Book,Page,LineNumber,Text 32,0022,001,สมัยใด เสด็จประทับอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่คือกรุณา ตลอด 32,0022,002,สมัยนั้นทีเดียว. เพราะฉะนั้นเพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศ 32,0022,003,ด้วยทุติยาวิภัตติในพระสูตรนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถา 32,0022,004,ประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า 32,0022,005,ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าวสมยศัพท์ 32,0022,006,ในปิฎกอื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและตติยาวิภัตติ แต่ 32,0022,007,ในพระสุตตันตปิฎกนี้ กล่าวสมยศัพท์นั้นด้วย 32,0022,008,ทุติยาวิภัตติ. 32,0022,009,ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า นี้ต่างกันแต่เพียง 32,0022,010,โวหารว่า ตสฺมึ สมเย บ้าง เตน สมเยน บ้าง ตํ สมยํ บ้าง ในที่ 32,0022,011,ทุกแห่ง มีอรรถเป็นสัตตมีวิภัติทั้งนั้น เพราะฉะนั้น แม้ท่านกล่าวว่า 32,0022,012,เอกํ สมยํ ก็พึงทราบเนื้อความว่า เอกสฺมึ สมเย (ในสมัยหนึ่ง) 32,0022,013,บทว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ. จริงอยู่ คนทั้งหลาย 32,0022,014,เรียกครูในโลกว่า ภควา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ เป็นครูของสัตว์ 32,0022,015,ทั้งปวง เพราะเป็นประเสริฐพิเศษโดยคุณทั้งปวง เพราะฉะนั้น 32,0022,016,พึงทราบพระองค์ว่า ภควา. แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า 32,0022,017,คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐ คำว่า ภควา 32,0022,018,เป็นคำสูงสุด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ควรแก่ 32,0022,019,ความเคารพโดยฐานครู เพราะเหตุนั้น บัณฑิต 32,0022,020,จึงขนานพระนามว่า ภควา.