|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
30,0024,001,ในที่สุด ให้ถึงความไม่มีซึ่งกิเลสทั้งหลายอันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้งด เว้น เว้นขาด ออกไป
|
|
30,0024,002,สลัด สงบ ระงับ หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสทั้งหลายอันทำความขุ่นมัว พึงเป็นผู้มีใจปราศจาก
|
|
30,0024,003,เขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีใจไม่ขุ่นมัวอยู่.
|
|
30,0024,004,[๙๗] คำว่า กุสโล สพฺพธมฺมานํ ความว่า เป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงว่า สังขาร
|
|
30,0024,005,ทั้งปวงไม่เที่ยง ... สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ... เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
|
|
30,0024,006,จึงมีสังขาร ฯลฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็น
|
|
30,0024,007,ธรรมดา พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
|
|
30,0024,008,อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงโดยเป็นสภาพที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
|
|
30,0024,009,เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นสภาพชำรุด เป็นเสนียด
|
|
30,0024,010,เป็นอุบาทว์ เป็นสภาพไม่สำราญ เป็นภัย เป็นอุปสรรค หวั่นไหว ผุพัง ไม่ยั่งยืน ไม่มีอะไร
|
|
30,0024,011,ต้านทาน ไม่มีที่เร้น ไม่มีสรณะ ไม่เป็นที่พึ่ง ว่าง เปล่า สูญ เป็นอนัตตา มีโทษ มีความ
|
|
30,0024,012,แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่เป็นแก่นสาร เป็นมูลแห่งทุกข์ เป็นผู้ฆ่า เป็นสภาพปราศจาก
|
|
30,0024,013,ความเจริญ มีอาสวะ ปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร มีชาติเป็นธรรมดา มีชราเป็นธรรมดา
|
|
30,0024,014,มีพยาธิเป็นธรรมดา มีมรณะเป็นธรรมดา มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส
|
|
30,0024,015,เป็นธรรมดา มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา โดยความเกิด โดยความดับ ไม่มีคุณ มีโทษ
|
|
30,0024,016,ไม่มีอุบายเป็นเครื่องออกไป พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
|
|
30,0024,017,อีกอย่างหนึ่ง พึงเป็นผู้ฉลาดในขันธ์ ... ธาตุ ... อายตนะ ... ปฏิจจสมุปบาท ...
|
|
30,0024,018,สติปัฏฐาน ... สัมมัปปธาน ... อิทธิบาท ... อินทรีย์ ... พละ ... โพชฌงค์ ... มรรค ...
|
|
30,0024,019,ผล ... นิพพาน พึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวงแม้ด้วยอาการอย่างนี้.
|
|
30,0024,020,อีกอย่างหนึ่ง อายตนะ ๑๒ คือ จักษุรูป หู เสียง จมูก กลิ่น ลิ้น รส กาย
|
|
30,0024,021,โผฏฐัพพะ ใจ ธรรมารมณ์ เรียกว่า ธรรมทั้งปวง. ก็ภิกษุเป็นผู้ละความกำหนัดในอายตนะ
|
|
30,0024,022,ภายในภายนอก คือ ตัดรากขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งเหมือนตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีใน
|
|
30,0024,023,ภายหลัง มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุใด ภิกษุพึงเป็นผู้ฉลาดในธรรมทั้งปวง
|
|
30,0024,024,แม้ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ฉลาดในธรรมทั้งปวง.
|
|
|