใต้บังคับข้อ ๑๗
ให้เก็บบรรจุมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อดังนี้
(๑) มูลฝอยติดเชื้อประเภทวัสดุของมีคม
ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีคุณลักษณะตามข้อ ๑๖ (๑)
(๒) มูลฝอยติดเชื้ออื่นซึ่งมิใช่ประเภทวัสดุของมีคม
ให้เก็บบรรจุในภาชนะสำหรับ บรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีคุณลักษณะตามข้อ ๑๖ (๒)
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
ต้องใช้เพียงครั้งเดียวและต้องทำลายพร้อมกับการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
ข้อ ๑๖
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๑๕ ต้องมีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นกล่องหรือถัง
ต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทานต่อการแทงทะลุและการกัดกร่อนของสารเคมี
เช่น พลาสติกแข็งหรือโลหะ มีฝาปิดมิดชิด และป้องกันการรั่วไหลของของเหลวภายในได้
และสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก โดยผู้ขนย้ายไม่มีการสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
(๒)
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นถุงต้องทำจากพลาสติกหรือวัสดุอื่นที่มีความเหนียวไม่ฉีกขาดง่าย
ทนทานต่อสารเคมีและการรับน้ำหนัก กันน้ำได้ ไม่รั่วซึมและไม่ดูดซึม
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ต้องมีสีแดง ทึบแสง
และมีข้อความสีดำ ที่มีขนาดสามารถอ่านได้ชัดเจนว่า มูลฝอยติดเชื้อ อยู่ภายใต้รูปหัวกะโหลกไขว้
คู่กับตราหรือสัญลักษณ์ที่ใช้ระหว่างประเทศตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และต้องมีข้อความว่า ห้ามนำกลับมาใช้อีก และ ห้ามเปิด ในกรณีที่สถานบริการการสาธารณสุขมิได้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยตนเอง
สถานบริการการสาธารณสุขดังกล่าวจะต้องระบุชื่อของตนไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
และในกรณีที่ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นใช้สำหรับเก็บมูลฝอยติดเชื้อไว้
เพื่อรอการขนไปกำจัดเกินกว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
ให้ระบุวันที่ที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อดังกล่าวไว้ที่ภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อด้วย
ภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
มีได้หลายขนาดตามความเหมาะสมของการเก็บ การขน และการกำจัด
แต่ในกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเห็นสมควร เพื่อความสะดวกในการเก็บ การขน และการกำจัด
จะกำหนดขนาดของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อสำหรับใช้ในสถานบริการการสาธารณสุขใด
หรือสำหรับใช้ในของปฏิบัติการเชื้ออันตรายใดก็ได้
ข้อ ๑๗
การเก็บมูลฝอยติดเชื้อในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ ๑๕
อาจจะจัดให้มีภาชนะรองรับภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อก็ได้
โดยภาชนะรองรับนั้นจะต้องทำด้วยวัสดุที่แข็งแรง ทนทานต่อสารเคมี ไม่รั่วซึม
ทำความสะอาดได้ง่าย และต้องมีฝาปิดเปิดมิดชิด เว้นแต่ในห้องที่มีการป้องกัน
สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค และจำเป็นต้องใช้งานตลอดเวลา จะไม่มีฝาปิดเปิดก็ได้
ภาชนะรองรับตามวรรคหนึ่ง
ให้ใช้ได้หลายครั้งแต่ต้องดูแลรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
ข้อ ๑๘
การเก็บมูลฝอยติดเชื้อ ต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อตรงแหล่งเกิดมูลฝอยติดเชื้อนั้น
และต้องเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ ๑๕
โดยไม่ปนกับมูลฝอยอื่น และในกรณีที่ไม่สามารถเก็บลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้โดยทันทีที่เกิดมูลฝอยติดเชื้อ
จะต้องเก็บมูลฝอยติดเชื้อนั้นลงในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อโดยเร็วที่สุดเมื่อมีโอกาสที่สามารถจะทำได้
(๒) ต้องบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไม่เกินสามในสี่ส่วนของความจุของภาชนะสำหรับบรรจุ
มูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ ๑๕ (๑) แล้วปิดฝาให้แน่น
หรือไม่เกินสองในสามส่วนของความจุ
ของภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามที่กำหนดในข้อ ๑๕ (๒)
แล้วผูกมัดปากถุงด้วยเชือกหรือวัสดุอื่นให้แน่น
(๓) กรณีการเก็บมูลฝอยติดเชื้อภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายใน
ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายที่มีปริมาณมาก
หากยังไม่เคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อนั้นออกไปทันที
จะต้องจัดให้มีที่หรือมุมหนึ่งของห้องสำหรับเป็นที่รวมภาชนะที่ได้บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้ว
เพื่อรอการเคลื่อนย้ายไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
แต่ห้ามเก็บไว้เกินหนึ่งวัน
(๔) จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามข้อ ๑๙
เพื่อรอการขนไปกำจัด
และต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง
ข้อ ๑๙ ภายใต้บังคับข้อ
๒๒ ในการเก็บมูลฝอยติดเชื้อจะต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นห้องหรือเป็นอาคารเฉพาะแยกจากอาคารอื่น
โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
สำหรับใช้เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการขนไปกำจัด
(๑) มีลักษณะไม่แพร่เชื้อ
และอยู่ในที่ที่สะดวกต่อการขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัด
(๒) มีขนาดกว้างเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อได้อย่างน้อยสองวัน
(๓) พื้นและผนังต้องเรียบ ทำความสะอาดได้ง่าย
(๔) มีรางหรือท่อระบายน้ำทิ้งเชื่อมต่อกับระบบบำบัดน้ำเสีย
(๕) มีลักษณะโปร่ง ไม่อับชื้น
(๖) มีการป้องกันสัตว์แมลงเข้าไป มีประตูกว้างพอสมควรตามขนาดของห้อง
หรืออาคาร เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน
และปิดด้วยกุญแจหรือปิดด้วยวิธีอื่นที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถที่จะเข้าไปได้
(๗)
มีข้อความเป็นคำเตือนที่มีขนาดสามารถเห็นได้ชัดเจนว่า ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ ไว้ที่หน้าห้องหรือหน้าอาคาร
(๘) มีลานสำหรับล้างรถเข็นอยู่ใกล้ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
และลานนั้นต้องมีราง หรือท่อรวบรวมน้ำเสียจากการล้างรถเข็นเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
ในกรณีที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เกินเจ็ดวัน
ที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง ต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐
องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้นได้
ข้อ ๒๐ การเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไปเก็บกักในที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อ
เพื่อรอการขนไปกำจัดตามข้อ ๑๙ ต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะดังนี้
(๑) ต้องมีผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ
โดยบุคคลดังกล่าวต้องผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ
ตามหลักสูตรและระยะเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๒) ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ได้แก่
ถุงมือยางหนา ผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และรองเท้าพื้นยางหุ้มแข้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
และถ้าในการปฏิบัติงาน ร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งไปสัมผัสกับมูลฝอยติดเชื้อ
ให้ผู้ปฏิบัติงานต้องทำความสะอาดร่างกายหรือส่วนที่อาจสัมผัสมูลฝอยติดเชื้อโดยทันที
(๓) ต้องกระทำทุกวันตามตารางเวลาที่กำหนด เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
(๔) ต้องเคลื่อนย้ายโดยใช้รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ
๒๑
เว้นแต่มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดขึ้นมีปริมาณน้อยที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะเคลื่อนย้ายโดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งมีคุณสมบัติตาม
(๑) ก็ได้
(๕) ต้องมีเส้นทางเคลื่อนย้ายที่แน่นอน และในระหว่างการเคลื่อนย้ายไปที่พักรวม
มูลฝอยติดเชื้อ ห้ามแวะหรือหยุดพัก ณ ที่ใด
(๖) ต้องกระทำโดยระมัดระวัง ห้ามโยน
หรือลากภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
(๗)
กรณีที่มีมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นหรือภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกระหว่างทาง
ห้ามหยิบด้วยมือเปล่า ต้องใช้คีมคีบหรือหยิบด้วยถุงมือยางหนา
หากเป็นของเหลวให้ซับด้วยกระดาษแล้วเก็บมูลฝอยติดเชื้อหรือกระดาษนั้นในภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อใบใหม่
แล้วทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่บริเวณพื้นนั้นก่อนเช็ดถูตามปกติ
(๘) ต้องทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถเข็นและอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างน้อยวันละครั้ง
และห้ามนำรถเข็นมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น
ข้อ ๒๑
รถเข็นสำหรับเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้ออย่างน้อยต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้
(๑) ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดได้ง่าย
ไม่มีแง่มุมอันจะเป็นแหล่งหมักหมมของเชื้อโรค และสามารถทำความสะอาดด้วยน้ำได้
(๒) มีพื้นและผนังทึบ
เมื่อจัดวางภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้วต้องปิดฝาให้แน่น
เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเข้าไป
(๓) มีข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นชัดเจนอย่างน้อยสองด้านว่า รถเข็น มูลฝอยติดเชื้อ ห้ามนำไปใช้ในกิจการอื่น
(๔) ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้เก็บมูลฝอยติดเชื้อที่ตกหล่นระหว่างการเคลื่อนย้าย
และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณที่มูลฝอยติดเชื้อตกหล่นตลอดเวลาที่ทำการเคลื่อนย้ายภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ
ข้อ ๒๒
สถานบริการการสาธารณสุขดังต่อไปนี้จะไม่จัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ
๑๙ ก็ได้ แต่ต้องจัดให้มีบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้เป็นการเฉพาะ
(๑) สถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
(๒) สถานพยาบาลสัตว์ประเภทที่ไม่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืน
หรือประเภทที่มีที่พักสัตว์ป่วยไว้ค้างคืนตามชนิดและจำนวนไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓)
สถานที่ที่อาจมีมูลฝอยติดเชื้อตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
บริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตามวรรคหนึ่ง
ให้มีลักษณะตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒๓
องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทรวมทั้งบุคคล
ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
มอบให้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทและบุคคล
ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ซึ่งรับทำการขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายเพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอกบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องจัดให้มี
(๑) ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนดในข้อ ๒๕
โดยให้มีจำนวนที่เพียงพอกับการประกอบการหรือการให้บริการ
(๒) ผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ
โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตร
และระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๓) ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อเพื่อรอการกำจัดซึ่งมีคุณลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ
๑๘
โดยมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะขนไปกำจัด
และให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ด้วยสีแดงและมีขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แสดงไว้ในสภาพถาวรด้วย
(๔)
บริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อที่เป็นสถานที่เฉพาะมีขนาดกว้างขวางเพียงพอ
มีรางหรือท่อระบายน้ำเสียจากการล้างยานพาหนะเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย
และต้องทำความสะอาดบริเวณที่จอดเก็บยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
ข้อ ๒๔
การขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข
หรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
เพื่อนำไปกำจัดภายนอกสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายนอก
บริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายต้องดำเนินการให้ถูกสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องขนโดยยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๒๓ (๑) เท่านั้น
(๒) ต้องขนอย่างสม่ำเสมอตามวันและเวลาที่กำหนด
โดยคำนึงถึงปริมาณของมูลฝอยติดเชื้อ และสถานที่จัดเก็บ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจำเป็น
(๓)
ผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องถือปฏิบัติตามข้อกำหนด ในข้อ ๒๐ (๒)
(๖) และ (๗)
(๔)
ผู้ขับขี่ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อและผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
ต้องระมัดระวังมิให้มูลฝอยติดเชื้อและภาชนะสำหรับบรรจุมูลฝอยติดเชื้อตกหล่นในระหว่างการขน
ห้ามนำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อไปใช้ในกิจการอย่างอื่น
และให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
เว้นแต่กรณีภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อแตกหรือมีการรั่วไหลต้องทำความสะอาด
ในโอกาสแรกที่สามารถจะทำได้
ข้อ ๒๕
ยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อต้องมีลักษณะและเงื่อนไขดังนี้
(๑) ตัวถังปิดทึบ ผนังด้านในต้องบุด้วยวัสดุที่ทนทาน ทำความสะอาดได้ง่ายไม่รั่วซึม
(๒)
ในกรณีที่เป็นยานพาหนะสำหรับใช้ขนมูลฝอยติดเชื้อจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ
๑๗ วรรคสอง ภายในตัวถังของยานพาหนะนั้นต้องสามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ที่ ๑๐
องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่านั้นได้
และจะต้องติดเครื่องเทอร์โมมิเตอร์ที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิภายในตัวถังไว้ด้วย
(๓)
ข้อความสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนปิดไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านว่า
ใช้เฉพาะขนมูลฝอยติดเชื้อ
(๔) กรณีองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาททำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ให้องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทแสดงชื่อขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
กรณีบุคคลซึ่งได้รับมอบจากองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทให้เป็นผู้ดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาททำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างทั้งสองด้านของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
พร้อมกับแสดงแผ่นป้าย
ขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนระบุวิธีการที่องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
มอบให้บุคคลนั้นดำเนินการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อและชื่อ ที่อยู่
หมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้น
ไว้ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อในบริเวณที่บุคคลภายนอกสามารถมองเห็นให้อย่างชัดเจนด้วย
กรณีบุคคลซึ่งได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทให้เป็นผู้ดำเนินการรับทำการขน
มูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ให้บุคคลนั้นแสดงชื่อองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทด้วยตัวหนังสือสีแดงที่มีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
พร้อมกับแผ่นป้ายขนาดที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ระบุรหัสหรือหมายเลขใบอนุญาต ชื่อ
สถานที่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลนั้น
ไว้ที่ภายนอกตัวถังด้านข้างของยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
(๕)
ต้องมีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ขับขี่และผู้ปฏิบัติงานประจำยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อ
อุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่น
หรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อ อุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัย
และอุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารสำหรับใช้ติดต่อแจ้งเหตุอยู่ในยานพาหนะขนมูลฝอยติดเชื้อตลอดเวลาที่ทำการขนมูลฝอยติดเชื้อ
ข้อ ๒๖
ในกรณีที่ใช้รถเข็นตามข้อ ๒๑
ขนมูลฝอยติดเชื้อไปกำจัดยังสถานที่กำจัดตามข้อบัญญัตินี้
ที่อยู่ภายในสถานบริการการสาธารณสุขหรือภายในบริเวณที่ตั้งห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายแทนยานพาหนะ
ขนมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ ๒๕ ให้นำข้อ ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ ๒๗
การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยวิธีใดวิธีหนึ่งตามที่กำหนดในข้อ ๒๘
(๒)
ต้องกำจัดมูลฝอยติดเชื้อตามระยะเวลาที่องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทกำหนด
แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ขนจากที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุขหรือของห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย
(๓)
ในระหว่างรอกำจัดมูลฝอยติดเชื้อต้องเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ในที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะเช่นเดียวกับที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อตามข้อ
๑๙ โดยมีขนาดกว้างขวางเพียงพอที่จะเก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อไว้ได้จนกว่าจะทำการกำจัด
รวมทั้งจัดให้มีข้อความเป็นคำเตือนว่า ที่เก็บกักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ด้วยสีแดงและมีขนาดสามารถมองเห็นได้ชัดเจนแสดงไว้ด้วย
(๔) จัดให้มีผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับมูลฝอยติดเชื้อ
โดยผ่านการฝึกอบรมการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่อาจเกิดจากมูลฝอยติดเชื้อตามหลักสูตรและระยะเวลาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕)
จัดให้มีเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้ปฏิบัติงานกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
รวมทั้งอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการตกหล่นหรือการรั่วไหลของมูลฝอยติดเชื้อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือป้องกันอัคคีภัยไว้ประจำบริเวณที่ตั้งระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
(๖) กรณีที่สถานบริการการสาธารณสุข ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตรายหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตใช้วิธีกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการอื่นที่มิใช่วิธีเผาในเตาเผาตามข้อ
๒๘ (๑) ให้สถานบริการการสาธารณสุข
ห้องปฏิบัติการเชื้ออันตราย หรือผู้ที่ได้รับอนุญาตนั้นตรวจวิเคราะห์ตามข้อ ๓๐
เพื่อตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐาน ในการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อเป็นประจำทุกเดือน
และให้รายงานผลการตรวจวิเคราะห์นั้นให้ราชการ
ส่วนท้องถิ่นทราบเป็นประจำภายในวันที่ห้าของทุกเดือน
ข้อ ๒๘
การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ มีวิธีการดังนี้
(๑) เผาในเตาเผา
(๒) ทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ
(๓) ทำลายเชื้อด้วยความร้อน
(๔) วิธีอื่นตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๒๙
การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อโดยการเผาในเตาเผา ให้ใช้เตาเผาที่มีห้องเผามูลฝอยติดเชื้อและห้องเผาควัน
การเผามูลฝอยติดเชื้อให้เผาที่อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า ๗๖๐ องศาเซลเซียส และในการเผาควันให้เผาด้วยอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า
๑,๐๐๐ องศาเซลเซียส ทั้งนี้
ตามแบบเตาเผาที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดหรือเห็นชอบ
และในการเผาต้องมีการควบคุมมาตรฐานอากาศเสียที่ปล่อยออกจากเตาเผาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓๐
การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีการทำลายเชื้อด้วยไอน้ำหรือวิธีทำลายเชื้อด้วยความร้อนหรือวิธีอื่นตามข้อ
๒๘ (๒) (๓) หรือ (๔) จะต้องดำเนินการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพ
โดยมีประสิทธิภาพที่สามารถทำลายเชื้อบัคเตรี เชื้อรา ไวรัส และปาราสิต
ในมูลฝอยติดเชื้อได้หมด
ภายหลังการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีดังกล่าวตามวรรคหนึ่งแล้ว
ต้องมีการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานทางชีวภาพ
โดยวิธีการตรวจวิเคราะห์เชื้อบะซิลลัสสะเทียโรเธอร์โมฟิลลัสหรือบะซิลลัสซับทิลิส
แล้วแต่กรณี ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ ๓๑
เศษของมูลฝอยติดเชื้อที่เหลือหลังจากการเผาในเตาเผาตามข้อ ๒๘
หรือที่ผ่านการกำจัดเชื้อตามวิธีการตามข้อ ๓๐ แล้ว
ให้ดำเนินการกำจัดตามวิธีกำจัดมูลฝอยทั่วไป เว้นแต่
กระทรวงสาธารณสุขกำหนดเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๓๒
ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๓๓
ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทประกาศกำหนด
ข้อ ๓๔ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอยติดเชื้อ
(๑.๑) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
(๑.๒) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทประกาศกำหนด
(๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ
(๒.๑) ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
(๒.๒) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทประกาศกำหนด
ข้อ ๓๕
เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่ กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๖
ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๓๗
บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ข้อ ๓๘
ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๓๙
บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๔๑
ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๔๒
ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๔๓
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๔๔
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๔๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๔๖
ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๔๗
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจของในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๔๘
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๔๙
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาทเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙
สมเดช ธรรมมา
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท เรื่อง
การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. บัญชีอัตราค่าบริการขั้นสูงท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลพุทธบาท
เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. ๒๕๕๙
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๑๙ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๔๓/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
792210 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่
เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ. ๒๕๖๐
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่
ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติมประกอบมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐ มาตรา ๕๔ มาตรา
๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่และนายอำเภอราชสาส์น
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่ เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบัญญัตินี้
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ
ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที
ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั่น
หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ
ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้งหรืออาหารให้รูปลักษณะอื่นใดซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำประกอบหรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
อาหารสด หมายความว่า
อาหารประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ และของอื่น ๆ ที่มีสภาพเป็นของสด
อาหารประเภทปรุงสำเร็จ หมายความว่า
อาหารที่ได้ผ่านการทำ ประกอบหรือปรุงสำเร็จพร้อมที่จะรับประทานได้
รวมทั้งของหวานและเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ
อาหารแห้ง
หมายความว่า อาหารที่ผ่านกระบวนการทำให้แห้งโดยการอบ รมควัน ตากแห้ง
หรือวิธีการอื่นใด
เพื่อลดปริมาณความชื้นที่มีอยู่ในอาหารลงและเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น
เครื่องปรุงรส หมายความว่า
สิ่งที่ใช้ในกระบวนการปรุงอาหารให้มีรูปแบบ รสชาติ กลิ่นรส ชวนรับประทาน เช่น
เกลือ น้ำปลา น้ำส้มสายชู ซอส ผงชูรส รวมทั้งเครื่องเทศ สมุนไพร มัสตาร์ด เป็นต้น
วัตถุเจือปนอาหาร หมายความว่า
วัตถุที่ตามปกติมิได้ใช้เป็นอาหารหรือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหาร ไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีคุณค่าทางอาหารหรือไม่ก็ตาม
แต่ใช้เจือปนในอาหาร เพื่อประโยชน์ทางเทคโนโลยีการผลิตการแต่งสีอาหาร
การปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร การบรรจุ การเก็บรักษาหรือการขนส่ง
ซึ่งมีผลต่อคุณภาพหรือมาตรฐานหรือลักษณะของอาหาร ทั้งนี้ ให้หมายความรวมถึงวัตถุที่มิได้เจือปนในอาหาร แต่มีภาชนะบรรจุ
ไว้เฉพาะแล้วใส่รวมอยู่กับอาหารเพื่อประโยชน์ดังกล่าวข้างต้นด้วย เช่น
วัตถุกันชื้น วัตถุดูดออกซิเจน เป็นต้น
ความในวรรคหนึ่ง
ไม่รวมถึงสารอาหารที่เติมเพื่อเพิ่มหรือปรับให้คงคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร เช่น
โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่
ผู้สัมผัสอาหาร หมายความว่า
บุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาหารตั้งแต่กระบวนการเตรียม ปรุง ประกอบ
จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร รวมถึงการล้างและเก็บภาชนะอุปกรณ์
ผู้ประกอบกิจการ หมายความว่า
บุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุม
กำกับ ดูแลการดำเนินการของสถานที่จำหน่ายอาหารนั้น
ราชการส่วนท้องถิ่น หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
ข้อ ๔ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ผู้ดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดตามข้อบัญญัตินี้
รวมทั้งกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หมวด ๒
สุขลักษณะในการดำเนินกิจการสถานที่จำหน่ายอาหาร
ส่วนที่ ๑
สถานที่และสุขลักษณะของบริเวณที่ใช้ทำ
ประกอบหรือปรุงอาหาร
ที่ใช้จำหน่ายอาหาร
และที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหาร
ข้อ ๖ สถานที่และบริเวณที่ใช้ทำ
ประกอบหรือปรุงอาหาร ที่ใช้จำหน่ายอาหาร และที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารต้องมีลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) พื้นที่บริเวณที่ใช้ทำ ประกอบ ปรุงอาหารต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง
สะอาด ไม่ชำรุด และทำความสะอาดง่าย
(๒) กรณีที่มีผนัง หรือเพดานต้องทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด ไม่ชำรุด
(๓) มีการระบายอากาศเพียงพอ และในกรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหารเข้าข่ายสถานที่สาธารณะ
ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
(๔) มีความเข้มของแสงสว่างเพียงพอตามความเหมาะสมในแต่ละบริเวณ
(๕) มีที่ล้างมือและอุปกรณ์สำหรับล้างมือที่ถูกสุขลักษณะ
(๖) โต๊ะที่ใช้เตรียม ปรุงอาหาร หรือที่จำหน่ายอาหาร
สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี
(๗) โต๊ะเก้าอี้ที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารทำด้วยวัสดุแข็งแรง สะอาด
ไม่ชำรุด
(๘) น้ำใช้เป็นน้ำประปา ยกเว้นกรณีที่ไม่มีน้ำประปาให้ใช้น้ำที่มีคุณภาพเทียบเท่าน้ำประปา
หรือเป็นไปตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
(๙) ภาชนะบรรจุน้ำใช้ต้องสะอาด ปลอดภัย และสภาพดี
ข้อ ๗ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับมูลฝอย
โดยมีถังรองรับมูลฝอยที่มีสภาพดี ไม่รั่วซึม ไม่ดูดซับน้ำ มีฝาปิดมิดชิด
แยกเศษอาหารจากมูลฝอยประเภทอื่น
และต้องดูแลรักษาความสะอาดถังรองรับมูลฝอยและบริเวณโดยรอบตัวถังรองรับมูลฝอยอย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ การจัดการเกี่ยวกับมูลฝอยและถังรองรับมูลฝอยให้เป็นไปตามข้อกำหนดของท้องถิ่นเรื่องการจัดการมูลฝอย
ข้อ ๘ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดเตรียมเกี่ยวกับส้วม
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องจัดให้มีหรือจัดหาห้องที่มีสภาพดี พร้อมใช้ ไว้บริการ
และมีจำนวนเพียงพอ
(๒) ห้องส้วมต้องสะอาด มีการระบายอากาศที่ดี มีแสงสว่างเพียงพอ
(๓)
มีอ่างล้างมือที่ถูกสุขลักษณะและมีอุปกรณ์สำหรับล้างมือจำนวนเพียงพอ
(๔) ห้องส้วมต้องแยกเป็นสัดส่วน
โดยประตูไม่เปิดโดยตรงสู่บริเวณที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุงอาหาร ที่เก็บ
ที่จำหน่ายและบริโภคอาหาร ที่ล้างและที่เก็บภาชนะอุปกรณ์
เว้นแต่จะมีการจัดการห้องส้วมให้สะอาดอยู่เสมอและมีฉากปิดกั้นที่เหมาะสม ทั้งนี้ ประตูห้องส้วมต้องปิดตลอดเวลา
ข้อ ๙ จัดให้มีมาตรการ
อุปกรณ์ หรือเครื่องมือสำหรับป้องกันอัคคีภัยจากการใช้เชื้อเพลิงในการทำ
ประกอบปรุงอาหาร
ส่วนที่ ๒
สุขลักษณะของอาหาร
กรรมวิธีการทำ ประกอบ ปรุง การเก็บ รักษาและการจำหน่ายอาหาร
ข้อ ๑๐ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารสดตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) อาหารสดที่นำมาประกอบ และปรุงอาหารต้องเป็นอาหารสดที่มีคุณภาพดี
สะอาด และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
(๒) อาหารสดต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม และเก็บเป็นสัดส่วน
มีการปกปิดไม่วางบนพื้นหรือบริเวณที่อาจทำให้อาหารปนเปื้อนได้
ข้อ ๑๑ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารแห้ง
อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทเครื่องปรุงรส และวัตถุเจือปนอาหาร ตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) อาหารแห้งต้องสะอาด ปลอดภัย
ไม่มีการปนเปื้อนและมีการเก็บอย่างเหมาะสม
(๒) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร
และสิ่งอื่นที่นำมาใช้ในกระบวนการประกอบหรือปรุงอาหารต้องปลอดภัย
ได้มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
ข้อ ๑๒ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับอาหารประเภทปรุงสำเร็จตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) อาหารประเภทปรุงสำเร็จต้องเก็บในภาชนะที่สะอาด ปลอดภัย
และมีการป้องกันการปนเปื้อนวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๒) มีการควบคุมคุณภาพอาหารประเภทปรุงสำเร็จให้สะอาด
ปลอดภัยสำหรับการบริโภคตามชนิดของอาหาร
ข้อ ๑๓ น้ำดื่มและเครื่องดื่มที่ใช้ในสถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีคุณภาพและมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
บรรจุในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด และป้องกันการปนเปื้อน วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐
เซนติเมตร ในกรณีที่เป็นน้ำดื่มหรือเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
ต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร
และต้องทำความสะอาดพื้นผิวภายนอกของภาชนะบรรจุให้สะอาดก่อนนำมาให้บริการ
ข้อ ๑๔ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำแข็งตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ใช้น้ำแข็งที่สะอาด มีคุณภาพมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
(๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด สภาพดี มีฝาปิด
วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร ปากขอบภาชนะสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐
เซนติเมตร ไม่วางในบริเวณที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อน และต้องไม่ระบายน้ำจากถังน้ำแข็งลงสู่พื้นบริเวณที่วางภาชนะ
(๓) ใช้อุปกรณ์ที่สะอาด มีด้าม สำหรับคีบหรือตักน้ำแข็งโดยเฉพาะ
(๔) ต้องไม่นำอาหาร
หรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่รวมกับน้ำแข็งสำหรับบริโภค
ข้อ ๑๕ สถานที่จำหน่ายอาหารซึ่งมีที่จัดไว้สำหรับบริโภคอาหารต้องจัดให้มีช้อนกลางสำหรับอาหารที่รับประทานร่วมกัน
ข้อ ๑๖ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องจัดเก็บสารเคมี
สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภค
แยกบริเวณเป็นสัดส่วนต่างหากไม่ปะปนกับอาหารต้องติดฉลากและป้ายให้เห็นชัดเจนพร้อมทั้งมีคำเตือนและคำแนะนำเมื่อเกิดอุบัติภัยจากสารดังกล่าวกรณีที่มีการเปลี่ยนถ่ายสารเคมีจากภาชนะบรรจุเดิม
ห้ามนำภาชะบรรจุสารเคมี สารทำความสะอาด วัตถุมีพิษ
หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภคมาใช้บรรจุอาหาร
และห้ามนำภาชนะบรรจุอาหารมาใช้บรรจุสารเคมีสารทำความสะอาดวัตถุมีพิษ
หรือวัตถุที่อาจเป็นอันตรายต่ออาหารและการนำอาหารมาบริโภคโดยเด็ดขาด
ส่วนที่ ๓
สุขลักษณะของภาชนะ
อุปกรณ์ เครื่องใช้อื่น ๆ และน้ำใช้
ข้อ ๑๗ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับภาชนะบรรจุอาหาร
อุปกรณ์ และเครื่องใช้ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์และเครื่องใช้ต่าง ๆ
ต้องสะอาดและทำจากวัสดุที่ปลอดภัยเหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี
ไม่ชำรุดและมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม
(๒) มีการจัดเก็บภาชนะบรรจุอาหาร อุปกรณ์ และเครื่องใช้ไว้ในที่สะอาด
โดยวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
และมีการปกปิดหรือป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม
(๓) ตู้เย็น ตู้แช่ หรืออุปกรณ์เก็บรักษาคุณภาพอาหารด้วยความเย็นอื่น
ๆ ต้องสะอาด มีสภาพดี ไม่ชำรุดมีประสิทธิภาพเหมาะสมในการเก็บรักษาคุณภาพอาหาร
(๔) ตู้อบ เตาอบ เตาไมโครเวฟ
อุปกรณ์ประกอบหรือปรุงอาหารด้วยความร้อนอื่น ๆ หรืออุปกรณ์เตรียมอาหาร
ต้องสะอาด มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สภาพดี ไม่ชำรุด
ข้อ ๑๘ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับการทำความสะอาดภาชนะบรรจุอาหารอุปกรณ์และเครื่องใช้ตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) ภาชนะ อุปกรณ์
และเครื่องใช้ที่รอการทำความสะอาดต้องเก็บในที่ที่สามารถป้องกันสัตว์และแมลงนำโรคได้
(๒) ทำความสะอาดภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ให้สะอาด
ด้วยวิธีการตามหลักสุขาภิบาลอาหารและใช้สารทำความสะอาดที่เหมาะสม โดยปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้สารทำความสะอาดนั้น
ๆ จากผู้ผลิต
ส่วนที่ ๔
สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร
ข้อ ๑๙ ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ
ไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรค ติดต่อ ได้แก่ อหิวาตกโรค
ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย
โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ และโรคอื่น ๆ ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป
(๒) ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
(๓) ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาด
และเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหารได้
(๔) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ
จำหน่าย และเสิร์ฟอาหารให้ถูกสุขลักษณะ และไม่กระทำการใด ๆ
ที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้
(๕)
ต้องปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ส่วนที่ ๕
การป้องกนั
มิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดตอ
ข้อ ๒๐ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องมีการจัดการเกี่ยวกับน้ำเสีย
ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องมีการระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง และไม่มีเศษอาหารตกค้าง
(๒)
ต้องมีการแยกเศษอาหารและไขมันไปกำจัดก่อนระบายน้ำทิ้งออกสู่ระบบระบายน้ำและน้ำทิ้งต้องได้มาตรฐานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๒๑ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
ข้อ ๒๒ สถานที่จำหน่ายอาหารต้องจัดให้มีการป้องกันควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค
รวมถึงสัตว์เลี้ยงตามที่รัฐมนตรีกำหนด
ส่วนที่ ๖
การป้องกันอัคคีภัยและอันตราย
ข้อ ๒๓ ห้ามใช้ก๊าซหุงต้มเป็นเชื้อเพลิงในการทำ
ประกอบ หรือปรุงอาหารบริเวณโต๊ะรับประทานอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร
ข้อ ๒๔ ห้ามใช้เมทานอลหรือเมทิลแอลกอฮอล์เป็นเชื้อเพลิงในการทำ
ประกอบ ปรุง หรืออุ่นอาหารในสถานที่จำหน่ายอาหาร
เว้นแต่เป็นการใช้แอลกอฮอล์แข็งสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องได้รับมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
หมวด ๓
สุขลักษณะในการดำเนินกิจการสถานที่สะสมอาหาร
ข้อ ๒๕ ผู้จัดตั้งสถานที่สะสมอาหารต้องจัดสถานที่ตลอดจนสิ่งอื่นที่ใช้ในการประกอบกิจการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ
ดังต่อไปนี้
(๑) ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่น่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ที่ฝัง
เผา หรือเก็บศพ ที่เททิ้งสิ่งปฏิกูล
ที่เลี้ยงสัตว์
หรือที่อื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขเห็นว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพไม่น้อยกว่า
๑๐๐ เมตร
เว้นแต่สามารถปรับปรุงสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๒) พื้นทำด้วยวัสดุถาวร ทำความสะอาดง่าย
(๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำอย่างเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๔) จัดให้มีแสงสว่างและการระบายอากาศเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๕) จัดให้มีส้วมที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๖) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๗)
ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หมวดที่ ๔
ใบอนุญาตและหนังสือรับรองการแจ้ง
ส่วนที่ ๑
ใบอนุญาต
ข้อ ๒๖ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๗ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคาร
หรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ
ระบุ................)
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๒๘ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบความถูกต้องของคำขอและความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานทันที
กรณีไม่ถูกต้องครบถ้วนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งต่อผู้ยื่นคำขอให้แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อดำเนินการ
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้นให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสอง
หรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณายังไม่แล้วเสร็จให้แจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าทุกเจ็ดวันจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
ข้อ ๒๙ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวัน
(หรือตามที่เห็นสมควร) นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควรและได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบแล้ว
ข้อ ๓๐ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตและให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจของราชการส่วนท้องถิ่นนั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
ข้อ ๓๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๓๒ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๓ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๔ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงหรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๕ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๖ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ส่วนที่ ๒
หนังสือรับรองการแจ้ง
ข้อ ๓๗ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอรับหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง
ข้อ ๓๘ ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด
ซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัว (ประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ
ระบุ................)
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เก่ยี วข้อง
(๔) อื่น ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นประกาศกำหนดและเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ
ข้อ ๓๙ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้งให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัติตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขหรือเพิ่มเติม
หากไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนั้น
ให้จัดทำบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหรือหลักฐานยื่นเพิ่มเติมภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
โดยให้เจ้าหน้าที่และผู้ยื่นคำขอลงนามไว้ในบันทึกนั้นด้วย
ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล
แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๔๐ ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ
ข้อ ๔๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลายหรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนและการออกใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนหนังสือรับรองการแจ้งนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๔๒ เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย
ข้อ ๔๓ ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดดำเนินกิจการตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง
ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้
หมวด ๕
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๔๔ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต
หรือผู้แจ้งมีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกและก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
หรือในวันที่มาแจ้งและก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๔๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น
หมวด ๖
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๔๖ ผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
สมชาย ตันมาก
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองใหม่
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ...................
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการ...................
๔. แบบคำขอแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
๕. หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๑๒๗/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
792203 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
ว่าด้วยการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ.
๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๓ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์และนายอำเภอกบินทร์บุรี
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ เรื่อง
การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ตั้งแต่วันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์แล้วเจ็ดวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้
ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
สินค้า หมายความว่า
สิ่งของที่ซื้อขายกัน
อาหาร หมายความว่า
อาหารตามกฎหมายว่าด้วยอาหาร
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เร่ขาย หมายความว่า
การจำหน่ายสินคา้ ในที่หรอื ทางสาธารณะ โดยมิได้จัดวางอยู่ในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีหน้าที่ควบคุมดูแลที่หรือทางสาธารณะเพื่อประโยชน์ใช้สอยของประชาชนทั่วไป
ห้ามมิให้ผู้ใดจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติหรือเร่ขาย
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาตตามวรรคสอง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระบุชนิด
หรือประเภทของสินค้าลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้า
และสถานที่ที่จะจัดวางสินค้าเพื่อจำหน่ายในกรณีที่จะมีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
รวมทั้งจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดตามที่เห็นสมควรไว้ในใบอนุญาตด้วยก็ได้
การเปลี่ยนแปลงชนิดหรือประเภทของสินค้า
ลักษณะวิธีการจำหน่ายสินค้าหรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
จะกระทำได้ต่อเมื่อผู้รับใบอนุญาตได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จดแจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไว้ในใบอนุญาตแล้ว
ข้อ ๖ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทสิ่งของอื่นที่มิใช่อาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องแต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
(๒) จัดวางสินค้า อุปกรณ์ประกอบในการจำหน่ายสินค้าและทรัพย์สินใด ๆ
ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ยื่นล้ำบริเวณที่กำหนด
รวมทั้งตัวผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าต้องไม่ล้ำลงมาในผิวจราจร
(๓)
แผงวางสินค้าทำด้วยวัสดุที่มีความแข็งแรงและมีความสูงตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๔) จัดวางสินค้าและสิ่งของใด ๆ
ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ยื่นล้ำออกนอกบริเวณที่กำหนด ทั้งนี้ รวมทั้งตัวของผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าด้วย
(๕)
รักษาความสะอาดบริเวณที่จำหน่ายสินค้าอยู่เสมอทั้งในระหว่างที่จำหน่ายสินค้าและหลังจากเลิกทำการจำหน่ายสินค้า
(๖) จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะไว้ให้เพียงพอ
และไม่ถ่ายเททิ้งลงในท่อ หรือทางระบายน้ำ หรือในที่หรือทางสาธารณะ
(๗) ห้ามกระทำการใด ๆ กับต้นไม้ เช่น พาด ติดตั้ง
วางแผงจำหน่ายสินค้า หรือเกาะเกี่ยวสายไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบในการจำหน่ายสินค้า รวมตลอดถึงการตอกตะปู ผูกเชือก หรือยึดสิ่งหนึ่งสิ่งใดโดยเด็ดขาด
(๘) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น
การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเครื่องขยายเสียงหรือเปิดวิทยุเทป เป็นต้น
(๙) เมื่อเสร็จสิ้นการจำหน่ายทุกครั้งต้องเก็บสินค้าและสิ่งของใด ๆ
ที่เกี่ยวข้องจากบริเวณที่จำหน่ายให้เรียบร้อยโดยไม่ชักช้า
(๑๐) หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ประกาศกำหนด
(๑๑)
การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๗ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) แผงจำหน่ายอาหารทำจากวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพดี
เป็นระเบียบอยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๒) อาหารปรุงสุกมีการปกปิดหรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค
(๓) สารปรุงแต่งอาหารต้องมีเลขระบบอาหาร (อย.)
(๔) น้ำดื่มต้องเป็นน้ำที่สะอาด ใส่ในภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด
มีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ
(๕) เครื่องดื่มต้องใส่ภาชนะที่สะอาด มีการปกปิด
และมีที่ตักที่มีด้ามยาวหรือมีก๊อกหรือทางเทรินน้ำ
(๖) น้ำแข็งที่ใช้บริโภค
(๖.๑) ต้องสะอาด
(๖.๒) เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด อยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐
เซนติเมตร
(๖.๓) ที่ตักน้ำแข็งมีด้ามยาว
(๖.๔) ต้องไม่นำอาหารหรือสิ่งของอย่างอื่นไปแช่ไว้ในน้ำแข็ง
(๗) ไม่สูบบุหรี่ในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร
(๘) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะ ล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง
หรือล้างด้วยน้ำไหล และอุปกรณ์การล้างต้องวางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๙) ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องปรุงรส วัตถุเจือปนอาหาร เครื่องดื่ม
และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ต้องสะอาด และทำจากวัสดุที่ปลอดภัย
เหมาะสมกับอาหารแต่ละประเภท มีสภาพดี ไม่ชำรุดและมีการป้องกันการปนเปื้อนที่เหมาะสม
(๑๐) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และแผงวางจำหน่ายอาหาร
ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๑๑) ไม่เททิ้งเศษอาหาร หรือน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันลงบนพื้นหรือทางระบายน้ำสาธารณะ
(๑๒) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้
และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด
(๑๓) ช้อน ส้อม ตะเกียบ
วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาดหรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาด
และมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๑๔)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ และไม่เททิ้งมูลฝอย
ลงในท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ
(๑๕) ผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
ไม่เป็นโรคติดต่อหรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อหรือไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ ได้แก่
อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย บิด ไข้สุกใส หัด คางทูม วัณโรคในระยะอันตราย
โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม ไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
ไข้หวัดใหญ่รวมถึงไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์ โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ หากเจ็บป่วยต้องหยุดปฏิบัติงานและรักษาตัวให้หายก่อนจึงกลับมาปฏิบัติงานต่อไป
(๑๖)
ผู้สัมผัสอาหารต้องแต่งกายสะอาดและเป็นแบบที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนสู่อาหารได้
และสวมผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น
มีสิ่งปกปิดเส้นผมมิให้ตกลงปนเปื้อนในอาหาร
(๑๗) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือและปฏิบัติตนในการเตรียม ปรุง ประกอบ
จำหน่าย และเสิร์ฟอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รักษาความสะอาดมือและเล็บ
ถ้ามีบาดแผลหรือถูกลวกหรือระคายเคืองผิวหนังบริเวณมือหรือนิ้วมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย
(๑๘) ห้ามผู้สัมผัสอาหารสูบบุหรี่ ขบเคี้ยว
รับประทานอาหารในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหารหรือไม่ไอจามรดบนอาหาร
และไม่กระทำการใด ๆ ที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนต่ออาหารหรือก่อให้เกิดโรคได้
(๑๙) ต้องมีการป้องกันอันตราย
และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร
(๒๐) ห้ามถ่าย เททิ้งน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันจากการล้างเครื่องมือ
เครื่องใช้ภาชนะและอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารลงในท่อหรือทางระบายน้ำ
หรือในที่หรือทางสาธารณะ
ข้อ ๘ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทสิ่งของอื่นที่มิใช่อาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย
ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) จำหน่ายสินค้าในบริเวณที่ได้รับอนุญาต
(๒) แต่งกายสะอาดและสุภาพเรียบร้อย
(๓) ห้ามทิ้งมูลฝอยจากการเร่ขายลงในท่อหรือทางระบายน้ำ
หรือในที่หรือทางสาธารณะ
(๔) ห้ามมิให้กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญแก่ผู้อื่น เช่น
การใช้เครื่องขยายเสียงเป็นต้น
(๕)
หยุดการจำหน่ายสินค้าเพื่อสาธารณประโยชน์หรือประโยชน์ของทางราชการตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ประกาศกำหนด
(๖)
การอื่นที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพรวมทั้งการป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๙ ในการจำหน่ายสินค้าประเภทอาหารในที่หรือทางสาธารณะโดยลักษณะวิธีการเร่ขาย
ผู้จำหน่าย และผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๘
(๒) สวมเสื้อที่มีแขน ใช้ผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมรองเท้าหุ้มส้น
มีสิ่งปกปิดป้องกันเส้นผมมิให้ตกลงในอาหาร
(๓) รักษาความสะอาดมือและเล็บ
ถ้ามีบาดแผลบริเวณมือต้องทำแผลให้เรียบร้อย
(๔) ไม่สูบบุหรี่ในขณะเตรียม ทำ ประกอบ ปรุงหรือจำหน่ายอาหาร
(๕) ไม่ไอหรือจามรดบนอาหาร
(๖) ที่เตรียม ทำ ประกอบ ปรุง และแผงวางจำหน่ายอาหาร
ต้องสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร
(๗) ไม่เททิ้งเศษอาหาร
หรือน้ำที่มีเศษอาหารหรือไขมันลงบนพื้นหรือทางระบายน้ำสาธารณะ
(๘) ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ
เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหารที่สะอาด
(๙) ปกปิดอาหาร เครื่องปรุงอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ
เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นละออง
แมลงวันและสัตว์พาหะนำโรคอื่น ๆ
(๑๐) ใช้น้ำที่สะอาดในการทำ ประกอบ ปรุง
แช่หรือล้างอาหาร ภาชนะบรรจุอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการจำหน่ายอาหาร
(๑๑) จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอ
และไม่เททิ้งมูลฝอยลงในท่อหรือทางระบายน้ำสาธารณะ
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าประกอบกิจการเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่าเป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคติดต่อ
ดังต่อไปนี้
(๑) วัณโรค
(๒) อหิวาตกโรค
(๓) ไข้รากสาดน้อย (ไทฟอยด์)
(๔) โรคบิด
(๕) ไข้สุกใส
(๖) โรคคางทูม
(๗) โรคเรื้อน
(๘) โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ
(๙) โรคตับอักเสบที่เกิดจากไวรัส
(๑๐) โรคติดต่ออื่น ๆ ที่ทางราชการกำหนด
ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ
สณ. ๑ พร้อมกับเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เก่ยี วข้อง
(๓) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ประกาศกำหนด
ข้อ ๑๒ ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือพาหะของโรคติดต่อตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๑๐
(๒) เงื่อนไขอื่นตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ประกาศกำหนด
ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๔ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้อง
และความสมบูรณ์ของคำขอถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมดและแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้อง
และสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๕ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะจะต้องมีบัตรประจำตัวตามแบบที่องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ประกาศกำหนด
และจะต้องติดบัตรประจำตัวไว้ที่อกเสื้อด้านซ้ายตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๑๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วยความเห็นชอบของเจ้าพนักงานจราจร
มีอำนาจออกประกาศ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะ หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
เป็นเขตหวงห้ามจำหน่าย หรือซื้อสินค้าโดยเด็ดขาด
(๒) กำหนดบริเวณที่หรือทางสาธารณะ
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
เป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิดหรือบางประเภท หรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้าตามกำหนดเวลาหรือเป็นเขตห้ามจำหน่ายสินค้า
โดยวิธีการจำหน่ายในลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการจำหน่ายสินค้าในบริเวณนั้น
ข้อ ๑๗ เมื่อมีผู้ประกอบการมายื่นขอใบอนุญาตจำหน่ายสินค้า
ในที่หรือทางสาธารณะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงจะพิจารณาอนุญาตให้มีการประกอบการจำหน่ายสินค้า
ชนิดหรือประเภทใด ๆ ตามความเหมาะสมสำหรับในเขตผ่อนผันและหรือเขตห้ามจำหน่ายสินค้าบางชนิดหรือบางประเภท
หรือตามเงื่อนไขใด ๆ
ตามที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้ประกาศกำหนดเขตดังกล่าวไว้แล้วตามข้อ ๑๖ โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นควรพิจารณาออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการเป็นราย
ๆ ไป
ข้อ ๑๘ เมื่อส่วนราชการดำเนินก่อสร้างผ่านสิ่งปลูกสร้างที่จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะที่ได้รับอนุญาตจากองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์แล้ว
หากมีการต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผู้รับใบอนุญาตไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากส่วนราชการได้
และให้ถือว่าใบอนุญาตที่ได้ไปนั้นระงับใบอนุญาตชั่วคราวจนกว่าจะสิ้นสุดการก่อสร้างและให้ใบอนุญาตนั้นใช้ต่อไปได้ไม่มีการชดเชยระยะเวลาการระงับแต่อย่างใด
ข้อ ๑๙ ใบอนุญาตฉบับหนึ่งให้ใช้ได้เฉพาะผู้รับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะซึ่งระบุไว้ในใบอนุญาตไม่เกินหนึ่งคนเท่านั้น
ข้อ ๒๐ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์เท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุตามแบบ สณ. ๖
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๑๑ และข้อ ๑๒ ด้วย
ข้อ ๒๑ ห้ามมิให้โอนใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่จะให้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาต
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๒๓ เมื่อผู้รับใบอนุญาตไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป
ให้ยื่นคำขอบอกเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗
ก่อนการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ข้อ ๒๔ หากผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะเปลี่ยนแปลงชนิด
หรือประเภทสินค้า หรือลักษณะ วิธีการจำหน่าย หรือสถานที่จัดวางสินค้าให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในใบอนุญาตหรือรายการอื่นใดให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ
สณ. ๗
ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาต
หรือบัตรสุขลักษณะประจำตัวสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต หรือขอรับบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่
แล้วแต่กรณี ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบ สณ. ๗
ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด
พร้อมหลักฐานดังนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๓) ในกรณีบัตรสุขภาพประจำตัวสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุด
ให้ผู้ยื่นคำขอรับบัตรใหม่ โดยนำรูปถ่ายของผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ช่วยจำหน่าย
ขนาด ๑x๑ นิ้ว จำนวน คนละ ๓ รูป มายื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๘ การออกใบแทนใบอนุญาต
หรือการออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขดังนี้
(๑) การออกใบแทนใบอนุญาตให้ใช้แบบ สณ. ๒ หรือแบบ
สณ. ๓ แล้วแต่กรณี โดยประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย และให้มี วัน เดือน ปี ที่ออกใบแทน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทน และต้นขั้วใบแทน
(๒) ให้ใช้ใบแทนใบอนุญาตได้เท่ากับเวลาที่เหลือของอายุใบอนุญาตเดิม
(๓) บันทึกด้านหลังต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิม แล้วแต่กรณี และลงเล่มที่ เลขที่ ปี ของใบแทน
(๔) กรณีบัตรสุขลักษณะประจำตัว ได้ออกบัตรสุขลักษณะประจำตัวใหม่ตามแบบ
สณ. ๔ หรือ แบบ สณ. ๕ แล้วแต่กรณี โดยประทับตามสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้ด้วย
ข้อ ๒๙ ให้ใช้แบบพิมพ์ต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลฉบับนี้ ดังต่อไปนี้
(๑) คำขอรับใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติให้ใช้แบบ
สณ. ๑
(๒) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๒
(๓) ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ใช้แบบ สณ. ๓
(๔) บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติให้ใช้แบบ สณ. ๔
(๕) บัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้าให้ใช้แบบ สณ. ๕
(๖) คำขอต่อใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้ใช้แบบ สณ. ๖
(๗) คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะให้ใช้แบบ
สณ. ๗
ข้อ ๓๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๓๑ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๒ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๓ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๔ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
กฤษฎากรณ์ สุริยวงษ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๐
๒. คำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้จำหน่ายสินค้าในที่ทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๑)
๓. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการจัดวางสินค้าที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ
(แบบ สณ. ๒)
๔. ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า
(แบบ สณ. ๓)
๕. แบบบัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการวางสินค้าในที่หนึ่งที่ใดเป็นปกติ (แบบ สณ. ๔)
๖. แบบบัตรสุขลักษณะประจำตัวผู้จำหน่ายและผู้ช่วยจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ
โดยลักษณะวิธีการเร่ขายสินค้า (แบบ สณ. ๕)
๗. คำขอต่ออายุใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๖)
๘. คำขออนุญาตต่าง ๆ
เกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ (แบบ สณ. ๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๑๐๕/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
792201 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ เรื่อง หลักเกณฑ์การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
เรื่อง
หลักเกณฑ์การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก
ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
ว่าด้วยการควบคุมการประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์และนายอำเภอกบินทร์บุรี
จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์ เรื่อง
หลักเกณฑ์การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประเภทกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกในพื้นที่องค์การบริหาร
ส่วนตำบลกบินทร์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์นับแต่วันที่ได้ปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์แล้วสิบห้าวัน
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติประกาศระเบียบหรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
สถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก หมายความว่า สถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกทุกประเภท
ผู้ดำเนินกิจการ หมายความว่า
ผู้เป็นเจ้าของหรือบุคคลที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งรับผิดชอบดำเนินการสถานประกอบกิจการนั้น
คนงาน หมายความว่า
ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ
มลพิษทางเสียง หมายความว่า สภาวะของเสียงอันเกิดจากการประกอบกิจการ
ของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษความสั่นสะเทือน หมายความว่า
สภาวะของความสั่นสะเทือนอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางอากาศ หมายความว่า
สภาวะของอากาศอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
มลพิษทางน้ำ หมายความว่า
สภาวะของน้ำทิ้งอันเกิดจากการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการที่ทำให้มีผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
อาคาร หมายความว่า
ตึกบ้านเรือนโรงร้านแพคลังสินค้าสำนักงานหรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕ ให้กิจการเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นกิจการที่ต้องมีการควบคุมภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
ข้อ ๖ สถานประกอบกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อบัญญัตินี้
ที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมืองหรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารมีผลใช้บังคับ
หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายเป็นโรงงานหรือมีการประกอบกิจการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๗ สถานประกอบการกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกต้องอยู่ห่างจากชุมชน
วัด ศาสนาสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่น ๆ
ในระยะที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและไม่ก่อเหตุรำคาญ ต่อชุมชน
โดยมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวข้างต้น ดังต่อไปนี้
(๑) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก น้อยกว่า ๕๐๐ ตัว
ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร
(๒) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก ตั้งแต่ ๕๐๐ - ๕,๐๐๐ ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตร
(๓) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก ตั้งแต่ ๕,๐๐๑ - ๑๐,๐๐๐ ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๒๐๐ เมตร
(๔) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกเกินกว่า ๑๐,๐๐๐ ตัว ควรมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ เมตร
ข้อ ๘ สถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกควรตั้งอยู่ในบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
อยู่ห่างจากแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร
และต้องมีการป้องกันการไหลของน้ำเสียและสิ่งปนเปื้อน ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ
ในกรณีที่มีการชะล้างของน้ำฝน
ข้อ ๙ สถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกควรตั้งอยู่ห่างจากโรงฆ่าสัตว์ปีก
ตลาดนัดค้าสัตว์ปีก อย่างน้อย ๕ กิโลเมตร
ข้อ ๑๐ สถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกต้องจัดให้มีบริเวณเลี้ยงสัตว์ปีกเป็นสัดส่วน
และให้อยู่ห่างเขตที่ดินสาธารณะหรือที่ดินที่มีเจ้าของ และต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมโดยรอบบริเวณเลี้ยงสัตว์นั้นไม่น้อยกว่า
๑๕ เมตร
ทุกด้านเว้นแต่ด้านที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อกับที่ดินของผู้ประกอบกิจการประเภทเดียวกัน
ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามข้อ ๗
โดยพิจารณาที่จำนวนการเลี้ยงสัตว์ปีกที่มีจำนวนมากที่สุดเป็นเกณฑ์
ในการกำหนดขอบเขตระยะห่าง
ข้อ ๑๑ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะของโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก
และส่วนประกอบ
(๑) โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกต้องเป็นอาคารเอกเทศ มั่นคงแข็งแรง
มีลักษณะเหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ปีก
(๒) โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกต้องมีพื้นแน่นหรือทำด้วยวัสดุแข็งแรง
ไม่เปียกชื้น ไม่มีน้ำขังทำความสะอาดง่าย
(๓) หลังคาหรือฝ้าเพดานต้องทำด้วยวัสดุที่มีความคงทน แข็งแรง
มีความสูงจากพื้นถึงมุมเสาที่เป็นฐานอย่างน้อย ๒ เมตรขึ้นไป
(๔) โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกต้องมีพื้นที่ในการเลี้ยงเพียงพอ
เพื่อให้สัตว์ปีกอยู่อย่างสบายไม่แออัด
เป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกของกรมปศุสัตว์
(๕) จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ
(๖)
โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกระบบเปิดต้องมีตาข่ายคลุมเพื่อป้องกันสัตว์และแมลงพาหะนำโรค
และต้องจัดให้มีการระบายอากาศที่ดี
(๗) โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกระบบปิดต้องจัดให้มีการระบายอากาศ
ฝุ่นละออง และก๊าซต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกของกรมปศุสัตว์
หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรแห่งชาติ
(๘) ถนนภายในสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกต้องใช้วัสดุคงทน
ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง
หรือต้องมีวิธีการอื่นใดที่มีความเหมาะสมในการควบคุมการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง
และมีความกว้างที่เหมาะสมสะอาด สะดวกในการขนส่ง ลำเลียงอุปกรณ์ อาหารสัตว์ปีก
รวมทั้งผลผลิตเข้าและออกภายในสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก
(๙) สถานที่เก็บอาหารสัตว์ปีก โรงผสมอาหารสัตว์ปีก
พื้นที่เก็บวัสดุรองพื้น พื้นที่ทำลายซากสัตว์ปีกพื้นที่รวบรวมมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่าง
ๆ ต้องจัดเป็นสัดส่วนมีความมั่นคงแข็งแรงและถูกหลักสุขาภิบาล
(๑๐) บริเวณประตูทางเข้า
และออกจากสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกต้องจัดให้มีการฆ่าเชื้อโรคโดยวิธีต่าง ๆ
เช่น บ่อน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือโรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือเครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
หรืออ่างจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น
ข้อ ๑๒ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะด้านอาหารสัตว์
(๑) อาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์ปีกต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน
ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
(๒) ควรมีสถานที่เก็บอาหารแยกเป็นสัดส่วน จัดให้เป็นระเบียบและมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
(๓) ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ปีกควรสะอาด ไม่ควรใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ย
หรือวัตถุอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ปีก
(๔) ควรจัดให้มีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ปีก
เพื่อตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพและสารตกค้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์
ข้อ ๑๓ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขลักษณะเครื่องมือ
เครื่องใช้ อุปกรณ์ น้ำดื่ม น้ำใช้
(๑) เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ รวมถึงสวิตซ์และสายไฟต่าง ๆ
ต้องได้รับการทำความสะอาดและบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี
กรณีใช้อุปกรณ์การเลี้ยงแบบอัตโนมัติต้องมีการตรวจสอบการทำงานทุกวัน
ถ้าพบว่าชำรุดต้องดำเนินการแก้ไขทันที
หรือมีขั้นตอนที่เหมาะสมและมีอุปกรณ์สำรองเมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย
เฉพาะโรงเรือนระบบปิดต้องมีสัญญาณเตือนกรณีระบบขัดข้อง
(๒)
น้ำที่ใช้ในสถานประกอบกิจการต้องเป็นน้ำที่สะอาดเหมาะสมต่อการนำไปใช้ปราศจากการปนเปื้อนมูลสัตว์หรือน้ำเสียจากโรงเรือน
และมีปริมาณเพียงพอสำหรับการใช้ในแต่ละวัน โดยมีระบบสำรองน้ำไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
(๓) ต้องจัดให้มีน้ำดื่มที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่ม
สำหรับบริการผู้ปฏิบัติงานอย่างเพียงพอตั้งอยู่ในบริเวณที่แยกออกจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก
และลักษณะการจัดบริการน้ำดื่ม ต้องไม่ก่อให้เกิดความสกปรกหรือการปนเปื้อน
(๔) กรณีที่สถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกผลิตน้ำใช้เอง
ควรตรวจสอบดูแลคุณภาพน้ำดิบให้สะอาดตรวจสอบระบบท่อน้ำ
และทำความสะอาดภาชนะกักเก็บน้ำ รวมทั้งปรับปรุงคุณภาพน้ำให้มีคุณภาพดีอยู่เสมอ
ข้อ ๑๔ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน
(๑) ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
และมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคที่สังคมรังเกียจ
โรคที่เกี่ยวข้องกับทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และบาดแผลติดเชื้อ
หรือไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น วัณโรค อหิวาตกโรค บิด สุกใส หัด คางทูม เรื้อน
ไวรัสตับอักเสบเอ โรคพยาธิ และโรคผิวหนังที่น่ารังเกียจ เป็นต้น
หากผู้ปฏิบัติงานป่วยด้วยโรคดังกล่าวต้องหยุดพักรักษาให้หาย
(๒) สถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก ขนาดตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ ตัวขึ้นไป ต้องมีผู้ดูแลด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมอย่างน้อย
๑ คน โดยเป็นผู้ที่มีความรู้โดยผ่านการอบรมการจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและสุขวิทยาส่วนบุคคล
(๓) ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการอบรมใน เรื่อง
เกี่ยวกับสุขอนามัยการป้องกันตนจากโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน
และการควบคุมสัตว์แมลงพาหะนำโรค
(๔) ผู้ปฏิบัติงานในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกจะต้องปฏิบัติดังนี้
(๔.๑) อาบน้ำ สระผม ชำระล้างร่างกาย
ให้สะอาดทุกครั้งก่อนเข้าหรือออกจากฟาร์มและต้องล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งภายหลังออกจากห้องส้วมและจับต้องสิ่งปนเปื้อนต่าง
ๆ
(๔.๒) จุ่มเท้าในอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และล้างมือก่อนเข้าและออกจากฟาร์ม
และโรงเรือน
(๔.๓) สวมใส่ชุดปฏิบัติงานที่สถานประกอบกิจการจัดไว้ให้
โดยต้องเป็นเครื่องแบบที่มีความสะอาดและเหมาะสมในแต่ละกิจกรรมที่ปฏิบัติ
(๔.๔) ในกรณีที่มีบาดแผล ต้องปิดแผลด้วยที่ปิดแผล
ถ้ามีบาดแผลที่มือต้องสวมถุงมือหรือปลอกนิ้วขณะปฏิบัติงาน
(๕) ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรพักอาศัยในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีก
ข้อ ๑๕ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการน้ำเสีย
มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
(๑) ต้องมีการบำบัดน้ำเสียให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้ง
ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนปล่อยออกสู่ภายนอกสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก
และต้องดูแลทางระบายน้ำไม่ให้อุดตัน
(๒) กรณีที่ไม่มีการระบายน้ำทิ้งออกนอกสถานประกอบกิจการ
เลี้ยงสัตว์ปีก
ผู้ประกอบกิจการต้องมีการจัดการน้ำเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดโดยต้องมีการป้องกันไม่ให้มีน้ำเสีย
หรือกลิ่นเหม็นกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก
(๓) ต้องมีการจัดการ หรือควบคุมปัญหากลิ่นเหม็น สัตว์
และแมลงพาหะนำโรค ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ
(๔) ต้องจัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาลเหมาะสม
เพียงพอ โดยมีการคัดแยกตามประเภทของมูลฝอย
(๕) ต้องมีการรวบรวมมูลฝอย และนำไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
และปฏิบัติตามข้อกำหนดของท้องถิ่นว่าด้วยการนั้น
ห้ามนำไปทิ้งในที่สาธารณะหรือแหล่งน้ำสาธารณะ
ในกรณีที่มีการนำมูลสัตว์ปีกและวัสดุรองพื้นออกจากสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก
ผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้ผู้ดำเนินการเคลื่อนย้าย
มีมาตรการเพื่อป้องกันเหตุเดือดร้อนรำคาญ และไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์และแมลงพาหนะนำโรค
(๖) ต้องมีการจัดการ กำจัดภาชนะบรรจุสารเคมี
หรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้แล้วอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
(๗) ต้องมีห้องน้ำห้องส้วม อ่างล้างมือ ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
มีการดูแลรักษาความสะอาดเป็นประจำ มีการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลอย่างถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล
ข้อ ๑๖ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขนส่ง
(๑) ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งควรอยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและสะอาด
(๒) ยานพาหนะทุกชนิดที่เข้าและออกจากสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก
จะต้องแล่นผ่านระบบการฆ่าเชื้อต่าง ๆ เช่น บ่อน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือโรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
หรือเครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคกับยานพาหนะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีความเข้มข้นตามเอกสารกำกับการใช้
(๓) ยานพาหนะที่ใช้สำหรับเก็บขนมูลสัตว์ปีก และวัสดุรองพื้นออกนอก
สถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกจะต้องทำการปิดคลุมด้วยผ้าใบหรือวัสดุอื่นใด
อย่างมิดชิดไม่ให้มีการตกหล่นรั่วไหล หรือยื่นล้ำออกจากยานพาหนะ
(๔) อุปกรณ์ และภาชนะ
ที่ใช้ในการขนส่งสัตว์ปีกต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่ดูดซึมน้ำ
และได้รับการฆ่าเชื้อโรคก่อนและหลังการใช้ทุกครั้ง
ข้อ ๑๗ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดการแหล่งแพร่เชื้อโรคหรือสัตว์และแมลงนำโรค
(๑) ต้องป้องกันโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์
ด้วยวิธีการที่เหมาะสมและถูกต้อง กรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่เกิดจากสัตว์
สถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกต้องมีระบบป้องกัน
และควบคุมโรคได้ซึ่งรวมถึงการทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก
และควบคุมโรคให้สงบไม่ให้แพร่ระบาดออกจากสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
(๒) จัดให้มีอุปกรณ์ฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ
และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานภายในสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก
(๓) หลังนำสัตว์ปีกออกจากโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกต้องทำความสะอาด
และฆ่าเชื้อโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกและบริเวณโดยรอบ
และปิดพักโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกในระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๗ ถึง ๒๑
วันหรือตามข้อกำหนดของกรมปศุสัตว์
(๔) เมื่อพบสัตว์ปีกป่วยต้องแยกสัตว์ปีกป่วยออกจากสัตว์ปีกปกติ
หากสงสัยว่าสัตว์ปีกป่วยเป็นโรคระบาด เช่น นิวคาสเซิล ไข้หวัดนก เป็นต้น
ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยเร่งด่วน
และดำเนินการตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดอย่างเคร่งครัดตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
กรณีพบผู้ป่วยภายในสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกที่สงสัยว่ามีสาเหตุจากโรคระบาดจากสัตว์ปีก
ให้รีบนำตัวส่งแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโรคโดยทันที และปฏิบัติตามคำแนะนำ
รวมทั้งให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ในการป้องกันและควบคุมโรค
(๕)
การทำลายซากสัตว์ปีกเพื่อป้องกันการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์และแมลงพาหนะนำโรค
ให้ดำเนินการได้อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้
(๕.๑) การทำลายโดยการเผา ต้องมีสถานที่เผา เตาเผาอยู่ในบริเวณเหมาะสม
เผาซากจนหมด และการเผาต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษหรือเหตุรำคาญ
(๕.๒) การทำลายโดยการฝัง
ต้องมีเนื้อที่เพียงพอและไม่อยู่ในบริเวณที่มีน้ำท่วมถึงไม่มีน้ำขังห่างจากแหล่งน้ำไม่น้อยกว่า
๓๐ เมตรใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสมทำการราดหรือโรยปูนขาวบนส่วนต่าง ๆ
ของซากสัตว์ปีกจนทั่วและให้ฝังซากใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร หรือหากซากสัตว์ปีกมีจำนวนมากให้ทำการพูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า
๕๐ เซนติเมตร ซึ่งการฝังกลบนี้ต้องสามารถป้องกันการคุ้ยเขี่ยของสัตว์ได้สถานที่กำจัดซากสัตว์ปีกต้องห่างจากบริเวณอาคารหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ปีกอาคารสำนักงานอาคารพักอาศัยและต้องเป็นไปตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์หรือปฏิบัติตามคู่มือการปฏิบัติงานของกรมปศุสัตว์
(๖)
ต้องมีการควบคุมป้องกันสัตว์และแมลงพาหนะนำโรคในสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก
เช่นหนู แมลงวัน แมลงสาบ เป็นต้น
ที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรคติดต่อหรือก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญต่อผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียง
ข้อ ๑๘ หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัยและการป้องกันเหตุรำคาญ
(๑) จัดให้มีห้องหรือตู้เก็บสารเคมี น้ำยาฆ่าเชื้อ
หรือสิ่งของที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรืออัคคีภัยได้ง่ายโดยเฉพาะ
โดยต้องจัดให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และแสดงป้ายชื่อ
ชนิดหรือประเภทสารเคมีที่จัดเก็บดังกล่าวอย่างชัดเจน ทั้งนี้
ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตรายและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒) ระดับความเข้มข้นของก๊าซแอมโมเนีย
บริเวณสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก ค่าเฉลี่ย ๘ ชั่วโมงการทำงานต้องไม่เกิน
๕๐ พีพีเอ็ม
(๓) จัดให้มีการควรควบคุมป้องกันกิจกรรมต่าง ๆ
ของสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกมิให้เป็นเหตุรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน
และผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงหรืออยู่ในเส้นทางที่สถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีกใช้สัญจร
(๔) จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามความเสี่ยง
ให้กับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์ปีก เช่น แว่นตา หน้ากาก
ผ้าปิดจมูก หมวกคลุมผม รองเท้า เป็นต้น
ข้อ ๑๙ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๕ ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในการออกใบอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกำหนดเงื่อนไขเฉพาะให้ผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติ
เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้โดยทั่วไปในข้อบัญญัตินี้ก็ได้
ใบอนุญาตให้ใช้ได้สำหรับกิจการประเภทเดียว และสำหรับสถานที่แห่งเดียว
ข้อ ๒๐ ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการตามที่ต้องมีการควบคุมตามข้อ
๕
ในลักษณะที่เป็นการค้าจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐานดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๓) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) อื่น ๆ ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์กำหนด
ข้อ ๒๑ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต
หรือคำขอต่อใบอนุญาต ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์
วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัตินี้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกันและในกรณีจำเป็นที่จะต้องคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต
หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาต พร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้ง
ให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๒ ผู้ได้รับการอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผล อันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๓ ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์เท่านั้น
การขอต่อใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมชำระค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่อใบอนุญาต
การขอต่อใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒๐
ข้อ ๒๔ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ในข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
ว่าด้วยกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในวันที่มารับใบอนุญาต
สำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรกหรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้นถ้าไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง
ค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบตามจำนวน
ข้อ ๒๕ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
ข้อ ๒๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาต
นำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติ
หรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๙ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
เมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป
และมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓) ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๓๐ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าวให้ส่งคำสั่งทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้ว ตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๓๑ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นหนึ่งปี
นับแต่วันที่สั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๓๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๓๓ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
กฤษฎากรณ์
สุริยวงษ์
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกบินทร์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประเภทกิจการ
๒. ใบอนุญาตประกอบกิจการ...................
๓. คำขอรับใบแทนใบอนุญาต
๔. ใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการ...................
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๙๓/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
792195 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินโดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินและนายอำเภอลาดหลุมแก้ว
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วก่อนข้อบัญญัตินี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครก หรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์
ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่นและหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ข้อ ๕ การเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
ให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินอาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
อาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทน
ภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๙
มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ให้ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าว
แจ้งการดำเนินกิจการเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนหรือเขตพื้นที่การอนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจ
หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
และระเบียบปฏิบัติได้ตามความจำเป็น
ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ ทั้งนี้
การจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินจะต้องดำเนินการให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ
ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในกรณีที่ยังไม่มีกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
ดังต่อไปนี้
(๑) ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย ในที่หรือทางสาธารณะ
เป็นต้นว่า ถนน ตรอก ซอย แม่น้ำ คู สระน้ำ บ่อน้ำ เว้นแต่ในที่ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินจัดไว้ให้โดยเฉพาะ
(๒) ห้ามผู้ใดนำสิ่งปฏิกูลไปในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่จะได้ใส่ภาชนะหรือที่เก็บมิดชิดไม่ให้มีสิ่งปฏิกูลหรือกลิ่นเหม็นรั่วออกมาข้างนอก
(๓) ห้ามผู้ใดถ่าย เท ทิ้ง หรือทำให้มีซึ่งสิ่งปฏิกูลลงในที่รองรับมูลฝอย
(๔) ห้ามผู้ใดทำการถ่าย เท ขน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งปฏิกูลในถังรับ
รถขน เรือขน สถานที่เทเก็บหรือพักสิ่งปฏิกูลขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
(๕) ห้ามผู้ใดทำการขน ถ่าย เท คุ้ย เขี่ย ขุด
หรือเคลื่อนย้ายมูลฝอยในที่รองรับ รถขน เรือขน หรือสถานที่พักมูลฝอยใด
ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
เว้นแต่เป็นการกระทำของพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
(๖) ห้ามเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ
ทำการกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย อันอาจทำให้เกิดมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น กลิ่น ควัน
หรือแก๊ส เป็นต้น เว้นแต่จะได้กระทำโดยวิธีการที่ถูกสุขลักษณะ
หรือกระทำตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๗) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ
ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
(๘) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ
ต้องรักษาบริเวณอาคาร หรือสถานที่นั้นไม่ให้มีการถ่าย เท
หรือทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในประการที่ขัดต่อสุขลักษณะ
(๙) ที่รองรับสิ่งปฏิกูลต้องเป็นภาชนะปิดมิดชิด
ไม่รั่ว ไม่ซึม และไม่มีกลิ่นเหม็น รั่วออกมาข้างนอก
และที่รองรับมูลฝอยต้องไม่รั่ว มีฝาปิดมิดชิดกันแมลงและสัตว์ได้
ตามแบบซึ่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นชอบ
ข้อ ๙ ห้ามผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๐ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยรับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามแบบ
ที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัติให้พร้อมกับเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓) สำเนาการจดทะเบียนนิติบุคคล/ทะเบียนพาณิชย์ (ถ้ามี)
(๔) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
(๕) สำเนาเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๑๑ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามข้อ ๙
ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินกำหนดดังนี้
(๑) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล
(๑.๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล (รถดูดส้วม)
ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
(๑.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
(๑.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้ขนถ่ายสิ่งปฏิกูลต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้
มีฝาปิด-เปิดอยู่ด้านบน
(๑.๑.๓) มีปั๊มดูดสิ่งปฏิกูล และติดตั้งมาตรวัดปริมาณของสิ่งปฏิกูล
และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
(๑.๑.๔) ท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่ว
ไม่ซึม
(๑.๑.๕) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด น้ำยาดับกลิ่น
น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%)
(๑.๑.๖)
ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวรถพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูล
เช่น รถดูดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น
และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต
ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ ด้วยอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินประกาศกำหนด
(๑.๒) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง
ผ้าปิดปากปิดจมูก สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๑.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลของตนเองต้องแสดงหลักฐาน
(ใบนำส่งสิ่งปฏิกูล) ว่าจะนำสิ่งปฏิกูลไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด
(๒) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๑) สถานที่ดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล ต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
ศาสนสถาน สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ แหล่งน้ำสาธารณะ
โดยให้คำนึงถึงการป้องกันมิให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
หรือเหตุรำคาญแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
(๒.๒) ต้องมีระบบกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ถูกหลักสุขาภิบาล เช่น
(๒.๒.๑) ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลโดยการหมักย่อยสลาย (Composting and Digestion) ประกอบด้วยส่วนต่าง
ๆ ดังต่อไปนี้
(ก) ถังหมักย่อยสลาย ประกอบด้วย
ถังคอนกรีตที่ก่อสร้างขึ้นมีฝาปิดมิดชิด
ถังหมักแต่ละถังต้องมีท่อระบายอากาศ
ภายในถังหมักจะบรรจุสิ่งปฏิกูลที่ได้จากรถสูบสิ่งปฏิกูลที่ไปสูบมาจากส้วมตามบ้านเรือนและอาคารต่าง
ๆ แล้วนำมาถ่ายลงในถังหมักนี้ภายในถังหมักจะเกิดการย่อยสลาย
สิ่งปฏิกูลโดยแบคทีเรียชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจน (Anaerobic Digestion) ทำการหมักอย่างน้อย
๒๘ วัน เพื่อทำลายเชื้อโรคพยาธิและไข่พยาธิที่ปะปนมากับสิ่งปฏิกูล
(ข) ลานทรายกรอง ภายหลังจากสิ่งปฏิกูลและน้ำที่ทำการหมักในถังหมักจนครบเวลาตาม (๒.๒.๑) แล้ว
จึงปล่อยลงสู่ลานทรายกรองซึ่งจะทำหน้าที่กรองสิ่งปฏิกูลให้เหลือตกค้างอยู่ด้านบนส่วนน้ำก็จะซึมผ่านลานทรายกรองสู่ท่อน้ำทิ้งด้านล่าง
เพื่อรวบรวมนำไปสู่บ่อพักน้ำเก็บไว้รดต้นไม้หรือบำบัดก่อนปล่อยเป็นน้ำทิ้งต่อไป
สำหรับตะกอนที่กรองอยู่ด้านบนลานทรายกรองนั้นให้ตากแดดจนแห้งสนิทเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรคโดยแสงอาทิตย์อีกขั้นหนึ่ง
จากนั้นจึงนำไปย่อยหรือบดให้มีขนาดเล็กลงเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
โดยการจัดวางระบบต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขและหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๒.๓) ต้องจัดให้มีเสื้อคลุม ผ้าปิดปาก ปิดจมูก ถุงมือยาง
รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง
มีอุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด พลั่ว น้ำยาดับกลิ่น
น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๒.๔) ต้องมีผู้ควบคุมหรือดูแลหรือผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสุขาภิบาล
สิ่งแวดล้อม หรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
(๓) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน มูลฝอย
(๓.๑) ต้องมีพาหนะเก็บ ขน มูลฝอย ซึ่งมีคุณลักษณะดังนี้
(๓.๑.๑) ได้รับอนุญาตจากกรมขนส่งทางบก
(๓.๑.๒) ส่วนของรถที่ใช้เก็บ ขนมูลฝอย
ต้องปกปิดมิดชิดสามารถป้องกันกลิ่นและสัตว์แมลงพาหะนำโรคได้
และไม่ทำให้มูลฝอยหกล้น หรือปลิวฟุ้งกระจายขณะขนย้าย
(๓.๑.๓) ส่วนของรถที่ใช้เก็บ ขนมูลฝอย ต้องอยู่ในสภาพที่ดี ไม่รั่ว
ไม่ซึม
(๓.๑.๔) มีอุปกรณ์ทำความสะอาดประจำรถ เช่น ไม้กวาด น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
(เช่น ไลโซน ๕%)
(๓.๑.๕) ต้องมีข้อความแสดงที่ตัวรถพาหนะเก็บ ขนมูลฝอย
เพื่อให้รู้ว่าเป็นรถที่ใช้เก็บ ขนมูลฝอย เช่น รถเก็บ ขนมูลฝอย เป็นต้น
และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต
ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการด้วยอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจน
ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินประกาศกำหนด
(๓.๒) ต้องจัดให้มีผ้าปิดปากปิดจมูก เสื้อสะท้อนแสง ถุงมือยาง
รองเท้า หนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด พลั่ว
น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
(๓.๓) กรณีที่ไม่มีระบบกำจัดมูลฝอยของตนเองต้องแสดงหลักฐาน
(ใบนำส่งมูลฝอย) ว่าจะนำมูลฝอยไปกำจัด ณ แหล่งกำจัดที่ถูกสุขลักษณะแห่งใด
(๔) ผู้ขอรับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย
(๔.๑) สถานที่ดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอยต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน
ศาสนสถาน สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานที่ราชการ แหล่งน้ำสาธารณะ
โดยให้คำนึงถึงการป้องกัน
มิให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหรือเหตุรำคาญแก่ประชาชนในบริเวณใกล้เคียง
(๔.๒)
ต้องมีระบบกำจัดมูลฝอยที่ถูกหลักสุขาภิบาล เช่น อาจจะเป็นระบบเตาเผา (Incinerater) หรือระบบฝังกลบ (Sanitaly Land - fill) หรือระบบหมักเป็นปุ๋ย (Decompose) ซึ่งแต่ละระบบจะต้องมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและประชาชนข้างเคียง
รวมทั้งการป้องกันเหตุรำคาญด้วยโดยการจัดวางระบบต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุขและหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๔.๓)
ต้องมีผู้ควบคุมหรือดูแลหรือผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
หรือด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
(๔.๔) ต้องจัดให้มีผ้าปิดปากปิดจมูก เสื้อคลุม ถุงมือยาง
รองเท้าหนังยาง หุ้มสูงถึงแข้ง
อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น ถังตักน้ำ ไม้กวาด พลั่ว น้ำยาดับกลิ่น น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
(เช่น ไลโซน ๕%) สำหรับผู้ปฏิบัติงาน
ข้อ ๑๒ เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาต
หรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าว ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์
วิธีการหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวัน
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา
ตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตพร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราท้ายข้อบัญญัตินี้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับใบอนุญาตและชำระค่าธรรมเนียมภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควรให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๑๔ ในการดำเนินกิจการผู้ได้รับใบอนุญาต
ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนสิ่งปฏิกูล
(๑.๑) ขณะทำการดูดสิ่งปฏิกูล ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานสวมเสื้อคลุม
สวมผ้าปิดปากปิดจมูก ถุงมือยาง และรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง
และทำความสะอาดเสื้อคลุม ถุงมือยาง รองเท้าหนังยาง และร่างกายผู้ปฏิบัติงาน
หลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
(๑.๒) ทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูล โดยหลังจากดูดสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว
ให้ทำการดูดน้ำสะอาดจากถังเพื่อล้างภายในท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลและทำความสะอาดท่อหรือสายที่ใช้ดูดสิ่งปฏิกูลด้านนอกที่สัมผัสสิ่งปฏิกูลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
(เช่น ไลโซน ๕%)
(๑.๓) ทำความสะอาดรถขนถ่ายสิ่งปฏิกูลอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง หลังจากที่ออกปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูลเสร็จแล้ว
สำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัด หรือกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล
คือน้ำล้างจะต้องผ่านการบำบัดน้ำเสียหรือปล่อยลงสู่ลานทรายซึม ชนิดร่องซึม
โดยต้องห่างจากแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร
(๑.๔) กรณีที่มีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราด
ให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค (เช่น ไลโซน ๕%)
แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด
(๑.๕)
มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานขนถ่ายสิ่งปฏิกูล อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
โดยเฉพาะการตรวจโรคระบบทางเดินอาหาร
(๑.๖) ห้ามนำรถไปใช้ในกิจการอื่น
(๑.๗) ต้องดูแลมิให้ข้อความบนตัวถังรถลบเลือน
(๑.๘) ต้องมีใบอนุญาตติดประจำรถ
(๑.๙)
รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต
(๑.๑๐) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้
(๑.๑๑) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย
และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งข้อบัญญัติ
ระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
(๒) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๑) ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรม และมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลและอยู่ประจำที่ระบบบำบัดสิ่งปฏิกูล
(๒.๒) เจ้าหน้าที่ต้องสวมเสื้อคลุม สวมถุงมือยาง
รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้งและสวมผ้าปิดปาก จมูก ขณะปฏิบัติงาน
(๒.๓) เจ้าหน้าที่จะต้องดูแลให้รถสูบสิ่งปฏิกูลต้องทิ้งสิ่งปฏิกูลลงถังหมักตรงตามถังที่กำหนดในแต่ละวัน
เพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งปฏิกูลหมักนานอย่างน้อย ๒๘ วัน (กรณีมีความจำเป็น
ต้องใส่สิ่งปฏิกูลหลาย ๆ ครั้ง หรือหลาย ๆ วันในหนึ่งถัง
เนื่องจากสิ่งปฏิกูลยังไม่เต็มถังให้เริ่มต้นนับจากวันที่ใส่สิ่งปฏิกูลครั้งสุดท้าย)
(๒.๔) ถ้ามีสิ่งปฏิกูลหกเรี่ยราดให้ทำการฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
(เช่น ไลโซน ๕%) แล้วทำการล้างด้วยน้ำสะอาด
(๒.๕) ต้องปิดฝาถังหมักสิ่งปฏิกูลทุกครั้ง
หลังจากที่ใส่สิ่งปฏิกูลลงในถังหมักแล้ว
(๒.๖) เจ้าหน้าที่ดูแลระบบจะต้องลงบันทึกเลขที่รถสูบสิ่งปฏิกูล
และปริมาตรสิ่งปฏิกูลที่นำมาทิ้งทุกครั้ง
เป็นการป้องกันไม่ให้รถนำสิ่งปฏิกูลไปทิ้งที่อื่น
(๒.๗) ทุกครั้งที่ปล่อยสิ่งปฏิกูลจากถังหมัก
เมื่อสิ่งปฏิกูลไหลออกจะหมด ให้ใช้ไม้แหย่ท่อระบาย
เพื่อช่วยให้ตะกอนที่ค้างอยู่ก้นถังหมักไหลออกมาให้หมด และควรใช้น้ำฉีด
ไล่ตะกอนที่ค้างอยู่ก้นถังหมักอย่างน้อย ๓ เดือนต่อครั้ง
(๒.๘) การดูแลลานทรายกรอง ให้ทำความสะอาดหน้าลานทรายกรอง
เมื่ออัตราการซึมเริ่มช้าลงโดยใช้อุปกรณ์ลอกหน้าลานทรายกรองออกแล้วเติมทรายใหม่
และต้องคอยเติมทรายให้ได้ความสูงตามที่กำหนดไว้
(๒.๙) การโกยตะกอนที่ตากแห้งแล้วไปทำปุ๋ย ให้ทิ้งไว้นาน ๓ วัน
หลังจากที่ตะกอนแห้งแล้ว จึงโกยตะกอนที่ตากแห้งสนิทนำไปบดก่อนนำไปใช้ทำเป็นปุ๋ย
(๒.๑๐) หากมีอุปกรณ์ส่วนไหนชำรุดต้องแจ้งซ่อมทันที
(๒.๑๑) เจ้าหน้าที่ต้องได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ ๑
ครั้งโดยเฉพาะการตรวจโรคระบบทางเดินอาหาร
(๒.๑๒) รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต
(๒.๑๓) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้
(๒.๑๔) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ความสะอาดปลอดภัยและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งข้อบัญญัติ ระเบียบและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
(๓) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขนมูลฝอย
(๓.๑) ขณะทำการเก็บขน มูลฝอย
ต้องควบคุมให้ผู้ปฏิบัติงานผูกผ้าปิดปากปิดจมูก สวมถุงมือยาง สวมเสื้อสะท้อนแสง
สวมรองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้ง สวมเสื้อและกางเกง ให้มิดชิด
และทำความสะอาดผ้าปิดปาก ปิดจมูก เสื้อ กางเกง ถุงมือยาง
รองเท้าหนังยางและร่างกายผู้ปฏิบัติงานหลังจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานประจำวัน
(๓.๒) การเก็บขนมูลฝอยต้องจัดเก็บให้เรียบร้อยมิให้มีมูลฝอยตกค้าง
(๓.๓) ขณะขนย้ายต้องไม่ทำให้มูลฝอยตกหล่น หรือฟุ้งกระจายตามท้องถนน
(๓.๔) ทำความสะอาดรถเก็บ ขน มูลฝอย อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑
ครั้งสำหรับน้ำเสียที่เกิดจากการล้างต้องได้รับการบำบัดหรือกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล
คือน้ำล้างจะต้องผ่านการบำบัดน้ำเสีย
หรือปล่อยลงสู่ลานทรายซึมชนิดร่องซึมโดยต้องห่างจากแหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ ไม่น้อยกว่า
๓๐ เมตร
(๓.๕) มีการตรวจสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
โดยเฉพาะการตรวจโรคระบบทางเดินอาหาร
(๓.๖) ห้ามนำรถไปใช้ในกิจการอื่น
(๓.๗) ต้องดูแลมิให้ข้อความบนตัวถังรถลบเลือน
(๓.๘) ต้องมีใบอนุญาต ติดประจำรถ
(๓.๙) รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้
ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต
(๓.๑๐) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้
(๓.๑๑) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย
และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งข้อบัญญัติ ระเบียบและประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
(๔) ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการกำจัดมูลฝอย
(๔.๑)
การกำจัดมูลฝอยต้องถูกหลักสุขาภิบาลและมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ที่ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของคนงานและประชาชนข้างเคียง
รวมทั้งการป้องกันเหตุรำคาญ เช่น
(๔.๑.๑) ระบบเตาเผา (Incinerater) ต้องควบคุมไม่ก่อให้เกิดเขม่า
เถ้าฝุ่นละอองที่ไปกระทบความเป็นอยู่ของประชาชนข้างเคียง
(๔.๑.๒) ระบบฝังกลบ (Sanitaly Land - fill) ต้องมีระบบรองรับน้ำขยะ (Leachate) ไปกำจัดโดยต้องควบคุมไม่ปล่อยให้ไปปนเปื้อนแหล่งน้ำธรรมชาติ
(๔.๑.๓) ระบบหมักเป็นปุ๋ย (Decompose) ต้องควบคุมไม่ให้เกิด
กลิ่นเหม็นที่รุนแรง หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์พาหะนำโรค โดยเฉพาะแมลงวัน
หนู แมลงสาบ หรืออื่น ๆ
(๔.๒) ต้องมีเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรม
หรือมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาระบบกำจัดมูลฝอยและอยู่ประจำเพื่อปฏิบัติหน้าที่
ณ สถานที่ระบบกำจัดมูลฝอย
(๔.๓) เจ้าหน้าที่ต้องสวมเสื้อคลุม สวมถุงมือยาง
รองเท้าหนังยางหุ้มสูงถึงแข้งและสวมผ้าปิดปากปิดจมูก ขณะปฏิบัติงาน
(๔.๔) มีการตรวจสุขภาพของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อย่างน้อยปีละ ๑
ครั้ง โดยเฉพาะการตรวจโรคระบบทางเดินอาหาร
(๔.๕)
รักษาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการตามใบอนุญาต
(๔.๖) ปฏิบัติตามรายละเอียดที่ได้ยื่นไว้
(๔.๗) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ ความสะอาด ปลอดภัย
และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามคำแนะนำหรือคำสั่งเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งข้อบัญญัติ ระเบียบ และประกาศขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
ข้อ ๑๕ บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ข้อ ๑๖ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่อใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม
และค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๗ บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
ข้อ ๑๘ ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๙ ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๐ ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญเสีย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกแบบใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่
มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๒ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนหรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๓ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๔ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๕ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด
ๆ ที่อยู่นอกเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
หรือเขตพื้นที่การให้บริการของผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการต้องดำเนินการเก็บ
ขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น
โดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๒๖ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ ๒๗ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงินเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
วรวิทย์
พึ่งความสุข
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อเงิน
เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๙
๒. คำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๑)
๓. ใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๒)
๔. คำขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๓)
๕. คำขอรับใบแทนใบอนุญาตประกอบกิจการการจัดการสิ่งปฏิกูล (แบบ สม. ๔)
๖. คำขออนุญาตการต่าง ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการรับทำการเก็บ
ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย (แบบ สม. ๕)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
ปริญสินีย์/ตรวจ
๑๙ กุมภาพันธ์
๒๕๖๑
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๖๒/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
791670 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก
เรื่อง
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก
ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๗ (๓) แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอกโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอกและนายอำเภอกงไกรลาศ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก
เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอกตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้ติดประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอกแล้วเจ็ดวัน
ข้อ
๓ บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ
และคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร
เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก
ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด
ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ
มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ
คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน
และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หมายความว่า
สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่า ๗ วันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๕ ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอกจัดไว้ให้
ข้อ
๖ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ
ต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อาทิ กระป๋อง
กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน
รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้
โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิด
หรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ
ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก
ให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด
เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอกว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย
ข้อ
๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ข้อ
๘ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ ต้องดูแลทำความสะอาด และเปลี่ยนน้ำในแจกัน
ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขัง อย่างน้อยทุกเจ็ดวัน
หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้ และกรณีตุ่มน้ำต้องจัดให้มีฝาปิด ตาข่าย
หรือวัสดุที่สามารถป้องกันยุงลงไปวางไข่ในตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน
รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ ที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอกประกาศกำหนด
ข้อ
๙ ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอกได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคาร
หรือเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน
หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกตามสมควรตามความเห็นของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ
๑๐ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖
ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ
๑๒ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอกเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
จินตศักดิ์ แสงเมือง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไกรนอก
ภวรรณตรี/จัดทำ
๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปวันวิทย์/ตรวจ
๒๖ ธันวาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๘๗ ง/หน้า ๒๔๐/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
791668 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2560 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๖๗ (๓) และมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยและนายอำเภอสามพราน
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๖๐
ข้อ
๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยนับแต่วันที่ได้ประกาศโดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
ข้อ
๓ นับแต่วันที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ให้ยกเลิกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๔๘
บรรดาข้อบัญญัติ
ระเบียบ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ
๔ ในข้อบัญญัตินี้
ใบรับรอง หมายความว่า
ใบรับรองรูปพรรณสัณฐานและหรือการกระทำเครื่องหมายระบุตัวสัตว์ ภาพถ่าย
อุปกรณ์ติดตามตัวสัตว์ ซึ่งออกโดยสถานพยาบาลสัตว์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์
การจดทะเบียนสัตว์ หมายความว่า
การนำสัตว์หรือใบรับรอง แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อบันทึกรายละเอียด
ประวัติการฉีดวัคซีน การทำหมันและอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์พร้อมจัดทำบัตรประจำตัวสัตว์
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแลเอาใจใส่บำรุงรักษาตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า การสละการครอบครองสัตว์
หรือปล่อยสัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยง โดยปราศจากการควบคุม
เขตควบคุมการเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า เขตที่เจ้าของบ้านหรือเจ้าของสัตว์ที่เจ้าบ้านยินยอมให้สัตว์พักอาศัยต้องนำสัตว์ไปขึ้นทะเบียนและปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า คอกสัตว์ กรงสัตว์
ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
สุนัขควบคุมพิเศษ หมายความว่า
สุนัขสายพันธ์ที่ดุร้าย เช่น รอทไวเลอร์ พิทบลูเทอเรีย บลูเทอเรีย บางแก้ว
ฟล่าบราซิลเรียโร หรือตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
และให้หมายความรวมถึงสุนัขที่มีประวัติทำร้ายคน หรือพยายามทำร้ายคน
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕
ข้อ
๕ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยรักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกข้อบังคับ
ระเบียบ คำสั่ง ประกาศ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น
หรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
ดังต่อไปนี้
(๑)
สุนัข
(๒)
แมว
(๓)
โค
(๔)
กระบือ
(๕)
นก
(๖)
สัตว์มีพิษและสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ
(๗)
สัตว์น้ำควบคุมตามกฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
พ.ศ. ๒๕๕๙
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดประเภทและชนิดสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม ทั้งนี้
โดยอาจควบคุมการเลี้ยงเฉพาะในเขตท้องที่หนึ่งหรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
ข้อ
๗ ห้ามมิให้ผู้ใดเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมตามข้อ
๖ ในที่หรือทางสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยโดยเด็ดขาด
หมวด ๒
การจดทะเบียนสัตว์
ข้อ
๘ เจ้าของสัตว์มีหน้าที่ต้องนำสัตว์หรือใบรับรอง
แล้วแต่กรณี ไปยื่นขอจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย ภายใน ๙๐ วันนับแต่วันที่สัตว์เกิด หรือภายใน ๓๐
วันนับแต่วันที่นำสัตว์มาเลี้ยงในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
ข้อ
๙ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำขอจดทะเบียนแล้ว
ปรากฏว่าหลักฐานถูกต้องให้ออกบัตรประจำตัวตามแบบที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ข้อ
๑๐ กรณีดังต่อไปนี้
ให้เจ้าของสัตว์มีหน้าที่ดำเนินการภายใน ๓๐ วัน
(๑)
เมื่อมีการย้ายที่อยู่ของสัตว์
ไม่ว่าจะเป็นการย้ายเข้าในเขตหรือย้ายออกนอกเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
ให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย หรือสถานที่อื่นใดตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๒)
เมื่อบัตรประจำตัวสัตว์สูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
หรือสถานที่อื่นใดตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด เพื่อทำบัตรใหม่
(๓)
ในกรณีสุนัขซึ่งไม่ใช่สุนัขควบคุมพิเศษทำร้ายคนหรือพยายามทำร้ายคนให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยหรือสถานที่อื่นใดตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
เพื่อเปลี่ยนสาระสำคัญของบัตรประจำตัวสัตว์
ในกรณีที่สุนัขทำร้ายคนให้แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่
ณ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
หรือสถานที่อื่นใดตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้โดยไม่ชักช้า
ข้อ
๑๑ ในกรณีที่สัตว์ขึ้นทะเบียนไว้แล้วตาย
เจ้าของสัตว์มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน ๓๐
วันนับแต่วันที่สัตว์ตาย
ข้อ
๑๒ ในกรณีที่สัตว์ขึ้นทะเบียนไว้แล้วสูญหาย
ให้เจ้าของสัตว์มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน ๓
วันนับแต่วันที่สัตว์สูญหาย
หากเจ้าของสัตว์พบสัตว์ที่หายแล้วต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน ๓
วันนับแต่วันพบสัตว์
ข้อ
๑๓ การแจ้งตามข้อ ๑๐ ข้อ ๑๑ และข้อ
๑๒ เจ้าของสัตว์อาจแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
หมวด ๓
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
ข้อ
๑๔ การเลี้ยงสัตว์ให้เจ้าของสัตว์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติ
ดังต่อไปนี้
(๑)
จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภทและชนิดของสัตว์โดยมีขนาดเพียงพอ
มีระบบการระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ
(๒)
รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ
จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำ
ไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง
(๓)
ต้องจัดให้มีการฉีดวัคซีนสัตว์จากสัตวแพทย์
หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์
หรือผู้ประกอบการโรคสัตว์ตามกำหนดเวลา
กรณีสุนัขต้องนำสัตว์ที่มีอายุระหว่าง
๒ - ๔ เดือน ไปฉีดวัคซีนครั้งแรกและได้รับการฉีดวัคซีนครั้งต่อไปตามระยะเวลาที่กำหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีน
กรณีสัตว์ควบคุมอื่นต้องให้ได้รับการฉีดวัคซีนตามระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๔)
เมื่อสัตว์ตายลง
เจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค
ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น
ควันและไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ
(๕)
จัดให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์
เพื่อป้องกันอันตรายจากโรคติดต่อสัตว์มาสู่คน
(๖)
ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน
ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์โดยปราศจากการควบคุม
กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน
(๗)
ไม่นำสัตว์เลี้ยงออกมานอกสถานที่เลี้ยงสัตว์ของตน
เว้นแต่เฉพาะเพื่อการเคลื่อนย้ายสัตว์ และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๘)
ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือรำคาญแก่ผู้อื่น
ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
(๙)
ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข
คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นรวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ
และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
ข้อ
๑๕ การเลี้ยงสัตว์
ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก
เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ ๖ อย่างเคร่งครัด
เพื่อการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคหรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์ดังนี้
(๑)
สถานที่เลี้ยงสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะของอาคาร
และเป็นไปตามมาตรฐานฟาร์มหรือตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข
(๒)
ให้ดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ มิให้มีจำนวนเกินสมควรจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๓)
ต้องจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติหรือแหล่งน้ำ ทางน้ำลำคลอง
แม่น้ำ เป็นต้น มิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
(๔)
ต้องจัดหาที่รองรับขยะ ปฏิกูลและมูลฝอย ตลอดจนกำจัดขยะ ปฏิกูลมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
(๕)
ต้องทำความสะอาดสถานที่เลี้ยงสัตว์ สถานที่เพาะเลี้ยง
และบริเวณโดยรอบไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค แมลง ยุง หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ
ตลอดจนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ
(๖)
จัดให้มีระบบการป้องกันเหตุรำคาญจากกลิ่น เสียง แสง รังสี ความร้อน
สิ่งมีพิษความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า
หรือกรณีอื่นใดจนเป็นเหตุให้เสื่อมหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๗)
ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข
หมวด ๔
อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
เจ้าพนักงานท้องถิ่น
และเจ้าพนักงานสาธารณสุข
ข้อ
๑๖ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ
หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา
(๒)
เข้าไปในสถานที่ใด ๆ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ หรือควบคุมเพื่อเป็นไปตามข้อบัญญัติ
และให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือ หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น
(๓)
แนะนำ
ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสัตว์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขหรือข้อบัญญัตินี้
ข้อ
๑๗ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา
๔๔ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
และปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
ในเรื่องใดหรือทุกเรื่องก็ได้
ข้อ
๑๘ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ
๗ โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อย
๓๐ วัน เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืน
ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้น หรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขาย
หรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขาย
หรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่ง
และเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลบางเตยตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
หมวด ๕
บทกำหนดโทษ
ข้อ
๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ
๒๐ บรรดาค่าธรรมเนียม ค่าปรับ
รายได้อื่น ๆ ตามข้อบัญญัตินี้ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
วิทยา ชิวค้า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางเตย
ภวรรณตรี/จัดทำ
๒๙ พฤศจิกายน
๒๕๖๐
ปวันวิทย์/ตรวจ
๒๖ ธันวาคม
๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๘๗ ง/หน้า ๒๒๔/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
792178 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2559 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
ว่าด้วยสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล
(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๔๐ มาตรา ๔๔ มาตรา ๔๕ มาตรา ๔๘ มาตรา ๕๐
มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลทำนบโดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบและนายอำเภอสิงหนคร
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
เรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
อาหาร หมายความว่า
ของกินหรือเครื่องค้ำจุนชีวิต ได้แก่
(๑) วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม แต่ไม่รวมถึงยา
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
แล้วแต่กรณี
(๒) วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้หรือใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร
รวมถึงวัตถุเจือปนอาหารสี และเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส
สถานที่จำหน่ายอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่ หรือทางสาธารณะ
ที่จัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จและจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค
ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
สถานที่สะสมอาหาร หมายความว่า
อาคาร สถานที่ หรือบริเวณใด ๆ ที่มิใช่ที่หรือทางสาธารณะ
ที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหารอันมีสภาพเป็นของสดหรือของแห้ง หรืออาหารในรูปลักษณะอื่นใด
ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
ห้องอาหารในโรงแรม หมายความว่า
ร้านอาหารที่ตั้งอยู่ภายในโรงแรม
ภัตตาคาร หมายความว่า
ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ ๒ คูหาขึ้นไป
ที่รับประทานอยู่ภายในอาคารพนักงานแต่งกายมีแบบฟอร์ม
สวนอาหาร หมายความว่า
ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่
ที่รับประทานอาหารส่วนใหญ่อยู่นอกอาคารบรรยากาศเป็นแบบธรรมชาติ
พนักงานแต่งกายมีเครื่องแบบ
ร้านเครื่องดื่ม ร้านขนมหวาน หรือร้านไอศกรีม หมายความว่า ร้านที่จำหน่ายเฉพาะเครื่องดื่ม หรือขนมหวาน หรือไอศกรีม
เท่านั้น
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า ข้าราชการ
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้น
องค์การบริหารส่วนตำบล หมายความว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
ข้อ ๕
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ
ประกาศ หรือคำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๖ ผู้ใดจะจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใด
ซึ่งมีพื้นที่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้าสถานที่ดังกล่าวมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอหนังสือรับรองการแจ้งก่อนการจัดตั้ง
หมวด ๒
ประเภท
และสุขลักษณะของสถานประกอบกิจการ
ส่วนที่ ๑
ประเภทของสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๗
ประเภทสถานประกอบกิจการ
(๑) สถานที่จำหน่ายอาหาร แบ่งเป็น ๕ ประเภท ได้แก่
(๑.๑) ห้องอาหารในโรงแรม
(๑.๒) ภัตตาคาร
(๑.๓) สวนอาหาร
(๑.๔) ร้านอาหารทั่วไปทั้งที่มีที่นั่งและไม่มีที่นั่ง
(๑.๕) ร้านเครื่องดื่ม ร้านขนมหวาน ร้านไอศกรีม
(๒) สถานที่สะสมอาหาร แบ่งเป็น ๓ ประเภท ได้แก่
(๒.๑) ร้านขายของชำ
(๒.๒) ร้านมินิมาร์ท
(๒.๓) ซุปเปอร์มาเก็ต
ส่วนที่ ๒
สุขลักษณะของสถานประกอบกิจการ
ข้อ ๘
ผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องดูแลรักษาสถานที่และสุขลักษณะของใช้
บริเวณที่ใช้จำหน่ายอาหารหรือที่ใช้สะสมอาหาร จัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
ดังต่อไปนี้
(๑) สถานที่จำหน่ายอาหาร
(๑.๑) ที่ตั้งต้องห่างจากสถานที่ที่สกปรก หรือน่ารังเกียจ
หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๑.๒) พื้น ผนัง บริเวณที่เตรียม ปรุง ทำด้วยวัตถุแข็งแรง ไม่ชำรุด
ทำความสะอาดง่าย
(๑.๓) ที่เตรียม ปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้น อย่างน้อย ๖๐
เซนติเมตร
(๑.๔) สถานที่ปรุง หรือรับประทานอาหาร ต้องสะอาด ถูกสุขลักษณะ
(๑.๕) จัดให้มีโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่งอย่างซึ่งมีสภาพแข็งแรง สะอาด
และเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ
(๑.๖) จัดให้มีบริเวณและพื้นที่สำหรับทำความสะอาดภาชนะ
ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างให้เพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะเพื่อใช้ในการนั้นโดยเฉพาะ
(๑.๗) จัดให้มีที่สำหรับล้างมือพร้อมอุปกรณ์จำนวนพอเพียง
(๑.๘) ภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหาร ต้องสะอาด ปลอดภัย
ถูกสุขลักษณะ
(๑.๙) จัดให้มีระบบระบายน้ำอย่างพอเพียง
กรณีที่มีน้ำเสียต้องจัดให้มีการดักเศษอาหาร ดักไขมัน ก่อนระบายน้ำทิ้ง
(๑.๑๐) จัดให้มีแสงสว่างและทางระบายอากาศเพียงพอ
บริเวณที่ปรุงอาหารต้องมีเครื่องดูดควัน พัดลม ปล่องระบายควันสูงเพียงพอ
ไม่ก่อให้เกิดเหตุรำคาญ
(๑.๑๑)
จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัยจัดให้มีการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ
รวมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดเหตุรำคาญเนื่องจากการจำหน่ายประกอบ ปรุง และเก็บอาหาร
(๑.๑๒)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ
(๑.๑๓) จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสีย
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๑.๑๔) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะของเจ้าพนักงานสาธารณสุข และคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น
รวมทั้งระเบียบข้อบังคับ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
(๒) สถานที่สะสมอาหาร
(๒.๑) ที่ตั้งต้องห่างจากสถานที่ที่สกปรก หรือน่ารังเกียจ หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
(๒.๒) อาคารต้องมีความมั่นคง แข็งแรง พื้น ผนัง เพดาน มีสภาพดี สะอาด
(๒.๓) มีชั้นวางสินค้า
ทำด้วยวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย มีสภาพแข็งแรง ชั้นล่างสุด
มีความสูงจากพื้นอย่างน้อย ๑๕ เซนติเมตร มีลักษณะโปร่ง
เพื่อให้สามารถทำความสะอาดใต้ชั้นวางสินค้าได้
ยกเว้นกรณีบริเวณที่วางสินค้าที่มีน้ำหนักมาก อาจใช้ชั้นที่มีลักษณะทึบ
(๒.๔) หากมีการเตรียมอาหาร สถานที่เตรียมอาหารต้องสะอาด
มีแสงสว่างเพียงพอ มีการระบายอากาศที่เหมาะสม
ที่เตรียมทำอาหารต้องสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร และมีการระบายน้ำได้ดี
(๒.๕) จัดให้มีระบบระบายน้ำอย่างพอเพียง
กรณีที่มีน้ำเสียต้องจัดให้มีการดักเศษอาหาร ดักไขมัน ก่อนระบายน้ำทิ้ง
(๒.๖) จัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอต่อการประกอบกิจการ
มีระบบการระบายอากาศที่เหมาะสมไม่อับชื้น
(๒.๗) จัดให้มีส้วมจำนวนเพียงพอและถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย
(๒.๘)
จัดให้มีที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเพียงพอ
ข้อ ๙
ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง
จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขลักษณะของอาหาร
กรรมวิธีการจำหน่าย ทำ ประกอบ ปรุง เก็บรักษาหรือสะสมอาหาร
ตลอดจนสุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ น้ำใช้ และของใช้อื่น ๆ
รวมทั้งสุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้จำหน่าย ผู้ปรุงอาหารและผู้ให้บริการ ดังต่อไปนี้
(๑) สถานที่จำหน่ายอาหาร
(๑.๑) จัดสถานที่รับประทานอาหาร สถานที่เตรียมปรุง ประกอบอาหารต้องสะอาดเป็นระเบียบ
และจัดเป็นสัดส่วน
(๑.๒) ไม่เตรียมปรุงอาหารบนพื้น และบริเวณหน้าหรือในห้องน้ำ ห้องส้วม
และต้องเตรียมปรุงอาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๑.๓) ใช้สารปรุงแต่งอาหารที่มีความปลอดภัย
มีเครื่องหมายรับรองของทางราชการ เช่น อย. มอก.
(๑.๔) อาหารสดต้องล้างให้สะอาดก่อนนำมาปรุง หรือเก็บ
การเก็บอาหารประเภทต่าง ๆ ต้องแยกเก็บเป็นสัดส่วน
อาหารประเภทเนื้อสัตว์ดิบเก็บในอุณหภูมิที่ไม่สูงกว่า ๗.๒ องศาเซลเซียส
(๑.๕) อาหารที่ปรุงสำเร็จแล้ว เก็บในภาชนะที่สะอาดมีการปกปิด
วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๑.๖) น้ำแข็งที่ใช้บริโภคต้องสะอาด ไม่ใช้น้ำแข็งซอง
เก็บในภาชนะที่สะอาด มีฝาปิด ในอุปกรณ์
ที่มีด้ามสำหรับคีบ หรือตักโดยเฉพาะ วางสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
ห้ามแช่ของอื่นใดรวมในน้ำแข็งที่ใช้บริโภค
(๑.๗) ล้างภาชนะด้วยน้ำยาล้างภาชนะแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด ๒ ครั้ง
หรือล้างด้วยน้ำไหล และที่ล้างภาชนะต้องวางสูงจากพื้นที่อย่างน้อย ๖๐ เซนติเมตร
(๑.๘) เขียงและมีดต้องมีสภาพดี แยกใช้ระหว่างเนื้อสัตว์สุก
เนื้อสัตว์ดิบ และผัก ผลไม้ และมีการปกปิดป้องกันแมลงและสัตว์นำโรค
(๑.๙) ช้อน ส้อม ตะเกียบ วางตั้งเอาด้ามขึ้นในภาชนะโปร่งสะอาด
หรือวางเป็นระเบียบในภาชนะโปร่งสะอาด และมีการปกปิด เก็บสูงจากพื้นอย่างน้อย ๖๐
เซนติเมตร
(๑.๑๐) มูลฝอย และน้ำเสียทุกชนิด
ได้รับการกำจัดด้วยวิธีที่ถูกหลักสุขาภิบาลและเพียงพอ
กรณีที่มีน้ำเสียต้องจัดให้มีการดักเศษอาหาร ดักไขมัน ก่อนระบายน้ำทิ้ง
(๑.๑๑) ห้องส้วมสำหรับผู้บริโภค และผู้สัมผัสอาหารต้องสะอาด
มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดี และมีสบู่เหลวและผ้าสะอาดสำหรับเช็ดมือโดยไม่ใช้ซ้ำ
หรือกระดาษเช็ดมือ ใช้ตลอดเวลา
(๑.๑๒) ผู้สัมผัสอาหารแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน
ผู้ปรุงต้องผูกผ้ากันเปื้อนที่สะอาด สวมหมวกหรือเน็ทคลุมผม
(๑.๑๓) ผู้สัมผัสอาหารต้องล้างมือให้สะอาดก่อนเตรียม ปรุง ประกอบ
จำหน่ายอาหารทุกครั้ง ใช้อุปกรณ์ในการหยิบจับอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วทุกชนิด
(๑.๑๔) ผู้สัมผัสอาหารที่มีบาดแผลที่มือ ต้องปิดแผลให้มิดชิด
หลีกเลี่ยง การปฏิบัติงานที่มีโอกาสสัมผัสอาหาร
(๑.๑๕)
ผู้สัมผัสอาหารที่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถติดต่อไปยังผู้บริโภค
โดยมีน้ำและอาหารเป็นสื่อ ให้หยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะรักษาให้หายขาด
(๒) สถานที่สะสมอาหาร
(๒.๑) จัดวางสินค้าให้เป็นสัดส่วนแยกตามประเภทสินค้า
โดยเฉพาะสินค้าที่เป็นสารเคมี เช่น น้ำยาทำความสะอาดครัวเรือน
สารเคมีกำจัดแมลงสำหรับใช้ในครัวเรือน
ต้องแยกเก็บเป็นสัดส่วนเฉพาะห้ามปะปนกับสินค้าประเภทอาหาร
เพื่อป้องกันการปนเปื้อนกับอาหาร
(๒.๒) ไม่วางผลิตภัณฑ์อาหารสัมผัสกับพื้น
สินค้าประเภทอาหารที่บรรจุในภาชนะไม่สนิท หรืออาหารที่มีการปรุงประกอบ ต้องอยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย
๖๐ เซนติเมตร อาหารและเครื่องดื่มที่พร้อมบริโภคต้องบรรจุในภาชนะที่สะอาดมีฝาปิด
(๒.๓) เก็บรักษาอาหารแห้งและอาหารในภาชนะปิดสนิท
ที่อุณหภูมิห้องส่วนสินค้าที่ต้องควบคุมอุณหภูมิ
ต้องเก็บในตู้เย็นโดยจัดวางสินค้าอย่างเป็นระเบียบ เป็นสัดส่วนไม่แน่นจนเกินไป
และมีอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่น สินค้าประเภทนม ผลิตภัณฑ์นม
และเครื่องดื่มที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยระบบพาสเจอร์ไรส์ต้องอยู่ในอุณหภูมิต่ำกว่า ๕
องศาเซลเซียส ไอศกรีมและอาหารประเภทแช่แข็งต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า ลบ ๑๘
องศาเซลเซียส
(๒.๔) อุปกรณ์ที่มีด้ามยาวสำหรับตักน้ำแข็ง
และภาชนะที่ใช้สำหรับขนถ่ายน้ำแข็ง ต้องสะอาด และจัดเก็บอุปกรณ์อย่าง ถูกสุขลักษณะ
(๒.๕)
สินค้าประเภทอาหารที่วางจำหน่ายต้องจัดให้มีระบบหมุนเวียนตามลำดับอายุผลิตภัณฑ์
(๒.๖) ไม่วางจำหน่ายสินค้าที่บรรจุในภาชนะที่ชำรุด เสียหายหมดอายุ
หรือที่มีลักษณะผิดปกติ
(๒.๗) แยกสินค้าที่หมดอายุหรือชำรุดหรือรอการส่งคืนในบริเวณเฉพาะ
และแยกส่วนจากสินค้าปกติโดยมีเป้าหรือเครื่องหมายบอกชัดเจน
(๒.๘) ดูแลรักษาบริเวณที่วางสินค้าให้สะอาดและมีสภาพดี
รวมทั้งบริเวณที่เตรียมอาหารต้องทำความสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังใช้งาน
(๒.๙) มีน้ำใช้ที่สะอาด สำหรับล้างอาหารและอุปกรณ์
(๒.๑๐)
ในกรณีที่ใช้เครื่องปรับอากาศต้องดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดีสะอาด
ไม่มีหยดน้ำหรือสิ่งสกปรกตกลงมาปนเปื้อนอาหาร
(๒.๑๑) วัสดุ ภาชนะอุปกรณ์ที่ใช้เตรียมและจำหน่ายอาหาร
ต้องเป็นวัสดุที่ปลอดภัยมีสภาพดี สะอาด ล้างทำความสะอาดได้ง่าย
และมีการล้างและเก็บอย่างถูกสุขลักษณะ
(๒.๑๒) โครงสร้างภายในตู้เย็นหรือตู้แช่ต้องทำด้วยวัสดุที่มีผิวเรียบ
มีสภาพดี สะอาด สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่กำหนดได้
และตู้แช่แข็งต้องไม่มีน้ำแข็งเกาะหนาเกิน ๑ นิ้ว ประตูและขอบยาง ตู้เย็น/ตู้แช่/ห้องเย็น
ต้องมีสภาพดี สะอาด
(๒.๑๓) มีที่รองรับมูลฝอยที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาล
(๒.๑๔) มีเครื่องดับเพลิงที่ใช้การได้ดี
ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถหยิบใช้ได้สะดวกรวดเร็วและพนักงานสามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง
(๒.๑๕) ในกรณีที่จัดให้มีห้องส้วมต้องจัดให้มีอ่างล้างมือที่ใช้การได้ดี
และมีสบู่สำหรับล้างมือด้วย ทั้งนี้
ประตูห้องส้วมต้องไม่เปิด โดยตรงสู่บริเวณที่เตรียมอาหาร
(๒.๑๖) ท่อหรือรางระบายน้ำทิ้ง
ระบายไปสู่ที่บำบัดก่อนปล่อยลงสู่ท่อน้ำทิ้ง สาธารณะหรือระบบบำบัดน้ำเสียรวม
ในกรณีที่มีการปรุง ประกอบอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันต้องมีบ่อดักไขมันที่ใช้การได้ดี
และมีการกำจัดไขมันเป็นประจำ
ข้อ ๑๐
ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง
ต้องป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญและการป้องกันโรคติดต่อ
โดยต้องดูแลสถานที่จำหน่ายอาหาร และสถานที่สะสมอาหารให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ ดังต่อไปนี้
(๑) รักษาสถานที่ให้สะอาดอยู่เสมอ
รวมทั้งจัดให้มีการป้องกันและกำจัดสัตว์นำโรค
(๒)
ต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดที่รองรับมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลไม่ให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงและสัตว์นำโรคได้
และต้องมีการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะ
(๓) รักษาส้วมให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะเสมอ
(๔) จัดสิ่งของเครื่องใช้และอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
และรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดเกี่ยวด้วยสุขลักษณะ
ตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขและคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น รวมทั้งระเบียบ
และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
ส่วนที่ ๓
สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ปรุงและผู้สัมผัสอาหาร
ข้อ ๑๑
ผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้ง ผู้ปรุง
และผู้สัมผัสอาหารต้องมีสุขลักษณะส่วนบุคคล ดังต่อไปนี้
(๑)
ต้องไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคที่สังคมรังเกียจ หรือไม่เป็นพาหะนำโรคติดต่อ อันได้แก่
อหิวาตกโรค ไข้รากสาดน้อย โรคบิด ไข้สุกใส ไข้หัด โรคคางทูม วัณโรคในระยะอันตราย
โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
โรคผิวหนังที่น่ารังเกียจต่อสังคม โรคไวรัสตับอักเสบชนิดเอ
โรคไข้หวัดใหญ่ที่ติดต่อมาจากสัตว์และโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ
(๒) ขณะเตรียมปรุงอาหารและเครื่องดื่มต้องแต่งกายสะอาด สวมเสื้อมีแขน
ใส่ผ้ากันเปื้อน และสวมหมวกหรือตาข่ายคลุมผม
(๓)
ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการฝึกอบรมด้านสุขาภิบาลอาหาร
หมวด ๓
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานสาธารณสุข
และผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๒
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และข้อบัญญัตินี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
เจ้าพนักงานสาธารณสุข และผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ
ดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ หรือแจ้งข้อเท็จจริง
หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใด เพื่อตรวจสอบ
หรือเพื่อประกอบการพิจารณา
(๒) เข้าไปในอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้น
และพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ หรือควบคุมให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
หรือพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริง
หรือเรียกหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่นั้น
(๓) แนะนำให้ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาต
หรือตามข้อบัญญัตินี้ หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ
ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี
หรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น
(๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าจะไม่ถูกสุขลักษณะ
หรือก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคาร หรือสถานที่ใด ๆ
เป็นปริมาณตามสมควรเพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบ
ตามความจำเป็นได้โดยไม่ต้องใช้ราคา
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการ
หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่งในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
ในเรื่องใด หรือทุกเรื่องก็ได้
ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข
หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
บุคคลดังกล่าวต้องแสดงบัตรประจำตัวตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวงต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องในขณะปฏิบัติหน้าที่ด้วยและให้บุคคลผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๓
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาต
ในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๑๔
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑)
ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.
๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๑๕
คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ
ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว
ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย
ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๖
ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๑๗
ในกรณีที่ผู้ดำเนินกิจการใดตามที่ระบุไว้ในข้อบัญญัตินี้โดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเคยได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือตามข้อบัญญัตินี้เพราะเหตุที่ฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมาแล้วครั้งหนึ่ง
ยังฝ่าฝืนดำเนินกิจการโดยมิได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นต่อไป
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้ดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ถ้ายังฝ่าฝืนอีกให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งห้ามการดำเนินกิจการนั้นไว้ตามเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินสองปีก็ได้
หมวด ๔
ใบอนุญาต
ข้อ ๑๘
ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารที่มีพื้นที่เกิน
๒๐๐ ตารางเมตร มิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาต
ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ
ระบุ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
(๓)
สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบกิจการหรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสถานที่ที่ขออนุญาตประกอบกิจการ
(๔) แผนผัง หรือแผนที่แสดงที่ตั้ง
(๕) เอกสารแสดงสิทธิในการครอบครองที่ดิน อาคาร สถานที่
(๖) สำเนาแบบก่อสร้างของอาคารที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๗) ใบรับรองการตรวจสุขลักษณะของสถานประกอบกิจการ
ที่มีผลการตรวจไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีการต่ออายุใบอนุญาต)
(๘) ใบรับรอง หรือวุฒิบัตร หรือหลักฐานอื่นใด
ที่แสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาตมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร โดยออกจากส่วนราชการ
หรือท้องถิ่น สำหรับผู้ขอใบอนุญาตที่เป็นสถานที่จำหน่ายอาหาร
(๙) ใบรับรองแพทย์ของผู้ประกอบกิจการ และผู้ปรุง ออกให้ไม่เกิน ๖
เดือน
(๑๐) ใบมอบอำนาจ (กรณีที่มีการมอบอำนาจ)
(๑๑) ใบอนุญาตการจำหน่ายอาหาร และสะสมอาหาร ฉบับที่ยังไม่หมดอายุ
(กรณีต่ออายุใบอนุญาต)
(๑๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) อื่น ๆ ตามความจำเป็นแล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๙
ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องให้ความร่วมมือ และเข้าร่วมการอบรมด้านสุขาภิบาลด้านอาหาร
ตามที่หน่วยงานราชการหรือท้องถิ่นจัดทั้งหลักสูตรของผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร
ข้อ ๒๐
เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาตก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เมื่อคำขอถูกต้องสมบูรณ์ และหลักฐานครบถ้วนแล้ว
กรณีการออกใบอนุญาตรายใหม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข หรือผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการตรวจสภาพด้านสุขลักษณะของสถานที่
เครื่องมือ อุปกรณ์ การจัดการสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย
ตามลักษณะและประเภทของกิจการที่กำหนดไว้
กรณีต่ออายุใบอนุญาตจะพิจารณาสุขลักษณะจากใบรับรองการตรวจสุขลักษณะการประกอบกิจการ
มีผลการตรวจไม่เกิน ๖ เดือน
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาต
หรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอ
ซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาตหรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสาม
ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลา
ตามวรรคสามหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๑
ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันสมควร ให้ถือว่าสละสิทธิ์
ข้อ ๒๒
ใบอนุญาตให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลทำนบเท่านั้น
ข้อ ๒๓
ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์ขอต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการจะต้องยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐานที่ระบุในข้อ ๑๘ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ด้วย
หากผู้ได้รับใบอนุญาต ประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาต ให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อขอแก้ไข
ข้อ ๒๔
เมื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่น
ให้ยื่นคำขอบอกเลิกดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนเลิกดำเนินการหรือโอนกิจการได้
ผู้รับโอนกิจการต้องยื่นคำขอเช่นเดียวกับผู้ประกอบกิจการรายใหม่
ข้อ ๒๕
ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์ขอต่ออายุใบอนุญาตจะต้องยื่นคำขอ ตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมกับเอกสารและหลักฐานที่ระบุในข้อ ๑๘ ก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในข้อ ๒๐
การยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตให้ยื่นคำขอพร้อมชำระค่าธรรมเนียม
หรือมาชำระค่าธรรมเนียมหลังยื่นคำขอต่อใบอนุญาตภายใน ๓๐ วัน
นับจากวันสิ้นอายุในใบอนุญาตฉบับเดิม
ข้อ ๒๖
ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ
สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๗
ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาต
ยื่นคำขอรับใบแทนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การขอรับใบแทนและการออกใบแทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีสูญหายให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่สูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๘ การออกใบแทนใบอนุญาตให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไขดังนี้
(๑) ใบแทนใบอนุญาตให้ประทับตราสีแดงคำว่า ใบแทน กำกับไว้และให้มีวันเดือนปีที่ออกใบแทน
พร้อมทั้งลงลายมือชื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก
เจ้าพนักงานท้องถิ่นในใบแทน และต้นขั้วใบแทน
(๒) บันทึกด้านต้นขั้วใบอนุญาตเดิม ระบุสาเหตุการสูญหาย ถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระสำคัญของใบอนุญาตเดิมแล้วแต่กรณีและเล่มที่ เลขที่ ปี พ.ศ.
ของใบแทนใบอนุญาต
หมวด ๕
หนังสือรับรองการแจ้ง
ข้อ ๒๙
ผู้ใดประสงค์จะขอจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหารในอาคารหรือพื้นที่ใดซึ่งมีพื้นที่ไม่เกินสองร้อยตารางเมตรและมิใช่เป็นการขายของในตลาดจะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ/อื่น ๆ
ระบุ
(๒) สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอ
(๓)
สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบกิจการหรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในสถานที่ที่ขออนุญาตประกอบกิจการ
(๔) แผนผัง หรือแผนที่แสดงที่ตั้ง
(๕) เอกสารแสดงสิทธิในการครอบครองที่ดิน อาคาร สถานที่
(๖) สำเนาแบบก่อสร้างของอาคารที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
(๗) ใบรับรองการตรวจสุขลักษณะของสถานประกอบกิจการ
ที่มีผลการตรวจไม่เกิน ๖ เดือน (กรณีการต่ออายุใบอนุญาต)
(๘) ใบรับรอง หรือวุฒิบัตร
หรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าผู้ขอรับหนังสือรับรองการแจ้ง
มีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร โดยออกจากส่วนราชการ หรือท้องถิ่น
สำหรับผู้ขอหนังสือรับรองการแจ้งที่เป็นสถานที่จำหน่ายอาหาร
(๙) ใบรับรองแพทย์ ของผู้ประกอบกิจการ และผู้ปรุง ออกให้ไม่เกิน ๖
เดือน
(๑๐) ใบมอบอำนาจ (กรณีที่มีการมอบอำนาจ)
(๑๑) ใบอนุญาตการจำหน่ายอาหาร และสะสมอาหาร ฉบับที่ยังไม่หมดอายุ
(กรณีต่ออายุใบอนุญาต)
(๑๒) สำเนาใบอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑๓) อื่น ๆ ตามความจำเป็นแล้วแต่กรณี
เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้รับแจ้ง
ให้ออกใบรับแก่ผู้แจ้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประกอบกิจการตามที่แจ้งได้ชั่วคราวในระหว่างเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมิได้ออกหนังสือรับรองการแจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจการแจ้งให้ถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ถ้าการแจ้งเป็นไปโดยถูกต้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในใบรับแจ้งหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้แจ้งหรือผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติเป็นการเฉพาะรายก็ได้
ในกรณีที่การแจ้งไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้ผู้แจ้งทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ถ้าผู้แจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้การแจ้งของผู้แจ้งเป็นอันสิ้นผล
แต่ถ้าผู้แจ้งได้ดำเนินการแก้ไขภายในเวลาที่กำหนดแล้ว
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือรับรองการแจ้งให้ผู้แจ้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับการแจ้งซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องตามแบบที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้ตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๓๐
ผู้ได้รับหนังสือรับรองการแจ้งต้องแสดงหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผย
และเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ดำเนินกิจการตลอดเวลาที่ดำเนินกิจการ
ข้อ ๓๑ ในกรณีที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด การขอรับใบแทนและการออกใบแทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งสูญหาย
ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่หนังสือรับรองการแจ้งสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีหนังสือรับรองการแจ้งถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ยื่นขอรับใบแทนนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๓๒
เมื่อผู้แจ้งประสงค์จะเลิกกิจการหรือโอนการดำเนินกิจการให้แก่บุคคลอื่นให้แจ้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบด้วย
หมวด ๖
ค่าธรรมเนียมและค่าปรับ
ข้อ ๓๓
ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
ตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
สำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมในวันที่มายื่นคำขอต่อใบอนุญาต
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมตามอัตราและตามระยะเวลาที่กำหนดให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับอนุญาตจะได้แจ้งบอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๓๔
ผู้แจ้งต้องเสียค่าธรรมเนียมการแจ้งตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มายื่นคำขอแจ้ง
และภายในระยะเวลาสามสิบวันก่อนวันครบรอบปีของทุกปีตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละยี่สิบของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้แจ้งจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนถึงกำหนดการเสียค่าธรรมเนียมครั้งต่อไป
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๓๕
บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
หมวด ๗
บทกำหนดโทษ
ข้อ ๓๖
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบปรับได้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
สังสิทธิ สุวรรณเจริญ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์องค์การบริหารส่วนตำบลทำนบ เรื่อง
สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. ๒๕๕๙
๒.
แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร
๓. ใบรับคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาต
๔. ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสะสมอาหาร
๕.
แบบคำขอแจ้งรับหนังสือรับรองการแจ้งประกอบกิจการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
๖. ใบรับแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
๗.
หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารหรือสถานที่สะสมอาหาร
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๔ ง/หน้า ๑๑/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
791940 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2558 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖๗ (๓)
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และมาตรา ๗๑
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับ มาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อและนายอำเภอเขาค้อ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้ปิดประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบัญญัติตำบลเขาค้อ
เรื่อง การควบคุมการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ
หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
การเลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในสถานที่เลี้ยงสัตว์
การปล่อยสัตว์ หมายความว่า
การเลี้ยงสัตว์ในลักษณะที่มีการปล่อยให้อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์
รวมทั้งการสละการครอบครองสัตว์
สถานที่เลี้ยงสัตว์ หมายความว่า
คอกสัตว์ กรงสัตว์ ที่ขังสัตว์ หรือสถานที่ในลักษณะอื่นที่ใช้ในการควบคุมสัตว์ที่เลี้ยง
เจ้าของสัตว์ หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
ให้พื้นที่ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อเป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ดังนี้
(๑) ที่หรือทางสาธารณะ เว้นแต่ที่ใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะ
(๒) ในระยะ ๑๐๐ เมตร โดยรอบแหล่งน้ำสาธารณะที่ประชาชนใช้อุปโภคบริโภค
ข้อ ๗ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบสัตว์ในที่หรือทางสาธารณะอันเป็นการฝ่าฝืนข้อ ๖
โดยไม่ปรากฏเจ้าของ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจกักสัตว์ดังกล่าวไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน
เมื่อพ้นกำหนดแล้วยังไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของเพื่อรับสัตว์คืนให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
แต่ถ้าการกักสัตว์ไว้อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่นหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเกินสมควร
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์นั้นตามควรแก่กรณีก่อนถึงกำหนดเวลาดังกล่าวก็ได้
เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาดเมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้วให้เก็บรักษาไว้แทนสัตว์
ในกรณีที่มิได้มีการขายหรือขายทอดตลาดสัตว์ตามวรรคหนึ่งและเจ้าของสัตว์มาขอรับสัตว์คืนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
เจ้าของสัตว์ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงดูสัตว์ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อตามจำนวนที่ได้จ่ายจริงด้วย
ในกรณีที่ปรากฏว่าสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบนั้นเป็นโรคติดต่ออันอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้
ข้อ ๘ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔
วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อในเรื่องใด
ๆ ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจตีความออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
จันทร์แรม
ศรีเดช
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๑ ง/หน้า ๗๕/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
791936 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2558 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
เรื่อง
การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ว่าด้วยการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕)
พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐ มาตรา ๕๔ มาตรา ๕๕ มาตรา ๕๘ มาตรา ๖๓ และมาตรา ๖๕
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.๒๕๓๕ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ โดยความเห็นชอบของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อและนายอำเภอเขาค้อ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อตั้งแต่วันถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ข้อ ๓
ให้ยกเลิกข้อบัญญัติตำบลเขาค้อ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
พุทธศักราช ๒๕๕๒
ข้อ ๔ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๕ ในข้อบัญญัตินี้
สิ่งปฏิกูล หมายความว่า อุจจาระหรือปัสสาวะ
และหมายความรวมถึงสิ่งอื่นใดซึ่งเป็นสิ่งโสโครกหรือมีกลิ่นเหม็น
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์
ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์ หรือที่อื่น
และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
ข้อ ๖ การเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ให้เป็นอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้ออาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นดำเนินการภายใต้ข้อตกลงร่วมกันก็ได้
ในกรณีที่มีเหตุอันสมควรองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้ออาจมอบให้บุคคลใดดำเนินการตามวรรคหนึ่งแทนภายใต้การควบคุมดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
หรืออาจอนุญาตให้บุคคลใดเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการก็ได้
บทบัญญัติตามข้อนี้ และข้อ ๑๐
มิให้ใช้บังคับกับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
แต่ผู้ดำเนินกิจการโรงงานที่มีของเสียอันตราย และผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ
ขนหรือกำจัดของเสียอันตรายดังกล่าวต้องแจ้งเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทราบก่อนจะดำเนินการเก็บ
ขนหรือกำจัดของเสียอันตราย
ข้อ ๗
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนดเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน
หรือเขตพื้นที่ที่อนุญาตให้บุคคลใดดำเนินกิจการโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ข้อ ๘
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่การให้บริการเก็บ
ขนหรือกำจัด สิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
หรือเขตพื้นที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ มอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนจะต้องเสียค่าธรรมเนียมการให้บริการแก่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๙
เพื่อประโยชน์ในการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการเก็บ ขน
และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ห้ามผู้ใด ทำการถ่ายเท ทิ้ง
หรือทำให้มีขึ้นซึ่งสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในที่หรือทางสาธารณะ
นอกจากในที่ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อจัดไว้ให้
(๒) เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใดๆ
ต้องจัดให้มีที่รองรับสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๑๐ ห้ามผู้ใด
ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ
เว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ข้อ ๑๑
ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้ดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน
หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจหรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อจะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตพร้อมเอกสารและหลักฐานตามแบบที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๒
ผู้ขอรับใบอนุญาตตาม ข้อ ๑๐ จะต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ต้องมีพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
(๒)
ต้องจัดให้มีการแสดงข้อความที่ตัวพาหนะให้รู้ว่าเป็นพาหนะขนถ่ายสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย เช่น รถดูดสิ่งปฏิกูล เป็นต้น
และต้องแสดงเลขทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการ ชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้ออกใบอนุญาต
ชื่อบริษัทหรือเจ้าของกิจการ
ด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีขนาดที่เห็นได้ชัดเจนตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อประกาศกำหนด
ข้อ ๑๓
เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอต่ออายุใบอนุญาต
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจความถูกต้องและความสมบูรณ์ของคำขอ
ถ้าปรากฏว่าคำขอดังกล่าวไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นรวบรวมความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์นั้นทั้งหมด
และแจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขให้ถูกต้องและสมบูรณ์ในคราวเดียวกัน
และในกรณีจำเป็นที่จะต้องส่งคืนคำขอแก่ผู้ขออนุญาต
ก็ให้ส่งคืนคำขอพร้อมทั้งแจ้งความไม่ถูกต้องหรือความไม่สมบูรณ์ให้ทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันได้รับคำขอ
เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่อนุญาตพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องหรือครบถ้วนตามที่กำหนดในข้อบัญญัตินี้
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจออกใบอนุญาต
หรือยังไม่อาจมีคำสั่งไม่อนุญาตได้ภายในกำหนดเวลาตามวรรคสอง ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองครั้ง
ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
แต่ต้องมีหนังสือแจ้งการขยายเวลาและเหตุจำเป็นแต่ละครั้งให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนสิ้นกำหนดเวลาตามวรรคสองหรือตามที่ได้ขยายเวลาไว้แล้วนั้น
แล้วแต่กรณี
ข้อ ๑๔
ผู้ได้รับอนุญาตต้องมารับใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
หากไม่มารับภายในกำหนดเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันควร
ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะรับใบอนุญาต
ข้อ ๑๕
บรรดาใบอนุญาตที่ออกให้ตามข้อบัญญัตินี้ให้มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
และให้ใช้ได้เพียงในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อเท่านั้น
การขอต่ออายุใบอนุญาต จะต้องยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
เมื่อได้ยื่นคำขอพร้อมกับเสียค่าธรรมเนียมแล้วให้ประกอบกิจการต่อไปได้จนกว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาต
การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศกำหนด
ข้อ ๑๖
ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตตามอัตราที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้ในวันที่มารับใบอนุญาตสำหรับกรณีที่เป็นการขอรับใบอนุญาตครั้งแรก
หรือก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุสำหรับกรณีที่เป็นการขอต่ออายุใบอนุญาตตลอดเวลาที่ยังดำเนินกิจการนั้น
ถ้ามิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด
ให้ชำระค่าปรับเพิ่มขึ้นอีกร้อยละห้าของจำนวนค่าธรรมเนียมที่ค้างชำระ
เว้นแต่ผู้ได้รับใบอนุญาตจะได้บอกเลิกการดำเนินกิจการนั้นก่อนสิ้นอายุใบอนุญาต
ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่งค้างชำระค่าธรรมเนียมติดต่อกันเกินกว่าสองครั้ง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการดำเนินกิจการไว้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียมและค่าปรับจนครบจำนวน
ข้อ ๑๗
บรรดาค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามข้อบัญญัตินี้
ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ข้อ ๑๘
ผู้ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ดำเนินกิจการตามข้อบัญญัตินี้
จะพึงเรียกเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการได้ไม่เกินอัตราค่าบริการขั้นสูงตามที่กำหนดไว้ท้ายข้อบัญญัตินี้
ข้อ ๑๙
ผู้ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ต้องแสดงใบอนุญาตไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย
ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
ข้อ ๒๐
ในกรณีที่ใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระที่สำคัญ
ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
ถูกทำลาย หรือชำรุด ตามแบบที่องค์การบริหารสวนตำบลเขาค้อกำหนดไว้
การขอรับใบแทนใบอนุญาตและการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีใบอนุญาตสูญหาย ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำสำเนาบันทึกการแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แห่งท้องที่ที่ใบอนุญาตสูญหายมาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
(๒) ในกรณีใบอนุญาตถูกทำลาย
หรือชำรุดในสาระที่สำคัญให้ผู้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตนำใบอนุญาตเดิมเท่าที่เหลืออยู่มาแสดงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นประกอบด้วย
ข้อ ๒๑
ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้อง
ตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งพักใช้
ใบอนุญาตได้ภายในเวลาที่เห็นสมควรแต่ต้องไม่เกินสิบห้าวัน
ข้อ ๒๒
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาต
(๑) ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไปและมีเหตุที่จะต้องถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอีก
(๒)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
(๓)
ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามบทแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ หรือข้อบัญญัตินี้
หรือเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบอนุญาตในเรื่องที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการประกอบกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตตามข้อบัญญัตินี้
และการไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องนั้นก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน
หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน
ข้อ ๒๓
คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตและคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ให้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้รับใบอนุญาต
หรือผู้รับใบอนุญาตไม่ยอมรับคำสั่งดังกล่าว ให้ส่งคำสั่งโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ
หรือให้ปิดคำสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ
ภูมิลำเนาหรือสำนักทำการงานของผู้รับใบอนุญาต
และให้ถือว่าผู้รับใบอนุญาตนั้นได้รับทราบคำสั่งแล้วตั้งแต่เวลาที่คำสั่งไปถึง
หรือวันปิดคำสั่ง แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๔
ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจะขอรับใบอนุญาตสำหรับการประกอบกิจการที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตอีกไม่ได้จนกว่าจะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต
ข้อ ๒๕
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือสถานที่ใด ๆ
หรือผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการรับ เก็บ
ขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยโดยทำเป็นธุรกิจต้องดำเนินการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย
ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุขประกาศกำหนด
ข้อ ๒๖
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ ในเรื่องใด ๆ ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๒๗
ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในบทกำหนดโทษแห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๒๘ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
เป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง
เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
จันทร์แรม ศรีเดช
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. ๒๕๕๘
๒.
แบบคำขอรับใบอนุญาต/ต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการ
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๑ ง/หน้า ๖๖/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
791938 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. 2558 | ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
เรื่อง
การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
พ.ศ. ๒๕๕๘[๑]
โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ว่าด้วยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑
แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมาตรา ๒๐
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อโดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อและนายอำเภอเขาค้อ
จึงตราข้อบัญญัติไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ข้อบัญญัตินี้เรียกว่า ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
เรื่อง การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒
ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อนับแต่วันถัดจากวันที่ได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย
ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
ข้อ ๓ บรรดาข้อบัญญัติ
ประกาศ
ระเบียบและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่ได้ตราไว้แล้วในข้อบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน
ข้อ ๔ ในข้อบัญญัตินี้
มูลฝอย หมายความว่า เศษกระดาษ
เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติกภาชนะที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์
ซากสัตว์ หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยงสัตว์หรือที่อื่น
และหมายความรวมถึงมูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน
อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน
เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน
หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
ที่หรือทางสาธารณะ หมายความว่า
สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชนและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือใช้สัญจรได้
แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หมายความว่า
สภาวะที่มีน้ำขังได้ในระยะเวลาที่เกินกว่าเจ็ดวันซึ่งยุงลายสามารถวางไข่และพัฒนาเป็นลูกน้ำได้
เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
เจ้าพนักงานสาธารณสุข หมายความว่า
เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๕
ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งหรือทำให้มีขึ้นซึ่งมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ ที่ขังน้ำได้ในที่หรือทางสาธารณะ
เว้นแต่ในที่หรือในถังรองรับมูลฝอยที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อจัดไว้ให้
ข้อ ๖
เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือเคหสถานต้องเก็บกวาดและดูแลมิให้มีมูลฝอยที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
อาทิ กระป๋อง กะลา ยางรถยนต์ หรือมูลฝอยอื่น ๆ
ที่ขังน้ำได้ในบริเวณอาคารหรือเคหสถาน รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ ทั้งนี้โดยเก็บลงถังมูลฝอยที่มีฝาปิดหรือบรรจุถุงพลาสติกที่มีการผูกรัดปากถุงหรือวิธีการอื่นใดที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขแนะนำ
ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อให้บริการเก็บขนมูลฝอยเพื่อนำไปกำจัด
เจ้าของอาคารหรือเคหสถานมีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมตามข้อบัญญัติว่าด้วยการจัดการมูลฝอยด้วย
ข้อ ๗ เจ้าของหรือผู้ครอบครอง
อาคาร เคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ
ที่มีแหล่งน้ำที่อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายจะต้องดูแลมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ข้อ ๘
เจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคาร เคหสถาน
ต้องดูแลทำความสะอาดและเปลี่ยนน้ำในแจกัน ถ้วยรองขาตู้กับข้าว ภาชนะอื่น ๆ ที่มีน้ำขัง
อย่างน้อยทุกเจ็ดวัน หรือใส่สารที่ป้องกันการวางไข่ของยุงได้
และจัดให้มีฝาปิดตุ่มน้ำที่มีอยู่ในอาคารและเคหสถาน รวมทั้งข้อปฏิบัติอื่น ๆ
ที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อประกาศกำหนด
ข้อ ๙
ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อได้จัดเจ้าหน้าที่ไปทำการกำจัดยุงในอาคารหรือเคหสถาน
หรือสถานที่ใด ๆ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร เคหสถาน
หรือสถานที่นั้นจะต้องให้ความร่วมมือและอำนายความสะดวกตามสมควร
ข้อ ๑๐
ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๕ และข้อ ๖ ต้องระวางโทษตามมาตรา ๗๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๑๑ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ
๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข้อ ๑๒
ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อเป็นผู้รักษาการตามข้อบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจตีความออกระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๙
จันทร์แรม ศรีเดช
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ
๖ ธันวาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๙๑ ง/หน้า ๗๒/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |