|
Book,Page,LineNumber,Text
|
|
36,0004,001,เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง
|
|
36,0004,002,หยั่งถึงความเกิดขึ้นและดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสเป็นเครื่องให้ถึงความ
|
|
36,0004,003,สิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า กำลัง คือ ปัญญา.
|
|
36,0004,004,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระเสขบุคคล ๕ ประการนี้แล ดูก่อน
|
|
36,0004,005,ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเรา
|
|
36,0004,006,จักเป็นผู้ประกอบด้วยกำลัง คือ ศรัทธา กำลัง คือ หิริ กำลัง คือ โอตตัปปะ
|
|
36,0004,007,กำลัง คือ วิริยะ กำลัง คือ ปัญญา อันเป็นกำลังของพระเสขบุคคล ดูก่อน
|
|
36,0004,008,ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.
|
|
36,0004,009,<I>จบวิตถตสูตรที่ ๒</I>
|
|
36,0004,010,<H1>อรรถกถาวิตถตสูตร</H1>
|
|
36,0004,011,พึงทราบวินิจฉัยในวิตถตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-
|
|
36,0004,012,ในบทว่า <B>กายทฺจฺจริเตน</B> เป็นต้น เป็นตติยาวิภัติลงในอรรถ
|
|
36,0004,013,ทุติยาวิภัติ. อธิบายว่า ละอาย รังเกียจ ซึ่งกายทุจริตเป็นต้นอันควรละอาย.
|
|
36,0004,014,ในโอตตัปปนิเทศเป็นตติยาวิภัติลงในอรรถว่า เหตุ. อธิบายว่า เกรงกลัว
|
|
36,0004,015,เพราะกายทุจริตเป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งโอตตัปปะ. บทว่า <B>อารทฺธวิริโย</B>
|
|
36,0004,016,ได้แก่ ประคองความเพียรไว้ มีใจไม่ท้อถอย. บทว่า <B>ปหานาย</B> แปลว่า
|
|
36,0004,017,เพื่อละ. บทว่า <B>อุปสมฺปทาย</B> แปลว่า เพื่อได้เฉพาะ. บทว่า <B>ถามวา</B>
|
|
36,0004,018,ได้แก่ ประกอบด้วยกำลังคือความเพียร. บทว่า <B>ทฬฺหปรกฺกโม</B> ได้แก่
|
|
36,0004,019,มีความบากบั่นมั่นคง. บทว่า <B>อนิกฺขิตฺตธุโร กุสเลสุ ธมฺเสสุ</B> ได้แก่
|
|
36,0004,020,ไม่วางธุระ เพียร ไม่ท้อถอยในกุศลธรรมทั้งหลาย.
|
|
|