Book,Page,LineNumber,Text
18,0024,001,แก่ ผู้ยินดีด้วยราคะผู้ยินร้ายด้วยความโกรธ. ในบทว่า ปปญฺจารามสฺส
18,0024,002,ปปญฺจรติโน นั้น สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีในความเนิ่นช้านั้น เพราะฉะนั้น
18,0024,003,ความเนิ่นช้านั้น จึงชื่อว่า อาราโม เป็นที่มายินดี. ความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี
18,0024,004,ของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปปญฺจาราโม แปลว่าผู้มี
18,0024,005,ความเนิ่นช้าเป็นที่มายินดี. ความยินดีในความเนิ่นช้าของบุคคลนั้น เพราะ
18,0024,006,ฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ปปญฺจรตี ผู้ยินดีในความเนิ่นช้า. บทว่า ปปญฺโจ
18,0024,007,นั้น เป็นชื่อของตัณหาทิฏฐิและมานะ อันเป็นไปแล้วโดยความเป็นอาการของ
18,0024,008,ผู้มัวเมาและผู้ประมาทแล้ว. ก็ในที่นี้ ท่านประสงค์เฉพาะตัณหาและทิฏฐิเท่า
18,0024,009,นั้น. กิเลสอย่างเดียวเท่านั้นมาแล้วในฐานะ ๕ ว่าของผู้มีราคะเป็นต้น พึง
18,0024,010,ทราบอาการและความเป็นต่าง ๆ ของกิเลสนั้น. ก็ท่านถือเอากิเลสด้วยอำนาจ
18,0024,011,ราคะที่เจือด้วยกามคุณห้า ในที่ท่านกล่าวว่า สราคสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจ
18,0024,012,ภวตัณหาในบทว่า สตณฺหสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจการยึดถือในบทว่า
18,0024,013,สอุปาทานสฺส. ถือเอากิเลสด้วยอำนาจคู่ในบทว่า อนุรุทฺธปฏิวิรุทฺธสฺส.
18,0024,014,ถือเอากิเลสด้วยอำนาจการแสดงความเกิดขึ้นของกิเลสเครื่องเนิ่นช้าในบทว่า
18,0024,015,ปปญฺจรามสฺส. อีกอย่างหนึ่ง ถือเอากิเลสด้วยอำนาจอกุศลมูลในบทนี้ว่า
18,0024,016,สราคสฺส. ถือเอากิเสสด้วยอำนาจอุปาทาน เพราะตัณหาเป็นปัจจัยให้บทนี้ว่า
18,0024,017,สตณฺหสฺส. บทที่เหลือก็เช่นกับบทก่อนนั้นเทียว. ก็พระเถระกล่าวว่า ท่าน
18,0024,018,จงกำจัดอย่างนี้เพราะเหตุไร เพราะโลภตัวเดียวนี้เท่านั้นกล่าวว่า ราคะ ด้วย
18,0024,019,อำนาจแห่งความยินดี ก็ชื่อว่า ตัณหา ด้วยอำนาจการกระทำความทะยานอยาก
18,0024,020,ชื่อว่า อุปาทาน ด้วยอรรถว่ายึดถือ ชื่อว่า ความยินดีและความยินร้าย ด้วย
18,0024,021,อำนาจคู่ ชื่อว่า ปปัญจะ ด้วยอรรถว่า เกิดขึ้นแห่งกิเลสเครื่องเนิ่นช้า. บัดนี้
18,0024,022,พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงทิฏฐิวาทะอันเป็นรากเหง้าของกิเลสเหล่านี้
18,0024,023,จึงตรัสว่า เทฺวมา ภิกฺขเว ทิฏฺิโย ดังนี้เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น